Sunday, September 24, 2023

A LONG WAY

ตารางชีวิตฮิสทีเรีย

 

WEDNESDAY 27 SEP 2023

 

19.00 THE WORST ONES (2022, Lise Akoka, Romane Gueret, France) @Alliance
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10168013488560220&set=a.10167439734585220

 

FRIDAY 29 SEP

 

14.30 DOZENS OF NORTHS (2021, Koji Yamamura, Japan, 64min) @Alliance

https://afthailande.org/en/event-en/?eventId=1941#/

 

18.00 WILDTYPE: SHORTCOMINGS @ DOC CLUB

https://web.facebook.com/Nextlife.Records/posts/pfbid02XogcJntWhcuupkMtTgMuY3zDrPSWDxUHPEbBhjX6GaY9rQ2zDRj9ufihH9NYrSkBl

 

SAT 30 SEP @DOC CLUB

 

12.00 ROUGH 1

13.50 FICTION 1

16.20 PRISM OF MEMORIES

18.40 EXPER 1

 

SUN 1 OCT @DOC CLUB

12.00 ROUGH 2

14.00 FICTION 2

16.45 EXPER 2

19.00 376 X 501 X 2020 (130 min)

 

MONDAY 2 OCT

 

15.40 LITTLE NICHOLAS – HAPPY AS CAN BE (2022, Amandine Fredon, Benjamin Massoubre, France, animation, 82min)

@HOUSE

https://www.housesamyan.com/site/Movie/detail/1026

 

TUESDAY 3 OCT

 

19.40 EVERYBODY LOVES JEANNE (2022, Céline Devaux, France, animation, 95min)

@house

https://www.housesamyan.com/site/Movie/detail/1027

 

WEDNESDAY 4 OCT

 

19.00 MY LOVE AFFAIR WITH MARRIAGE (2022, Signe Baumane, France, animation, 108min)

@Alliance

https://afthailande.org/en/event-en/?eventId=1943#/

 

THURSDAY 5 OCT

 

19.30 BEYOND ANIMATION: SHORTS 2 (70MIN)

@HOUSE

https://www.housesamyan.com/site/Movie/detail/1037

 

 

FRIDAY 6 OCT

2000 SKIES OF LEBANON (2020, Chloé Mazlo, France, 92min)

@HOUSE

https://www.housesamyan.com/site/Movie/detail/1029

 

SATURDAY 7 OCT

 

16.20 CHICO & RITA (2010, Fernando Trueba, Tono Errando, Javier Mariscal, Spain/UK, animation, 94min)

@HOUSE

https://www.housesamyan.com/site/Movie/detail/1032

 

SUNDAY 8 OCT

 

17.00 BEYOND ANIMATION: SHORTS 1 (67MIN)

@DOC CLUB

https://ticket.docclubandpub.com/movie/279#theater

 

TUESDAY 10 OCT

 

18.15 NINA AND THE HEDGEHOG’S SECRET (2023, Jean-Loup Felicioli, Alain Gagnol, France, animation, 82min)

@HOUSE

https://www.housesamyan.com/site/Movie/detail/1030

 

WEDNESDAY 11 OCT

 

19.55 MARS EXPRESS (2023, Jérémie Périn, France, animation, 85min)

@house

https://www.housesamyan.com/site/Movie/detail/1035

 

SATURDAY 14 OCT

 

14.00 THE BLACK PHAROAH, THE SAVAGE AND THE PRINCESS (2022, Michel Ocelot, France, animation, 83min)

@ALLIANCE

https://afthailande.org/en/event-en/?eventId=1942#/

 

16.30 BLIND WILLOW, SLEEPING WOMAN (2022, Pierre Földes, France/Luxembourg, animation, 108min)

@ALLIANCE

https://afthailande.org/en/event-en/?eventId=1945#/

 

 

WEDNESDAY 25 OCT

 

19.00 TALKING ABOUT THE WEATHER (2022, Annika Pinske, Germany)

@Goethe

https://www.goethe.de/ins/th/en/kul/sup/kin/tuv/git.html

FRIDAY 27 OCT

 

19.15 AFIRE (2023, Christian Petzold, Germany, 103min)
@doc club

https://www.goethe.de/ins/th/en/kul/sup/kin/tuv/dcp.html

 

SATURDAY 28 OCT @ DOC CLUB

13.20 THE ORDINARIES (2022, Sophie Linnenbaum, Germany, 124min)

15.50 REPUBLIC OF SILENCE (2021, Diana El Jeroudi, Germany/ItalyQatar/Syria, documentary, 183min)

19.20 HAO ARE YOU (2023, Dieu Hao Do, Germany, documentary, 90min)

 

SUNDAY 29 OCT @DOC CLUB

 

13.20 LOVE, DEUTSCHMARKS AND DEATH (2022, Cem Kaya, Germany, documentary, 102min)

https://www.goethe.de/ins/th/en/kul/sup/kin/afm/ldt.html

 

15.15 NASIM (2021, Arne Büttner, Ole Jacobs, Greece, documentary, 123min)

https://www.goethe.de/ins/th/en/kul/sup/kin/afm/nas.html

 

17.40 IRON BUTTERFLIES (2023, Roman Liubyi, Germany/Ukraine, documentary, 84min)

https://www.goethe.de/ins/th/en/kul/sup/kin/afm/ibf.html

 

19.20 WE MIGHT AS WELL BE DEAD (2021, Natalia Sinelnikova, Germany, 96min)

https://www.goethe.de/ins/th/en/kul/sup/kin/afm/wks.html

 

เรายังไม่เคยดูหนังชุด “จอมโจรแฟนโทมัส” เลย ทั้ง ๆ ที่หนังชุดนี้เคยเข้ามาฉายในไทยทั้ง 3 ภาค ซึ่งได้แก่

 

1.FANTOMAS (1964, André Hunebelle, France)

 

2.FANTOMAS UNLEASHED (1965, André Hunebelle, Haroun Tazieff, France)

 

3.FANTOMAS VS. SCOTLAND YARD (1967, André Hunebelle, France)

 

เหมือนเราแทบไม่เคยได้ยินใครพูดถึงหนังชุดนี้อีกเลยในปัจจุบัน

วันนี้เมื่อ 23 ปีที่แล้ว หรือในวันที่ 24 ก.ย.ปี 2000 เราได้ดูหนังโรง 5 เรื่องที่ห้างเอ็มโพเรียมในเทศกาลภาพยนตร์ Bangkok Film Festival โดยหนังโรง 5 เรื่องนั้นได้แก่

 

1.มือปืน GUNMAN (1983, Chatrichaloem Yukol)

2. THE OPERA LOVER (1999, Ron Lazzeretti, Venturino Liberatore)

3.FLAMENCO (1995, Carlos Saura, Spain)

4.TRAIN TO PAKISTAN (1998, Pamela Rooks, UK/India)

5.UNDER THE PALMS (1999, Miriam Kruishoop, Netherlands/Germany)

 

เราชอบ UNDER THE PALMS อย่างรุนแรงสุดขีดมากจนถึงขั้นเขียนถึงหนังเรื่องนี้ลงใน imdb.com ด้วย 555

https://www.imdb.com/review/rw0608021/?ref_=tt_urv

 

การได้ดูหนังเรื่อง UNDER THE PALMS ก็ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่น่าประทับใจสุดขีดด้วย เพราะว่าจริง ๆ แล้ว หนังเรื่องนี้ไม่ได้ถูกเลือกให้เข้าฉายใน Bangkok Film Festival และหนังที่จะต้องฉายในคืนนั้นในเทศกาลคือ SEDUCING MAARYA (2000, Hunt Hoe, Canada/India) และเราก็ซื้อตั๋วหนังเข้าไปดู SEDUCING MAARYA แต่พอดีเกิดความผิดพลาดขึ้น คือเหมือนเทศกาลภาพยนตร์ที่ไหนสักแห่ง (น่าจะเป็นในยุโรป) จะต้องส่งฟิล์มภาพยนตร์เรื่อง SEDUCING MAARYA มาให้เทศกาล Bangkok Film แต่ตัวเทศกาลนั้นดันส่งฟิล์มมาผิดเรื่อง และดันส่ง UNDER THE PALMS มาแทน ซึ่งในยุคนั้นกว่าจะรู้ว่ามันส่งมาผิดเรื่อง ก็เมื่อเอาฟิล์มออกมาขึ้นฉายบนจอในเวลาฉายแล้ว ตอนนั้นคนดูทั้งโรงและ Brian Bennett ผู้จัดเทศกาลก็ตกใจว่าพวกกูกำลังดูอะไรกันอยู่ นี่มันหนังเรื่องอะไร ไม่เคยมีใครได้ยินมาก่อน แล้วพอ UNDER THE PALMS ฉายไปได้สัก 5-10 นาที ทางโรงก็หยุดฉาย แล้ว Brian ก็มาแจ้งผู้ชมว่า เนื่องจากเกิดความผิดพลาดขึ้น ทางเทศกาลก็เลยจะฉาย UNDER THE PALMS ต่อให้จบเลย ส่วนใครไม่อยากดูต่อ อยากจะ refund ขอเงินค่าตั๋วคืนหรืออะไรก็ว่ากันไป

 

ซึ่งเราก็ตัดสินใจดู UNDER THE PALMS ต่อจนจบ แล้วก็รู้สึกโชคดีมาก เพราะหนังมันเข้าทางเราสุด ๆ ก็เลยถือเป็น “ความผิดพลาดของทางเทศกาล” ที่ดีงามและส่งผลดีต่อเรามาก ๆ แล้วพออีกไม่กี่วันต่อมา ทางเทศกาลก็จัดรอบฉาย SEDUCING MAARYA ใหม่ ซึ่งปรากฏว่าตัวหนัง SEDUCING MAARYA นั้นสู้ UNDER THE PALMS ไม่ได้เลย 55555 คือถ้าคิดเป็นเกรดปัจจุบัน เราก็ชอบ UNDER THE PALMS ในระดับ A+30 และชอบ SEDUCING MAARYA ในระดับราว A+

 

ทางไกล (2023, Pattanapong Kongsak, documentary, 50min, A+30)

 

1.คิดว่ามันไม่ใช่หนังที่ “ดีมาก” และไม่ใช่หนังที่ “สำคัญสำหรับคนอื่น ๆ” แต่เป็นหนังที่เราชอบมากเป็นการส่วนตัว และสาเหตุข้อแรกเป็นเพราะว่า หนังเรื่องนี้มันสัมภาษณ์คนหลาย ๆ คนที่เป็น Facebook friends ของเรา ซึ่งเป็นคนกลุ่มที่เราไม่เคยเจอในชีวิตจริงถึงแม้จะเป็นเพื่อนใน Facebook กันมานานกว่า 10 ปี หรือเป็นคนกลุ่มที่เราเคยคุยกันในชีวิตจริงไม่เกิน 5 ประโยค 55555 เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้ก็เลยเหมือนเป็นสื่อกลางที่ทำให้เราได้คุยกับเพื่อน ๆ กลุ่มนี้, มันทำให้เรา “รู้สึกมีความสุขเหมือนเวลาได้คุยกับเพื่อน ๆ” ซี่งแน่นอนว่าคุณค่าแบบนี้ในสายตาของเรา (ความรู้สึกเหมือนได้คุยกับเพื่อน ๆ) เป็นสิ่งที่จะไม่เกิดขึ้นกับผู้ชมกลุ่มอื่น ๆ ที่อาจจะห่างไกลจาก subjects ของหนัง

 

2.และพอหนังมันบันทึกความเห็นทางการเมืองของ facebook friends หลาย ๆ คน มันก็เลยเหมือนบันทีกความเห็นทางการเมืองของเราไปด้วย subjects หลาย ๆ คน “พูดในสิ่งที่เราคิด แต่เป็นสิ่งที่เราไม่กล้าพูดออกมาเอง” การที่เราได้ดูหนังเรื่องนี้ก็เลยทำให้เรามีความสุขในแง่ของ “การปลดปล่อยความคิดความรู้สึกของตนเองออกมา” โดยผ่านทางปากของ subjects ในหนัง 55555

 

3.ความสุขอย่างที่ 3 ที่เราได้รับจากหนังเรื่องนี้ ก็คือความสุขของการได้ “บันทึกช่วงเวลานึงเอาไว้” น่ะ คือเราว่าหนังเรื่องนี้มีคุณค่าสำหรับเราเหมือน “หนึ่งหน้าใน diary” น่ะ มันเหมือนเป็นการจดบันทึกความคิดความรู้สึกของ “ช่วงกลางปี 2023” เอาไว้ ช่วงเวลาอันสั้น ๆ ของความรู้สึกอันหอมหวานและมีความหวังหลังทราบผลการเลือกตั้งในช่วงเดือนพ.ค. 2023 และเป็นช่วงก่อนการจัดตั้งรัฐบาลที่อาจจะสร้างความผิดหวังให้กับคนกลุ่มหนึ่งและสร้างความสมหวังให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง

 

