เพิ่งรู้ว่ามีผู้กำกับหญิงชาวจีนคนนี้อยู่บนโลกด้วย
Kao Pao-Shu เริ่มกำกับหนังเรื่องแรกคือเรื่อง LADY
WITH A SWORD (1971, Hong Kong) และกำกับหนังรวมกันทั้งหมด 11
เรื่อง เรื่องสุดท้ายคือ SEED OF EVIL (1981, Taiwan) ส่วนหนังเรื่อง "ราชินีฝิ่น" นี้ เป็นหนังไทย/ฮ่องกง
++++
หลังจากดูหนังอิตาลีไปแล้ว 8
เรื่องในเทศกาลภาพยนตร์อิตาลีในช่วงต้นเดือนพ.ค. เราก็ต้องแดกพิซซ่าเพื่อเป็นการรำลึกถึงเทศกาล
++++
ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง CHUTIMA (2007) ให้สัมภาษณ์นิตยสาร FILMMAKER
Boonbunchachoke: I’m influenced by global cinema in general, but Western
cinema has had a significant impact on me. I’m particularly inspired by
filmmakers whose works are often described as dreamy – like Manoel de Oliveira,
Jacques Rivette, João César Monteiro, Otar Iosseliani, Raúl Ruiz, Eugène Green
and Chantal Akerman; and younger queer directors like Alain Guiraudie and João
Pedro Rodrigues.
I’m particularly fond of how radical and intentionally
uncinematic Oliveira’s and Monteiro’s films can be. I recall reading that
Monteiro would occasionally sabotage his frame composition just to make his
shots not too perfectly cinematic. I like that way of thinking.
ดีใจสุดขีดที่สื่อต่างชาติชื่นชอบการแสดงของคุณอาภาศิริ
นิติพน ใน A USEFUL GHOST มาก ๆ
คุณอาภาศิริเคยแสดงเป็นนางเอกใน “คู่กรรม”
ของทมยันตี แล้วก็เคยแสดงเป็นแม่ผู้หมกมุ่นกับเปียโนใน HAPPY OLD YEAR
(2019, Nawapol Thamrongrattanarit) , แม่ที่อยู่กับตุ๊กตาหมีที่กลายร่างเป็นหนุ่มหล่อได้
ใน “คุณหมีปาฏิหาริย์” ที่สร้างจากนิยายของปราปต์
แล้วตอนนี้เธอก็มาตบตีกับเครื่องดูดฝุ่นผีสิงใน A USEFUL GHOST ด้วย
++++++++++++
1. HAND MOVIE (1966, Yvonne Rainer,
6min, A+30)
2. VOLLEYBALL (FOOT FILM) (1967, Yvonne Rainer, 10min, A+30)
3. RHODE ISLAND RED (1968, Yvonne Rainer, 10min, A+30)
4. TRIO FILM (1968, Yvonne Rainer, 13min, A+30)
5. LINE (1969, Yvonne Rainer, 10min, A+30)
1. ในที่สุดเราก็ได้ดูหนังของ Yvonne
Rainer เสียที หลังจากที่อยากดูหนังของเธอมานานราว 25 ปีแล้ว
แต่ไม่สามารถหาหนังของเธอมาดูได้ เหมือนเธอเป็น “ผู้กำกับหญิงในตำนาน” ที่เราเคยได้ยินชื่อมาเป็นเวลานานมาก
นานพอ ๆ กับ Barbara Hammer, Carolee Schneemann, Julie Dash, Lizzie
Borden, Sharon Lockhart, Laura Mulvey, Valie Export, Su Friedrich, Sara Driver,
etc. ซึ่งในช่วงเวลา 10-20 ปีที่ผ่านมา
ระบบสตรีมมิ่งทางอินเทอร์เน็ต (และการจัดฉายหนังบางเรื่องในกรุงเทพ) ก็ช่วยให้เราได้ดูได้เข้าถึงหนังของผู้กำกับหญิงในตำนานเหล่านี้ได้หลายคน
ยังขาดก็แต่ Yvonne Rainer นี่แหละ ที่เรายังไม่เคยได้ดูเสียที
จนกระทั่ง e-flux นำหนังสั้น 5
เรื่องของเธอมาเปิดฉายให้ดูฟรี ๆ ในเดือนพ.ค. 2025
อย่างไรก็ดี หนังที่เราได้ดูในครั้งนี้ก็เป็นเพียงแค่หนังสั้น
5 เรื่องของเธอนะ เรายังคงไม่ได้ดูหนังยาวที่ Yvonne Rainer กำกับแต่อย่างใด
ก็ได้แต่หวังว่าจะมีคนจัดงาน retrospective ของ Yvonne
Rainer ในกรุงเทพ และนำหนังยาวที่เธอกำกับราว 7 เรื่องมาจัดฉายให้พวกเราได้ดูกัน
ทั้ง LIVES OF PERFORMERS (1972, 90min), FILM ABOUT A WOMAN WHO... (1974,
90min), KRISTINA TALKING PICTURES (1976, 90min), JOURNEYS FROM BERLIN/1971
(1980, 125min), THE MAN WHO ENVIED WOMEN (1985, 125min), PRIVILEGE (1990, 103min) และ MURDER and murder (1996, 113min)
2. พอได้ดูหนังของ Yvonne Rainer แล้วเราก็ช็อคกับ “ความไม่ประนีประนอมกับคนดู” ของเธอมาก ๆ คิดว่าความโหดตรงจุดนี้ของเธอน่าจะพอ
ๆ กับหนังของ Andy Warhol, Sharon Lockhart และ James
Benning 55555 และแน่นอนว่าโหดกว่าหนังของ Chantal Akerman และ Marguerite Duras เพราะถึงแม้ว่าหนังของ Duras
จะ “นิ่งช้า” แต่จริง ๆ แล้วมันก็มี “เนื้อเรื่อง” ส่วนหนังของ Akerman
บางเรื่องอาจจะไม่มี “เนื้อเรื่อง” แต่มันก็มี “บรรยากาศที่ทรงพลัง”
ส่วนหนังของ Yvonne Rainer ที่เราได้ดูนั้นไม่มีทั้งเนื้อเรื่อง
และไม่มี “บรรยากาศที่น่าหลงใหล” ที่เราสามารถจูนติดได้โดยง่าย
3. ก็เลยประทับใจกับความ anti-spectacle ของ Yvonne Rainer มาก ๆ เหมือนเธอเป็นผู้กำกับหญิงอีกคนที่ไปสุดขั้วมาก
ๆ ในแนวทางของตัวเอง
4.ตอบไม่ถูกเหมือนกันว่าชอบหนังเรื่องไหนมากที่สุดใน
5 เรื่องนี้
HAND MOVIE เป็นหนังที่เราดูแล้วพยายามขยับนิ้วตามไปด้วย
VOLLEYBALL (FOOT FILM) ก็ชอบมาก เหมือนหนังเรื่องนี้เป็นการเล่นกับลูกวอลเลย์บอลซ้ำไปซ้ำมาราว
28 ครั้งได้มั้ง ให้ลูกวอลเลย์บอลไปกระแทกฝาผนัง แล้วมันก็จะกระดอนกลับมา
ซึ่งมันก็กระดอนกลับมาในแบบที่แตกต่างกันไปทั้ง 28 ครั้ง แล้วก็มีคนเดินไปใช้เท้าหยุดการเคลื่อนไหวของลูกวอลเลย์บอลที่พื้น
เหมือนเป็นหนังที่ไม่มีอะไร แต่ดูแล้วเราก็จดจ่อกับมันไปได้เรื่อย
ๆ
RHODE ISLAND RED เป็นหนังที่มีเพียงแค่ 2 ช็อต
ถ่ายเล้าไก่ขนาดใหญ่ไปเรื่อย ๆ โดยในช็อตแรกมีคนอยู่ด้วย
อันนี้ก็เป็นหนังที่ดูเหมือนไม่มีอะไรเลยเหมือนกัน
แต่ไก่ในหนังมันไม่หยุดนิ่งเลย ไก่หลายร้อยตัวมีการทำอาการอะไรต่าง ๆ ไปได้เรื่อย
ๆ เราก็เลยดูไปได้เรื่อย ๆ โดยไม่เบื่อ 55555
TRIO FILM อันนี้ก็ดูเหมือนจะน่าเบื่อแต่ก็ไม่น่าเบื่อ
เหมือนหนังมันสะท้อนความน่าเบื่อของชีวิตสมรสหรือเปล่า เราก็ไม่แน่ใจ ตอนดูหนังเรื่องนี้เราจะนึกถึง
VIVARIUM (2019, Lorcan Finnegan) ด้วย แต่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าหนังเรื่องนี้ต้องการจะสื่ออะไรกันแน่
LINE ช่วงแรกของหนังดูแล้วจะนึกถึง James
Benning มาก ๆ เพราะหนังเหมือนจ้องมองรอยแตกร้าวที่ฝาผนัง
ขณะที่มีวัตถุทรงกลมค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปอย่างช้า ๆ ตามรอยแตกนั้น มันเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีการเคลื่อนไหวน้อยมาก
ๆ จุดนี้ก็เลยทำให้นึกถึง James Benning
แต่ช่วงครี่งหลังของหนังมีนักแสดงเข้ามาในฉากด้วย
แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิด “เนื้อเรื่องเร้าใจ” ขึ้นมาแต่อย่างใด 55555
5. พอดูหนังสั้นทั้ง 5 เรื่องนี้แล้วก็เลยไม่แปลกใจว่า
ทำไม Yvonne Rainer ถึงโด่งดังมาก ๆ เพราะหนังของเธอเหมือนไปสุดขั้วกว่าหนังของ
Marguerite Duras และ Chantal Akerman เสียอีก
นึกว่า EXTREME MINIMALISM และเราว่าหนังของเธอมันดูยากกว่าหนัง
extreme minimalism ของ Chaloemkiat Saeyong และ Tanatchai Bandasak อีกนะ เพราะหนังของ Chaloemkiat
และ Tanatchai มันมี “พลังของธรรมชาติ” หรือ “พลังทางบรรยากาศ”
มาห่มคลุมไว้น่ะ ส่วนหนังของ Yvonne Rainer มันไม่ได้มีพลังทางบรรยากาศ
มันก็เลยยิ่งดูเย็นชาและแห้งกว่าหนัง minimal เรื่องอื่น ๆ
No comments:
Post a Comment