Favorite Music Video: BRAINS – Lower Dens (2012, Tristan Patterson, A+30) เจอ MV เพลงนี้โดยบังเอิญ เห็น “อารมณ์หน้า” ของนักร้องแล้วนึกถึง เอม ภูมิภัทร ถาวรศิริมาก ๆ 55555 สิ่งแรกที่ทำหลังจากดู MV จบคือ search ว่า นักร้องเป็นเพศอะไร เพราะเราดูไม่ออกว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ฟังจากเสียงร้องก็แยกไม่ออก ปรากฏว่า Jana Hunter มีเพศกำเนิดเป็นหญิง แต่ต้องการให้ใช้สรรพนามว่า he และบอกว่าตัวเองเป็น non-binary และ transmasculine
เสียดายที่ Lower Dens ยุบวงไปแล้วในปี
2021 เพราะว่าทางวงไม่สามารถทน music industry ได้อีกต่อไป
ซึ่งก็ไม่ประหลาดใจ คือดูจากอารมณ์หน้าของนักร้องใน MV เพลงนี้แล้วก็สัมผัสได้ในทันทีว่า
เขาคงไม่ใช่คนประเภทที่จะยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองได้เป็น superstar หรืออะไรทำนองนี้
https://www.youtube.com/watch?v=OyxzjF8IjE8
OUR GRIEF IS NOT A CRY FOR WAR (2003, Barbara Hammer, documentary,
4min, A+30)
HOSTAGE: THE BACHAR TAPES (2001, Walid Raad, Souheil Bachar,
Lebanon, documentary, 16min, A+30)
หนักที่สุด หนังสารคดีที่สัมภาษณ์ Souheil
Bachar ชายหนุ่มชาวอาหรับที่เคยถูกจับเป็นตัวประกันในเลบานอนในทศวรรษ
1980 และเขาเคยถูกขังรวมกับชายชาวอเมริกัน 5 คนในห้องขังเดียวกันเป็นเวลานาน 3
เดือน และเขาก็เปิดเผยถึงประสบการณ์ทางเพศขณะตกเป็นตัวประกันร่วมกับชาย 5 คนนั้นในเลบานอน
https://vimeo.com/showcase/10849108/video/892744165
Walid Raad เคยกำกับ THE DEAD WEIGHT OF A QUARREL HANGS (1999, Walid Ra’ad, Lebanon) ที่ดีงามมาก ๆ
DYKETACTICS (1974, Barbara Hammer, 4min, A+30)
เข้าใจแล้วว่าทำไม Barbara Hammer ถึงเป็นหนึ่งในผู้กำกับหนังเลสเบียนมือวางอันดับหนึ่งของโลก
(น่าจะเทียบเท่ากับ Ulrike Ottinger, Monika Treut และ
Céline Sciamma)
https://vimeo.com/showcase/10849301/video/524277305
WIND (1968, Joan Jonas, silent, 6min, A+30)
ดูแล้วนึกถึงภาพยนตร์ที่กำกับโดยคุณ Teerawat
Mulvilai (BLUE TERRITORY, THE BORDER TOWN) และภาพยนตร์ที่กำกับโดยคุณ
Nontawat Machai (BORDERLAND TALE) มาก ๆ ในแง่ของการนำ performance
art มาถ่ายทอดผ่านทางสื่อภาพยนตร์
ประทับใจมาก ๆ
ด้วยที่พบว่าหนังทดลองเรื่องนี้ได้รับการอนุรักษ์ไว้ด้วยเงินจาก George
Lucas Family Foundation เพราะก่อนหน้านี้เรามองแค่ว่า George
Lucas คือ “ผู้สร้างหนังเพื่อความบันเทิง” 5555 ไม่นึกว่านักสร้างภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงนี่แหละ
คือคนที่เอาเงินมาช่วยอุปถัมภ์ค้ำชูวงการหนังทดลอง (ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด)
https://vimeo.com/showcase/10849165/video/893074045
HANNAH WILKE THROUGH THE LARGE GLASS (1976, Hannah Wilke,
10min, A+30)
ทำไมดูแล้วนึกถึงเพื่อนกะเทยสมัยมัธยมมาก ๆ 555 หนังเรื่องนี้ให้ศิลปินสาวมาโพสท่าเป็นนางแบบอยู่หลังงานศิลปะของ
Marcel Duchamp ก่อนจะถอดเสื้อผ้าออก
เพิ่งรู้ว่า THE BRIDE STRIPPED BARE BY
HER BACHELORS, EVEN เป็นชื่อผลงานศิลปะของ Marcel Duchamp ก็เลยนึกถึงหนังเรื่อง VIRGIN STRIPPED BARE BY HER BACHELORS
(2000, Hong Sang-soo) ที่เรายังไม่ได้ดู แต่เดาว่าชื่อหนังของ Hong
Sang-soo นี่น่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Marcel Duchamp ใช่ไหม
https://vimeo.com/showcase/10849301/video/893160946
REFUSES (2006, Cheryl Donegan, silent, 5min, A+30)
นึกว่า “หนังหมอย” เป็นหนังสั้นที่ดูแล้วไม่ทราบชีวิตอะไรอีกต่อไป
ที่มาของหนังเรื่องนี้เริ่มต้นจาก
1.Carolee Schneemann สร้างหนังเรื่อง
FUSES (1964-1967, A+30)
2.Carolyn Bergdahl แต่งบทกวีชื่อ FUSES
(AFTER CAROLEE SCHNEEMANN) เพื่อสนทนากับภาพยนตร์ของคาโรลี
ชะนีมั่น
3.Cheryl Donegan สร้างภาพยนตร์เรื่อง
REFUSES เพื่อตอบรับโดยตรงต่อบทกวีของ Carolyn
Bergdahl
แต่เนื่องจากเราไม่เคยอ่านตัวบทกวีของ Carolyn
เราก็เลยจะงง ๆ ไม่รู้ว่าภาพแต่ละภาพใน REFUSES โดยเฉพาะภาพหมอย หมอย หมอย หมอย หมอย มันเป็นการตอบรับต่อตัวบทกวีอะไรยังไง
55555 แต่ดูแล้วเพลิดเพลินมาก และหนังเรื่อง REFUSES นี้ก็ยังคงเหมือนสานต่อการแสดงออกทางเพศอะไรบางอย่างต่อมาจากหนังเรื่อง
FUSES
ดูหนังเรื่อง REFUSES ในวันนี้เป็นวันสุดท้ายได้ที่
https://vimeo.com/showcase/10849301/video/287328453
จริง ๆ แล้วเราชอบการเล่นเกม “พรายกระซิบ”
ทางศิลปะแบบนี้มาก ๆ ที่เหมือนอะไรอย่างนึงสร้างแรงบันดาลใจต่ออะไรอีกอย่างนึง
แล้วมันก็ส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ไปเรื่อย ๆ พร้อมกับแปรสภาพบิดผันไปเรื่อย
ๆ คล้าย ๆ กับหนังเรื่อง MYSTERIOUS OBJECT AT NOON (2000, Apichatpong Weerasethakul)
ที่ให้คนแต่งเรื่องต่อกันไปเรื่อย ๆ หรือโครงการศิลปะ SHE IS
READING NEWSPAPER (2008-2009) ที่มีอยู่ 7 ขั้นตอนด้วยกัน
จำได้ว่าเราประทับใจโครงการนั้นของทศพล
บุญสินสุขมาก ๆ ก็เลยขอเล่าถึงโครงการนี้คร่าว ๆ อีกครั้งดังต่อไปนี้
1.ขั้นตอนแรกคือทศพลสร้างหนังสั้นเรื่อง SHE
IS READING NEWSPAPER (2005, Tossapol Boonsinsukh, short film, A+30) ที่เกียวกับผู้คนที่ส่งต่อความรู้สึกให้แก่กันและกันโดยไม่ได้ตั้งใจ
ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้จักกัน เพียงแต่นั่งอยู่ในร้านอาหารเดียวกัน
2.Pichit Trairutsakul (Tim, the drummer) และ
Pinyo Limpongsathorn (Yo, the guitarist) สร้างดนตรีเสียงกลองและกีตาร์ โดยตัวดนตรีดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสั้นในข้อหนึ่ง
3.Tanapol Virulhakul สร้างงาน performance art ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดนตรีในข้อสอง
4.Patavee Viranuvat และ Tip-apa Songsettakit สร้างผลงานดนตรีเสียงเปียโนที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก
performance art ในข้อสาม
(Patavee is also a short film director. He
directed TAKESHI (2005) )
5.Theepisit Mahaneeranon เขียนบทกวีที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเสียงดนตรีในข้อ
4
(Theepisit directed some short films, including
CLOUD (2008) and CENSORSHIT! FATHER AND SON (2007).)
6.Wanweaw Hongwiwat เขียนการ์ตูนที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ Theepisit
(Wanweaw is also a film director. Her films
include APPLICATION (2007))
7.Muttana Cheuweerachon (Neung) อ่านการ์ตูนของวรรณแวว
แล้วก็ทำอาหารให้ทศพลกิน
ก็เลยถือเป็นโครงการศิลปะ 7 ขั้นตอนที่เราประทับใจมาก ๆ
ซึ่งในตอนแรกนั้น ทุก ๆขั้นตอนมีให้เราดูทาง youtube และในบล็อกของคุณทศพล
แต่ตอนนี้มันเหมือนถูกลบไปหมดแล้ว เสียดายมาก ๆ
อันนี้เป็น
blog ของเราที่เคยลงเรื่องนี้ไว้ในปี 2009
https://celinejulie.blogspot.com/2009/05/art-inspired-by-art.html
สรุปว่าพอเราดูหนังเรื่อง REFUSES เราก็เลยนึกถึงโครงการศิลปะของคุณทศพลในปี 2009 ขึ้นมา ไม่รู้เหมือนกันว่าในช่วงที่ผ่านมามีโครงการศิลปะอะไรแบบนี้อีกบ้างไหม
No comments:
Post a Comment