Monday, January 22, 2024

RURAL HEAVEN GOGGORG THE CULTURE ONSON ISAN

 

FILMS SEEN IN THE THIRD WEEK OF THE YEAR 2024

 

15-21 JAN 2024

 

In roughly preferential order

 

1.EVANGELION: 2.22 YOU CAN (NOT) ADVANCE (2009, Hirashi Haraguchi, Masayuki, Kazuya Tsurumaki, Japan, animation, A+30)

 

2.EVANGELION: 1.11 YOU ARE (NOT) ALONE (2007, Hirashi Haraguchi, Masayuki, Kazuya Tsurumaki, Japan, animation, A+30)

 

พอดู EVANGELION ครบทั้ง 4 ภาค ก็เลยทำให้เข้าใจหนังเรื่อง THE POWER OF ANIME (2023, Pimpitchaya Rungphisitchai, documentary, A30) มากขึ้นไปอีก เพราะถ้าหากเราจำไม่ผิด ในหนังเรื่อง THE POWER OF ANIME นั้น ผู้ให้สัมภาษณ์บอกว่า ละครอะนิเมะเรื่อง NEON GENESIS EVANGELION (1995-1996, Hideaki Anno) มีความสำคัญอย่างสุด ๆ ในการทำให้กระแสอะนิเมะได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น เพราะเหมือนละครเรื่องนี้ยกระดับอะนิเมะแนวหุ่นยนต์ต่อสู้ขึ้นไปถึงระดับ “การตั้งคำถามต่อจิตวิญญาณของมนุษย์” หรือถึงระดับ “ปรัชญา” อะไรทำนองนี้

 

ซึ่งเราก็ไม่เคยดู NEON GENESIS EVANGELION มาก่อนเลย และไม่เคยอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นแนวนี้มาก่อนด้วย เราเคยอ่านแต่การ์ตูนญี่ปุ่นแนวหญิงสาวตาหวานเท่านั้น แต่พอเราได้ดู EVANGELION เวอร์ชั่นภาพยนตร์ครบทั้ง 4 ภาค เราก็รู้สึกว่าสิ่งที่ผู้ให้สัมภาษณ์ใน THE POWER OF ANIME พูด น่าจะเป็นความจริง เหมือนหนังชุดนี้มันไปไกลกว่าหนัง/ละครแนวหุ่นยนต์ต่อสู้เรื่องอื่น ๆ ที่เราเคยดูมา แต่จริง ๆ แล้วเราก็เคยดูหนัง/ละครแนวนี้แค่ไม่กี่เรื่องเท่านั้นแหละ เหมือนในบรรดาหนังกลุ่มนี้ เราเคยดูแค่ “คู่แฝดอภินิหาร” (YATTAMAN (1977-1979, TV series A+30)), TRANSFORMERS สองภาคแรก,  CHAPPIE (2015, Neill Blomkamp, A+30), GRIDMAN UNIVERSE (2023, Akira Amemiya, animation, A+30), etc. เท่านั้นมั้ง 555

 

3.SON OF RAMSES (2022, Clément Cogitore, France, A+30)

 

ยอมรับว่าเป็นหนังที่ disturbing เรามากพอสมควร เพราะหนังเรื่องนี้นำเสนอตัวละครกลุ่มนึงที่เป็นกลุ่มวัยรุ่นที่ประกอบอาชญากรรมเลวร้ายในฝรั่งเศส ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็ทำร้ายยามผู้บริสุทธิ์จนถึงแก่ความตายด้วย (ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด) เพราะฉะนั้นตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยย่อมต้องนึกถึงคดีของคุณบัวผัน (ไม่อยากเรียก “ป้า” เพราะเขาอายุน้อยกว่าเราอีก) ที่ถูกกลุ่มวัยรุ่นไทย 5 คนทำร้ายจนถึงแก่ความตาย และคิดถึงคดีฆาตกรรมโหดคุณสุวรรณี สุคนธาขณะไปจ่ายตลาดโดยฝีมือของวัยรุ่น 2 คนในปี 1984 ด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในคดีที่สะเทือนขวัญเรามากที่สุดตอนที่เรายังเป็นเด็ก

 

เพราะฉะนั้นตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยต้องพยายามแยกแยะในหัวเราให้ได้ว่า ตัวละครในหนังไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับคดีคุณบัวผันหรือคดีคุณสุวรรณี สุคนธา เราต้องยอมรับความจริงของตัวละครในหนังและอย่าเอามันมาปะปนกับเรื่องอื่น ๆ

 

เพราะฉะนั้นในแง่นึงเราก็เลยชื่นชมหนังเรื่องนี้นะ เพราะ SON OF RAMSES ค่อนข้างมองตัวละครแก๊งอาชญากรวัยรุ่นอย่างค่อนข้างเห็นอกเห็นใจและพยายามจะทำความเข้าใจ ซึ่งเราว่ามันเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก และหนังก็ทำออกมาได้ดีเลยแหละ

 

4.ANNA KARENINA (2012, Joe Wright, UK, A+30)

 

5.THE BLOOD OF SUPHAN เลือดสุพรรณ (1979, Cherd Songsri, A+30)

 

6.ULTRA MUNTRA อุลตรามุนตรา (2022, Patthanon Pongsiriphawat พัทธนนท์ พงษ์ศิริภาวัฒน์, 20min, A+30)

 

7.THE BEEKEEPER (2024, David Ayer, A+30)

 

8.CHINATOWN CHA CHA (2024, Jaturong Polboon, A+10)

 

9.ELEVATOR GAME (2023, Rebekah McKendry, horror, A+)

 

10.THE ELITE OF DEVILS หม่อม (2024, Artistaya Arriyawongsa, Theerakhahathep Arriyawongsa, A-)

 

11.สวรรค์บ้านนอก กกกอก THE CULTURE ออนซอนอีสาน (2024, Somyot Srisomboon, C- )

 

สรุปว่า ใน 3 สัปดาห์แรกของปี 2024 เราดูหนังไปแล้ว 37+11 = 48 เรื่อง

 -----------

Film Wish List: FAVORITEN (2024, Ruth Beckermann)  ในเทศกาลหนังเบอร์ลินปีนี้

 

Ruth Beckermann คือผู้กำกับ MUTZENBACHER (2022, Austria, documentary) ซึ่งถือเป็นหนังที่เราชื่นชอบมากที่สุดที่ได้ดูในปี 2022

 

Film Wish List: HANDS IN THE FIRE (2024, Margarida Gil, Portugal) ในเทศกาลหนังเบอร์ลินปีนี้

 

Margarida Gil เคยกำกับ ADRIANA (2004, A+30) ที่เคยมาฉายในเทศกาล World Film Festival of Bangkok

 

Film Wish List: FOREIGN LANGUAGE (2024, Claire Burger, France) ที่เข้าชิงรางวัลหมีทองคำในเทศกาลหนังเบอร์ลินปีนี้

 

Claire Burger เคยกำกับ PARTY GIRL (2014, Marie Amachoukeli, Claire Burger, Samuel Theis)  ซึ่งถือเป็นหนังที่เราชื่นชอบมากที่สุดที่ได้ดูในปี 2016 นอกจากนี้ FOREIGN LANGUAGE ยังมี Nina Hoss กับ Chiara Mastroianni ร่วมนำแสดงด้วย

 ------------

ค้นพบว่าเราเคยดูหนังของ John Cassavetes มาแล้วตั้งแต่เด็ก ๆ แต่เป็นหนังสยองขวัญที่เขานำแสดง ไม่ใช่หนังที่เขากำกับแต่อย่างใด โดยหนังเรื่องนั้นก็คือ THE INCUBUS (1981, John Hough, Canada) ที่เราเคยดูในรายการ Big Cinema ทางช่อง 7 ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ถ้าหากเราจำไม่ผิด สงสัยว่า John Cassavetes ยอมรับเล่นหนังพวกนี้เพื่อหาเงินไปกำกับหนังของตัวเองหรือเปล่า 55555

 ---------------

เพิ่งสังเกตว่าโปสเตอร์หนัง 2 เรื่องนี้นำเสนอหญิงสาวที่ทำกิริยาเดียวกัน นั่นก็คือกำลังถอดหรือไม่ก็ใส่ถุงน่องสีดำ 5555 โดยเรื่องซ้ายคือ MARIA’S LOVERS (1984, Andrey Konchalovsky, A+30) และเรื่องขวาคือ “แต่งตัวไปฆ่า” หรือ DRESSED TO KILL (1980, Brian De Palma, A+30)

 

มีโปสเตอร์หนังเรื่องไหนอีกบ้างที่ทำออกมาคล้าย ๆ กันนี้

 ------------------

สวรรค์บ้านนอก กกกอก THE CULTURE ออนซอนอิสาน (2024, Somyot Srisomboon, C- ) หรือ ANTI-CINEMA สูงสุดคืนสู่สามัญ อะไรคือเส้นคั่นระหว่างหนังห่วยกับหนังทดลองที่งดงามคะ

 

1.เราได้ดูหนังเรื่องนี้ที่ SF เดอะมอลล์ บางแคในวันจันทร์ที่แล้ว ซึ่งมีเราดูอยู่คนเดียว ก็ต้องขอขอบคุณทาง SF มาก ๆ ที่ฉายให้เราดูคนเดียว

 

2.จริง ๆ แล้วเรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันไม่ใช่หนังดีนะ มันค่อนข้างน่าเบื่อเลยแหละ แต่เราก็ไม่ได้เกลียดชังหนังเรื่องนี้จนถึงขั้น F เพราะสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการแรกก็คือว่า เต๋า เศรษฐพงศ์ เพียงพอ และเบสท์ ภานพ พื้นพรหม หล่อน่ารักมาก ๆ เราก็เลยดูสองคนนี้ด้วยความเพลิดเพลิน โดยเฉพาะฉากที่เบสท์ ภานพ ร้องเพลง “ฝากใจไว้อิสาน” นี่ เราชอบในระดับ A+30 เลย เพราะเขาน่ารักจนเราละลายไปเลย
https://www.youtube.com/watch?v=aqu5yvNCc-o

 

3.ส่วนสาเหตุสำคัญประการที่สองก็คือว่า มันมีอะไรบางอย่างในหนังเรื่องนี้ที่เราคิดว่า มันเหมาะจะเอามาดัดแปลงใช้ใน “หนังทดลอง” น่ะ ซึ่งก็คือการที่หนังเรื่องนี้แทบไม่ได้เล่าเรื่องเลย แต่เป็นเหมือน “มิวสิควิดีโอ” ที่ตัวละครทำอะไรต่าง ๆ แล้วหนังก็เปิดเพลงประกอบไปเรื่อย ๆ คือถ้าหากหนังเรื่องนี้มันกล้าทิ้งเนื้อเรื่องไปเลย มันอาจจะออกมาดีกว่านี้ก็ได้ เพราะตัวเนื้อเรื่องของมันน่าเบื่อมาก เพราะมันดูซ้ำ ๆ กับหนังหลาย ๆ เรื่องที่ออกมาก่อนหน้านี้

 

เราก็เลยชอบบางฉากของหนังเรื่องนี้มาก ๆ ในแง่ของ “ไอเดีย” อย่างเช่น ฉากที่ให้ตัวละครร้องเพลงบนเวทีไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบเพลงเป็นจำนวน 2-3 เพลง คือฉากพวกนี้เราจะไม่ได้เห็นในหนังปกติน่ะ เพราะมัน “ไม่ทำให้เนื้อเรื่องเดินหน้า” เราจะเห็นฉากพวกนี้เฉพาะในหนังสารคดีคอนเสิร์ตเท่านั้น 55555

 

4.และฉากที่เราชอบสุดขีด ในแง่ของ “ไอเดีย” ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่ฉากที่ดี ก็คือฉากที่ให้เต๋า เศรษฐพงศ์ เพียงพอ เก็บผ้าปูที่นอนและมุ้งไปเรื่อย ๆ พร้อมกับเปิดเพลงประกอบจนจบเพลงประกอบไป 2 เพลง โดยที่ไม่มีเหตุการณ์อะไรอย่างอื่นเกิดขึ้น นอกจากเต๋าเก็บผ้าปูที่นอนกับมุ้งไปเรื่อย ๆ เป็นเวลายาวนานหลายนาที นึกว่าฉากนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก JEANNE DIELMAN, 23, QUAI DU COMMERCE, 1080 BRUXELLES (1975, Chantal Akerman, Belgium, A+30) 55555

 

5.เพราะฉะนั้น ถึงแม้เราจะรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้น่าเบื่อมาก เราก็ไม่ได้เกลียดมันถึงขั้น F เพราะการที่หนังเรื่องนี้มัน “แทบไม่ได้เล่าเรื่อง” ก็เลยไม่ได้ทำให้เราต้องรู้สึกเบื่อหน่ายกับเนื้อเรื่องอันซ้ำซากและไม่สร้างสรรค์ของมัน แต่น่าเสียดายที่ว่า ฉาก MUSIC VIDEO ต่าง ๆ ของหนังเรื่องนี้ มันขาดพลังความ cinematic หรือถ้าหากมันไม่เน้นความ cinematic แต่ไปเน้นความสมจริงแบบบ้าน ๆ มันก็อาจจะยังออกมาดูน่าสนใจได้ แต่มันก็ไม่ค่อยมีความสมจริงของชีวิตชาวบ้านอยู่ในฉาก MV ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นฉาก music video ต่าง ๆ ในหนังเรื่องนี้ส่วนใหญ่แล้วก็เลยออกมาดูน่าเบื่อมากอยู่ดี

 

6. อย่างไรก็ดี เราก็รู้สึกว่า จริง ๆ แล้วหนังเรื่องนี้มันมีความ radical โดยไม่ได้ตั้งใจอยู่นะ เพราะการที่หนังมันทำตัวเป็น music video มาต่อ ๆ กันโดยแทบไม่ได้เล่าเรื่องเนี่ย มันก็เป็นอะไรที่สุดขั้วเหมือนกัน

 

เพราะฉะนั้นตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยรู้สึกเสียดายความ radical ของมัน เพราะถ้าหากหนังมันรักษาความ radical แบบนี้เอาไว้ เน้นนำเสนอเพลงอีสานหลากหลายเพลง แล้วทำแต่ละฉากให้ออกมาดูดีมีพลังแบบ cinematic หรือไม่ก็สะท้อนความเป็นจริงของอีสานและชีวิตชาวอีสาน หรือชีวิตชาวมุกดาหาร ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวมุกดาหารไปเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องเน้นการเล่าเรื่องอะไรอีกต่อไป หนังมันก็อาจจะออกมาเข้าทางเราก็ได้ แล้วเราก็อาจจะได้หนังไทยอีกเรื่องที่มีความ radical ที่สามารถเทียบเคียงได้กับ

 

6.1 THE SONGS OF RICE (2014, Uruphong Raksasad, 75min)

 

6.2 THE EIGHTIES (1983, Chantal Akerman, Belgium, 82min) ที่แทบไม่มีเนื้อเรื่องเลย เป็นบันทึกคนต่าง ๆ ขณะซ้อมร้องเพลงในห้องอัดเสียงไปเรื่อย ๆ

 

6.3 THE CHRONICLE OF ANNA MAGDALENA BACH (1968, Daniele Huillet, Jean-Marie Straub, West Germany, 94min) ที่ให้ตัวละครเล่นเปียโนเพลงต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ เกือบตลอดทั้งเรื่อง

 

แต่น่าเสียดายที่หนังเรื่องนี้อาจจะมีความ radical เหมือนกับหนังทดลอง/หนังไม่เล่าเรื่องที่เราชอบก็จริง แต่มันขาดองค์ประกอบอื่น ๆ ของหนังทดลองที่เราชอบอยู่ด้วย

 

7. ต่อไปนี้เป็นบันทึกความรู้สึกของเราที่มีต่อหนังไทยอื่น ๆ อีกหลาย ๆ เรื่องที่เรารู้สึกว่า “ห่วย” หรือ “เราไม่ชอบ” ซึ่งบางอย่างที่เราพูดถึงอาจจะไม่ได้มีปรากฏอยู่ใน “สวรรค์บ้านนอก กกกอก THE CULTURE ออนซอนอิสาน” แต่อย่างใด แต่มีปรากฏอยู่ในหนังไทยเรื่องอื่น ๆ

 

คือบางทีเราก็รู้สึกเห็นด้วยกับความเชื่อที่ว่า “มันมีเส้นคั่นบาง ๆ ระหว่าง อัจฉริยะ กับคนบ้า”

 

และบางทีเราก็รู้สึกว่า “มันมีอะไรบางอย่างที่พ้องกันโดยไม่ได้ตั้งใจ ระหว่างหนังห่วย  กับหนังทดลองที่ดีงามมาก ๆ” 55555

 

คือพอเราดู “หนังห่วย” โดยเฉพาะหนังไทยหลาย ๆ เรื่องที่เราขี้เกียจเอ่ยชื่อถึง เพราะเราไม่อยากจะจดจำมัน เราก็พบว่า จริง ๆ แล้วหนังห่วย ๆ ที่เราเกลียดชัง กับ หนังทดลองที่เราชอบสุดขีด มันก็มีลักษณะอะไรบางอย่างพ้องกันโดยไม่ได้ตั้งใจน่ะ อย่างเช่น

 

7.1 การ “แหกกฎเกณฑ์ต่าง ๆ” ของหนังดีแบบสูตรสำเร็จ การทำอะไรต่าง ๆ ที่แปลกประหลาดพิสดาร ไม่สามารถพบเห็นได้ใน หนัง standard narrative โดยทั่วไป ผู้สร้างหนังมีความกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก เป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่

 

7.2 การเล่าเรื่องแล้วออกมาดูไม่รู้เรื่องอะไรอีกต่อไป

 

7.3 การเล่าเรื่องแบบไม่ปะติดปะต่อ

 

7.4 การแสดงที่เน้นความไม่สมจริง

 

7.5 การทำให้ผู้ชมต้องตั้งคำถามว่า “ฉากนี้ใส่เข้ามาเพื่ออะไร”

 

7.6 การตั้งคำถามต่อ “ตรรกะ” และ “เหตุผล” ต่าง ๆ

 

7.7 การเชื่อมฉากแต่ละฉากเข้าด้วยกัน โดยไม่เน้นความต่อเนื่อง แต่กระตุ้นความคิดผู้ชมว่า แต่ละฉากมันเชื่อมกันด้วยสาเหตุใด

 

7.8 ความทุนต่ำ

 

แล้วมันก็เลยทำให้เราต้องตั้งคำถามว่า แล้วอะไรคือสาเหตุที่ทำให้หนังกลุ่มนึงออกมาดูแย่ กลายเป็นหนังห่วย หรือหนังที่เราไม่ชอบมาก ๆ แล้วอะไรคือสาเหตุที่ทำให้หนังอีกกลุ่มออกมาแล้วกลายเป็นหนังทดลองที่เราชอบอย่างสุดขีดมาก ๆ ทั้ง ๆ ที่มันมีองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างพ้องกัน

 

ซึ่งเราก็ตอบคำถามนี้ไม่ได้ 100% นะ แต่คิดว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้หนังบางเรื่องออกมาเป็นหนังทดลองที่เราชอบสุดขีด อาจจะเป็นเพราะว่า ผู้กำกับ “รู้ตัว” และ “จงใจ” ทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมั้ง ทั้งความไม่สนหีสนแตดกฎเกณฑ์ในการทำหนังดี, ความไม่สนหีสนแตดกฎเกณฑ์ในการเล่าเรื่อง, การจงใจเล่าเรื่องแบบไม่ปะติดปะต่อ, การจงใจกระตุ้นความคิดผู้ชมผ่านทางการตัดต่อระหว่างฉาก, ผ่านทางความผิดที่ผิดทาง, ผ่านทางการทำลายหรือพลิกแพลงตรรกะและเหตุผลต่าง ๆ, การนำเสนอมุมมองที่ไม่เหมือนหนังทั่ว ๆ ไป, การจงใจใช้การแสดงที่ไม่สมจริง, การจงใจใช้ทุนสมอง มากกว่าการใช้เงินทุน, ความละเมียดละไมใส่ใจในทุกองค์ประกอบของหนัง, การตระหนักรู้ว่าพลังของหนังไม่จำเป็นต้องเกิดจาก “เนื้อเรื่อง” เสมอไป แต่เกิดจากอะไรอื่นๆ อีกมากมายในหนังก็ได้, etc.

 

ก็เลยอยากถามเพื่อน ๆ ว่า เพื่อน ๆ เคยรู้สึกแบบเดียวกับเราบ้างมั้ย ว่าในหนังห่วย ๆ บางเรื่อง จริง ๆ แล้วมันมีไอเดียที่น่าสนใจหรือดูเหมือนจะเข้าท่าแอบซ่อนอยู่ในหนังด้วยเหมือนกัน เพียงแต่มันไม่ถูกนำมาใช้อย่าง “รู้ตัว”

 

หรือเพื่อน ๆ มีคำตอบอะไรอื่น ๆ อีกบ้างไหม ที่สามารถใช้แยกแยะระหว่างหนังห่วยกับหนังทดลองที่ดี ๆ ได้ ทั้ง ๆ ที่บางทีหนังสองกลุ่มนี้มันอาจจะมีลักษณะบางอย่างคล้ายกัน

 

 

No comments: