FLAT (2020, Lei Yuan Bin, Singapore,
143min, A+30)
1.หนังเรื่องนี้เป็นเหมือนการบันทึกกิจวัตรประจำวันของ
artist หญิงคนนึงขณะอยู่บ้าน (เข้าใจว่าเป็นแฟลต 4 ห้อง)
ในช่วง Covid-19 ระบาด แต่เราดูหนังเรื่องนี้ด้วยความไม่รู้ว่ามันเป็น
documentary หรือ fiction เพราะฉะนั้นขณะที่เรากำลังดูหนังเรื่องนี้
ซึ่งเป็นการฉายทาง youtube แบบครั้งเดียวจบ ไม่มี
re-run เราก็เลยสันนิษฐานไว้ก่อนว่ามันอาจจะเป็น fiction ก็ได้ เราก็เลยไม่กล้าเดินไปกินน้ำในช่วง 100 นาทีแรก
ถึงแม้เราจะหิวน้ำมากก็ตาม 55555
คือถ้าหากเราเดินไปกินน้ำ เราก็จะต้องละสายตาจากจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า
30 วินาทีน่ะ แล้วเรากลัวว่า ใน 30 วินาทีนั้น อยู่ดีๆก็อาจจะมีการฆาตกรรมเกิดขึ้น
หรืออาจจะเกิดจุดพลิกผันใหญ่โตอะไรใน 30 วินาทีนั้น ก็ได้ แล้วเราก็จะพลาดฉากสำคัญไป
แต่พอเราดูหนังเรื่องนี้ไปได้ราว 100 นาที
เราก็เดาว่ามันคงเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆตลอดทั้งเรื่องน่ะ คงเป็นการบันทึก+ถ่ายทอดกิจวัตรประจำวันไปเรื่อยๆ
เราก็เลยกล้าละสายตาจากหน้าจอ แล้วเดินไปกินน้ำได้ 55555
2.ไม่รู้ทำไมถึงดูแล้วไม่เบื่อเลย
ทั้งๆที่หนังไม่มี “เหตุการณ์สำคัญ” หรือเส้นเรื่องแบบหนังเล่าเรื่องทั่วไป คงเป็นเพราะผู้กำกับแม่นยำในการวางเฟรมภาพ
และรู้ว่าแต่ละฉากควรยาวเท่าไรมั้ง อย่างในฉากที่นางเอกนอนหลับนี่
เราก็ต้องนั่งดูเธอนอนหลับไปเรื่อยๆ แต่ก็ดูแล้วไม่เบื่อ
3.ช่วงแรกๆดูแล้วจะนึกถึง
JEANNE DIELMAN, 23 QUAI DU COMMERCE, 1080 BRUXELLLES (1975, Chantal
Akerman) มากๆ เพราะ JEANNE DIELMAN ก็เป็นการจับภาพกิจวัตรประจำวันของผู้หญิงในที่พักเล็กๆของตัวเองเหมือนกัน
และเป็นหนังที่ดูแล้วตราตรึงมากๆเหมือนกัน แต่ JEANNE DIELMAN มีเส้นเรื่องบางๆ และมีพัฒนาการของตัวละครด้วย ในขณะที่ FLAT ไม่มีความเปลี่ยนแปลงของตัวละครเกิดขึ้น
4.อีกสิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง JEANNE
DIELMAN กับ FLAT ก็คงเป็น main
activity ของตัวละครมั้ง เพราะเหมือนใน JEANNE DIELMAN ฉากที่ตราตรึงมากๆในหนังคือการทำอาหารของนางเอก แต่ใน FLAT นั้นมีฉากทำอาหารแทรกเข้ามาหลายครั้งก็จริง แต่มันจะสั้นๆ เร็วๆ
และเรามักจะเห็นแค่ด้านหลังของนางเอกในฉากทำอาหาร ส่วนใน JEANNE DIELMAN นั้นเราจะเห็นด้านหน้าของนางเอกในขณะทำอาหาร
main activity ของนางเอก
FLAT เหมือนจะเป็นการออกกำลังกาย
เพราะหนังใส่ฉากออกกำลังกายเข้ามาหลายครั้งมาก
เราว่าผู้กำกับของหนังทั้งสองเรื่องคงรู้แหละว่า
กิจกรรมใดดู spectacle มากที่สุดสำหรับนางเอก+สถานการณ์ของนางเอก+พื้นที่ที่ใช้ถ่ายทำน่ะ
เพราะการทำอาหารใน JEANNE DIELMAN มันดูงดงามและ spectacle
ในแบบของมันเอง
ส่วนการทำอาหารใน FLAT มันดูไม่ spectacle ในขณะที่การออกกำลังกายของนางเอกใน FLAT มันดูเป็นกิจกรรมที่ร่างกายของตัวละครมีการเคลื่อนไหวมากที่สุดแล้ว
มันก็เลยคล้ายๆจะเป็นกิจวัตรประจำวันที่น่าจะดูเพลินที่สุดอย่างนึง
5.เราแอบจับเวลาตอนนางเอกของ
FLAT ทำท่า plank ด้วย 55555
เพราะเราอยากรู้ว่าคนอื่นๆเขา plank กันได้นานกี่นาที เพราะปกติแล้วเราทำได้แค่
2 นาทีเท่านั้น และเรารู้ว่าหนังเรื่องนี้คงถ่ายนางเอกทำท่า plank ตั้งแต่ต้นจนจบน่ะ คงไม่มีการตัดภาพไปฉากอื่นๆในกลางคัน
6.ฉากที่สนุกที่สุดในหนัง
คงเป็นฉากที่นางเอกคุยกับเพื่อนๆผ่านทางโปรแกรม ZOOM
มั้ง เพราะในฉากอื่นๆเราไม่เห็นเธอคุยกับใครเลย มีอยู่ฉากเดียวในหนังนี่แหละที่เธอได้คุยกับเพื่อนๆ
7.ฉากที่ประทับใจที่สุดในหนัง
คือฉากที่เราเขียนถึงไปแล้วเมื่อวานนี้ คือฉากที่นางเอกเอาตุ๊กตาโดเรมอนไปซัก
แล้วเหมือนเธอจะคุยกับตุ๊กตาไปด้วย มันทำให้เรานึกถึงเวลาที่เราเอาตุ๊กตาหมีไปซักเหมือนกัน
8.อีกฉากที่ประทับใจมาก
คือฉากที่หนังบันทึกภาพนางเอกขณะถอดเสื้อหลายตัวออกจากไม้แขวน
เพราะมันก็เป็นกิจวัตรที่เราทำทุกสัปดาห์เหมือนกัน
แต่เราไม่ค่อยเห็นกิจกรรมนี้ได้รับการถ่ายทอดในหนังน่ะ
คือในหนังหลายๆเรื่อง มันจะมีฉาก “ตากผ้า”
น่ะ มีฉากตัวละครเอาผ้าไปแขวนที่ราว
แต่มันไม่ค่อยมีหนังที่ตัวละครเอาผ้าที่ตากเสร็จแล้วออกจากไม้แขวน
มันเหมือนกับว่าการตากผ้าเป็นอะไรที่ spectacle (ยกตัวอย่างเช่น ในหนังเรื่อง FLIGHT OF THE INNOCENT (1992, Carlo
Carlei) ที่มีฉากตากผ้าที่คลาสสิคมาก)
และเหมาะจะบันทึกไว้ในภาพยนตร์ แต่การปลดเสื้อที่ตากเสร็จแล้วออกจากไม้แขวนทีละตัว
ทีละตัว เป็นอะไรที่ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ไม่ใส่ใจจะบันทึกมาก่อน ยกเว้นในหนังเรื่องนี้
9.อีกฉากที่ประทับใจมาก
คือฉากที่เหมือนนางเอกนั่งดูทีวีนานหลายนาที แล้วหนังถ่ายโดยใช้วิธีให้นางเอกหันหน้าเข้าหากล้อง
แล้วนางเอกก็แสดงปฏิกิริยาต่อรายการที่ดูไปเรื่อยๆ ซึ่งน่าจะเป็นรายการตลก
เพราะนางเอกหัวเราะอยู่หลายครั้ง
คือเราว่าฉากนี้มันดูเหมือน “ผู้ชมกำลังส่องกระจกดูตัวเอง”
อยู่กลายๆน่ะ เพราะผู้ชมหลายๆคนก็คงนั่งดูหนังเรื่องนี้ในห้องอยู่คนเดียวเหมือนนางเอก
ฉากนี้ก็เลยให้ความรู้สึกที่ประหลาดมาก มันเหมือนเรากำลังดูตัวเองอยู่ในจอหนัง/จอคอมพิวเตอร์ไปเรื่อยๆ
คือถ้าหนังถ่ายฉากนี้โดยให้นางเอก “หันข้าง”
เข้าหากล้อง มันจะไม่ได้ความรู้สึกแบบนี้น่ะ มันก็จะเป็น “ผู้ชมดูตัวละครที่กำลังดูจอทีวี”
แต่พอหนังให้นางเอกหันหน้าเข้าหากล้อง เพราะฉะนั้น “จอทีวี” ที่นางเอกมอง
มันก็เลยเหมือนจะทาบทับหรือซ้อนเหลื่อมกับ “จอคอมพิวเตอร์”
ที่เรากำลังจ้องมองไปยังนางเอก และพอ “จอทีวีในโลกที่ตัวละครอาศัยอยู่” กับ “จอคอมพิวเตอร์ในโลกแห่งความเป็นจริงที่เราอาศัยอยู่”
มันซ้อนเหลื่อมกัน มันก็จะเกิดความรู้สึกเหมือนหน้าจอกลายเป็น mirror
ขึ้นมา หรือเป็นสะพานเชื่อมมิติบางอย่างขึ้นมา
10.อีกฉากที่ชอบสุดๆในหนัง
คือฉากที่นางเอกจ้องมองออกไปนอกหน้าต่างตอนกลางคืน ขณะฝนตก
แล้วนางเอกก็เดินออกไปจากเฟรมภาพ แต่กล้องยังคงจับภาพบรรยากาศฝนตกข้างนอกต่อไปเรื่อยๆอีกนานหลายนาที
มันเหมือนกับว่าฉากนี้เป็นหนึ่งในไม่กี่ฉากในหนังเรื่องนี้
ที่ให้ความสำคัญกับบรรยากาศรายรอบ แทนที่จะให้ความสำคัญแต่กับ “สิ่งที่นางเอกทำ”
ฉากข้างต้นเหมือนเป็นการสร้างความคล้องจองกับอีกฉากในช่วงท้ายเรื่องด้วย
เพราะในท้ายเรื่อง จะมีฉากที่กล้องมองออกไปนอกหน้าต่างห้องนานหลายนาทีเหมือนกัน
แต่เป็นเวลากลางวัน เราเห็นตึกต่างๆ และเห็นเมฆครึ้ม
แล้วพอกล้องจับภาพทิวทัศน์ตอนกลางวันไปแล้วนานหลายนาที
นางเอกถึงค่อยๆโผล่เข้ามาในเฟรมภาพนี้
11.ดู FLAT แล้วนึกถึงหนังสั้นไทยหลายๆเรื่องในเทศกาลภาพยนตร์ THAILAND COVID
FILM FESTIVAL เพราะเหมือนกับว่าหนังสั้นไทยหลายๆเรื่องในเทศกาลนี้
ก็พยายามบันทึกภาพชีวิตผู้คนในช่วงเกิดโรคระบาดเหมือนกัน แต่เราเข้าใจว่า
เทศกาลนี้กำหนดความยาวของหนังแต่ละเรื่องให้ไม่เกิน 5 นาทีมั้ง หนังไทยแต่ละเรื่องในเทศกาลนี้ก็เลยนำเสนอภาพชีวิตคนได้อย่างสั้นมากๆ
รวบรัดมากๆ ในขณะที่ FLAT สามารถนำเสนอกิจวัตรประจำวันต่างๆได้อย่างเต็มที่
โดยไม่ต้องคั้นเอาแต่ “สาระสำคัญ” มานำเสนอ
12.ถ้าหากถามว่าดู
FLAT แล้วนึกถึงหนังไทยเรื่องไหน เราก็นึกถึง SUNDAY (2010,
Siwapond Cheejedreiw, 24min) น่ะ เพราะ
SUNDAY ก็เป็นการบันทึกภาพกิจวัตรประจำวันในบ้านของ subjects เหมือนกัน และ subjects ของหนังทั้งสองเรื่องนี้ก็ชอบออกกำลังกายในบ้านเหมือนกัน
แต่อาจจะแตกต่างกันตรงที่ใน SUNDAY นั้นตัว subjects เป็นคนหลายคนในครอบครัวเดียวกัน ส่วนใน FLAT นั้น subject
มีแค่คนเดียว
No comments:
Post a Comment