THE ESKIMOBABY (1918, Heinz Schall, Germany, A+25)
คนุด (Freddy Wingardh) ชายหนุ่มซึ่งมีคู่หมั้นอยู่แล้วได้เดินทางกลับมาจากการสำรวจกรีนแลนด์พร้อมกับนำของที่ระลึกติดตัวมาด้วย
แต่ของที่ระลึกของเขาคือหญิงสาวชาวเอสกิโมชื่ออีวิกตุท (Asta Nielsen) ที่แทบไม่รู้จักเทคโนโลยีเลย เธอสร้างความปั่นป่วนตั้งแต่ฉากแรกที่ปรากฏตัวด้วยการเล่นเบรกรถไฟจนทำให้รถไฟต้องหยุดวิ่ง
และเมื่อเธอมาอาศัยอยู่ในบ้านของคนุด
เธอก็สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายต่างๆนานามากมาย
และแน่นอนว่าเธอต้องมีฉากปะทะกับคู่หมั้นของคนุดด้วย
หนังเรื่องนี้อาจจะมีปัญหาเรื่อง “ทัศนคติ” ที่ไม่เข้ากับโลกยุคปัจจุบัน
ซึ่งเป็นปัญหาที่คล้ายคลึงกับหนังเรื่อง THE SUFFRAGATE และ THE ABC
OF LOVE ที่นำแสดงโดย Asta Nielsen เหมือนกัน
โดยในกรณีของหนังเรื่องนี้มันเป็นเรื่องของวิธีการนำเสนอชาติพันธุ์อื่นๆบนจอภาพยนตร์
แต่เรากลับไม่ค่อยมีปัญหากับจุดนี้เท่าไหร่ เรากลับมีปัญหากับ THE
SUFFRAGATE และ THE ABC OF LOVE มากกว่า
คือเรารู้สึกว่า THE SUFFRAGATE และ THE ABC OF LOVE ต้องการให้ผู้ชมโดยเฉพาะผู้หญิงทำตามขนบของสังคมน่ะ
ซึ่งเราจะมีปัญหากับทัศนคติแบบนี้ เหมือนกับว่าจุดนี้เป็นจุดอ่อนของเรา แต่ THE
ESKIMOBABY อาจจะมีปัญหาเรื่องการนำเสนอชาวเอสกิโมในฐานะผู้ไม่รู้จักเทคโนโลยี
แต่เรากลับรู้สึกยอมรับได้ เพราะในแง่นึงเราอาจจะรู้สึกว่า
หนังเรื่องนี้ไม่ได้สอนให้ผู้ชมเกลียดชังชาวเอสกิโมน่ะ คือหนังมันอาจจะไม่ politically
correct 100% เต็มถ้าหากเอามาตรฐานปัจจุบันไปวัด แต่พอข้อเสียของหนังเรื่องนี้มันไม่ใช่จุดอ่อนของเรา
เราก็เลยมองข้ามมันไปได้โดยง่าย
ชอบการแสดงของ Asta Nielsen ในหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ
เราว่าเธอเล่นเรื่องนี้ได้อย่างมีเสน่ห์แพรวพราวมากๆ
สาเหตุนึงอาจจะเป็นเพราะว่าเราชอบตัวละครที่เธอแสดงในเรื่องนี้ด้วย
เพราะอีวิกตุทเป็น outsider ของสังคมจริงๆ
และเป็นคนนอกที่เข้ามาเพื่อป่วนสังคมชนชั้นกลางในยุคนั้น
เราชอบที่ตัวละครนางเอกมันหลุดออกไปจากกรอบของสังคมจริงๆน่ะ
เธอเหมือนเป็นพลังป่าเถื่อน, พลังธรรมชาติ
หรือพลังดึกดำบรรพ์อะไรบางอย่างที่เข้ามาสร้างความอลหม่านในสังคม
ดูแล้วนึกถึง “แก้วกลางดง” ของทมยันตีด้วยเหมือนกัน
แต่แตกต่างกันตรงที่นางเอกของ “แก้วกลางดง” มีความสามารถพิเศษติดตัวมากมายในฐานะชาวป่าชาวเขา
(ซึ่งเป็นจุดที่เราชอบมากในแก้วกลางดง)
แต่น่าเสียดายที่อีวิกตุทไม่ได้โชว์ความสามารถพิเศษอะไรในฐานะเอสกิโม
ตัวละครตัวนี้เพียงแค่ได้โชว์วิธีการทักทายหรืออะไรเพี้ยนๆมากกว่า
น่าแปลกดีที่กระแสสังคมบางทีมันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรงจากหน้ามือเป็นหลังตีน
คือในหนังเรื่องนี้ เราจะเห็นได้ว่าการที่นางเอกใส่ “กางเกง”
ถือเป็นอะไรที่ขัดกับสังคมอย่างรุนแรงมาก แต่พอมาถึงยุคปัจจุบันอย่างในหนังเรื่อง SKIRT DAY (2008, Jean-Paul
Lilienfeld) เรากลับพบว่าการที่ผู้หญิงใส่กระโปรงกลายเป็นสิ่งที่ขัดกับกระแสสังคมไปแล้ว
No comments:
Post a Comment