Friday, November 23, 2018

BALL OF FAT


10 FAVORITE MOVIE CHARACTERS

DAY 10: Ball of Fat (Marilou Berry) from CHEZ MAUPASSANT: BALL OF FAT (2011, Philippe Bérenger, France)

ตัวละครกะหรี่สาวใจเพชรตัวนี้มาจากละครทีวีชุด CHEZ MAUPASSANT ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ Guy de Maupassant โดยละครตอนนี้เล่าเรื่องในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ช่วงที่เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับปรัสเซีย กะหรี่สาวที่มีสมญานามว่า Ball of Fat ได้ขึ้นรถม้าโดยสารเพื่อหนีภัยสงครามพร้อมกับคนกลุ่มหนึ่ง โดยผู้โดยสารรถม้าเที่ยวนี้มีทั้งชนชั้นกลางระดับล่าง, ชนชั้นกลางระดับสูง, ขุนนาง และแม่ชี หรือกล่าวได้ว่าผู้โดยสารรถม้ากลุ่มนี้เป็นเหมือนการสะท้อนสังคมฝรั่งเศสยุคนั้น

ผู้โดยสารกลุ่มนี้ตอนแรกก็เหยียดหยามนางเอกที่เป็นกะหรี่ แต่พอพบว่ากะหรี่คนนี้พกอาหารติดตัวมาด้วยมากมาย และเอามาแจกจ่ายเพื่อนร่วมทาง พวกเขาก็เลยเริ่มทำตัวดีกับเธอ ต่อมารถม้าคันนี้เกิดหลงเข้าไปในแดนของทหารฝ่ายศัตรู ทหารก็เลยคุมตัวทุกคนในรถม้าเอาไว้ และจะปล่อยไปก็ต่อเมื่อนางเอกยอมมีเซ็กส์กับทหาร แต่ละคนในรถม้าก็เลยพยายามกดดันนางเอกด้วยวิธีการต่างๆนานาให้ยอมทำตามที่ทหารต้องการ ทั้งๆที่นางเอกไม่เต็มใจจะมีเซ็กส์กับทหารฝ่ายศัตรู

ในที่สุดนางเอกก็เลยทนแรงกดดันจากทุกคนไม่ไหว เธอยอมมีเซ็กส์กับทหาร ทหารก็เลยปล่อยทุกคนไป ปรากฏว่าหลังจากนั้นทุกคนบนรถม้าก็กลับมาเหยียดหยามนางเอกเหมือนเดิม ทำราวกับว่านางเอกเป็นคนน่ารังเกียจ ไม่อยากจะเสวนาด้วย ทั้งๆที่นางเอกเสียสละเพื่อทุกคน

เราชอบหนัง/ละครตอนนี้อย่างที่สุดในชีวิต รู้สึกว่ามันสะท้อนมนุษย์, ชนชั้นล่าง, ชนชั้นกลาง, ชนชั้นสูงได้อย่างดีสุดๆ ดูแล้วรู้สึกกราบตัวละครนางเอกตัวนี้มากๆ หัวใจเธอมันน่ากราบจริงๆ

พอดีเพิ่งดูหนังอินเดียเรื่อง DEVIL (2018, Kshitij Sharma, A+30) ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ Guy de Maupassant เหมือนกัน แล้วก็ชอบสุดๆเหมือนกัน ทั้งๆที่จริงๆแล้ว DEVIL กำกับไม่ค่อยดีเท่าไหร่

คือเหมือนกับว่า Guy de Maupassant เขาเข้าใจมนุษย์อย่างถ่องแท้มากๆน่ะ หรือเขามองมนุษย์ในแบบที่ใกล้เคียงกับเรามอง เขาเข้าใจความเปราะบางของมนุษย์ เข้าใจ “แบบทดสอบความเป็นมนุษย์” เข้าใจมนุษย์ที่คิดว่าตัวเองเป็นคนดี พยายามทำดี แต่พอเจอสถานการณ์อะไรต่างๆเข้ามา เราก็จะพบว่ามนุษย์เกือบทุกคนล้วนเป็นสีเทาด้วยกันทั้งนั้น

และพอบทประพันธ์ต้นแบบของ Guy de Maupassant มันเข้าทางเราสุดๆแบบนี้ เพราะฉะนั้นถึงแม้มันจะเป็น “หนังที่สร้างขึ้นเพื่อฉายทางทีวี” อย่าง BALL OF FAT หรือเป็นหนังที่ “ขาดฝีมือทางการกำกับ” แบบ DEVIL หนังดังกล่าวก็ยังคงสะท้านสะท้อนสะเทือนใจเราอย่างรุนแรงสุดๆอยู่ดี ซึ่งแตกต่างจากหนังที่อาจจะกำกับดี ถ่ายภาพสวย ถ่ายภาพทรงพลังมากมายหลายเรื่อง แต่ไม่สามารถตีแผ่ความเป็นมนุษย์ของตัวละครออกมาได้อย่างจั๋งหนับแบบ Guy de Maupassant

Monday, November 19, 2018

MANGPONG


THE REMAINS OF THE DAYS เถ้าถ่านแห่งวารวัน

ผ่านไปเมเจอร์ เอกมัย เห็นสภาพร้านแมงป่องเหลือแต่ซากแล้วก็หวนนึกถึงอดีต เพราะเครือข่ายร้านแมงป่องนี่ก็ผูกพันกับเรามานาน 30 ปี พอๆกับโรงหนังลิโด-สกาลา เหมือนเราเติบโตมากับการฟังเทป HARAJUKU (เทปผีที่ร้านแมงป่องผลิตเอง) และการดูวิดีโอของร้านแมงป่องสาขามาบุญครอง น่าจะตั้งแต่ปี 1987 เลยมั้ง ถ้าจำไม่ผิด วิดีโอเทปม้วนแรกที่ซื้อในชีวิตก็คือ TOP GUN (1986, Tony Scott) จากร้านแมงป่องที่มาบุญครอง ตอนนั้นน่าจะราคาประมาณ 200 บาท จำได้ว่าเราอดข้าวกลางวัน 10 วันในช่วงปิดเทอมหน้าร้อน เพื่อจะได้เก็บเงินมาซื้อวิดีโอม้วนนี้ อยากได้วิดีโอ TOP GUN มากๆเพราะช่วงนั้นเงี่ยน Tom Cruise มากๆ ส่วนวิดีโอเทปอีกม้วนที่ซื้อจากร้านแมงป่องในยุคแรกก็คือ CAMILLE CLAUDEL (1988, Bruno Nuytten) แต่หลังจากนั้นเราก็หันมาซื้อวิดีโอจากร้านลูกแมวที่มาบุญครองเป็นหลัก เพราะร้านลูกแมวขายถูกกว่า

อีกจุดที่ผูกพันกับร้านแมงป่องมากๆ ก็คือตอนที่เราอยู่ม.4-ม.5 เวลาเลิกเรียน แล้วเรากับเพื่อนๆก็ชอบไปยืนดูจอทีวีที่ร้านแมงป่องมาบุญครองเปิดไว้ เพราะช่วงนั้นมิวสิควิดีโอจากต่างประเทศเป็นอะไรที่หาดูยากมากๆ พวกเราก็เลยชอบไปยืนดูมิวสิควิดีโอวง BANANARAMA กันที่หน้าร้านแมงป่อง เพราะทางร้านชอบเปิดมิวสิควิดีโอวงนี้ แล้วต่อมาทางร้านก็ชอบเปิดหนังเรื่อง THE LAND BEFORE TIME (1988, Don Bluth)

ยังจำได้อยู่เลยว่า พนักงานร้านแมงป่องมาบุญครองคนนึงตัดผมม้า พวกเราก็เลยตั้งฉายาเธอลับหลังว่า Swing Out Sister

ถ้าหากลิโด/สกาลา เป็นโรงหนังที่ผูกพันกับเรามานานที่สุด แมงป่องก็คงจะเป็นร้านวิดีโอ/ดีวีดีที่อยู่กับเรามานานที่สุดมั้ง เพราะทั้งร้านลูกแมว, AVS, REX, IMAGINE, TSUTAYA, แว่นวิดีโอ อะไรพวกนี้ก็อำลาจากเราไปนานแล้ว มีแมงป่องนี่แหละที่อยู่กับเรามาได้นานถึง 30 กว่าปี

Sunday, November 18, 2018

42 UP (1998, Michael Apted, UK, documentary, A+30)


42 UP (1998, Michael Apted, UK, documentary, A+30)

1.ในที่สุดก็ตามดูได้ครบทุกภาค แม้จะดูสลับกันไปมา เพราะเราดู 49 UP (2005) กับ 56 UP (2012) ก่อน แล้วค่อยมาย้อนดูภาคเก่าๆในภายหลัง พอดูภาคนี้จบแล้วก็ร้องไห้ รู้สึกมันบอกไม่ถูกยังไงไม่รู้ เหมือนหนังมันสะท้อนความอะไรสักอย่างของชีวิตมนุษย์ได้ในแบบที่ไม่ค่อยเจอในหนังเรื่องอื่นๆ เหมือนหนังส่วนใหญ่มันจะดึงมาเฉพาะแง่มุมที่น่าสนใจในชีวิตของ subject มั้ง แต่หนังเรื่องนี้พอมันตามถ่ายชีวิตคนธรรมดาหลายคน และตามถ่ายนานถึง 48 ปี (1964-2012) มันก็เลยเป็นการดูชีวิตคนธรรมดาจริงๆ เราได้เห็นคนธรรมดาเหล่านี้เติบโต เปล่งปลั่งเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว ค่อยๆแก่ตัวลงเรื่อยๆ  สมหวัง ผิดหวัง แต่งงาน หย่า มีลูก มีหลาน พ่อตาย แม่ตาย เจ็บปวด กัดฟันทน พยายามประคับประคองชีวิตตัวเองไปเรื่อยๆ พยายามปลอบใจตัวเอง ฯลฯ พอดูแล้วมันก็เกิดความรู้สึกซาบซึ้งบางอย่างที่หาไม่ค่อยได้ในหนังเรื่องอื่นๆน่ะ

2.เราว่าการตัดต่อช่วงท้ายของภาคนี้มันช่วยกระตุ้นให้ร้องไห้หรือซาบซึ้งได้ดีด้วยแหละ เพราะช่วงท้ายของภาคนี้ มันนำฉากตอน subjects อายุ 7 ขวบ ขณะกำลัง “เล่นสร้างบ้าน” ในสนามเด็กเล่น มาตัดต่อเข้ากับฉาก subjects ตอนอายุ 42 ปี ขณะอยู่กับสามี, ภรรยา และลูกๆของตัวเอง  พอมันตัดต่อสองช่วงเวลานี้เข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่ช่วงเวลาของการ “เล่นสร้างบ้าน” เมื่อ 35 ปีก่อน กับช่วงเวลาของ “บ้านที่สร้างเสร็จแล้ว” ในอีก 35 ปีต่อมา การปะทะกันของสองห้วงเวลานี้มันก็เลยก่อให้เกิดอารมณ์ที่ซึ้งมากๆ ซึ่งที่เกิดอารมณ์แบบนี้ก็เป็นเพราะคนดูรู้ดีด้วยว่า ในช่วงเวลา 35 ปีนั้น subject แต่ละคนต้องเผชิญกับอะไรในชีวิตมาบ้าง ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้ได้

3.Nick หนุ่มนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ ยังคงเป็นขวัญใจเราเหมือนเดิม ชอบมากที่เขาเป็นลูกเกษตรกร และเขาบอกว่า การที่เขาเติบโตมาในฟาร์มในชนบท ทำให้เขาสงสัยมาตั้งแต่เด็กว่า สายลม, ก้อนเมฆ, สายน้ำ มันเคลื่อนที่ได้ยังไง ความสงสัยเหล่านี้ก็เลยทำให้เขาเรียนวิทยาศาสตร์ จบ Oxford และได้เป็นอาจารย์มหาลัยที่สหรัฐ

4.Bruce ก็ยังคงเป็นขวัญใจเราเหมือนเดิมเหมือนกัน รู้สึกว่าเราดูผู้ชายไม่ผิดจริงๆ 555 เพราะเรารู้สึกว่าเขามีความเป็นพ่อพระอยู่ในตัว และเขาก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะเขาช่วยเหลือ Neil ที่เป็นคนไร้บ้าน ให้มาอาศัยอยู่ในบ้านของเขาที่ลอนดอนเป็นเวลา 2 เดือน ก่อนที่ Neil จะหาที่อยู่ได้

ชอบมากๆด้วยที่ภรรยาของ Bruce ดู “ป้า” มากๆ เหมือน Bruce คงไม่ได้สนใจผู้หญิงที่รูปร่างหน้าตาหรือเปลือกนอก แต่คงสนใจนิสัยใจคอมากกว่า 555

6.พอดูหนังสารคดีชุดนี้แล้วก็นึกถึงหนังของ Mike Leigh ตลอดเวลา และนั่นแสดงให้เห็นว่า หนังของ Mike Leigh มันคงสะท้อนความเป็นจริงของสังคมอังกฤษได้ดีมากๆน่ะ คือเหมือนกับว่าเส้นแบ่งระหว่างหนัง fiction ของ Mike Leigh กับหนังสารคดีที่สะท้อนชีวิตคนธรรมดาในสังคมอังกฤษมันคงบางมากๆ

อย่าง Symon ที่เป็นผู้ชายผิวดำในหนังสารคดีเรื่องนี้ เขาก็มีแม่ที่แท้จริงเป็นผู้หญิงผิวขาว พอดูแล้วเราก็นึกถึง SECRETS & LIES (1996, Mike Leigh) ขึ้นมาเลย หรืออย่างแก๊งสามสาว Jackie, Lynn, Sue ในหนังสารคดีเรื่องนี้ ก็ทำให้เรานึกถึงหนังอย่าง ABIGAIL’S PARTY (1977, Mike Leigh) ด้วย

7.ชอบความสัมพันธ์ระหว่าง Jackie กับอดีตแม่ผัวมากๆ คือ Jackie เธอมีผัว และมีลูกด้วยกันสองคน แต่ Jackie กับผัวมีปัญหากัน ก็เลยหย่ากันไป ปรากฏว่า Jackie หาเงินไม่พอเลี้ยงลูกสองคน “อดีตแม่ผัว” ก็เลยต้องคอยให้เงินเลี้ยงดู Jackie ตลอดเวลา Jackie จะได้มีเงินซื้ออาหารเลี้ยงหลาน และ Jackie กับอดีตแม่ผัวก็เลยสนิทกันไปเลย

8.รู้สึกว่าชีวิต Andrew น่าเบื่อที่สุด แต่ก็อาจจะมีความสุขที่สุด 555 คือ Andrew เป็นลูกคนรวย เขาพูดมาตั้งแต่ 7 ขวบว่าเขาจะเรียนต่อโรงเรียนอะไรและมหาลัยอะไร และเขาก็ได้เรียนต่อมหาลัย Cambridge ตามนั้นจริงๆ และจบมาทำงานกฎหมายเหมือนที่เคยคาดไว้จริงๆ และเขาบอกว่าบริษัทของเขามีสาขาที่ไทยด้วย แต่ไม่บอกว่าเป็นบริษัทอะไร เหมือนชีวิตเขาราบเรียบมากน่ะ แทบไม่มีปัญหาชีวิตอะไรเลย แต่งงาน มีลูกไปตามปกติ และเขาก็บอกว่าที่ชีวิตเขาเป็นแบบนี้ เพราะเขาไม่เคยทำอะไรที่ adventurous เลย

เรารู้สึกว่าชีวิตแบบ Andrew มันน่าเบื่อสุดๆเลยนะ แต่มันก็คงมีความสุขมากกว่าเราหลายเท่าแหละ

DANCE ME TO MY SONG


10 FAVORITE MOVIE CHARACTERS

DAY 5: Julia (Heather Rose) from DANCE ME TO MY SONG (1998, Rolf de Heer, Australia)

ปกติแล้วเราจะไม่อินกับพล็อตเรื่องซินเดอเรลลา เพราะเหมือนในพล็อตแบบนี้ นางเอกต้อง “สวย และนิสัยดี” และพระเอกต้อง “รวย” น่ะ และเราก็จะไม่สามารถ identify ตัวเองกับตัวละครนางเอกสวยๆได้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นหนังแบบ MAID IN MANHATTAN (2002, Wayne Wang) ก็เลยเป็นอะไรที่เราดูแล้วเฉยมากๆ

แต่ DANCE ME TO MY SONG นี่เราชอบสุดๆเลย เพราะในหนังเรื่องนี้พระเอกไม่ได้เป็นคนรวย และนางเอกไม่ได้เป็นคนสวย เธอเป็นผู้ป่วยสมองพิการที่พูดไม่ได้ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องนั่งรถเข็น และมีความเงี่ยนผู้ชาย  โดยสิ่งที่หนังเรื่องนี้หยิบยืมมาจากพล็อตเรื่องแนวซินเดอเรลลาไม่ใช่เรื่องของผู้หญิงสวย นิสัยดี ยากจน เจอกับผู้ชายรวย แต่เป็นเรื่องของ “พี่เลี้ยงใจร้ายจากนรกที่พยายามกลั่นแกล้งนางเอกอย่างรุนแรงตลอดเวลา และพยายามแย่งผัวนางเอกด้วย” โดยในหนังเรื่องนี้ จูเลีย สาวสมองพิการ ต้องพบกับการทารุณกรรมต่างๆนานาจากแมเดอเลน หญิงสาวที่ดูแลเธอ และแมเดอเลนก็พยายามแย่งชายหนุ่มที่จูเลียหมายปองไปจากเธอด้วย

DANCE ME TO MY SONG ก็เลยเหมือนเป็นการหยิบยืมเอาองค์ประกอบบางอย่างจาก CINDERELLA มาปรับใช้ในหนังในแบบที่เข้าทางเราที่สุด เราไม่อินกับนางเอก “สวย นิสัยดี” เราอินกับนางเอก “หน้าตาธรรมดา พิการ และเงี่ยนผู้ชาย” แบบในหนังเรื่องนี้

Saturday, November 17, 2018

THE BRIDE (2015, Paula Ortiz, Spain, A+30)


THE BRIDE (2015, Paula Ortiz, Spain, A+30)   

เป็นหนังที่สร้างจากบทละครเวทีของ Federico Garcia Lorca เหมือนกับหนังเรื่อง YERMA (1998, Pilar Tavora, Spain) ที่เราเคยดู แต่ THE BRIDE ออกมาดีกว่า YERMA หลายเท่าน่ะ เพราะ YERMA มันดูเหมือนเล่าเรื่องดราม่าแบบตรงไปตรงมา แต่ THE BRIDE นี่ cinematic มากๆ เหมือนผู้กำกับพยายามออกแบบซีนต่างๆให้มันดู visual มากๆ cinematic มากๆ น่าจดจำมากๆ และเหมือนบทสนทนาในหนังก็ดูสละสลวยผิดปกติด้วย เราก็เลยเดาว่าบทพูดบางอันน่าจะมาจากบทละครโดยตรง และวิธีการแบบนี้ก็ดีแล้ว เพราะหนังมันก็ได้ทั้งความสละสลวยทางภาษาพูด และความน่าจดจำมากมายในทาง visual โดยเฉพาะในฉากที่ตัวละครฆ่ากัน และฉากเครื่องเล่นโคมหมุนอะไรสักอย่างที่คล้ายๆต้นแบบของภาพยนตร์

เห็นความ cinematic ของหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึงหนังอย่าง BEHIND THE SUN (2001, Walter Salles, Brazil) และ FLIGHT OF THE INNOCENT (1992, Carlo Carlei, Italy) ที่เหมือนพยายามสร้างฉากที่ cinematic ขึ้นมา เพื่อชดเชยเนื้อเรื่องที่อาจจะซ้ำซาก หรืออาจจะไม่ซับซ้อนมากนัก

Luisa Gavasa แสดงได้สุดฤทธิ์มากๆในบทแม่สามี ไม่แปลกใจที่เธอคว้ารางวัลดาราประกอบหญิงมาได้หลายเวทีจากหนังเรื่องนี้

ดู THE BRIDE แล้วก็นึกถึง HUSBAND MATERIAL (2018, Anurag Kashyap, India) ด้วย เพราะนางเอกของหนังสองเรื่องนี้ ต้องเลือกระหว่าง “ผู้ชายเรียบร้อย สุขุม เอาการเอางาน” กับ “ผู้ชายดิบเถื่อน เร้าใจ” เหมือนๆกันเลย 555

ดูแล้วนึกถึง THE DEVIOUS PATH (1928, Georg Wilhelm Pabst, Germany) ด้วยเหมือนกัน แต่นางเอกของ THE DEVIOUS PATH มีทางเลือกสามทาง คือเธอต้องเลือกระหว่าง “สามีที่สุขุม เรียบร้อย เอาการเอางาน รวย”, “หนุ่มนักมวย ดิบเถื่อน เร้าใจ” และ “ศิลปินหนุ่ม”

CARLA'S SONG


10 FAVORITE MOVIE CHARACTERS

DAY 4: George Lennox (Robert Carlyle) from CARLA’S SONG (1996, Ken Loach, UK)

หลงรักตัวละครคนขับรถเมล์ในหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ พระเอกหนังเรื่องนี้เป็นคนขับรถเมล์ที่ตกหลุมรักคาร์ลา หญิงชาวนิคารากัวที่ลี้ภัยมาอยู่ในอังกฤษ เราชอบตัวละครพระเอกแบบนี้อย่างสุดๆน่ะ เพราะเขาไม่ได้ชอบผู้หญิงที่ “สวย อ่อนหวาน น่ารัก” แต่เขาชอบผู้หญิงที่ “มีปัญหาทางจิต, มีปมฝังใจในอดีตอย่างรุนแรง, มีบาดแผลจากสงคราม และอาจจะเคยเป็นนักรบในสงครามกลางเมืองมาก่อน” เพราะแน่นอนว่าเราไม่สามารถ identify ตัวเองกับตัวละครหญิงสาวที่ “สวย อ่อนหวาน น่ารัก” ได้น่ะ แต่เราสามารถ identify ตัวเองกับหญิงสาวที่ “มีปัญหาทางจิต มีปมฝังใจในอดีตอย่างรุนแรง” ได้ เพราะฉะนั้นการที่พระเอกหลงรักหญิงสาวแบบนี้อย่างหัวปักหัวปำ เราก็เลยดูหนังเรื่องนี้แล้วรู้สึกเหมือนกับว่าเขาหลงรักเราไปด้วย 555

ควรดูหนังเรื่องนี้ควบกับ AMERICAN MADE (2017, Doug Liman) เพราะทั้ง CARLA’S SONG และ AMERICAN MADE ต่างก็พูดถึงสงครามกลางเมืองในนิคารากัวเหมือนกัน

Thursday, November 15, 2018

35 UP (1991, Michael Apted, UK, documentary, A+30)


35 UP (1991, Michael Apted, UK, documentary, A+30)

เพิ่งได้มีโอกาสดูต่อ หลังจากดู 28 UP ไปในช่วงสิ้นปี 2017

ดูแล้วก็รู้สึกเศร้าใจอย่างไม่มีสาเหตุ หรือเศร้าใจอย่างบอกไม่ถูก รู้สึกเหมือน “ชีวิตเราก็เท่านี้”

เหมือนพอ subjects แต่ละคนอายุถึง 35 ปี subjects บางคนก็ disillusion กับชีวิตแล้ว เลิกฝันหรือหวังอะไรลมๆแล้งๆแล้ว และยอมรับขีดจำกัดของชีวิต ยอมรับว่าชีวิตมันก็สุขทุกข์เศร้าผิดหวังสมหวังสลับกันไป

โทนี่เคยฝันอยากเป็นนักขี่ม้า, เคยฝันอยากเป็นนักแสดง เขาพยายามอย่างเต็มที่แล้ว แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เขาก็เลยเป็นคนขับแท็กซี่ต่อไป และดูเหมือนจะมีความสุขดี ถึงแม้เขาจะไม่ประสบความสำเร็จตามที่เคยฝันไว้ก็ตาม

นีลเคยฝันอยากเป็นนักบินอวกาศตอนเด็กๆ แต่ก็โตมาเป็นคนไร้บ้าน ต้องยังชีพด้วยเงินสวัสดิการสังคมไปเรื่อยๆ ชีวิตของเขารันทดที่สุดในหนัง และสถานะของเขาก็สำคัญมากในหนัง เพราะเขาเหมือนเป็นตัวแทนของคนจนในหนังเรื่องนี้

ซูก็เคยฝันอยากเป็นนักแสดงเหมือนกัน แต่ตอนนี้เธอก็ต้องเลี้ยงลูกสองคนตามลำพัง และทำงาน part time ในสถาบันปล่อยกู้จำนอง

ชอบ Bruce กับ Nick มากๆ ในฐานะ desirable men 555 Bruce ตอนเด็กๆเขาฝันอยากไปประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมอังกฤษ เพื่อที่เขาจะได้สอนคนที่นั่นให้ civilized มากขึ้น และพอเขาโตขึ้น เขาก็ได้ไปสอนที่บังคลาเทศ เราว่าจริงๆแล้วเขาน่าจะรวยนะ แต่เขากลับเลือกที่จะไปใช้ชีวิตอย่างยากลำบากที่บังคลาเทศ คือดูแล้วเหมือนกับว่าเขาเป็นคนที่จิตใจดีงามจริงๆน่ะ มีความเป็นพ่อพระอยู่ในตัว

เราว่า Bruce มีส่วนที่เหมือนและต่างจาก John โดยส่วนที่เหมือนกันก็คือทั้งสองคนเกิดมารวยเหมือนกัน และทั้งสองคนก็เน้นทำงานการกุศลเหมือนกัน โดย John เน้นระดมทุนหาเงินไปช่วยเหลือประเทศ Bulgaria ที่ขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นอย่างมาก แต่เราว่ามาดของ John มันคล้ายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะน่ะ เราก็เลยไม่ไว้ใจ John มากเท่ากับที่ไว้ใจ Bruce

ส่วน Nick นั้นเป็น husband material จริงๆ 555 ตอนเด็กๆเขาดู nerd มากๆ แต่พออายุ 21 นี่รูปร่างหน้าตาดีขึ้นมาเลย เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์และเป็นอาจารย์มหาลัยในสหรัฐ เขาดูดีทั้งรูปร่างหน้าตา นิสัยใจคอ ในสายตาของเรา คือเขาดูเรียบร้อย พึ่งพาได้ ฉลาดน่ะ และเขาทำให้เรานึกถึงหนุ่มวิศวะคนนึงที่เราแอบหลงรักด้วย 555

ชอบ Lynn มากๆด้วย คนที่เป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดเคลื่อนที่ เหมือนเธอเป็นผู้หญิงที่มีความแรงอะไรบางอย่างซ่อนอยู่ในตัว แต่ก็เป็นคนที่น่าสงสารในขณะเดียวกัน เหมือนเธอป่วยเพราะมีอะไรบางอย่างในสมอง

Sunday, November 11, 2018

ZHANG YIMOU


สรุปว่าเราเคยดูหนังของ Zhang Yimou ไป 14 เรื่อง แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้                         

1.หนังที่เราชอบสุดๆคือ  JU DOU (1990), RAISE THE RED LANTERN (1991), THE STORY OF QIU JU (1992), TO LIVE (1993), NOT ONE LESS (1999)

2.หนังที่เราเฉยๆ คือ SHANGHAI TRIAD (1995)

3.หนังที่เราไม่ค่อยชอบ คือ THE ROAD HOME (1999), HOUSE OF FLYING DAGGERS (2004), CURSE OF THE GOLDEN FLOWER (2006)
                               
4.หนังที่เราเกลียด คือ HERO (2002), A WOMAN A GUN AND A NOODLE SHOP (2010), THE FLOWERS OF WAR (2011), THE GREAT WALL (2016), SHADOW (2018)

Saturday, November 10, 2018

SHADOW (2018, Zhang Yimou, China, C+)


SHADOW (2018, Zhang Yimou, China, C+)

เกลียดชังหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงพอๆกับ HERO  (2002, Zhang Yimou) เลย 555 เหมือนหนังสองเรื่องนี้มันเข้าข้างตัวละครที่เราเกลียดชังน่ะ อย่าง HERO หนังก็เข้าข้าง King of Qin ที่เราเกลียดมากๆๆๆๆ ส่วน SHADOW นั้น ตอนแรกเราเกลียดในระดับ F เลย เพราะดูเหมือนหนังมันเข้าข้างตัวละครอย่าง “เจ้าหญิง” กับ Captain Tian  ที่ “กระหายสงคราม เกลียดชังสันติภาพ เกลียดชังการประนีประนอม” อย่างมากๆน่ะ และยิ่งพอหนังเรื่องนี้มันดูเหมือนสนับสนุนให้ทำสงครามเพื่อ reclaim ดินแดน ไม่ต้องประนีประนอมใดๆแล้ว เราก็เลยยิ่งนึกถึงพฤติกรรมของรัฐบาลจีนใน “ทะเลจีนใต้” ในยุคปัจจุบันอย่างมากๆ ยิ่งคิดถึงทะเลจีนใต้มากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งเกลียด SHADOW มากเท่านั้น

