ช่วงนี้มีนกหลายตัวจ้องจะมาทำรังที่ระเบียงห้องเรา
เราต้องคอยออกไปไล่ ไม่รู้เหมือนกันว่ามันเป็นนกพันธุ์อะไรบ้าง
++++++++++
TIMELINE OF STORIES IN INDIAN FILMS OR FILMS ABOUT INDIA
THAT I SAW
พอเราได้ดูหนังอินเดียไปสักพักหนึ่ง
เราก็เริ่มงง ๆ ว่า เหตุการณ์ในหนังอินเดีย (และศรีลังกา) เรื่องไหนเกิดก่อนเรื่องไหน
เราก็เลยทำลิสท์นี้ขึ้นมาดีกว่า
--MOHENJO DARO (2016, Ashutosh Gowariker, 169min, A+15)
เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในปี 2016 ก่อนคริสต์ศักราช
หรือเมื่อ 4041 ปีก่อน ตรงกับยุคของฟาโรห์เมนตุโฮเทปที่สองของอียิปต์
--AMRAPALI (1966, Lekh Tandon, 119min, A+30)
เกี่ยวกับพระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ พระโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร
อชาตศัตรูครองราชย์ในปี 492-460 ก่อนคริสต์ศักราช หรือในปีพ.ศ. 51 ถึงปีพ.ศ. 83
--ALEXANDER (2004, Oliver Stone, 175min)
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชมีชีวิตในปี 356-323
ก่อนคริสต์ศักราช
--สิคีริยา (นิยายของโสภาค สุวรรณ)
อันนี้เป็นนิยายที่เราชอบสุดขีด พูดถึงราชวงศ์สิงหลของศรีลังกา
ในยุคของพระเจ้าดธุเสนา ซึ่งครองราชย์ในปีค.ศ. 455-473, พระเจ้ากัสสปะที่หนึ่ง
ซึ่งครองราชย์ในปี 473-495 และพระเจ้าโมคคลานะที่หนึ่ง ซึ่งครองราชย์ในปี 497-515
--DAT MO CYUN ปรมาจารย์ ตั๊กม้อ (1986,
ละครทีวี)
นำแสดงโดยหลี่เหลี่ยงเหว่ย (Ray Lui) ปรมาจารย์ ตั๊กม้อ ท่านเกิดเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพระมหากษัตริย์แคว้นคันธาระ ประเทศอินเดีย ใกล้เมืองมัทราสในปัจจุบัน
มีนัยน์ตาสีฟ้า ท่านได้จาริกจากอินเดียไปเมืองจีน
เมื่อราว ค.ศ. 526 ได้เดินทางไปยังเมืองกวางตุ้งของจีน เข้าเฝ้าจักรพรรดิเหลียงอู่ตี้ (ข้อมูลจาก wikipedia)
--XUAN ZANG (2016, Huo Jianqi, China/India)
เล่าเรื่องของ “พระถังซัมจั๋ง” ที่เดินทางจากจีนไปอินเดียในยุคของจักรพรรดิถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง
พระถังซัมจั๋งมีชีวิตอยู่ในปี 602-664 ส่วนจักรพรรดิถังไท่จงครองราชย์ปี 626-649
--PADMAAVAT (2018, Sanjay Leela Bhansali, India, 164min,
A+25)
เกี่ยวกับราชินีปัทมาวตีในราชาสถาน และสุลต่าน Alauddin
Khalji ซึ่งมีชีวิตอยู่ในปี 1266-1316 โดยหนังเรื่องนี้พูดถึงการที่สุลต่านองค์นี้ชนะทัพมองโกลได้ด้วย
ไม่แน่ใจว่าสุลต่านองค์นี้รบกับข่านคนใดของมองโกล
แต่อาจจะเป็นกุบไลข่านก็ได้ เพราะกุบไลข่านมีชีวิตอยู่ในปี 1215-1294 เพราะฉะนั้นเรื่องราวของ
PADMAAVAT ก็น่าจะเกิดขึ้นหลังจากเรื่องราวของ “มังกรหยก”
เพราะ “มังกรหยก” พูดถึง “เจงกิสข่าน” ซึ่งมีชีวิตอยู่ในปี 1162-1227
และเรื่องราวใน PADMAAVAT ก็น่าจะเกิดขึ้นในช่วงหลังจากเรื่องราวของหนังเรื่อง
ALEXANDER NEVSKY (1938, Sergei Eisenstein, Dmitriy Vasilev, Soviet
Union) ด้วย เพราะเจ้าชาย Alexander Nevsky มีชีวิตอยู่ในปี
1221-1263
--A JOURNEY BEYOND THE THREE SEAS (1957, Vasili Pronin และ Khwaja A. Abbas, India/Soviet Union, 152min)
สร้างจากเรื่องจริงของพ่อค้าชาวรัสเซียชื่อ Afanasy
Nikitin ซึ่งเคยเดินทางมาเยือนอินเดียในช่วงราวปี 1471-1474 และได้มาเยือนอาณาจักรวิชัยนคร
และอาณาจักร Bahmani ในอินเดียในช่วงนั้น
--JODHAA AKBAR (2008, Ashutosh Gowariker, 213min, A+30)
เกี่ยวกับจักรพรรดิ Akbar ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์ที่
3 แห่งราชวงศ์โมกุล พระองค์มีชีวิตในปี 1542-1605
--MUGHAL-E-AZAM (1960, K. Asif, 197min, A+30)
เกี่ยวกับเจ้าชาย Salim พระโอรสของจักรพรรดิ
Akbar เจ้าชายองค์นี้ต่อมาได้ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิ Jahangir
ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์โมกุล พระองค์มีชีวิตในปี
1569-1627
--SHIRAZ (1928, Franz Osten, India/UK/Germany)
เกี่ยวกับ Shah Jehan จักรพรรดิองค์ที่
5 แห่งราชวงศ์โมกุล ซึ่งมีชีวิตอยู่ในปี 1592-1666
--CHHAAVA (2025, Laxman Utekar, 161min, A+25)
เกี่ยวกับ Sambhaji Maharaj กษัตริย์องค์ที่สองของอาณาจักร Maratha พระองค์มีชีวิตในปี
1657-1689 ตบกับจักรพรรดิ Aurangzeb ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์ที่
6 แห่งราชวงศ์โมกุล Aurangzeb มีชีวิตอยู่ในปี 1618-1707
--BAJIRAO MASTANI (2015, Sanjay Leela Bhansali, India, A+25)
เกี่ยวกับอัครมหาเสนาบดี Bajirao I ซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีคนที่ 7 แห่งอาณาจักร Maratha โดย Bajirao I นั้นมีชีวิตอยู่ในปี 1700-1740
--VANITY FAIR (2004, Mira Nair, USAUK/India, 141min)
หนังมีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับอินเดีย
และพูดถึงสงครามนโปเลียน ซึ่งเกิดขึ้นในปี 1803-1815
--MANIKARNIKA: THE QUEEN OF JHANSI (2019, Radha Krishna
Jagarlamudi, Kangana Ranaut, India, A+25)
เกี่ยวกับ “รานี ลักษมีไบ”
ผู้นำชาวอินเดียในการต่อสู้กับอังกฤษในปี 1857 ยุคของเธอตรงกับยุคของราชินีวิคตอเรีย
ซึ่งปกครองอังกฤษในปี 1837-1901 และใกล้เคียงกับยุคของสุนทรภู่ (1786-1855)
--AROUND THE WORLD IN 80 DAYS (1989, Buzz Kulik, miniseries,
266min)
สร้างจากนิยายของ Jules Verne เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในปี 1872
--THE HOME AND THE WORLD (1984, Satyajit Ray, 140min, A+30)
เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในปี 1907
--WHY COLONEL BUNNY WAS KILLED (2010, Miranda Pennell, UK,
27min, A+30)
เนื้อเรื่องบางส่วนมาจากหนังสือ AMONG
THE WILD TRIBES OF THE AFGHAN FRONTIER (1908, Theodore Leighton Pennell)
--RRR (2022, S. S. Rajamouli, 182min, A+30)
เนื้อเรื่องเกิดในปี 1920
--A PASSAGE TO INDIA (1984, David Lean, UK, 164min, A+30)
เนื้อเรื่องเกิดในทศวรรษ 1920
--QUEENIE (1987, Larry Pearce, miniseries, 233min, A+30)
เกี่ยวกับ Merle Oberon สาวลูกครึ่งอังกฤษ-อินเดีย
ซึ่งมีชีวิตอยู่ในปี 1911-1979
--BLACK NARCISSUS (1947, Michael Powell, Emeric Pressburger,
UK, 100min, A+30)
เนื้อเรื่องเกิดในช่วงท้ายของยุคที่อังกฤษปกครองอินเดีย
--GANDHI (1982, Richard Attenborough, UK/India, A+30)
Gandhi มีชีวิตอยู่ในปี 1869-1948
--RANGOON (2017, Vishal Bhardwaj, 170min)
อินเดียและพม่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ส่วน “จุฬาตรีคูณ” กับ BAAHUBALI นั้น พูดถึงกษัตริย์ที่ไม่มีตัวตนจริง เราก็เลยไม่สามารถใส่เข้าไปใน timeline
ได้จ้ะ
รายชื่อข้างต้นครอบคลุมเฉพาะหนังที่เราเคยดูแล้ว
ถ้าหากเพื่อน ๆ คนไหนอยากแนะนำหนังอิงประวัติศาสตร์เรื่องอื่น ๆ ของอินเดีย ก็แนะนำกันมาได้นะจ๊ะ
CHINA TIMELINE
https://web.facebook.com/photo?fbid=10227244116752078&set=a.10223045281543822
COMMUNISTS TIMELINE
https://www.facebook.com/share/p/sracvJPHdkfSac8K/?mibextid=oFDknk
FRANCE TIMELINE
https://www.facebook.com/share/p/Ve3RuK4XTqtbMyLz/?mibextid=oFDknk
JAPAN TIMELINE
https://www.facebook.com/share/p/XuFiu9MUkApJhZ8D/?mibextid=oFDknk
MIDDLE EAST VIOLENCE TIMELINE
https://www.facebook.com/share/p/4gRcVvhtTLxXXPho/?mibextid=oFDknk
ROMAN EMPIRE TIMELINE
https://www.facebook.com/share/p/FapNYVgaGoNS4Tcm/?mibextid=oFDknk
RUSSIA TIMELINE
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10233210185100058&set=a.10223045281543822
+++++++
เราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์
ก็เลยสงสัยว่า A USEFUL GHOST (2025, Ratchapoom
Boonbunchachoke) ถือเป็นหนังยาวเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ของไทยที่ได้ฉายในสาย
CRITICS’ WEEK หรือเปล่า
แล้วมีหนังยาวของไทยเรื่องไหนเคยได้ฉายในสาย DIRECTORS’
FORTNIGHT ไหม
ส่วนในสาย UN CERTAIN REGARD นั้น เราเข้าใจว่า TEARS OF THE BLACK TIGER (2000, Wisit Sasanatieng) ถือเป็นเรื่องแรกของไทยมั้ง ที่ได้ฉายในสายนี้
ส่วนหนังของ Apichatpong Weeresethakul นั้น ก็ได้ฉายในสายประกวดและสาย UN CERTAIN REGARD เป็นประจำ
เผื่อใครมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังไทยในสายต่าง
ๆ ของคานส์ ก็มา comment กันได้นะคะ
หนังหลาย ๆ เรื่องที่เคยฉายในสาย CRITICS’
WEEK เป็นหนังที่เราชอบสุดขีด อย่างเช่น
1. UNDER THE MOONLIGHT (2001, Reza
Mir-Karimi, Iran)
2. TOO YOUNG TO DIE (2002, Park Jin-Pyo, South Korea)
3. SINCE OTAR LEFT (2003, Julie Bertucelli, France)
4. RECONSTRUCTION (2003, Christoffer Boe, Denmark)
5. A COMMON THREAD (2004, Éléonore Faucher, France)
6. THIRST (2004, Tawfik Abu Wael, Israel/Palestine)
7. OR (MY TREASURE) (2004, Karen Yedaya, Israel)
8. DUCK SEASON (2004, Fernando Eimbcke, Mexico)
9. ME AND YOU AND EVERYONE WE KNOW (2005, Miranda July)
10. LITTLE JERUSALEM (2005, Karin Albou, France)
11. A STRANGER OF MINE (2005, Kenji Uchida, Japan)
12. PINGPONG (2006, Matthias Luthardt, Germany)
13. FUNUKE SHOW SOME LOVE, YOU LOSERS! (2007, Daihachi
Yoshida, Japan)
14. THE MILKY WAY (2007, Lina Chamie, Brazil)
15. JELLYFISH (2007, Etgar Keret, Shira Geffen, Israel/France)
16. THE ORPHANAGE (2007, Juan Antonio Bayona, Spain)
17. BELLE ÉPINE (2010, Rebecca Zlotowski, France)
18. TAKE SHELTER (2011, Jeff Nichols)
19. THE LUNCHBOX (2013, Ritesh Batra, India)
20. THE TRIBE (2014, Myroslav Slaboshpytskyi, Ukraine)
Edit เพิ่ม: คุณดรสะรณมาตอบแล้วว่า
หนังยาวของไทยที่เคยฉายในสาย DIRECTORS’ FORTNIGHT คือ MONRAK
TRANSISTOR (2001, Pen-Ek Ratanaruang) กับ PLOY (2007, Pen-Ek
Ratanaruang) ขอบคุณคุณดรสะรณมาก ๆ ครับ
+++++++++
1958 (2009, Ghassan Salhab, Lebanon, documentary, 66min,
A+30)
เราเพิ่งได้ดูหนังสารคดีเชิงกวีเรื่องนี้ หนังพูดถึงชีวิตของแม่ของผู้กำกับขณะที่เธออาศัยอยู่ในประเทศเซเนกัล
และหนังก็พูดถึงประวัติศาสตร์ของเลบานอน, อียิปต์ และอิรักในช่วงปี 1958
ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน คือเรามักจะได้ยินเรื่องของเลบานอนก็ในช่วงทศวรรษ
1970 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดสงครามกลางเมืองในเลบานอนอย่างเต็มตัวแล้ว
เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าเลบานอนมันเผชิญกับความขัดแย้งรุนแรงมาตั้งแต่ทศวรรษ 1950 ด้วย
แต่สิ่งที่เราหวีดร้องสุดเสียงก็คือว่า
หนังเรื่องนี้พูดถึงการสังหารหมู่กษัตริย์และราชวงศ์อิรักในปี 1958 ด้วย
เราไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อนเลย คือเวลาที่เราพูดถึงความทรงจำเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อิรัก
เราก็มักจะนึกถึงเรื่อง “สงครามระหว่างอิรักกับอิหร่านในทศวรรษ 1980” เราไม่เคยรู้เรื่องราวอะไรของอิรักในช่วงก่อนที่จะเกิดสงครามนั้นเลย
พอดูหนังเรื่อง 1958 จบ เราก็เลยต้องไป
google หาอ่านเรื่องการสังหารหมู่กษัตริย์และราชวงศ์อิรักในปี 1958
ด้วย มันรุนแรงมาก ๆ
“ในเวลา 8.00 น.
หัวหน้ากองทหาร อับดุล ซัททาร์ ซะบาอะ อัล-อิโบซี
ได้นำกองทัพปฏิวัติเข้าทำร้ายข้าราชสำนักในพระราชวัง
มีคำสั่งกราบทูลพระบรมวงศานุวงศ์ได้แก่ พระเจ้าฟัยศ็อล, มกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์, เจ้าหญิงฮิยาม (พระชายาในมกุฎราชกุมารและเป็นพระมาตุจฉาในกษัตริย์), สมเด็จพระราชินีนาฟิสซา
บินต์ อัลอิละฮ์ (พระมารดาในสมเด็จพระราชชนนีอะลียะฮ์และมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ และเป็นพระอัยยิกาในกษัตริย์), เจ้าหญิงคะดิยะห์
อับดิยะห์ (พระเชษฐภคินีในสมเด็จพระราชชนนีอะลียะฮ์และมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ และเป็นพระมาตุจฉาในกษัตริย์)
และข้าราชบริพารจำนวนหนึ่งให้เสด็จลงมายังลานสนามในพระราชวังพร้อมๆกัน
จากนั้นมีคำสั่งให้ทุกพระองค์หันพระองค์เข้ากับกำแพง
ที่ซึ่งทุกพระองค์ถูกกราดยิงด้วยปืนกลในทันที ร่างของทั้งห้าพระองค์ร่วงลงพื้นสนามพร้อมกับร่างของข้าราชบริพาร
พระเจ้าฟัยศ็อลยังไม่สวรรคตในทันทีหลังการระดมยิงครั้งแรก
ทรงถูกนำพระองค์ส่งโรงพยาบาลโดยผู้จงรักภักดีแต่ก็เสด็จสวรรคตระหว่างทาง
สิริพระชนมายุ 23 พรรษา
เจ้าหญิงฮิยามทรงรอดพระชนม์ชีพจากการปลงพระชนม์หมู่มาได้แต่ก็ทรงพระประชวรอย่างสาหัสจากการระดมยิงและทรงถูกผู้จงรักภักดีพาพระองค์เสด็จออกนอกประเทศ
พระศพของมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ถูกลากไปตามถนนและถูกตัดเป็นชิ้นๆ
ข่าวการปลงพระชนม์หมู่เกี่ยวกับมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ได้มีการรายงานว่า
"ประชาชนนักปฏิวัติโยนพระศพของมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ลงบนถนนดั่งเช่นสุนัขและฉีกพระศพออกเป็นชิ้นๆ
จากนั้นพวกเขาก็ทำการเผาพระศพ" ถือเป็นจุดสิ้นสุดระบอบกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์อิรักและเป็นโศกนาฏกรรมของระบอบกษัตริย์
37 ปีในอิรัก”
ข้อมูลข้างต้นมาจาก wikipedia นะ ส่วนรูปประกอบคือรูปของกษัตริย์ Faisal II ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของอิรัก
หนังเรื่อง 1958 เปิดฉายให้ดูฟรีออนไลน์ในช่วงนี้นะ
https://www.festivalscope.com/film/1958/
++++
ขอแอบเกาะกระแสความสำเร็จที่ภาพยนตร์เรื่อง A
USEFUL GHOST (2025, Ratchapoom Boonbunchachoke) ได้รับเลือกให้ฉายในสาย
CRITICS’ WEEK ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปีนี้ ด้วยการแปะรายชื่อภาพยนตร์ที่กำกับโดยคุณ
Ratchapoom ที่เราเคยดูมาแล้ว
PARTIAL FILMOGRAPHY OF RATCHAPOOM BOONBUNCHACHOKE
(เฉพาะหนังที่เราเคยดูนะ)
1.MA VIE INCOMPLETE ET INACHEVEEE (2007, Ratchapoom
Boonbunchachoke)
ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=-wA1RGj68QE
2. CHUTIMA (2007, Ratchapoom Boonbunchachoke)
3. UNPRONOUNCABLE IN THE LINGUISTIC IMPERIALISM OF YOURS
(2008, Ratchapoom Boonbunchachoke)
This film shows an interview with a female Thai
artist. For the first half of this film, my friend and I believed it was a real
documentary. We only came to realize that this film is a mockumentary when the
artist starts talking about her masturbation show.
4. BODILY FLUID IS SO REVOLUTIONARY ของเหลวที่หลั่งจากกาย
(2009, Ratchapoom Boonbunchachoke, queer film, 41min)
เราเคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ใน
https://celinejulie.blogspot.com/2009/06/transcend-boundaries.html
5. MERMAID WEARING PANTS (2009, Ratchapoom Boonbunchachoke,
7min)
6. Dites Lui que je ne veux pas etre Sous-titre เสียงออกไม่ได้ในราชอาณาจักรทางภาษาของคุณ (2011, Ratchapoom
Boonbunchachoke, 22min)
7. LA DOUBLE VIE DE MANIEJAN มะนีจันเปล่งเสียงไม่ได้ในทวิภูมิทางภาษาของคุณ
(2013, Ratchapoom Boonbunchachoke, 30min)
https://celinejulie.blogspot.com/2013/07/la-double-vie-de-maniejan-2013.html
8. MADAM ANNA, NIPPLES, MACARON, PONYANGKAM, AND BASIC
EDUCATION (2014, Ratchapoom Boonbunchachoke, 41min, A+30)
แหม่มแอนนา หัวนม มาคารอง โพนยางคำ
และการศึกษาขั้นพื้นฐาน
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10204962888775304&set=a.10204350827754161
9.Ma Vie Incomplete et Inachevee Vol. 1&2 (2007+2014) 9
min
10. INSURGENCY BY A TAPIR ความเศร้าของภูตผี
(2016, Ratchapoom Boonbunchachoke, Wachara Kanha, Chulayarnnon Siriphol,
Chaloemkiat Saeyong, 104min)
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10210779471306232&set=a.10210385200369705
11. RED ANINSRI; OR, TIPTOEING ON THE STILL TREMBLING BERLIN
WALL อนินทรีย์แดง (2020, Ratchapoom
Boonbunchachoke, 30min, A+30)
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10224321113838832&set=a.10223742745819993
Edit เพิ่ม: 12. เกมโบกรถ THE
HITCHHIKING GAME (2007, Ratchapoom Boonbunchachoke)
ไปเช็คข้อมูลแล้ว เราเคยดูหนังเรื่องนี้ในวันที่
4 มิ.ย. 2011 แต่เราจำข้อมูลอะไรในหนังเรื่องนี้ไม่ได้แล้ว 55555
***********
เราเพิ่งพูดถึงหนังของคุณ Ratchapoom ในคลิป “ดูหนังกับมาเหม่ยจำบัง 5”
https://www.youtube.com/watch?v=eBc5xNkYbSM
เราเคยเขียนถึงหนังของคุณ Ratchapoom ในปี 2011 ไว้ที่นี่
https://celinejulie.blogspot.com/2011/06/ratchapoom-boonbunchachokes.html
เราเคยเขียนถึงหนังของคุณ Ratchapoom ในปี 2012 ไว้ที่นี่
http://www.experimentalconversations.com/article/part-2-of-mysterious-objects-from-thailand/
ขอเป็นกำลังใจให้ A USEFUL GHOST ประสบความสำเร็จมาก ๆ นะคะ
***************
Edit เพิ่ม: เผื่อคนเห็นรูปที่เราแปะไว้แล้วงง
เราก็เลยจะอธิบายว่า หากเรียงรูปจากซ้ายไปขวา จากแถวบนลงล่าง รูปจะเรียงดังนี้
1.รูปโปสเตอร์งานฉายหนัง retrospective ของคุณ Ratchapoom ในวันที่ 4 มิ.ย. 2011
2. รูปจากหนังเรื่อง MA VIE INCOMPLETE
ET INACHEVEEE
3. รูปจากหนังเรื่อง BODILY FLUID IS SO
REVOLUTIONARY
4. รูปจากหนังเรื่อง BODILY FLUID IS SO
REVOLUTIONARY
5. รูปจาก A USEFUL GHOST
6. รูปจากหนังเรื่อง BODILY FLUID IS SO
REVOLUTIONARY
7. รูปจาก LA DOUBLE VIE DE
MANIEJAN
8. รูปจาก INSURGENCY BY A TAPIR
9. รูปจาก RED ANINSRI; OR, TIPTOEING ON
THE STILL TREMBLING BERLIN WALL
+++++++
ชอบหนังเรื่อง YOU HIDE ME มาก ๆ เหมือนมันเป็น prequel ของ DAHOMEY
(2024, Mati Diop, documentary, France/Senegal/Benin)
No comments:
Post a Comment