Film Wish List: MAMI WATA (2023, C.J.
Fiery Obasi, Nigeria, 107min)
หนัง minimalist จาก Nigeria เกี่ยวกับชนเผ่าที่ปฏิเสธเทคโนโลยีสมัยใหม่
และอยู่ภายใต้การปกครองของ “เจ้าแม่” องค์หนึ่ง น่าดูที่สุด Peter Bradshaw
กรี๊ดกร๊าดกับหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงมาก
https://www.theguardian.com/film/2023/nov/15/mami-wata-review-arresting-nigerian-parable-of-power
Films seen in the first week of 2024
1-7 JAN 2024
In roughly preferential order
1.KACHUA MEE PEEK กะจั๊วมีปีก (2022, Wairun
Akarawinake, 60min, A+30)
หนักที่สุดในชีวิตการแสดง
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10232898085457762&set=a.10232633255917189
2.FUSES (1964-1967, Carolee Schneemann,
30min, A+30)
3.ลูกใครหว่า (2022, Saichon Prasonchoom, documentary,
40min, A+30)
ยกให้เป็น “หนังไทยระดับคลาสสิค” ไปเลย INSTANT CLASSIC จริง ๆ หนังบันทึกภาพเด็กชายคนหนึ่ง
เราไม่แน่ใจว่าอายุกี่ขวบ น่าจะอายุ 3-5 ขวบ ขณะที่เด็กคนนี้พูดไปเรื่อย ๆ
ต่อหน้ากล้อง
ซึ่งเรารู้สึกเหมือนกับว่า หนังไม่ได้ตัดภาพเลยนะ เหมือนมันเป็น long take ความยาว 40 min แต่เราไม่แน่ใจ
ไม่ได้สังเกตว่าหนังมันตัดภาพตรงไหนบ้างหรือเปล่า
เรื่องราวของพ่อแม่เด็กคนนี้ก็รุนแรงมาก ๆ
เหมือนหนังเรื่องนี้มี doppelganger ด้วย 5555 เพราะในเทศกาลหนังมาราธอนปี 2022 ก็มีหนังเรื่อง “ความสุขวัยเด็ก”
MY CHILDHOOD HAPPINESS (2021, Sirasith Sriwongphanawes, 7min, A+30) ที่บันทึกกิจกรรมของเด็กชายตัวน้อย ๆ คนหนึ่งเหมือนกัน แต่พอ MY
CHILDHOOD HAPPINESS มันมีความยาวแค่ 7 นาที มันก็เลยไม่ถึงขั้น INSTANT
CLASSIC แบบ “ลูกใครหว่า”
4.KHON BOYS เด็กโขน (2022,
Phassarawin Kulsomboon, documentary, A+30)
ดูแล้วทึ่งกับความสามารถของเด็กโขนมาก ๆ มันยากมาก ๆ เลยนะเนี่ยกว่าจะฝึกมาได้จนถึงขั้นนี้
ชอบเรื่องราวประวัติชีวิตของเด็กแต่ละคนมาก ๆ เลยด้วย เหมือนเด็กหลาย ๆ คนมีชีวิตที่หนักมาก
ๆ
แต่เรารู้สึกเหมือน part การเมืองมันยัง
“คนไม่เข้ากัน” กับ part อื่น ๆ ของหนังยังไงไม่รู้ โดยส่วนตัวแล้วเราก็เลยรู้สึกว่าเราอยากให้หนังเจาะไปที่ประวัติชีวิตในอดีตของเด็กแต่ละคนมากกว่านี้
5.ใต้ฝุ่น (2023, Piriyayut Tangchitmate, 40min,
A+30)
ซึ้งมาก ๆ
6.WAY OF US เราและรอย (2023, Chinnaphat Sukchanya, 55min, A+30)
ชอบสุดขีดที่ทั้งแม่และลูกสาวนี่ “ขิงก็รา ข่าก็แรง” กันทั้งคู่ นึกว่าการเชือดเฉือนกันระหว่างแม่กับลูกสาวในหนังเรื่องนี้
ต้องปะทะกับการเชือดเฉือนกันระหว่าง “แม่ผัวกับลูกสะใภ้” Anjelica Huston กับ Annette Bening ใน THE
GRIFTERS (1990, Stephen Frears) 55555
ชอบมาก ๆ ด้วยที่นักแสดงที่เล่นเป็นตัวละครแม่ (เราจำชื่อไม่ได้ ใครจำชื่อได้บ้าง)
ได้รับบทดี ๆ อย่างในหนังเรื่องนี้ เพราะเราชอบเธออย่างสุดขีดตั้งแต่เห็นเธอรับบทเป็น
“บรรณาธิการใหญ่ หรือผู้บริหารหนังสือพิมพ์” ใน BANGKOK TRADITION สันดานกรุง (2021, Thamuya
Thasananukulkij, 65min, A+30) น่ะ
และหลังจากนั้นก็เห็นเธอแสดงในหนังสั้นอีกราว 30 เรื่องได้มั้ง (อย่างเช่นใน กระเพาะพิเรนทร์)
แต่ส่วนใหญ่เธอได้รับบทเป็น “แม่พระเอก” น่ะ บทมันก็เลยซ้ำ ๆ และไม่ค่อยเปิดโอกาสให้เธอได้ใช้
potential ของตัวเองอย่างเต็มที่
เราก็เลยดีใจที่เธอได้เป็นนางเอกเต็มตัวใน WAY OF US
7.GHOST SHOWTIME ผีอวดคน
(2022, Napak Sanonoi, 6min, A+30)
8.RENAISSANCE: A FILM BY BEYONCÉ (2023, Beyoncé,
Ed Burke, documentary, 169min, A+30)
รู้สึกว่าจริงๆ
แล้วคนดูแต่ละคนในงานคอนเสิร์ตของ Beyoncé นี่แรงกว่าตัว Beyoncé มาก ๆ
นึกว่าจริง ๆ แล้วหนังเรื่องนี้คือ “ภาคสอง” ของ PARIS IS BURNING (1990,
Jenny Livingston, documentary, A+30)
เรื่องราวของ Uncle Johnny ซึ้งมาก ๆ เขามีสถานะเหมือนเป็นลุงของบียองเซ่
เขาเป็นเกย์ผิวดำที่ใช้ชีวิตช่วงวัยรุ่น (ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด) ในทศวรรษ 1950
ในภาคใต้ของสหรัฐ เขาก็เลยมีชีวิตที่ยากลำบากมาก เพราะภาคใต้ของสหรัฐในทศวรรษ 1950
นี่ไม่เป็นมิตรกับคนผิวดำมาก ๆ และยิ่งเป็นเกย์ผิวดำในทศวรรษ 1950
นี่ก็ยิ่งหนักข้อขึ้นไปอีก แต่เขาสนิทกับครอบครัวของบียองเซ่มาก ๆ
และถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด เขาเหมือนเป็นคนปลูกฝังความรักในดนตรี house
music ให้กับ Beyonce และช่วยออกแบบตัดเย็บชุดต่าง
ๆ ให้ Beyonce ในช่วงที่บียองเซ่ยังไม่โด่งดังในช่วงต้นทศวรรษ
1990 หรือช่วงที่ยังไม่มีห้องเสื้อรายไหนต้องการจะออกแบบชุดให้กับวงดนตรีหญิงผิวดำของเธอ
9. SAILEN ไศเลนทร์ (2023,
Nattapan Amnatsatsue, short animation, A+30)
Nattapan กำกับหนังเรื่อง THE DEAD CARD (2022) ด้วย เหมือนจุดเด่นของเขาในหนังสองเรื่องนี้คือการสร้างตัวละครสัตว์ตัวน้อยที่ดูน่ารัก
ๆ
10.ON THE STREET บนถนน
เมื่อวันวาน (2022, Laliphat Chaipornchalerm, Pornsawan Ingamornrat,
Satachalai Titapaisarnpon, animation, A+30)
11.FADED DREAM (2022, Panitnan
Chockchowwat พนิตนันท์ โชคเชาว์วรรธน์, short animation, A+30)
12.GHOST BOOK (2022, Takashi Yamazaki,
Japan, 113min, A+25)
13.กลุ่มอิสระล้อการเมือง: ต้อนรับเพื่อนใหม่
(2023, Warat Bureephakdee, 2min, A+25)
