Monday, August 01, 2016

Thai Films I saw on Sunday, July 17, 2016

Thai Films I saw on Sunday, July 17, 2016

1.Anonymous in Bangkok (สินีนาฏ คะมะคต, 2016, documentary, A+30)

สารคดีที่สัมภาษณ์โสเภณีที่ดูมีความสุขกับชีวิต คือ subject ของหนังเรื่องนี้เป็นอะไรที่เราสนใจอย่างสุดๆ เพราะเราใฝ่ฝันอยากเป็นโสเภณีตั้งแต่เด็กๆแล้ว แต่เราไม่สวย เราก็เลยเป็นไม่ได้ คนไม่สวยอย่างเราก็เลยต้องหันไปไล่ตามความฝันอย่างอื่นๆแทน และภาพลักษณ์ของโสเภณีที่ปรากฏตามสื่อต่างๆก็เลวร้ายมาก ส่วนใหญ่แล้วไม่มีใครอยากประกอบอาชีพนี้ ทุกคนดูลำเค็ญลำบากมากๆ ภาพของโสเภณีที่มีความสุขดูเหมือนจะมีแต่ในหนัง surreal อย่าง BELLE DE JOUR (1967, Luis Buñuel) และ MON HOMME (1996, Bertrand Blier) หรือในหนังสารคดีของประเทศที่เจริญแล้ว อย่าง MEET THE FOKKENS (2011, Gabrielle Provaas + Rob Schröder, Netherlands) เท่านั้น

หนังเรื่องนี้ก็เลยทำให้เรานึกถึงความฝันในวัยเด็กของเรา และหลายๆอย่างที่ subject พูดมันก็สะใจเราดี ทั้งเรื่องเงินที่หาได้มากกว่าสาวออฟฟิศ และการได้เอากับผู้ชายหลายคนแล้วได้ตังค์ด้วย แทนที่จะต้องเป็นฝ่ายเสียตังค์ด้วยการคอยดูแลปรนเปรอผัว

แต่ก็ยอมรับนะว่า โสเภณีที่มีความสุขแบบในหนังเรื่องนี้ คงจะเป็นโสเภณีส่วนน้อยเท่านั้น แต่เสียงส่วนน้อยนี่ก็เป็นสิ่งที่สมควรถูกนำเสนอเหมือนกัน หลังจากเสียงส่วนใหญ่ถูกนำเสนอทางสื่อไปมากแล้ว

ดูหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึงที่เพื่อนเราเล่าเกี่ยวกับโสเภณีกะเทยไทยในเยอรมนีด้วย คือเราได้ยินว่าหนุ่มๆเยอรมันบางคนชอบเอาโสเภณีกะเทยไทยมาก และเราก็ค่อนข้างมั่นใจว่า มีโสเภณีหลายคนที่ชีวิตมีความสุขกว่าเรามากนัก

2.Boy with a Basket of Fruit (นนทชัย วิญญูศุภรชัย, 2016, A+30)

เป็นหนังเกย์ที่สุดยอดมาก รู้สึกดีที่มีหนังเกย์ไทยพาดพิงถึง Caravaggio

ตัวละครเอกในหนังเรื่องนี้เป็นเกย์ที่ดูสาวๆหน่อย ดูแล้วทำให้นึกถึงตัวละครเอกใน THE BLUE HOUR (2015, Anucha Boonyawattana)

3.Aim (อรุณกร พิค, 2016, A+30)

เข้าใจว่าดัดแปลงมาจากคดีจริงๆคดีนึง หนังสร้างอารมณ์บรรยากาศได้สุดยอดมากๆ ตัวละครผู้ร้ายดูภาพลักษณ์ภายนอกทำให้นึกถึง “คนดี” มากๆ คือเป็นคนที่ “มีบุญคุณ” แต่การที่เขาช่วยเหลือเราและครอบครัวของเราเป็นอย่างดี ไม่ได้หมายความว่าจริงๆแล้วเขาเป็นคนดี

เหมือนเป็นหนังสะท้อนปัญหาแรงงานต่างชาติที่ทำออกมาในแบบ horror – thriller ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แทนที่จะทำออกมาเป็นหนังดราม่าชีวิตแบบหนังส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้

ชอบการสร้างอารมณ์แบบกลืนไม่เข้า คายไม่ออกให้กับตัวละคร คือตัวละครไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีในสถานการณ์แบบนี้ จะลุกขึ้นสู้กับความอยุติธรรม ตัวเองก็ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรไปสู้ แถมตัวเองยังติดหนี้บุญคุณเขาเสียอีก สถานะของตัวเองก็อับจนหนทางพอสมควร มันเป็นสถานการณ์ที่สร้าง dilemma ได้ดีจริงๆ

4.Bangkok Ghost Stories (วชร กัณหา, 2016, A+30)

subjects ของหนังดีมากๆ พวกเขาเป็นคนเร่ร่อนในกรุงเทพที่ชีวิตฟังดูแล้วทุกข์ยากลำบากกว่าเรามากๆ

ดูแล้วนึกถึงงาน installation ของ Orawan Arunrak + Phil America ที่ใช้ชื่อว่า VILLA IN THE SLUMS (2013) คือในงานนั้นมีการจำลองกระต๊อบในสลัมมาไว้ในแกลเลอรี่ และพอเราลองเข้าไปอยู่ในกระต๊อบนั้น เราก็พบว่าการใช้ชีวิตแบบนั้นมันน่าจะลำบากมากๆ คือกระต๊อบมันเล็กมาก และคนที่ใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งนี้ได้จนชิน คงต้องทนกับความยากลำบากมากพอสมควร

แต่พอเทียบกันแล้ว คนที่มีกระต๊อบอยู่แบบใน VILLA IN THE SLUMS ก็น่าจะมีชีวิตที่สบายยิ่งกว่าบรรดา subjects ใน BANGKOK GHOST STORIES เสียอีก เพราะ subjects ในหนังเรื่องนี้ไม่มีแม้แต่หลังคาสำหรับคุ้มกะลาหัว

คืองานอย่าง VILLA IN THE SLUMS และหนังสารคดีอย่าง “บ้านไม่มีเลขที่” (2013, Abhichon Rattanabhayon) มันพาเราไปสัมผัสกับชีวิตคนจนได้อย่างเข้าถึงมากๆ และ BANGKOK GHOST STORIES ก็ทำหน้าที่นี้ได้อย่างดีมากๆเช่นกัน

5.Chaw hk’aw (ไมตรี จำเริญสุขสกุล, 2016, A+30)

ชอบมากที่มันเป็นหนังเกี่ยวกับปัญหาชีวิตชาวเขา แต่ทำออกมาเป็นหนังบู๊กังฟูที่สนุกมากๆ ดีงามมากๆ ดูแล้วนึกถึงหนังเมียนมาเรื่อง KAYAN BEAUTIES (2015, Aung Ko Latt, A+30) ที่สะท้อนปัญหาสังคมชาวเขา แต่แทนที่จะทำออกมาเป็นหนังดราม่า หนังกลับทำออกมาเป็นหนังผจญภัย/thriller

6.Black Hole 005 (จุฬญาณนนท์ ศิริผล, 2016, A+30)

7.Angel Fish ปลาตัวนั้นในตู้สี่เหลี่ยม (นิศารัตน์ มีโชค, 2016, A+30)

8.Candle (สุภาณี ลิ้มโรจน์นุกูล, 2015, A+30)

9.ABC (คณพศ ธัญธนเจษฎาภา, 2015, A+30)

10.Blue Club (ตรีวิทย์ วุฒิยานันท์, 2016, A+25)

ชอบความเป็นมนุษย์ของหนังเรื่องนี้มากๆ เหมือนหนังมันถ่ายทอดความรู้สึกหวั่นไหวต่ออนาคตของตัวละครออกมาได้อย่างจริงใจ ซึ่งจริงๆแล้วมันอาจจะเป็นการบันทึกความรู้สึกของตัวผู้สร้างหนังและเพื่อนๆสำหรับช่วงวัยนี้ ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตเมื่อจะจบจากมหาลัยและต้องเข้าสู่วัยทำงาน และการเป็นผู้ใหญ่อย่างเต็มตัว

แต่ก็ไม่ได้ชอบหนังถึงระดับ A+30 นะ เหมือนมันยังขาด magical หรือความมหัศจรรย์อะไรบางอย่างน่ะ และทำให้นึกถึงสิ่งที่อุ้ยพูดว่า หนังนักศึกษาหลายเรื่องยังเป็นแค่การ reenactment สิ่งที่เคยเกิดขึ้นจริงในชีวิตผู้กำกับและเพื่อนๆออกมา แต่ยังไม่ได้นำมาพัฒนาต่อ ไม่ได้สร้างระยะห่างระหว่างตัวเองกับตัวละครในเรื่อง ไม่ได้นำ concept บางอย่างไปจับ เพื่อจะได้สร้างสไตล์, ลีลาท่าที หรือเทคนิคอะไรบางอย่างในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองออกมาได้อย่างทรงพลัง คือหนังกลุ่มนี้เหมือนถ่ายทอดประสบการณ์จริงแบบตรงไปตรงมาน่ะ แทนที่จะถ่ายทอดแบบแฉลบๆ มันเหมือนการวาดภาพ portrait ที่สมจริงจนเกือบเหมือนกับภาพถ่าย แต่จริงๆแล้วภาพ portrait ที่งดงามมันไม่จำเป็นต้องสมจริงก็ได้ สิ่งที่สำคัญคือการถ่ายทอดวิญญาณข้างในออกมามากกว่าการสร้างความสมจริงทางกายภาพ

แต่จริงๆแล้วก็ชอบ BLUE CLUB มากๆนะ คือมันมีหนังแนว reenactment ของนักศึกษาหลายๆเรื่องน่ะแหละ ซึ่ง BLUE CLUB นี่สำหรับเราเหมือนเป็นการ reenactment ที่ทำออกมาได้ดีสุดๆแล้ว เหมือนเป็นหนึ่งในหนังที่เราชอบมากที่สุดในกลุ่มนี้แล้ว และการ reenactment ออกมาให้ได้ดีแบบนี้ มันก็ยากมากพอแล้ว

แต่ถ้าหากอยากจะพัฒนาต่อไปจนเป็นผู้กำกับแบบขั้นเทพ ก็อาจจะต้องลองหาวิธีการอะไรบางอย่างในการถ่ายทอด “สิ่งที่อยู่ข้างใน” ตัวละครออกมาให้ได้อย่างทรงพลังมากกว่านี้

11.Beyond (ธนิก จตุพักตรารักษ์, 2016, A+25)

12.Beast (นันทณัฐ ดวงธิสาร, 2015, A+25)

13.Behind the Harmony (คณิน พรรคติวงษ์, 2015, A+20)

14.Color (พัดชา อิทธิจารุกุล, A+20)

ชอบฉากเล่าอดีตผ่านทางเสียงตัวละคร รู้สึกว่าเป็นวิธีการที่ประหยัดดี คือแทนที่จะ flashback อดีตของตัวละครด้วยการสร้างภาพให้เห็น หนังกลับ flashback ด้วยการใช้เสียงเท่านั้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ประหยัด และเล่าเรื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนกัน

15.Bangkruai Pradesh (รัฏฐะ บูรณะดิลก, 2016, documentary, A+15)

16.Born to Evolution (Apiwat Soontrawat, 2015, A+15)

17.Change ก้าวข้ามวิกฤติน้ำ (คิริเมขล์ บุญรมย์, 2016, documentary, A+10)

18.Back (สายกลาง สุรเวคิน, 2016, A+10)

19.Bow’s Job (ภัทราภรณ์ รัชตะกิตติสุนทร, 2015, A+10)

20.Bunny House - Gym and Swim (Unofficial Music Video) (ปกรณ์ อยู่อินทร์, 2016, A+10)

21.CAVEE: The Murderer (สร้างสรรค์ แซ่จิว, 2016, A+)
มันไม่ใช่หนังดีนะ แต่มันมีความตลกโดยไม่ได้ตั้งใจอยู่เยอะมาก

22.Concealing Ground (ลักขณา วัสสนธิ์, 2016, A+)

23.Before Sunday (นุตร สมบุญพล, 2016, A)

No comments: