Monday, May 18, 2020

HOMELAND

HOMELAND (IRAQ YEAR ZERO) (2015, Abbas Fahdel, Iraq, documentary, 5 hours 34mins, A+30)

 1.รู้สึกว่ามันเป็นหนังที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากๆ เพราะมันบันทึกชีวิตประจำวันของชาวอิรักช่วงก่อนสงครามปี 2003 ซึ่งชีวิตประจำวันเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เราไม่เคยรับรู้หรือสัมผัสมาก่อน ก่อนหน้านี้เราแทบไม่เคยดูหนังเกี่ยวกับชีวิตชาวอิรักมาก่อนเลย เราเคยดูแค่ DREAMS (2005, Mohamed Al Daradji), MY COUNTRY, MY COUNTRY (2006, Laura Poitras) กับ MY SWEET PEPPER LAND (2013 , Hiner Saleem) ที่พูดถึงอิรัก แต่ DREAMS ก็เป็น fiction ที่เน้นภาพสงคราม, MY COUNTRY, MY COUNTRY ก็พูดถึงช่วงหลังสงคราม ส่วน MY SWEET PEPPPER LAND ก็เน้นแต่ชาวเคิร์ด เพราะฉะนั้นชีวิตประจำวันของชาวอิรักช่วงก่อนสงคราม จึงเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ของเรามาโดยตลอด

อันนี้ไม่ต้องพูดถึงหนังฮอลลีวู้ด ที่ส่วนใหญ่เน้นแต่บทบาทของทหารอเมริกันในอิรักเท่านั้น โดยมีทั้งหนังที่สนับสนุนและต่อต้านบทบาทของทหารอเมริกัน

2.ดูแล้วรู้สึกว่ามันหนักมาก หนังเหมือนแบ่งเป็นสอง part ใหญ่ๆ คือ part ก่อนกับหลังการบุกของทหารอเมริกัน โดยใน part หลังนั้น ชาวบ้านอิรักหลายคนเริ่มกล้าพูดถึงความเลวร้ายของ Saddam ที่เคยฆ่าคนบริสุทธิ์ตายไปเยอะมาก แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ต้องเผชิญกับความเลวร้ายของทหารสหรัฐ มันเป็นสถานการณ์ที่ dilemma มากๆ เหมือนมีแต่ความเลวร้ายรออยู่ ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้ Saddam หรือสหรัฐก็ตาม

3.ภาวะ lawless ในช่วงหลังสงครามนี่น่ากลัวมากๆ โดยเฉพาะการลักพาตัวหญิงสาว และการฆ่าเพื่อชิงรถยนต์

4.สะเทือนใจกับการเสียชีวิตของ Haidar เด็กชายในเรื่องมากๆ เขาเป็นเด็กที่น่ารักสุดๆ ช่างคิด ฉลาดเฉลียว ดูแล้วหัวใจสลายมากๆ

5.เรื่องของชาวยิวในอิรักที่ต้องเปลี่ยนศาสนาก็น่าสนใจมากๆ

6.รู้สึกว่าภาวะสงครามเป็นอะไรที่น่ากลัวกว่าที่คิด เพราะถ้าเราไม่มีน้ำประปาใช้ แล้วเราจะหาน้ำดื่มจากไหน ซึ่งน้ำดื่มนี่เป็นอะไรที่สำคัญสุดๆ แต่เราไม่เคยประสบภาวะขาดแคลนน้ำดื่มและน้ำประปามาก่อน เราก็เลยไม่เคยคิดถึงปัญหานี้

7.ชอบการสัมภาษณ์คนในวงการละครเวทีของอิรัก และคนขายหนังสือข้างถนนในอิรัก

8.เห็นฉากฟิล์มหนังเก่าๆของอิรักในซากปรักหักพังแล้วทำให้สงสัยว่า ตอนนี้มีใครเอาฟิล์มหนังเก่าๆของอิรักมาบูรณะบ้างแล้วยัง กลัวว่าหนังเหล่านี้จะหายสาบสูญไปตลอดกาล มันคงต้องให้ต่างชาติมาบูรณะน่ะ เพราะรัฐบาลอิรักเองคงต้องเอาเงินงบประมาณไปทำอะไรอย่างอื่นก่อน

9.ฉากที่ชาวบ้านออกมายิงปืนฉลองตอนลูกชาย Saddam ตาย ก็เป็นฉากที่น่าประทับใจมาก

10.หนึ่งในฉากที่สะเทือนใจมาก คือฉากที่สัมภาษณ์แม่ที่ลูกชายถูกทหารสหรัฐฆ่าตายโดยไม่มีสาเหตุ

THE SHINING (1980, Stanley Kubrick, second viewing, A+30)

ดีใจที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ที่โรง Scala ในเดือนมี.ค.

หน้าของ Shelley Duvall หนักมาก

BLOODSHOT (2020, Dave Wilson, A+)

ได้ดูหนังเรื่องนี้ที่ Scala ในวันอาทิตย์ที่ 15 มี.ค.

ช่วงครึ่งชั่วโมงแรกรู้สึกว่าหนังแย่มาก แต่พอมันมีการหักมุมแล้วหนังค่อยดีขึ้นมานิดนึง

OSAMU TEZUKA'S METROPOLIS (2001, Rintaro, Japan, animation, A+30)

ได้ดูหนังเรื่องนี้ที่ Bangkok Screening Room  ในวันอาทิตย์ที่ 15 มี.ค.

FREAK ORLANDO (1981, Ulrike Ottinger, West Germany, second viewing, A+30)

1.ดีใจที่ได้ดูแบบมีซับไตเติลภาษาอังกฤษ คลาสสิกทุกฉากทุกตอนจริงๆ

2.พอดูแบบมีซับไตเติลแล้วรู้สึกว่าหนังมันโหดร้ายกว่าที่คาด เหมือนหนังแบ่งเป็น 5 องก์ โดยที่ 3 องก์แรก ตัวละครที่ถูกสังคมมองว่าเป็นคนประหลาด แตกต่างจากที่สังคมต้องการ หรือคิดต่างจากสังคม จะถูกประชาทัณฑ์ หรือถูกประหารชีวิต

3.ช่วงสององก์หลัง "คนประหลาด" เริ่มมีชีวิตแบบปกติได้ โดยเฉพาะในองก์สุดท้าย ที่ความ freak ได้รับการ celebrate และความวิปริตกลายเป็นระบบทุนนิยมหรืออะไรทำนองนี้แทน

4.ฉากสาวมีหนวด (Else Nabu) ร้องเพลงขณะถูกตรึงกางเขน ถือเป็น one of my most favorite scenes of all time จริงๆ

5.สนใจนักแสดงคนนึงในเรื่องมากๆ ที่เป็นผู้หญิงวัยกลางคน ไม่มีแขน ไม่มีขา มีแต่ลำตัวท่อนบน เข้าใจว่าหนังน่าจะใช้คนพิการจริงๆมาแสดง ไม่ได้ใช้ special effect อยากรู้มากๆว่า ชีวิตจริงๆของนักแสดงคนนี้เป็นอย่างไร

No comments: