Saturday, May 30, 2020

LOST IN CONNECTION (2020, Nutchanon Tanyasri, documentary, A+30)



PRIMA DE CINÉ (2020, Kay Amphone Xaysombath, documentary, A+30)

หนังสารคดีสัมภาษณ์ Mattie Do เราชอบหนังเรื่องนี้มากๆเพราะมันพูดถึงประเด็นที่เราสนใจ เราเพิ่งรู้จากหนังเรื่องนี้ว่า Mattie ไม่เคยเรียนด้านภาพยนตร์มาก่อน เธอเป็นครูสอนบัลเลต์ แล้วเธอคิดว่าบัลเลต์มันยากกว่าการกำกับภาพยนตร์ เพราะการเต้นบัลเลต์บนเวทีมันพลาดแล้วพลาดเลย แต่การกำกับภาพยนตร์เราสามารถถ่ายเทคใหม่ได้เสมอ

เธอเล่าด้วยว่า CHANTHALY (2012, Mattie Do, A+30) ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเสียชีวิตของแม่ของเธอเอง ส่วน DEAREST SISTER (2016, Mattie Do, A+30) ได้รับแรงบันดาลใจมาจากบัลเลต์เมื่อ 400 ปีก่อน

NCUK (2020, Natthapol Asawarnon, advertisement)

งานฉาย thesis ของ Digital Media students, Comm Arts, Assumption University. มีอะไรที่ไม่ใช่หนังสั้นเยอะมาก อย่างอันนี้เป็นโฆษณาสถาบันที่ให้บริการด้านการช่วยเหลือลูกค้าในการไปเรียนต่อที่อังกฤษ

LOST IN CONNECTION (2020, Nutchanon Tanyasri, documentary, A+30)

1.เหมือนการทำหนังเรื่องนี้เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นก 3 ตัว 555 คือได้ทั้งหนัง thesis, ได้ทั้งตามหาเพื่อนสนิทในวัยเด็ก และได้หาโอกาส reconnect กับพ่อด้วย

2.ชอบหนังตั้งแต่ช่วงแรกๆ เหมือนผู้กำกับเลือกใช้ภาพมาประกอบได้เก่งน่ะ ทั้งการใช้ภาพวิวทิวทัศน์ที่งดงาม, ภาพถ่ายเก่าๆ, ภาพบ้านที่มีฝุ่นจับเขรอะตามสิ่งของต่างๆ เหมือนผู้กำกับทำให้ภาพเหล่านี้มันทรงพลังขึ้นมา และภาพเหล่านี้มันก็ให้พลังกับตัวหนังด้วย

เรารู้สึกว่าการเลือกใช้ภาพเหล่านี้ และการร้อยเรียงภาพเหล่านี้เข้าด้วยกันในช่วงแรกๆของหนังมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆน่ะ เพราะมันไม่ใช่การเล่าเรื่องแบบตรงไปตรงมา แต่เป็นการสร้าง “ภาวะ” ของความทรงจำถึงอดีต มันเป็นการสร้างมิติทางอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างที่มีเสน่ห์ และเปิดโอกาสให้เราเข้าไปในหนังได้ เราว่าช่วงแรกๆของหนังทำออกมาได้งดงามมากๆ

3.พอผ่านช่วงแรกไปแล้วนิดนึง “พ่อ” ถึงค่อยปรากฏตัวขึ้นมา แล้วพอผ่านไปอีกระยะนึง ตัวผู้กำกับถึงค่อยปรากฏตัวขึ้นมาเป็นภาพต่อหน้ากล้อง และเราก็ชอบการทิ้งระยะการปรากฏตัวของบุคคลเหล่านี้ในหนังน่ะ มันส่งผลกระทบต่อจินตนาการของเรามากๆ

คือในช่วงแรกๆที่ตัวพ่อกับตัวผู้กำกับยังไม่ปรากฏขึ้นมาในหนังน่ะ เรารู้สึกเหมือนกับว่า หนังมันเชื้อเชิญเราเข้าไปใน “ห้องจินตนาการ” ที่เต็มไปด้วยสิ่งของจากอดีตมากมาย ห้องนั้นยังไม่มีคนอื่นๆอยู่ในห้อง และการเข้าไปในห้องจินตนาการนั้น มันก็เลยกระตุ้นจินตนาการของเราอย่างเต็มที่ มันทำให้เรานึกถึงอดีตของตัวเองมากๆ และถึงแม้ตัว “พ่อ” ปรากฏขึ้นมาในหนังแล้ว หนังมันก็ยังคงกระตุ้นให้เรานึกถึงอดีตของตัวเองอยู่ (โดยที่หนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจ)  มันทำให้เรานึกถึงเพื่อนในวัยเด็กที่หายสาบสูญไปจากชีวิตของเราแล้วเหมือนกัน ทั้งเพื่อนในโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ ที่พอเราจบจากโรงเรียนอนุบาล เราก็ไม่ได้เจอพวกเขาอีกเลยมานาน 40 ปีแล้ว (แน่นอนว่าเราจำชื่อจริงของพวกเขาไม่ได้เลย), เพื่อนในจังหวัดอุบลฯที่เราเคยไปเล่นด้วยตอนเด็กๆทุกๆปิดเทอม, เพื่อนในโรงเรียนสอนธรรมะวันอาทิตย์ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 etc. และแม้แต่เพื่อนมัธยมที่เราสนิทที่สุดตอนม.2-ม.3 ก็หายสาบสูญไปจากชีวิตเราแล้วเหมือนกัน เพราะพวกเขาไม่เล่น facebook และเลือกที่จะไม่ติดต่อกับเพื่อนๆมัธยมอีกเลย ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเพราะสาเหตุอะไร

ยอมรับว่าช่วงแรกๆของหนังมันกระตุ้นให้เรานึกถึงอดีตของตัวเองมากๆ และเราชอบหนังสุดๆตรงจุดนี้ เพราะหนังเรื่องอื่นๆแทบไม่เคยกระตุ้นให้เรานึกถึงความทรงจำส่วนนี้ของตัวเองมาก่อน

4.เราเริ่มหลุดออกจากจินตนาการของตนเอง และหันมาจดจ่อกับเรื่อองราวของผู้กำกับอย่างเต็มที่ เมื่อหนังไม่ได้ใช้ “ภาพถ่ายเก่าๆ” หรือ “การจับภาพสิ่งของเก่าๆ” มานำเสนอบ่อยๆอีกน่ะ คือเหมือนในช่วงต่อมา ผู้กำกับกับพ่อก็เดินทางไปถามข้อมูลจากชายชราคนนึง และผู้กำกับเริ่มปรากฏตัวต่อหน้ากล้องบ้างแล้ว (ผ่านทางภาพถ่าย) มันก็เลยเหมือนกับว่า “ห้องจินตนาการ” ที่หนังสร้างขึ้นในช่วงต้นเรื่อง มันมีตัวละครสำคัญปรากฏขึ้นมาอยู่ในห้องนั้นแล้ว เราก็เลยหันมาจดจ่อกับสิ่งที่ตัวละครทำ และไม่ได้ฟุ้งไปกับจินตนาการและอดีตของตนเองอีก

5.ดีที่หนังไม่พยายามทำซึ้ง, ฟูมฟาย หรือเร้าอารมณ์เกินไป แต่ปล่อยให้สิ่งต่างๆดำเนินไปตามครรลองของมันเอง

6.แต่พอดูหนังเรื่องนี้แล้วก็เลยแอบคิดว่า บางทีนี่อาจจะเป็นสาเหตุนึงหรือเปล่า ที่ทำให้ผู้กำกับชายหลายๆคนชอบทำหนังเกี่ยวกับสภาพจิตของผู้หญิง เพราะเราว่าพอตัวบุคคลหลักในหนังเรื่องนี้ทั้ง 3 คนเป็น “ผู้ชาย” หมดเลย (ผู้กำกับ, พ่อ, เพื่อนในวัยเด็ก) การแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกก็เลยแข็งๆกันหมดน่ะ 55555 ซึ่งมันก็คงเป็นธรรมชาติของผู้ชายแหละ แต่พอดูหนังเรื่องนี้แล้วก็เลยแอบคิดว่า ถ้าหากมันเป็นเรื่องของผู้หญิง การแสดงออกของ subjects มันคงจะให้อารมณ์ที่รุนแรงกว่านี้ไปโดยปริยาย

7.อยากให้มีคนเอาพล็อตนี้ไปดัดแปลงเป็น fiction หนังเกย์มากๆ 55555

MELON LEK FIN IM-POR-DEE (2020, Kemiga Krutto, documentary, A+30)

หนึ่งในหนังที่ชอบที่สุดที่ได้ดูในงาน thesis ของ Assumption University วันนี้ จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้ไม่ได้มีความน่าสนใจในด้าน aesthetics แต่อย่างใด หนังเรื่องนี้เป็นการสัมภาษณ์เกษตรกรหนุ่มคนนึงที่ปลูก melon ในภาคตะวันตกของไทย แต่เราชอบมากๆที่หนังมันเหมือน “รักและหลงใหลในความรู้” น่ะ และหนังปล่อยให้ตัวเกษตรกรหนุ่มพูดชุดข้อมูลความรู้แบบอัดแน่นสุดๆ ละเอียดสุดๆไปเรื่อยๆ

เราว่าหนังแบบนี้มันไม่ “ดูถูกคนดู” ดีน่ะ คือหนังบางเรื่องมันเหมือนแบบว่า “เราถ่ายภาพสวยๆ แต่อย่าให้สาระอะไรกับคนดูมากเกินไปนะ เดี๋ยวคนดูบางคนจะบ่นปวดหัว” แต่หนังเรื่องนี้ไม่แคร์คนดูแบบนี้เลย คือกูรักสาระ กูรักความรู้ กูก็เลยให้สาระและความรู้ในหนังอย่างเต็มที่ และเรารักหนังแบบนี้มากๆ (แน่นอนว่าเรารักหนังทดลองที่ไม่มีสาระหรือความรู้อะไรเลยด้วย คือเรารักหนังที่ไม่ประนีประนอมกับคนดูในทั้งสองแนวทางน่ะ)

ชอบเรื่องที่เกษตรกรเล่ามากๆเลยด้วย โดยเฉพาะเรื่องการปลูก melon 200 ต้นแรกแล้วตายหมดทั้ง 200 ต้น แต่เขาก็ไม่ย่อท้อ ยังคงหาทางเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง และพัฒนาตนเองไปเรื่อยๆ ทดลองการปลูกไปเรื่อยๆ

เรื่องการปลูกถั่วก่อนปลูก melon ก็ถือเป็นการให้ชุดข้อมูลที่ละเอียดยิบมากๆ

ชอบที่หนังบอกละเอียดเลยว่า “เรือนเพาะชำ 1 เรือน ปลูกได้ 426 ต้น” อะไรทำนองนี้

ถ้าเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆในงาน thesis เดียวกันแล้ว เราก็ชอบ MELON กับ PRIMA DE CINÉ มากที่สุดแหละ เราเข้าใจว่าหนัง thesis ในงานนี้มันมีการจำกัดความยาวมั้ง ทุกเรื่องเลยออกมาสั้นๆหมด ซึ่งพอหนังแต่ละเรื่องมันต้องสั้นมากๆแล้ว หนังสารคดีที่จะประสบความสำเร็จภายในข้อจำกัดแบบนี้ได้ ก็เลยเป็นหนังที่พูดถึง subject แค่คนเดียวแบบ MELON กับ PRIMA DE CINÉ น่ะ ในขณะที่หนังสารคดีที่พยายามนำเสนอประเด็นใหญ่ๆบางประเด็นในงานนี้ พอเราดูแล้วเรากลับพบว่ามันดู “ผิวเผิน” มากๆ

No comments: