Sunday, December 11, 2005

HAL ASHBY

ยังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้เลย แต่ปกติมักจะชอบหนังทำนองหนุ่มน้อยกับสาวแก่อยู่แล้ว

เกร็ดที่น่ารู้เกี่ยวกับ HAL ASHBY (1929-1988) ผู้กำกับหนังเรื่อง HAROLD AND MAUDE
(จากเว็บไซท์ SENSES OF CINEMA บทความเขียนโดย DARREN HUGHES)

Hal Ashby กล่าวว่า “ผมเกิดที่เมืองออกเดน ในรัฐยูทาห์ และเป็นลูกคนสุดท้องจากทั้งหมด 4 คน พ่อกับแม่ของผมหย่ากันตอนที่ผมอายุราว 5-6 ขวบ พ่อฆ่าตัวตายตอนที่ผมอายุ 12 ปี ผมใช้ชีวิตอย่างยากลำบากขณะที่เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่และรู้สึกสับสนอย่างรุนแรงเหมือนคนอื่นๆ ผมแต่งงานและหย่าร้างถึง 2 ครั้งก่อนจะมีอายุครบ 21 ปี ผมโบกรถไปลอสแองเจลิสตอนอายุ 17 ปี ผมทำงานมาแล้วราว 50-60 งานก่อนที่จะได้มาเป็นคนคุมเครื่อง Multilith ที่สตูดิโอรีพับลิคยุคเก่า”

ชีวิตและการทำงานของฮัล แอชบีคล้ายกับพล็อตสำเร็จรูปในหนังฮอลลีวู้ด เขาเป็นชายหนุ่มจากเมืองเล็กที่ทำตัวดีจนสามารถไต่เต้าขึ้นจากห้องแยกจดหมายของสตูดิโอภาพยนตร์จนก้าวขึ้นไปรับรางวัลออสการ์ เขาเป็นคนที่มีจิตวิญญาณเสรีแบบทศวรรษ 1960 ที่เชิดชูสิทธิของปัจเจกบุคคลในโลกของผู้มีอำนาจที่ชอบกดขี่ข่มเหง และเขาก็ได้รับเสียงวิจารณ์ในทางลบบ้างเช่นกันในระหว่างการทำงาน นอกจากนี้ ชีวิตของเขายังเป็นนิทานสอนใจเกี่ยวกับการตามใจตัวเองมากเกินไปจนทำให้ชื่อเสียงตกต่ำอีกด้วย ทั้งนี้ ถึงแม้ผู้เขียนบทความนี้ (DARREN HUGHES) ไม่ต้องการจะเล่าชีวิตของแอชบีในแบบที่คล้ายกับพล็อตสำเร็จรูปเช่นนั้น แต่มันก็เป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ เพราะมีคนเขียนเกี่ยวกับชีวประวัติของแอชบีไว้น้อยมาก

การที่แอชบีได้รับความสนใจจากนักวิจารณ์น้อยเช่นนี้เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ เพราะว่าเขาเคยได้รับรางวัลใหญ่ เขาได้รับการสรรเสริญเยินยอจากคนที่เคยร่วมงานกับเขา และผลงานภาพยนตร์ที่เขาสร้างในทศวรรษ 1970 ก็มีความยิ่งใหญ่มากพอๆกับผลงานของผู้กำกับชื่อดังในรุ่นเดียวกันกับเขา อย่างเช่นฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปล่า และโรเบิร์ต อัลท์แมน ผลงานของเขาในทศวรรษนั้น ซึ่งได้แก่ THE LANDLORD (1970), HAROLD AND MAUDE (1971), THE LAST DETAIL (1973), SHAMPOO (1975), BOUND FOR GLORY (1976), COMING HOME (1978) และ BEING THERE (1979) แสดงให้เห็นว่าแอชบีเป็นคนที่มีความสามารถสูงมาก

อย่างไรก็ดี แอชบีสร้างภาพยนตร์ที่น่าผิดหวังติดต่อกันหลายเรื่องในทศวรรษ 1980 และเขาเสียชีวิตก่อนที่จะได้มีโอกาสกอบกู้ชื่อเสียงของตัวเอง และสิ่งนี้ทำให้นักวิจารณ์หลายคนมองว่าแอชบีเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ที่ขาดความสม่ำเสมอ และเขาเป็นเพียงแค่คนที่ได้รับผลประโยชน์จากการร่วมงานกับคนเก่งๆเท่านั้น

แต่กระนั้นก็ดี บางคนก็เชื่อว่าภาพยนตร์ของแอชบีเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ของอเมริกาในทศวรรษ 1970 ได้อย่างดีมาก และแสดงให้เห็นทั้งความงดงามและการโต้แย้งกันทางความคิดของคนในยุคสมัยนั้น ซึ่งสองสิ่งนี้คือจุดเด่นของทศวรรษ 1970

หลังจากแอชบีเจอศพพ่อของตัวเองในทศวรรษ 1970 เขาก็ลาออกจากโรงเรียนและเริ่มทำงานเล็กๆน้อยๆ เขาแต่งงานและหย่าร้างไปแล้วหนึ่งครั้งขณะที่เขามีอายุเพียง 17 ปี (เขาหย่าร้างจากภรรยาทั้งหมด 4 ครั้งตลอดชีวิตของเขา) และในปี 1950 ชายหนุ่มที่นับถือลัทธิมอร์มอนคนนี้ก็ตัดสินใจทิ้งฤดูหนาวที่หนาวเหน็บในรัฐยูทาห์และไวโอมิง เพื่อเดินทางไปหาท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพของรัฐแคลิฟอร์เนีย

เมื่อแอชบีเดินทางมาถึงลอสแองเจลิส เขาก็พยายามหางานทำแต่ประสบความล้มเหลวและต้องใช้ชีวิตอย่างอดอยากหิวโหยเป็นเวลานาน 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นเขาก็ไปติดต่อที่สำนักงานสงเคราะห์คนว่างงานของรัฐแคลิฟอร์เนียเพื่อขอทำงานในสตูดิโอภาพยนตร์ เขาได้ไปทำงานที่สตูดิโอยูนิเวอร์แซลเป็นแห่งแรก โดยทำงานในห้องแยกจดหมาย แต่ในปี 1951 เขาก็ได้ทำงานเป็นเด็กฝึกหัดด้านการตัดต่อที่สตูดิโอรีพับลิค ต่อมาเขาก็ย้ายไปดิสนีย์และย้ายไปที่เมโทร ซึ่งเป็นที่ที่เขาได้พบกับแจ็ค นิโคลสัน ซึ่งยังคงเป็นนักแสดงโนเนมที่มีความทะเยอทะยานสูงในตอนนั้น

แอชบีเรียนรู้เรื่องการสร้างภาพยนตร์จากห้องตัดต่อ โดยเขาเคยกล่าวกับไมเคิล เชดลินว่า “มันเป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบในการศึกษาทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมาอยู่รวมกันในแถบฟิล์มแถบนั้น ตั้งแต่การเขียนบท, การจัดฉาก, การกำกับ และการแสดง และคุณก็มีโอกาสที่จะดูมันกลับไปกลับมาหลายรอบ และตั้งคำถามว่า ทำไมฉันถึงชอบอันนี้ ทำไมฉันถึงไม่ชอบอันนั้น”

หลังจากทำงานเป็นผู้ช่วยผู้ตัดต่อของโรเบิร์ต สวิงค์ ในภาพยนตร์เรื่อง FRIENDLY PERSUASION (1956, WILLIAM WYLER) และ THE BIG COUNTRY (1958, WILLIAM WYLER) และในภาพยนตร์เรื่อง THE DIARY OF ANNE FRANK (1959, GEORGE STEVENS) กับ THE GREATEST STORY EVER TOLD (1965, GEORGE STEVENS) แอชบีก็หันมาตัดต่อภาพยนตร์ด้วยตัวเองโดยทำงานให้กับเรื่อง THE LOVED ONE (1965, TONY RICHARDSON) และตัดต่อหนัง 4 เรื่องที่กำกับโดย NORMAN JEWISON ซึ่งได้แก่เรื่อง THE CINCINNATI KID (1965), “THE RUSSIANS ARE COMING, THE RUSSIANS ARE COMING” (1966), IN THE HEAT OF THE NIGHT (1967) และ THE THOMAS CROWN AFFAIR (1968) โดยแอชบีได้รับรางวัลออสการ์สาขาตัดต่อยอดเยี่ยมจาก IN THE HEAT OF THE NIGHT ด้วย

NORMAN JEWISON นี่เองคือคนที่แนะนำให้แอชบีกำกับหนังเรื่อง THE LANDLORD ซึ่งในตอนนั้นเป็นโครงการของสตูดิโอยูไนเต็ด อาร์ติสท์ และนั่นคือสาเหตุที่แอชบีได้กำกับหนังเรื่องแรกเมื่ออายุ 40ปี

THE LANDLORD เป็นหนังที่มีความกล้าหาญทั้งในด้านสไตล์และในทางการเมือง โดยในเรื่องนี้ BEAU BRIDGES รับบทเป็น ELGAR ENDERS ผู้ทิ้งคฤหาสน์อันใหญ่โตของครอบครัวของเขาขณะที่เขาอายุ 29 ปี เพื่อมาซื้อตึกแถวหลังหนึ่งในสลัมในนครนิวยอร์ค โดยเขาวางแผนที่จะปรับปรุงบูรณะตึกแถวแห่งนี้เมื่อเขาไล่ผู้เช่าออกไปหมดทุกคน โดยผู้เช่าเหล่านี้ได้แก่มาร์จี้ (Pearl Bailey), นายและนางโคปี (LOUIS GOSSETT JR. + DIANA SANDS) และศาสตราจารย์ดูบัวส์ (MELVIN STEWART)

ในฉากแรกที่เอลการ์ปรากฏตัว เขานอนเอนกายอยู่บนเก้าอี้, จิบบรั่นดี, มองตรงมาที่กล้อง และพูดกับเราว่า “ผมมีความรู้สึกว่าเราทุกคน ผมหมายถึงทั้งคนผิวขาว, ผิวดำ, ผิวเหลือง, เดโมแครต, คอมมิวนิสต์, รีพับลิกัน, คนแก่, คนหนุ่มสาว, คนประเภทใดก็ตาม เราทุกคนเป็นเหมือนกับมดฝูงหนึ่ง และแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ค้ำจุนชีวิตของเราอย่างแท้จริงก็คือความต้องการจะครอบครองอาณาบริเวณของตัวเอง”

หลังจากนั้นแนวคิดและค่านิยมทุกอย่างของเอ็ดการ์ ทั้งในเรื่องเชื้อชาติ, การเมือง, เศรษฐกิจ และด้านอื่นๆ ก็ต้องพบกับบททดสอบเมื่อชีวิตของเขาเข้ามาพัวพันกับชีวิตของผู้เช่าตึกแถว

ทักษะของแอชบีในฐานะนักตัดต่อปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดตั้งแต่ในฉากเปิดเรื่อง เมื่อเขาตัดสลับระหว่างภาพการเล่นแร้กเกตบอลที่แสงมีความคอนทราสท์สูง กับภาพย่านที่อยู่อาศัยของคนผิวดำที่มีแสงที่นุ่มนวลและเป็นธรรมชาติมากกว่า และความแตกต่างด้านภาพแบบนี้ก็ปรากฏอยู่ตลอดทั้งเรื่อง นอกจากนี้ แอชบียังตอกย้ำความแตกต่างระหว่างโลกของคนขาวกับโลกของคนดำผ่านทางตัวละครของเขาด้วย โดยคนในตระกูลเอ็นเดอร์สนี้เป็นเหมือนกับภาพล้อเลียนที่ดูน่าขัน ในขณะที่ผู้เช่าตึกแถวได้รับการถ่ายทอดออกมาอย่างเห็นอกเห็นใจมากกว่า และผลลัพธ์ที่ได้ก็คือว่า THE LANDLORD เป็นหนังที่ฉลาดปราดเปรื่องมาก และดูราวกับว่าถ้าหาก LUIS BUNUEL คิดจะกำกับหนังแนว BLAXPLOITATION แล้วล่ะก็ ผลงานที่ได้ก็คงออกมาเป็นแบบนี้

บทวิจารณ์ THE LANDLORD บางบทบอกว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังแนว BILDUNGSROMAN หรือหนังที่นำเสนอตัวละครหนุ่มสาวที่ได้เรียนรู้พัฒนาด้านจริยธรรม, จิตวิทยา หรือสติปัญญาขณะที่เนื้อเรื่องดำเนินไป เพราะในเรื่องนี้เอลการ์เป็นชายหนุ่มผิวขาวที่ไร้อารมณ์ แต่เขาก็ได้เรียนรู้ที่จะเติบโตขึ้นเมื่อเขาได้สัมผัสกับความเป็นจริงในชีวิตของคนผิวดำ เอลการ์เริ่มรู้สึกชอบผู้เช่าตึกแถวมากขึ้นเรื่อยๆ และหลังจากที่เขามีความรักกับผู้หญิงลูกครึ่ง ผู้ชมก็จะได้เรียนรู้ถึงความเป็นไปได้ที่คนต่างสีผิวจะปรองดองกันในอเมริกา อย่างไรก็ดี นักวิจารณ์บางคนมีความคิดเห็นตรงกันข้ามกับแนวคิดนี้ โดยบางคนบอกว่า THE LANDLORD คล้ายคลึงกับหนังสือชื่อ RADICAL CHIC ที่เขียนโดย THOMAS WOLFE และเป็นบันทึกเหตุการณ์ในงานระดมทุนในปี 1970 เพื่อหาเงินให้กับกลุ่ม BLACK PANTHERS หรือกลุ่มเรียกร้องสิทธิคนดำ โดยงานนี้จัดขึ้นในบ้านอันหรูหราของเฟลิเซียและเลียวนาร์ด เบอร์นสไตน์

หนังสือ RADICAL CHIC บรรยายถึง “กลุ่มเสรีนิยมที่นั่งรถลิมูซีน” ที่มารวมตัวกันที่ปาร์ค อเวนิวเพื่อมาจิบไวน์, เขียนเช็ค และหารือกันเรื่อง “ปัญหาด้านเชื้อชาติ” และเอลการ์ก็เหมือนกับคนกลุ่มนี้ เขาไม่มีความพร้อมที่จะรับมือกับกลุ่มคนที่มีแนวคิดรุนแรงที่ไม่ยอมรับเขา

ฮัล แอชบีถ่ายทอดความตึงเครียดของสิ่งนี้ได้ดีมากในซีเควนซ์ใกล้ตอนจบของเรื่อง โดยในฉากนั้นนายโคปีทราบความจริงว่าภรรยาของเขากำลังตั้งครรภ์ลูกของเอลการ์ ดังนั้นเขาจึงเอาขวานมาขู่เอลการ์ ก่อนที่จะหยุดและค่อยๆวางอาวุธลง ทั้งนี้ แทนที่แอชบีจะมุ่งความสนใจไปที่เอลการ์ในฉากนี้ เขากลับมุ่งความสนใจไปที่โคปี และทันใดนั้นเราก็ตระหนักว่าที่แท้แล้วหนังเรื่องนี้คือเรื่องราวของโคปีมาโดยตลอด ผู้ชมผิวขาวที่มีแนวคิดเสรีนิยมที่นั่งชม THE LANDLORD รู้สึกเข้าข้างเอลการ์เพราะพวกเขาเชื่อเหมือนเอลการ์ว่าแนวคิดแบบอุดมคติและการแสดงความเห็นอกเห็นใจอยู่ห่างๆคือสิ่งที่สามารถช่วยขจัดความเหยียดผิวในโลกได้ แต่เมื่อหนังเรื่องนี้เปลี่ยนมุมมองจากเอลการ์มายังโคปี แอชบีก็แสดงให้เห็นว่าแนวคิดดังกล่าวของผู้ชมเป็นสิ่งที่ไร้เดียงสามากเพียงใด

แอชบีได้กำกับหนังเรื่องที่สองซึ่งก็คือ HAROLD AND MAUDE เมื่อผู้บริหารของพาราเมาท์ตัดสินใจว่า COLIN HIGGINS ยังใหม่เกินไปสำหรับงานกำกับหนังเรื่องนี้ โดย HIGGINS คือคนที่เขียนบทหนังเรื่องนี้ขณะที่เขายังเป็นนักเรียนด้านภาพยนตร์อยู่ และเขาก็หวังที่จะกำกับหนังเรื่องนี้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ดี ฮิกกินส์ยอมรับว่า “ผมตั้งใจจะสร้างหนังที่ใช้ทุนสร้าง 5 แสนดอลลาร์ แต่พวกเขาต้องการจะสร้างหนังที่ใช้ทุนสร้าง 1 ล้าน 5 แสนดอลลาร์”

ความคล้ายคลึงกันด้านธีมระหว่าง THE LANDLORD กับบทภาพยนตร์ของฮิกกินส์คือสิ่งที่ทำให้แอชบีเป็นตัวเลือกที่สมเหตุสมผลสำหรับการกำกับหนังเรื่องนี้ และการที่ HAROLD AND MAUDE สามารถนำเสนอการทำตัวออกนอกกรอบกฎเกณฑ์ของสังคมในชีวิตประจำวันได้โดยไม่ต้องพึ่งพาอารมณ์ซึ้งๆแบบโรบิน วิลเลียมส์ ก็เป็นสิ่งที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีถึงความสามารถทางการแสดงของบัด คอร์ท และรูธ กอร์ดอน รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความชำนาญด้านการกำกับของแอชบีด้วย โดยแอชบีสามารถดัดแปลงบทภาพยนตร์แนวตลกร้าย/เสียดสีของฮิกกินส์ให้กลายมาเป็นเทพนิยายกริมม์ได้สำเร็จ

อีกสิ่งหนึ่งที่คล้ายกับเทพนิยายก็คือว่า คติสอนใจใน HAROLD AND MAUDE ไม่สำคัญเท่ากับ “การเล่าเรื่อง” เพราะความสุขอันบริสุทธิ์ในวิธีการเล่าเรื่องของแอชบีช่วยปลดปล่อยหนังเรื่องนี้ออกจากระบบสัญลักษณ์หรือการสอนสั่งผู้ชม และทำให้หนังเรื่องนี้สามารถนำเสนอโลกที่เหมือนกับโลกในหนังของ WES ANDERSON เพราะโลกในหนังเรื่องนี้มีความงดงามและสิ่งมหัศจรรย์ราวกับมองด้วยสายตาของเด็ก ทั้งๆที่เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในโลกของผู้ใหญ่ที่เสื่อมทรามและเต็มไปด้วยการเย้ยหยันโลก

ฮัล แอชบีไม่ประสบความสำเร็จในยุคของ “โรนัลด์ เรแกน” และเขาก็เสียชีวิตจากโรคมะเร็งในปี 1988 เขาเสียชีวิตก่อนที่กระแสภาพยนตร์อินดี้จะได้รับความนิยมในอเมริกา ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เขากลับมาผงาดในวงการได้อีกครั้งถ้าเพียงแต่เขายังคงมีชีวิตอยู่ ลองคิดดูสิว่าโรเบิร์ต อัลท์แมนจะได้รับคำชื่นชมมากขนาดนี้ไหมถ้าหากเขาเสียชีวิตหลังจากกำกับ POPEYE (1980), “COME BACK TO THE FIVE AND DIME, JIMMY DEAN, JIMMY DEAN” (1982) และ SECRET HONOR (1984) ก่อนที่เขาจะได้มีโอกาสกำกับ THE PLAYER (1992) และ SHORT CUTS (1993) ลองคิดดูสิว่าคอปโปล่าจะเป็นอย่างไรถ้าหากอาชีพของเขาสิ้นสุดลงเมื่อเขากำกับ ONE FROM THE HEART (1982), THE OUTSIDERS (1983) และ RUMBLE FISH (1983) ฮัล แอชบีคือผู้กำกับที่ถูกลืมอีกคนนึง ทั้งๆที่เขาคือตัวแทนจิตวิญญาณฮอลลีวู้ดในทศวรรษ 1970 มากกว่าผู้กำกับคนอื่นๆ เขามีทั้งความกำกวมทางศีลธรรม, ความโกรธแค้นทางการเมือง, ความกล้าหาญด้านสไตล์ภาพยนตร์, การนำเสนอความเป็นมนุษย์อย่างลึกซึ้ง และเขาเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังอันมหาศาล ซึ่งเป็นพลังที่ฉายแสงโชติช่วงอย่างรุนแรง รุนแรงจนมันเปล่งประกายได้เพียงเวลาสั้นๆเท่านั้น

--อย่าจำ HAL ASHBY สลับกับ

1.HAL HARTLEY ผู้กำกับ AMATEUR, SIMPLE MEN, SURVIVING DESIRE, TRUST, THE UNBELIEVABLE TRUTH

2.HERK HARVEY ผู้กำกับ CARNIVAL OF SOULS

3.HAROLD RAMIS ผู้กำกับ CADDYSHACK, CLUB PARADISE, GROUNDHOG DAY (A+), MULTIPLICITY, NATIONAL LAMPOON’S VACATION, STUART SAVES HIS FAMILY

--ในขณะที่ศิษย์เอกของ HAL ASHBY คือ WES ANDERSON ศิษย์เอกของ ROBERT ALTMAN ก็คือ ALAN RUDOLPH ผู้กำกับ AFTERGLOW, CHOOSE ME, ENDANGERED SPECIES, EQUINOX (1993), LOVE AT LARGE, MADE IN HEAVEN (1987), MRS. PARKER AND THE VICIOUS CIRCLE, THE MODERNS, TROUBLE IN MIND และ WELCOME TO L.A.

ตอบคุณ SENSITIVEMAN

ต้องขอบคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะสำหรับคลิปยิมนาสติกที่เอามาให้ดู NADIA ดูน่ารักมากๆ รู้สึกว่าตอนที่เธอแข่งนั้น ดิฉันยังอายุไม่กี่ขวบเอง ไม่นึกว่าจะได้มีโอกาสดูการแข่งขันยิมนาสติกเก่าขนาดนี้ แต่ถ้าหากไม่บอกปีกำกับเอาไว้ ก็เดาไม่ออกเหมือนกันว่าเป็นคลิปที่เก่ามากแล้ว ดูแล้วก็รู้สึกว่าเธอเล่นได้สมบูรณ์แบบจริงๆ ท่าจับๆปล่อยๆของเธอก็เล่นยากมากจริงๆด้วย

ดูคลิปอันแรกของนาเดียที่เล่น UNEVEN BARS แล้วรู้สึกขำผู้หญิงที่เป็นคนพากย์ เธอพากย์แล้วได้อารมณ์ตื่นเต้นมากๆ

ดูชูชูโนว่าตอนเด็กแล้วจำไม่ได้เลยว่าเป็นคนเดียวกับในปี 1988 รู้สึกว่าหน้าตาของทั้งชูชูโนว่ากับซิลิวาสดูไม่ดีเท่าไหร่ในปี 1988 ถ้าหากเทียบกับช่วงอื่นๆในชีวิต ลีลาการแสดงของชูชูโนว่าตอนเด็กก็ดูร่าเริงสดใสมาก แต่ในปี 1988 เธอจะดูสุขุมขึ้นเยอะมาก

ส่วน OKSANA นั้นขอสารภาพว่าดูแล้วรู้สึกหมั่นไส้เล็กๆ เพราะเธอจงใจนำเสนอความน่ารักของตัวเองอย่างมากๆ

ยิมนาสติกลีลาชายนั้นน่าสนใจมากๆ แต่มีข้อเสียตรงที่ผู้ชายที่เล่นกีฬาแนวนี้อาจจะดูรูปร่างเพรียวบางหรือดูสาวๆกว่ายิมนาสติกธรรมดา ความเร้าใจในการดูก็เลยลดลงไปเยอะ

นอกจากนี้ ลีลาการเล่นก็ดูเหมือนยังไม่ค่อยมากเท่าไหร่ สงสัยคงยังไม่ค่อยมีคนคิดท่าทางการเล่นต่างๆขึ้นมา คงต้องอาศัยเวลากันต่อไป

อย่างไรก็ดี ก็มีส่วนที่ชอบอยู่บ้างเหมือนกัน เพราะดูแล้วรู้สึกว่ามันดูเหมือนวิทยายุทธอย่างมากๆ การแกว่งเชือกหมุนไปหมุนมาทำได้รวดเร็วมาก เรียกได้ว่าเอาไปใส่ในละครประเภท “สิงห์สาวนักสืบ” หรือ SUKEBAN DEKA ได้สบาย ประเภทที่ว่าตัวละครตัวนี้ใช้เชือกเป็นอาวุธ ใครขว้างอาวุธอะไรเข้าไป หรือยิงปืนใส่ เขาก็สามารถใช้เชือกปัดอาวุธหรือลูกกระสุนออกไปได้หมด

(พูดถึงละครเรื่อง SUKEBAN DEKA แล้วก็นึกขึ้นมาได้ว่า สิ่งหนึ่งที่ประทับใจมากๆในละครเรื่อง SUKEBAN DEKA ก็คือมีตอนนึงที่มีการคำนวณด้วยว่าท่าขว้างลูกดิ่งแต่ละท่าของซากิ อาซามิยา มีความเร็วเท่าไหร่ และมีท่าขว้างลูกดิ่งท่านึงที่สามารถขว้างลูกดิ่งได้ด้วยความเร็วสูงถึง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

ดูยิมนาสติกลีลาใหม่ของผู้ชายแล้ว รู้สึกเหมือนดูบัลเลต์ + การแสดงวิทยายุทธ และก็ทำให้นึกขึ้นมาได้ว่า ยุคนี้มีการแสดงอะไรหลายๆอย่างที่น่าสนใจดี อย่างเช่น

1.การแสดงของคนกลุ่มหนึ่งที่ชอบเอาอุปกรณ์ต่างๆรอบตัวมาเคาะเป็นเสียงดนตรี
http://images.amazon.com/images/P/0783113331.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

2.การเปิดแสดงวิธีการทำอาหารตามบ้านหรือโรงละครเล็กๆ แสดงเสร็จก็เอาอาหารมาให้ผู้ชมกินกัน

3.รู้สึกว่าจะมีการแสดงละครเพลงเกี่ยวกับการทำอาหารด้วย โดยเอาอุปกรณ์ทำครัวมาเคาะเป็นเสียงดนตรี

4.เคยดูรายการทีวี มีหญิงสาวคนนึงสามารถเอา “บัลเลต์” กับ “สเก็ตน้ำแข็ง” มารวมกันได้ด้วย โดยแทนที่เธอจะเล่นสเก็ตโดยสวมรองเท้าสเก็ตด้วยวิธีการปกติ เธอกลับเขย่งเท้าอยู่บนรองเท้าสเก็ต แล้วก็ไหลเลื่อนไปมาบนลานน้ำแข็งด้วยลีลาที่งดงาม

เห็นการประยุกต์การแสดงต่างๆมาใช้รวมกันเช่นนี้ ก็เลยจินตนาการต่อไปว่าในอนาคตอาจมีการแสดงเช่นนี้

1.”กีฬายิมนาสติกลีลาใหม่หลบหลีกอาวุธ”

ผู้แข่งขันต้องแสดงยิมนาสติกบนฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ และต้องคอยหลบหลีกอาวุธที่พุ่งมาจากทุกสารทิศไปด้วยในขณะเดียวกัน โดยสามารถใช้อุปกรณ์ของตัวเองปัดอาวุธออกไปได้ ผู้แข่งขันที่แสดงได้สวยงาม และสามารถหลบหลีกอาวุธจากทุกทิศทางได้มากที่สุด ก็จะได้รางวัลชนะเลิศไป

2.”ยิมนาสติกสร้างจังหวะใหม่”

ผู้แข่งขันยิมนาสติกลีลาประเภทนี้จะไม่เต้นไปตามจังหวะเพลงที่เปิด แต่ต้องสร้างจังหวะเพลงขึ้นมาเองโดยใช้อุปกรณ์ของตัวเอง โดยต้องแสดงลีลาพิสดารบวกกับเคาะ, ทุบ, กระแทก อุปกรณ์ของตัวเองไปด้วยเพื่อให้เกิดเป็นจังหวะที่ไพเราะ อุปกรณ์ที่ใช้ในยิมนาสติกประเภทนี้ก็มีเช่น “กาละมังอะลูมิเนียม” เรียกว่า “ยิมนาสติกลีลากาละมังใหม่” มีการกลิ้งกาละมังไปกับพื้นฟลอร์ แล้วให้กาละมังไหลกลับมา (เหมือนกับห่วง) และมีการทุบกาละมังให้เกิดเป็นจังหวะ

(ทำไมนึกถึงการ์ตูนเรื่อง “รันม่า” ขึ้นมาก็ไม่รู้)

ตอบน้อง ZM

พี่ฝันเป็น “สี” ค่ะ เพราะตื่นนอนขึ้นมาบางครั้ง จะจำได้เลยว่าฉากนั้นๆในความฝันมันมีสีอะไรที่สวยมากๆ เช่นสีทองหรือสีม่วง บางครั้งตื่นมาแล้วร้องไห้เลย เพราะสิ่งที่เห็นในความฝันมีสีสันที่สวยมากๆจนรู้สึกว่าตัวเองไม่น่าตื่นขึ้นมาเลย

ตอบคุณอ้วน

--ไอเดียเรื่องนายแบบกางเกงในในห้างสรรพสินค้าเป็นไอเดียที่ดีมากค่ะ เหมาะจะนำมาใส่ในหนังของ ULRIKE OTTINGER ได้เลย

--ชอบ CHICKEN LITTLE มากกว่า MADAGASCAR เยอะเลย

--ใช่ ใช่ รู้สึกว่า ANTONI GAUDI นี่แหละที่เป็นคนออกแบบโบสถ์ในบาร์เซโลน่า

--จำได้ว่าตอนที่ไปเที่ยว “ปราสาทสัจธรรม” ก็งงเหมือนกันว่าทำไมมันอาถรรพ์ เพราะมันเป็นสถานที่ที่เพิ่งสร้างใหม่ ไม่ใช่พระปรางค์เก่าแก่ที่สร้างมานานแล้ว และอาจมีวิญญาณคนเก่าคนแก่วนเวียนอยู่ ไกด์ก็เลยอธิบายในทำนองที่ว่า วิญญาณมันมากับ “ไม้” ที่ใช้สร้างปราสาท เพราะไม้เหล่านี้อาจจะตัดมาจากต้นไม้ที่มีนางไม้สิงสู่อยู่ นางไม้ก็เลยติดมากับไม้ด้วย และพอนำไม้มาสร้างปราสาท นางไม้จากต้นไม้ต่างๆก็เลยตามมาอยู่ที่ปราสาทแห่งนี้

--วันนี้ไปเดินสยามพาราเซตามอล (มันใหญ่จนเวียนหัว) มาค่ะ เพราะน้อง VESPERTINE บอกว่าร้านคิโนะคุนิยะที่นี่มีหนังสือดีๆเยอะมาก ไปดูก็แทบลมจับ มีหนังสือเกี่ยวกับหนังที่อยากได้มากมายหลายเล่ม แต่ส่วนใหญ่ราคาไม่ต่ำกว่าพันบาท หนังสือที่อยากได้ก็รวมถึง

1.CINEMA OF FLAMES: BALKAN FILMS, CULTURE AND THE MEDIA
http://www.amazon.co.uk/exec/obidos/ASIN/0851708471/qid=1134312340/sr=1-1/ref=sr_1_0_1/203-0240214-8999140
http://images-eu.amazon.com/images/P/0851708471.01.LZZZZZZZ.jpg

2.PERSONAL VISIONS: CONVERSATION WITH CONTEMPORARY FILM DIRECTORS
http://www.amazon.com/gp/product/1879505517/qid=1134312882/sr=1-1/ref=sr_1_1/103-6403120-5028606?s=books&v=glance&n=283155

In this collection of recent conversations, 18 of this generation's most creative filmmakers discuss their creative visions, their careers and the state of today's film industry.

Neil Jordan (The Crying Game, Mona Lisa, The Butcher Boy)
Michael Radford (Il Postino, 1984, White Mischief)
Tom DiCillo (Living in Oblivion, The Real Blond)
Nicholas Hytner (The Madness of King George, The Object of My Affection)
Atom Egoyan (Exotica, The Sweet Hereafter)
Alan Rudolph (Mrs. Parker and the Vicious Circle, The Moderns, Breakfast of Champions)
Richard Linklater (Slacker, Dazed and Confused)
Michael Tolkin (The Rapture, writer of The Player)
Terence Davies (The Neon Bible, Distant Voices, Still Lives) คนนี้เป็นเกย์
http://www.musicaememoria.com/distant_voices.jpg

Anna Campion (Loaded)
Philip Ridley (The Passion of Darkly Noon, The Reflecting Skin)
James Mangold (Cop Land, Girl Interrupted)
John McNaughton (Henry: Portrait of a Serial Killer, Mad Dog and Glory)
Benjamin Ross (The Young Poisoner's Handbook, RKO 281)
Keith Gordon (Mother Night, Wild Palms)
Michael Almereyda (Nadja, Hamlet)
Lynne Stopkewich (Kissed)
Alison Maclean (Crush, Jesus' Son) CRUSH เป็นหนังเลสเบียน

อันนี้เป็นรูปของ VIGGO MORTENSEN จากหนังเรื่อง THE REFLECTING SKIN (1990, PHILIP RIDLEY, A+)
http://www.celluloid-haven.com/haven/the_reflecting_skin/trs-17.jpg

3.LUCHINO VISCONTI ผู้กำกับคนนี้เป็นเกย์
http://www.amazon.com/gp/product/0851709613/qid=1134313022/sr=2-2/ref=pd_bbs_b_2_2/103-6403120-5028606?s=books&v=glance&n=283155

http://images.amazon.com/images/P/0851709613.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


4.ROBERTO ROSSELLINI: MAGICIAN OF THE REAL
http://www.amazon.com/gp/product/0851707955/qid=1134313143/sr=1-2/ref=sr_1_2/103-6403120-5028606?s=books&v=glance&n=283155

http://images.amazon.com/images/P/0851707955.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

5.CLOSE UP AND PERSONAL ของ CATHERINE DENEUVE
http://www.amazon.co.uk/exec/obidos/ASIN/0752869515/qid=1134312166/sr=1-1/ref=sr_1_2_1/203-0240214-8999140

6.HAWKS ON HAWKS
http://www.amazon.com/gp/product/0520045521/qid=1134312799/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/103-6403120-5028606?s=books&v=glance&n=283155

7.THE BFI COMPANION TO EASTERN EUROPEAN AND RUSSIAN CINEMA
http://www.amazon.com/gp/product/085170753X/qid=1134313412/sr=1-1/ref=sr_1_1/103-6403120-5028606?s=books&v=glance&n=283155

8.IRISH FILM: THE EMERGENCE OF A CONTEMPORARY CINEMA
http://www.amazon.com/gp/product/0851707939/qid=1134313256/sr=1-3/ref=sr_1_3/103-6403120-5028606?s=books&v=glance&n=283155

9.NATIONAL HEROES: BRITISH CINEMA IN THE SEVENTIES AND EIGHTIES
http://www.amazon.com/gp/product/075285707X/qid=1134313342/sr=1-6/ref=sr_1_6/103-6403120-5028606?s=books&v=glance&n=283155

10.MICHAEL GAMBON: A LIFE IN ACTING
http://www.amazon.co.uk/exec/obidos/ASIN/1557836442/qid=1134312220/sr=1-3/ref=sr_1_0_3/203-0240214-8999140

เพิ่งมาชอบ MICHAEL GAMBON ก็จากหนังเรื่อง BEING JULIA (2004, ISTVAN SZABO, A) นี่แหละ

11.SHYAM BENEGAL
http://www.amazon.co.uk/exec/obidos/ASIN/0851709087/qid=1134312587/sr=1-1/ref=sr_1_0_1/203-0240214-8999140
http://images-eu.amazon.com/images/P/0851709087.01.LZZZZZZZ.jpg

12.YASH CHOPRA
http://www.amazon.co.uk/exec/obidos/ASIN/0851708757/qid=1134312478/sr=1-1/ref=sr_1_0_1/203-0240214-8999140
http://images-eu.amazon.com/images/P/0851708757.01.LZZZZZZZ.jpg

13.YOUSSEF CHAHINE
http://www.amazon.co.uk/exec/obidos/ASIN/0851708587/qid=1134312693/sr=1-1/ref=sr_1_0_1/203-0240214-8999140

หลังจากเลือกไปเลือกมาเป็นเวลานาน ในที่สุดดิฉันก็ตัดสินใจซื้อนิตยสาร MEN’S WORKOUT ฉบับเดือนม.ค. 2006 ค่ะ





หนังที่อยากดูในช่วงนี้

หนังเรื่อง NO PAIN, NO GAIN (2005, Samuel Turcotte) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักเพาะกาย นำแสดงโดย GUS MALLIARODAKIS
http://members.aol.com/bbr345/Pittsburgh04/malliorodakis7.JPG

