Sunday, January 07, 2024

KACHUA MEE PEEK

 

Film Wish List: EARTH MAMA (2023, Savannah Leaf) ชอบ font ตัวอักษรบนโปสเตอร์มาก ๆ

+++

พอเราได้ดู RENAISSANCE: A FILM BY BEYONCÉ (2023, Beyoncé, Ed Burke, documentary, 169min, A+30) แล้วก็พบว่า มีบางช่วงของ concert ที่คงได้รับแรงบันดาลใจมาจาก METROPOLIS (1927, Fritz Lang, Germany) นั่นแหละ ก็เลยรู้สึกว่า METROPOLIS ของ Fritz Lang นี่มันอมตะนิรันดร์กาลจริง ๆ เพราะหนังเรื่องนี้มันมีอายุเกือบ 100 ปีแล้ว แต่มันก็ยังคงส่งผลกระทบต่อ pop culture ในปัจจุบัน

 

เสียดายที่เราไม่ได้ดู WOMAN IN THE MOON (1929, Fritz Lang) เราก็เลยไม่รู้ว่าในคอนเสิร์ตของ Beyoncé นั้น มี visual บางอันที่ได้รับอิทธิพลจาก WOMAN IN THE MOON ด้วยหรือเปล่า

 

พอพูดถึง METROPOLIS แล้ว เราก็สงสัยว่าตัวละคร Lady Armaroid ในการ์ตูนเรื่อง COBRA (1978-1984, Buich Terasawa) นี่ ก็ได้รับอิทธิพลมาจาก METROPOLIS ด้วยใช่ไหม

 

พอเราได้ดูหนังเรื่อง SIMULANT (2023, April Mullen, Canada) ในปีที่แล้ว เราก็รู้สึกว่าตัวละครหุ่นยนต์สาวใช้ใน SIMULANT นี่ก็น่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Maria ใน METROPOLIS ด้วยเช่นกัน

+++

 

กะจั๊วมีปีก  (2022, ไวรัณชน์ อัครวิเนค, 60min, A+30)

KACHUA MEE PEEK (2022, Wairun Akarawinake)

 

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=E2qiMyikvKM&t=20s

 

SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

1.เป็นหนังปี 2023 ที่เราเพิ่งได้ดูในวันที่ 6 ม.ค. 2024  พอได้ดูแล้วก็ร้องห่มร้องไห้หนักมาก ถือเป็นหนังเรื่องแรกของปีนี้ที่ทำให้เราร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง และมีสิทธิติดอันดับ 1 หรือไม่ก็ TOP 5 ของเราในลิสท์ MOST FAVORITE THAI FILMS (WHICH ARE LONGER THAN 30 MINUTES) ของเราประจำปี 2024 (เวลาเราจัดอันดับหนังประจำปี เราแบ่งหนังออกเป็น 7 กลุ่ม และอันดับ 1 ของแต่ละกลุ่มก็ถือเป็นอันดับหนึ่งประจำปีของเราเท่า ๆ กัน และหนังเรื่องกะจั๊วมีปีก ก็ถือเป็นหนังในกลุ่ม “หนังไทยที่มีความยาวเกิน 30 นาที” ในการจัดประเภทของเรา)

 

2.เหมือนเป็นหนังที่ทำออกมาเพื่อเราจริง ๆ เพราะหนังเรื่องนี้เข้าเกณฑ์สำคัญของเรา 5 ข้อ ซึ่งก็คือ

 

2.1 นางเอกไม่ใช่ “สาวสวยน่ารัก” ที่มีหนุ่ม ๆ มาจีบ, มาตกหลุมรักเมื่อแรกเห็น อะไรทำนองนี้ เพราะเราจะไม่อินกับนางเอกที่เป็นสาวสวยน่ารักที่ผู้ชายชอบ

 

2.2 พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ในแบบที่ทั้งซึ้งและเจ็บปวด

 

