Thai Films I saw on Tuesday, 19
July, 2016
1.Crack of Emptiness (ปริชมน สุมาลี, 2016, A+30)
เป็นหนึ่งในหนังหลายๆเรื่องในเทศกาลนี้ที่ตอนแรกเราจะชอบแค่ในระดับ A+25 เท่านั้น เพราะมันดูมีข้อบกพร่องที่เห็นได้ชัด หรือไม่ได้ทำให้อารมณ์เราพุ่งปรี๊ดสุดขีดในขณะที่ได้ดู แต่พอเวลาผ่านไประยะนึง
เรากลับพบว่า “ความเป็นมนุษย์” ของตัวละครในหนังมันค้างคาอยู่ในใจเรามากๆ
เราก็เลยชอบมันสุดๆในระดับ A+30 และลืมข้อบกพร่องต่างๆในหนังเรื่องนี้ไปเลยเมื่อเวลาผ่านไป
ชอบที่หนังเรื่องนี้เหมือนถ่ายทอดกิจวัตรประจำวันของนางเอกไปเรื่อยๆ
อย่างเช่นการที่เธอไม่กินผัก , การที่เธอวาดรูปสีดำ,
การกินคุกกี้กัญชา โดยหนังเหมือนเน้นไปที่ความขัดแย้งระหว่างเธอกับแม่
แต่แทนที่หนังจะพูดถึงแต่เรื่องความขัดแย้งระหว่างนางเอกกับแม่แบบหนังสั้นทั่วไป
หนังเรื่องนี้กลับนำเสนอกิจวัตรประจำวันในด้านอื่นๆของนางเอกด้วย
และเราว่าการทำแบบนี้มันทำให้ตัวละครในหนังดูเป็นมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อชีวิตจิตวิญญาณจริงๆมากยิ่งขึ้น
เราว่าถ้าหากหลายๆฉากในหนังเรื่องนี้ยืดความยาวออกเป็น 3
เท่า มันจะกลายเป็นหนังแบบ Teeranit Siangsanoh ได้ในทันที คือถ้าหากเป็น Teeranit หรือ Fred
Kelemen เขาอาจจะถ่ายนางเอกนั่งเฉยๆเป็นเวลา 1 นาที แทนที่จะถ่ายนางเอกนั่งเฉยๆเป็นเวลา 15 วินาทีแบบในหนังเรื่องนี้
อีกสาเหตุที่ทำให้ชอบ CRACKS OF EMPTINESS แบบสุดๆเป็นเพราะว่า เรามักจะชอบหนังเกี่ยวกับ “เด็กสาวที่มีความขึ้งเคียดในจิตใจ ” แบบนี้อยู่แล้วด้วยแหละ
อย่างเช่นเรื่อง RESTLESS (2009, Laurent Perreau)
2.Demos (ดนยา จุฬพุฒิพงษ์, 2016, A+30)
ชอบมากกว่า NIGHTWATCH (2014) ของดนยา ชอบตั้งแต่ฉากเปิดของหนังแล้ว ที่เหมือนเราเห็นโขดหิน
ก่อนที่จะพบว่าจริงๆแล้วมันเป็นจระเข้
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือว่า
เราอยากรู้ว่าถ้าหากมีคนดูหนังที่ไม่ได้มีแนวคิดทางการเมืองแบบเดียวกับเรา
และไม่รู้จักดนยามาก่อน เวลาที่เขามาดูหนังเรื่องนี้
เขาจะตีความหนังไปในทิศทางใด
เราว่าหนังเรื่องนี้อาจจะเป็นหนึ่งในหนังการเมืองของไทยในช่วง
2-3 ปีที่ผ่านมา ที่เปิดกว้างให้ผู้ชมแต่ละคนสามารถตีความเข้าข้างตัวเองได้
เพราะหนังไม่ได้บอกทัศนคติของผู้สร้างโดยตรง และมีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ชมบางคนอาจจะตีความหนังไปไปในทิศทางที่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง
หนังเรื่องนี้มีการนำเสนอสัตว์เลื้อยคลานเยอะมาก
และมันทำให้นึกถึงพวกภาพวาดของจิตรกรสลิ่มน่ะ คือจิตรกรสลิ่มหลายคนของไทยชอบวาดภาพประนามนักการเมือง โดยใส่สัตว์เลื้อยคลานเข้าไปในภาพวาดเหล่านั้น
แต่สัตว์เลื้อยคลานในหนังเรื่อง DEMOS
นี้มีความหมายเดียวกับสัตว์เลื้อยคลานในภาพวาดของจิตรกรสลิ่มหรือเปล่า
อันนี้เราว่าผู้ชมแต่ละคนต้องตีความด้วยตนเอง
ชอบ “การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์” ในหนังเรื่องนี้ด้วย
ส่วนหนังการเมืองไทยที่ “เปิดกว้างให้ผู้ชมแต่ละคนตีความเข้าข้างตัวเอง ” ได้นั้น นอกจาก DEMOS แล้ว เราก็นึกถึงหนังเรื่อง DREAMSCAPE
(2015, Wattanapume Laisuwanchai) และ ศิริรัตน์ 4856 (LAST
LIFE WITH THAI DEMOCRACY) ( 2016, Jiraphat Vinagupta)
3.Deadline (ปัญญา ผาสุกโกวิทสิริ/ชานนท์ ตรีเนตร/ไกรสิทธิ์ โภคสวัสดิ์/ธวัชพงศ์ ตั้งสัจจะพจน์, 2015, animation, A+25)
4.Dead Mask (ธฤต อึ้งประเสริฐภรณ์, 2016, A+15)
จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้ไม่ดีเท่าไหร่นะ
แต่มันเป็น genre หนังแนวที่เราชอบสุดๆน่ะ นั่นก็คือหนังแนวผู้หญิงบู๊ หรือแนว “สิงห์สาวนักสืบ” คือพล็อตของหนังเรื่องนี้เข้าทางเรามากๆ
เพราะฉะนั้นถึงแม้ตัวหนังจริงๆอาจจะไม่ดี
แต่ขณะที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราก็มีความสุขมากๆ เพราะเราจะจินตนาการตลอดเวลาว่า
ถ้าหากเราสร้างหนังเรื่องนี้เอง เราจะพัฒนามันไปในทิศทางใด
สรุปว่าเราสนับสนุนให้มีการสร้างหนังแนวนี้ออกมาค่ะ
เพียงแต่ทำออกมาให้ดีกว่านี้ เรารู้สึกว่าเราอยากดูหนังแบบ SUKEBAN
DEKA (1987, Hideo Tanaka), THE HEROIC TRIO (1993, Johnnie To), NAKED WEAPON
(2002, Ching Siu-tung) และ SO CLOSE (2002, Corey Yuen) อีกมากๆ
5.Deadline (นครินทร์ รุ่งทองคำกุล, 2016, A+15)
เป็นหนึ่งในหนังไม่กี่เรื่องจากมหาวิทยาลัยสยามที่เราได้ดูในเทศกาลนี้
และเราก็ชอบมากๆ คือถ้าหากเราจำไม่ผิด หนังที่เราเคยดูจากมหาวิทยาลัยนี้ในปีก่อนๆจะเป็นหนังเล่าเรื่องที่พล็อต
cliché มากๆ แต่หนังเรื่องนี้หันมาเล่าเรื่องเล็กๆใกล้ตัว
และเราว่านี่เป็นการก้าวไปในทิศทางที่ถูกต้อง
คือหนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของบริการไปรษณีย์ไทยที่ห่วยแตกมากๆจนทำให้สินค้าของผู้ใช้บริการเสียหาย
และส่งผลให้พระเอกกับเพื่อนๆต้องติด F ทั้งๆที่ไม่ได้ทำอะไรผิดน่ะ แต่ติด F เพราะความซวยที่เกิดจากความสะเพร่าของการไปรษณีย์ไทย
ซึ่งเราว่าเรื่องแบบนี้มันจริง มันเป็นปัญหาใกล้ตัวในชีวิตประจำวันที่หนังทั่วไปไม่ค่อยหยิบยกมาพูดถึง
เราชอบหนังแบบนี้ มากกว่าหนัง crime drama หรือหนังโรแมนติกโง่ๆที่พล็อตเรื่องซ้ำซากน่ะ
6.Foley (พิชญุตม์ พรมสุวรรณ์, 2015, A+15)
ชอบเรื่องราวการบันทึกเสียงในหนังเรื่องนี้มากๆ
จริงๆแล้วเราว่าหนังเรื่องนี้ดูเป็นธรรมชาติดี และน่ารักมากๆ
แต่ความโชคร้ายของมันก็คือว่า พอดูแล้วเราก็อดนำมันไปเปรียบเทียบกับหนังนิเทศจุฬาเรื่อง
SOMETHING NEVER RUN BACK (น้ำตกไม่ไหลย้อนกลับ) (2016,
Pisalsin Gorsanan, A+20) ไม่ได้น่ะ เพราะหนังเรื่องนั้นก็มีตัวละครพระเอกนางเอกออกไปบันทึกเสียงเหมือนกัน
และเราว่า SOMETHING NEVER RUN BACK ทรงพลังทางอารมณ์มากกว่า
เราว่า FOLEY เหมือนถ่ายทอดความโรแมนติกออกมาได้แค่ในระดับ
“ปานกลาง” ด้วยนะ
คือดูแล้วเราก็แอบนึกถึงหนังของ ICT ศิลปากรด้วยเหมือนกัน
เพราะหนัง ICT บางทีมันจะมีตัวละครพระเอกนางเอกคล้ายๆแบบนี้
แต่มันจะมีการถ่ายทอดความรู้สึก intimate และความโรแมนติกออกมาได้ดีกว่า
7.First of the Year (Equinox) - Skrillex [UNOFFICIAL] (ปิยมณฑ์ ค้าสม, 2016, A+15)
8.Footstep (พณิดา รัตรสาร, 2016, animation, A+15)
9.คำบอกลาจากสามปีก่อน | Congratulations to Me (ศุภาพิชญ์ จิรัตติกานนท์, 2016, A+15)
10.Footwork (สรารักษ์ กิจสวัสดิ์, 2016, documentary, A+10)
11.Fathophobia พ่อจะรู้เรื่องนี้ไม่ได้เด็ดขาด
(จิตราพร กาญจนศุภศักดิ์ , 2016, A+)
12.Fix (อนวรรษ พรมแจ้, 2015, A+)
13.Dream Catcher (วิทวิน โค้วเจริญ, 2016, A)
อยากให้ดัดแปลงหนังเรื่องนี้เป็นหนังเกย์ไปเลย
เพราะหนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กหนุ่มที่อยากเรียนหนังสือ
แต่ต้องหาเงินเลี้ยงตัวเองด้วยการทำงานเป็นแคชเชียร์ร้านสะดวกซื้อจนไม่มีเวลาท่องตำราเรียน
ชีวิตหนุ่มน้อยคนนี้ลำบากมาก แต่ต่อมาเขาก็ได้รับการอุปการะจากผู้ชายคนนึงที่มาซื้อของที่ร้าน
จนในที่สุดเขาก็ได้เรียนมหาลัยและจบออกมาเป็นแพทย์
หนังไม่ได้บอกว่าผู้ชายคนที่มาอุปการะเลี้ยงดูเขาเป็นเกย์หรือเปล่า
แต่มันน่าสงสัยมากๆ และมันคงจะดีมากๆถ้าหากดัดแปลงหนังเรื่องนี้เป็นหนังเกย์ไปเลย
หรือมีการจัดตั้งมูลนิธิ “เกย์ให้ทุนการศึกษา” อะไรแบบนี้ขึ้นมา 555
14.Dirty n Beautiful (Sirawich Pukuka, 2015, documentary, A-)
ดูแล้วนึกถึงหนังของ Teeranit Siangsanoh มากๆ ในแง่การดูไม่รู้เรื่อง, การผสมสิ่งต่างๆเข้าด้วยกันโดยไม่รู้ว่ามันเกี่ยวกันยังไง
และการคว้าจับบรรยากาศ แต่เหมือนเรายังจูนตัวเองให้เข้ากับหนังไม่ได้น่ะ
ตอนดูจะแอบสงสัยด้วยนะว่า จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้มันล้อเลียนหนังอาร์ทหรือเปล่า 555
15.Found (ภูมิรพี ไทยสีหราช, 2016, A-)
1.Crack of Emptiness (ปริชมน สุมาลี, 2016, A+30)
เป็นหนึ่งในหนังหลายๆเรื่อง
ชอบที่หนังเรื่องนี้เหมือนถ
เราว่าถ้าหากหลายๆฉากในหนัง
อีกสาเหตุที่ทำให้ชอบ CRACKS OF EMPTINESS แบบสุดๆเป็นเพราะว่า เรามักจะชอบหนังเกี่ยวกับ “เด็กสาวที่มีความขึ้งเคียด
2.Demos (ดนยา จุฬพุฒิพงษ์, 2016, A+30)
ชอบมากกว่า NIGHTWATCH (2014) ของดนยา ชอบตั้งแต่ฉากเปิดของหนังแล
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือว่
เราว่าหนังเรื่องนี้อาจจะเป
หนังเรื่องนี้มีการนำเสนอสั
แต่สัตว์เลื้อยคลานในหนังเร
ชอบ “การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์”
ส่วนหนังการเมืองไทยที่ “เปิดกว้างให้ผู้ชมแต่ละคนต
3.Deadline (ปัญญา ผาสุกโกวิทสิริ/ชานนท์ ตรีเนตร/ไกรสิทธิ์ โภคสวัสดิ์/ธวัชพงศ์ ตั้งสัจจะพจน์, 2015, animation, A+25)
4.Dead Mask (ธฤต อึ้งประเสริฐภรณ์, 2016, A+15)
จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้ไม่ด
เพราะฉะนั้นถึงแม้ตัวหนังจร
สรุปว่าเราสนับสนุนให้มีการ
5.Deadline (นครินทร์ รุ่งทองคำกุล, 2016, A+15)
เป็นหนึ่งในหนังไม่กี่เรื่อ
คือหนังเรื่องนี้เล่าเรื่อง
เราชอบหนังแบบนี้ มากกว่าหนัง crime drama หรือหนังโรแมนติกโง่ๆที่พล็
6.Foley (พิชญุตม์ พรมสุวรรณ์, 2015, A+15)
ชอบเรื่องราวการบันทึกเสียง
เราว่า FOLEY เหมือนถ่ายทอดความโรแมนติกอ
7.First of the Year (Equinox) - Skrillex [UNOFFICIAL] (ปิยมณฑ์ ค้าสม, 2016, A+15)
8.Footstep (พณิดา รัตรสาร, 2016, animation, A+15)
9.คำบอกลาจากสามปีก่อน | Congratulations to Me (ศุภาพิชญ์ จิรัตติกานนท์, 2016, A+15)
10.Footwork (สรารักษ์ กิจสวัสดิ์, 2016, documentary, A+10)
11.Fathophobia พ่อจะรู้เรื่องนี้ไม่ได้เด็
12.Fix (อนวรรษ พรมแจ้, 2015, A+)
13.Dream Catcher (วิทวิน โค้วเจริญ, 2016, A)
อยากให้ดัดแปลงหนังเรื่องนี
หนังไม่ได้บอกว่าผู้ชายคนที
14.Dirty n Beautiful (Sirawich Pukuka, 2015, documentary, A-)
ดูแล้วนึกถึงหนังของ Teeranit Siangsanoh มากๆ ในแง่การดูไม่รู้เรื่อง, การผสมสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน
ตอนดูจะแอบสงสัยด้วยนะว่า จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้มันล
15.Found (ภูมิรพี ไทยสีหราช, 2016, A-)
No comments:
Post a Comment