เว็บไซท์น่าสนใจ

1.เว็บไซท์ของ OPEN ONLINE ที่คุณเจ้าชายน้อยแนะนำมา มีบทความที่สุดยอดมากๆของคุณสนธยา ทรัพย์เย็นเกี่ยวกับหนังทดลอง, บทความเกี่ยวกับหนังเรื่อง WERCKMEISTER HARMONIES, บทความของคุณพิมพกา โตวิระ, คุณโตมร ศุขปรีชา และคุณปราบดา หยุ่น
http://www.diarii.com

2.นิตยสาร CINEMAG
http://www.cinemagonline.com/

ผลรางวัลสมาคมนักวิจารณ์ LA ออกมาแล้ว
http://www.lafca.net/Home/News/2005_lafca_awards_winners.html

หนังยอดเยี่ยม BROKEBACK MOUNTAIN กรี๊ด ดีใจ
รองอันดับหนึ่ง A HISTORY OF VIOLENCE กรี๊ด ดีใจ

DIRECTOR: Ang Lee, "Brokeback Mountain"- Runner-up: David Cronenberg, "A History of Violence"

ACTRESS: Vera Farmiga, "Down to the Bone"
http://www.offoffoff.com/film/2004/downtothebone.php
http://www.offoffoff.com/film/2004/images/downtothebone.jpg
- Runner-up: Judi Dench, "Mrs. Henderson Presents"

WILL YOUNG นักร้องเกย์หนุ่มชื่อดังร่วมเล่นหนังเรื่องนี้ด้วย
http://www.strangecelebrities.com/images/content/11290.jpg
http://www.popwinners.co.uk/will-young/im-pics/pic1.jpg

ACTOR: Phillip Seymour Hoffman, "Capote"

รูปของทรูแมน คาโปทตัวจริง ซึ่งเป็นเกย์
http://www.lib.uwo.ca/weldon/news/hottopics/images/trumancapote1.jpeg
อ่านประวัติความเป็นเกย์ของทรูแมน คาโปทได้ที่
http://www.glbtq.com/literature/capote_t.html
ผลงานดังของเขาคือ IN COLD BLOOD
http://images.amazon.com/images/P/2070360598.08._SCLZZZZZZZ_.jpg

- Runner-up: Heath Ledger, "Brokeback Mountain"

SCREENPLAY: TIE:"Capote" by Dan Futterman “The Squid and the Whale” by Noah Baumbach
DAN FUTTERMAN หล่อมาก เขาเคยเล่นหนังเกย์เรื่อง THE BIRDCAGE (B+/B) และ URBANIA (A+) และเล่นละครเรื่อง WILL & GRACE
http://i.timeinc.net/ew/dynamic/imgs/030429/125725__willkiss_l.jpg
http://www.culturevulture.net/Movies2/urbania.jpg
http://www.college.columbia.edu/cct/sep00/images/acting_title.jpg

SUPPORTING ACTRESS: Catherine Keener, "Capote", “Ballad of Jack and Rose”, “The 40 Year Old Virgin” and “The Interpreter”
- Runner-up: Amy Adams, "Junebug"
AMY ADAMS เคยเล่นหนังเรื่อง CATCH ME IF YOU CAN (B) และ THE WEDDING DATE (A-)
http://ffmedia.ign.com/filmforce/image/amyadams4.jpg


SUPPORTING ACTOR: William Hurt, "A History of Violence" - Runner-up: Frank Langella, "Good Night, And Good Luck"

FOREIGN LANGUAGE FILM: "Cache" directed by Michael Haneke- Runner-up: "2046" directed by Wong Kar Wai

DOCUMENTARY/NON-FICTION FILM: "Grizzly Man" directed by Werner Herzog - Runner-up: "Enron: The Smartest Guys in the Room" directed by Alex Gibney

PRODUCTION DESIGN: William Chang, "2046"- Runner-up: Jim Bissell, "Good Night, And Good Luck."

ANIMATION: "Wallace & Gromit: The Curse of the Were-Rabbit" (Nick Park and Steve Box)

MUSIC/SCORE: Joe Hisaishi, Youmi Kimura, "Howl’s Moving Castle"- Runner-up: Ryuichi Sakamoto, "Tony Takitani"

CINEMATOGRAPHY: Robert Elswit, "Good Night, And Good Luck"- Runner-up: Christopher Doyle, Kwan Pun Leung, & Yiu-Fai Lai, "2046"

NEW GENERATION: Terrence Howard

CAREER ACHIEVEMENT: Richard Widmark
เขาเชี่ยวชาญในการรับบทผู้ร้ายเป็นอย่างมาก
http://www.meredy.com/widmark01.jpg
รูปจากหนังเรื่อง THE STREET WITH NO NAME (1948, WILLIAM KEIGHLEY)
http://images.amazon.com/images/P/B0007ZEO7S.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
จากเรื่อง KISS OF DEATH (1947, HENRY HATHAWAY)
http://www.imdb.com/title/tt0039536/

http://images.amazon.com/images/P/6301863194.01.LZZZZZZZ.jpg
จากเรื่อง PICKUP ON SOUTH STREET (1953, SAMUEL FULLER)
http://www.imdb.com/title/tt0046187/
http://images.amazon.com/images/P/630196697X.01.LZZZZZZZ.jpg


**********INDEPENDENT/EXPERIMENTAL: “La Commune (Paris, 1871)” directed by Peter Watkins********** กรี๊ดสุดเสียง สลบเหมือด

*****ดีวีดีหนังเรื่ฮง PUNISHMENT PARK ของ PETER WATKINS มีเข้ามาวางขายในกรุงเทพแล้ว*****
http://images.amazon.com/images/P/B0007UQ2BY.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

No comments: