Thursday, April 23, 2015

RECOLLECTIONS OF THE YELLOW HOUSE (1989, João César Monteiro, Portugal, A+30)

RECOLLECTIONS OF THE YELLOW HOUSE (1989, João César Monteiro, Portugal, A+30)

--ดูแล้วนึกว่าอยู่ในโลกที่ “พระเจ้ากลายเป็นโรคประสาทแดก”

--ดูแล้วกรี๊ดแตกมากๆ เพราะเราไม่เคยพบเคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อนน่ะ คือเราไม่เคยดูหนังของ Monteiro มาก่อน พอมาได้ดูเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก เราก็รู้สึกว่ามันมี wavelength ที่ประหลาดมากๆ, มีสไตล์ที่เป็นตัวของตัวเองมากๆ ไม่ซ้ำแบบใครที่เราเคยดูมาก่อนเลย และเราก็รู้สึกเพลิดเพลินไปกับความประหลาดและความเป็นตัวของตัวเองของมันด้วย

--หนึ่งในจุดที่ชอบที่สุดคือความรู้สึกเป็นอิสระบางอย่างในขณะที่ได้ดูน่ะ เพราะมันมีหลายฉากหรือหลาย moment มากๆที่เราไม่รู้ว่า “มันต้องการให้ผู้ชมรู้สึกยังไง” หรือ “มันต้องการบอกอะไรกับผู้ชม” ซึ่งเราจะไม่รู้สึกแบบนี้กับหนังทั่วๆไปน่ะ คือเวลาเราดูหนังทั่วไป เราจะรู้ได้ในทันทีว่า “ฉากนี้ต้องการให้ผู้ชมรู้สึกยังไง ฉากนี้ต้องการให้ผู้ชมหัวเราะ ฉากนี้ต้องการให้ผู้ชมร้องไห้ ฉากนี้ต้องการให้ผู้ชมสะใจ, etc.” หรือถ้าเป็นหนังบางประเภท เราก็จะต้องพยายามตีความแต่ละฉาก และแต่ละสิ่งแต่ละอย่างที่ปรากฏบนจอ มันเหมือนกับว่าฉากต่างๆในหนังทั่วๆไป มันตกอยู่ภายใต้กรอบของ “ความต้องการชักนำอารมณ์ผู้ชม” และ “ความต้องการส่งสารบางอย่างต่อผู้ชม”

แต่หลายๆฉากในหนังเรื่องนี้ เราดูแล้วไม่รู้จริงๆว่ามันต้องการให้ผู้ชมรู้สึกยังไง และเราก็ไม่สามารถตีความอะไรในฉากเหล่านี้ได้เลยด้วย มันคงมีความหมายให้ตีความน่ะแหละ (นักวิจารณ์บางคนบอกว่าหนังเรื่องนี้เป็นการเสียดสีชนชั้นกลางโปรตุเกสในยุคนั้น) แต่การตีความหนังเรื่องนี้มันเกินสติปัญญาของเราจริงๆ และเราก็รู้สึกว่า เราได้รับความเพลิดเพลินจากมันโดยไม่ต้องเข้าใจมันไปซะทั้งหมดด้วย เราก็เลยดูหลายๆฉากในหนังเรื่องนี้ได้ด้วยความรู้สึกเป็นอิสระจาก “กรอบของการชี้นำทางอารมณ์” และ “กรอบของความหมาย” ซึ่งเป็นสิ่งที่มักกดทับหนังเรื่องอื่นๆ

ตัวอย่างฉากที่ทำให้เรารู้สึกแบบนี้ก็เช่น ฉากที่พระเอกกินยาอย่างยืดยาว หรือฉากการแสดงดนตรีของตำรวจน่ะ เราไม่รู้จริงๆว่าฉากเหล่านี้มันต้องการให้ผู้ชมรู้สึกยังไง และต้องการจะสื่อสารอะไรกับผู้ชม แต่เราชอบลักษณะของความผิดเพี้ยนไปจากหนังปกติแบบนี้มากๆ

--ถ้าให้เปรียบเทียบกับผู้กำกับคนอื่นๆ เราก็อาจจะเปรียบเทียบได้อย่างคร่าวๆว่าหนังมันเหมือนเป็นลูกผสมระหว่าง John Waters กับ Marguerite Duras น่ะ คือโดย “เนื้อหา” แล้วตัวละครมันอัปปรีย์จัญไรไร้สติหีแตกแบบในหนังของ John Waters แต่ “สไตล์” ในหลายๆฉากมันเหมือนกับหนังอาร์ตนิ่งช้าแบบ Marguerite Duras ซึ่งเราว่ามันเป็นส่วนผสมที่ประหลาดมากๆ ไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน คือปกติแล้วเวลาเราดูหนังที่ตัวละครหีแตกแบบนี้ หนังมันจะออกมาในสไตล์ฉูดฉาดสุดๆ เอะอะมะเทิ่งกันมากๆ แบบหนังของ John Waters, Alejandro Jodorowsky, Seijun Suzuki, Toshio Matsumoto อะไรทำนองนั้น คือสไตล์มันจะไม่ใช่แบบนี้

แต่สไตล์ของหนังเรื่องนี้กลับทำให้เรานึกถึงหนังอาร์ตนิ่งช้าประเภท Marguerite Duras, Jean-Marie Straub ในบางฉาก คือตั้งแต่ฉากเปิดเลย คือฉากเปิดเป็นฉากที่ตัวละครคุยเรื่อง “โลนขึ้นหมอย” ซึ่งหมายความว่าเนื้อหาของฉากนี้เป็นอะไรแบบ John Waters หรือหนังคัลท์ห่ามๆ แต่ภาพที่เราเห็นในฉากนี้ กลับเป็นทิวทัศน์ท่าเรือ นอกจากนี้ การใช้เสียง voiceover ในฉากนี้ ก็ทำให้เรานึกถึงหนังของ Duras ประเภท AGATHA AND THE UNLIMITED READINGS ด้วย คือตั้งแต่ฉากเปิด เราก็รู้แล้วว่า นี่เป็นอะไรที่เราไม่เคยเจอมาก่อน เพราะภาพและ voiceover ที่เราเห็นและได้ยิน เป็นสไตล์ดูราส์ แต่เนื้อหาของสิ่งที่ตัวละครพูด เป็นสไตล์ John Waters หรือหนังคัลท์

ฉากตัวละครกินยาอย่างยืดยาว ก็ทำให้นึกถึงหนังของดูราส์เช่นกัน ในขณะที่ฉากการแสดงดนตรี ทำให้นึกถึงหนังของ Straub


--สรุปว่าเราชอบ “ความประสาทแดก” และ “ความเป็นตัวของตัวเอง” ในหนังของ Monteiro มากๆ เราว่าผู้กำกับที่เหมาะจะต่อกรกับ Monteiro มากที่สุด คือ Herbert Achternbusch

No comments: