Friday, June 29, 2018

THE DIRECTOR'S FAMILY


แนะนำหนังในกลุ่ม ORDINARY LIVES, ORDINARY PEOPLE หรือหนังเกี่ยวกับชีวิตคนธรรมดาที่เราชอบสุดๆ

17.HOMEMADE SAKE (2001, Ono Satoshi, Japan, documentary, 49min)
18.IMAGES OF THE ABSENCE (1998, German Kral, Argentina)
19.OUR FILM (2005, Atthasit Somchob, 22min)
20.UMMA (MOTHER) (2005, Hohyun Joung, South Korea)
21.SLEEPING BEAUTY (2006, Chulayarnnon Siriphol)
22.THE LOVE (2007,  Supakit Seksuwan)
23.A CENTURY OF LOVE (2008, Chaloemrat Gaweewattana)
24.HOME VIDEO (2008, Yanin Pongsuwan)
25.MY GRANDFATHER (2008, Pichet Smerchua)
26.MY MOTHER AND HER DARKNESS (2008, Wiwat Lertwiwatwongsa)
27.A PLACE OF DIFFERENT AIR (2008, Chaloemkiat Saeyong, 24min)
28.บ้านในสายตาของแม่ พ่อ และโอรีโอ้ในบางครั้ง (2009, Thakoon Khempunya, 10min)
29. EMPIRE OF MIND (2009, Nontawat Numbenchapol, 90min)
30.GRANDMOTHER (2009, Yuji Kawamura, Japan),
31.ME AND MY VIDEO DIARY (2010, Tani Thitiprawat)
32.THE MOTHER WANNA GO TO CARREFOUR (2010, Nawapol Thamrongrattanarit)
33.SUNDAY (2010, Siwapond Cheejedreiw)
34.HOMEMADE (2013, Sivaroj Kongsakul)
35. AMA SAW SNAKE (2014, Napat Vattanakuljalas)
36.HOME (2014, Patiparn Amornthipparat
37.MY GRANDFATHER’S PHOTOBOOK (2015, Nutthapon Rakkatham, Phattana Paiboon)
38. ALONG THE ONE WAY (2016, Bani Nasution, Indonesia)
39.ARKONG (2016, Anuwat Amnajkasem)
40. EVERYTHING IS FAMILY (2016, Wisaruta Rakwongwan)
41.CREMATION DAY (2017, Napasin Samkaewcham)
42.HOW FAR A BETTER LIFE (2017, Chantana Tiprachart)
43. TALADNOI STORY (2017, Jiraporn Saelee, 39min)

หนึ่งในหนัง 5 เรื่องที่เราจะนำมาฉายที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ค.นี้ ก็คือหนังเรื่อง “บรรยากาศยามเช้าที่บ้านตอน 6 โมง” (2011, Wachara Kanha)  ซึ่งเป็นการบันทึกบรรยากาศยามเช้าที่บ้านตอน 6 โมงจริงๆ ช่วงที่ผู้กำกับเพิ่งงัวเงียแหกขี้ตาตื่นนอนขึ้นมา มองอะไรไม่ชัด และยังไม่อยากลุกจากที่นอน ขณะที่แม่เรียกให้ลูกๆตื่นนอนขึ้นมา

เราชอบหนังแบบนี้มากๆ หนังที่สามารถถ่ายทอดกิจวัตรประจำวันของคนธรรมดาออกมาได้อย่างงดงามและมีมนต์เสน่ห์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย คือการบันทึกภาพกิจวัตรประจำวันอาจจะเป็นเรื่องง่าย แต่การร้อยเรียงมันออกมาให้ดูงดงามไม่ใช่เรื่องง่าย

จริงๆแล้วนอกจาก “บรรยากาศยามเช้าที่บ้านตอน 6 โมง” ก็มีหนังอีกหลายเรื่องที่ใกล้เคียงกัน แต่ไม่ได้นำมาฉายในงานนี้ คือ “บรรยากาศยามเช้าที่บ้านตอน 6 โมง” อาจจะจัดได้ว่าอยู่ในกลุ่มหนัง “สารคดีเกี่ยวกับครอบครัวผู้กำกับ” ซึ่งมีมากมายหลายเรื่อง โดยเฉพาะในไทย โดยในกลุ่มหนัง “สารคดีเกี่ยวกับครอบครัวผู้กำกับ” นี้ อาจจะแยกออกได้เป็นหนังที่ “แทบไม่มีเหตุการณ์ดราม่า” อย่างเช่น “บรรยากาศยามเช้าที่บ้านตอน 6 โมง” และ “หนังที่มีเหตุการณ์ดราม่า” อย่างเช่น TARNATION (2003, Jonathan Caouette), MOTHER (2012, Vorakorn Ruetaivanichkul) และ “เรื่องราวในรถ” (2011, Wachara Kanha, 4min) ที่บันทึกภาพการทะเลาะกันในครอบครัว เมื่อพี่ชายไม่พอใจที่พ่อแม่ดูเหมือนจะรักน้องชายมากกว่า (ถ้าจำไม่ผิด)

จริงๆแล้วถ้าพูดอย่างกว้างๆ หนังในกลุ่มนี้ก็อาจจะถือเป็นหนังที่ถ่ายทอด ordinary lives, ordinary people ได้เกือบหมดเลยก็ได้นะ เพราะถึงแม้หนังส่วนหนึ่งในกลุ่มนี้จะบันทึกเหตุการณ์ดราม่า ชีวิตของคนในหนังก็เป็น “คนธรรมดา” น่ะ โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้กำกับยังไม่มีชื่อเสียงโด่งดังขณะทำหนังเรื่องนั้น และเหตุการณ์ดราม่า อย่างเช่น “คุณแม่ป่วย” หรือ “สมาชิกครอบครัวทะเลาะกัน” ก็อาจจะถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันในครอบครัวของผู้กำกับหนังเรื่องนั้นไปแล้ว

พอเขียนถึงหนังกลุ่มนี้แล้ว เราก็เลยพยายามนึกว่า หนังเรื่องไหนเป็นหนังเรื่องแรกๆในกลุ่มนี้ที่เราได้ดู และเราก็คิดว่าอาจจะเป็นหนังเรื่อง 0016643225059 (1994, Apichatpong Weerasethakul) ที่บันทึกการโทรศัพท์คุยกันระหว่างแม่กับลูกชาย แต่ผู้กำกับถ่ายทอดมันออกมาเป็นหนังทดลองที่หลอนแบบแปลกๆ

หนังเรื่องต่อมาที่เราได้ดูที่เกี่ยวกับ “ครอบครัวของผู้กำกับ” น่าจะเป็นหนังสารคดีเรื่อง POP & ME (1999, Chris Roe) ที่เล่าเรื่องความสัมพันธ์ของผู้กำกับกับพ่อ และพูดถึงพี่ชายสองคนของผู้กำกับ นอกจากนี้ หนังยังตระเวนไปสัมภาษณ์ผู้คนทั่วโลกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนเหล่านั้นกับพ่อของตัวเองด้วย

จำได้ว่าเราชอบ POP & ME มากๆ เพราะผู้กำกับกับพี่ชายสองคนนี่หล่อสุดๆ คือตอนดูนี่น้ำเดินมากๆ อยากได้พี่ชายน้องชายทั้งสามคนนี้มากๆ

แต่หนังที่มีอิทธิพลต่อ “วิธีการดูหนัง” ของเราจริงๆน่าจะเป็นหนังเรื่อง HOMEMADE SAKE (2001, Ono Satoshi) ที่ทางมูลนิธิหนังไทยเคยนำมาฉายในปี 2003 เพราะ HOMEMADE SAKE เป็นหนังที่ไม่มี drama อะไรเลย และไม่มีความพยายามที่จะ please ผู้ชมใดๆเลยด้วย ซึ่งแตกต่างจากหนังเรื่อง 0016643225059 ที่ดู “สนุก” มากสำหรับเรา โดยผ่านทางการเล่นกับภาพและเสียงแบบหนังทดลอง และแตกต่างจาก POP & ME ที่เล่าเรื่องได้อย่างสนุกสนานผ่านการเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลก

คือตอนดู HOMEMADE SAKE นี่เรางงมากว่า ทำหนังแบบนี้ก็ได้ด้วยเหรอ 555 คือหนังเรื่องนี้เป็นผู้กำกับคุยกับพ่อ และผู้กำกับก็คุยกับแม่ ซึ่งต่างก็เป็นคนธรรมดาทั้งคู่ และพ่อของผู้กำกับก็ทำเหล้าสาเก และหนังก็บันทึกวิธีการทำเหล้าสาเกของพ่ออย่างตรงไปตรงมา โดยไม่มีการเร้าอารมณ์อะไรเลยแม้แต่นิดเดียว

การดูหนังเรื่อง HOMEMADE SAKE ในปี 2003 ก็เลยเหมือนเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ให้แก่เราว่าหนังแบบนี้ก็มีอยู่ด้วย หนังที่เป็นการคุยกับคนธรรมดาจริงๆ และบันทึกกิจวัตรประจำวันของคนธรรมดาจริงๆ โดยไม่มีการเร้าอารมณ์อะไรใดๆเลย

หลังจาก HOMEMADE SAKE เราก็ได้ดูหนังอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะหนังไทย ที่เป็นการบันทึกเรื่องราวครอบครัวของตัวผู้กำกับเหมือนกัน โดยหนังหลายเรื่องในกลุ่มนี้ก็แทบไม่มี drama อะไรในหนังเลย แต่หนังบางเรื่องในกลุ่มนี้ก็มี drama อยู่บ้าง แต่ drama เหล่านี้ อย่างเช่นการทะเลาะกัน หรือการแก่ตาย บางทีมันก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ “ชีวิตคนธรรมดา” เหมือนกัน

หนังเกี่ยวกับ “ครอบครัวธรรมดาของตัวผู้กำกับ” ที่เราชอบสุดๆ ก็มีอย่างเช่นเรื่อง IMAGES OF THE ABSENCE (1998, German Kral, Argentina), OUR FILM (2005, Atthasit Somchob, 22min), UMMA (MOTHER) (2005, Hohyun Joung, South Korea), SLEEPING BEAUTY (2006, Chulayarnnon Siriphol), THE LOVE (2007,  Supakit Seksuwan) A CENTURY OF LOVE (2008, Chaloemrat Gaweewattana), HOME VIDEO (2008, Yanin Pongsuwan), MY GRANDFATHER (2008, Pichet Smerchua), MY MOTHER AND HER DARKNESS (2008, Wiwat Lertwiwatwongsa), A PLACE OF DIFFERENT AIR (2008, Chaloemkiat Saeyong, 24min), บ้านในสายตาของแม่ พ่อ และโอรีโอ้ในบางครั้ง (2009, Thakoon Khempunya, 10min), EMPIRE OF MIND (2009, Nontawat Numbenchapol, 90min) GRANDMOTHER (2009, Yuji Kawamura, Japan),  ME AND MY VIDEO DIARY (2010, Tani Thitiprawat), THE MOTHER WANNA GO TO CARREFOUR (2010, Nawapol Thamrongrattanarit), SUNDAY (2010, Siwapond Cheejedreiw), HOMEMADE (2013, Sivaroj Kongsakul), HOME (2014, Patiparn Amornthipparat), AMA SAW SNAKE (2014, Napat Vattanakuljalas), MY GRANDFATHER’S PHOTOBOOK (2015, Nutthapon Rakkatham, Phattana Paiboon), ALONG THE ONE WAY (2016, Bani Nasution, Indonesia), ARKONG (2016, Anuwat Amnajkasem), EVERYTHING IS FAMILY (2016, Wisaruta Rakwongwan),  CREMATION DAY (2017, Napasin Samkaewcham), HOW FAR A BETTER LIFE (2017, Chantana Tiprachart), TALADNOI STORY (2017, Jiraporn Saelee, 39min)

Sunday, June 24, 2018

TAKE ME HOME, COUNTRY ROAD GENRE


แนะนำหนังกลุ่ม ORDINARY LIVES, ORDINARY PEOPLE หรือหนังที่นำเสนอชีวิตคนธรรมดาในแบบที่เราชอบสุดๆ

7.AT THE BACK OF BEYOND (2018, ปวริศร คุณวรผาติ, 30min, A+30)
8.NO PLACE LIKE HOME (2018, ไอศวรรนยา ภูมิเลิศ, 24min, A+30)
9.SMALL WORLD โลกใบเล็ก (2008, Wasunan Hutavej, 17min)
10.กาลนิรันดร์ (2008, Issara Bonprasit, 30min)
11.TAKE HOME (2014, Thapanee Loosuwan, documentary, 28min)
12.GRANDMOTHER (2015, Parnkamol Parnchareon, 24min)

พอได้ดูเทศกาลหนัง THESIS ของ ICT ศิลปากรปีนี้แล้ว ก็พบว่ามีหนังสองเรื่องที่เข้าข่าย “หนังชีวิตคนธรรมดาที่งดงามมากๆ”  ซึ่งได้แก่ AT THE BACK OF BEYOND และ NO PLACE LIKE HOME ซึ่งมีส่วนคล้ายกัน  เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้นำเสนอเรื่องของตัวละครหนุ่มสาวที่เรียนในกรุงเทพ แล้วกลับไปเยี่ยมบ้านช่วงต่างจังหวัดเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ AT THE BACK OF BEYOND เน้นไปที่ตัวละครคนชรา ในขณะที่ตัวละครหนุ่มสาวเป็นตัวประกอบ ส่วน NO PLACE LIKE HOME นั้น ตัวละคร “หญิงสาว” เป็นแกนกลางของเรื่อง ส่วนพ่อแม่เป็นตัวประกอบ

ถ้าเทียบกันระหว่างสองเรื่องนี้ เราก็ชอบ AT THE BACK OF BEYOND มากกว่า เพราะการที่ตัวละคร “ชายชรา” กลายเป็นศูนย์กลางของเรื่อง มันทำให้หนังเรื่องนี้แตกต่างจากหนังสั้นไทยอีกราวร้อยเรื่องที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน เพราะหนังสั้นไทยกลุ่มนี้มักจะใช้ตัวละครหนุ่มสาวเป็นแกนกลาง แล้วให้ตัวละคร “ญาติผู้ใหญ่” เป็นตัวประกอบ มันเหมือนกับว่าก่อนหน้านี้ตัวละครญาติผู้ใหญ่ exist เพื่อมีปฏิกิริยากับตัวละคร “พระเอก” หรือ “นางเอก” แต่การที่ AT THE BACK OF BEYOND เปลี่ยนจุดสนใจไปยังตัวละครชายชรา มันเลยทำให้ตัวละครชายชรา exist อยู่ได้ด้วยตัวมันเอง มีชีวิตเป็นตัวของตัวเองจริงๆ ตัวละครชายชราไม่ได้ exist อยู่เพียงเพื่อแค่ให้ตัวละครพระเอกนางเอกกลับไปหาเท่านั้น ตัวละครชายชรามันมีชีวิตของมันอยู่แล้ว ไม่ว่าตัวละคร “ชายหนุ่มหญิงสาว” จะมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม หรือจะกลับไปหาหรือไม่ก็ตาม

การที่ AT THE BACK OF BEYOND ลากยาวไปเรื่อยๆเพื่อแสดงให้เห็นว่า ชีวิตชายชราขณะอยู่ตามลำพังนั้นเป็นอย่างไรบ้าง กิจวัตรประจำวันของเขาเป็นอย่างไร มันทำให้หนังเรื่องนี้งดงามอย่างสุดๆ

อีกสิ่งหนึ่งที่เราชอบมากทั้งใน AT THE BACK OF BEYOND และ NO PLACE LIKE HOME ก็คือการที่หนัง “มีความดราม่า” น้อยมาก เมื่อเทียบกับหนังสั้นไทยโดยทั่วไปที่อยู่ใน genre เดียวกัน เพราะหนังสั้นไทยเรื่องอื่นๆในกลุ่มนี้มักจะให้ตัวละครหนุ่มสาวที่กลับบ้านในต่างจังหวัดเผชิญเหตุการณ์ดราม่าบางอย่าง ซึ่งระดับความดราม่าก็มีตั้งแต่ระดับ “เล็กน้อย” อย่างเช่นใน
--A NEW LIFE (2017, Rujipas Boonprakong)
--OUR HOME SAYS ALL ABOUT US (2017, Pasit Tandaechanurat)

ดราม่าระดับ “ปานกลาง” อย่างเช่นใน NEW RECORDING (2018, จิตราพร กาญจนศุภศักดิ์)

หรือดราม่าระดับ “หนักมาก” อย่างเช่นใน
--BLUE HOUSE EFFECT (2017, Boonyarat Muangsombat)
--COME BACK รักเก่าที่บ้านเกิด (2012, Watcharapong Pattama)

เราก็เลยชอบสุดๆที่ AT THE BACK OF BEYOND และ NO PLACE LIKE HOME กล้าที่จะลดทอนความเป็นดราม่าลงไปจนเกือบหมดเลย และนำเสนอ “ความธรรมดา” ของชีวิตตัวละครออกมา โดยที่นำเสนอมันออกมาได้อย่างงดงามสุดๆเลยด้วย

แต่ก่อนหน้านี้ก็มีหนังสั้นไทยบางเรื่องที่อยู่ใน genre เดียวกัน (genre หนุ่มสาวกลับไปเยี่ยมบ้านที่ต่างจังหวัด หรือคิดถึงบ้านที่ต่างจังหวัด)  และนำเสนอชีวิตธรรมดาของตัวละครออกมาได้อย่างงดงามสุดๆเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น SMALL WORLD โลกใบเล็ก (2008, Wasunan Hutavej, 17min), กาลนิรันดร์ (2008, Issara Bonprasit, 30min), TAKE HOME (2014, Thapanee Loosuwan, documentary, 28min) และ GRANDMOTHER (2015, Parnkamol Parnchareon, 24min)




Thursday, June 21, 2018

THAI FILMS THAT I SAW ON TUESDAY, JUNE 19, 2018

THAI FILMS THAT I SAW ON TUESDAY, JUNE 19, 2018

1.สูญ / รวิศร์ หล้าหา / 65.54 นาที A+30

2.Ruby Robber / กันต์ธีร์ ธีรวโรภาส / 7.46 นาที A+30

3.cinematic void / Namfon Udomlertlak / 18.20 นาที SECOND VIEWING A+30

4.BEFORE WINTERくもり / สุธืศา ปิตตะรงค์ / 28.38 นาที A+30

5.หมูขมิ้น / จิรัฎฐ์ จุฬารัตน / 19 นาที A+25

6.กานตายไม่ใจ่การพักพอน อย่าซ่ามให้มันมาด / เจษฎา ปัญญามูล / 7.58 นาที A+25


7.Akhir Zaman ไขรหัสลับเหตุการณ์ก่อนวันสิ้นโลก / ณภัทร อนุวงศ์เจริญ / 23.30 นาที DOCUMENTARY F

เรารับแนวคิดในหนังเรื่องนี้ไม่ได้เลย แล้วพอตัวหนังมันไม่ได้ตั้งข้อสงสัยต่อแนวคิดที่อยู่ในหนัง เราก็เลยไม่รู้ว่าผู้สร้างหนังมีเจตนาอะไรกันแน่ ซึ่งมันจะแตกต่างจากหนังอย่าง MR. DEATH: THE RISE AND FALL OF FRED A. LEUCHTER, JR. (1999, Errol Morris) ที่เราอาจจะรับตัว subject ของหนังหรือแนวคิดของตัว subject ไม่ได้เหมือนกัน แต่ตัวหนังก็เหมือนไม่ได้พยายามจะทำให้เราเชื่อตัว subject ของหนังแต่อย่างใด เราก็เลยไม่มีปัญหากับ MR. DEATH

Monday, June 18, 2018

A ROOM WITH A COCONUT VIEW

THAI FILMS THAT I SAW FOR THE FIRST TIME ON JUNE 16, 2018

1.A Room with a Coconut View / ตุลพบ แสนเจริญ / 28.21 นาที A+30

หนักที่สุด นึกว่า Hito Steyerl + Harun Farocki + Alexander Kluge  ถ้าหากเราต้องเลือกหนังไทยเรื่องไหนที่สามารถปะทะกับ SNAKESKIN (2014, Daniel Hui, Singapore) ได้ เราก็คงเลือกเรื่องนี้

ชอบทั้ง content และ style ของหนัง ชอบที่หนังมี content มากมายเกี่ยวกับบางแสนและเรื่องต่างๆ คือพอ content มันอัดแน่นแบบนี้ ก็เลยทำให้นึกถึงหนังของ Prap Boonpan และ Teerath Whangvisarn น่ะ เพราะหนังไทยของสองคนนี้มี content ที่ดีมากๆ คือดูหนังไทยของสองคนนี้แล้วรู้สึกว่ามัน thought-provoking อย่างสุดๆในระดับที่เรียกได้ว่าเป็นน้องๆของ Jean-Luc Godard เลย แต่หนังของ Prap Boonpan และ Teerath Whangvisarn มันอาจจะขาด “ความงดงามด้านภาพ” หรือขาดความเนี้ยบบางอย่าง คือ style ในหนังของสองคนนี้มันอาจจะด้อยกว่า content น่ะ

แต่ A ROOM WITH A COCONUT VIEW มันก็มี form หรือ style ที่ไปสุดทางเหมือนกัน ชอบการเล่นกับภาพสไตล์ต่างๆมากมายในหนังเรื่องนี้ ทั้งภาพจากหนังเก่า, ภาพกราฟฟิก, ภาพจากคลิป ฯลฯ คือดูแล้วรู้สึกว่าคนทำหนังนอกจากต้อง research ข้อมูลเยอะมากแล้ว คนทำหนังยังมีความแพรวพราวในการสรรสร้างสไตล์ต่างๆให้แก่ภาพในทุกๆนาทีของหนังด้วย

เราก็เลยรู้สึกว่ามันเป็นหนึ่งในหนังไทยเพียงไม่กี่เรื่องที่สามารถปะทะกับ SNAKESKIN ได้ เพราะ content มันแน่นมาก และ style มันก็สุดๆด้วย

พอเห็น “การให้ความสำคัญกับคลื่นทะเล” ในหนังเรื่องนี้แล้ว ก็เลยทำให้นึกถึง OUR WAVES (2006) และ THE ETERNAL LIGHT (2008) ของ Tulapop ด้วย 555

2.Low Season / ณัฐภัทร ไกรตรวจพล / 19.24 นาที A+30

3.The Stand Alone โรงหนังนี้...พี่รัก / ธีรยุทธ์ วีระคำ / 29 นาที DOCUMENTARY, A+30

4.La-Blind / ปฏิคม ลาภาพันธุ์ / 12.09 นาที DOCUMENTARY, A+30

5.Pyramid of biomass / ณัฐพงศ์ ประศรี / 12 นาที A+30

6.SUNSET AT THE SEA ปิดหู ปิดตา มีความสุข / พันธวัช กาญจนภิญโญ / 8.51 นาที A+30

7.lyseacdie / เปรมปพันธ ผลิตผลการพิมพ์ / 12.08 นาที A+30

8.ฟ้าสว่างที่รามคำแหง / กัลป์วีร์ จันทร์ดีและ เอกลักษณ์ อนันตสมบูรณ์ / 19.30 นาที DOCUMENTARY, A+25

9.โย...ปริศนา ตามหาหัวใจ / ตยาคี พร้อมโกมล / 29.56 นาที A+25 GUILTY PLEASURE

10.Magnet / ณัฐพงศ์ ประศรี / 8 นาที A+25

11.About Time / สิรวิชญ์ เอื้อครองธรรม / 5.36 นาที A+25

12.ทะ-เล-ทราย / ภคพล ราชวงศ์ / 10.40 นาที A+25

13.Sound of us / ธฤตวัน ปิฏฐปาตี / 13.37 นาที A+25

ชอบ “ภาพ” ในหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ ถ่ายภาพงามมากๆ ชอบการเล่นกับเสียงในหนังเรื่องนี้ด้วย แต่เฉยๆกับบทสนทนา, ตัวละคร และปมของตัวละคร 555

14.Lineus longissimus เดือด / ปรินทร์ อนันต์ผาติ / 26.56 นาที A+25 GUILTY PLEASURE

15.Ask me anything / ธรรมศรัณย์ คู่สันเทียะ / 14.52 นาที A+20

16.On My Way / นคร ไชยศรี / 7 นาที DOCUMENTARY, A+15

17.Rainy Days in April / กฤตภัทธ์ ฐานสันโดษ / 13.30 นาที A+5

ชอบฉากกิ้งกือไต่กำแพงมากๆ และชอบมากที่หนังมี subtitles ให้

พอดูหนังของกฤตภัทธ์ 2-3 เรื่องแล้วจะนึกถึงหนังของ Theeraphat Ngathong (ไซย่า) เมื่อ 4-5 ปีก่อน เพราะหนังบางเรื่องของ Theeraphat จะเป็นการบันทึกภาพสิ่งต่างๆในชีวิตมาเรียงร้อยเข้าด้วยกันเหมือนกัน แต่ wavelength ของเราจะจูนติดกับหนังของไซย่ามากกว่า

แต่ไม่รู้ว่าเราเดาถูกหรือเปล่า คือเรารู้สึกว่าสาเหตุนึงที่เราจูนติดกับหนังของไซย่ามากกว่า เพราะหนังของไซย่าเน้น “ความรู้สึก” แต่หนังของกฤตภัทธ์เราไม่แน่ใจว่าเน้น “ความหมาย” ของภาพหรือเปล่า และเราจะไม่ค่อยอินกับหนัง symbols หรือหนังที่เน้น “ความหมาย” น่ะ เรามักจะจูนติดกับหนังที่เน้นอารมณ์ความรู้สึกมากกว่า 555 แต่เรื่อง wavelength แบบนี้มันเป็นเรื่องเฉพาะตัวมากๆนะ มันไม่ใช่เรื่องที่บอกได้ว่าหนังเรื่องไหนดีไม่ดี แต่มันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราจูนติดหรือจูนไม่ติดกับหนังเรื่องไหน

18.Devil"s Apple / รัฐฐกรณ์ ศิริฤกษ์ / 21 นาที A

19.Smart Farmer กับมิสเตอร์กร / วริศรา อินทะเขื่อน / 4.46 นาที A-

20.The Sound You Never Heard / สุธีกานต์ ศุภมิตร์ / 4.35 นาที A-

21.เกิ้ง [Kerng] / พร้อม ทิพย์มณี / 9.13 นาที B+


22.ปากกาใจ / สุรศักดิ์ ตรีธวัชชัยวงศ์ / 3.10 นาที D

23.Together as One / สุรศักดิ์ ตรีธวัชชัยวงศ์ / 2.16 นาที F


Thursday, June 14, 2018

็HAPPY HOUR VS. BOOK CLUB

นอกจากหนัง 5 เรื่องที่จะฉายที่ห้องสมุดม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ในวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ค . ในเวลา 13.00 น.แล้ว ยังมีหนังอีกมากมายหลายเรื่องที่เราอยากพูดถึง หรืออยากลิสท์รายชื่อเอาไว้ด้วยกัน เพราะเราชอบการนำเสนอชีวิตคนธรรมดา หรือ ORDINARY LIVES, ORDINARY PEOPLE ในหนังกลุ่มนี้มากๆ

หนึ่งในหนังที่เราชอบสุดๆในแง่การนำเสนอ “ชีวิตคนธรรมดา” ได้อย่างมีเสน่ห์และงดงามสุดๆ ก็คือ

6.HAPPY HOUR (2015, Ryusuke Hamaguchi, Japan, 5hours 17mins) ที่หลายคนคงดูไปแล้ว

พอดีช่วงที่ผ่านมาเราเพิ่งได้ดู BOOK CLUB (2018, Bill Holderman) ไป ซึ่งนำเสนอชีวิตผู้หญิง 4 คนเหมือนกับ HAPPY HOUR และเราก็เขียนไปแล้วว่า เราชอบเจตนาตั้งต้นของ BOOK CLUB มาก เพราะมันต้องการนำเสนอความต้องการทางเพศที่แตกต่างกันไปของหญิงวัย 60 ปี ซึ่งเป็นประเด็นที่หนังเรื่องอื่นๆไม่กล้าแตะมาก่อน

แต่ถึงแม้เราจะชอบเจตนาตั้งต้นของ BOOK CLUB เรากลับพบว่าตัวหนังมันออกมาไม่น่าพอใจสักเท่าไหร่ ซึ่งปัจจัยหนึ่งมันก็คือความแตกต่างอันสำคัญระหว่าง BOOK CLUB กับ HAPPY HOUR นั่นก็คือ BOOK CLUB พยายามบีบชีวิตตัวละครให้ดำเนินไปตาม “เส้นกราฟสูตรสำเร็จทางภาพยนตร์” และมันบีบจนชีวิตตัวละครนำ 3 ใน 4 ตัวดูไม่เป็นธรรมชาติในความเห็นของเรา

ซึ่งนั่นแตกต่างจากหนังอย่าง HAPPY HOUR ที่พาชีวิตตัวละครที่เป็น “คนธรรมดา” ให้ไหลไปได้เรื่อยๆอย่างเป็นธรรมชาติกว่ามากๆ

จริงๆแล้วความแตกต่างระหว่าง HAPPY HOUR กับ BOOK CLUB อาจจะอธิบายได้ด้วยสิ่งที่ Ray Carney เคยเขียนไว้ในหนังสือ FILMVIRUS เล่มสอง ของคุณสนธยา ทรัพย์เย็น โดย Ray Carney เขียนว่า

“วิธีที่หนังพยายามชี้นำและเป็นอยู่ คือนำเสนอการสืบสานสายพันธุ์ของความเน่าฟอน หนังตั้งปัญหาขึ้นมาให้ตัวละครประสบ และหมดเวลาไปกับการให้ตัวละครสาธิตกระบวนการแก้ไข วิธีดำเนินเรื่องงอกมาจากการจัดวางทางธุรกิจ ซึ่งเป็นตัวสร้างปัญหาส่วนใหญ่ในวัฒนธรรมของเราตั้งแต่แรก  หนังเหล่านี้ไม่เคยตั้งคำถามกับความเชื่อที่ว่า เรามีที่มาจากสิ่งที่เรา “ทำ” จากสิ่งที่เรา “ควบคุม” จากสิ่งที่เราเป็น “เจ้าของ” เราอยู่ในโลกวัตถุนิยมที่ติดงอมกับคุณค่าของ “การกระทำ” แต่ในชีวิตจริงนั้นส่วนของการกระทำ (doing) เกี่ยวข้องน้อยกว่า สิ่งที่เราเป็น (being) ถ้าหนังของคุณขึ้นลงอยู่กับการกระทำ หรือการบรรลุผลสำเร็จ คุณย่อมเป็นส่วนหนึ่งของความเน่าฟอนนั้นด้วย คุณกำลังทำหนังให้บริษัท IBM โดยไม่รู้ตัว เราคุ้นเคยแต่กับหนังพวกนี้ เพราะผู้กำกับฮอลลีวู้ดส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจมากกว่าศิลปิน”

BOOK CLUB คือหนังแบบ doing ตัวละครถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ “มีปัญหา และหาทางแก้ปัญหา”

HAPPY HOUR คือหนังแบบ being เรารู้สึกว่าเราได้ซึมซับกับชีวิตในหลายๆแง่มุมและจิตวิญญาณที่แท้จริงของตัวละคร โดยที่ตัวละครไม่ได้ดำรงอยู่เพียงแค่ “รับมือกับปัญหาสำคัญ และแก้ปัญหาให้ได้ในฉาก climax แล้วก็จบไป”

Tuesday, June 12, 2018

TOIRALLEL TIMES (2018, Chanasorn Chaikitiporn, 45min, A+30)


TOIRALLEL TIMES (2018, Chanasorn Chaikitiporn, 45min, A+30)
สุขากาลเวลา

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.ชอบความประหลาดของหนัง เราว่าหนังมันแปลกดี และชอบที่ตัวละครที่แปลกแยก 4 คนมาเจอกัน โดยที่แต่ละคู่เหมือนเป็นการเจอกับตัวเองในอนาคต หรือเจอกับตัวเองในอดีต และมันก็เลยเศร้า เมื่อเราที่แปลกแยกจากสังคมในวัยรุ่น โตขึ้นก็กลายเป็นผู้ใหญ่ที่แปลกแยกจากสังคมอยู่ดี

2.ประเด็นของหนังก็น่าสนใจและ thought provoking ดี มันเหมือนพูดถึง เชื้อโรคที่มนุษย์รังเกียจ, ห้องส้วม ที่มนุษย์รังเกียจ, ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ และตัวละครที่ประสบปัญหาทั้งจาก “ปัญหาภาคใต้” และจาก “ปัญหาในครอบครัวตัวเอง”

ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด หนังอาจจะพยายามเปรียบเทียบสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกัน ปัญหาความเกลียดชังหรือความหวาดระแวงคนต่างศาสนา หรือปัญหาความรุนแรงที่รัฐกระทำกับประชาชน อาจจะเหมือนอคติของคนที่มีต่อเชื้อจุลินทรีย์ และอคติของคนที่มีต่อห้องส้วม และตัวละคร 4 คนนี้ ที่แปลกแยกจากทั้งสังคม (เพราะอพยพจากภาคใต้มาอยู่เมืองอื่น) และจากครอบครัวตัวเอง ก็เลยมาเจอกันในห้องส้วม และต่อมาตัวละครบางคนก็ไปปรากฏตัวใน “ลานจอดรถ” ซึ่งเป็นสถานที่ที่ desperate มากๆ เพราะมันเป็นสถานที่สำหรับคนที่ “ไม่อยากกลับบ้าน” แต่ก็ “ไปไหนไม่ได้” จริงๆ คนที่ “ไม่อยากกลับไปเจอครอบครัวตัวเอง” แต่ก็ไม่รู้จะไปที่ไหนดีแบบนี้ บางทีก็เหมือนวิญญาณเคว้งคว้าง เปลี่ยวเหงา และต้องเตร็ดเตร่อยู่ในสถานที่ที่ “พักพิงไม่ได้” อย่างเช่น ห้องส้วมและลานจอดรถแบบนี้

3.ชอบฉากอุโมงค์มากๆ ไม่รู้เหมือนกันว่ามันคืออะไร แต่มันทำให้เรานึกถึงอุโมงค์กาลเวลา มันเหมือนตั้มเป็นอนาคตของน้องต้น และตาลเป็นอนาคตของน้องเตย และฉากอุโมงค์นี้ก็คือการเชื่อมอดีตกับอนาคตของตัวละครเหล่านี้เข้าด้วยกัน

ฉากอุโมงค์นี้ทำให้นึกถึงฉากคลาสสิคใน SOLARIS (1971, Andrei Tarkovsky) ด้วย

4.แต่จริงๆแล้วเราชอบพวกฉาก insert ในหนังมากกว่าฉากหลักที่เป็นตัวละคร 4 คนคุยกันนะ เราว่าพวกฉากที่ตัดอะไรมากมายมาปะติดปะต่อกัน, ฉาก graphic เชื้อโรคอะไรพวกนี้ มันดูดี แต่ฉากหลักที่เป็นตัวละคร 4 คนคุยกัน เรามีปัญหาอยู่บ้าง

5.ฉากหลักที่เป็นตัวละครคุยกัน และฉากขี้ตอนต้นเรื่อง เรามีปัญหากับมัน คือในแง่นึงเราว่ามันเป็น dilemma ของการนำเสนอสิ่งที่ disgusting  หรือสิ่งที่ไม่สวยงามน่ะ และเราเองก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเราควรจะลงความเห็นยังไงดีต่อ dilemma นี้

คือเราว่าฉากขี้ตอนต้นเรื่อง มัน disgusting เกินไปผ่านทางความสมจริงแบบทื่อๆของมันน่ะ และฉากที่เป็นตัวละครคุยกัน มันก็ขาดเสน่ห์ทางภาพอย่างมากๆในความเห็นของเรา เพราะมันดูเหมือนนำเสนอห้องน้ำแบบสมจริง ทื่อๆแบนๆไปเลย โดยไม่ต้องจัดแสง ออกแบบเฟรมภาพ สร้างบรรยากาศ หรือหาทางสร้างความงดงามทางภาพใดๆทั้งสิ้น

คือในแง่นึง ผู้สร้างหนังก็สามารถให้เหตุผลได้นะ ว่าการนำเสนออะไรที่สมจริงแบบนี้ เพราะต้องการให้คนดูรู้สึก disgusting กับขี้จริงๆ และต้องการให้คนดูรู้สึกได้ถึง “ห้องน้ำ” จริงๆ ที่ไม่สวย ไม่น่าอยู่อะไรเลย ซึ่งถ้าผู้กำกับให้เหตุผลแบบนี้ มันก็ฟังขึ้นนะ 555

แต่เราก็ยอมรับว่า มันไม่เข้ากับ taste ของเราน่ะ มันหนักข้อเกินไปสำหรับเรา และอาจจะเป็นเพราะว่าเราเคยชินกับ “หนังที่ถ่ายสวย” น่ะ พอมาเจออะไรที่สมจริงเกินไปแบบนี้ เราก็เลยรู้สึกว่ามันมากเกินไปสำหรับเรา

และเราคิดว่ามันอาจจะลักลั่นก็ได้นะ เพราะจริงๆแล้ว เนื้อหาในฉากที่ตัวละคร 4 คนคุยกันนั้น มันก็ไม่ได้สมจริงจริงๆน่ะ เราว่าเนื้อหาของฉากตัวละครคุยกันนี้ จริงๆแล้วมัน surreal เพราะฉะนั้นการถ่ายห้องน้ำแบบ “สมจริง” มากๆแบบนี้ มันอาจจะไม่จำเป็นกับฉาก surreal แบบนี้ก็ได้ 555

6.แต่ก็ชอบไอเดียการถ่ายแบบ long take เคลื่อนกล้องไปเรื่อยๆนะ รู้สึกว่าตากล้องและผู้กำกับต้องคิดหนักพอสมควรถึงจะถ่ายออกมาได้แบบนี้ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังที่ห้องน้ำมีกระจกเยอะมาก แล้วตากล้องคงต้องคอยหลบเงาตัวเองในกระจกด้วย

แต่เราว่าถึงแม้การ long take จะเป็นสิ่งที่ดี และอาจจะมีเหตุผลรองรับในหนังเรื่องนี้ โดยเหตุผลก็อาจจะมีอย่างเช่น เพื่อนำเสนอสภาพห้องน้ำตามความเป็นจริง, เพื่อ observe ความจริง และก็เลยได้ภาพห้องน้ำที่ทื่อๆแบนๆ ไร้ชีวิตจิตใจ ไม่น่าอยู่แบบนี้ออกมา แต่เราก็ยอมรับว่า ใจจริงของเรานั้น ก็ต้องการ “ความงดงามด้านภาพ” มากกว่านี้อยู่ดีนะ

7.แล้วเราเคยชินกับหนังแบบไหน หรือต้องการการถ่ายภาพแบบหนังแบบไหนเหรอ เราก็อาจจะยกตัวอย่างได้ดังนี้

7.1 คือเราก็เคยดูหนังที่มี “ขี้” หลายเรื่องนะ ทั้ง KINGS OF THE ROAD (1976, Wim Wenders), SALO OR THE 120 DAYS OF SODOM (1975, Pier Paolo Pasolini), SWEET MOVIE (1974, Dusan Makavejev) แต่เราว่าหนังเหล่านี้นำเสนอขี้ได้อย่างมีรสนิยมน่ะ 555 มันก็เลยดูไม่น่าพะอืดพะอมมากนักเวลาดูหนังเหล่านี้ จะมีก็แต่ PINK FLAMINGOS (1972, John Waters) เท่านั้นมั้ง ที่นำเสนอขี้ได้อย่างน่าขยะแขยง แต่เราว่า TOIRALLEL TIMES นี่นำเสนอขี้ได้อย่างน่าขยะแขยงกว่า PINK FLAMINGOS หลายเท่า

คือเราคิดว่าผู้สร้างหนังคงมีเหตุผลในการนำเสนอขี้ในแบบน่าขยะแขยงเต็มที่แบบนี้นะ แต่เราก็ยอมรับว่า มันมากเกินไปสำหรับเราน่ะ เราต้องการขี้ที่มันไม่น่ารังเกียจเกินไปแบบใน หนัง 3 เรื่องข้างต้นที่เรายกตัวอย่างมามากกว่า

7.2 ในส่วนของการถ่ายฉากคุยกันในห้องน้ำนั้น ผู้สร้างหนังอาจจะมีเหตุผลของตัวเองในการนำเสนอห้องน้ำแบบ “สมจริง” แต่ถ้าหากพูดถึงรสนิยมของเราแล้ว เราอยากได้ห้องน้ำที่ “น่ารังเกียจ” แต่มี “เสน่ห์ทางภาพ” ในเวลาเดียวกันน่ะ ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่จะทำเหมือนกันนะ โดยตัวอย่างของการนำเสนอ “สภาพที่น่ารังเกียจ” แต่ “มีเสน่ห์ทางภาพ” ในภาพยนตร์ ก็มีเช่น

7.2.1 หนังหลายๆเรื่องของ Bela Tarr ซึ่งเป็นเจ้าของ quote เปิดหนังเรื่องนี้ คือหนังของ Bela Tarr, Sharunas Bartas, Artur Aristakisian, Fred Kelemen อะไรพวกนี้ มันเสนอภาพชีวิตแร้นแค้น สลัมน้ำครำ คนจน แต่จริงๆแล้ว “ภาพมันสวยมากๆ” น่ะ คือเนื้อหาของภาพมันสะท้อนสภาพชีวิตแร้นแค้นก็จริง แต่ผู้กำกับมันสามารถถ่ายออกมาให้สวยมากๆได้

7.2.2 ถ้าตัวอย่างใกล้ๆตัว ก็คือ THE BLUE HOUR (2015, Anucha Boonyawatana) ที่มีทั้งฉากกองขยะ และฉากห้องน้ำโสโครก แต่ผู้กำกับก็สามารถถ่ายทั้งสองฉากนี้ให้ออกมาดูมีความงดงามด้านภาพ ได้ทั้งความน่ารังเกียจ และมนตร์เสน่ห์ทางภาพในเวลาเดียวกัน

7.2.3 หนังของ Lav Diaz และ Weerapong Wimuktalop ก็ชอบถ่ายอะไรที่ไม่สวยงามเหมือนกัน หนังของ Weerapong ชอบถ่ายบ้านร้างและกองขยะจริงๆ หนังของ Lav Diaz อย่างเช่น STORM CHILDREN: BOOK ONE (2014) ก็เป็นหนังสารคดีที่มีการถ่ายกองขยะจริงๆเป็นเวลาเนิ่นนาน แต่เรากลับจ้องมองกองขยะได้เป็นเวลานานๆในหนังของ Lav Diaz โดยไม่รู้สึกเบื่อเลย เพราะมันมีมนตร์เสน่ห์ทางภาพบางอย่างที่ยากจะอธิบายได้

ตัวอย่างหนังของ Weerapong Wimuktalop

7.2.4 หนังอีกกลุ่มที่น่าสนใจ ก็คือหนังกลุ่ม slum cinema ของฟิลิปปินส์ คือมีหนังฟิลิปปินส์หลายเรื่องที่ชอบใช้ฉากเป็นสลัมโสโครกน่ะ ซึ่งรวมถึงหนังบางเรื่องของ Lino Brocka, Khavn de la Cruz และ Brillante Mendoza แต่หนังพวกนี้ก็ไม่ได้ถ่ายสลัมออกมาทื่อๆแบนๆนะ คือภาพสลัมในหนังพวกนี้อาจจะไม่ได้มี “พลังทางจิตวิญญาณ” หรือ “สวยสุดขีด” แบบภาพบ้านเมืองแร้นแค้นในหนังของผู้กำกับกลุ่ม 7.2.1 แต่มันก็เป็นภาพสลัมที่โสโครกแต่ดูดีบนจอภาพยนตร์ในเวลาเดียวกันน่ะ

เราว่าความแตกต่างระหว่างการถ่ายแบบทื่อๆแบนๆ กับการถ่ายภาพ “สิ่งเลวร้าย แต่มีความงดงามด้านภาพ” ในเวลาเดียวกัน มันอาจจะคล้ายๆภาพข่าวน่ะ โดยเฉพาะภาพข่าวสงคราม คือภาพข่าวสงครามบางอัน เวลา google ดูแล้วเราแทบอ้วกน่ะ คือมันน่าขยะแขยงพอๆกับฉากขี้ใน TOIRALLEL TIMES นี่แหละ คือมันนำเสนอความจริงโดยไม่ต้องสร้างความงดงามด้านภาพใดๆทั้งสิ้น คือดูแล้วอ้วกออกมาเลย

แต่มันมี “ภาพข่าวสงคราม” ประเภทที่สามารถโชว์ในแกลเลอรี่ และนำออกมาขายรวมเล่มปกแข็งได้น่ะ และภาพข่าวสงครามประเภทนี้ มัน “นำเสนอเนื้อหาที่เลวร้ายมากๆ สะท้อนความเลวร้ายมากๆ แต่มันมีความงดงามทางภาพ และมีมนตร์เสน่ห์ทางภาพ” ในเวลาเดียวกัน

ซึ่งเรื่องนี้มันก็เป็น dilemma มากๆ ถ้าเข้าใจไม่ผิด Susan Sontag เคยเขียนหนังสือเกี่ยวกับประเด็นนี้ด้วย แต่เรายังไม่เคยอ่าน คือมันเป็น dilemma ประเภทที่ว่า เราควรจะ “แสดงออกอย่างไรดี” เวลาเจอภาพ “ศพถูกแขวนคอ ที่ถ่ายสวยมากๆ” อะไรทำนองนี้

เรายอมรับว่า ปัญหาที่เรามีกับ TOIRALLEL TIMES ทำให้เรานึกถึง dilemma ข้างต้นน่ะ คือเราว่าหนังเรื่องนี้ถ่ายไม่สวย ขาดมนตร์เสน่ห์ทางภาพ โดยเฉพาะในฉากที่ตัวละครคุยกัน และเราอยากให้หนังมันถ่ายสวยๆกว่านี้ ยิ่งได้อารมณ์แบบ Bela Tarr, Anucha Boonyawatana หรือ Lav Diaz ก็จะยิ่งดีมากๆ แต่เราก็ยอมรับว่า ผู้สร้างหนังก็อาจจะมีเหตุผลของตัวเองเหมือนกัน ในการถ่ายห้องน้ำให้ดู “ไม่น่าอยู่” หรือ “ไม่สวย” แบบนี้