2.3 พูดถึงชีวิตวัยมัธยม เพราะอย่างที่เราเคยเขียนไปแล้วบ่อย ๆ ว่า สิ่งที่เราต้องการที่สุดในชีวิต ก็คือการตื่นนอนขึ้นมา แล้วพบว่าตัวเองได้ย้อนกลับไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ในปี 1989 อีกครั้ง เพราะปี 1989 ถือเป็นปีที่เรามีความสุขที่สุดในชีวิต มันคือตอนที่เราอยู่ม.4 ขึ้นม.5 มันคือปีสุดท้ายหรือเกือบสุดท้ายในชีวิตมัธยมของเรา (ชีวิตม.5 ของเราสิ้นสุดในเดือนมี.ค. 1990 ก่อนที่เราจะสอบเอ็นทรานซ์ติดคณะบัญชี ในยุคที่มีการสอบเทียบกัน)

 

คือตอนนี้เวลาผ่านมานาน 35 ปีแล้ว แต่เราก็ยังคงจำความสุขในปี 1989 ได้ไม่มีวันลืม เรายังคงฟังเพลงในปี 1989 คิดถึงแต่ช่วงเวลาในปี 1989 อยากให้ปี 1990-2023 ที่ผ่านมา เป็นเพียงแค่ “ฝันไป” อยากให้เราลืมตาตื่นขึ้นมาตอนเช้า แล้วก็พบว่าตัวเองอยู่ในปี 1989 อีกครั้ง เรายังอายุแค่ 16 ปี ส่วนช่วงเวลาที่เราอายุ 17-50 ปีนั้น ไม่ใช่ความจริง เป็นเพียงแค่ความฝัน

 

2.4 นางเอกมีปัญหากับครอบครัวอย่างรุนแรง

 

2.5 นางเอกเป็นฝ่ายที่พยายามจะสารภาพรักผู้ชาย ไม่ใช่ฝ่ายที่ผู้ชายมาสารภาพรัก เพราะอันนี้ก็นึกถึงตัวเราเอง ที่เคยสารภาพรักผู้ชายเหมือนกัน

 

ปัจจัย 5 ข้อข้างต้นก็เลยทำให้เราอินกับหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงสุดขีดมาก ๆ

 

3.เราชอบที่หนังนำเสนอปัญหาชีวิตของนางเอกในหลาย ๆ ด้านภายในเวลาเพียงแค่วันเดียว คือนางเอกเผชิญกับปัญหา

 

3.1 แม่ไม่สนับสนุนให้ยึดการถ่ายรูปเป็นงานหลัก

 

3.2 นางเอกเข้ากับเพื่อนไม่ค่อยได้ มีเพื่อนสนิทเพียงคนเดียว

 

3.3 เราไม่แน่ใจเรื่องฐานะการเงินของนางเอกนะ แต่เราเข้าใจว่า การที่นางเอกต้องยืมกล้องถ่ายรูปของเพื่อนมาใช้ มันน่าจะบ่งชี้เป็นนัย ๆ ว่า บ้านนางเอกไม่ได้รวยนักหรือเปล่า ไม่งั้นนางเอกน่าจะซื้อกล้องถ่ายรูปมาใช้เองแล้ว (อันนี้ก็ทำให้นึกถึงตัวเรา เพราะเราเป็นหนึ่งในคนที่จนที่สุดในโรงเรียนมัธยมที่เราเรียน)

 

3.4 พ่อกับแม่นางเอกทะเลาะกันอย่างรุนแรง

 

3.5 นางเอกไม่ค่อยสนิทกับน้องชาย ในขณะที่น้องชายก็มีปัญหากับเพื่อน ๆ เหมือนกัน

 

3.6 นางเอกรักเพื่อนหนุ่ม แต่เพื่อนหนุ่มไม่รับรักตอบ

 

เราชอบมาก ๆ ด้วยที่ตัวละครเพื่อนหนุ่มที่นางเอกหลงรัก ไม่ใช่ “นักกีฬาหนุ่มหล่อ popular ประจำโรงเรียน” แบบที่หนังมัธยมเรื่องอื่น ๆ ชอบทำกัน แต่เป็นหนุ่มน่ารักที่ดูเป็น boys next door มาก ๆ

 

3.7 นางเอกก็มีความนิสัยเหี้ยเป็นของตัวเอง เพราะเธอผิดหวังจากความรัก เธอเลยไปโทษ “พรีม” ที่แนะให้เธอสารภาพรัก ทั้ง ๆ ที่มันไม่ใช่ความผิดของพรีม

 

เราชอบมาก ๆ ที่หนังนำเสนอ “ปัญหารอบด้านในชีวิตของนางเอก” แทนที่จะนำเสนอแค่ปัญหาเดียว เพราะเรารู้สึกว่านี่แหละคือชีวิตจริงของเรา เจอทั้งปัญหาสุขภาพ, ปัญหาไม่มีผัว, ปัญหาความยากจน, ปัญหาครอบครัว, ปัญหาการเมือง, ปัญหาการทำงาน etc. เหี้ยห่า ประดังประเดเข้ามาในเวลาเดียวกัน เหมือนชีวิตเรามันไม่ได้เจอแค่ปัญหาเดียวที่ต้องแก้ไข แต่มันเหมือนถูกตบจากทุกทิศทางในเวลาเดียวกัน และมันก็เลยทำให้เราคิดที่จะฆ่าตัวตายบ่อยครั้งมาก ๆ

 

เราก็เลยชอบฉากที่นางเอกคุยโทรศัพท์กับแม่มาก ๆ คือเราอินมาก ๆ ในฉากนี้ เพราะในตอนนั้นนางเอกต้องรับมือกับทั้ง ความผิดหวังจากความรัก, ความน้อยเนื้อต่ำใจที่ผู้ชายไม่รัก, ความนิสัยเหี้ยของตัวเอง ไปโทษเพื่อน ไปโกรธเพื่อน ทั้ง ๆ ที่เพื่อนรักและหวังดีกับเรา, การทะเลาะกับเพื่อนที่ดีที่สุด, การที่เราติดหนี้บุญคุณเพื่อนคนนั้น ซึ่งเป็นเจ้าของกล้อง, แม่ก็ทะเลาะกับพ่ออย่างรุนแรง ซึ่งนางเอกก็ไม่รู้จะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร

 

คือเหมือนในฉากนั้นนางเอกเจอทั้งปัญหาความเหี้ยในครอบครัว, ความผิดหวังจากความรัก, ความเหี้ยของตัวเอง และการทะเลาะกับเพื่อนใน moment เดียวกัน เราก็เลยรู้สึกว่า “จิตใจ” ของนางเอกในฉากนั้นมันต้องหนักสุดขีดน่ะ ทำไมทุกอย่างต้องมาประดังประเดเข้ามาในเวลาเดียวกันวะ เหมือนโลกจะแตก แล้วอนาคตของกูจะเป็นอย่างไรวะ กูจะเหลือเพื่อนไหมในชีวิตนี้, ผู้ชายก็ไม่เอากู, ครอบครัวก็ไม่ใช่ safe zone, แล้วกูก็รู้สึกผิดกับความเหี้ยของตัวเองมาก ๆ ,  etc. เราก็เลยรู้สึกว่าฉากนั้นมันสะท้อนสิ่งที่เราเคยเผชิญมาในชีวิตจริงได้ดีมาก ๆ คือเราอาจจะไม่ได้เผชิญกับปัญหาที่เหมือนกับนางเอกแบบ 100% แต่ “ความทุกข์ทางใจ” ของนางเอกในฉากนั้น มันทำให้เรานึกถึงสิ่งที่เราเคยเผชิญมามาก ๆ

 

4.ฉากจบนี่ก็งดงามที่สุด ยกให้เป็น one of my most favorite endings in Thai films เคียงข้างกับตอนจบของ SOLIDS BY THE SEASHORE (2023, Patiparn Boontarig) และ GOD’S FAVORITE สวรรค์บ่ออนซอน (2023, Metas Usaha, 68min, A+30) เลย

 

เราชอบสุด ๆ ที่ในฉากจบของหนังเรื่องนี้ นางเอกพยายามฝืนยิ้มต่อหน้ากล้อง แต่พอฝืนยิ้มเสร็จแล้ว นางเอกก็หุบยิ้ม และเราก็เหมือนจินตนาการได้เองว่า นางเอกคิดอะไรอยู่ในใจในตอนนั้น เธอคงคิดถึงชีวิตของตัวเอง, อนาคตของตัวเอง, แม่กับพ่อก็ทะเลาะกันอย่างรุนแรง และอาจจะหย่ากัน และแม่ก็ไม่สนับสนุนให้เธอยึดการถ่ายรูปเป็นงานหลักอีก คือเหมือนอนาคตของนางเอกหลังจบจากโรงเรียนนี้ มันดูอึมครึม, ไม่แน่นอน, ไม่สดใสมาก ๆ แต่เธอก็คงทำอะไรไม่ได้ นอกจากยอมรับความจริงอันโหดร้ายของชีวิต และพยายามเชิดหน้า สู้ชีวิตต่อไป

 

และเราชอบจังหวะการขึ้นเพลงจบของหนังด้วย คือมันจงใจเร้าอารมณ์ซึ้ง ๆ นั่นแหละ แต่กูยอมตรงจุดนี้

 

ฉากจบของหนังเรื่องนี้ก็เลยทำให้เราร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรงมาก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า นางเอกไม่ได้ร้องไห้ในฉากนี้ แต่เธอพยายาม “ฝืนยิ้ม” และ “เชิดหน้าท้าชีวิตต่อไป” ทั้ง ๆ ที่เธอทุกข์ใจอย่างแสนสาหัส เพราะฉะนั้นคนที่ร้องไห้ก็เลยกลายเป็นเราเสียเอง

 

ฉากนี้ก็เลยทำให้เรานึกถึงสิ่งที่ Ray Carney เคยเขียนไว้ในหนังสือ FILMVIRUS 2 มาก ๆ ที่เขาเขียนว่า

 

แสดงออกมากไม่ใช่เรื่องดี มันง่ายที่จะ “ก่อเรื่อง” ด้วยการทำท่าโกรธโวยวาย แต่การหงุดหงิดระบายอารมณ์เป็นเรื่องสำหรับสถานเลี้ยงเด็ก ถ้าฉากสำคัญในหนังของคุณเป็นฉากที่มีตัวแสดงตะโกน ทำท่าทำทาง ร้องไห้ นั่นอาจหมายความว่ามีบางอย่างผิดปกติในตัวคุณเกี่ยวกับการทำความเข้าใจชีวิต

 

ดังที่ Carl Theodor Dreyer เคยกล่าวไว้ ฉากสะเทือนใจของชีวิตมักจะเกิดขึ้นอย่างเงียบๆ สงบงันที่มุมห้องใดมุมห้องหนึ่ง เวลาที่คุณได้ข่าวร้าย ปกติคุณจะพูดไม่ออก อาจจะอีกหลายวันกว่าที่คุณจะคุยถึงมันได้

 

ฉากยิ่งใหญ่คือฉากที่ตัวละครไม่ร้องไห้ แต่คนที่ร้องไห้กลับเป็นคนดู ซึ่งมักจะเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นบ่อยเมื่อตัวละครปฏิเสธไม่ยอมร้องไห้เอง เพราะตัวละคร Joan of Arc ในหนังของ Dreyer ไม่ยอมร้องไห้ นั่นกลับเป็นเหตุให้เราร้องไห้เอง”

 

และฉากจบของหนังเรื่องนี้ ก็เลยทำให้เรานึกถึงการแสดงอันสุดยอดของ Liza Minnelli ใน SO SORRY, I SAID (1989, music video) ด้วย เพราะใน MV เพลงนี้ ไลซ่าก็เหมือนทั้งยิ้มและร้องไห้ในเวลาเดียวกัน และเราก็ชอบอะไรแบบนี้มาก ๆ เหมือนมันเป็น “อารมณ์ของมนุษย์” ที่มันซับซ้อนมากกว่าการแค่ยิ้มอย่างเดียว หรือร้องไห้อย่างเดียว แต่เป็นอารมณ์ที่เกิดจากการยอมรับความจริงอันซับซ้อนของชีวิตมนุษย์

https://www.youtube.com/watch?v=IE7PJXxlFWA

 

5.แต่เราเฉย ๆ กับหนังอีก 2 เรื่องของคุณ Wairun นะ ซึ่งก็คือเรื่อง “ไม่นานสำหรับผม” NOT LONG FOR ME (2023, 3min, A-) และ ปราณ WIND LANGUANGE (2023, 2min, A-) ที่ได้ฉายในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนนะ เพราะเราว่ามันพิสดารเกินไป จนเราไม่เข้าใจว่า “ทำมาทำไม” 55555 แต่ในแง่หนึ่งเราก็ชอบที่หนังสองเรื่องนี้มันพิสดารจนเราไม่เข้าใจมันนะ 5555 คือเราว่าเราดูหนังทดลองมาเยอะมากแล้วนะในชีวิตนี้ แต่หนัง 2 เรื่องนี้ถือเป็น “หนังที่จัดประเภทไม่ได้” ที่เรายังไม่สามารถจูนติดหรือยังไม่สามารถหาช่องทางในการ approach มันได้จริง ๆ 555

 

ไม่นานสำหรับผม
https://www.youtube.com/watch?v=VgRX6qJDGow&t=22s

 

ปราณ
https://www.youtube.com/watch?v=qjtcF_LOjjg&t=25s

 

6.ถ้าหากให้เราฉาย “กะจั๊วมีปีก” คู่กับหนังเรื่องอื่น ๆ เราก็จะเลือกฉายหนังเรื่องนี้ควบกับ

 

6.1 MOUCHETTE (1967, Robert Bresson, France)

 

หนึ่งในหนังเกี่ยวกับวัยรุ่นที่ดีที่สุด หรือที่เราชอบมากที่สุดตลอดกาล แน่นอนว่าชีวิตของนางเอก “กะจั๊วมีปีก” ดีกว่าชีวิตของนางเอก MOUCHETTE มาก ๆ แต่ยังไงเราก็รู้สึกราวกับว่า นางเอกของ “กะจั๊วมีปีก” เป็นเหมือนญาติห่าง ๆ ของนางเอก MOUCHETTE

 

6.2 OLDS (2014, Watcharapol Saengarunroj, 26min, A+30)

 

ในแง่หนึ่ง OLDS ก็คล้าย ๆ กับเป็น “ภาคผู้ชาย” ของ กะจั๊วมีปีก

 

เราเคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้ที่นี่

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10203882855895157&set=a.10201975069921700

 

OLDS ติดอันดับ 2 ของเราประจำปี 2014

https://www.sensesofcinema.com/2015/world-poll/2014-world-poll-part-4/#26

 

6.3 OUR LAST DAY (2015, Rujipas Boonprakong, 21min)

 

หนังอีกเรื่องที่ทำให้เราร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรงสุดขีด หนังเกี่ยวกับเพื่อนสนิทสมัยมัธยมที่ผิดใจกันในช่วงใกล้เรียนจบ ถ้าหากเราจำไม่ผิด

 

OUR LAST DAY ติดอันดับ 2 ของเราประจำปี 2015

https://www.sensesofcinema.com/2016/world-poll/world-poll-2015-part-4/#21

 

6.4 PART TWO (2015, Chaleamchon Natipat, 71min)

 

หนังเกี่ยวกับชีวิตเด็กหนุ่มกลุ่มหนึ่งขณะกำลังจะเรียนจบมัธยม และทำออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติมาก ๆ

 

PART TWO ติดอันดับ 9 ของเราประจำปี 2015
https://www.sensesofcinema.com/2016/world-poll/world-poll-2015-part-4/#21

 

6.5 LAUGH MOMENT เรื่องเล่าจากเสียงหัวเราะ (2019, Teeramate Kititadsupasin, 25min)

 

เรื่องราวของกลุ่มเด็กสาวที่กำลังจะจบม.6 ซึ่งสะท้อนหลายรสชาติของชีวิตมัธยมได้อย่างตรงใจเราที่สุด

 

เรื่องเล่าจากเสียงหัวเราะติดอันดับ 1 ของเราประจำปี 2019

https://celinejulie.blogspot.com/2023/07/most-favorite-films-i-saw-in-2019.html

 

7.เราจินตนาการว่า ถ้าลัคกี้ โตไปกลายเป็นทหาร เขาจะมีรูปร่างหน้าตาแบบคนนี้ 55555
https://web.facebook.com/profile.php?id=100001939402063

++++

บันทึกไว้ว่า ภาพยนตร์เรื่อง A TELESCOPE DARKLY กล้องส่องทางใน (2022, Teerath Whangvisarn, 17min, A+30) มีการพาดพิงถึง Kobo Abe

+++

สรุปรายชื่อหนังในกลุ่ม ANIMALS BY ACCIDENT

1.“ซาสี่” (2001, Nuttorn Kungwanklai)

2. WAR OF FLUORESCENT สงครามหลอดไฟ (2006, Nontawat Numbenchapol, documentary, 7min)

หนังถ่ายแมลงเม่าที่บุกเข้ามาในบ้าน

3.RAIN IN THE NIGHT ฝนเดือนหก (2009, ศุภชัย สายวิรัช)

4.“นาทีชีวิต 2558” (2015, Phaisit Phanphruksachat)

5. LOS REYES (2018, Ivan Osnovikoff, Bettina Perut, Chile, documentary, A+30)

6. เปล่งรัศมีบนก้อนอึ SHINING BRIGHT COLORFUL ON THE FAECES (2021, Anant Kasetsinsombut, A+30)

หนังเรื่องนี้ถ่าย “ผีเสื้อม้าเขียว”

7. MATING (2022, Anant Kasetsinsombut, documentary, A+15)

หนังเรื่องนี้เกี่ยวกับ “ปาด”

8.THE BRAVE CHICKEN AND THE WILD DOG ไก่สุดซ่ากับหมาจอมโหด (2022, Anant Kasetsinsombut, documentary, 23min, A+30)

 

9.ถล่มรังแม่ตุ้ม สำนักงานกะทิ / ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ / 3.05 นาที

A+15

 

หนังเรื่องนี้เกี่ยวกับแมว

 
10.NESTING IS NOT EASY (2023, Anant Kasetsinsombut, documentary, 7min, A+30)

หนังเรื่องนี้เกี่ยวกับ กระรอก

11.SORE (2023, Phasitpol Kerdpool, documentary, A+30)

 

++++

อะไรคือการที่กูมีความทรงจำผิด ๆ ว่า Natascha McElhone ตายมานานกว่า 10 ปีแล้ว ทั้ง ๆ ที่เธอยังไม่ตายคะ 555555

 

คือเมื่อปลายปีที่แล้ว เราได้ไปดู THE TRUMAN SHOW (1998, Peter Weir, A+30) ที่ House Samyan ซึ่งขณะที่เรานั่งดู เราก็จะคิดอยู่ในใจว่า เราชอบ Natascha McElhone มาก ๆ เลย ดีใจที่ได้เห็นเธอในหนังเรื่องนี้ แต่เสียดายจังเลยที่เธออายุสั้น เพราะเราจำได้ (อย่างผิด ๆ ) ว่าเธอเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุจากการเล่นสกีเมื่อราว 10 กว่าปีก่อน เหมือนเธอเล่นสกีแล้วหกล้ม หัวฟาด หลังจากนั้นเธอก็ปวดหัว แล้วก็เสียชีวิต นี่ถ้า Natascha McElhone ยังมีชีวิตอยู่ เราก็คงจะได้เห็นผลงานดี ๆ ของเธอออกมาอีกบ้างสินะ

 

ซึ่งก็โชคดีมากที่เราเพียงแค่คิด (ผิด ๆ) แบบนั้นอยู่ในใจ ไม่ได้พูดหรือเขียนเรื่องนี้ออกมา 555

 

พอมาวันนี้ เราได้ยินข่าวว่ามีเพื่อนคนนึงของเราประสบอุบัติเหตุตกเนิน เราก็เลยนีกถึง Natascha McElhone ที่หกล้มตอนเล่นสกีแล้วเสียชีวิตขึ้นมา เราก็เลยลองเช็คข้อมูลดู อ้าว Natascha McElhone ยังมีชีวิตอยู่นี่นา 55555

 

สรุปว่าคนที่เสียชีวิตคือ Natasha Richardson ที่เสียชีวิตในปี 2009 จากการหกล้มตอนเล่นสกีค่ะ เธอเป็นลูกสาวของ Vanessa Redgrave + Tony Richardson และเป็นภรรยาของ Liam Neeson

 

เหมือนเราจำชื่อสองคนนี้สลับกันมาโดยตลอด เพราะทั้ง Natasha Richardson และ Natascha McElhone นี่โด่งดังในทศวรรษ 1990 เหมือน ๆ กัน แล้วเราก็เคยดูหนังของ Natasha Richardson เรื่อง GOTHIC (1986, Ken Russell), THE COMFORT OF STRANGERS (1990, Paul Schrader), NELL (1994, Michael Apted) และ MAID IN MANHATTAN (2002, Wayne Wang)

 

ส่วนของ Natascha McElhone นี่เราเคยดู RONIN (1998, John Frankenheimer), LAUREL CANYON (2002, Lisa Cholodenko), Feardotcom (2002, William Malone), SOLARIS (2002, Steven Soderbergh) และ LADIES IN LAVENDER (2004, Charles Dance) และหลังจากนั้นเราก็ไม่ได้ดูผลงานต่อ ๆ มาของ Natascha McElhone อีกเลย เราก็เลยนึกว่าเธอตายไปแล้ว 55555

https://www.imdb.com/name/nm0001523/?ref_=nv_sr_srsg_1_tt_1_nm_7_q_natasha%2520mc

+++

DOUBLE BILL GAY FILM WISH LIST

 

TOP OF THE WORLD (2022, Thanakorn Sutthiprapha, 18min, A+)

+

LOVE COLUR (2023, Anyaporn Tangsakulamporn, 21min, A+30)

 

TOP OF THE WORLD เป็นหนังเกย์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายหนุ่มคนหนึ่งที่ไม่เคยได้กลิ่นมาก่อนเลยในชีวิต แต่แล้ววันหนึ่งเขาก็ได้กลิ่นเป็นครั้งแรกหลังจากที่เดินสวนกับชายหนุ่มคนหนึ่ง

 

ถ้าหากเราจำไม่ผิด เหมือนความรักแบบเกย์ในหนังเรื่องนี้ช่วยให้พระเอก “ได้กลิ่น” เหมือนกับคนทั่ว ๆ ไป ความรักแบบเกย์ในหนังเรื่องนี้มีผลในทางบวกต่อประสาทสัมผัสของพระเอก ช่วยฟื้นฟูประสาทสัมผัสของพระเอก

 

ส่วน LOVE COLUR จากม.ศิลปากร คณะ ICT นั้นมีเนื้อหาเกิดขึ้นใน “โลกคู่ขนาน” ไม่ใช่ในโลกมนุษย์ของเรา มันเป็นโลกที่คนที่มีความรักเท่านั้นถึงจะมองเห็นสีได้ แล้วพระเอกซึ่งเป็นเด็กหนุ่มวัยมัธยมก็พยายามที่จะมองเห็นสี จนกระทั่งพบว่าคนที่จะทำให้เขามองเห็นสีได้คือเพื่อนชายคนสนิทของเขานั่นเอง แต่พระเอกไม่เคยรู้ตัวมาก่อนเลยว่าเขารักผู้ชายได้ด้วย

 

ก็เลยคิดว่าหนังสองเรื่องนี้มันล้อกันมาก ๆ เพราะความรักแบบเกย์ใน LOVE COLUR นั้นก็ช่วยฟื้นฟูประสาทสัมผัสของพระเอกเหมือนกัน แต่เป็นการฟื้นฟูความสามารถในการมองเห็นสี ไม่ใช่การได้กลิ่นแบบใน TOP OF THE WORLD

 

เราสะกดชื่อหนังว่า LOVE COLUR ตามที่มันปรากฏในสูจิบัตรนะ เราไม่แน่ใจว่ามันพิมพ์ผิดหรือสะกดผิดหรือเปล่า เพราะมันน่าจะเป็น LOVE COLOR หรือ LOVE COLOUR หรือว่าเขาจงใจสะกดว่า COLUR เพราะเนื้อเรื่องมันเกิดขึ้นใน “โลกคู่ขนาน” ที่การสะกดตัวอักษรจะไม่เหมือนกับในโลกมนุษย์ของเรา เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

 

จำได้ว่า “การจงใจสะกดผิด” แบบนี้มีเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวในวงการหนังไทย เราก็เลยไม่แน่ใจว่ามันพิมพ์ผิดหรือพิมพ์ถูกแล้ว 55555 อย่างเช่นใน “ฆาตรกรรมสวาท ประหลาดน่านฟ้า ทำให้คนหายตัวไป” หรือ POLITICALLY LAWYER AND NARRATIVE CINEMA (2009, Chalermkiat Saeyong) นั้น เนื้อเรื่องก็เกิดขึ้นในโลกคู่ขนาน เพราะฉะนั้นชื่อหนังเลยใช้คำว่า “ฆาตรกรรม” แทน “ฆาตกรรม” และ “POLITICALLY LAWYER” แทน “POLITICAL LAWYER”

 

หรืออย่างหนังเรื่อง EMPTILESS LANDSCAPE (2003, Nat Satayamas) นั้น ผู้กำกับก็จงใจคิดคำว่า “EMPTILESS” ขึ้นมาใหม่ เพราะ landscape ในหนังเรื่องนี้ มันดูเหมือนจะ empty แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ empty เพราะฉะนั้นมันก็เลย emptiless

 

ส่วนตัวหนัง LOVE COLUR นั้น จริง ๆ แล้วก็อาจจะไม่ใช่หนังดีนะ แต่ถือว่าเป็น guilty pleasure ของเราที่เราชอบในระดับ A+30 เลย เพราะมันทำให้เรานึกถึงตอนที่เราแอบหลงรักเพื่อนสนิทชายแท้คนหนึ่งสมัยอยู่ป.5-ม.3 หรือในช่วงปี 1983-1987 แต่เราก็ไม่เคยไปเสยหีใส่เขานะ เราก็ทำตัวเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของเขาไปเรื่อย ๆ แต่ครูผู้ชายกับครูผู้หญิงบางคนในโรงเรียน ก็มารังควานเรา หาว่าพวกเราเป็นคู่เกย์กัน มันไม่เหมาะสม ไม่ดีไม่งาม แต่กูก็ไม่แคร์พวกมึงหรอกค่ะ 5555 และกูก็ยังคงจดจำคำพูดของพวกมึงมาได้จนถึงตอนนี้ แม้เวลามันจะผ่านมานานเกือบ 40 ปีแล้ว คือปัจจุบันนี้เวลาเรานัดเจอกับเพื่อน ๆ มัธยม บางทีเราก็ยังคงเมาท์มอยถึงครูบางคนที่เคยมาหาเรื่องเราเมื่อ 35-40 ปีก่อนอยู่ คือพวกเราแต่ละคนนี่ยังคงจดจำกันได้เป็นอย่างดีถึง “ความรัก” และ “ความแค้น” เมื่อ 40 ปีก่อนค่ะ นึกไม่ถึงว่ายิ่งเวลาผ่านไป พวกเราก็จะยังคงจดจำอะไรแบบนี้ได้ดีขนาดนี้

 

แต่จุดหลัก ๆ ใน LOVE COLUR ที่เราไม่ชอบก็คือ

 

1.หนังควรจะให้ผู้ชม “มองผ่าน” สายตาของพระเอกน่ะ คือพระเอกมองไม่เห็นสี เห็นแต่ขาวดำ แต่ผู้ชมมองเห็นสีตลอดเวลา เพราะฉะนั้นผู้ชมก็จะไม่เข้าใจ ไม่อินกับพระเอก คือเราว่าหนังมันจะดีกว่านี้ ถ้าหากผู้ชมเห็นสีขาวดำเหมือนพระเอก และเห็นสีสันต่าง ๆ เหมือนพระเอกในแต่ละช่วงเวลาไปเลย

 

2.หนังไม่ต้องสรุปบทเรียนเรื่องสิทธิเกย์ตรง ๆ ก็ได้

+++

เมื่อกี้เราพยายามค้นข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่อง “หนองหาร เพราะมันไม่ใช่เรื่องสิว ๆ” (2007, Panus Boonnun, 14min, A+30) แล้วเราก็เลยเพิ่งรู้ว่า หนองหาร อยู่จังหวัดสกลนคร แต่ “หนองหาน” อยู่จังหวัดอุดรธานี 

 

No comments: