HOW NOT TO BE SEEN: A FUCKING DIDACTIC EDUCATIONAL.MOV FILE (2013,
Hito Steyerl, A+30)
You can watch this film here:
--ดูแล้วเห็นด้วยกับคุณ Graiwoot
Chulphongsathorn มากๆที่ว่า หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึง Harun
Farocki จริงๆ โดยเรานึกถึง Farocki ในแง่ที่ว่า
หนังเรื่องนี้มันเป็นหนัง essay, มันวิเคราะห์ภาพและการสร้างภาพ
และมันพูดถึงบทบาทของภาพในสงคราม ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้ในหนังของ Farocki เช่นกัน
--ดูแล้วนึกถึงหนังของ Jean-Luc Godard ด้วย ในแง่ที่ว่า
เรารู้สึกว่ามันเป็นหนังที่ rich และ complex มาก เราดูแล้วงงๆ ไม่เข้าใจทั้งหมด
ไม่สามารถประมวลสิ่งที่เรารับรู้จากหนังเรื่องนี้แล้วย่อยออกมาเป็นข้อมูลที่เข้าใจได้ทั้งหมดในทันที
แต่เช่นเดียวกับหนังของ Godard นั่นก็คือ
หนังเรื่องนี้มันกระตุ้นความคิดได้ดีมากๆ และถึงแม้เราจะเข้าใจมันแค่ 10% ไอ้ 10% นี่มันก็มีคุณค่ามากกว่าสิ่งที่เราได้รับจากหนังทั่วๆไปเยอะ
--ดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้อยากจัดโปรแกรมหนังเกี่ยวกับพัฒนาการของ “การมอง”,
“การถูกมอง”, “เทคโนโลยีในการมอง” และ “ความจริงของภาพที่เราได้เห็น”
โดยหนังที่จัดฉายประกอบด้วย
1.REAR WINDOW (1954, Alfred Hitchcock)
เทคโนโลยีในการลอบมองในยุคทศวรรษ 1950 คือกล้องส่องทางไกล
หนังเรื่องนี้แตกต่างจากหนังหลายๆเรื่องในชุดนี้ในแง่ที่ว่า ในหนังเรื่องนี้ “ผู้จ้องมอง”
ไม่ได้เป็น “ผู้ร้าย” แต่กลับเป็น “พระเอก” เราก็เลยไม่แน่ใจว่า
จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนช่วยกันเป็นหูเป็นตาให้รัฐบาลหรือเปล่า
หรือว่าแนวคิดทางการเมืองของ Hitchcock มีอิทธิพลต่อการทำให้หนังออกมาเป็นแบบนี้หรือเปล่า
555
2.BLOWUP (1966, Michaelangelo Antonioni)
ภาพถ่ายที่เราเห็น มันสะท้อนความจริงได้มากน้อยแค่ไหน
3.LE DOSSIER 51 (1978, Michel Deville)
ในหนังเรื่องนี้ ชีวิตของนักการทูตคนนึงถูกสอดแนมอย่างรุนแรงด้วยเหล่าบรรดาสมาชิกขององค์การลับองค์การนึง
เราว่าหนังเรื่องนี้สะท้อนบรรยากาศความ paranoid ในยุคสงครามเย็นได้ดีมากๆ
และการประมวลข้อมูลเกี่ยวกับ “บุคคลเป้าหมาย” ในหนังเรื่องนี้
ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่รัฐบาลหลายๆประเทศทำกันต่อมาจนถึงสมัยปัจจุบัน
เพียงแต่ว่าเทคโนโลยีในการสอดแนมและรวบรวมข้อมูลเปลี่ยนแปลงไป
โดยในหนังเรื่องนี้นั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ “เป้าหมาย”
ยังคงใช้วิธีที่สามัญที่สุด นั่นก็คือการส่งสายลับปลอมตัวเข้าไปพูดคุยกับบุคคลต่างๆที่รู้จักกับ
“เป้าหมาย”
4.THE GIANTS (1984, Michael Klier, West Germany)
หนังเรื่องนี้ใช้ภาพจากกล้อง CCTV ตลอดทั้งเรื่อง
เรายังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้นะ
แต่เห็นมีดีวีดีหนังเรื่องนี้อยู่ในห้องสมุดสถาบันเกอเธ่
5.THE END OF VIOLENCE (1997, Wim Wenders)
ภาพจากกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งอยู่ทั่วทั้งเมือง
อาจจะใช้ในการช่วยป้องกันอาชญากรรม, คลี่คลายคดีอาชญากรรม
หรืออาจจะเป็นอุปสรรคสำหรับพลเมืองดีบางคนที่ต้องการหลบซ่อนตัวหรือต้องการความเป็นส่วนตัวก็ได้
เราจะรับมือกับข้อดีและข้อเสียของการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ทั่วทั้งเมืองได้อย่างไร
นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ยังสำรวจฮอลลีวู้ดในฐานะแหล่งผลิตภาพของความรุนแรง และสำรวจปัญหาผู้อพยพ
ซึ่งดูเหมือนจะเป็นปัญหาใหญ่ของสหรัฐในทศวรรษนั้นด้วย
6.WAR AT A DISTANCE (2003, Harun Farocki)
เทคโนโลยีในการจับภาพก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว
จากกล้องวงจรปิดในทศวรรษ 1980-1990 ตอนนี้เรามีภาพจากจอเรดาร์,
ภาพจากกล้องที่ติดไว้ที่หัวรบขีปนาวุธ, ภาพจากกล้องที่ติดไว้กับหุ่นยนต์, etc. ภาพเหล่านี้สามารถเสือกเข้าไปในชีวิตเราได้อย่างรุนแรงมากขึ้น
หนังเรื่องนี้ดูเหมือนจะทำนายถึงยุคสมัยต่อมาได้ดี ซึ่งเป็นยุคของภาพจาก drone,
Google Maps, Google Street Views, Google Earth
7. HOW NOT TO BE SEEN: A FUCKING DIDACTIC EDUCATIONAL.MOV FILE
(2013, Hito Steyerl)
ยุคปัจจุบัน ยุคที่ Google Earth สามารถส่องลงมาถึงถนนหน้าบ้านเราได้
ยุคที่ drone สามารถบินมาฆ่าเราได้
ยุคที่เต็มไปด้วยภาพจากมือถือ ยุคที่การหลบซ่อนตัวทำได้ยากมากยิ่งขึ้น ยุคของ Arab
Spring และความขัดแย้งต่างๆนานามากมายในตะวันออกกลาง
No comments:
Post a Comment