THE BOY AND
THE HERON (2023, Hayao Miyazaki, Japan, animation, A+30)
+ NEDNARY อวสานเนตรนารี (2023, Yuthlert Sippapak, A+)
อันนี้ไม่ได้เน้นเขียนถึงตัวหนัง
แต่เน้นจดบันทึกความจำไว้สำหรับตัวเองว่า เราดู THE BOY AND THE HERON แล้วนึกถึงหนังเรื่องอื่น
ๆ เรื่องใดบ้าง
Spoilers
alert
--
--
--
--
--
1.เราชอบ ellipsis ใน THE BOY AND THE HERON อย่างสุด ๆ
เหมือนหนังตัดฉากที่พระเอกกับพ่อน่าจะร้องไห้คร่ำครวญปิ้มว่าจะขาดใจหลังจากแม่ตายในช่วงต้นเรื่องทิ้งไป
คือพอแม่ตายปุ๊บ หนังก็ตัดไปเป็นช่วงที่พ่อใกล้จะแต่งงานใหม่เลย
และหนังในช่วงท้ายก็เล่าข้ามช่วงเวลา 2 ปีได้อย่างกระชับสุดขีดมาก
ๆ
เหมือนหนังสามารถให้ข้อมูลสำคัญแก่ผู้ชมได้อย่างครบถ้วนในฉากสุดท้ายของหนังได้ในเวลาที่สั้นมาก
ๆ
แทนที่จะละเลงอารมณ์ฟูมฟายบีบคั้นน้ำตาของความเข้าอกเข้าใจกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว
(พ่อ, แม่เลี้ยง, พระเอก, น้องต่างมารดา) แบบที่หนังเรื่องอื่น ๆ ชอบทำกัน
2.สาเหตุสำคัญที่สุดที่เราชอบหนังเรื่องนี้เป็นการส่วนตัว
เพราะเราชอบความเป็น "แดนสนธยา" หรือ TWILIGHT ZONE ของหนังเรื่องนี้น่ะ คือเราเป็นคนที่ชอบรายการ TV ชุด
TWILIGHT ZONE อย่างสุดขีดในช่วงกลางทศวรรษ 1980 เพราะมันสอดคล้องกับโลกจินตนาการของเรา และละครทีวีชุด TWILGHT
ZONE มันช่วยกระตุ้นจินตนาการต่าง ๆ ของเราได้อย่างดีที่สุดด้วย
เราชอบที่คนคนนึงเคยอธิบายความหลงใหลของเขาที่มีต่อ
TWILIGHT ZONE ว่า มันทำให้เขารู้สึกราวกับว่า
ถ้าหากเขาทำอะไรที่ผิดไปจากกิจวัตรประจำวันแค่สักอย่างเดียว
อย่างเช่นกดแป้นพิมพ์ตัวอักษร ฏ ในเวลา 23.57น.
หรือเอาน้ำไข่พะโล้มาล้างหัวนมตนเองขณะที่ส่องกระจกที่หันหน้าไปทางทิศหรดี
หรือทำอะไรสักอย่างโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่รู้ตัว (อย่างเช่น บรรดาแขกเหรื่อ ใน THE
EXTERMINATING ANGELS ของ Luis Bunuel) ประตูไปสู่
แดนสนธยา ก็อาจจะเปิดออกได้โดยที่เขาไม่รู้ตัวมาก่อนล่วงหน้า
แล้วเขาก็จะสามารถก้าวล่วงเข้าสู่แดนสนธยา/มิติพิศวงนั้นได้
ดินแดนที่เต็มไปด้วยสิ่งแปลกประหลาดมหัศจรรย์พันลึก
และตั้งอยู่บนกฎเกณฑ์ที่ไม่เหมือนกับโลกของเรา อยู่นอกเหนือจากตรรกะความเข้าใจของเรา
เราเองก็ชอบ
แดนสนธยา ด้วยความรู้สึกเดียวกับคนข้างบน เพราะมันทำให้เราหลีกหนีจากโลกแห่งความเป็นจริงอันโหดร้ายได้ดี
เพราะใครจะไปรู้ล่ะว่า เราอาจจะหลงเข้าไปในแดนสนธยาที่ไหน เมื่อไรก็ได้
เราก็เลยชอบ THE BOY AND
THE HERON มาก ๆ เพราะเราว่ามันมีลักษณะของ แดนสนธยา
ในแบบที่เราชอบอยู่ด้วย ซึ่งจริง ๆ แล้ว หนังหลาย ๆ เรื่องของ Hayao
Miyazaki และ Nobuhiko Obayashi ก็มีลักษณะของแดนสนธยาเป็นส่วนผสมอยู่แล้ว
โดยเฉพาะ SPIRITED AWAY (2001) และ MY NEIGHBOR
TOTORO (1988) ซึ่งนำเสนอมิติพิศวงที่ซ้อนเหลื่อมอยู่กับโลกความเป็นจริงของเรา
ซึ่งจะแตกต่างจากหนังที่เล่าเรื่องใน "โลกแฟนตาซี" ไปเลย แบบ HOWL'S
MOVING CASTLE (2004)
3.แต่สิ่งที่สำคัญที่เราชอบสุดขีดใน THE BOY AND THE HERON ก็คือว่า มันเป็นแดนสนธยาที่ทำให้เรารู้สึกว่า
มันเปิดกว้างกว่าแดนสนธยาโดยทั่ว ๆ ไปน่ะ มันมีความ limitless มากกว่าแดนสนธยาโดยทั่ว ๆ ไป หรือมากกว่าใน MY NEIGHBOR TOTORO กับใน SPIRITED AWAY
คือเราว่าในบรรดาหนังที่มีลักษณะของ
แดนสนธยา อยู่ด้วยนั้น มันจะมีทั้งหนังที่
3.1 แดนสนธยา ในหนัง ให้ความรู้สึกถึงขอบเขตที่จำกัด
เหมือนเกือบทุกสิ่งทุกอย่างใน แดนสนธยานั้น ถูกออกแบบมาเพื่อ function อะไรบางอย่าง หรือเพื่อสื่อความหมายบางอย่าง
หรือแดนสนธยานั้นอยู่ภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์บางอย่าง
ที่ดูเหมือนไม่ไกลจากความเข้าใจของเรา
ซึ่งหนังในกลุ่มนี้ก็มีทั้งหนังที่เราชอบและไม่ชอบ อย่างเช่น
3.1.1 SILENT
HILL(2006, Christophe Gans) ที่ทุกอย่างใน แดนสนธยา หรือ Silent
Hill ดูเหมือนถูกออกแบบมาเพื่อความ thriller หรือเพื่อ
"หวังผลทางอารมณ์บางอย่างต่อผู้ชม" มันก็เลยไม่ “ว้าว”
สำหรับเราเท่าไหร่
3.1.2 NEDNARY
อวสานเนตรนารี (2023, Yuthlert Sippapak, A+) หนึ่งในสิ่งที่เราชอบมากในหนังเรื่องนี้
คือการที่เรารู้สึกว่า ลูกเสือและเนตรนารีในหนัง
หลงเข้าไปในแดนสนธยาของหนังสือการ์ตูนไทยเล่มละบาท แต่แดนสนธยา/ค่ายลูกเสือพิศวง
ในหนังเรื่องนี้ ถูก "จำกัด" โดยปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งเดี๋ยวเราค่อยมาอธิบายทีหลังแล้วกัน
3.1.3
TWILIGHT ZONE ที่ดีสุด ๆ หลาย ๆ ตอน อย่างเช่น ตอน CHILDREN’S
ZOO (1985, Robert Downey, A+30) ที่เด็กหญิงที่พ่อแม่ชอบทะเลาะกัน
ได้หลงเข้าไปใน “แดนสนธยา” ซึ่งถึงแม้แดนสนธยาในหนังเรื่องนี้ จะมีขอบเขตจำกัด
และสามารถอธิบายหรือเข้าใจได้ง่ายด้วยหลักเหตุผล แต่มันก็ดีงามมาก ๆ อยู่ดี
https://www.youtube.com/watch?v=VP00POlKNo4
3.1.4 RECONSTRUCTION (2003, Christoffer Boe, Denmark, A+30) เหมือน “การตกหลุมรัก” คือกุญแจไขเข้าสู่แดนสนธยาในหนังเรื่องนี้
3.1.5 multiverse ในหนังเรื่องต่าง ๆ ในยุคนี้ ทั้ง DOCTOR STRANGE IN THE
MULTIVERSE OF MADNESS (2022, Sam Raimi, A+30), SPIDER-MAN: ACROSS THE SPIDER-VERSE
(2023, Joaquim Dos Santos, Kemp Powers, Justin K. Thompson animation, A+30), EVERYTHING
EVERYWHERE ALL AT ONCE (2022, Daniel Kwan, Daniel Scheinert, A+30), TO ALL OF YOU THAT I LOVED (2022, Jun Matsumoto, Japan,
animation, A+30), TO THE ONLY ONE WHO
LOVED YOU, ME (2022, Kenichi Kasai, Japan, animation, A+30) และ THE FLASH (2023, Daniel Muschietti, A+30) ซึ่งเราว่า multiverse ในหนังต่าง ๆ
เหล่านี้ก็มีลักษณะคล้าย ๆ แดนสนธยา เป็นอีกหลาย ๆ มิติที่ซ้อนเหลื่อมกับโลกของเรา
และถึงแม้ว่า multiverse ในหนังต่าง ๆ เหล่านี้จะเต็มไปด้วยไอเดียที่บรรเจิดเริ่ดสะแมนแตนมากมาย
แต่มันก็เหมือนเป็น “สิ่งที่เข้าใจได้ง่าย” ในเวลาเดียวกัน
ตอนดู THE BOY AND THE HERON เราจะนึกถึง
THE FLASH มากเป็นพิเศษด้วย เพราะพระเอกของ THE FLASH
อยากจะย้อนเวลากลับไปช่วยแม่ไม่ให้ถูกฆ่าตาย ปมในใจของพระเอก THE
FLASH ก็เลยทำให้นึกถึงพระเอกของ THE BOY AND THE HERON ในแง่นึง
3.2 แดนสนธยา ที่เหมือนมีความ limitless แต่เราได้เห็นเพียงแค่ a glimpse ของมัน โดยผ่านทางสายตาของตัวละครในหนัง แต่เหมือนหนัง/นิยายเรื่องนั้น
มันทำให้เรารู้สึกว่าอาจจะมีอะไรอื่น ๆ พิสดารอีกมากในแดนสนธยานั้น
ที่ตัวละครพระเอก/นางเอก ยังไม่ได้เห็น
ซึ่งเราว่า MY NEIGHBOR TOTORO, SPIRITED AWAY และนิยายชุด THE CHRONICLES
OF NARNIA ของ C.S. Lewis ทำให้เรารู้สึกคล้าย
ๆ อย่างนี้ เราก็เลยชอบหนังและนิยายชุดนี้อย่างสุด ๆ น่ะ
คือเรารู้สึกว่า โลกพิสดาร/แดนสนธยาในหนัง/นิยาย
3 เรื่องข้างต้น มันเหมือนดำรงอยู่ของมันมาก่อนที่พระเอก/นางเอกจากโลกมนุษย์ปกติจะเข้าไปพบเจอ
และจะดำรงอยู่ต่อไปหลังจากหนังเรื่องนั้น ๆ จบลงไปแล้วน่ะ และแดนสนธยานั้น ๆ
มันไม่ได้มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ตัวพระเอก/นางเอกน่ะ คือเหมือนมันดำรงอยู่ของมันมาเอง
และมันก็เต็มไปด้วยอะไรต่าง ๆ ที่อาจจะไม่ได้ดำรงอยู่เพื่อรองรับความหมายใด ๆ
ในชีวิตของตัวละครเอกก็ได้ ซึ่งก็เหมือนกับโลกมนุษย์ของเรา ที่ตัวเราไม่ได้เป็นจุดศูนย์กลางของโลก
โลกไม่ได้หมุนรอบตัวเรา และโลกก็เต็มไปด้วยมนุษย์และสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตต่าง
ๆ หลายล้านล้านอย่างที่ไม่ได้ดำรงอยู่เพื่อ “มีความหมาย” ใดๆ สำหรับเรา
แต่มันดำรงอยู่เพื่อตัวมันเอง และด้วยตัวเอง ซึ่งจะแตกต่างจากโลกสนธยาในหนังกลุ่ม 3.1 ที่เหมือนกับว่า หลาย ๆ อย่างในโลกสนธยานั้นมันดำรงอยู่เพื่อ
function บางอย่างสำหรับตัวละครเอก, สำหรับการเล่าเรื่อง,
สำหรับการสื่อความหมาย, สำหรับผู้ชม, etc.
แต่มันเหมือนกับว่า ใน MY NEIGHBOR TOTORO กับใน SPIRITED AWAY นั้น ผู้ชมได้เห็นเพียงแค่ “เศษเสี้ยวเดียว” ของมิติพิศวงอันนั้นน่ะ
และจริง ๆ แล้วอาจจะมี “สิ่งพิสดารอีก 1 ล้านอย่าง” อยู่ในมิติพิศวงนั้น ๆ
ที่ตัวละครเอกยังไม่ได้ไปพบเจอก็ได้ อันนี้คือความรู้สึกของเรานะ ไม่รู้คนอื่น ๆ
รู้สึกแบบเดียวกับเราหรือเปล่า แต่มันคือปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราชอบหนังสองเรื่องนี้อย่างสุด
ๆ เพราะเรารู้สึกราวกับว่า “มิติพิศวง” ในหนังสองเรื่องนี้มันไม่ได้ดำรงอยู่เพียงเพื่อสื่อความหมายบางอย่างสำหรับตัวละครเอก/ผู้ชมเท่านั้น
3.3 แดนสนธยา หรือโลกแฟนตาซี
ที่เรารู้สึกว่ามัน limitless มาก ๆ และเราก็ได้เห็นความ
limitless ของมันอย่างเต็มที่ในระดับนึงด้วย อย่างเช่น
3.3.1 หนังของ David Lynch
3.3.2 หนังของ Alejandro Jodorowsky
3.3.3 หนังเรื่อง THE CASE FOR A ROOKIE HANGMAN (1970,
Pavel Juracek, Czechoslovakia)
3.3.4 หนังเรื่อง DOZENS OF NORTHS (2021, Koji
Yamamura, Japan, animation, A+30)
3.3.5 หนังเรื่อง LOOK OF LOVE (2006, Yoshiharu Ueoka, Japan)
3.3.6 THE
ORNITHOLOGIST (2016, Joao Pedro Rodrigues, Portugal)
3.3.7
JABBERWOCKY (1971, Jan Svankmajer, Czechoslovakia, animation)
ที่สร้างจากบทประพันของ Lewis Carroll
3.3.8 นิยายเรื่อง ALICE’S ADVENTURES IN WONDERLAND (1865, Lewis
Carroll)
ซึ่งสาเหตุที่เราชอบ
THE BOY AND THE HERON อย่างสุดขีด เพราะมันทำให้นึกถึง อลิซในแดนมหัศจรรย์
นี่แหละ เพราะการที่พระเอกตามนกกระสานวลไป แล้วไปเจอกับแดนมหัศจรรย์ มันก็เลยทำให้นึกถึงอลิซที่ตามกระต่ายไป
แล้วไปเจอกับแดนมหัศจรรย์
สาเหตุที่ทำให้เราชอบ
ALICE’S ADVENTURES IN WONDERLAND อย่างสุดขีด
เพราะเรารู้สึกว่า “แดนมหัศจรรย์” ในนิยายเรื่องนี้ มันดู limitless น่ะ มันเหมือนกับว่าสิ่งต่าง ๆ ในดินแดนแห่งนี้ มันไม่จำเป็นจะต้องดำรงอยู่เพื่อสื่อความหมายใด
ๆ หรือเพื่อสั่งสอนคนอ่าน/ผู้ชมก็ได้ มันอยู่ของมันเอง โดยที่ไม่ต้องขึ้นอยู่กับตรรกะใด
ๆ ในโลกของเรา
ซึ่งเรารู้สึกว่า
หลาย ๆ อย่างใน THE BOY AND THE HERON มันดู limitless
สำหรับเรามากกว่าหนังบางเรื่องของ Hayao Miyazaki และมันทำให้เรารู้สึก enjoy กับมันอย่างสุดขีด โดยที่เราไม่รู้สึกว่าเราถูกบีบบังคับให้ต้องตีความมัน
ซึ่งคล้าย ๆ กับความรู้สึกของเราตอนที่อ่าน ALICE’S ADVENTURES IN
WONDERLAND และ “เมืองในตู้เสื้อผ้า” ของ C.S. Lewis ตอนเด็ก ๆ น่ะ เรา enjoy สุดขีดกับอะไรต่าง ๆ
ที่พิสดารในหนัง เหมือนเราเป็นเด็กน้อยน่ารักที่เข้าไปผจญภัย โดยที่เราไม่ได้พยายามคิดลึกกับมันในตอนที่ดู
4.เพราะฉะนั้นความรู้สึกชอบของเราอย่างสุดขีดที่มีต่อ
THE BOY AND THE HERON ก็เลยแตกต่างจากความชอบของหลาย ๆ
คนที่มีต่อหนังเรื่องนี้ เพราะเรา enjoy อย่างสุดขีดมาก ๆ กับ
“การที่เราไม่รู้ความหมายใด ๆ ของหลายสิ่งหลายอย่าง ในหนังในขณะที่เราดูหนังเรื่องนี้”
55555
แต่เราก็ชอบอย่างสุดขีดที่เพื่อน
ๆ หลาย ๆ คนตีความสิ่งต่าง ๆ ในหนังเรื่องนี้นะ เพราะเราว่าสิ่งต่าง ๆ ในหนังเรื่องนี้
จริง ๆ แล้วก็มีความหมายซ่อนแฝงอยู่ทั้งนั้นแหละ เพียงแต่ว่าเราตีความมันไม่ออกด้วยตัวเอง
และเราก็ไม่คิดที่จะตีความมัน เรามีความสุขอย่างมาก ๆ กับการอ่านสิ่งที่คนอื่น ๆ
เขียน และได้รับรู้ความหมายต่าง ๆ ที่อาจจะซ่อนอยู่ในหนังเรื่องนี้ แต่เราไม่รู้สีกแม้แต่น้อยว่า
เราถูกบังคับให้ตีความมันในขณะที่ได้ดู เราก็เลย approach หนังเรื่องนี้ด้วยวิธีการของเราเองและมีความสุขอย่างสุด
ๆ ในแบบของเราเองกับหนังเรื่องนี้ได้
5.การที่ THE BOY AND
THE HERON ทำให้เรารู้สึกถึงแดนสนธยา/โลกจินตนาการที่ limitless
ในแบบเดียวกับ ALICE’S ADVENTURES IN WONDERLAND นั้น ก็เลยทำให้เรารู้สึกว่า หนังเรื่องนี้มันไปไกลกว่าหนังเรื่องอื่นๆ อีกหลาย ๆ เรื่องที่พูดถึง “โลกจินตนาการ”
หรือมิติพิศวง ที่เกี่ยวข้องกับ “เด็กในชนบท” หรือ “เด็กที่เผชิญกับ tragedy”
เพราะโลกจินตนาการในหนังเรื่องอื่นๆ นั้น มันเหมือนดำรงอยู่เพียงแค่ในจินตนาการของตัวละครเอก
หรือมี function เพียงแค่เยียวยาจิตใจของตัวละครเอกให้เติบโต/ก้าวพ้นวัย,
etc. น่ะ ซึ่งถึงแม้แดนสนธยาใน THE BOY AND THE HERON
อาจจะมี function คล้าย ๆ กัน แต่มันก็เหมือนเต็มไปด้วยอะไรพิสดารต่าง
ๆ นานาที่ไปไกลกว่าการมี function เพียงแค่เยียวยาจิตใจพระเอกด้วย
ตัวอย่างหนังในกลุ่มนี้
ก็มีเช่น THE CURSE OF THE CAT PEOPLE (1944, Robert Wise), BRIDGE TO TERABITHIA
(2007, Gabor Csupo), A MONSTER CALLS (2016, J.A. Bayona), I KILL GIANTS (2017,
Anders Walter), THE SECRET GARDEN (2020, Marc Munden), etc. น่ะ
ซึ่งเราว่า THE BOY AND THE HERON มันก็คือหนึ่งในหนังกลุ่มนี้
แต่โลกจินตนาการใน THE BOY AND THE HERON มันค่อนข้างจะไปไกลกว่าหนังเรื่องอื่นๆ
ในกลุ่มนี้
6. ดู THE BOY AND
THE HERON แล้วทำให้นึกถึง THE REFLECTING SKIN (1990,
Philip Ridley, A+30) มาก ๆ เลยด้วย เหมือน THE BOY AND THE
HERON เป็น “ด้านสว่าง” ส่วน THE REFLECTING SKIN เป็นด้านมืด
คือ THE REFLECTING
SKIN เล่าเรื่องของเด็กชายตัวน้อย ๆ ในชนบทของสหรัฐน่ะ เขามีพี่ชาย (Viggo
Mortensen) แล้วพี่ชายของเขาก็ไปเป็นแฟนกับเพื่อนบ้านที่เป็นหญิงวัยกลางคน
(Lindsay Duncan) แล้วเด็กชายตัวน้อย ๆ คนนี้
ก็เหมือนมีโลกจินตนาการของตัวเอง แล้วเขาก็จินตนาการว่า หญิงวัยกลางคนคนนั้น เป็น “ผีดูดเลือด”
เพราะเด็ก ๆ หลาย ๆ คนในแถบที่เขาอาศัยอยู่ถูกฆ่าตายอย่างลึกลับ (ถ้าหากเราจำไม่ผิด)
เราก็เลยรู้สึกว่า
THE REFLECTING SKIN มันทำให้นึกถึง THE BOY AND THE
HERON เพราะมันพูดถึงโลกจินตนาการของเด็กชายตัวน้อย ๆ ในชนบทเหมือนก้น
เป็นเด็กชายที่อาศัยอยู่ท่ามกลางความรุนแรงโหดร้ายบางอย่าง และเขาก็เหมือนมีปมกับ “หญิงวัยกลางคน”
เหมือนกัน เพียงแต่ว่า THE REFLECTING SKIN นั้น มันนำไปสู่ “ด้านมืด”
7.อีกจุดที่ทำให้เราชอบ
THE BOY AND THE HERON อย่างสุดขีดมาก ๆ เพราะว่ามันนำเสนอ
แดนสนธยา ที่นกต่าง ๆ มีสถานะทัดเทียมกับมนุษย์ในโลกนั้นน่ะ แต่มนุษย์บางคนกลับกลายเป็นเพียง
“ตุ๊กตา” หรือ “เครื่องราง” ในโลกนั้น แล้วพอนกต่าง ๆ เหล่านี้เข้ามาอยู่ในโลกของเรา
มันก็กลายเป็นเพียง “นก” เท่านั้น ไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์เหมือนตอนอยู่ในแดนสนธยา
เพราะฉะนั้นอะไรแบบนี้ก็เลยเข้ากับโลกจินตนาการของเราอย่างสุดขีดมาก
ๆ เพราะว่าเราก็ชอบจินตนาการถึงโลกที่ “teddy bears” มีชีวิตน่ะ 55555
โลกที่เรามีผัวเป็นมนุษย์หนุ่มหล่อ แต่ออกลูกมาเป็น teddy bears ที่มีชีวิตจิตใจอะไรทำนองนี้ โลกที่เราอยากแปลงร่างเป็นแม่หมีเมื่อไหร่ก็ได้
เพราะฉะนั้นการนำเสนอโลกที่ “มนุษย์” เป็น “ตุ๊กตา” และ “นก”
มีสถานะทัดเทียมกับคนใน THE BOY AND THE HERON มันก็เลยทำให้เรารู้สึกว่า
การที่เราชอบจินตนาการถึง “โลกที่ teddy bears ทัดเทียมกับคน”
มันก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลกประหลาดอะไรเช่นกัน 555555
8.วกกลับมาถึง
“อวสานเนตรนารี” ในข้อ 3.1.2 คือเรารู้สึกว่า ความเป็นแดนสนธยาในหนังเรื่องนี้ ถูก
“จำกัด” โดย
8.1 มุกตลกฝืดทางการเมือง
หรือความพยายามจะเป็นการเมือง เหมือน "แมว" ในหนังเรื่องนี้
ทำให้เรานึกถึง "แม้ว ทักษิณ" 555 และพอหนังเรื่องนี้มันถูกครอบด้วยความเป็นการเมืองแบบมุกตลกฝืด
ๆ มันก็เลยจำกัด potential ของหนังอย่างรุนแรงมาก ๆ
8.2 ความเชื่อเรื่อง
กฎแห่งกรรม แบบไทย ๆ คนที่เคยทำร้ายแมวและเสือดำ จะต้องถูกกฎแห่งกรรมลงทัณฑ์
ซึ่งเอาจริงแล้ว
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เราชอบ "อวสานเนตรนารี" ถึงขั้น A+ เป็นเพราะเราอินกับประเด็นนี้เป็นการส่วนตัว
เพราะอย่างที่เราเคยเขียนเล่าไปแล้วหลายครั้งว่า ตอนเด็ก ๆ เราเคยแกล้งลูกแมวตัวนึง
แล้วหลังจากนั้นเราก็รู้สึกผิดบาป และถึงแม้ว่าตอนนี้เวลาจะผ่านมานาน 40 ปีแล้ว
เราก็ยังไม่แน่ใจว่าเราได้ชดใช้กรรมที่เคยทำกับลูกแมวตัวนั้นไปหมดแล้วยัง
หรือว่าเรายังชดใช้กรรมไม่หมด มันเหมือนเรามี “นรกในใจ”
ที่คอยหลอกหลอนเรามาโดยตลอด 40 ปีที่ผ่านมา
เพราะฉะนั้น
ด้วยสาเหตุนี้ เราก็เลยอินกับ “อวสานเนตรนารี” มากกว่าผู้ชมคนอื่น ๆ เหมือนเราไม่ค่อยสนใจมุกตลกฝืดทางการเมืองในหนัง
เราพยายามจะไม่ใส่ใจกับการเมืองใดๆ ในหนังเรื่องนี้ เพราะเราอินกับ “นรก”
ที่คอยตามหลอกหลอนคนที่เคยกลั่นแกล้งแมว เราก็เลย approach หนังเรื่องนี้โดยผ่านทางความรู้สึกผิดบาปในใจเราเอง
แต่ถึงแม้ว่าเราจะอินกับ
“กฎแห่งกรรม” ในหนังเรื่องนี้ เพราะเราเองก็อยู่กับนรกในใจเรามานาน 40 ปี
แต่เราว่า “กฎแห่งกรรม” ในหนังเรื่องนี้มันดู “ทื่อ ๆ ตรง ๆ” มาก ๆ น่ะ
มันเหมือนกลายเป็นว่า “กฎแห่งกรรม” ในหนังเรื่องนี้ มันไปจำกัด potential ต่าง ๆ ในการที่จะเล่นสนุกกับแดนสนธยาในหนังเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
เพราะฉะนั้นตอนที่เราดู
THE BOY AND THE HERON เราก็เลยรู้สึกว่า หนังของ Miyazaki
เรื่องนี้ อาจจะใช้เป็นตัวอย่างนึงในการอธิบายได้ว่า จริง ๆ
แล้วเราอยากให้ “อวสานเนตรนารี” ออกมาเป็นอย่างไร 55555
คือตอนที่เราดู
“อวสานเนตรนารี” นั้น เราอยากให้หนังเรื่องนี้ตัดมุกตลกฝืด ๆ
ทางการเมืองทิ้งไปให้หมดเลย ไม่ต้องเป็นการเมืองเลยก็ได้ แล้วหันมานำเสนอ “แดนสนธยา/ค่ายลูกเสือ”
ที่เต็มไปด้วยอะไรพิสดาร และบางส่วนของมัน ก็อาจจะสะท้อน guilt หรือนรกในใจต่าง ๆ ของคนแบบเรา คนที่เคยกลั่นแกล้งแมว/จิ้งจก/หอยทาก
ในวัยเด็ก แล้วก็ยังคงถูกหลอกหลอนด้วยความรู้สึกผิดบาปในใจมาเป็นเวลานาน 40 ปีแล้ว
แต่สิ่งที่สำคัญก็คือว่า แดนสนธยา ในหนัง ไม่ควรจะถูกครอบงำหรือถูกอธิบายได้ง่าย ๆ
ด้วยกฎแห่งกรรมเพียงเท่านั้น แต่ควรจะสะท้อนอะไรต่าง ๆ มากมายในส่วนอื่น ๆ
ของจิตใจมนุษย์ หรือไม่จำเป็นจะต้องสะท้อนอะไรที่มีความหมายใด ๆ ก็ได้ เป็นแดนสนธยาที่มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเอง
โดยไม่จำเป็นจะต้องมีความหมายใด ๆ กับมนุษย์หรือตัวละครก็ได้ เพราะมนุษย์แต่ละคนไม่ได้เป็นจุดศูนย์กลางของโลกอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นแดนสนธยาในหนัง ก็ไม่จำเป็นจะต้องเต็มไปด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่ให้ “ตัวละครเอก”
เป็นจุดศูนย์กลางสำคัญด้วย
เราก็เลยรู้สึกว่า
นี่แหละคือหนังในจินตนาการที่เราอยากได้ หนังที่นำเสนอตัวละครที่มีปมในใจเพราะเคยกลั่นแกล้งสัตว์
คล้าย ๆ ตัวละครใน “อวสานเนตรนารี” แต่ตัวหนังนำเสนอปม guilt ต่าง ๆ ออกมาในแบบ THE BOY AND THE HERON
และนำเสนอโลกจินตนาการแบบ ALICE’S ADVENTURES IN WONDERLAND และเต็มไปด้วยฉากต่าง
ๆ ที่ไม่จำเป็นจะต้องมีความหมาย แต่ทรงพลังด้วยภาพ/เสียง/การตัดต่อ/การเรียงร้อย/ความงาม
แบบหนังอย่าง EDEN AND AFTER (1970, Alain Robbe-Grillet) 55555
No comments:
Post a Comment