Saturday, February 06, 2021

A PORTRAIT OF THE ARTIST AS FILIPINO (1965, Lamberto V. Avellana, Philippines, A+30)

 

DIDDLY SQUAT (2020, Frank Lebon, UK, 15min, A+30)

 

ดูได้ที่

https://www.diddly-squat.uk/

 

BLUE JEANS (1957, Jacques Rozier, France, short film, A+30)

 

ได้ดูหนังในลิสท์นี้ไป 12 เรื่องจาก 40 เรื่อง เราว่ามันขาดหนังจากฟิลิปปินส์ไปนะ 55555 ส่วน 12 เรื่องที่เราเคยดูก็คือ DEAREST SISTER, PREMIKA, TAG, THE DIVINE FURY, METAMORPHOSIS, KRASUE: INHUMAN KISS, IMPETIGORE, THE CLOSET, THE WRATH, ONE CUT OF THE DEAD, SATAN’S SLAVES และ TRAIN TO BUSAN

https://asianmoviepulse.com/2021/02/top-40-asian-horror-films-of-the-decade-2011-2020/3/

 

A PORTRAIT OF THE ARTIST AS FILIPINO (1965, Lamberto V. Avellana, Philippines, A+30)

 

1.สุดฤทธิ์ เราไม่เคยดูหนังของ Lamberto V. Avellana มาก่อนเลย แต่อยากดูหนังของเขามานานหลายปีแล้ว นับตั้งแต่เห็นว่ามีหนังของเขา 3 เรื่องติดอยู่ในลิสท์ 100 BEST FILIPINO FILMS OF ALL TIME ในปี 2007

https://criticafterdark.blogspot.com/2007/08/100-best-filipino-films.html

 

พอได้ดูแล้วก็กราบจอของจริง ทำไมหนังของเขามันงดงามขนาดนี้ หนังเรื่องนี้นำเสนอการล่มสลายของชนชั้นผู้ดีเก่าของฟิลิปปินส์ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเนื้อเรื่องโฟกัสไปที่สาวแก่ทึนทึกสองคนที่เป็นผู้ดีตกยาก พวกเธอต้องดัดแปลงคฤหาสน์หรูของตัวเองให้กลายเป็นห้องเช่า แล้วรับชายหนุ่มฉกรรจ์คนนึงให้เข้ามาเช่าห้องด้วย ดูแล้วขอยกให้หนังเรื่องนี้เทียบชั้นกับ THE MAGNIFICENT AMBERSONS (1942, Orson Welles), THE RULES OF THE GAME (1939, Jean Renoir, France), THE CHESS GAME OF THE WIND (1976, Mohammad Reza Aslani, Iran), BENDS (2013, Flora Lau, Hong Kong) และ  ELINE VERE (1991, Harry Kümel, Belgium) เลย

 

2.ชอบ “บท” ของหนังมาก ๆ เหมือนบทมันทำได้ดีสุด ๆ ในการสร้างตัวละคร คือบทมันสร้างตัวละครที่ทั้งสมจริงและน่าสนใจ และมันละเอียดมากในการแสดงให้เห็นว่าตัวละครแต่ละตัว “แสดงปฏิกิริยา” อย่างไรต่อตัวละครตัวอื่น ๆ ที่แตกต่างกันไป และละเอียดมาก ๆ ในการแสดงให้เห็นว่า ปฏิกิริยาเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ในแต่ละนาทีเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป หรือเมื่อใครพูดอะไรออกมา

 

คงเป็นเพราะตัวบทนี้มันมาจากละครเวทีด้วยมั้ง มันก็เลยออกมาแน่นปึ้กสุด ๆ แบบนี้ นึกถึงพวกบทละครเวทีของคุณ Ninart Boonpothong ที่แน่นมาก ๆ เหมือนกัน

 

3. รู้สึกว่าหนังสนุกสุดๆ ทั้ง ๆ ที่หนังไม่มีตัวละครพระเอกหรือนางเอกให้เรา identify ด้วยได้เลย คือเหมือนหนังไม่สร้างตัวละครคนดีที่น่าเอาใจช่วยเลยแม้แต่คนเดียว เราได้เห็นแต่ตัวละครที่มีข้อบกพร่องร้ายแรงในตัวเองหลายตัวพ่นพิษใส่กันอย่างรุนแรงตลอดเวลา หนักมาก ๆ

 

4.แต่ดูแล้วแอบนึกถึง  THE EXTERMINATING ANGEL (1963, Luis Buñuel) ด้วยนะ เพราะเอาเข้าจริง ถึงแม้เราจะเข้าใจตัวละคร “ผู้ดี” ใน A PORTRAIT OF THE ARTIST แต่ถ้าเราไปตกอยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกับผู้ดีเหล่านี้ เราก็จะไม่ตัดสินใจแบบเดียวกับพวกเธออย่างแน่นอน เราคงตัดสินใจตรงข้ามกับพวกเธอ เพราะเราเกิดมาเพื่อเป็นกะหรี่ เพราะฉะนั้นเราจึงไม่มีความแคร์ใด ๆ ในสิ่งที่พวกผู้ดีเขาแคร์กัน

 

ดูแล้วก็เลยนึกถึง THE EXTERMINATING ANGEL ด้วย เพราะทั้งหนังฟิลิปปินส์เรื่องนี้และหนังของหลุยส์ บุนเยล ต่างก็สะท้อนให้เห็นว่าพวกผู้ดีตกเป็นเหยื่อความคิดความเชื่ออะไรบางอย่างของตัวเองเหมือนกัน

 

ITO: TAPESTRY (2020, Takahisa Zeze, Japan, A+30)

 

1.รักสุด ๆ ชอบสุด ๆ ปกติเราไม่ค่อยอินกับหนังโรแมนติกนะ แต่เรื่องนี้อินมากๆ เพราะเหมือนหนังเรื่องนี้มันไม่เน้นความรักระหว่างพระเอกกับนางเอกเพียงอย่างเดียว แต่มันสะท้อนให้เห็นว่า “ชีวิต” กับ “เวลา” มันเล่นงาน “มนุษย์” อย่างไรบ้าง มันแสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลา 20 ปีชีวิตมนุษย์มันขึ้นสูงลงต่ำ ผกผันยังไงบ้าง คือเหมือนหนังมันให้ความสำคัญกับ “ความผกผันของชีวิตมนุษย์” ราว 70% และให้ความสำคัญระหว่าง “ความรักระหว่างพระเอกกับนางเอก” แค่ 30% หนังเรื่องนี้ก็เลยเข้าทางเราอย่างสุด ๆ ดูแล้วน้ำตาไหลของจริง

 

2.อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้รักหนังเรื่องนี้อย่างสุด ๆ ก็คือว่า หนังเรื่องนี้ไม่ได้แค่แสดงให้เห็นว่า ชีวิตพระเอกกับนางเอกต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในช่วง  20 ปีเท่านั้น แต่มันยังแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงสุด ๆ ในชีวิตของตัวละครเหล่านี้ด้วย

 

2.1 เพื่อนพระเอก (น่ากินมาก)

 

2.2 เมียพระเอก

 

2.3 เพื่อนร่วมงานนางเอก

 

2.4 คนขับรถของนางเอก (น่ากินมาก)

 

2.5 ประธานบริษัทที่ได้นางเอกเป็นเมียเก็บ (น่ากินมาก)

 

2.6 เมียคนที่สองของเพื่อนพระเอก และเราก็ชอบสุด ๆที่หนังแสดงให้เห็นว่า จริงๆ แล้วตัวละครตัวนี้คือตัวละครที่เจออะไรหนักหนาที่สุดในชีวิต คือหนักหนากว่าตัวละครพระเอกนางเอกซะอีก เราชอบหนังแบบนี้มาก ๆ น่ะ หนังที่แสดงให้เห็นว่า จักรวาลไม่ได้หมุนรอบตัวพระเอกนางเอก พระเอกนางเอกเป็นแค่ธุลีเล็ก ๆ ในจักรวาลเท่านั้น ชีวิตของพระเอกนางเอกไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะจริงๆ แล้วชีวิตของตัวประกอบอาจจะหนักกว่าชีวิตของพระเอกนางเอกหลายเท่า

 

3.สิ่งที่ทำให้เราอินกับหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ เป็นการส่วนตัว คือสิ่งเดียวกับที่ทำให้เราอินกับ อีหล่าเอ๋ย (2020, อาทิตย์ ศรีภูมิ, เอกชัย ศรีวิชัย) อย่างสุด ๆ เป็นการส่วนตัว เพราะตัวละครนำในหนังทั้งสองเรื่อง ต่างก็สูญเสียเงินเก็บจนเกือบหมดตัวในช่วงหลังของหนังเหมือน ๆ กัน ซึ่งมันก็ตรงกับประสบการณ์ชีวิตของเราด้วย

 

แล้วยิ่งพอ ITO นำเสนอช่วงเวลา 20 ปีแบบนี้ มันก็เลยทำให้นึกถึงชีวิตของตัวเองมาก ๆ เพราะชีวิตเราก็เคยผ่านพบทั้งช่วงที่มีความสุขสุด ๆ และก็เคยดิ่งลงจนแตะจุดต่ำสุด แทบหมดเนื้อหมดตัว ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเหมือนกัน เราก็เลยรู้สึกว่า ITO มันสะท้อนความจริงของชีวิตตรงนี้ได้ในแบบที่ตรงใจเรามาก ๆ

 

4.เราว่าทั้ง ITO และ “อีหล่าเอ๋ย” มันมีอะไรบางอย่างที่ทำให้เรานึกถึงละครทีวีฮ่องกงในทศวรรษ 1980 ด้วยแหละ หนังทั้งสองเรื่องนี้มันเลยครองใจเรา และทำให้เรารักหนังทั้งสองเรื่องอย่างสุดๆ แบบนี้ เพราะละครทีวีฮ่องกงที่เราชอบดูตอนเป็นเด็กนั้น มันก็ชอบนำเสนอตัวละครที่ “สร้างเนื้อสร้างตัว” ตั้งใจทำงาน และเผชิญกับความผันผวนอย่างรุนแรงของชีวิตเหมือนกัน เหมือนละครทีวีฮ่องกงที่เราชอบดูมันไม่ได้หล่อเลี้ยงอารมณ์คนดูด้วย “ความรักโรแมนติก” ตลอดเวลาแบบหนังโรแมนติกน่ะ แต่ละครทีวีฮ่องกงที่เราชอบดูมันให้ความสำคัญอย่างมาก ๆ กับ “การดิ้นรนหาเงิน”, “ความมุมานะในการทำงาน” และ “ชะตากรรมที่ผันผวนและไม่ปรานีใคร” ด้วย ซึ่งทั้งอีหล่าเอ๋ย และ ITO ก็มีองค์ประกอบที่เราชอบสุด ๆ เหล่านี้ด้วยเหมือนกัน หนังทั้งสองเรื่องนี้ก็เลยเป็นหนังรักโรแมนติกที่เข้าทางเรามากที่สุด และทำให้เราเสียน้ำตาได้อย่างรุนแรงที่สุด

 

คือพอดู อีหล่าเอ๋ย กับ ITO เราก็เลยนึกถึง one of my most favorite TV series of all time อย่างเช่น ศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย ที่นำแสดงโดย หลินจุ้นเสียน อะไรแบบนี้นี่แหละที่เข้าทางเรา

https://www.facebook.com/jit.phokaew/posts/10223154236547629

 

 

 

No comments: