THE BOSS’S DAUGHTER (2015, Olivier
Loustau, France, A+25)
--ดูแล้วนึกถึง “เทพธิดาโรงงาน” (1982, Euthana Mukdasanit, A+30) มากๆ เพราะมันเป็นเรื่องของความรักต่างชนชั้นระหว่างชนชั้นแรงงานกับชนชั้นนายจ้างเหมือนกัน และหนังเป็นทั้งส่วนผสมระหว่างหนังรักโรแมนติกกับหนังสะท้อนสังคมเกี่ยวกับการกดขี่คนงานในโรงงานเหมือนกัน
แต่ต่างกันตรงที่เพศ เพราะเทพธิดาโรงงานเป็นเรื่องของสาวโรงงานกับหนุ่มนายจ้าง ส่วน THE BOSS’S DAUGHTER เป็นเรื่องระหว่างหนุ่มโรงงานกับสาวชนชั้นนายจ้าง
--แต่สิ่งที่เราสนใจมากๆในหนังเรื่องนี้ก็คือว่า
นอกจาก THE BOSS’S DAUGHTER จะมีทั้งส่วนที่เป็นเรื่องโรแมนติก
กับส่วนที่เป็นการสะท้อนปัญหาสังคมแล้ว หนังยังให้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ของเรื่องไปกับการแข่งขันรักบี้ของหนุ่มคนงานด้วย
คือเราว่าเนื้อหาส่วนที่เป็นการแข่งขันรักบี้นั้น
จริงๆแล้วมันไม่ได้ serve ทั้งความโรแมนติก
และไม่ได้สะท้อนปัญหาสังคมแต่อย่างใด เราก็เลยชอบมากๆที่หนังเรื่องนี้ให้ความสำคัญกับส่วนนี้มากกว่าหนังสะท้อนสังคมของฝรั่งเศสเรื่องอื่นๆที่เราเคยดูมา
มันเหมือนกับว่าจริงๆแล้วการเล่นกีฬามันอาจจะมีความสำคัญอย่างมากต่อชีวิตคนงานโรงงานบางคนจริงๆก็ได้
แต่การเล่นกีฬามันไม่ได้ตอบสนองจุดประสงค์ในการสร้างหนังทั่วๆไปน่ะ
เพราะหนังโรแมนติกก็คงไม่ได้ให้ความสำคัญกับจุดนี้ และหนังสะท้อนสังคมโรงงานอย่าง
TWO DAYS, ONE NIGHT (2014, Jean-Pierre Dardenne, Luc Dardenne),
NIGHTSHIFT (2001, Philippe Le Guay) และ DERNIER MARQUIS
(2008, Rabah Ameur-Zaïmeche) ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
เพราะการเล่นกีฬามันไม่ได้สะท้อนปัญหาสังคมแต่อย่างใด
ชีวิตส่วนนี้ของคนงานโรงงานก็เลยถูกตัดทิ้งออกไปจากหนังทั่วๆไป
ทั้งที่มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนงานโรงงาน และมันอาจจะมีความสำคัญต่อชีวิตของคนงานโรงงานบางคนก็ได้
เราก็เลยชอบมากๆที่ THE BOSS’S DAUGHTER ให้ความสำคัญกับการแข่งขันรักบี้ แทนที่จะตัด “ชีวิตส่วนนี้” ทิ้งไปจากหนัง
เพียงเพราะมันไม่ได้สะท้อนปัญหาสังคม
--ดีใจมากๆที่ Stephane Rideau ยังมีหนังดีๆเล่นอยู่ จำได้ว่าเราเคยอยากได้เขามากๆตอนเขาเล่นหนังอย่าง
WILD REEDS (1994, André Téchiné), FULL SPEED (1996, Gaël Morel) และ SITCOM (1998, François Ozon)
--ดูแล้วนึกถึง “เทพธิดาโรงงาน” (1982, Euthana Mukdasanit, A+30) มากๆ เพราะมันเป็นเรื่องของความร
--แต่สิ่งที่เราสนใจมากๆในห
คือเราว่าเนื้อหาส่วนที่เป็
เราก็เลยชอบมากๆที่ THE BOSS’S DAUGHTER ให้ความสำคัญกับการแข่งขันร
--ดีใจมากๆที่ Stephane Rideau ยังมีหนังดีๆเล่นอยู่ จำได้ว่าเราเคยอยากได้เขามา
No comments:
Post a Comment