ถ้าเข้าใจไม่ผิด หนังที่ฉายที่มูลนิธิญี่ปุ่นฉายด้วยฟิล์ม 16 มม.ค่ะ ประตูโรงหนังเปิดเวลา 18.00 น. เดินเข้าไปดูได้เลยค่ะ และขอแนะนำว่าถึงแม้หนังจะฉายเวลาประมาณ 18.30 น. แต่ควรจะมาถึงโรงหนังตั้งแต่เวลา 18.00 น. เพื่อจะได้จองที่นั่งด้านหน้าๆได้ เพราะถ้ามาถึงโรงหนังทีหลัง ก็อาจจะได้ที่นั่งที่ไม่เหมาะสม เพราะจะโดนหัวคนข้างหน้าบังจนอ่านซับไตเติลไม่สะดวกค่ะ
แต่ถ้าหากหาที่นั่งที่เหมาะสม (ปลอดหัวคนข้างหน้า) ไม่ได้จริงๆ ก็อาจจะทำแบบที่ดิฉันเคยทำก็ได้ค่ะ นั่นก็คือไปนั่งกับพื้นห้องตรงหน้าที่นั่งแถวหน้าสุดไปเลย จะได้ไม่มีหัวคนมาบัง แต่อาจจะเมื่อยหน่อยเพราะต้องนั่งกับพื้น แต่ปกติแล้วผู้ชมที่มาดูที่นี่จะไม่ค่อยเยอะจนถึงขั้นต้องไปนั่งกับพื้นค่ะ
ส่วนในเดือนมิ.ย.นี้ทางมูลนิธิจะจัดฉายหนังของโยจิ ยามาดะตลอดทั้งเดือนค่ะ โปรแกรมมีดังต่อไปนี้ (หนังฉายเวลา 18.30 น.)
3 JUNE
A CLASS TO REMEMBER (1993)
7 JUNE
A CLASS TO REMEMBER II (1996, B-)
http://www.imdb.com/title/tt0116386/
นำแสดงโดย AYUMI HAMASAKI และเนื้อหาส่วนหนึ่งของเรื่องเกี่ยวกับการไปดูคอนเสิร์ตของ
NAMIE AMURO
10 JUNE
FIFTEEN (2000, B)
อ่านบทวิจารณ์หนังเรื่อง FIFTEEN ของคุณสาวรกโลกได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/review/index-in.php?id=1395
อย่าจำสลับกับหนังสิงคโปร์เรื่อง 15 (2003, ROYSTAN TAN, A)
14 JUNE
MY SONS (1991)
17 JUNE
THE RAINBOW SEEKER (1996, A/A-)
ฉากที่ดิฉันชอบมากในหนังเรื่องนี้ คือฉากที่ KATSUO ประทับใจหนังเรื่อง THE LONG ABSENCE (1961, HENRI COLPI, A) เป็นอย่างมาก จนเขาถึงกับลุกขึ้นมาทำท่าทางเลียนแบบ ALIDA VALLI (นางเอกของ THE LONG ABSENCE) ให้คนอื่นๆดู
หนังเรื่อง THE LONG ABSENCE เคยเข้ามาฉายที่สมาคมฝรั่งเศส ถ.สาทรใต้ และสร้างจากบทประพันธ์ของ MARGUERITE DURAS อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ DURAS ได้ในหนังสือบุ๊คไวรัส 1
THE LONG ABSENCE เคยได้รับรางวัลปาล์มทองในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์และได้รับรางวัลคิเนม่า จุนโปสาขาหนังภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมด้วย
http://www.imdb.com/title/tt0054426/awards
หนังเรื่อง THE RAINBOW SEEKER เหมาะกับคนที่ชอบ CINEMA PARADISO ค่ะ
24 JUNE
A DISTANT CRY FROM SPRING (1980, C+)
ส่วนในเดือนก.ค.ปีนี้ ทางมูลนิธิญี่ปุ่นนำหนังชุดโทร่า-ซังกลับมาเวียนฉายอีกครั้งค่ะ โปรแกรมมีดังต่อไปนี้
1 JULY
IT’S A HARD LIFE (1969)
5 JULY
HEART AND FLOWERS FOR TORA (1982)
8 JULY
TORA-SAN GOES RELIGIOUS (1983)
15 JULY
TORA-SAN’S FORBIDDEN LOVE (1984)
19 JULY
TORA-SAN MY UNCLE (1990)
29 JULY
TORA-SAN TO THE RESCUE (1995)
ดูข้อมูลของ YOJI YAMADA ได้ที่
http://www.imdb.com/name/nm0945282/
เคยดู TOKIWA: THE MANGA APARTMENT (1996, A-) เมื่อประมาณ 7 ปีก่อน ก็เป็นหนังที่ดูเพลินเรื่องนึงค่ะ จำเนื้อเรื่องไม่ค่อยได้แล้ว แต่ถ้าหากเทียบกับหนังของ JUN ICHIKAWA เรื่องอื่นๆ ดิฉันอาจจะชอบเรื่องนี้น้อยที่สุดค่ะ (แต่ก็ชอบมากถึงขั้น A-) เดาว่าเหตุส่วนนึงอาจจะเป็นเพราะว่าหนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง JUN ICHIKAWA ก็เลยไม่สามารถใส่ “ความรู้สึกหงอยเหงาเศร้าสร้อย โดดเดี่ยวเปล่าเปลี่ยว” ลงไปในหนังเรื่องนี้ได้มากนัก
ดิฉันชอบความรู้สึกเหงาๆในหนังของเขามากที่สุดค่ะ เพราะฉะนั้นการที่ TOKIWA: THE MANGA APARTMENT ไม่ค่อยเหงา (เมื่อเทียบกับเรื่องอื่นๆของเขา) ก็เลยทำให้ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้น้อยลงตามไปด้วย แต่ก็ยังจัดว่าเป็นหนังที่น่าพอใจเรื่องนึง
MASAHIRO MOTOKI แห่งวง SHIBUGAKI-TAI รับบทเป็นพระเอกหนังเรื่องนี้ค่ะ ไม่รู้ว่ามีใครในที่นี้เกิดทันวง SHIBUGAKI-TAI บ้างหรือเปล่า
MASAHIRO MOTOKI เคยเล่นหนังเรื่อง
1.SHALL WE DANCE (1996, MASAYUKI SUO, A+)
2.GEMINI (1999, SHINYA TSUKAMOTO, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0210302/
3.THE MYSTERY OF RAMPO (1994, RINTARO MAYUZUMI + KAZUYOSHI OKUYAMA, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0110943/
4.SUMO DO, SUMO DON’T (1992, MASAYUKI SUO, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0105388/
5.FANCY DANCE (1989, MASAYUKI SUO, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0097330/
6.THE BIRD PEOPLE IN CHINA (1998, TAKASHI MIIKE, B+/B)
http://www.imdb.com/title/tt0142181/
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MASAHIRO MOTOKI ได้ที่
http://www.imdb.com/name/nm0609403/
ข้อมูลหนังจีนกับประวัติศาสตร์จีน
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=drib777&group=1
MARTIN SCORSESE’S FILMS (IN PREFERENTIAL ORDER)
1.THE COLOR OF MONEY (1986, A+)
2.THE AGE OF INNOCENCE (1993, A+)
3.THE KING OF COMEDY (1983, A+)
4.GANGS OF NEW YORK (2002, A+)
5.THE AVIATOR (2004, A+)
6.ALICE DOESN’T LIVE HERE ANYMORE (1974, A+/A)
7.ITALIANAMERICAN (1974, A)
8.THE LAST TEMPTATION OF CHRIST (1988, A)
9.TAXI DRIVER (1976, A)
10.CAPE FEAR (1991, A-)
11.CASINO (1995, A-)
12.A PERSONAL JOURNEY WITH MARTIN SCORSESE THROUGH AMERICAN MOVIES (1995, A-)
13.RAGING BULL (1980, A-)
14.AFTER HOURS (1985, A-)
15.GOODFELLAS (1990, A-)
16.BOXCAR BERTHA (1972, B+/B)
17.“LIFE LESSONS” IN “NEW YORK STORIES” (1989, B/B-)
http://rogerebert.suntimes.com/apps/pbcs.dll/article?AID=/19890303/REVIEWS/903030306/1023
ยังไม่ได้ดู BUS 174 เลยค่ะ แต่จำได้ว่า BIOSCOPE เคยลงข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ไว้แล้ว
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=4745
เคยดูหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์จี้รถบัสเรื่องนึงที่สนุกพอสมควร ซึ่งก็คือเรื่อง SUDDEN TERROR: THE HIJACKING OF SCHOOL BUS#17 (1996, PAUL SCHNEIDER, B+) หนังที่สร้างจากเรื่องจริงเรื่องนี้นำแสดงโดย MARIA CONCHITA ALONSO ในบทของพนักงานขับรถรับส่งนักเรียน แต่อยู่ดีๆวันนึงก็มีผู้ชายโรคจิตบุกขึ้นมาบนรถบัสของเธอและจับเธอกับนักเรียนไว้เป็นตัวประกัน พนักงานขับรถหญิงคนนี้ต้องคุมสติสตังของตัวเองเอาไว้ให้ได้ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดอย่างรุนแรงมาก เธอไม่รู้ว่าตัวเองจะถูกฆ่าตายเมื่อไหร่ และนักเรียนบนรถของเธอจะถูกฆ่าตายเมื่อไหร่ แต่เธอต้องพยายามเอาชีวิตตัวเองให้รอดและพยายามช่วยชีวิตนักเรียนบนรถให้รอดให้ได้
ในขณะที่เหตุการณ์บนรถบัสตึงเครียดอย่างรุนแรง หนังก็แสดงให้เห็นว่าบรรดาผู้ปกครองของเด็กๆก็ตกอยู่ในภาวะตึงเครียดมากเช่นกัน
SUDDEN TERROR เคยมาฉายทางช่อง 3 เมื่อไม่กี่ปีก่อน
http://www.imdb.com/title/tt0117776/
DYING AT A HOSPITAL
เวลาที่ดิฉันดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันได้แต่พูดกับตัวเองในใจว่า “นี่แหละชีวิต” หนังเรื่องนี้เน้นให้เห็นช่วงของการ “แก่ เจ็บ ตาย” ในชีวิตมนุษย์ โดยมีช่วงเวลาของความรื่นรมย์ในส่วนอื่นๆของชีวิตตัดเข้ามาให้ดูบ้างเป็นระยะๆ
ชอบฉากเปิดของหนังเรื่องนี้มากค่ะ ในฉากเปิดของหนังเรื่องนี้ ดิฉันไม่แน่ใจว่า “ตัวเอก” ของฉากนั้น คือชายชรา-หญิงชรา หรือแสงอาทิตย์ที่ส่องลอดม่านหน้าต่างเข้ามากันแน่ เพราะอารมณ์อันรุนแรงที่ดิฉันได้รับจากฉากนั้น ไม่ได้เกิดจากบทสนทนาของชายชราหญิงชราเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแสงอาทิตย์ที่ส่องลอดม่านหน้าต่างเข้ามาในฉากนั้นด้วย แสงอาทิตย์ที่เริ่มจากมืดมาสว่างและมามืดสลัวอีกครั้งในฉากนั้น เป็นสิ่งที่บาดใจดิฉันอย่างรุนแรงสุดๆ
ชอบที่หนังเรื่องนี้รักษาระยะห่างจากตัวละครไว้ในระดับที่เหมาะสมได้ตลอดทั้งเรื่องค่ะ จริงๆแล้วชีวิตตัวละครในหนังเรื่องนี้อาจไม่ได้แตกต่างไปจากชีวิตตัวละครในหนังอีกเป็นพันๆเรื่อง แต่วิธีการนำเสนอ “ชีวิตตัวละครที่ป่วยใกล้ตาย” ของหนังเรื่องนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกอินกับหนังเรื่องนี้มากกว่าเรื่องอื่นๆ
สิ่งที่ชอบมากใน DYING AT A HOSPITAL รวมถึง
1.ฉากที่ผู้ป่วยชายคนนึงกรีดร้องด้วยความเจ็บปวด และผู้ป่วยคนอื่นๆในห้องบอกให้คนนี้เงียบๆ ฉากนี้ทำให้นึกถึงตอนที่ตัวเองนอนห้องรวมในโรงพยาบาล และจำได้ว่ารู้สึกสงสารผู้ป่วยบางคนที่นอนห้องเดียวกันเป็นอย่างมาก เพราะเสียงและสีหน้าของเขาแสดงให้เห็นว่าเขาเจ็บปวดกับอาการป่วยของตัวเองเป็นอย่างมาก
2.ชอบที่ฉากเปิดของหนังเรื่องนี้แทบไม่มีการเคลื่อนกล้องเลย
3.ชอบที่การตัดฉากในหนังเรื่องนี้ หลายครั้งใช้วิธีซ้อนเลือนภาพ โดยที่มุมกล้องยังอยู่เหมือนเดิม และฉากก็เป็นฉากเดิม สิ่งที่เปลี่ยนไปมีแต่เพียงเวลาในฉากนั้น บอกไม่ถูกเหมือนกันว่าวิธีการนี้มันดียังไง แต่รู้สึกว่ามันเหมาะกับหนังเรื่องนี้ บางทีอาจจะเป็นเพราะว่าหนังเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นชีวิตที่ทุกอย่างกำลังจะมาถึงจุดหยุดนิ่งและใกล้จะเลือนสลายหายไปจากโลกนี้ โดยมีเพียงเวลาเท่านั้นที่ยังคงเดินหน้าไปเรื่อยๆอย่างไม่หยุดยั้ง
4.รู้สึกสะเทือนใจกับตัวละครชายหนุ่มที่ดีใจที่จะได้ออกจากโรงพยาบาล แต่ต่อมาก็พบว่ามันเป็นเพียงการออกจากโรงพยาบาลเพียงชั่วคราวเท่านั้น
5.เท่าที่จำได้ หนังเรื่องนี้ไม่ได้แสดงให้เห็นฉากตัวละครตัวไหนสิ้นใจขณะที่มีผู้คนมารายล้อมร่ำไห้อยู่รอบเตียง ไม่มีฉากแสดงให้เห็นเส้นกราฟหัวใจหยุดเต้น หนังเรื่องนี้มักจะแสดงให้เห็นฉากตัวละครผู้ป่วยที่ยังมีชีวิตอยู่และนอนอยู่บนเตียง แล้วอยู่ดีๆก็ตัดมาเป็นฉากพยาบาลมาเก็บเตียงโล่งๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยคนนั้นตายไปแล้ว วิธีการนำเสนอการตายของตัวละครแบบนี้สะเทือนใจดิฉันมากๆ
6.หนังเรื่องนี้มีตัวละครคนแก่หลายคน แต่ไม่มีฉากแฟลชแบ็คตรงๆให้เห็นเลยว่าชีวิตก่อนหน้านี้ของตัวละครคนแก่เหล่านี้เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งก็เป็นวิธีการที่เหมาะดีเหมือนกัน เพราะมันเปิดโอกาสให้ดิฉันจินตนาการชีวิตคนแก่เหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง ดิฉันไม่แน่ใจเหมือนกันว่า “ฉากชีวิตปกติสุข” ที่ตัดเข้ามาเป็นระยะๆในหนังเรื่องนี้ต้องการจะสื่อถึงอะไร แต่ก็คิดว่าตัวละครผู้ป่วยหลายๆคนในหนังเรื่องนี้คงจะเคยผ่านชีวิตที่ปกติสุข, ผ่านการร่วมงานรื่นเริงตามเทศกาลต่างๆ, ผ่านการเห็นดอกไม้บาน, ผ่านการเต้นรำ, ผ่านการเดินในท้องถนนยามเช้า, ผ่านการเดินในท้องถนนที่มีผู้คนคลาคล่ำ เหมือนอย่างภาพที่ปรากฏในหนังเรื่องนี้มาแล้ว เขาจะรู้สึกอย่างไรบ้างนะกับภาพชีวิตปกติธรรมดาเหล่านี้ บางทีขณะที่เขานอนป่วยอยู่บนเตียง เขาอาจจะรำลึกถึงภาพชีวิตปกติเหล่านั้นก็ได้ว่ามันช่างเป็นช่วงชีวิตที่มีความสุขเสียเหลือเกิน บางทีภาพดอกไม้บาน, ภาพเด็กๆกระโดด, ภาพฟองสบู่ลอยละล่อง ฯลฯ ที่ปรากฏในหนังเรื่องนี้ อาจจะเป็นภาพที่ผู้ป่วยเหล่านี้เห็นลอยผ่านในจิตสำนึกของตัวเองก่อนจะตายก็เป็นได้
7.รู้สึกสะเทือนใจกับฉากเพื่อนๆในออฟฟิศมาเยี่ยมชายหนุ่ม เพราะในฉากนั้นเพื่อนๆในออฟฟิศคงมาเยี่ยมด้วยความปรารถนาดี แต่ชายหนุ่มคงรู้สึกสะเทือนใจมากที่ชีวิตเขาไม่อาจเป็นปกติเหมือนอย่างเพื่อนๆในออฟฟิศได้อีกแล้ว
8.รู้สึกดีมากกับตัวละครผู้ชายคนนึงที่ตายไปโดยไม่มีครอบครัวและไม่มีคนมาเยี่ยม เพราะในขณะที่ผู้ป่วยคนอื่นๆถูกรายล้อมไปด้วยสมาชิกในครอบครัวที่ทุกข์ใจและร้องไห้ ผู้ชายคนนี้กลับตายไปโดยที่ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าการตายของเขาพัวพันกับ “ความทุกข์” น้อยที่สุด
9.ตัวละครอีกคนนึงที่สะเทือนใจดิฉันก็คือหญิงชรา เธอมีสามีไม่ดี เธอพยายามเลี้ยงลูก 3 คนจนโต เธอพูดในทำนองที่ว่า “ฉันกะว่าพอลูกโตแล้ว ฉันก็คงจะหาความสุขให้กับชีวิตตัวเองได้เสียที แต่ฉันก็ดันมาป่วยเป็นมะเร็งเสียนี่”
10.ตอนจบของหนังเรื่องนี้ก็ซึ้งดี ตัวละครชายหนุ่มคนนึงพูดในทำนองที่ว่า “ความรักทำให้เขามีชีวิตอยู่ต่อไป” แต่เราได้ยินเสียงของชายหนุ่มคนนี้ตอนที่เขาตายไปแล้ว ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าไม่ว่าเขาจะรักภรรยากับลูกๆมากแค่ไหน เขาก็ไม่สามารถยื้อยุดชีวิตตัวเองเอาไว้ได้
มีหนังเกี่ยวกับ VOYEURISM เรื่องนึงที่อยากดูอย่างสุดๆค่ะ นั่นก็คือเรื่อง WHITE ROOM (1990, PATRICIA ROZEMA)
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ได้ที่
http://www.washingtonpost.com/wp-srv/style/longterm/movies/videos/whiteroomnrkempley_a0a422.htm
Patricia Rozema ผู้กำกับ WHITE ROOM เคยกำกับ
1.MANSFIELD PARK (1999, A)
2.WHEN NIGHT IS FALLING (1995, B+) หนังเลสเบียน
KATE NELLIGAN นางเอกของ WHITE ROOM เคยเข้าชิงรางวัลออสการ์จาก THE PRINCE OF TIDES (1991, BARBRA STREISAND, A-)
http://www.imdb.com/name/nm0625075/
MARGOT KIDDER ซึ่งรับบทเป็นตัวละครชื่อ MADELAINE X ใน WHITE ROOM เคยรับบทนำในหนังเรื่อง SISTERS (1973, BRIAN DE PALMA, A+/A) ที่จะมาฉายที่ BIOSCOPE THEATRE ในเร็วๆนี้
http://www.imdb.com/name/nm0452288/
Saturday, May 14, 2005
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment