Sunday, December 31, 2017

28 UP (1984, Michael Apted, UK, documentary, A+30)

28 UP (1984, Michael Apted, UK, documentary, A+30)

--ชอบฉากที่นีล ซึ่งเป็นคนไร้บ้าน พูดถึง “พระเจ้า” มากๆ

--ชอบปีเตอร์มากๆที่ด่ามาร์กาเร็ต แธทเชอร์อย่างรุนแรง แต่น่าเสียดายที่เขาถูกสื่อมวลชนเลวๆโจมตี เขาก็เลยถอนตัวออกไปเลยหลังจากแสดงใน 28 UP และไม่ยอมมาให้สัมภาษณ์ใน 35 UP, 42 UP กับ 49 UP แต่พอเขาแก่ตัวแล้ว เขาก็กลับมาปรากฏตัวใหม่อีกใน 56 UP เพื่อโปรโมทวงดนตรีของตัวเอง 555

--ในภาค 4 นี้ หลายคนมีครอบครัว มีลูกแล้ว และปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่ว่า สามีกับภรรยาจะแบ่งภาระหน้าที่ในการเลี้ยงลูกยังไง สามีหรือภรรยาต้องลาออกจากงานเพื่อมาเลี้ยงลูกหรือเปล่า ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่อินกับประเด็นนี้ 555

--เหมือนผู้สร้างหนังพยายามจะสะท้อนปัญหาสังคมเรื่องคนรวย คนจน แต่ “คนจน” หลายคนในเรื่อง ก็บอกว่าตัวเองไม่อิจฉาคนรวยเลย ตัวเองมีความสุขดี ตัวเองมีทุกอย่างที่ตัวเองต้องการแล้ว แม้แต่นีล ซึ่งเป็นคนไร้บ้าน ก็บอกว่าตัวเอง content กับชีวิต

ซึ่งเราเชื่อว่า หลายคนพูดจริงนะ เพราะ “คนจน” หลายคนในเรื่อง มีบ้านอยู่สุขสบายน่ะ คือย่าน “working class neighborhood” ของคนจนผิวขาวชาวอังกฤษในหนังเรื่องนี้ ดูเผินๆมันก็เหมือนย่านชนชั้นกลางในกรุงเทพน่ะ มันไม่ได้เป็นแฟลตนรกแบบในหนังของ Mike Leigh หรือ Ken Loach

คือดูแล้วเห็นได้ชัดเลยว่า “ชนชั้นแรงงาน” ผิวขาวในอังกฤษนี่ ฐานะดีกว่าเราหลายเท่า คือเราอายุ 44 ปีแล้ว ยังไม่มีเงินซื้อบ้านหรือคอนโดของตัวเองเลย แต่ชนชั้นแรงงานในอังกฤษนี่ อายุ 20 กว่าปี ก็มีบ้านหลังเล็กอยู่อย่างสุขสบายแล้ว ทั้งๆที่พวกเขาไม่ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด

ตัวโทนี่ ก็น่าสนใจมาก คือเขาทำงานเป็นคนขับรถแท็กซี่ แต่พอโตขึ้นจนอายุ 49 ปี เขาก็มีบ้านสองหลังในอังกฤษ และก็มีบ้านอีกหลังนึงในสเปนด้วย เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าการทำงานขับรถแท็กซี่ 20 กว่าปี จะส่งผลให้เรามีเงินซื้อบ้านได้ถึง 3 หลัง อาชีพนี้ทำเงินได้ดีเกินคาดจริงๆ

แต่แน่นอนว่า หลายคนในหนังก็ย้ำแหละว่า พวกเขาคือตัวเขาเอง พวกเขาไม่ใช่ “representation” ของคนกลุ่มใดกลุ่มนึงแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นเราก็ไม่สามารถเหมารวมได้หรอกว่า เราสามารถตัดสิน “ชนชั้นแรงงาน” ในอังกฤษ โดยดูจากคนหลายๆคนในหนังเรื่องนี้ได้

--ถ้าเข้าใจไม่ผิด ในหนังชุด UP SERIES ชุดนี้นั้น ผู้สร้างหนังแค่นัดเจอ subjects แต่ละคนทุกๆ 7 ปีน่ะ คือไม่ได้ตามถ่ายตลอดเวลา คือเหมือนกับว่า พอครบ 7 ปี subjects แต่ละคนก็ไปนั่งให้สัมภาษณ์บวกกับให้ถ่ายภาพชีวิตแค่ 1-2 วันเท่านั้นเอง หนังมันเลยไม่ได้ “สุดยอด” มากเท่าที่ควร เพราะหนังไม่ได้ถ่ายให้เราเห็นชีวิตประจำวันของตัวละคร หนังแค่ให้ตัวละครมาเล่าสรุปชีวิตตัวเองในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่า subjects หลายๆคนก็คงไม่เปิดเผยด้านลบของตัวเองมากนัก


แต่แค่นี้ก็ชอบหนังสุดๆแล้วนะ เพียงแต่ว่าตัว subjects กับผู้สร้างคงไม่ได้สนิทกันมากนักน่ะ เพราะนัดเจอกันแค่ 7 ปีครั้งนึง แล้วก็ถ่ายทำกันแค่วันสองวันเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นมันก็เลยอาจจะไม่ได้ลึกซึ้งเหมือนหนังสารคดีบางเรื่อง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับหนังสารคดีเรื่อง ROMANS D’ADOS 2002-2008 (2010, Béatrice Bakhti, Switzerland) ที่ถ่ายทำชีวิตเด็กวัยรุ่นนาน 6 ปี เราว่าหนังเรื่องนั้นถ่ายทอด “ส่วนลึก” ในตัว subjects แต่ละคนได้ดีกว่า UP SERIES มากๆ แต่มันก็ดีกันไปคนละแบบน่ะแหละ คือ ROMANS D’ADOS มันลึกได้ เพราะมันเจาะช่วงเวลาแค่ 6 ปี ในขณะที่ UP SERIES คง “ลึก” ไม่ได้ เพราะมันครอบคลุมเวลา 49 ปีเข้าไปแล้ว

No comments: