Sunday, March 12, 2023

TU JHOOTHI MAIN MAKKAAR (2023, Luv Ranjan, India, 150min, A+)

 

TU JHOOTHI MAIN MAKKAAR (2023, Luv Ranjan, India, 150min, A+)

 

SERIOUS SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

1.มีปัญหาอย่างรุนแรงกับหนังเรื่องนี้ในแบบที่คล้าย ๆ กับ KNOCK AT THE CABIN นั่นก็คือ เราชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+30 มาแล้วเกือบตลอดทั้งเรื่อง แต่ตัวละครเอกของหนัง “ตัดสินใจในแบบที่ตรงข้ามกับเรา” ในตอนจบของหนัง ระดับความชอบของเราก็เลยลดฮวบลงมาอย่างรุนแรงในตอนจบ ซึ่งมันก็ไม่ใช่ความผิดของหนังหรือความผิดของตัวละคร เพราะมนุษย์ที่ตัดสินใจตรงข้ามกับเรามันก็คงจะเป็นมนุษย์ส่วนใหญ่บนโลกนี้ แต่ “ความสุข” ที่เราได้รับจากหนังหลาย ๆ เรื่อง มันขึ้นอยู่กับว่าเรา identify กับตัวละครได้มากแค่ไหน หรือตัวละครตัดสินใจแบบเดียวกับเราหรือไม่ ซึ่งการตัดสินใจของตัวละครในบางที มันก็บ่งชี้ได้ว่า ผู้สร้างหนังเรื่องนั้นมีทัศนคติต่อสิ่งต่าง ๆ ในแบบที่สอดคล้องกับเราหรือไม่ด้วย เพราะฉะนั้นในเมื่อตัวละครตัดสินใจตรงข้ามกับเรา เราก็จะรู้สึกผิดหวังที่เราไม่ได้เจอ “หนังที่เข้าใจเรา” หรือหนังที่ช่วยยืนยันว่ามีคนคิดแบบเดียวกับเราคนอื่นๆ อยู่ด้วยบนโลกใบนี้ และเมื่อนั้นความสุขที่เราได้รับจากหนังเรื่องนั้น (หรือเกรดของเราที่ให้กับหนังเรื่องนั้น) ก็เลยลดฮวบลงมาอย่างรุนแรง

 

2.ดูแล้วนึกถึงความผิดหวังอย่างรุนแรงที่เรามีต่อ MY BIG FAT GREEK WEDDING (2002, Joel Zwick, C+)

 

3.ถ้าเราเป็นนางเอกหนังอินเดียเรื่องนี้ กูบินไปลอนดอน แล้วไปเย็ดกับฝรั่งหนุ่ม ๆ ให้สะใจไปเลยค่ะ กูจะไม่ทนกับ “สถาบันครอบครัว” ไม่ compromise ใด ๆ ทั้งสิ้นค่ะ

 

4.แต่ถ้าหากไม่นับตอนจบ เราก็ชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+30 นะ ชอบ “การเขียนบท” มาก ๆ ด้วย เพราะในตอนแรกๆ ของหนัง มันมีซีนที่ “ดูเหมือนไม่ใช่เหตุการณ์สำคัญ” เกิดขึ้นหลายซีนมาก เหมือนเราดูนางเอกมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวพระเอกไปเรื่อย ๆ ทำอะไรกุ๊กกิ๊ก หุยฮากับครอบครัวพระเอกไปเรื่อย ๆ ราว 10 ซีน ซึ่งมันดูไม่ใช่เหตุการณ์สำคัญอะไร เป็นฉากแบบ romantic comedy ขำ ๆ เล็กน้อยไปเรื่อย ๆ

 

แต่พอช่วงท้ายของหนัง “ซีนที่ดูเหมือนไม่ใช่เหตุการณ์สำคัญ” ราว 10 ซีนในช่วงต้นเรื่อง มันถูก “ตบกลับ” หมดเลย เหมือนมันถูกตีแผ่ให้เห็นเลยว่า “อะไรที่ดูเหมือนไม่สำคัญ อะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราทำกับคนอื่น ๆ โดยคิดว่ามันไม่สำคัญ” จริง ๆ แล้วมันสำคัญ มันส่งผลกระทบต่อ “จิตใจของคนอื่น ๆ” และมันสะท้อนอะไรหลาย ๆ อย่างได้โดยที่เราคาดไม่ถึง

 

ก็เลยชื่นชมวิธีการเขียนบทตรงจุดนี้มาก ๆ นึกถึงหนังอย่าง AARAKSHAN (2011, Prakash Jha, India, 164min, A+30) ที่มันจะมีการ “ตบกลับ” ทางบทแบบนี้เหมือนกัน ซึ่งเราก็จำรายละเอียดไม่ได้แล้ว แต่อาจจะเป็นประมาณว่า ครึ่งเรื่องแรกมันแสดงให้เห็นว่า พระเอกทำอะไรกับใครไว้บ้างราว 30 ซีน แล้วครึ่งเรื่องหลังมันเป็นการ “ตบกลับ” ให้เห็นว่า สิ่งที่พระเอก (ซึ่งเป็นคนที่ดีมาก ๆ) เคยทำไว้ทั้ง 30 ซีนในครึ่งเรื่องแรกมันส่งผลกระทบกันไปมาอย่างรุนแรงทวีคูณขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรบ้าง คือเหมือนในบางซีนในครึ่งเรื่องแรก มันมีตัวละครประกอบจิ๊บ ๆ จ๊อย ๆ บางตัว ที่เรานึกว่าคงไม่มีความสำคัญอะไรต่อเส้นเรื่องหรือเนื้อเรื่อง แต่ปรากฏว่า อีห่า คนพวกที่เรามองว่าเป็น “ตัวประกอบจิ๊บ ๆ จ๊อย ๆ” นี่แหละ ที่มันอาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิตเราอย่างรุนแรงสุดขีดได้อย่างที่คาดไม่ถึง

No comments: