สรุปรายชื่อภาพยนตร์ที่เปิดฉายในกรุงเทพในช่วงนี้และช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ซึ่งเราอาจจะออกไปดูไม่ทัน เพราะเราต้องกักตัวช่วงโควิด
1. AMADEO (2023, Vicente Alves do
Ó, Portugal, 98min)
ฉายในเทศกาลภาพยนตร์อียูในวันที่ 15 พ.ค.
2.ATEEZ WORLD TOUR: TOWARDS THE LIGHT – WILL TO POWER
(2024, โอยุนดง, South Korea, concert film,
documentary, 126min)
3.BHOOL CHUK MAAF (2025, Karan Sharma,
India, 140min)
เอ๊ะ ตกลงมันเข้าฉายจริงหรือเปล่านะ
4.CHAMPIONS (2018, Javier Fesser, Spain, 124min)
ฉายในเทศกาลภาพยนตร์อียูในวันที่ 16 พ.ค.
5.CREATION OF THE GODS II: DEMON FORCE (2025, Wuershan,
China, 145min)
6.DORAEMON THE MOVIE: NOBITA’S EARTH SYMPHONY (2024, Kazuaki
Imai, Japan, animation, 115min)
7.HOLY NIGHT: DEMON HUNTERS คนต่อยผี (2025, Lim Dae-hee, South Korea, 91min)
8.HOME SWEET HOME: REBIRTH (2025,
Steffen Hecker, Alexander Kiesl, 93min)
9.I A PIXEL, WE THE PEOPLE: EPISODE 5
MY MOTHER AND HER PORTRAITS (2025, Chulayarnnon Siriphol, 60min)
10.I A PIXEL, WE THE PEOPLE: EPISODE 8
MY TEACHER IS A GENIUS (2025, Chulayarnnon Siriphol, 60min) เราดู EPISODE
6 กับ 7 ไปแล้ว
11. I A PIXEL, WE THE PEOPLE: EPISODE 9
COMRADES (2025, Chulayarnnon Siriphol, 60min)
12. I A PIXEL, WE THE PEOPLE: EPISODE
10 LET IT END IN OUR GENERATION (2025, Chulayarnnon Siriphol, 60min)
13. I A PIXEL, WE THE PEOPLE: EPISODE
11 WATER IS SOFT POWER (2025, Chulayarnnon Siriphol, 60min)
14. I A PIXEL, WE THE PEOPLE: EPISODE
12 BIG CLEANING DAY (2025, Chulayarnnon Siriphol, 60min)
15. OSHI NO KO: THE FINAL ACT เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ บทสุดท้าย (2024, Smith, Japan, 129min)
16.PHANTOM OF LIMINALITY (2025, Akras
Pornkajornkijkul, video installation) จัดแสดงที่ชั้น 4 BACC ในช่วงที่เราป่วยโควิด
17.SHADOW FORCE (2025, Joe Carnahan,
104min)
18.THE TUTOR พี่วรรณมาสอน
(2025, บัณฑิต ทองดี, 100min)
19.UNTIL DAWN (2025, David F. Sandberg,
103min, USA/Hungary)
20.WHY WE CYCLE (2020, Arne Gielen,
Gertjan Hulster, Netherlands, documentary, 57min)
21.TOGETHER WE CYCLE (2022, Arne
Gielen, Netherlands, documentary, 70min)
22.WHEN WE CYCLE (2024, Arne Gielen,
Gertjan Hulster, Netherlands, documentary, 62min)
จัดแสดงที่ BACC ในช่วงที่เราป่วยโควิด
++++++++++
หนึ่งในร้านอาหารที่ปิดตัวไปในช่วงที่ผ่านมา
ก็คือร้าน ROBERTA’S ซึ่งเป็นร้านอาหารอิตาลีในห้าง Siam
Discovery เราเข้าใจว่าร้านนี้เพิ่งเปิดได้ไม่ถึงหนึ่งปีด้วยซ้ำไป
เหมือนร้านเพิ่งเปิดในช่วงกลางปี 2024
แต่พอหลังสงกรานต์ปีนี้เราก็เห็นร้านนี้ปิดไปแล้ว
++++++++++
I A PIXEL, WE THE PEOPLE EPISODE 4: THE IMPOSSIBLE DREAM
(2025, Chulayarnnon Siriphol, video installation, 60min, A+30)
1. เราได้ดูวิดีโอนี้ในวันที่ 2 พ.ค.
ในสูจิบัตรบอกว่าวิดีโอตอนนี้บรรจุฟุตเตจบางส่วนจากหนัง 3 เรื่องของเข้เอาไว้ด้วย
ซึ่งได้แก่เรื่อง SLEEPING BEAUTY (2006), VANISHING HORIZON OF THE SEA
(2014) และ TEN YEARS THAILAND: PLANETARIUM (2018)
แต่จริง ๆ
แล้ววิดีโอตอนนี้ทำให้เรานึกถึงหนังเรื่อง DAMAGED UTOPIA (2013,
Chulayarnnon Siriphol) ด้วย ถ้าหากเราจำไม่ผิดนะ
เพราะวิดีโอตอนนี้มีเนื้อหาส่วนหนึ่งพูดถึงม้วนวิดีโอเทป และการเสื่อมสภาพของ
“ภาพ” ในวิดีโอเทป ซึ่งเนื้อหาอะไรแบบนี้เหมือนเป็นสิ่งที่เราเคยเห็นมาก่อนจากหนังเรื่องนึงของเข้นะ
แต่เรานึกไม่ออกว่ามันคือหนังเรื่องไหน เราก็เลยเดาว่าอาจจะเป็นหนังเรื่อง DAMAGED
UTOPIA (2013) แต่ก็ไม่รู้ว่าเราจำผิดหรือเปล่า
2. พอเราได้ดูหนังชุดนี้ไป 6 ตอน (1,2,3,4,6,7)
เราก็พบว่า เราชอบตอน 4 กับ 6 มากที่สุด
เพราะสองตอนนี้เน้นพูดถึงเรื่องส่วนตัวของเข้ และเน้นใช้ home video ของเข้ ราวกับว่าสองตอนนี้คือ I A PIXEL (เรื่องส่วนตัวของคนคนนึง)
ในขณะที่ตอนอื่น ๆ เป็น WE THE PEOPLE (เรื่องส่วนรวม) และตอนแรกของหนังชุดนี้เป็นทั้ง I A
PIXEL, WE THE PEOPLE รวมกัน
จริง ๆ แล้วเนื้อหาของตอน 4
ก็มีความเป็นการเมืองอยู่ด้วย เพราะอย่างที่ชื่อวิดีโอชี้แนะไว้แล้วว่า
เรื่องส่วนตัวของคนแต่ละคนมันก็เป็น “ส่วนนึงของภาพรวมของสังคม” ไปด้วยในเวลาเดียวกัน
แต่เอาจริงแล้ว “เนื้อหาความเป็นการเมือง” ของตอน 4
ไม่ใช่สิ่งที่เราชอบที่สุดในหนังตอนนี้น่ะ เพราะสิ่งที่เราชอบที่สุดในหนังตอนนี้
ก็คือการได้ล่วงรู้ถึงเรื่องราวส่วนตัวในครอบครัวของคนอื่น ๆ
และเรื่องราวส่วนตัวนั้นถูกนำเสนอในแบบที่ไม่ฟูมฟาย และไม่ผลักไสเราออกมา
อันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับว่าตอนไหนดีกว่าตอนไหนนะ
แต่มันเกิดจากรสนิยมส่วนตัวของเรา
เพราะเรารู้สึกว่าตอนที่เนื้อหามันเป็นการเมืองชัด ๆ อย่าง EPISODE 3:
PEOPLIZATION นั้น จริง ๆ
แล้วเนื้อหามันก็ซ้อนเหลื่อมกับหนังไทยอีกหลาย ๆ เรื่อง
เพราะฉะนั้นเราก็เลยประทับใจกับ EPISODE 4 และ 6 มากกว่า
เพราะเรารู้สึกว่า เนื้อหาในหนังสองตอนนี้มันไม่ซ้ำกับหนังไทยเรื่องอื่น ๆ
และมันตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของเรา (ในเรื่องชีวิตของคนอื่น ๆ)
ได้เป็นอย่างดี
3. ตอนแรกที่นั่งดู EPISODE 4 เราก็ไม่รู้ว่าหนังตอนนี้มันจะพูดถึงอะไร เราก็เลยรู้สึกสงสัยแค่ว่า
“หนังมันกำลังจะเล่าเรื่องของใครนะ ท่าทางจะเป็นทหารที่หล่อดี” 555555
พอดูไปเรื่อย ๆ ก็เลยพบว่า ทหารหล่อ ๆ ที่เราเห็นในหนัง จริง ๆ
แล้วน่าจะเป็นคุณตาของ Chulayarnnon ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด
ชอบการจับจ้องมองศพของคุณตาในหนังเรื่องนี้มาก ๆ
ดูแล้วนึกถึงหนังเรื่อง GRANDMOTHER (2009, Yuki Kawamura, Japan, A+30) ที่ผู้กำกับถ่ายคุณยายของตัวเองไปเรื่อย ๆ ขณะที่คุณยายนอนป่วยพงาบ ๆ
และกำลังจะสิ้นลมหายใจ
ชอบการนำเสนออะไรต่าง ๆ ในครอบครัวของผู้กำกับ
โดยไม่มีอารมณ์ฟูมฟายด้วย เราก็เลยดูฟุตเตจ home video เหล่านี้ไปได้เรื่อย
ๆ โดยไม่รู้สึกต่อต้านมัน
4. จริง ๆ พอดูหนังตอนนี้แล้ว
เราก็คิดถึงครอบครัวของตัวเองขึ้นมาโดยที่หนังไม่ได้ตั้งใจ
เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ก็จะเป็นการจดบันทึกความคิดของตัวเองที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับตัวหนังแต่อย่างใด
เนื่องจากหนังตอนนี้เล่าเรื่องของสงครามเกาหลี
และคุณตาของ Chulayarnnon ที่เราเข้าใจว่าเป็นทหารเรือ
เพราะฉะนั้นพอดูหนังตอนนี้จบ เราก็เลยคิดถึงคุณตาของตัวเองขึ้นมาด้วย
เพราะคุณตาของเราก็เป็นทหารเหมือนกัน แต่เราเข้าใจว่าเป็นทหารบก
เท่าที่เราเคยได้ยินได้ฟังมา
คุณตาของเราเคยเป็นทหาร แต่พอช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
รัฐบาลไทยขาดแคลนเงิน เขาก็เลยปลดทหารและข้าราชการจำนวนหนึ่งออกไป
และคุณตาของเราก็เป็นหนึ่งในทหารที่โดนปลดออกจากราชการเพื่อประหยัดเงินของรัฐบาลในช่วงนั้นด้วย
นิตยสาร “ศิลปวัฒนธรรม”
เคยเล่าถึงเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ด้วยนะ:
“ในช่วงรัฐบาลที่มีม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช
เป็นนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหมออกคำสั่้งปลดทหารกองประจำการตั้งแต่เดือนมกราคม
พ.ศ. 2489
พลเอกจิร วิชิตสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในสมัยของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช บันทึกไว้ว่า
“การเลิกระดมพลในครั้งนี้ผมได้พยายามทำอย่างระมัดระวังเป็นที่สุดเพราะทราบล่วงหน้าอยู่แล้วว่า
จำเป็นต้องมีการปลดนายทหารออกไปถึงกับได้ออกแจ้งความไปว่า นายทหารผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการก็อนุมัติให้ยื่นใบลาออกได้”
จำนวนทหารที่ถูกปลดมีจำนวนดังนี้
ปลดนายพล 11 คน จากทั้งหมด
81 คน คิดเป็นร้อยละ 13.5
ปลดนายพัน 303 คน
จากทั้งหมด 1,035 คน คิดเป็นร้อยละ 29.3
ปลดนายร้อย 1,455 คน
จากทั้งหมด 3,845 คน คิดเป็นร้อยละ 37.8
ปลดจ่าสิบเอก 730 คน
จากทั้งหมด 2,577 คน คิดเป็นร้อยละ 28.7
ปลดนายสิบ 3,905 คน
จากทั้งหมด 24,544 คน คิดเป็นร้อยละ 15.9... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.silpa-mag.com/history/article_36062
หลังจากคุณตาของเราโดนปลดออกจากการเป็นทหารแล้ว
คุณตาของเราก็ย้ายมาอยู่ที่อุบล และประกอบอาชีพทำไร่
เราแทบไม่เคยคุยกับคุณตาเลย
เพราะตากับยายของเราอยู่ที่อุบล ส่วนเราอยู่กรุงเทพ ตอนที่เราเด็ก ๆ
เราได้ไปเยี่ยมตากับยายปีละ 2 ครั้ง ช่วงปิดเทอมใหญ่กับปิดเทอมเล็ก
เหมือนคุณตาเป็นคนไม่ค่อยพูด บ้านของเรายากจนด้วย ครอบครัวของเราก็เลยแทบไม่เคย
“ถ่ายรูป” อะไรกันเอาไว้เลย เราก็เลยไม่มีรูปถ่ายของคุณตาเลย ถ้าหากเราจะนึกถึงภาพของคุณตา
เราก็ต้องใช้ “ความทรงจำ” ของตัวเองเท่านั้น เพราะเราไม่มีแม้แต่ภาพถ่ายของท่าน
คุณตาของเราเสียชีวิตในช่วงราวปี 1985
ตอนที่เราอายุได้ 12 ปี ไม่รู้ตอนนี้ท่านกลับชาติมาเกิดใหม่แล้วยัง บางทีเพื่อนใน facebook บางคนของเราที่เกิดหลังปี 1985 อาจจะเป็นคุณตาของเรากลับชาติมาเกิดใหม่
555555
ไม่รู้เหมือนกันว่า
ก่อนที่คุณตาของเราจะถูกปลดออกจากการเป็นทหาร ท่านเคยไปรบที่ไหนมาบ้างหรือเปล่า
ส่วนพ่อของเราก็เป็นทหารบกเหมือนกัน
แต่เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าพ่อของเราเคยไปรบที่ไหนมาบ้าง
เราเข้าใจว่าน่าจะเคยไปรบในสงครามเวียดนามด้วยนะ แต่พ่อของเราเสียชีวิตในปี 1976
จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ตอนที่เราอายุได้ 3 ขวบ
เราก็เลยไม่เคยได้มีโอกาสคุยกับพ่อเลยว่า ท่านเคยไปรบที่ไหนมาบ้างหรือเปล่า
เราจำได้แต่ว่า ตอนเด็ก ๆ ที่บ้านเรามี
“หนังสือรวมภาพกับดักและกับระเบิดประเภทต่าง ๆ” อะไรทำนองนี้
เสียดายที่หนังสือเล่มนี้หายสาบสูญไปแล้ว
พอดูหนังเรื่อง THE IMPOSSIBLE DREAM ของเข้ ที่พูดถึงคุณตาที่เป็นทหาร, การเสียชีวิตของคุณตา และอาจจะพูดถึง
“กาลเวลาที่ผ่านเลยไป ยุคสมัยที่เปลี่ยนผ่าน” อะไรทำนองนี้ด้วย
เราก็เลยนึกถึงชีวิตของตัวเองโดยไม่ได้ตั้งใจ นึกถึงคุณตาที่เป็นทหาร
นึกถึงคุณพ่อที่เป็นทหารบก และนึกถึงตัวเองที่ต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหาร
แต่เราเองก็เป็นโรค “คลั่งไคล้ทหารอย่างรุนแรงมาก ๆ” ในเวลาเดียวกัน 55555
คือยอมรับเลยว่า วัน ๆ
เราก็มัวแต่เสียเวลาไปกับการกดไลค์กดเลิฟคลิปทหารไทยอย่างรุนแรงค่ะ โดยเน้นไปที่คลิปแบบนี้
https://web.facebook.com/reel/616835531403264
+++++
งานฉายหนัง Filmvirus Wildtype ครั้งแรกจัดขึ้นในวันที่ 6 ก.พ. 2009 เผื่อใครอยากรู้ว่าตอนนั้นมีการฉายหนังอะไรบ้าง
เราก็เลย copy ข้อมูลมาแปะไว้ในนี้ด้วย 55555
“Friday, February 6
1300-1700 hrs
1.DISEASES AND A HUNDRED YEAR PERIOD (2008, Sompot Chidgasornpongse, 20 min)
โรคร้ายในรอบหนึ่งร้อยปี (สมพจน์ ชิตเกษรพงษ์ /2008/ไทย)20 นาที
This film is partly about the censorship of SYNDROMES AND A CENTURY.
2.HONGSA'S SCHOOL BAG (2008, Supamok Silaruk, 23 min)
กระเป๋านักเรียนของหงสา (ศุภโมกข์ ศิลารักษ์) 23นาที
Previous films of Supamok include VIOLET BASIL (2004) and THE SONGS OF EH DOH
SHI (2007).
3. AN ORDINARY STORY (DIRECTOR'S CUT) (2007, Meathus Sirinawin, 23 min)
เรื่องธรรมดา DIRECTOR'S CUT (2007, เมธัส
ศิรินาวิน) 23 นาที
This is a documentary about a male university student. The subject of this film
was not aware that he was shot during the shooting of this film.
4.TWO STORIES ABOUT DHARMA (2008, Natchanon Jitweerapat + Isara Konlum, 20 min)
ธรรมะสองเรื่องควบ (ณัฐชนน จิตวีรภัทร , อิสระ
คลล้ำ /2008 /ไทย) 20 นาที
This is the cult film of the year 2008.
5.FRAGRANCE OF THE WIND (GLIN SAIL OM) (2007, Chaiwat Wiansantia, 26 min)
กลิ่นสายลม(ชัยวัฒน์ เวียนสันเทียะ) 26 นาที
6.WE ALL KNOW EACH OTHER (2007, Phuttiphong Aroonpheng, 57 min)
WE ALL KNOW EACH OTHER (2007, พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง) 57 นาที
In this documentary shot in Japan, person A talks about his friend B, then B
talks about C, then C talks about D, and so on.
7.WAY TO BLUE (Supawadee Sripoothorn, 30 min)
WAY TO BLUE (สุภาวดี ศรีภูธร) 30 นาที
8.ENDLESS RHYME (2008, Thanatchai Bundasak, 26 min)
วัฏคีตา (ENDLESS RHYME ) (ธณัชชัย
บรรดาศักดิ์ / 2008/ไทย)26 นาที
9. สัตว์วิบากหนักโลก (Phaisit Phanphruksachat)
The program for Saturday, Feb 7 is as follows:
12.30-1700 hrs
1.HASAN (2008, Attapon Pamakho, 29 min)
ฮะซัน(อรรถพล ปะมะโข /2008) 29 นาที
This is one of the most romantic gay films I have ever seen. It stars Supasawat
Buranawej and Pavinee Samakkabutr, who are ones of the leading actors in
current Thai theatre scenes.
2. DEAD SNACK (2008, Pichanund Laohapornsvan, 8 min)
ขอขบเคี้ยวสักนิดก็ยังดี (พิชชานันท์ เลาหะพรสวรรค์) 8 นาที
This is a very funny Thai zombie film.
3.THE DAY I LEAVE THE CLASSROOM (2008, Witchuta Watjanarat, 18 min)
ภาพเคลื่อนไหว (วิชชุตา วัจนะรัตน์) 18 นาที
This film shows the problem of film studies in Thai universities.
4.FAMILY (2008, Komsunt Boonyavit, 13 min)
เด็กมีปัญหา (2008, คมสันต์ บุญญะวิตร) 13
นาที
5.WANG YUEN HAB (2008, Sompong Soda, 35 min)
วังยื่นหาบ (2008,สมพงษ์ โสดา)35นาที
This film shows Thai rural life in the way I rarely see. It feels really earthy
in this film. I think it may be interesting to compare and contrast the ways
Thai rural life are shown in contemporary films by Apichatpong Weerasethakul,
Uruphong Raksasad, Boonsong Nakphoo, Comjak Thongjib, Chaiwat Wiansantia, and
Sompong Soda.
6.TRACK 01 TAKE 30 (2008, Thakoon Khempunya, 17 min)
เมื่อผมแต่งเพลงรัก (ฐากูร เข็มปัญญา) 17 นาที
This is a self-reflexive film.
7.REAL (2008, Uhten Sririwi, 15 min)
REAL (อุเทน ศรีริวิ) 15 นาที
This is a self-reflexive film.
8.PLOTTAPE (2007, Kitisak Khunpetch, 16 min)
PLOTTAPE (กิติศักดิ์ ขุนเพชร) 16 นาที
This is a self-reflexive film.
9.NEW GENERATION (2008, Pakwan Suksomthin, 16 min)
NEW GENERATION (เด็กโจ๋) (2008, พาขวัญ
สุขสมถิ่น)16 นาที
10.THE…PROFICIENT (2008, Phumiphat Arayathanitkul, 26 min)
เออ...เองเก่ง (ภูมิพัฒน์ อารยะธนิตกุล) 26 นาที
This is a very lovely documentary.
(เหมือนหนังเรื่องนี้ไม่ได้ฉายในวันจริง เพราะดีวีดีส่งมาไม่ถึง หรือเพราะติดปัญหาอะไรสักอย่าง
แต่เป็นหนังที่เราชอบมาก ๆ ตอนที่เราได้ดูในงานฉายหนังสั้นมาราธอน)
11.PERFECT BALANCE? (2007, Parinya Junpengpen, 4 min)
Perfect Balance?(ปริญญา จันทร์เพ็งเพ็ญ) 4 นาที
12.STILL (2008, Wisarut Deelorm, 52 min)
STILL (2008, วิศรุต ดีล้อม) 52 นาที
13.REPEATING DRAMATIC (2008, Arpapun Plungsirisoontorn, 8 min)
REPEATING DRAMATIC (2008, อาภาพรรณ ปลั่งสิริสุนทร) 8นาที
This experimental film is one of my most favorite films dealing with Thai
politics.”
+++++
DEATH IN A FRENCH GARDEN (1985, Michel Deville, France, A+30)
1. I worship Michel Deville รู้สึกว่าเขาเป็นคนที่ inventive ด้านโครงสร้างการเล่าเรื่องจริง
ๆ ถึงแม้ว่าหนังของเขาจะดูง่ายกว่าหนังของ Alain Resnais, Alain
Robbe-Grillet และ Raoul Ruiz มาก ๆ
แต่เราก็รู้สึกว่า หนังของเขามีความพิสดารทางการเล่าเรื่องบางอย่างที่เราชอบมาก ๆ
ทั้งหนังเรื่องนี้, DOSSIER 51 (1973), LA LECTRICE (1988) และ
SACHS’ DISEASE (1999) ต่างก็มีความเพี้ยนพิลึกในทางวิธีการเล่าเรื่องบางอย่างที่เราชอบสุด
ๆ
ซึ่งจริง ๆ แล้ว DEATH IN A FRENCH
GARDEN ก็เล่าเรื่องเป็น “เส้นตรง” นะ แต่เรารู้สึกว่า “วิธีการตัดต่อ”
เชื่อมฉากแต่ละฉากของเขาเข้าด้วยกันในหนังเรื่องนี้ มันก่อให้เกิดความรู้สึกที่ประหลาดมาก
ๆ คือวิธีการตัดต่อแต่ละฉากเข้าด้วยกันในหนังเรื่องนี้ จริง ๆ
แล้วมันก็เป็นวิธีธรรมดา ที่เราเดาว่าเขาเรียกว่า Match Cut
อย่างเช่น ตัวละครยกขาในช่วงสุดท้ายของฉาก A แล้วตัดฉับมาเป็นตัวละครก็ยกขาในช่วงต้นของฉาก
B อะไรทำนองนี้
ซึ่งเหมือน Match Cut โดยปกติมันถูกออกแบบมาเพื่อให้สองฉากเชื่อมต่อเข้าด้วยกันแบบ
seamless flow แต่หนังเรื่องนี้เหมือนเต็มไปด้วย match
cut ที่มาในจังหวะที่ “ผู้ชมตั้งตัวไม่ทัน” แบบผู้ชมกำลังดูฉาก A
อยู่ แล้วอยู่ดี ๆ มันก็ match cut ไปสู่ฉาก B
อย่างฉับพลันทันใด เราก็เลยรู้สึกว่า Michel Deville คงตั้งใจ “เล่นสนุก” อะไรบางอย่างกับ match cut ตลอดเวลาในหนังเรื่องนี้
เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุด ๆ คือเนื้อหาของหนังเรื่องนี้ก็เพี้ยนพิลึกมากอยู่แล้ว
และหนังเรื่องนี้ก็เหมือนจงใจ “ทดลองอะไรฮา ๆ” กับ match cut ตลอดทั้งเรื่องด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราแทบไม่เคยเจอในหนังเรื่องอื่น ๆ
มาก่อน
2. ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็รู้สึกว่า Michel
Deville นี่ก็ unique มาก ๆ นะ
คือหนังเรื่องนี้มีบางจุดที่ทำให้นึกถึงทั้ง Alfred Hitchcock, Atom
Egoyan, Steven Soderbergh, Claude Chabrol แต่ในขณะเดียวกันมันก็แตกต่างจากหนังของทั้ง
4 คนนี้ด้วย เพราะมันไม่ได้เน้นสร้างความตื่นเต้นให้คนดูแบบ Hitchcock และมันก็ไม่ได้จงใจสำรวจจิตวิญญาณของมนุษย์แบบ Chabrol แต่มันเป็นอะไรที่เฮี้ยนมาก
หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึง Alain
Robbe-Grillet ด้วย ในแง่การเล่นสนุกกับความเป็นภาพยนตร์
โดยไม่เน้นสร้างตัวละครให้เป็นมนุษย์จริง ๆ ฉากที่ดูแล้วนึกถึง Robbe-Grillet
มาก ๆ คือฉากที่ตัวละครเอเดินมา, ตัวละครบีเปลือยกาย
ยืนมองตัวละครเอ, ตัวละครเอพูด, ตัดภาพมาเป็นตัวละครบีใส่เสื้อผ้าเต็มยศ
ยืนมองตัวละครเอ เหมือนการตัดต่อแต่ละครั้งทำให้คนดูไม่แน่ใจอีกต่อไปว่า
อะไรคือความจริง
3. ก็เลยรู้สึกว่า Michel Deville นี่ถือว่าสร้างที่ทาง ลักษณะเด่นของตัวเองได้ดีทีเดียวเมื่อเทียบกับผู้กำกับกลุ่ม
Post French New Wave ในรุ่นเดียวกัน เพราะผู้กำกับกลุ่ม Post
French New Wave ส่วนใหญ่ ถนัดทำหนังแนวเจาะลึกจิตวิญญาณของมนุษย์ และตัวละครจะดูเป็นมนุษย์มาก
ๆ อย่างเช่น Jean Eustache, Andre Techine, Phillippe Garrel, Claude
Sautet, Maurice Pialat, Jacques Doillon
แต่ Michel Deville นี่เหมือนโดดออกมาเลย
เพราะอย่าง DEATH IN A FRENCH GARDEN นี่ ตัวละครก็ไม่ได้ดูสมจริงอะไร
แต่หนังมันดูเฮี้ยนมาก ๆ และการตัดต่อก็เฮี้ยนมาก ๆ
(แน่นอนว่า ผู้กำกับกลุ่ม Post French
New Wave บางคน ก็ไม่ได้เข้าข่ายข้างต้นนะ อย่างเช่น Bertrand
Blier, Luc Moullet, Marguerite Duras, etc. ที่แต่ละคนก็มีความ unique
ของตัวเองในแบบที่แตกต่างกันไป)
4. ชอบตัวละคร “เพื่อนบ้าน” (Anémone) ในหนังเรื่องนี้มาก ๆ ขอจองเป็นตัวละครตัวนี้ เฮี้ยนมาก ๆ รู้เลยว่า
ตัวละครตัวนี้สามารถเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในหนังของ Paul Verhoeven ได้สบาย ๆ