วาทศิลป์บิณฑบาตจาก Donald Richie
“Mizoguchi may show us that in beauty lies salvation; Ozu
may take away everything, but he at least leaves his people the solace of each
other’s company. Naruse, however, believes that there is no escape.”
ภาพจาก FLOATING CLOUDS (1955, Mikio
Naruse)
++++++++++++++
โควิดรอบ 4 วันที่ 5
11 May 2025
วันนี้วัดอุณหภูมิได้ 35.6 องศาเซลเซียส
ออกซิเจนได้ 98 ชีพจรได้ 63
ตอนนี้ก็ยังไม่หายดี
แต่อาการดีขึ้นเยอะมากเมื่อเทียบกับวันที่ 1+2 สรุปว่าช่วง 24 ชั่วโมงระหว่าง
22.00 น.ของวันที่ 7 พ.ค. จนถึง 22.00 น.ของวันที่ 8 พ.ค.
ถือเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่หนักที่สุดในชีวิต ตอนนั้นทรมานมาก ๆ เพราะเป็นไข้ปวดหัวตัวร้อนหนักมากในคืนวันที่
7 พ.ค. พอตอนกลางวันของวันที่ 8 พ.ค.อาการก็ค่อยยังชั่วขึ้น แต่เย็นวันที่ 8 พ.ค.อาการก็ทรุดหนักลงไปอีก
กินข้าวแทบไม่ได้ พะอีดพะอมมาก ต้องค่อย ๆ กินทีละคำ ทีละคำ แต่ก็กินไม่ไหว
พยายามอยู่นานแต่ก็กินไปได้แค่ครึ่งจาน เราก็เลยตัดสินใจหยุดกิน แล้วก็นอนพักไปงีบหนึ่ง
ตื่นมาตอนสี่ทุ่มแล้วค่อยเอาอาหารที่เหลือไปโยนทิ้ง แปรงฟัน อาบน้ำ เข้านอน แต่ตอนสี่ทุ่มของวันที่
8 พ.ค. ก็รู้สึกว่าอาการเริ่มดีขึ้นแล้ว อาการปวดหัวตัวร้อนจัดเพราะพิษไข้เหมือนทุเลาลงมาบ้างแล้ว
หลังจากนั้นอาการก็ค่อย ๆ ดีขึ้นเรื่อย ๆ
วันละนิดวันละหน่อย พอวันที่ 9 พ.ค.เราก็มีแรงนั่งดูหนังออนไลน์ของ lecinemaclub
ได้ แต่ก็มีอาการ “ไม่ได้กลิ่น” เป็นระยะ ๆ โดยเราจะรู้ตัวว่าเราไม่ได้กลิ่นด้วยการทดลองดม
“ยาหม่องโอสถ” เพราะมันเป็นยาหม่องที่มีกลิ่นหอมฉุนรุนแรงที่เราชอบมาก ๆ
บางครั้งเราดมยาหม่องแล้วเราก็ไม่ได้กลิ่นมัน โดยเฉพาะตอนที่เราเพิ่งตื่นนอนใหม่ ๆ
แต่พอตอนสาย ๆ เราลองดมแล้วก็ได้กลิ่นยาหม่อง พอตอนบ่ายเราดมแล้วก็ไม่ได้กลิ่นยาหม่อง
อะไรแบบนี้ สลับกันไปเรื่อย ๆ เราก็เลยรู้ว่า โควิดรอบนี้ส่งผลกระทบต่อประสาทการรับรู้กลิ่นของเราอย่างรุนแรงเหมือนกัน
แต่ยังดีที่มันไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างถาวร จนมาถึงวันนี้เราก็ยังคงมีอาการแบบนี้อยู่
คือเราจะไม่ได้กลิ่นเป็นระยะ ๆ แต่ลิ้นยังรับรสอาหารได้ดีอยู่
อาการที่ทรมานมากอีกอันคือการขากเสมหะ เพราะในช่วงวันแรก
ๆ ของการป่วยนั้น เราต้องขากเสมหะเกือบทุก ๆ 10 นาที ทรมานมาก และเราเดาว่าการขากเสมหะมันเหมือนทำให้เส้นประสาทที่หัวมันเกร็งตามไปด้วย
แล้วมันคือสาเหตุที่ทำให้เรามีอาการ “ปวดร้าว” ในหัว ซึ่งจะแตกต่างจากอาการปวดหัวเพราะพิษไข้
เพราะอาการปวดหัวเพราะพิษไข้นี่มันเหมือนเกิดจากอะไรปะทุอยู่ข้างใน
แต่อาการปวดร้าวในหัวนี่มันเหมือนเป็นเพราะกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทที่มันผิดปกติ
ซึ่งเราเดาว่าน่าจะเกิดจากการเกร็งขณะขากเสมหะ
วันนี้อาการปวดร้าวในหัวของเราหายดีแล้ว
อาการปวดหัวเพราะพิษไข้ก็ลดลงเหลือเพียงแค่ราว 30% ของคืนวันแรก
ส่วนอาการขากเสมหะก็ลดลงเหลือเพียง 1-2 ครั้งต่อชั่วโมง แทนที่จะเป็นทุก 10
นาทีเหมือนในวันแรก ๆ แต่ก็ถือเป็นอาการที่ทรมานอยู่ คอก็ยังแดงเถือกอยู่
เราคงต้องกักตัวจนครบ 10 วัน แล้วเราถึงค่อยออกไปดูหนังในโรงภาพยนตร์และดู
video installations ต่าง ๆ ได้อีก แต่เมื่อวานได้นั่งดูหนังไต้หวันออนไลน์กับลูกหมี
ก็มีความสุขดีเหมือนกัน ช่วงนี้คงได้แต่นั่งดูหนังกับลูกหมีไปเรื่อย ๆ นี่แหละ
++++++++++
พออ่านบทความเกี่ยวกับ New Taiwan Cinema
ที่พูดถึง “จางอ้ายเจีย” เราก็เลยรู้สึกว่า ในหนังของแต่ละกลุ่ม New
Wave อาจจะมี “ดาราหญิง” คนนึง ที่อาจจะถือเป็นเหมือน “ใบหน้าหลัก”
ของกลุ่มนั้น ๆ 55555 อย่างเช่น
1. New Taiwan Cinema คือ
จางอ้ายเจีย (IN OUR TIME, “THAT DAY, ON THE BEACH”, KIDNAPPED, PASSION)
2. French New Wave คือ Anna Karina (THE
NUN, MY LIFE TO LIVE, THE LITTLE SOLDIER, BAND OF OUTSIDERS, PIERROT LE FOU)
3. New German Cinema คือ Hanna
Schygulla เพราะเธอเคยร่วมงานกับผู้กำกับหลายคนในกลุ่ม อย่างเช่น
3.1 เธอแสดงในหนังหลายเรื่องที่กำกับโดย Rainer
Werner Fassbinder อย่างเช่น THE MARRIAGE OF MARIA BRAUN, KATZELMACHER,
LOVE IS COLDER THAN DEATH, THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT, LILI MARLEEN
3.2 เธอแสดงในหนังที่กำกับโดย Jean-Marie
Straub อย่างเช่น THE BRIDEGROOM, THE ACTRESS, AND THE PIMP
(1969)
3.3 เธอแสดงในหนังที่กำกับโดย Peter Fleischmann
อย่างเช่น HUNTING SCENES FROM BAVARIA (1969)
3.4 เธอแสดงในหนังที่กำกับโดย Volker Schlöndorff
อย่างเช่น BAAL (1970)
3.5 เธอแสดงในหนังที่กำกับโดย Reinhard
Hauff อย่างเช่น MATHIAS KNEISSL (1971)
3.6 เธอแสดงในหนังที่กำกับโดย Peter
Lilienthal อย่างเช่น JAKOB VON GUNTEN (1971)
3.7 เธอแสดงในหนังที่กำกับโดย Wim
Wenders อย่างเช่น WRONG MOVE (1975)
4. แล้วคำถามก็คือว่า ใบหน้าของดาราหญิงคนไหนเหมือนเป็นตัวแทนของ
THAI NEW WAVE CINEMA (มันมีกลุ่มนี้จริงหรือเปล่า 55555) คือถ้าให้เรานึกเล่น
ๆ เราก็นึกออก 2 คน ซึ่งก็คือ
4.1 เปียทิพย์ คุ้มวงศ์ เพราะเธอเคยแสดงใน
4.1.1 ประสาท (1975, Piak Poster)
4.1.2 ชีวิตบัดซบ (1977, Permpol
Choei-aroon)
4.1.3 กาม (1978, Chatrichalerm Yukol)
4.2 ภัทราวดี ศรีไตรรัตน์ เพราะเธอเคยแสดงใน
4.2.1 ความรักครั้งสุดท้าย (1975, Chatrichalerm
Yukol)
4.2.2 น้ำพุ (1984, Euthana Mukdasanit)
4.2.3 นางนวล (1987, M.L. Pundhevanop
Dhewakul)
และภัทราวดีเองก็เป็นผู้กำกับละครโทรทัศน์ที่ดีงามมาก
ๆ อีกด้วย เธอก็เลยเหมือนจางอ้ายเจียในแง่ที่เป็นผู้กำกับที่มีฝีมือด้วยเหมือนกัน
ใครมีความเห็นว่าดาราหญิงคนไหนเหมาะกับตำแหน่งนี้
ก็แสดงความเห็นมาได้นะคะ ถึงแม้เราไม่แน่ใจว่า จริง ๆ แล้วมันมี Thai New
Wave Cinema ในทศวรรษ 1970-1980 จริง ๆ หรือเปล่า 55555
+++++++++
A FLOWER IN THE RAINING NIGHT (1983, Wang Toon, Taiwan,
100min, A+30)
คลาสสิคจริง ๆ หนังชีวิตกะหรี่สาวใจเพชรในไต้หวัน
นึกว่าฉายควบกับ NIGHTS OF CABIRIA (1957, Federico Fellini, Italy) ได้สบาย ๆ เลย
ดูได้ฟรีออนไลน์ทาง Taiwan Plus
No comments:
Post a Comment