MONOGRID (2021, Kim Asendorf, Germany, video installations,
A+30)
ดูที่สถาบันเกอเธ่ ซอยสาทร 1
PXL DEX (2025, Kim Asendorf, Germany, video installations)
ดูที่สถาบันเกอเธ่ ซอยสาทร 1 งานวิดีโอชิ้นนี้เรายืนดูแค่ราว
ๆ 1 นาที เพราะอากาศมันร้อน 55555 เราก็เลยไม่ได้ยืนดูนาน ๆ
ALTERNATE (2023, Kim Asendorf, Germany, video installations,
A+30)
ดูที่สถาบันเกอเธ่ ซอยสาทร 1 ตัวงานจริงสวยมาก ๆ
แต่เราไม่ได้เข้าไปถ่ายรูปใกล้ ๆ
SABOTAGE (2022, Kim Asendorf, Germany, video installations,
A+30)
ดูที่สถาบันเกอเธ่ ซอยสาทร 1 เราได้ยืนดูงานนี้เป็นเวลาแค่ราว
30 นาที ประทับใจสุดขีดมาก ๆ ไม่นึกมาก่อนว่า computer art จะออกมาเป็นอะไรที่งดงามแบบนี้ได้
ตอนช่วง 1-2 นาทีแรกที่เรายืนดูงานของเขา เรามองว่า
มันก็ไม่ต่างอะไรจากมิวสิควิดีโอเพลงแดนซ์เทคโนที่เราได้ดูในทศวรรษ 1990
ที่ชอบเอาคอมพิวเตอร์มาสร้างภาพ animation ยึกยือไปเรื่อย ๆ ตัวอย่างเช่น
music video เพลง CASCADE (1993) ของวง
The Future Sound of London
https://www.youtube.com/watch?v=WVRAPIXzb1o
แต่พอยืนดูงานของเขาไปเรื่อย ๆ เป็นเวลานานระยะหนึ่ง
เราก็เปลี่ยนความคิด และมองว่ามันเป็นอะไรที่งดงามสุดขีดมาก เป็นความงดงามพิลาสพิไลในแบบของตัวเองจริง
ๆ
เหมือนงานของเขาเป็น digital version ของหนังทดลองอย่าง THE DANTE QUARTET (1987,
Stan Brakhage, A+30) ที่เป็นการเอาภาพแอบสแตรคท์สีสันสวยงามมาก ๆ
มาเรียงร้อยต่อกันไปเรื่อย ๆ
รู้สึกว่า concept ในการสร้างงานของเขา
มันทำให้นึกถึงองค์ประกอบบางอย่างในนิยายและภาพยนตร์ของ Alain
Robbe-Grillet และภาพยนตร์ของ Peter Greenaway ด้วย แต่บอกไม่ถูกเหมือนกันว่า มันคืออะไรกันแน่
เราได้ยืนฟังสิ่งที่คุณ Kim Asendorf พูดในงานแค่แป๊บเดียว และเราก็ฟังไม่ออกทั้งหมดว่าเขาพูดว่าอะไรบ้าง
แต่ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด
1. เหมือนเขาไม่แคร์ว่าคนจะจัดประเภทงานของเขาว่าเป็นศิลปะประเภทอะไร
เขามองว่ามันเป็น digital art มั้ง ส่วนเราอาจจะมองว่า
งานของเขาจัดเป็น computer art, generative art, abstract art, conceptual
art หรืออะไรก็ได้ แล้วพองานของเขาถูกจัดแสดงในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวแบบนี้
เราก็เลยแอบจัดให้งานของเขาที่เราได้ดูที่สถาบันเกอเธ่ ถือเป็น video
installations ได้ด้วย 55555
2.เขามองว่า computer games ถือเป็นศิลปะประเภทหนึ่ง
3. เหมือนเขามองว่าผลงานศิลปะ CANNOT BE EXPLAINED
ซึ่งเราก็ชอบจุดนี้ในผลงานของเขาอย่างรุนแรงมาก
4. เขาบอกว่า
ถ้าหากตอนนี้เขายังเป็นนักศึกษามหาลัย เขาก็คงจะสนใจ AI และพยายามสร้าง
AI art ออกมา แต่ตอนนี้เขาแก่แล้ว เขาก็เลยไม่มีเวลาศึกษา AI
เราเข้าใจเอาเองว่า เขาคงศึกษาเรื่องการเขียน code
เรื่องการสร้าง computer software เพื่อสร้างงานศิลปะในแบบของตัวเขาเองมาเป็นเวลานาน
20 ปีแล้ว เขาก็เลยขี้เกียจมาศึกษาเรื่อง AI ต่อ
เราเข้าใจว่า เขาไม่ต่อต้าน AI art แต่ตัวเขาเองขี้เกียจที่จะมาเริ่มต้นศึกษาเรื่องการใช้ AI เป็น tool ในการสร้างงานศิลปะในตอนนี้
เพราะฉะนั้นเขาก็จะยังคงสร้างงานศิลปะด้วยการเขียน code เขียน
program ด้วยตัวเองต่อไป แทนที่จะให้ AI เขียนให้
แต่เขาสนใจเรื่อง blockchain มาก ๆ ซึ่งเราไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย
5. เขาใช้ gut feeling ในการตัดสินใจว่างานศิลปะแต่ละชิ้นที่ทำอยู่
เสร็จแล้วหรือไม่ พร้อมแล้วหรือไม่ ถ้าหาก gut feeling บอกว่ามันเสร็จแล้ว
ก็เท่ากับว่ามันดีพอแล้วสำหรับเขา โดยเขาไม่แคร์ว่ามันจะดีพอสำหรับคนอื่น ๆ
หรือไม่ก็ตาม
ถ้าหากเราฟังผิดหรือเข้าใจอะไรผิดไป ก็
comment มาได้นะคะ
+++
วันนี้เราได้มาดูหนังที่ห้าง “บิ๊กซี บางพลี”
เป็นครั้งที่สองในชีวิตการแสดงค่ะ
หลังจากที่เราเคยมาเยือนห้างนี้เป็นครั้งแรกในวันที่ 19 มี.ค. 2024
เพื่อดูหนังเรื่อง PHUPHAN SOBBED ภูพานสะอื้น (2024,
Prommee Deekoat, Parinya Baopetch, Suchart Pudjantueg, C+ )
โดยในการมาเยือนเป็นครั้งที่สองนี้
เราได้ดูหนังเรื่อง “มิสเก๋” หรือ THE HAUNTED APARTMENT ผีนรก 610 (2024, Guntur Soeharjanto, Indonesia, 103min, A+15)
กับหนังเรื่อง THE LEGEND OF PHI TAKHON MASK ตำนานหน้ากากผีตาโขน (2025, Tang Stuntman แต่ง
สตั้นแมน, 104min, C ) ค่ะ
ซึ่งก็เป็นเรื่องบังเอิญสุดขีดมาก ๆ
ที่เราได้ดูหนังสองเรื่องนี้ต่อกัน แล้วก็พบว่า หนังสองเรื่องนี้ มันพูดถึง “หน้ากากที่มีอัญมณีสีแดงตรงกลางหน้าผาก”
เหมือนกันทั้งสองเรื่องเลย
ในส่วนของหนังเรื่อง THE HAUNTED
APARTMENT นั้น เรารู้สึกว่าหนังมันมี “ความปัญญาอ่อน” อยู่
แต่มันเป็นความปัญญาอ่อนในแบบที่เรามักพบได้ในหนังผีทั่วไป
และเป็นสิ่งที่เราคาดเดาไว้แล้ว เพราะฉะนั้น “ความปัญญาอ่อนที่กูคาดไว้แล้วว่าต้องเจอในหนังทำนองนี้”
ก็เลยไม่ได้ลดทอนความสุขในการดูหนังของเรามากนัก 55555
ส่วน “ตำนานหน้ากากผีตาโขน” นั้น เราพบว่าหนังค่อนข้างน่าเบื่อสำหรับเรา
คือหนังมันอาจจะมีไอเดียอะไรน่าสนใจอยู่บ้าง อย่างเช่น
การนำเอาเรื่องตำนานอภินิหารกับ “หนังบู๊” มาผสมกัน แต่เนื่องจากเราไม่ใช่แฟนหนังบู๊อยู่แล้ว
จุดแข็งของหนังเรื่องนี้ อย่างเช่น ฉากบู๊ ก็เลยไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้มากขึ้น
แต่ไอเดียหนึ่งที่น่าสนใจ ก็คือการให้ตัวละครพระเอกต้องใส่หน้ากากตลอดเวลาในฉากบู๊
ซึ่งไอเดียดังกล่าวเปิดโอกาสให้ “stuntman” สามารถแสดงแทนพระเอกได้ตลอดฉากบู๊
พระเอกไม่ต้องเล่นเองเลยก็ได้ในฉากบู๊ เพราะตัวละครพระเอกใส่หน้ากากตลอดเวลาในฉากดังกล่าว
การสร้างฉากบู๊แบบนี้ ก็เลยทำให้เรานึกถึงละครโทรทัศน์เรื่อง
“ศึกชิงเจ้ายุทธจักร” หรือ THE WATER LEGEND (1980) ที่เราชอบสุดขีด
เพราะในละครทีวีฮ่องกงเรื่องนี้ มีตัวละครนำตัวหนึ่งที่แสดงโดย ฉีเส้าเฉียน
ซึ่งฉีเส้าเฉียนเป็นดาราหนุ่มที่ฮอตสุดขีดในยุคนั้น เขาก็เลยไม่ค่อยว่างมาถ่ายทำละครทีวีเรื่องนี้
ทางผู้สร้างละครทีวีเรื่องนี้ก็เลยเขียนบทให้ตัวละครที่เขาแสดง “ใส่หน้ากาก”
อยู่ช่วงหนึ่งของเรื่อง แล้วก็ให้ stuntman มาแสดงแทนฉีเส้าเฉียนในหลาย
ๆ ตอนในช่วงที่ตัวละครดังกล่าวใส่หน้ากากอยู่ 555555
ไตเติล “ศึกชิงเจ้ายุทธจักร”
https://www.youtube.com/watch?v=HFj1kjhrLZw
แล้วพอเราดู “เครดิตช่วงท้าย” ของ “ตำนานหน้ากากผีตาโขน”
เราก็สงสัยว่า ตกลงคนที่เล่นฉากบู๊แทนพระเอกในหนังเรื่องนี้ เป็น “หญิงสาว”
ใช่ไหมนะ หรือเราเข้าใจผิด
No comments:
Post a Comment