หนังเกี่ยวกับวัยรุ่นที่เราได้ดูตอนที่เราเป็นวัยรุ่น
และนักแสดงก็เป็นวัยรุ่น พอเราโตขึ้นเรื่อย ๆ เราก็จะรู้สึกเหมือนกับว่า
นักแสดงและตัวละครเหล่านั้น grow old together ไปกับเราด้วย
+++
NABBIE’S LOVE (1999, Yuji Nakae) นี่เราชอบสุดขีดมาก
ๆ หนังเรื่องนี้เคยมาฉายหลายรอบที่ Japan Foundation ถนนอโศก
+++++++
DAVID LYNCH (1946-2025)
David Lynch เสียชีวิตในวันที่ 16 ม.ค. 2025
แต่เรายังไม่ได้เขียนไว้อาลัยเขาเลย ตอนนี้เราพอมีเวลาว่าง
ก็เลยเขียนถึงเขาหน่อยดีกว่า
หนัง/ละครของ David Lynch ที่เคยดู เรียงตามลำดับความชอบ
1.MULHOLLAND DRIVE (2001)
2.TWIN PEAKS (1990-1991, TV Series)
3.LOST HIGHWAY (1997)
4.WILD AT HEART (1990)
5.ERASERHEAD (1977)
6.THE GRANDMOTHER (1970,
34min)
7.DUNE (1984)
8.BLUE VELVET (1986)
9.THE ELEPHANT MAN (1980)
10.TWIN PEAKS: FIRE WALK WITH ME (1992)
11.HOTEL ROOM (1993)
เพราะฉะนั้นตอนนี้ ภารกิจที่เราอยากทำก่อนตาย
ก็คือหาดู TWIN PEAKS SEASON THREE (2017), INLAND EMPIRE (2006, 180min) และ THE STRAIGHT STORY (1999) ค่ะ
THE ELEPHANT MAN นี่เราได้ดูตอนมันมาฉายทางช่อง
7 เมื่อราว 40 ปีก่อนนะ คิดว่าถ้าหากเราได้ดูหนังเรื่องนี้อีกรอบในแบบเสียง soundtrack
เราน่าจะชอบหนังเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราชอบ HOTEL ROOM น้อยสุดในบรรดาหนังของ David Lynch ที่เราได้ดู
เป็นเพราะว่าเราได้ดูหนังเรื่องนี้แบบพูดอังกฤษ โดยไม่มีซับไตเติลด้วยแหละ
เราก็เลยฟังบทสนทนาไม่ค่อยออก และดูไม่ค่อยรู้เรื่อง เราได้ดูหนังเรื่องนี้ในปี
2007 ตอนไปดูงานศิลปะ DRIFT ของคุณ Sathit
Sattarasart ที่ Rose Hotel ใกล้ ๆ
วัดหัวลำโพง โดยงานศิลปะนี้จัดแสดงอยู่ในห้องห้องหนึ่งของโรงแรม
และพอเราเข้าไปในห้องนั้น เราก็จะได้ดูงานศิลปะ
และสามารถเลือกดูดีวีดีเรื่องใดก็ได้ที่วางอยู่ในห้องนั้นด้วย เราก็เลยเลือกดูดีวีดี
HOTEL ROOM ในตอนนั้น
และถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ประทับใจกับหนังเรื่อง HOTEL
ROOM มากนัก (เพราะเราฟังไม่ค่อยออก)
แต่ก็ประทับใจประสบการณ์ครั้งนั้นมาก รู้สึกว่ามันประหลาดดี
ที่การเลือกดีวีดีเพื่อดูหนังในห้องห้องหนึ่งของโรงแรม
กลายเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะด้วย
ถ้าหากพูดถึง David Lynch โดยรวม
ๆ แล้ว เราก็ชอบเขาอย่างสุดขีดนะ รู้สึกว่า wavelength ของเขาตรงกับเรามากพอสมควร
มันเหมือนกับว่าโลกจินตนาการของเขานำเสนอ realm ที่ exist
อยู่ระหว่าง “หนังสยองขวัญ” กับ “แดนสนธยา twilight zone” น่ะ หรือเหมือนกับว่า
โลกในหนังของเขามันมีความเฮี้ยนแบบหนังสยองขวัญกับแดนสนธยาผสมรวมอยู่ด้วย
แต่โลกของเขาไม่ได้ถูกกำกับด้วยตรรกะของศาสนาแบบหนังผี
และไม่ได้ถูกกำกับด้วยตรรกะของ sci-fi แบบ TWILIGHT
ZONE หลาย ๆ ตอน
โลกจินตนาการของเขาก็เลยมีทั้งข้อดีของหนังสยองขวัญและ TWILIGHT ZONE ผสมรวมอยู่ด้วย แต่ก็มีอิสระมากกว่าหนังสยองขวัญและ TWILIGHT ZONE ด้วยเช่นกัน มันเหมือนโลกจินตนาการของเขามันมีความสยองขวัญ, ความน่ากลัว,
ความบ้าบอ, ความวิปริต, ความบูดเบี้ยว, การมองโลกในแง่ร้าย
และมีอิสระแห่งจินตนาการผสมรวมอยู่ด้วยกันในแบบที่เข้าทางเราอย่างรุนแรง
เราได้ดู MULHOLLAND DRIVE ทางวิดีโอเทปที่ซื้อมาจากร้านลูกแมวในห้างมาบุญครองในช่วงต้นทศวรรษ 2000
และวิดีโอเทปม้วนนี้ก็เลยกลายเป็นหนึ่งในม้วนที่เราดูซ้ำบ่อยที่สุดในชีวิต
แต่เราไม่ได้ดู MULHOLLAND DRIVE ซ้ำทั้งเรื่องนะ
เราดูซ้ำไปซ้ำมาแค่ฉากที่ Rebekah del Rio ออกมาร้องเพลง LLORANDO น่ะ มีอยู่ช่วงนึงของชีวิตที่เราต้องดูวิดีโอฉากร้องเพลงฉากนี้ทุกคืน
เพราะมันทำให้จิตใจเราเป็นสุขสุดๆ
โดยที่เราก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมฉากนี้ถึงส่งผลกระทบต่อเราอย่างรุนแรงสุดๆแบบนี้
หรือว่าฉากนี้มันตอกย้ำว่าหลายสิ่งบนโลกนี้คือ "มายา"
เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน คือพอเราดูฉากร้องเพลงฉากนี้ เราก็จะรู้สึกว่าจิตใจเราสงบ
เราสามารถปล่อยวางจากสิ่งต่าง ๆ ได้ แล้วเราก็จะเข้านอนในคืนนั้นอย่างมีความสุข
เพราะฉะนั้นเราก็เลยดูฉากร้องเพลงฉากนี้เกือบทุกคืนก่อนเข้านอนในช่วงนึงของชีวิต
และเราก็ยอมรับกับตัวเองว่า David Lynch สามารถส่งผลกระทบต่อ
“จิตใต้สำนึก” ของเราได้อย่างรุนแรงจริง ๆ และน่าจะรุนแรงกว่าผู้กำกับอีกหลาย ๆ
คนด้วย
ส่วนละครทีวี TWIN PEAKS ที่เราเคยดูทางช่อง
3 นั้น ก็ถือเป็นหนึ่งในละครทีวีที่เราชื่นชอบมากที่สุดในชีวิตเลย
คือเราได้ดูละครทีวีเรื่องนี้ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นช่วงที่เราแทบไม่เคยดู
“หนังอาร์ต” และ “หนังเซอร์เรียล” ใด ๆ มาก่อน
เพราะฉะนั้นละครทีวีเรื่องนี้ก็เลยทำให้เราเหวอมาก และทำให้เราได้รับรู้ว่า
ละครทีวีมันสามารถทำอะไรแบบนี้ได้ด้วย
มันสามารถนำเสนอสิ่งที่ไม่ต้องการคำอธิบายอะไรแบบนี้ได้ด้วย คือในช่วงต้นของละครทีวีเรื่องนี้
มันเหมือนกับว่าจะเป็นละครทีวีแนวปริศนาฆาตกรรม ที่มุ่งเน้นไปยังประเด็นที่ว่า
“ใครคือฆาตกร” (แบบพวกละครทีวีของไทยที่ดัดแปลงมาจากนิยายของ Agatha
Christie อย่างเช่น ทะเลเลือด และ พรสีเลือด)
และเน้นไปที่การสร้างอารมณ์ “ตื่นเต้น ลุ้นระทึก” แต่พอเราดูไปเรื่อย ๆ เราก็พบว่า
มันไม่ได้เป็นแบบนั้นเลยแม้แต่น้อย ละครทีวีที่มีตัวละครถูกฆาตกรรมอย่างลึกลับ
มันก็สามารถเลือกที่จะโฟกัสหรือนำเสนออะไรอื่น ๆ ได้อย่างเป็นอิสระ และเราก็พบว่า
สิ่งที่สำคัญสำหรับเรามากที่สุดในละครทีวีเรื่องนี้ ก็คือ “บรรยากาศ”
เราตกหลุมรักบรรยากาศของ TWIN PEAKS มาก ๆ
ทั้งบรรยากาศของภาพ, ของเพลงประกอบ, ของดนตรีประกอบ, ของเมือง Twin Peaks ทั้งในโลกของคนเป็น และของ “แดนลี้ลับ” ที่อยู่ในหนังเรื่องนี้ด้วย
สิ่งที่ทำให้เรามีความสุขที่สุดในละครเรื่องนี้ ไม่ใช่การลุ้นว่าใครคือฆาตกร
แต่เป็นการได้ดู “ความมืดที่โอบล้อมสัญญาณไฟจราจร” ในละครทีวีเรื่องนี้ ก่อนหน้านี้
“ความฟิน” ของเราที่ได้รับจากละครทีวีเรื่องอื่นๆ เกิดจาก “เนื้อเรื่อง”
แต่พอเราได้ดู TWIN PEAKS เราก็พบว่า ความฟินในการดู
มันเกิดจากการดู “ความมืดที่โอบล้อมสัญญาณไฟจราจร” ได้ด้วยเช่นกัน
https://www.youtube.com/watch?v=Bpo7278lCfA
อีกสิ่งที่เราชอบมากใน TWIN PEAKS ก็คือ “อะไรต่าง ๆ ที่เราไม่สามารถหาคำอธิบายได้” ทั้งเรื่องของแดนลี้ลับ,
ฉากอะไรต่าง ๆ อย่างเช่น ฉากวิญญาณของ Joan Chen ในลูกบิดลิ้นชัก,
ทำไมตัวละคร log lady ต้องมาพร้อมกับไฟติด ๆ ดับ ๆ,
etc.
เพราะฉะนั้นประสบการณ์การดูละคร TWIN
PEAKS ทางช่อง 3 ของเราในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ก็เลยเป็นอะไรที่
“เปิดกะโหลก” ของเราอย่างรุนแรงที่สุด คือมันเหมือนกับว่า
ละครทีวีเรื่องนี้เป็นละครทีวีเรื่องแรก ๆ
ที่เราได้ดูที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเราอย่างรุนแรงผ่านทาง “เนื้อเรื่อง” เป็นหลัก
แต่ส่งผลกระทบต่อเราอย่างรุนแรงผ่านทาง “อะไรที่เราอธิบายไม่ได้” เป็นหลัก
หรืออาจจะกล่าวได้ว่า มันเป็นละครทีวีเรื่องแรกที่เราได้ดู ที่ส่งผลกระทบต่อ
“จิตใต้สำนึก” ของเราเป็นหลัก (ไม่รู้เราใช้คำถูกหรือเปล่านะ 55555)
แน่นอนว่าตอนนั้นในปี 1991 เรากับเพื่อน ๆ กะเทยในกลุ่มของเรา ก็มีการ assign บทกันจนครบทุกคนในกลุ่มว่าใครรับบทเป็นใครในละครทีวี
TWIN PEAKS ซึ่งตอนนั้นเรารับบทเป็น Donna Hayward
(Lara Flynn Boyle) แต่ไป ๆ มา ๆ เรากลับชอบ role play เล่นเป็น Sara Palmer (Grace Zabriskie) แทน
เพราะมันมีฉากสำคัญฉากนึงในละครทีวีเรื่องนี้ที่ตัวละคร Sara Palmer “คลานลงบันได” มาด้วยท่วงท่าที่พิสดาร เราก็เลยลอง role play ทำตาม
ผลปรากฏว่าเจ็บปวดระบมไปทั้งตัวในความพยายามคลานลงบันไดในครั้งนั้นค่ะ 55555
พอเราเริ่มเป็น cinephile ในปี
1995 และได้ดูหนังอาร์ตและหนังยุโรปมากขึ้น เราก็ยังคงชอบ David Lynch อย่างรุนแรงเหมือนเดิมนะ (แต่ก็อาจจะชอบเขาน้อยกว่าผู้กำกับหนังยุโรปหลาย
ๆ คน อย่างเช่น Werner Schroeter และ Jacques Rivette) เพราะเรื่องนี้มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า หนังของใคร “ดี” กว่าหนังของใคร
หนังของใคร “พิสดาร” กว่าหนังของใคร หรือหนังของใคร “มีคุณค่าทางศิลปะ”
มากกว่าหนังของใครน่ะ แต่มันขึ้นอยู่กับว่า wavelength ของเราตรงกับใคร
หรือใกล้เคียงกับใครมากน้อยแค่ไหน และ “โลกจินตนาการ” ของเราเอง
ใกล้เคียงกับโลกจินตนาการของผู้กำกับคนไหนมากน้อยแค่ไหน และเราก็รู้สึกว่า
โลกจินตนาการในหนังของ David Lynch มันใกล้เคียงกับเรามากพอสมควร
หรือโลกจินตนาการในหนังของเขา มันมี “เสน่ห์ดึงดูด” เราอย่างรุนแรงสุดขีด
เราอยากเข้าไปผจญภัยในโลกจินตนาการในหนังของเขาอย่างรุนแรงมาก ๆ โดยเฉพาะใน TWIN
PEAKS, MULHOLLAND DRIVE และ WILD AT HEART
เหมือนเมื่อราว 25 ปีก่อน
สิ่งที่เราอยากให้เกิดขึ้นในชีวิตของเรา ก็คือการที่เพื่อนสนิทของเราสักคนนึง
โทรศัพท์มาหาเราตอนตีสาม เรียกเราออกไปเจอที่หน้าปากซอย แล้วหลังจากนั้นเรากับกลุ่มเพื่อนสนิทก็เดินทางไปยังคลับแห่งนึง
แล้วก็ผจญภัยเข้าสู่โลกลี้ลับแบบใน Club Silencio ในหนัง MULHOLLAND
DRIVE หรือโลกแบบหนัง TWIN PEAKS 55555
โดยส่วนตัวแล้ว
เรารู้สึกว่าโลกจินตนาการในหนังของ David Lynch มันอาจจะเป็น
“ประเทศเพื่อนบ้าน” กับ “โลกจินตนาการ” ในหนังของ Maya Deren, Philippe
Grandrieux, Nina Menkes, Teeranit Siangsanoh, Scott Barley, Olivier Smolders,
Enzo Cillo, Taiki Sakpisit อะไรทำนองนั้นน่ะ มันมี
“ความลี้ลับดำมืดที่มีมนตร์เสน่ห์อย่างรุนแรง” เหมือนกัน แต่โลกของ Lynch ยังมีเนื้อเรื่องและผูกติดกับสภาพจิตตัวละครอยู่
เพราะฉะนั้นโลกของเขาก็เลยจะยังคงมีความใกล้เคียงกับโลกของ Maya Deren,
Nina Menkes, Ingmar Bergman อะไรทำนองนี้อยู่ แต่ถ้าหากโลกของเขาลด
“เนื้อเรื่อง” ลง และหันไปเน้นบรรยากาศมากขึ้น มันก็จะเข้าใกล้โลกของ Teeranit
Siangsanoh, Scott Barley, Enzo Cillo, Taiki Sakpisit มากขึ้น
และถ้าหากมันดับทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นรูปธรรมทิ้งไปให้หมด ให้เหลือแต่เพียง
“ความลี้ลับดำมืด” อันเป็นนามธรรมเพียงอย่างเดียว มันก็จะเป็นโลกของ Takashi
Makino
อีกปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เราหลงใหลโลกในหนังของ David
Lynch มากเป็นพิเศษ เป็นเพราะว่าเรามักจะไม่อินกับ “ความรัก”
ในหนังโรแมนติกโดยทั่วไป และไม่อินกับ “ความรักความผูกพันระหว่างสมาชิกครอบครัว”
ในหนังโดยทั่วไป ทั้งหนังเอเชียและหนังฮอลลีวู้ดด้วยแหละ และเรารู้สึกว่า
โลกในหนังหลาย ๆ เรื่องของ David Lynch มันไม่ “ขับไสไล่ส่ง”
เราด้วย “ความรักความผูกพันระหว่างสมาชิกครอบครัว” โดยเฉพาะโลกในหนังอย่าง THE
GRANDMOTHER, ERASERHEAD และ WILD AT HEART ที่ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกครอบครัวในหนังเหล่านี้
เป็นสิ่งที่เข้าทางเราอย่างสุดขีดมาก ๆ (แต่เราอาจจะเปลี่ยนใจเมื่อได้ดู THE
STRAIGHT STORY 55555)
เราไม่แน่ใจเหมือนกันว่า David Lynch ส่งผลกระทบต่อผู้กำกับหนังไทยมากน้อยแค่ไหน
แต่เราคิดว่าหนังของเขาสามารถฉายควบกับ “หนังสั้นไทยกลุ่มมายารัศมี” ได้
โดยเราเคยรวบรวมรายชื่อ “หนังสั้นไทยกลุ่มมายารัศมี” ไว้ที่นี่
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10232666977840216&set=a.10201990635270824
ส่วนอันนี้เป็นรายชื่อ MY MOST FAVORITE
CHARACTERS IN DAVID LYNCH’S UNIVERSE
1.Marietta Fortune (Diane Ladd) from WILD
AT HEART
2.Mystery Man (Robert Blake) from LOST
HIGHWAY
3. The Log Lady (Catherine E. Coulson)
from TWIN PEAKS และ TWIN PEAKS: FIRE WALK WITH ME
ไม่ทราบชีวิต
https://www.youtube.com/watch?v=1A9PT3brNrU
4. DEA Agent Dennis (David Duchovny)
from TWIN PEAKS
ตัวละครตัวนี้ถือเป็นตัวละคร “ตำรวจกะเทย”
ตัวละครแรกในชีวิตเลยมั้งที่เราได้ดู
https://www.youtube.com/watch?v=1A9PT3brNrU
5. Laura Palmer (Sheryl Lee) from TWIN
PEAKS และ TWIN PEAKS: FIRE WALK WITH ME
รู้สึกว่าตัวละครตัวนี้มีความเฮี้ยนบางอย่างซ่อนอยู่ในตัว
อย่างเช่นในฉากนี้
https://www.youtube.com/watch?v=6VPFi-GxqiA
https://www.youtube.com/watch?v=KlIlWsQ2FEk
6. Sarah Palmer (Grace Zabriskie) from
TWIN PEAKS
ตัวละครที่เราเอามา role play จนเราได้รับบาดเจ็บ
7. Lil the Dancer (Kimberly Ann Cole)
from TWIN PEAKS: FIRE WALK WITH ME
https://www.youtube.com/watch?v=5Ug-p6vg8vI
8. Lady in the Radiator (Laurel Near)
from ERASERHEAD
9. Mutant Baby ใน ERASERHEAD
10. Lady Jessica (Francesca Annis) from
DUNE
11. Alia (Alicia Witt) from DUNE
12. Rebekah Del Rio from MULHOLLAND
DRIVE
13. Magician (Richard Green) from
MULHOLLAND DRIVE
14. Grandmother (Dorothy McGinnis) from
THE GRANDMOTHER
อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราชอบหนังของ David
Lynch มาก ๆ เป็นเพราะว่า เขาเลือก “นักแสดงชาย”
ได้ตรงสเปคของเราอย่างรุนแรงมาก ๆ ค่ะ 55555
เราชอบนักแสดงชายในหนังของเขาเหล่านี้มาก ๆ
1. Kyle MacLachlan ใน DUNE,
BLUE VELVET, TWIN PEAKS
2. James Marshall from TWIN PEAKS
3. Chris Isaak ใน TWIN
PEAKS: FIRE WALK WITH ME
4. Balthazar Getty ใน LOST
HIGHWAY
5. Bill Pullman ใน LOST
HIGHWAY
6. Justin Theroux from MULHOLLAND DRIVE
อีกจุดที่ทำให้เราชอบหนัง/ละครของ David
Lynch มาก ๆ ก็คือ sense ด้านการเลือกดนตรีประกอบและเพลงประกอบของเขานี่แหละ
โดยเฉพาะใน BLUE VELVET และ TWIN PEAKS กราบตีน Angelo Badalamenti และ Julee Cruise
มาก ๆ
++++++++
ดูรายชื่อหนังในสาย DIRECTORS’ FORTNIGHT
ของ Cannes 2025 ได้ที่นี่
https://www.quinzaine-cineastes.fr/en/news/the-2025-selection
กรี๊ด อยากดู KOKUHO (2025, Lee Sang-il)
อย่างรุนแรงที่สุด เพราะ Lee Sang-il เคยกำกับ
WANDERING (2022, Japan) ที่เป็นหนังที่เราชื่นชอบที่สุดที่ได้ดูในปี
2022
และเราก็อยากดู DEATH DOES NOT EXIST
(2025, Félix Dufour-Laperrière, animation, 80min) มาก ๆ ด้วย เพราะว่า Félix Dufour-Laperrière
เคยกำกับ M: SMALL ARCHITECTURES AND BRIEF NEBULAS (2009) ที่ติดอันดับ
5 ในลิสท์หนังสุดโปรดของเราประจำปี 2009
เรื่องย่อของ DEATH DOES NOT EXIST
After a failed armed attack against wealthy landowners,
Hélène abandons her companions and flees into the forest, where metamorphoses
and major upheavals disrupt the order of things.
รูปจาก DEATH DOES NOT EXIST
++++++++++
AN OPEN ROSE/WARDA (2019, Ghassan Salhab, Lebanon, about
Germany, 72min, A+30)
หนังงดงามสุดขีดมาก ๆ กราบตีน Ghassan
Salhab ของจริง หนังเรื่องนี้นำเสนอจดหมายที่ Rosa Luxemburg
เขียนถึงเพื่อนขณะที่ตัว Rosa ติดคุกอยู่
ตัวจดหมายนี้ไม่ได้พูดถึงการเมืองมากนัก แต่พูดถึงการจ้องมองท้องฟ้าสีเทา, บรรยายถึงความมหัศจรรย์ของสีเทา,
พูดถึง Rudyard Kipling, พูดถึงผึ้ง และอะไรอื่น ๆ อีกมากมาย
ถือเป็นหนังเรื่องที่สองที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Rosa
Luxemburg ที่เราได้ดู หลังจากที่เราเคยดู THE CAPITAL OF
ACCUMULATION (2010, Raqs Media Collective) ซึ่งติดอันดับ 7 ในลิสท์หนังที่เราชื่นชอบที่สุดที่ได้ดูในปี
2018 โดยถึงแม้ว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้จะพูดถึง Rosa Luxemburg เหมือนกัน และพยายามเชื่อมโยง Rosa Luxemburg กับ “โลกยุคปัจจุบัน”
เหมือนกัน แต่หนังทั้งสองเรื่องนี้แตกต่างจากกันอย่างรุนแรง และโฟกัสกันไปคนละจุด
เพราะว่า THE CAPITAL OF ACCUMULATION นั้นเน้นเนื้อหาสาระทางสังคมเศรษฐศาสตร์การเมืองอย่างหนักแน่น
เป็นหนังแนวกระตุ้นความคิดคนดูตลอดเวลา ส่วน AN OPEN ROSE/WARDA เป็นหนังที่มีความงดงามทางกวีสูงสุดขีดมาก
และเปิดให้เราได้รู้จักกับแง่มุมอื่นๆ ของ Rosa Luxemburg ด้วย
โดยที่ก็ไม่ได้ทอดทิ้งบทบาททางการเมืองของเธอ
AN OPEN ROSE/WARDA เปิดให้ดูฟรีออนไลน์ในช่วงนี้นะ
https://www.festivalscope.com/film/une-rose-ouverte-warda/
No comments:
Post a Comment