ชอบมากที่คุณ Warat บันทึกเหตุการณ์สำคัญหรือเหตุการณ์น่าสนใจทางการเมืองหรือสังคมไว้มากมายในรูปแบบสื่อภาพยนตร์ในช่วง
1-2 ปีที่ผ่านมา อย่างเช่นเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่เข้ามาก้าวก่ายในงานเชียร์กีฬาในหนังเรื่องนี้
เหมือนเหตุการณ์พวกนี้มันเป็น “ข่าว” ที่คนได้รับรู้ แล้วก็อาจจะลืมมันไปภายในเวลา
1-2 เดือน แต่พอมันได้รับการบันทึกเป็นภาพยนตร์เอาไว้ ไม่ใช่แค่เป็น “ข่าว”
มันก็เลยเหมือนจะช่วยเตือนความจำของผู้คนได้ในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น
แต่เหตุการณ์พวกนี้พอแยกเป็นหนังสั้น ๆ ที่เราได้ดูหลังจากเหตุการณ์ผ่านมาเพียงแค่
1-2 ปี เราก็เลยอาจจะยังไม่ได้รู้สึกรุนแรงกับมันมากนักนะ
แต่เราว่าการบันทึกเหตุการณ์พวกนี้เก็บไว้มันจะมีคุณค่ามากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไปนั่นแหละ
คือพอดูหนังหลาย ๆ เรื่องของคุณ Warat แล้วรู้สึกว่า
ถ้าหากเวลามันผ่านไปอีก 5-10 ปี หนังหลาย ๆ เรื่องเหล่านี้มันอาจจะเหมาะกับการนำมาเรียงร้อยใหม่เป็นหนังยาวเพื่อเป็นบันทึกทางการเมืองของยุคสมัยที่ผ่านมามาก
ๆ แบบเดียวกับหนังอย่าง A GRIN WITHOUT A CAT (1977, Chris Marker, France) หรือถ้าหากเป็นการเรียงร้อยใหม่โดยใส่ความเห็นเชิงวิเคราะห์ทางการเมืองเข้าไปด้วย
เราก็อาจจะได้หนังในแนวทางเดียวกับ IMAGES OF THE WORLD AND THE INSCRIPTION
OF WAR (1989, Harun Farocki, West Germany) ก็ได้
14.LADYBUG & CAT NOIR: AWAKENING
(2023, Jeremy Zag, France, animation, A+20)
15.E-SARN ZOMBIE อีสานซอมบี้
(2023, Tanawat Aiemjinda, A+15)
16.MIGRATION (2023, Benjamin Renner,
Guylo Homsy, animation, A+)
ทำไม Benjamin Renner มาทำหนัง
Hollywood แล้วฝีมือ drop ลง ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติอันน่าเศร้าที่ผู้กำกับฝีมือดีจากต่างประเทศ
พอมาทำหนังฮอลลีวู้ดแล้วก็จะเจอกับอะไรแบบนี้
ก่อนหน้านี้เราเคยดู ERNEST &
CELESTINE (2012, Stéphane Aubier + Vincent Patar + Benjamin Renner, France,
animation, A+10) และ THE BIG BAD FOX AND OTHER TALES (2017, Benjamin
Renner, Patrick Imbert, France, animation, A+30) ซึ่งออกมาน่าพอใจกว่า MIGRATION
เป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ดี รู้สึกว่า MIGRATION
นี่เหมาะฉายควบกับ
DUCK ACADEMY (2020, Suriyon Jongleepun,
documentary, A+25) มาก ๆ
17.ANYONE BUT YOU (2023, Will Gluck, A+)
เห็นด้วยกับหลาย ๆ คนที่บอกว่า Alexandra Shipp นี่ทำให้นึกถึงจันทร์จิรา จูแจ้งจริง ๆ
18.NEDNARY อวสานเนตรนารี (2023,
Yuthlert Sippapak, A+)
19.MOONED (2023, Jonathan del Val, short animation,
A+)
20.THE DEAD CARD (2022, Nattapan
Amnatsatsue, short animation, A+)
21.WIND LANGUAGE ปราณ (2023,
Wairun Akarawinake, 2min, A-)
https://www.youtube.com/watch?v=qjtcF_LOjjg&t=25s
ANATOMY OF A FALL (2023, Justine Triet, France,
A+30)
Spoilers alert
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
1.ไม่ขอเขียนถึงความดีงามต่าง ๆ ของหนังเรื่องนี้ เพราะคนอื่น
ๆ เขียนไปจนพรุนแล้ว 555 แต่อยากจดบันทึกสิ่งที่เต้ ไกรวุฒิเขียนไว้มาก ๆ ที่มีคนจินตนาการว่า
ฆาตกรตัวจริงคือคือนักศึกษาปริญญาโทที่มาสัมภาษณ์
เธอย้อนกลับมาตอนนางเอกนอนหลับแล้วฆ่าผัวนางเอก
เพราะผัวนางเอกทำให้เธอทำงานไม่เสร็จ
เราชอบทฤษฎีนี้มาก ๆ นึกว่า Agatha Christie มาเอง 55555
2.ชอบที่เพื่อน ๆ บางคนเขียนมาก ๆ ด้วย ที่บอกว่า จริง ๆ
แล้วนางเอกเป็นฆาตกร และลูกชายก็มาตระหนักรู้ในช่วงหลัง ๆ ว่านางเอกเป็นฆาตกร
แต่ลูกชายตัดสินใจแต่งเรื่องแต่งราวโกหกในศาล เพื่อช่วยเหลือแม่ เพราะถ้าหากพ่อตาย
แล้วแม่ติดคุก ตัวกูก็ลำบากน่ะสิ
3.ส่วนเรานั้น ในขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่เรายังไม่รู้ตอนจบของหนังเรื่องนี้นั้น
เราเดาว่า “ผัวนางเอกต้องการจะฆ่าตัวตาย และต้องการจะทำร้ายนางเอกด้วย
เพราะเขาเกลียดนางเอกมาก เขาก็เลยวางแผนหาเรื่องหาราวทะเลาะกับนางเอกไว้ แล้วแอบอัดเสียงไว้
เพื่อใช้เป็นหลักฐานปรักปรำนางเอกในภายหลัง แล้วเขาก็ฆ่าตัวตาย แต่เขาจงใจฆ่าตัวตายในแบบที่ดูมีลับลมคมนัย
ไม่มีการทิ้งจดหมายลาตายเอาไว้ เพื่อให้สังคมและกฎหมายสงสัยว่านางเอกเป็นฆาตกร นางเอกจะได้ถูกศาลตัดสินว่าเป็นฆาตกร
แล้วติดคุกตลอดชีวิตหรืออะไรทำนองนี้” 55555
ซึ่งพล็อตแบบนี้เราไม่ได้คิดขึ้นมาเองนะ เพราะมันมีนิยายเรื่องนึงของ Sidney Sheldon น่ะ (เราไม่บอกว่าเรื่องไหนแล้วกัน)
ที่นางเอกเกลียดผู้ชายคนนึงมาก เธอเลยฆ่าตัวตายแต่ทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ ดูเหมือนว่า
เธอถูกผู้ชายคนนั้นฆ่าตาย แล้วพอเธอตายไปแล้ว
ผู้ชายคนนั้นจะได้ถูกศาลตัดสินประหารชีวิตหรืออะไรทำนองนี้ในฐานะฆาตกรที่ฆ่าเธอด้วย
คือเธอฆ่าตัวตายเพื่อที่เธอจะได้ฆ่าศัตรูให้ตายในทางอ้อมโดยยืมมือของกฎหมาย
4.แต่ไม่ว่านางเอกของ ANATOMY OF A FALL จะเป็นฆาตกรหรือไม่ เราก็เห็นว่าศาลตัดสินถูกต้องแล้วนะ เพราะเรามีหลักการว่า
ถ้าหากมันไม่มีหลักฐานมัดตัวจริง ๆ หรือถ้าหากมันมีความเป็นไปได้แม้เพียงเล็กน้อยว่าคนคนนั้นอาจเป็นคนบริสุทธิ์
เราก็ไม่ควรตัดสินให้ใครเป็นฆาตกรน่ะ เพราะเรารู้สึกว่า “การปล่อยให้ฆาตกรลอยนวล
ไม่น่ากลัวเท่ากับการจับคนบริสุทธิ์มาประหารชีวิต”
No comments:
Post a Comment