Sunday, October 31, 2004

JOYCE SIMS

แหะ แหะ ชอบคนงานในซีอุยที่แผงอกกับกล้ามแขนค่ะ รู้สึกคนงานโรงงานกระสอบในหนังเรื่องนี้ จะคัดเลือกมาแต่ที่รูปร่างดีมากๆ ส่วนต้วนหลง พระเอกหนังเรื่องนี้ก็ดูน่ารักดีในช่วงต้นๆเรื่อง

ส่วน Method นั้น ดิฉันรู้สึกว่ามันไม่มีความสนุกเลยค่ะ แต่ก็ไม่สามารถใช้ดิฉันเป็นเกณฑ์วัดอะไรแทนคนอื่นๆได้ เพราะหนังหลายเรื่องที่ไม่ให้ความสนุกแต่อย่างใดทั้งสิ้นสำหรับดิฉัน ก็อาจเป็นหนังที่สนุกมากๆสำหรับคนอื่นๆได้เช่นกัน มีหนังบางเรื่องที่ดิฉันให้ c- แต่หนังเรื่องนั้นทำเงินไปกว่าร้อยล้านบาทก็มี

จริงๆแล้วพล็อตหนังของ METHOD มันเข้าทางดิฉันมากๆ หนังเรื่องนี้มีองค์ประกอบที่เข้าทางดิฉันอย่างรุนแรงหลายองค์ประกอบ เช่น
1.มีตัวละครเป็นผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้หญิงโรคจิต หรือ ผู้หญิงที่ชอบใช้ความรุนแรง
2.การแยกไม่ออกว่าส่วนไหนเป็น “การถ่ายหนัง”, ส่วนไหนเป็น “ความจริง”, ส่วนไหนเป็น “ความฝัน” , ส่วนไหนเป็น “อดีต” หรือ “ปัจจุบัน”3.ตัวละครประกอบเป็นเกย์หนุ่มหล่อที่ชอบใส่กางเกงในสีขาว
4.CARMEN DU SAUTOY ดาราหนังที่ดิฉันชื่นชอบรับบทเด่นในเรื่องนี้ด้วย

แต่หนังเรื่องนี้กลับไม่ทำให้ดิฉันตื่นเต้นในแบบหนัง Thriller หรือไม่ทำให้ดิฉันซาบซึ้งในแบบหนังดรามาได้เลย ถ้าหากอยากดูหนังทริลเลอร์เกี่ยวกับผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้หญิงโรคจิต ดิฉันขอแนะนำให้หาวีซีดีลิขสิทธิ์หนังเรื่อง KOMA (A+) หรือ SHATTERED IMAGE (A+) มาดูแทนอาจจะดีกว่าค่ะ

JIRI MENZEL เป็นผู้กำกับชื่อดังชาวเชคค่ะ ดิฉันเคยดูหนังของเขา 3 เรื่อง ซึ่งได้แก่
1.CLOSELY WATCHED TRAINS (1966, A-)
2.CUTTING IT SHORT (1980, B+)
3.MY SWEET LITTLE VILLAGE (1985, B+)

หนังของ JIRI MENZEL จัดเป็นหนังดีที่ดูง่ายมาก มักจะมีมุกตลกผสมอยู่เยอะ ดูแล้วฮาๆ แต่หนังของเขาแสดงความเป็นชายในตัวเขาออกมาเยอะพอสมควร เพราะหนังของเขาชอบมีตัวละครเป็นสาวอวบอั๋นยั่วๆ และมีความสัปดนในแบบเพศชายอยู่ในหนัง ดิฉันชอบหนังของเขาในระดับปานกลางค่ะ หนังของเขาอาจจะฉายควบกับหนังของอากิ เคาริสมากิ และหนังของ Roberto Benigni ได้เหมือนกัน เพราะหนังของ 3 คนนี้เป็นหนังเบาสมองของยุโรปที่มีคุณภาพใช้ได้ แต่ไม่ใช่หนังเบาสมองแบบสุดโต่งกู่ไม่กลับไร้ขีดจำกัดใดๆทั้งสิ้นเหมือนอย่างหนังของ HERBERT ACHTERNBUSCH

ส่วน Tales from a Gimli Hospital เคยดูที่ดวงกมลฟิล์มเฮาส์เมื่อหลายปีก่อน เป็นหนังที่ชอบพอสมควรค่ะ ทำเลียนแบบหนังสยองขวัญยุคเก่าได้เหมือนมากๆ

A SOUL HAUNTED BY PAINTING (1995, B) เคยมาลงโรงฉายในกรุงเทพด้วยค่ะ โดยตอนนั้นใช้ชื่อเรื่องว่า LE PEINTRE ดิฉันจำอะไรเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้แทบไม่ได้แล้ว จำได้แต่ว่าผิดหวังเล็กน้อย เพราะตอนเข้าไปดูนึกว่าหนังเรื่องนี้กำกับโดยจางอี้โหมว แต่พอเข้าไปดูแล้วปรากฏว่าหนังกลับแตกต่างจากหนังยุคนั้นของจางอี้โหมวมากเลย ถึงแม้ว่าจริงๆแล้วจางอี้โหมวร่วมเขียนบทหนังเรื่องนี้ด้วยก็ตาม แต่ไม่แน่ ถ้าหากได้ดูหนังเรื่องนี้ซ้ำอีกรอบ ดิฉันอาจจะชอบมากยิ่งขึ้นก็ได้


ANITA BAKER เป็นหนึ่งในนักร้องหญิงผิวดำที่ดิฉันชอบมากๆค่ะ นักร้องป็อปหญิงผิวดำที่ดิฉันชอบสุดๆยังรวมถึง (ตามด้วยชื่อเพลงโปรดของนักร้องคนนั้น) (บางคนก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าผิวดำหรือเปล่า เพราะส่วนใหญ่ฟังเสียง ไม่ค่อยได้เห็นรูปนักร้องเหล่านี้เท่าไหร่)

1. AALIYAH—AT YOUR BEST YOU ARE LOVE
2. ADEVA—IT SHOULD HAVE BEEN ME
3. ALYSON WILLIAMS—2 ND X AROUND + I NEED YOUR LOVIN
4. ARETHA FRANKLIN—IT HURTS LIKE HELL
5. BLUE PEARL—NAKED IN THE RAIN
6. CANDI STATON—YOU’RE STILL THE LIGHTNING
7. CARON WHEELER--UK BLAK
8. CE CE PENISTON—INSIDE THAT I CRIED
9. CHAKA KHAN—THROUGH THE FIRE
10. CHERELLE--AFFAIR
11. CORONA—I GOTTA KEEP DANCIN’
12. DEBORAH COX—ABSOLUTELY NOT + NOBODY’S SUPPOSED TO BE HERE
13. DEE C LEE—NO TIME TO PLAY
14. DES’REE—LIFE
15. DIANA KING—I SAY A LITTLE PRAYER
16. DONNA SUMMER—I DON’T WANNA GET HURT
17. EARTHA KITT—CHA CHA HEELS
18. EFUA—STRAWBERRY BOY
19. GABRIELLE—SUNSHINE
20. GLADYS KNIGHT—LICENSE TO KILL
21. GRACE JONES—SLAVE TO THE RHYTHM
22. JAKI GRAHAM--AIN’T NOBODY
23. JOCELYN BROWN—ALWAYS THERE
24. JODY WATLEY—DON’T YOU WANT ME
25. JOYCE SIMS—LOOKING FOR A LOVE
26. JULIET ROBERTS—CAUGHT IN THE MIDDLE (ถ้าต้องเลือกระหว่างจูเลียต โรเบิร์ตส์ กับจูเลีย โรเบิร์ตส์ ดิฉันขอเลือกจูเลียต โรเบิร์ตส์ค่ะ)
27. KARYN WHITE—SECRET RENDEZVOUS
28. KELLY ROWLAND--DILEMMA
29. KIM APPLEBY--MAMA
30. KYM MAZELLE—NO ONE CAN LOVE YOU MORE THAN ME
31. LEILA K—GOT TO GET
32. LENA FIAGBE—YOU COME FROM EARTH
33. LONNIE GORDON—LOVE EVICTION
34. MARTHA WASH—GIVE IT TO YOU
35. MARY J BLIGE—FAMILY AFFAIR
36. MAUREEN WALSH—THINKING OF YOU
37. MICA PARIS—WHISPER A PRAYER
38. MICHEL’LE—NICETY
39. MICHELLE GAYLE—SWEETNESS
40. MONICA—ANGEL OF MINE
41. MONIE LOVE—IT’S A SHAME (MY SISTER)
42. NAOMI CAMPBELL—LOVE & TEARS
43. NATALIE COLE—STARTING OVER AGAIN
44. NENEH CHERRY—KISSES ON THE WIND
45. NIKI HARRIS—EXTERMINATE
46. OLETA ADAMS—I JUST HAD TO HEAR YOUR VOICE
47. PAULINE HENRY—FEEL LIKE MAKING LOVE
48. RANDY CRAWFORD--ALMAZ
49. REGINA BELLE—MAKE IT LIKE IT WAS
50. ROBERTA FLACK—YOU MAKE ME FEEL BRAND NEW
51. ROBIN S—WHAT I DO BEST
52. ROSIE GAINES--CLOSER THAN CLOSE
53. ROZALLA—YOU NEVER LOVE THE SAME WAY TWICE
54. SABRINA JOHNSTON—FRIENDSHIP
55. SADE—KISS OF LIFE
56. SAMANTHA MUMBA--GOTTA TELL YOU
57. SHANICE—I’M CRYIN’
58. SHARA NELSON—ONE GOODBYE IN TEN
59. SINITTA—I DON’T BELIEVE IN MIRACLES
60. SONIQUE--SKY
61. SYBIL—DON’T MAKE ME OVER
62. TASMIN ARCHER—IN YOUR CARE
63. TINA TURNER—BE TENDER WITH ME BABY
64. TRACY CHAPMAN—FAST CAR
65. ULTRA NATE—FOUND A CURE
66. VANESSA WILLIAMS—THE SWEETEST DAYS
67. VICTORIA WILSON JAMES—BRIGHT LIGHTS
68. WENDY MOTEN—COME IN OUT OF THE RAIN
69.YAZZ—WHERE HAS ALL THE LOVE GONE?

Saturday, October 30, 2004

KaDee Strickland is the star to watch

ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับ The Grudge

ชอบดาราหญิง 3 คนในหนังเรื่องนี้มากเลยค่ะ ซึ่งก็คือ Clea DuVall, Grace Zabriskie และ KaDee Strickland โดย Clea DuVall นั้นเป็นเจ้าของฉากที่ดิฉันติดตามากที่สุดฉากนึงใน The Grudge นั่นก็คือฉากเธอในซูเปอร์มาร์เก็ต

ถ้าจำไม่ผิด Clea DuVall เคยรับบทหนักมาแล้วใน Girl, Interrupted (1999, A-/B+) และเธอเคยแอบปล่อยฝีมือการแสดงเอาไว้บ้างในหนังอย่าง IDENTITY (2003, B) และ 21 GRAMS (2003, A-) แต่ในหนังเรื่อง GHOST OF MARS (2001, John Carpenter, A-) เธอและดาราคนอื่นๆไม่ได้เผยฝีมือการแสดงมากเท่าไหร่ เพราะสิ่งที่ยอดเยี่ยมในหนังเรื่องนี้อยู่ที่โครงสร้างการเล่าเรื่องมากกว่า

ส่วน GRACE ZABRISKIE นั้น ดิฉันชอบเคยเธอมากๆค่ะจากละครชุด TWIN PEAKS (A+) ในขณะที่ KADEE STRICKLAND ก็กลายเป็นฮีโร่หญิงประจำใจดิฉันจากหนังเรื่อง ANACONDAS: THE HUNT FOR THE BLOOD ORCHID

เช็คประวัติ KADEE STRICKLAND ดูแล้ว ปรากฏว่าเธอเคยเล่นหนังดีๆมาแล้วมากมาย ตั้งแต่ THE SIXTH SENSE (A), GIRL, INTERRUPTED, ANYTHING ELSE (A), SOMETHING’S GOTTA GIVE (B-) และ THE STEPFORD WIVES (A) แต่ประหลาดมากที่ดิฉันไม่เคยสนใจเธอในหนังเหล่านี้เลย เธอเพิ่งมาฉายแสงเข้าตาดิฉันก็จาก THE BLOOD ORCHID นี่แหละ

ดิฉันจำบทที่ KADEE STRICKLAND เล่นในหนังหลายเรื่องข้างต้นไม่ค่อยได้ แต่เดาว่าเธอคงรับบทเป็นสาว “สวยโง่” ซะเป็นส่วนใหญ่ในหนังเหล่านั้น ดิฉันก็เลยไม่เคยสังเกตเห็นเธอเลย แต่ใน THE BLOOD ORCHID เธอรับบทเป็นสาวใจเด็ด ดิฉันก็เลยสะดุดตาเธอขึ้นมาในทันที

สาเหตุที่ทำให้ไม่ค่อยชอบ THE GRUDGE มากเท่าไหร่ เป็นเพราะเคยดู JU-ON (A) ที่ชอบมากๆมาก่อนแล้วน่ะค่ะ และพอส่วนที่ดิฉันชอบมากๆใน JU-ON โดนตัดทิ้งไปใน THE GRUDGE ก็เลยทำให้รู้สึกแย่เล็กน้อย

อีกสิ่งนึงที่ทำให้เสียอารมณ์ใน THE GRUDGE ก็คือการไม่ใช้ประโยชน์จากความหล่อของ JASON BEHR น่ะค่ะ เขาตรงสเปคดิฉันมาก รูปร่างของเขาใน THE GRUDGE นี่มันน่ากัดจริงๆ ใครมันจะรูปร่างทรมานใจหนุ่มๆได้ขนาดนี้ แต่เนื่องจากบทเขาน้อยไปหน่อย ก็เลยทำให้รู้สึกหงุดหงิดงุ่นง่านใจค่ะ

JASON BEHR เคยรับบทเป็นพระเอกในหนังเกย์ที่สุดแสนซาบซึ้งประทับใจเรื่อง RITES OF PASSAGE (1999, VICTOR SALVA, A+)


ดู A CINDERELLA STORY แล้วเลยทำให้ตอนนี้ “ฮิลารี ดัฟฟ์” กลายเป็น “ฮิลารี ดับ” ไปแล้วค่ะในสายตาของดิฉัน เพราะถ้าเทียบกับดารา/นักร้องในรุ่นไล่ๆกันอย่าง ลินด์เซย์ โลแฮน, สองสาวพี่เธอโอลเซน (หนังของพวกเธอห่วยและโง่ แต่เป็นความโง่ที่ดูแล้วสะใจดี), Anne Hathaway (แก่เกินคนอื่นๆไปหน่อย) หรือ Avril Lavigne แล้ว ดิฉันก็ชอบฮิลารี ดับ น้อยที่สุดค่ะ แต่ยังไงดิฉันก็ยังไม่ได้ดูหนังเรื่อง RAISE YOUR VOICE (2004, SEAN MCNAMARA) ของฮิลารี ดับ และ NEW YORK MINUTE (2004, DENNIE GORDON) ของสองพี่น้องโอลเซนค่ะ คงต้องดูหนังสองเรื่องนี้เทียบกันก่อน แล้วถึงจะพิสูจน์ได้ว่าใครคือ “สาวดับ” ตัวจริง

RAISE YOUR VOICE ได้คะแนนโหวต 2.9 จาก 10 ค่ะ ขอแสดงความยินดีด้วย

ส่วน NEW YORK MINUTE ได้คะแนนโหวต 3.5 จาก 10 ค่ะ ฮิฮิฮิ ท่าทางจะแข่งกันดับของจริง


ดีใจมากๆค่ะที่คุณอ้วนชอบ PAULINE AT THE BEACH (A+) ดิฉันจำเนื้อหาในหนังไม่ได้แล้ว เพราะเคยดูในโรงภาพยนตร์เมื่อประมาณ 7-8 ปีก่อน แต่จำได้ว่าชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีดคลั่งมาก ดูแล้วมันมีความสุขมากๆจริงๆ

Amanda Langlet ที่รับบทเป็นเด็กสาวใน PAULINE AT THE BEACH ต่อมาได้ฝากผลงานที่น่าประทับใจสุดขีดไว้ในหนังเกี่ยวกับชายหาดของโรห์แมร์อีกเรื่อง นั่นก็คือเรื่อง A SUMMER’S TALE (1996, A+) ค่ะ โดยในครั้งนี้เธอรับบทเป็นผู้หญิงที่เป็นสาวเต็มตัวแล้ว บทของเธอใน A SUMMER’S TALE เป็นบทที่ประทับใจดิฉันมากๆเลย และมันก็ทำให้นึกถึงประสบการณ์ของการไปเที่ยวชายหาดในชีวิตจริงด้วยเหมือนกัน

ล่าสุดเห็น AMANDA LANGLET ได้ร่วมงานกับโรห์แมร์อีกครั้งใน TRIPLE AGENT (2004) ด้วย

PAULINE, REINETTE, MIRABELLE, CHLOE, CLAIRE, MAUD, SUZANNE ในบรรดาตัวละครที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชื่อหนังของโรห์แมร์เหล่านี้ ดิฉันอยากเป็นอย่าง MAUD มากที่สุดค่ะ ดูเธอมีเสน่ห์แบบผู้ใหญ่ดี และในบรรดาตัวละครเหล่านี้ ดิฉันก็รู้สึกอยากตบยัย CHLOE มากที่สุด

Everybody’s Free to Wear Sunscreen เป็นหนึ่งในเพลงที่ดิฉันรู้สึกว่าเนื้อเพลง “มีคุณค่า” ต่อชีวิตมากที่สุดค่ะ ถ้าเข้าใจไม่ผิด เพลงนี้เป็นการนำคำพูดของผู้ชายคนนึงมาผสมกับเพลง EVERYBODY’S FREE TO FEEL GOOD ของ ROZALLA มันเป็นเพลงที่พิสดารมากๆ เพราะมันเหมือนกับฟังคนพูดไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ เรื่อยๆ แต่มันมีคุณค่าทางจิตใจอย่างเปี่ยมล้นจริงๆ

หนุ่มน้อยใน SUITE HABANA น่ารักมากๆค่ะ ถ้าจำไม่ผิด ตอนท้ายเรื่องเขาจะขึ้นข้อความว่าพ่อกับแม่ของหนุ่มน้อยคนนี้เป็นอะไรสักอย่างก็ไม่รู้ หนุ่มน้อยคนนี้ก็เลยต้องกลายเป็นคนคนเดียวที่ต้องทำงานหาเงินเลี้ยงคนทั้งครอบครัว และความฝันในชีวิตของเขาก็คือการเป็นนักเต้นบัลเลต์

ปัจจัยนึงที่ทำให้ไม่ชอบเรื่อง THE EDUKATORS มากเท่าที่ควรเป็นเพราะพล็อต “รักสามเส้า” มันวางเส้าผิดค่ะ ถ้าหากมันเป็นรักสามเส้าระหว่าง “เกย์-ไบเซ็กชวล-ผู้หญิง” แล้วล่ะก็ หนังเรื่องนี้จะได้คะแนนเพิ่มขึ้นในทันที

หนังที่ได้ดูในช่วงนี้
1.FAHRENHEIT 9/11 (MICHAEL MOORE) A-

2.SKY CAPTAIN AND THE WORLD OF TOMORROW (KERRY CONRAN) B+

3.ซี-อุย B+
สิ่งที่ชอบที่สุดในหนัง--บรรดาคนงานในโรงงานขนกระสอบ

4.อุกกาบาต B-
สิ่งที่ชอบที่สุดในหนัง--คุณตำรวจพศิน

5.METHOD (DUNCAN ROY) C


SEVEN DAYS SEVEN NIGHTS (A+)

สรุปอันดับหนังยาวที่ได้ดูในเทศกาลนี้

1.SEVEN DAYS SEVEN NIGHTS (2003, JOEL CANO) A+
หลังจากดูหนังเรื่องนี้จบใหม่ๆ รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีข้อเสียมากมายและผู้กำกับยังมีอะไรที่ต้องปรับปรุงอีกมาก แต่หลังจากเวลาผ่านไประยะนึง ข้อเสียในหนังเรื่องนี้กลับเลือนหายไปจากความทรงจำ และภาพที่น่าประทับใจจากหนังเรื่องนี้กลับผุดขึ้นมาในหัวบ่อยครั้งที่สุดเมื่อเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆ ฉากที่ประทับใจมากในเรื่องนี้คือฉากต่างๆของสาวนักทำแท้งชื่อมาเรีย ไม่ว่าจะเป็นฉากขโมยดอกไม้, ฉากเธอวิ่งเตลิดกลางดงมะละกอ, ฉากเธอวิ่งเตลิดกลางป่าโดยไม่มีที่มาที่ไปและไม่มีสาเหตุใดๆทั้งสิ้น, ฉากเธอทำสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกอยู่ในลำคลองข้างทางรถไฟ, ฉากที่เธอต่อรองราคากับเจ้าแม่ในร้านทำผม, ฉากที่เธอปะทะกับเกย์สาว, ฉากที่เธอกล่าวหาคนเดินในถนนว่าทำให้ไหล่เธอเคลื่อน ไม่รู้เหมือนกันว่านักแสดงที่รับบทเป็นมาเรียในหนังเรื่องนี้ชื่ออะไร แต่เธออาจจะเป็นนักแสดงเพียงไม่กี่คนในโลกนี้ที่มีพลังความเฮี้ยนอยู่ในตัวมากพอที่จะสามารถต่อกรกับ
1.Divine (Pink Flamingos, Female Trouble, Hairspray)
2.Carmen Maura (Pepi Luci Bom, What Have I Done to Deserve This?, Women on the Verge of a Nervous Breakdown)
3.Holly Woodlawn (Trash, Women in Revolt)
4.นางเอก “คุณหญิงบ่าวตั้ง”

2.THE NIGHT WILL PAY (2003, NESTOR MAZZINI) A+
เดาว่าหนังเรื่องนี้คงนำปัญหาการเมืองในอาร์เจนตินามาดัดแปลงให้เป็นเรื่องอุปมาอุปไมย ดิฉันในฐานะคนไทยที่ไม่รู้เรื่องการเมืองในอาร์เจนตินาจึงไม่สามารถเข้าใจและตีความได้ว่าอะไรเป็นสัญลักษณ์แทนอะไรในหนังเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี ฉากเปิดของหนังเรื่องนี้สุดยอดมาก ภาพหน้าต่างหรือม่านหน้าต่างที่ค่อยๆปิดลงทีละบานให้ความรู้สึกน่าขนลุกอย่างรุนแรง และฉากคุณยาย 3 คนที่เหมือนกับผุดมาจากขุมนรกก็เป็นฉากที่เหมือนกับหลุดออกมาจากหนังของ Alejandro Jodorowsky

3.OURS DOESN’T WORK (2003, NICOLAS ALVAREZ + IVAN WOLOVIK) A+
หนังเรื่องนี้สมบูรณ์และลงตัวกว่า Seven Days Seven Nights และ The Night Will Pay แต่ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าหนังเรื่องนี้จะฝังใจมากเท่าสองเรื่องนั้นหรือเปล่า

พระเอกหนังเรื่องนี้ดูบางมุมแล้วนึกถึง Romain Duris (Exils, Seventeen Times Cecile Cassard, Children of the Stork)

4.OR (2003, KAREN REDAYA) A+
ความสุขอย่างนึงที่ได้รับจากหนังเรื่องนี้ก็คือการได้ดูสภาพชีวิตคนที่จนตรอกยิ่งกว่าเรา และทำให้เราตระหนักว่าชีวิตเราเองช่างมีความสุขยิ่งนัก หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังหลายๆเรื่องในเทศกาลนี้ที่แสดงให้เห็นปัญหาในการหาเงินมายังชีพ และมีตัวละครที่แทบไม่รู้ว่าจะหาเงินที่ไหนมาซื้อข้าวกิน สิ่งที่ประทับใจในเทศกาลนี้ก็คือหนังในเทศกาลนี้แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าคุณจะมีชีวิตอยู่ในประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบใด การ “หาเงินมาซื้อข้าวกินประทังชีวิต” ก็เป็นสิ่งที่ยากลำบากยิ่งนัก ไม่ว่าคุณจะเป็นชาวยิวในอิสราเอล, เป็นหญิงอิหร่าน, เป็นชาวอาร์เจนตินา, เป็นชาวอินเดีย, เป็นชาวคาซัคสถาน, เป็นชาวเวียดนาม หรือเป็นชาวคิวบา ไม่ว่าคุณจะอยู่ในประเทศทุนนิยม, ประเทศคอมมิวนิสต์ หรือประเทศอะไร คุณก็อดตายได้ง่ายๆไม่แพ้กัน

5.PETERKA: YEAR OF DECISION (2003, VLADO SKAFAR) A+
หนังสารคดีที่ชอบที่สุดในงานนี้

6.LIVE-IN MAID (2004, JORGE GAGGERO) A+
การแสดงในหนังเรื่องนี้สุดยอดไม่แพ้หนังเรื่อง OR แต่การแสดงในเรื่องนี้เน้นแววตามากกว่าการกระทำ

ชอบตัวละครในหนังเรื่องนี้มากๆ มันดูสง่ามากๆ ตอนก่อนเข้าไปดูหนังเรื่องนี้ นึกว่าจะได้ดูหนังแนวผู้หญิงปากร้ายด่าทอกันวุ่นวายแบบ Seven Days Seven Nights แต่ปรากฏว่าตัวละครในหนังเรื่องนี้เป็นผู้ดีมากๆ ฉากที่ชอบมากคือฉากที่สาวใช้ไปตามผัวของเธอ ตอนแรกนึกว่าจะต้องมีการตบกันในฉากนี้ แต่ปรากฏว่าไม่มี ฉากที่คุณนายกินถั่วงอกก็เป็นฉากที่สุดๆเหมือนกัน (ถึงแม้หนังดูเหมือนจะจงใจเค้นอารมณ์จากฉากนี้มากไปหน่อย) ตอนจบของหนังเรื่องนี้ก็ชอบมากๆ

หนังเรื่องนี้เหมาะสำหรับผู้ชมที่ชอบตัวละครผู้หญิงวัยกลางคนแบบ
1.BRIGITTE MIRA ใน ALI—FEAR EATS THE SOUL (1974, RAINER WERNER FASSBINDER, A+)
2.PAULINE COLLINS ใน SHIRLEY VALENTINE (1989, LEWIS GILBERT, A+)
3.BRENDA FRICKER ใน SWANN (1996, ANNA BENSON GYLES, A+)
4.TAMAR YERUSHALMI ใน FOREIGN SISTER (2000, DAN WOLMAN, B)
แต่หนังเรื่องนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ชมที่ชอบตัวละครผู้หญิงวัยกลางคนแบบใน Something’s Gotta Give

7.LITTLE MEN (2003, NARIMAN TUREBAYEV) A+
เพื่อนพระเอกในหนังเรื่องนี้น่ารักดี ส่วนพระเอกไม่ค่อยน่ารักเท่าไหร่ แต่ตาสวยมาก ฉากที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้คือฉากในดิสโกเธค มันเป็นฉากที่ตอนดูรู้สึกว่ามันธรรมดามากๆ แต่ดูจบแล้วกลับเป็นฉากที่ฝังใจ

ฉากตัวละครเข้าเธคในหนังหลายๆเรื่องเป็นฉากที่ติดตาดีเหมือนกัน โดยเฉพาะถ้าหากฉากนั้นเป็นฉากที่สามารถแสดงให้เห็นถึงมนตร์เสน่ห์อันน่าหลงใหลของเธค ฉากเธคที่ประทับใจรวมถึงฉากใน
1.ONE NIGHT HUSBAND (A+)
2.FEAR OF HEIGHTS (1994, HOUCHANG ALLAHYARI, A+)
3.DEVIL IN THE FLESH (1962, MARCO BELLOCCHIO, A-) ฉากที่นางเอก (MARUSCHKA DETMERS)พยายามเต้นให้เข้าสเต็ปกับเพลงในเธคที่เปลี่ยนจังหวะไปจากเดิม แต่กลับทำไม่สำเร็จ
4.THE MAGIC GLOVES (2003, MARTIN REJTMAN, A+) ฉากดิสโกเธคในตอนจบของหนังเรื่องนี้ให้ความรู้สึกเหงาๆเศร้าๆ แต่มันก็ให้ความรู้สึกที่ดีมากในขณะเดียวกัน

ส่วนฉากเธคที่ดูแล้วรู้สึกแย่ๆคือฉากใน We Sing to God

8.TORREMOLINOS 73 (2003, PABLO BERGER) A+
ฉากที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้คือฉากในหนังเรื่อง Horny Widow ที่นางเอกนั่งรถไฟเหาะในสวนสนุกแล้วมียมทูตหนุ่มหล่อนั่งรถไฟเหาะตามหลัง

Mads Mikkelsen ซึ่งรับบทเป็นยมทูตหนุ่มหล่อในหนังเรื่อง Horny Widow เป็นดาราชาวเดนมาร์คที่เคยแสดงหนังเรื่อง King Arthur (B+), The Green Butchers, Wilbur Wants to Kill Himself, Open Hearts และ I Am Dina

Candela Pena นางเอกหนังเรื่องนี้ก็เล่นได้น่าประทับใจมากเหมือนกัน เธอเคยแสดงหนังเรื่อง Take My Eyes กับ All About My Mother

9.SEAWARD JOURNEY (2003, GUILLERMO CASANOVA) A+
ชอบตอนจบกับชอบตัวละครในหนังเรื่องนี้มาก ฉากนึงที่รู้สึกขำคือฉากฝนตก แต่เป็นการขำวิธีการถ่ายทำในฉากนั้น เดาว่าคนสร้างหนังเรื่องนี้คงไม่มีทุนสักเท่าไหร่ ฉากฝนตกในหนังเรื่องนี้ถึงได้ใช้มุมกล้องที่ทำให้ผู้สร้างเปลืองน้ำน้อยที่สุด

10.PLATFORM (2001, JIA ZHANGKE) A+
11.A TALKING PICTURE (2003, MANOEL DE OLIVEIRA) A+
12.BURNING DREAMS (2003, WAYNE PENG) A+
13.DAUGHTER FROM DANANG (2002, GAIL DOGIN + VICENTE FRANCO) A+
หนังสารคดีเรื่องนี้มี “ฉากไคลแมกซ์” ที่ชัดเจนมาก และเป็นฉากไคลแมกซ์ที่สะเทือนใจจริงๆ หนังเรื่องนี้เหมาะมากที่นำมาฉายในเทศกาลนี้เทียบกับหนังเรื่อง OR และ THE SILENCE OF THE PALACE เพราะในขณะที่ OR แสดงให้เห็นถึงลูกสาวที่เสียสละเพื่อแม่ และ THE SILENCE OF THE PALACE แสดงให้เห็นถึงแม่ที่เสียสละเพื่อลูกสาว DAUGHTER FROM DANANG กลับสะท้อนความจริงในอีกแง่มุมนึง และเป็นแง่มุมที่ดิฉันไม่สามารถเข้าข้างใครได้เลยด้วย ขณะที่ดูหนังเรื่อง OR ดิฉันรู้สึกว่าถ้าหากดิฉันเป็นแม่หรือลูกสาวในหนังเรื่อง OR ดิฉันก็คงไม่ประพฤติตัวเหมือนอย่างตัวละคร 2 คนนี้ (และนั่นก็อาจทำให้ปัญหาของตัวละครใน OR ลดน้อยลง) แต่ใน DAUGHTER FROM DANANG ดิฉันกลับรู้สึกว่าถ้าหากดิฉันเป็นแม่ ดิฉันก็คงทำอย่างนั้น และถ้าหากดิฉันเป็นลูกสาว ดิฉันก็คงทำอย่างนั้น และนั่นแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ใน DAUGHTER FROM DANANG เป็นสถานการณ์ที่ถ้าหากเกิดขึ้นกับตัวดิฉันเอง ดิฉันก็คงไม่สามารถทำอะไรให้มันดีขึ้นมาได้เช่นกัน มันเป็นสถานการณ์ที่เลวร้าย แต่ดิฉันไม่สามารถพูดได้เลยว่า “ใครผิด”

14.SUITE HABANA (2003, FERNANDO PEREZ) A+ หรือ “แอบดูผู้ชายคิวบา”
ตอนแรกๆจะรู้สึกเบื่อหนังเรื่องนี้เล็กน้อย เพราะ “จังหวะชีวิต” ของคนในช่วงเวลากลางวันเป็นจังหวะที่ไม่น่ารื่นรมย์สักเท่าไหร่ แต่พอพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว จังหวะชีวิตของคนก็ดูงดงามมากขึ้น

คิวบาเป็นแหล่งที่ให้กำเนิดหนังสารคดีหรือหนังกึ่งสารคดีที่น่าสนใจมากมายหลายเรื่องจริงๆ และก็เป็นที่น่ายินดีที่ Suite Habana เลือกใช้วิธีการนำเสนอที่ไม่น่าจะซ้ำซากกับหนังสารคดีเรื่องอื่นๆ (ดูบางฉากแล้วนึกไปถึงหนังที่สร้างจากเรื่องแต่งอย่าง HUKKLE (2002, GYORGY PALFI, A-) ที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างภาพกิจวัตรประจำวันกับเสียงดนตรีเหมือนกัน)

หนัง (กึ่ง) สารคดีคิวบาที่น่าสนใจ
1.I AM CUBA (1964, MIKHAIL KALATOZOV, A+)
2.BALSEROS (2002, CARLOS BOSCH + JOSE MARIA DOMENECH, A+)
3.BUENA VISTA SOCIAL CLUB (WIM WENDERS, A+)
4.LOOKING FOR FIDEL (2004, OLIVER STONE)
5.BAD CONDUCT (1984, NESTOR ALMENDROS + ORLANDO JIMENEZ LEAL)

15.HYENAS (1992, DJIBRIL DIOP MAMBETY) A+ (ดีวีดีหนังเรื่องนี้มีขายที่จตุจักร)
ตัวละครผู้หญิงในหนังเรื่องนี้สง่ามาก หนังเรื่องนี้คงเป็นหนังที่ต้องการส่งสารบางอย่างและอาจเป็นหนังที่สะท้อนสภาพสังคมการเมืองด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี ตัวละครผู้หญิงในหนังเรื่องนี้สามารถยกเอาไปใส่ในหนังแร่ดๆอย่าง Kill Bill ได้สบาย เพราะนางเอกในหนังเรื่องนี้เป็นผู้หญิงที่ต้องการแก้แค้นผู้ชาย เธอมีมือเหล็กและมีขาเหล็ก เธอเป็นคนเดียวที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์เครื่องบินตก เธอจัดการกับผู้ชายที่มีส่วนทำร้ายเธอไปแล้ว 2 คน และขณะนี้เธอกำลังจะจัดการกับคนที่ 3 เธอมีลูกสมุนเป็นผู้หญิงผิวดำ 3 คนที่ดูสง่ามากๆ และมีลูกสมุนเป็นหญิงญี่ปุ่น 1 คน และเธอต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้หญิงแอฟริกันที่ใส่เสื้อผ้าสีสันฉูดฉาดและประกาศว่าจะปกป้องผู้ชายที่เธอต้องการจะฆ่า จริงๆแล้วสถานการณ์ในหนังเรื่องนี้เอื้อต่อการดัดแปลงเป็นหนังแนวกำลังภายในได้สบายมากๆ

ประโยคที่ชอบมากจากหนังเรื่องนี้คือประโยคที่นางเอกพูดว่า “The world turned me into a whore, so now I’m going to turn the world into a whorehouse.”

16.WHISKY ROMEO ZULU (2003, ENRIQUE PINEYRO) A+
17.THE COLDEST DAY (2003, XIE DONG) A
18.THE FIFTH REACTION (2003, TAHMINEH MILANI) A
ฉากที่ชอบมากคือฉากที่เจ้าพ่อรถบรรทุกเกิดอาการจ๋อยเมื่อปะทะกับเจ้าแม่ท่าเรือ
19.ALI ZAOUA: PRINCE OF THE STREETS (2000, NABIL AYOUCH) A
20.TWO WOMEN (1999, TAHMINEH MILANI) A
21.THE SILENCE OF THE PALACE (1994, MOUFIDA TLATLI) A
22.ALEXANDRIE…NEW YORK (2004, YOUSSEF CHAHINE) A
ฉากที่ชอบมากคือฉากที่พระเอกในวัยหนุ่มตบตีกับคุณป้าขายไส้กรอกชาวอาร์เมเนีย และฉากที่นางเอกในวัยสาวด่าทอกับหญิงสาวเจ้าของบ้านเช่า
23.CZECH DREAM (2004, VIT KLUSAK + FILIP REMUNDA) A-
24.WEST BEIRUT (1998, ZIAD DOUEIRI) A-
25.THE PLIGHT (2002, R. SARATH) A-
26.LOST EMBRACE (2004, DANIEL BURMAN) A-

หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของครอบครัวชาวยิวที่อพยพจากยุโรปเพื่อมาอาศัยอยู่ในอาร์เจนตินา และก็เลยทำให้นึกถึงหนังที่ชอบมากอีกเรื่องนึง ซึ่งก็คือ IMAGES OF THE ABSENCE (1998, GERMAN KRAL, A+) ที่เล่าเรื่องของชายหนุ่มเชื้อสายผู้อพยพในอาร์เจนตินาเหมือนกัน ชายหนุ่มคนนี้มีปัญหาพ่อกับแม่ทะเลาะกัน และชายหนุ่มคนนี้ยังผูกพันกับคนรุ่นปู่ย่าตายายเหมือนกับพระเอก LOST EMBRACE ด้วย

27.BAD BOYS – A TRUE STORY (2003, ALEKSI MAKELA) A-
28.THE EDUKATORS (2004, HANS WEINGARTNER) B+
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาบางส่วนพาดพิงไปถึงผู้ก่อการร้ายชาวเยอรมันในทศวรรษ 1970 และก็เลยทำให้นึกได้ว่าหนังในช่วงไม่กี่ปีมานี้มีหลายเรื่องที่พาดพิงไปถึงผู้ก่อการร้ายเยอรมันในทศวรรษ 1970 ด้วยเหมือนกัน ไม่รู้ว่าเพราะอะไรประเด็นนี้ถึงกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง

หนังในระยะนี้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ก่อการร้ายเยอรมันในทศวรรษ 1970
1.THE STATE I AM IN (2000, CHRISTIAN PETZOLD) A+
2.WHAT TO DO IN CASE OF FIRE (2001, GREGOR SCHNITZLER)
3.BAADER (2002, CHRISTOPHER ROTH)
4.THE INVISIBLE CIRCUS (2001, ADAM BROOKS) C
และอาจจะรวมไปถึงหนังเรื่อง THE RASPBERRY REICH ( 2004, BRUCE LABRUCE) ด้วย

น่าสนใจเหมือนกันว่าในขณะที่เยอรมนีหันมาสร้างหนังเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายในทศวรรษ 1970 อิตาลีระยะนี้ก็หันมาสร้างหนังเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายของประเทศตัวเองในทศวรรษ 1970 ด้วยเหมือนกัน ซึ่งได้แก่เรื่อง GOOD MORNING NIGHT (2003, MARCO BELLOCCHIO) และ THE BEST OF YOUTH (2003, MARCO TULLIO GIORDANA, B+)

ขณะที่ดู The Edukators ก็จะรู้สึกลุ้นเอาใจช่วยตัวละครในหนังมากพอสมควร แต่ในขณะเดียวกัน ก็จะรู้สึกไม่ค่อยชอบนิสัยตัวละครในหนังสักเท่าไหร่ เพราะตัวละครในหนังเรื่องนี้เป็นคนที่ดูเหยาะแหยะยังไงไม่รู้ ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ทำได้ดีมากๆในการสร้างตัวละครที่ “ไม่จริงจังกับอุดมการณ์” และตัวละครประเภทที่ “ทรยศต่ออุดมการณ์” ตัวละครใน The Edukators เป็นตัวละครที่ดู “น่าสมเพช” จริงๆ โดยเฉพาะถ้าหากเทียบกับตัวละครแนวขบถต่อสังคมในทศวรรษ 1970 อย่างตัวละครใน THE THIRD GENERATION (1979, RAINER WERNER FASSBINDER, A+) และ THE SECOND AWAKENING OF CHRISTA KLAGES (1978, MARGARETHE VON TROTTA, A+)

ดู The Edukators แล้วทำให้นึกถึงหนังเยอรมันเรื่อง TRIAL BY FIRE (1998, JANEK RIEKE, B/B-) ด้วย เพราะนางเอกหนังเรื่อง TRIAL BY FIRE เป็น eco-terrorist ที่ชอบบุกเข้าไปในแปลงปลูกพืชจีเอ็มโอ และ “อุจจาระ” ใส่พืชในแปลงนั้น

Daniel Bruehl ได้โชว์ฝีมือการแสดงใน The Edukators มากพอสมควร ดูเขาแล้วนึกไปถึงเสน่ห์น่ารักๆของ Ewan McGregor ยุคที่เล่นหนังเรื่อง Trainspotting

29.NEAPOLITAN HEART (2002, PAOLO SANTONI) B+
30.AVIV (2003, TOMER HEYMANN) B+
31.LAST SCENE (2003, HIDEO NAKATA) B+
ดูแล้วเอาใจช่วยตัวละครในฉากช่วงท้ายๆของเรื่องมาก และก็ทำให้นึกไปถึงหนังญี่ปุ่นเรื่อง LEAVE IT TO THE NURSES ที่เข้ามาฉายในกรุงเทพเมื่อไม่นานมานี้ด้วย (ไม่รู้ Last Scene ล้อหนังเรื่องนั้นหรือเปล่า) นอกจากนี้ ดู LAST SCENE แล้วยังทำให้นึกไปถึงคู่พระคู่นาง MOMOE YAMAGUCHI กับ TOMOKAZU MIURA ด้วยเหมือนกัน ถ้าจำไม่ผิด เคยได้ยินว่า MOMOE กับ TOMOKAZU เล่นละครด้วยกันบ่อยมาก พอทั้งสองแต่งงานกันแล้ว MOMOE เลิกเล่นละครไป ละครที่ TOMOKAZU แสดงคู่กับดาราหญิงคนอื่นๆก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่

ดู LAST SCENE กับ ALEXANDRIE…NEW YORK แล้วนึกไปถึงมนตร์เสน่ห์ของโลกภาพยนตร์ยุคเก่าด้วยเหมือนกัน นอกจากนี้ ดู LAST SCENE แล้วก็นึกไปถึงหนังเกี่ยวกับนักแสดงชายแก่ใกล้ปลดระวางเรื่อง I’M GOING HOME (2001, MANOEL DE OLIVEIRA, A+) ด้วย ทั้งสองเรื่องนี้เปิดโอกาสให้นักแสดงชายสูงอายุได้แสดงความสามารถออกมาอย่างเต็มที่จริงๆ

32.WE SING TO GOD (2002, ZOLTAN SPIRANDELLI) B+
33.SHOUF SHOUF HABIBI! (2003, ALBERT TER HEERDT) B+
34.COLUMBIA – THE TRAGIC LOSS (2004, NAFTALY GLIKSBERG) B+
35.THE COLOUR OF HAPPINESS (2003, JOZSEF PACSKOVSZKY) B+
หนังเรื่องนี้สีสันฉูดฉาดสะใจจริงๆ นี่เป็นหนังที่ใช้ตัวละครหลายๆตัวที่พยายามแสวงหาความสุขเหมือนกับ A HELL OF A DAY (2001, MARION VERNOUX, A-) และแสดงให้เห็นคนหลายเชื้อชาติหลากเผ่าพันธุ์ที่อาศัยอยู่รวมกันในฮังการี บางฉากในหนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงหนังของ EMIR KUSTURICA ด้วย แต่พลังทางอารมณ์ในหนังเรื่องนี้มันดูขาดๆไป

36.PRESENCE (2003, JAN TROELL) B
37.FADO BLUES (2004, LUIS GALVAO TELES) C

THE NIGHT WILL PAY (A+)

Swing Out Sister เป็นวงโปรดวงนึงเลยค่ะ เพราะตอนที่เริ่มฟังเพลงในปี 1989 เป็นช่วงที่วงนี้กำลังดังพอดี เพลงที่ชอบมากๆของวงนี้ก็คือ
1.Breakout
2.You On My Mind
3.Waiting Game
4.Where in the World
5.Forever Blue
6.Am I the Same Girl
7.Notgonnachange
8.La La La (Means I Love You)

แต่ก็ติดตามวงนี้ถึงแค่ช่วงต้นทศวรรษ 1990 เท่านั้นค่ะ หลังจากนั้นก็ไม่ได้ติดตามวงนี้อีก เข้าใจว่าวงนี้คงทำเพลงเพราะๆออกมาเหมือนเดิม

ตั้งแต่ดูเทศกาลหนังกรุงเทพในปี 1998 เป็นต้นมา ตอนนี้คิดว่าตัวเองชอบเทศกาลนี้มากที่สุดค่ะ หนังในเทศกาลปีนี้ถูกใจดิฉันหลายเรื่องมาก เท่าที่ดูมามีหนังที่ดิฉันไม่ชอบเพียงแค่เรื่องเดียวเท่านั้นในเทศกาลนี้ นั่นก็คือ Fado Blues นอกนั้นชอบหมดเลยทุกเรื่อง

นอกจากเทศกาลนี้จะเป็นเทศกาลที่ชอบมากที่สุดแล้ว วันศุกร์ที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมายังจัดว่าเป็นหนึ่งในวันที่มีความสุขที่สุดในการดูหนังด้วย เพราะได้ดูหนังที่ชอบในระดับ A+ ถึง 4 เรื่องติดต่อกัน รู้สึกเหมือนซื้อหวยแล้วถูกรางวัลติดต่อกัน 4 งวด

หนังที่ได้ดูในวันศุกร์

1.THE NIGHT WILL PAY (2003, NESTOR MAZZINI) A+ หรือ “อนาถาอาถรรพณ์”

หนังเรื่องนี้มีฉากเปิดที่หลอนมาก แต่จบได้ไม่น่าประทับใจเท่าไหร่ (ในขณะที่หนังหลายเรื่องที่ดิฉันชอบมักจะเป็นหนังที่ทรงพลังในตอนจบ) ตอนนี้ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าชอบอะไรมากกกว่ากันระหว่าง OURS DOESN’T WORK กับ THE NIGHT WILL PAY แต่รู้สึกว่า OURS DOESN’T WORK จะลงตัวมากกว่า สาเหตุนึงคงเป็นเพราะ OURS DOESN’T WORK มีตัวละครน้อยกว่าและมีเนื้อเรื่องน้อยกว่า THE NIGHT WILL PAY ก็เลยทำให้การควบคุมหนังให้ออกมากลมกล่อมเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่า

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ THE NIGHT WILL PAY จะไม่ลงตัว แต่การที่หนังเรื่องนี้เน้นไปที่ “ความมืดมนอนธการ” ก็เป็นสิ่งที่ทำให้หนังนี้เข้าทางดิฉันมาก และทำให้หนังเรื่องนี้ตรงข้ามกับ OURS DOESN’T WORK ด้วย เพราะ OURS DOESN’T WORK เน้นไปที่ความสุขและความงดงามภายใต้แสงแดดยามกลางวัน ในขณะที่ THE NIGHT WILL PAY เน้นไปที่มนตร์เสน่ห์อันน่าหลงใหลและน่าพรั่นพรึงในยามกลางคืน

THE NIGHT WILL PAY เหมือนกับลูกนอกสมรสที่มีพ่อเป็นเคน โลช และมีแม่เป็นเดวิด ลินช์ หนังเรื่องนี้มีประเด็นทางสังคมและมีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาคนจน แต่แฟลตที่คนจนเหล่านี้อาศัยอยู่กลับอบอวลไปด้วยบรรยากาศอาถรรพณ์และปริศนาฆาตกรรมเหมือนกับหมู่บ้านใน Twin Peaks

THE NIGHT WILL PAY มืดไม่แพ้ SOMBRE (1998, PHILIPPE GRANDRIEUX, A+) , ZMEJ (2002, ALEKSEI MURADOV, A+) และ BUS-STOP (ทศพร มงคล, A+) และอาจจะทรงพลังได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของ SOMBRE และ ZMEJ แต่นั่นก็เพียงพอที่จะทำให้ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้มากกว่าทุกๆเรื่องในเทศกาล

ดนตรีประกอบของ The Night Will Pay ก็ทำให้นึกถึงส่วนผสมของ SOMBRE และ ZMEJ ด้วย เพราะดนตรีประกอบของ SOMBRE มีเสียงที่ดังและระคายเคืองโสตประสาทอย่างรุนแรงมาก ในขณะที่ดนตรีประกอบของ ZMEJ เน้นความหลอนเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ดนตรีประกอบของ The Night Will Pay มีทั้งเสียงระคายเคืองและเสียงหลอนอยู่ในเรื่องเดียวกัน

นอกจากฉากกลางคืนจะทำออกมาได้ดีแล้ว ฉากกลางวันบางฉากใน The Night Will Pay ก็ให้ความรู้สึกน่ากลัวไม่แพ้กัน ฉากแรกๆของหนังเรื่องนี้เป็นฉากงานแต่งงานที่จัดขึ้นในเวลากลางวันแสกๆในลานหน้าแฟลต แต่ทำไมฉากที่ถ่ายในยามกลางวันแสกๆมันถึงดูแล้วน่าขนลุกก็ไม่รู้ จุดนึงที่คาใจในฉากนี้ก็คือคนที่มาร่วมในงานแต่งงานใส่ชุดสีดำกันหลายคน ไม่รู้ว่าเป็นสิ่งที่ทำกันปกติหรือเปล่าในอาร์เจนตินาที่คนใส่ชุดดำไปงานแต่งงานกัน

พอดู The Night Will Pay กับ Ours Doesn’t Work แล้วทำให้รู้สึกว่าหนังยาวของประเทศอาร์เจนตินานี่มันน่ากลัวมากๆ หนังยาวสองเรื่องนี้เป็นหนังโนเนมที่ดิฉันไม่เคยได้ยินชื่อจากที่อื่นมาก่อน แต่พลังของมันนี่รุนแรงเกินคาดจริงๆ

2.SEAWARD JOURNEY (2003, GUILLERMO CASANOVA) A+
3.WHISKY ROMEO ZULU (2003, ENRIQUE PINEYRO) A+
มีชื่อของ Martin Rejtman อยู่ในเครดิตท้ายหนังเรื่องนี้ด้วย

หนังเรื่องนี้ถ่ายภาพสวยมาก โดยเฉพาะภาพน้ำตกและภาพเมืองในยามค่ำคืนที่ถ่ายจากเครื่องบิน อีกจุดที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้มากๆก็คืออารมณ์และจังหวะของหนัง

4.DAUGHTER FROM DANANG (2002, GAIL DOGIN + VICENTE FRANCO) A+
5.THE EDUKATORS (2004, HANS WEINGARTNER) B+

Thursday, October 28, 2004

JOHNNY MESSNER IS VERY DESIRABLE

หนังโรงที่ได้ดูในช่วงนี้

1.THE STORY OF THE WEEPING CAMEL (2003, BYAMBASUREN DAVAA + LUIGI FALORNI) A

หนังที่ควรดูคู่กับหนังเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่งก็คือหนังเกี่ยวกับมองโกเลียเรื่อง TAIGA (1992, ULRIKE OTTINGER) ซึ่งมีความยาว 8 ชั่วโมง 21 นาที

2.SAMARITAN GIRL (KIM KI-DUK) A
3.ANACONDAS: THE HUNT FOR THE BLOOD ORCHID (DWIGHT H. LITTLE) A-
4.MY LIFE AS MCDULL (2001, TOE YUEN) B
5.A CINDERELLA STORY (MARK ROSMAN) B-
6.THE GRUDGE (TAKASHI SHIMIZU) B-
7.GARFIELD (PETER HEWITT) B-


FAVORITE ACTRESS
1.JENNIFER COOLIDGE—A CINDERELLA STORY
2.REGINA KING—A CINDERELLA STORY
3.KADEE STRICKLAND—ANACONDAS: THE HUNT FOR THE BLOOD ORCHID


MOST DESIRABLE ACTOR
1.JOHNNY MESSNER—ANACONDAS: THE HUNT FOR THE BLOOD ORCHID
2.KARL YUNE—ANACONDAS: THE HUNT FOR THE BLOOD ORCHID
3.MATTHEW MARSDEN-- ANACONDAS: THE HUNT FOR THE BLOOD ORCHID


Friday, October 22, 2004

OURS DOESN'T WORK

หนังสั้นที่ได้ดูในวันนี้
1.SHOWING THEM (1992, SIVAN ARBEL) A-
2.EXPECTING (2001, SILALIT LIPHS-H-I-T-Z) B+
3.SLIDING FLORA (2003, TALYA LAVIE) B+
4.THE PRICE IS RIGHT (1994, DAFNA LEVIN) B+
5.MINUS PLUS (2001, SHAHAR COHEN) B+
6.PARTY LINE (1993, OHAV FLANTZ) B-

อันดับหนังยาวที่ได้ดูตั้งแต่วันเสาร์ เรียงตามความรู้สึกส่วนตัวที่ขึ้นๆลงๆตลอดเวลา

1.OURS DOESN’T WORK (2003, NICOLAS ALVAREZ + IVAN WOLOVIK) A+

OURS DOESN’T WORK เป็นหนังที่เกี่ยวกับการล่องเรือตลอดทั้งเรื่องเหมือนกับ A TALKING PICTURE แต่ต่างกันตรงที่ตัวละครใน OURS DOESN’T WORK ไม่พูดคุยกันเลย ตอนนี้หนังเรื่องนี้ครองอันดับ 1 ในใจดิฉันประจำเทศกาลนี้ไปแล้ว เพราะนี่เป็นหนังที่มีช่องว่างให้ดิฉันหายใจหายคอได้มากที่สุด และเป็นหนังที่ทำให้สมองของดิฉันได้พักผ่อนมากที่สุด ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็คิดไปถึงความสุขที่ตัวเองได้รับจากการเดินทางไปต่างจังหวัด ความสุขที่ได้รับจากการที่มีสายลมพัดมาปะทะใบหน้าขณะนั่งเรือ ความสุขที่ได้รับจากการนั่งมองกระแสน้ำ (ที่ไม่ใช่น้ำครำ) ความสุขที่ได้รับเมื่อมีแสงแดดอุ่นๆมาโลมเลียใบหน้า ฉากที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้รวมถึงฉากที่นางเอกเล่นสนุกกับขอนไม้ขนาดใหญ่ และฉากที่นางเอกกับแฟนลอยเท้งเต้งอยู่กลางผืนน้ำอันกว้างใหญ่

หนังหลายๆเรื่องมีฉากที่แสดงให้เห็นถึงพลังของสายลม แต่มีหนังอยู่ไม่กี่เรื่องที่พอดิฉันเห็นภาพต้นไม้ใบหญ้าไหวไปตามลมในหนังเรื่องนั้น ใจของดิฉันก็รู้สึกเหมือนกับได้สัมผัสกับสายลมนั้นด้วยตัวเอง OURS DOESN’T WORK เป็นหนึ่งในหนังที่ทำให้ดิฉันรู้สึกได้ถึง “ลมพัด” (ที่ไม่ได้มาจากแอร์ของโรงภาพยนตร์) หนังอีกสองเรื่องที่ทำให้ดิฉันรู้สึกได้ถึง “สายลมที่พัดโบก” ก็คือ PETERKA: YEAR OF DECISION (A+) และ VOYAGES (1999, EMMANUEL FINKIEL, A+) ไม่รู้เหมือนกันว่าเพราะเหตุใดภาพลมพัดในหนังเหล่านี้ถึงมีอิทธิพลทางจิตกับดิฉันมากกว่าภาพลมพัดในหนังเรื่องอื่นๆ

2.OR (2003, KAREN REDAYA) A+
3.LITTLE MEN (2003, NARIMAN TUREBAYEV) A+
มีชื่อของ Tony Gatlif กับ Abderrahmane Sissako ในเครดิตท้ายหนังเรื่องนี้

Little Men เป็นหนังที่น่ารักมากๆ หนังเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ของชายหนุ่มสองคน ชีวิตของชายหนุ่มสองคนนี้ย่ำแย่และสิ้นหวังไม่แพ้ชีวิตของผู้หญิงใน Or แต่โทนของหนังสองเรื่องนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง OR เน้นอารมณ์ที่ขมขื่น, ห้องที่คับแคบ และสีสันที่ซีดเซียว แต่ LITTLE MEN มีอารมณ์กุ๊กกิ๊ก, สถานที่โล่งๆ และสีสันที่สดใสฉูดฉาด

ชอบตอนจบของ LITTLE MEN มาก เป็นตอนจบที่ “จงใจ” พอสมควร แต่ก็น่ารักดีจริงๆ

ตอนแรกๆที่ดู LITTLE MEN รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ต้องไม่เข้าทางตัวเองอย่างแน่นอน หนังเปิดฉากด้วยตัวละครชายหนุ่มสองคน คนหนึ่งมีบุคลิกเซื่องๆ, ขี้แพ้, ไม่กล้าสู้คน ส่วนอีกคนเป็นหนุ่มหล่อที่หน้าตาเหมือนตัวโกงอย่างรุนแรง, เป็นคนเจ้าชู้, ท่าทางนิสัยไม่ดี, เหลี่ยมจัด ทั้งสองทำงานเป็นเซลส์แมนขายของกิ๊กก๊อก และมีฐานะยากจน

ตอนแรกที่ดูหนังเรื่องนี้ เดาว่าพล็อตหนังเรื่องนี้ต้องเป็นว่า “พระเอก” จะค่อยๆเรียนรู้ที่จะทำตัวเป็นคนกล้า, เรียนรู้ที่จะจีบผู้หญิง, เรียนรู้ที่จะทำงานที่ดีกว่าเดิม, เรียนรู้ที่จะทำตัวเป็นผู้ใหญ่ และเรียนรู้อะไรดีๆอีกมากมาย รวมทั้งเรียนรู้ที่จะไม่หลงเชื่อเพื่อนตัวโกงของตัวเองด้วย ทั้งสองอาจจะตกหลุมรักผู้หญิงคนเดียวกัน และพระเอกก็ต้องได้รับบทเรียนอะไรบางอย่างในชีวิตเพื่อที่จะรักษาความสัมพันธ์กับหญิงคนรักของตัวเองเอาไว้ให้ได้ ดิฉันเดาว่าตอนจบของหนังเรื่องนี้ ต้องเป็นตอนจบแบบหนังบางเรื่องของอากิ เคาริสมากิ นั่นก็คือหลังจากพระเอกเผชิญกับพิษเศรษฐกิจและอุปสรรคต่างๆ ในที่สุดหนังก็จะจบลงด้วยภาพของพระเอกมีกิจการเป็นของตัวเองและยืนยิ้มอยู่กับหญิงคนรักหน้าร้านของตัวเอง

แต่การณ์กลับกลายเป็นว่า พล็อตหนังและตอนจบของ LITTLE MEN ไม่ได้เหมือนกับสิ่งที่ดิฉันเดาเอาไว้ในช่วงต้นเรื่องเลย และนั่นก็เลยทำให้ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้มาก

ถ้าหากชอบหนังเกี่ยวกับชีวิตเซลส์แมนแร้นแค้นอย่าง Little Men ขอแนะนำให้ดูหนังเรื่อง The Housewife’s Flower (1999, Dominik Wessely, A+)

ถ้าสนใจหนังสะท้อนสภาพสังคมคาซัคสถานอย่าง Little Men ขอแนะนำให้หาดีวีดีหนังเรื่อง Killer (1998, Darezhan Omirbayev, A+) ที่เคยมีเข้ามาขายในไทยแล้ว

ถ้าสนใจหนังโทนน่ารักๆตลกๆเกี่ยวกับผู้ชายที่ต้องกระเสือกกระสนกลางสภาพเศรษฐกิจอย่าง Little Men ขอแนะนำให้ดูหนังอาร์เจนตินาเรื่อง The Magic Gloves (2003, Martin Rejtman, A+)

4.PETERKA: YEAR OF DECISION (2003, VLADO SKAFAR) A+
ฉากที่ประทับใจมากๆใน PETERKA: YEAR OF DECISION คือฉากที่นักสกีกับแฟนสาวให้สัมภาษณ์ท่ามกลางทุ่งหญ้าที่มีสายลมพัดแรง และอีกฉากนึงที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้คือฉากที่แฟนสาวพูดอะไรออกมาอย่างนึง และนักสกีก็แสดงอาการนิ่งขรึมผิดปกติ โดยที่นักสกีไม่ยอมให้คำอธิบายอะไรทั้งสิ้นว่าทำไมเขาถึงมีอาการนิ่งขรึมผิดปกติอย่างนั้น ถึงแม้แฟนสาวของเขาจะพยายามถามเขาก็ตาม ฉากนี้มันคาใจยังไงไม่รู้ แต่ฉากนี้ในหนังสารคดีเรื่องนี้ มันก็ทำให้นึกถึงความจริงในการพูดคุยของคนเรา เพราะสิ่งที่สำคัญอาจจะไม่ใช่ว่าคนในหนังสารคดีเรื่องนั้นพูดอะไรออกมาบ้าง (หรือคนที่เราคุยด้วยพูดอะไรออกมาบ้าง) แต่สิ่งที่สำคัญก็คือว่าคนในหนังสารคดีเรื่องนั้นคิดอะไรอยู่แต่ไม่ยอมพูดออกมา

5.SEVEN DAYS SEVEN NIGHTS (2003, JOEL CANO) A+
ฉากที่สาวนักทำแท้งไปร้องเพลงกล่อม Norma ในโรงพยาบาลเป็นฉากที่ฝังใจมาก และก็เลยทำให้ชอบหนังเรื่องนี้มากขึ้นกว่าเดิม

6.PLATFORM (2001, JIA ZHANGKE) A+
ฉากที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้คือฉากที่รถบรรทุกวิ่งมากลางทะเลทรายแล้วก็วิ่งกลับไป

7.TORREMOLINOS 73 (2003, PABLO BERGER) A+
คำเตือน: เนื้อหาบางส่วนของหนังเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการร่วมรักกับสัตว์ 4 ขา

8.A TALKING PICTURE (2003, MANOEL DE OLIVEIRA) A+

9.BURNING DREAMS (2003, WAYNE PENG) A+
ทั้งหนังสารคดีเรื่องนี้และ NEAPOLITAN HEART ต่างก็เก็บช่วงที่ dramatic หรือเก็บฉากที่ให้อารมณ์รุนแรงที่สุดไว้ในช่วงท้ายเรื่อง

หนังเรื่องนี้ถ่ายภาพเมืองได้สวยงามมาก หนังถ่ายออกมาเป็นขาวดำ และทำให้ภาพเมืองในโลกแห่งความเป็นจริงดูสวยขึ้นมาราวกับอยู่ในโลกสมมุติ

10.THE COLDEST DAY (2003, XIE DONG) A
ชอบโทนสีของหนังเรื่องนี้มาก หนังเรื่องนี้เหมาะสำหรับคนที่ชอบ Springtime in a Small Town (A+) ของเทียนจวงจวง

11.THE FIFTH REACTION (2003, TAHMINEH MILANI) A
หนังเรื่องนี้อาจจะไม่ดีมากเท่าไหร่ แต่เป็นหนังที่สนุก, สะใจ และก็ไม่ค่อยได้มีโอกาสดูหนังแนวนี้บ่อยนักในไทย เพราะหนังอิหร่านที่เข้ามาในไทยมักจะเป็นหนังที่เรียบง่ายแบบหนังของ Abbas Kiarostami หรือไม่ก็จะเป็นหนังที่มี “ความสุขุม” อยู่ในตัว แต่หนังของมิลานีเป็นหนังที่เมโลดรามามาก

12.ALI ZAOUA: PRINCE OF THE STREETS (2000, NABIL AYOUCH) A
ชีวิตเด็กๆใน Nobody Knows (A) ช่างมีความสุขอย่างล้นเหลือหากมาเทียบกับชีวิตเด็กๆในหนังเรื่องนี้

13.TWO WOMEN (1999, TAHMINEH MILANI) A 14.THE SILENCE OF THE PALACE (1994, MOUFIDA TLATLI) A 15.ALEXANDRIE…NEW YORK (2004, YOUSSEF CHAHINE) A
หนังเรื่องนี้เหมาะดูเทียบกับ Lost Embrace และ Bad Boys – A True Story เพราะทั้ง 3 เรื่องนี้พูดถึงปัญหาความสัมพันธ์ขั้นวิกฤติระหว่างพ่อกับลูกชายเหมือนกัน ใน Alexandrie…New York ลูกชายไม่ยอมรับพ่อเพราะพ่อเป็นอาหรับ ส่วนใน Lost Embrace ลูกชายไม่ยอมรับพ่อเพราะพ่อทิ้งครอบครัวเพื่อไปรบให้อิสราเอล

Alexandrie…New York เป็นหนังที่ประกาศตัวอย่างชัดเจนว่า “ฉันรักหนังน้ำเน่า” และหนังก็เชิดชูความน้ำเน่าของตัวเองอย่างหน้าชื่นตาบานมาก

16.CZECH DREAM (2004, VIT KLUSAK + FILIP REMUNDA) A-
หนังสารคดีเรื่องนี้ดูสนุกมากๆ แต่ถ้าหากหนังเรื่องนี้ไม่ใช่หนังสารคดี แต่เป็นเรื่องแต่ง ดิฉันคงชอบหนังเรื่องนี้เพิ่มขึ้นอีกมาก ดูแล้วรู้สึกสงสารชาวบ้านที่โดนหลอกน่ะค่ะ

สิ่งที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้ก็คือ “เพลง” ที่ใช้โฆษณาไฮเปอร์มาร์เก็ต เพราะท่วงทำนองของเพลงนี้มันช่างซาบซึ้งราวกับเพลงประกอบการแข่งขันโอลิมปิก ในขณะที่เนื้อเพลงนี้ก็ดีมาก โดยเฉพาะท่อนที่ว่า “ถ้าหากคุณไม่มีเงินเพียงพอสำหรับการช้อปปิ้ง คุณก็ไปกู้เงินมาสิ”

17.WEST BEIRUT (1998, ZIAD DOUEIRI) A-
18.THE PLIGHT (2002, R. SARATH) A-
19.LOST EMBRACE (2004, DANIEL BURMAN) A-
20.BAD BOYS – A TRUE STORY (2003, ALEKSI MAKELA) A- 21.NEAPOLITAN HEART (2002, PAOLO SANTONI) B+
22.AVIV (2003, TOMER HEYMANN) B+
ประโยคที่ชอบมากในหนังคือประโยคทำนองที่ว่า “Physically, he looks like a toad. Spiritually, he’s a turn-on.”
23.WE SING TO GOD (2002, ZOLTAN SPIRANDELLI) B+
24.SHOUF SHOUF HABIBI! (2003, ALBERT TER HEERDT) B+
25.COLUMBIA – THE TRAGIC LOSS (2004, NAFTALY GLIKSBERG) B+ 26.PRESENCE (2003, JAN TROELL) B
27.FADO BLUES (2004, LUIS GALVAO TELES) C
พระเอกหนังเรื่องนี้น่ารักที่สุดเลย แต่ก็ไม่สามารถยกระดับความชอบหนังเรื่องนี้ขึ้นมาได้มากกว่านี้


Wednesday, October 20, 2004

The Return of Dana Ivgi from "The Barbecue People"

หนังในเทศกาลที่ได้ดูในวันนี้ เรียงตามลำดับความชอบ

1.OR (2003, KAREN REDAYA) A+
หนังเรื่องนี้จบได้ถูกใจดิฉันมากๆค่ะ และใน ending credit ของหนังเรื่องนี้ มีการขึ้นชื่อของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับหนังเรื่องนี้ขึ้นมาชื่อนึง ซึ่งเป็นชื่อที่ทำให้ดิฉันต้องอุทานว่า “ไม่ประหลาดใจเลยจริงๆ” เพราะชื่อของคนๆนี้สามารถให้คำจำกัดความแก่หนังเรื่อง Or ได้อย่างดีมาก และชื่อของคนๆนี้ก็คือ Virginie Despentes หนึ่งในผู้กำกับหนังเรื่อง Baise-Moi เพราะโลกของ Baise-Moi กับโลกของ Or เป็นโลกที่ใกล้เคียงกันจริงๆ

Dana Ivgi นางเอกหนังเรื่องนี้เล่นได้ดีมากๆค่ะ ผู้ชมหลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตาเธอเป็นอย่างดี เพราะหนังเรื่อง The Barbecue People (2003, Yossi Madmoni+David Ofek, A+++++) ที่เธอร่วมแสดง เพิ่งมาเปิดฉายที่ห้างเอ็มโพเรียมเมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา เธอเป็นดาราหญิงที่น่าจับตามองจริงๆ

2.TWO WOMEN (1999, TAHMINEH MILANI) A
หนังเรื่องนี้อาจไม่มีคุณค่าทางศิลปะมากนัก แต่รู้สึกว่าผู้กำกับหนังเรื่องนี้ถ่ายทอด passion ที่อยู่ในหัวอกของตัวเองเข้ามาในหนังได้อย่างรุนแรงมาก

3.THE SILENCE OF THE PALACE (1994, MOUFIDA TLATLI) A
ฉากเด็ดในหนังเรื่องนี้คือฉากที่นางเอกมองดูแม่ของตัวเองถูกข่มขืนโดยไม่สามารถทำอะไรได้เลย เธออยากกรีดร้องให้สุดเสียง แต่เสียงที่เปล่งออกมาจากปากของเธอมีแต่เพียงความเงียบเท่านั้น

4.BAD BOYS – A TRUE STORY (2003, ALEKSI MAKELA) A-
ชอบมัดกล้ามของดาราทั้ง 4 คนในหนังเรื่องนี้มากค่ะ ก่อนดูหนังเรื่องนี้ รู้สึกชอบ Peter Franzen แต่พอดูจบแล้ว รู้สึกว่าน้องคนสุดท้องในหนังเรื่องนี้น่ารักมากๆ หนังเรื่องนี้มีฉากหนุ่มๆถอดเสื้อเล่นกล้ามอยู่หลายฉาก ทั้งที่จริงๆแล้วฉากเหล่านี้ไม่มีความจำเป็นต่อการดำเนินเรื่องใดๆทั้งสิ้น

อีกจุดที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้ก็คือความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มพระเอกกับพ่อค่ะ พ่อในหนังเรื่องนี้เลวได้ตรงใจดิฉันจริงๆ ดิฉันเกลียดคนประเภทนี้มาก และก็ดีใจที่หนังเรื่องนี้กำหนดให้ตัวผู้ร้ายในหนังเป็นคนประเภทนี้

ไม่รู้เหมือนกันว่าหนังเรื่องนี้ใกล้เคียงกับความจริงมากแค่ไหน แต่สิ่งที่รู้สึกได้ก็คือกลุ่มพระเอกเป็นคนที่โง่มากๆ พวกเขาทำในสิ่งที่ขัดกับหลักเหตุผลหลายอย่าง และนั่นเป็นอีกจุดที่ทำให้ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้ค่ะ หนังบางเรื่องพยายามหาหลักเหตุผลมารองรับการกระทำหรือการตัดสินใจของตัวละคร แต่หนังเรื่องนี้มีตัวละครที่ตัดสินใจอะไรได้โง่มากๆจนหาเหตุผลอะไรมารองรับแทบไม่ได้

5.COLUMBIA – THE TRAGIC LOSS (2004, NAFTALY GLIKSBERG) B+
หนังเรื่องนี้ไม่ได้ดีไปกว่าสารคดีทั่วไปที่ฉายทางโทรทัศน์ แต่จุดที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้ก็คือการได้เห็นว่ามนุษย์อวกาศก่อนที่จะตายนั้น พวกเขายิ้มแย้มมีความสุขกันมากขนาดไหน คนหลายคนที่ประสบอุบัติเหตุตาย พวกเขาต่างก็ตายไปอย่างกะทันหัน โดยไม่มีใครบันทึกภาพของพวกเขาและครอบครัวของเขาก่อนที่เขาจะตายเอาไว้ แต่เนื่องจากบุคคลในหนังสารคดีเรื่องนี้เป็นมนุษย์อวกาศและครอบครัวของมนุษย์อวกาศ ดังนั้นช่วงชีวิตก่อนที่พวกเขาจะตาย จึงถูกบันทึกเอาไว้ในกล้องเป็นเวลานานหลายวัน

การได้เห็นว่าคนใกล้ตายยิ้มแย้ม ร่าเริง สนุกสนาน มีความสุข มีความหวัง มีความรักมากขนาดไหน การได้เห็นคนใกล้ตายคุยกับสมาชิกแต่ละคนในครอบครัวอย่างมีความสุข มันเป็นสิ่งที่ทำให้ดิฉันรู้สึก “หวาดกลัว” มากๆ เพราะมันเป็นการเตือนสติดิฉันว่า ทุกครั้งที่ดิฉันยิ้ม ทุกครั้งที่ดิฉันหัวเราะ ทุกครั้งที่ดิฉันมีความสุข ดิฉันเองก็ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากมนุษย์อวกาศในหนังสารคดีเรื่องนี้ เพราะดิฉันเองก็อาจจะตายในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าได้เหมือนกัน หนังเรื่องนี้ทำหน้าที่เป็นมรณานุสติได้อย่างดีมาก

อีกจุดนึงที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้ ก็คือฉากที่หนุ่มหล่อซึ่งเป็นลูกชายของมนุษย์อวกาศ เปลือยท่อนบนขณะฝึกชกมวยค่ะ อิอิอิ

ส่วน SEVEN DAYS SEVEN NIGHTS นั้น ดิฉันลองนับตัวละครหลักๆในหนังเรื่องนี้ได้ประมาณ 8 คนค่ะ และก็เป็น 8 คนที่ตัดสินแทบไม่ได้ว่าใครแรงที่สุด ถ้าใครที่แอบอ่านกระทู้นี้แล้วได้ดูหนังเรื่องนี้ ก็ช่วยออกความเห็นมาด้วยก็ดีนะคะว่าคุณคิดว่าตัวละครคนไหนที่แรงที่สุด

1.สาวนักทำแท้งชื่อ Maria แต่มีบางฉากที่เธอเรียกตัวเองว่า Vengo ซึ่งแปลว่า “ฉันมา” (I Come)
2.เกย์สาวที่ด่าทอกับสาวนักทำแท้ง เธอเรียกตัวเองว่าYo Me Voy ซึ่งแปลว่า “ฉันไป” (I Go)
3.Nieves เธอเป็นสาวผิวดำที่เป็นเพื่อนกับ “ฉันไป” ส่วนชื่อ Nieves ของเธอนั้นแปลว่า Snow แต่ตัวเธอกลับดำมาก
4.Norma เธอเป็นผู้ประกาศข่าวทางโทรทัศน์ แต่อยู่ดีๆวันนึงเธอก็หยุดพูดขึ้นมาอย่างกะทันหัน (ไม่รู้ผู้กำกับได้ไอเดียนี้มาจาก Persona หรือเปล่า) จนในที่สุด “ฉันมา” ต้องบุกเข้ามาบีบคอเธอเพื่อบังคับให้เธอปริปากพูดอะไรออกมาบ้าง
5.สาวใช้ของ Norma ซึ่งมีรสนิยมทางเพศชอบผู้ชายผิวดำ
6.แม่ของ Norma เธอดูแรงๆเลวๆ แต่ยังไม่มากเท่าไหร่ แต่การแสดงของเธอในฉากก่อนจบ ทำให้คะแนนความแรงของเธอพุ่งปรี๊ดขึ้นมาทันที
7.เพื่อนของ “ฉันมา” ซึ่งเพื่อนคนนี้ไม่รู้เป็นบ้าอะไรถึงต้องใส่ชุดแต่งงานตลอดเวลา เธอใส่ชุดแต่งงานขณะอยู่ในกระท่อม เธอใส่ชุดแต่งงานขณะวิ่งเตลิดอยู่นอกกระท่อม มีก็แค่ฉากที่เธอตบกับ “ฉันมา” กลางหลุมฝังศพเท่านั้นแหละที่เธอไม่ได้ใส่ชุดแต่งงาน
8.แม่ของ Nieves ซึ่งมีหน้าตาที่เหมือนกับเพิ่งโดนช้างเหยียบที่ใบหน้ามา

Saturday, October 09, 2004

Innocence Unprotected (1968, Dusan Makavejev) A+

ตกใจมากๆเลยค่ะที่ทราบว่านางเอก Oasis กับ A Good Lawyer’s Wife เป็นคนเดียวกัน ดิฉันดูหนังสองเรื่องนี้โดยที่ไม่มีความคิดอยู่ในหัวแม้แต่นิดเดียวค่ะว่านางเอกสองเรื่องนี้เป็นคนเดียวกัน Moon So-ri เก่งมากๆเลยค่ะที่สามารถเล่นบทที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วได้ขนาดนี้

บทของเธอทั้งใน Oasis และ A Good Lawyer’s Wife เป็นบทนางเอกที่เปิดโอกาสให้เธอได้แสดงฝีมืออย่างเต็มที่จริงๆค่ะ เห็นการแสดงของเธอใน OASIS แล้วรู้สึกเหนื่อยแทนเธออย่างมากๆ เธอรับบทเป็นคนพิการที่ต้องทำมือหงิกเท้าหงิกตัวหงิกอยู่ตลอดเวลา ดูแล้วรู้สึกเลยว่าเธอต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างมากจริงๆในการเล่นบทนี้ มันเป็นบทที่ “ทรมานร่างกาย” นักแสดงอย่างมากๆ

ส่วนใน A GOOD LAWYER’S WIFE เธอก็เล่นได้เป็นมนุษย์อย่างมากๆเลยค่ะ ดูแล้วรู้สึกเลยว่าผู้หญิงคนนี้เป็นมนุษย์ที่มีอารมณ์ความรู้สึกและมีอะไรหลายๆอย่างน่าค้นหาอยู่ในตัว เธอไม่ใช่ตัวละครที่มีเพียงแค่ความเซ็กซี่, มีเพียงแค่ความน่าสงสาร, มีเพียงแค่ความน่ารัก, มีเพียงแค่ความเหงา แต่เธอเป็นตัวละครที่มีหลายๆอย่างอยู่ในตัว ชอบการตัดสินใจของตัวละครตัวนี้ในตอนจบของหนังมากเลยค่ะ


หนังที่ดูในช่วงนี้
1.INNOCENCE UNPROTECTED (1968, DUSAN MAKAVEJEV) A+
2.ทวารยังหวานอยู่ (พรชัย หงษ์รัตนาภรณ์) A+
3.SHARK TALE (VICKY JENSON + BIBO BERGERON + ROB LETTERMAN) A+
4.THE SWITCHBOARD OPERATOR (1967, DUSAN MAKAVEJEV) A-
5.THE COCA COLA KID (1985, DUSAN MAKAVEJEV) A-
6.RESIDENT EVIL: APOCALYPSE (ALEXANDER WITT) B
7.สายล่อฟ้า B-


DESIRABLE ACTORS
THOMAS KRETSCHMANN—RESIDENT EVIL: APOCALYPSE
ODED FEHR—RESIDENT EVIL: APOCALYPSE


ดิฉันรู้สึกว่า SHARK TALE มันมีอะไรบางอย่างเกย์ๆ และความรู้สึกเกย์ๆที่ได้รับจาก SHARK TALE นี่แหละ ที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้มาก ส่วนทวารยังหวานอยู่ก็เป็นหนังที่มีอะไรเกย์ๆอยู่ด้วยเหมือนกันค่ะ

สายล่อฟ้าก็เป็นหนังที่สนุกดีค่ะ แต่ปัจจัยที่ทำให้ไม่ค่อยมีความสุขมากนักกับการดูหนังเรื่องนี้ ก็คือปฏิกิริยาของคนดูในโรง เพราะรอบที่ดิฉันดู ผู้ชมหลายคนหัวเราะชอบใจใหญ่ในฉากที่เกย์ถูกทำร้ายอย่างโหดเหี้ยมในเรื่องนี้ จริงอยู่ที่ว่าตัวละครที่เป็นเกย์ในเรื่องนี้เป็น “ตัวละครนิสัยไม่ดี” ที่สมควรถูกทำร้ายเพราะ “การกระทำที่ไม่ดี” ของตัวเอง แต่การที่คนดูหัวเราะชอบใจกันยกใหญ่ในฉากนั้นทำให้ดิฉันรู้สึกไม่ค่อยสบายใจยังไงไม่รู้

ส่วน INNOCENCE UNPROTECTED กับ THE COCA COLA KID เป็นหนังที่ขายเรือนร่างของพระเอกมากกว่าหนังทั่วไป และจุดนี้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชอบหนังสองเรื่องนี้