แต่ยังดีที่องก์สุดท้ายของหนัง มันไม่ได้ “กระหายสงคราม เกลียดชังสันติภาพ” มากเท่าช่วงก่อนๆหน้านั้น อารมณ์ของเราก็เลยดีขึ้นมาบ้าง 555 จริงๆแล้วก็ไม่แน่ใจว่า Zhang Yimou มีแนวคิดทางการเมืองอย่างไรกันแน่ในหนังเรื่องนี้ แต่เนื่องจากเราเกลียดจางอี้โหมวมานาน 16 ปีแล้วนับตั้งแต่หนังเรื่อง HERO เราก็เลยเกลียดเขาต่อไปแล้วกัน

Friday, November 09, 2018

VIRAL (2018, Manussanan Pongsuwan, A+15)


VIRAL (2018, Manussanan Pongsuwan, A+15)
ผีโทรศัพท์

1.มีบางจุดของหนังที่ทำให้นึกถึง CELINE AND JULIE GO BOATING (1974, Jacques Rivette) โดยเฉพาะช่วงท้ายๆ

2.ดูจบแล้วรู้สึกว่าหนังขาดฉาก climax แบบรุนแรงอีกล็อตนึง หรือขาดการ twist อีกรอบตามแบบหนังสยองขวัญสูตรสำเร็จทั่วไป คือเราชอบฉากท้ายๆเรื่องมากพอสมควร แต่มันไม่ได้ intense แบบฉาก climax ของหนังสยองขวัญทั่วไปน่ะ เราก็เลยนึกว่ามันจะต้องมี “อะไรแรงๆ” ตามมาอีกชุดใหญ่หลังจากนั้น ปรากฏว่าหนังดันจบไปเลย 555 เหมือนทุกอย่างในหนังคลี่คลายง่ายเกินคาดมากๆ

3.แต่ถึงแม้อารมณ์เราจะค้างเติ่ง รู้สึกเหมือนหนังเรื่องนี้ยังไม่ fulfill เรามากพอในฐานะหนังสยองขวัญ แต่ถ้าหากมองว่า หนังเรื่องนี้ต้องการจะสื่อว่า “คนน่ากลัวกว่าผี” หรืออะไรทำนองนี้ เราก็ว่าหนังก็เล่าครบตามที่มันต้องการแล้วนะ เพราะฉะนั้นเราก็เลยไม่ได้อารมณ์เสียกับตอนจบของหนังมากนัก คือถ้าหากมันมีอะไรแรงๆมี climax ตามมาอีกชุดก็ดี แต่ถ้าหากมันไม่มี มันก็ดูจบแบบธรรมชาติดีเหมือนกัน ไม่ฝืนตัวเองเกินไป 555

4.ชอบพลอย ศรนรินทร์อย่างสุดๆ กลายเป็นนักแสดงหญิงที่เชื่อฝีมือได้เลย และยิ่งในหนังเรื่องนี้มีฉากที่ปะทะกับเบสท์ ณัฐสิทธิ์ด้วยแล้ว ก็ยิ่งดีมากๆ เพราะสองคนนี้แสดงเก่งทั้งคู่ พอได้มาปะทะกันในฉากเดียวกัน มันก็เลยเข้าท่า

5.ชอบความพยายามลงลึกด้าน character ให้กับตัวละครนำหญิงสองตัวด้วย โดยเฉพาะตัวนางเอกที่ไม่ใช่สาวซื่อใส แต่เป็นสาวร่านที่มีปมด้อยเรื่องไม่ได้เรียนต่อ ต้องทำงานตั้งแต่เด็ก เราว่าการที่หนังใส่ใจเรื่องชีวิตตัวละครแบบนี้เป็นอะไรที่ดีมาก

6.แต่เสียดายที่เหมือนหนังไปได้ไม่สุด ทั้งในแง่ความเป็น “หนังสยองขวัญ” หรือในแง่ความเป็น “หนังดราม่าที่ฉาบหน้าเป็นหนังสยองขวัญ” แบบ DARK WATER (2005, Walter Salles)