ซึ่งการที่หนังเรื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือน “หนึ่งหน้าใน diary” นั้น มันก็เหมือนทั้งมีความสำคัญและความไม่สำคัญในเวลาเดียวกัน คือในแง่หนึ่งเราคิดว่าหนังเรื่องนี้อาจจะไม่ใช่หนังที่สำคัญสำหรับผู้ชมคนอื่น ๆ ก็ได้ แต่เรามักจะชอบหนังที่มีความเป็นส่วนตัวและหนังที่มีความเป็น diary อยู่แล้ว เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้ เหมือนถ้าเวลาผ่านไปนาน ๆ อีกหลายปี แล้วเราอยากย้อนนึกถึงช่วงเวลา “กลางปี 2023” เราก็อาจจะทำได้ทั้งเปิดอ่าน diary ของตนเอง หรืออาจจะนั่งดูหนังเรื่องนี้อีกครั้งก็ได้ เพราะหนังเรื่องนี้มันได้เก็บรวบรวมความคิดความรู้สึกและบรรยากาศของช่วงเวลานั้นไว้ได้มากในระดับนึง

 

4.แต่เราคิดว่าหนังแบบนี้ยังพัฒนาให้ดีกว่านี้ได้อีกนะ คือเราว่า ในแง่ของความเป็น “หนังการเมือง” นั้น ถ้าหากหนังเรื่องนี้ต้องการจะทำตัวเป็น “หนังการเมือง” ที่ “มีความสำคัญสำหรับผู้ชมทั่วไป” (แต่เราก็คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีแล้วที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการจะทำแบบนั้น หรือไม่ได้ต้องการจะทำอะไรที่ยากเกินไป) หนังเรื่องนี้ก็อาจจะต้องมีการเรียบเรียงประเด็นที่ดูเฉียบคมกว่านี้ และอาจจะต้องสัมภาษณ์คนอื่น ๆ ที่มีความเห็นทางการเมืองที่หลากหลายกว่านี้น่ะ คือเราว่าหนังเรื่องนี้เหมือนอยู่ใน safe zone หรือ comfort zone ของตัวเอง หรือเหมือนอยู่ใน echo chamber ของตัวเองอยู่นิดนึง เพราะฉะนั้นถึงแม้หนังเรื่องนี้จะมอบความสุขให้กับเราในแบบของ “ความสุขของการได้คุยกับเพื่อนๆ”, “ความสุขของการได้ปลดปล่อยความคิดของตนเองผ่านทางปากของคนอื่น ๆ” และ “ความสุขของการได้จดบันทึก diary ของตนเองเอาไว้” แต่มันก็อาจจะไม่ได้มอบความสุขแบบนี้ให้กับผู้ชมคนอื่น ๆ ในวงกว้างก็ได้นะ ซึ่งก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดนะที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ทะเยอทะยานแบบนั้น

 

และเราแอบรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เหมือนให้ความสำคัญกับ “ประเด็น” มากไป จนมันขัดกับจุดเด่นของ subjects แต่ละคนในหนังเรื่องนี้น่ะ คือเราว่าหนังการเมืองบางเรื่องมันก็ดีในแง่ของการนำเสนอ “ประเด็น” แต่หนังการเมืองที่จะดีในแง่ของ “ประเด็น” มันก็อาจจะต้องทำตัวเป็นนักวิชาการ มีการเปิดให้ subjects ได้วิเคราะห์การเมืองอย่างลึกซึ้ง  เน้นสัมภาษณ์นักวิชาการ, activists, นักการเมือง, political celebrities, etc. และดึงศักยภาพในการ “วิเคราะห์การเมืองเป็นฉาก ๆ” ของพวกเขาออกมาอย่างเต็มที่ และเรียบเรียงแต่ละประเด็นออกมาชัดเจนเป็นลำดับขั้นตอน

 

ซึ่งจริง ๆ แล้วหนังเรื่องนี้ก็มีทั้ง activist/นักการเมือง อยู่ในหนัง แต่เราว่า subjects โดยรวมของหนังเรื่องนี้ มีความน่าสนใจในแง่ “ความเป็นมนุษย์” มากกว่าความเป็น “ผู้รอบรู้ทางการเมือง” น่ะ เพราะฉะนั้นวิธีที่อาจจะเหมาะในการดึงเอาสิ่งที่น่าสนใจจริง ๆ ใน subjects กลุ่มนี้ออกมา อาจจะไม่ใช่การตั้ง “ประเด็น” เป็นหลัก อย่างเช่น หยิบเอาช่วงที่ subject a, b, c, d พูดถึงประเด็น ก มาเรียงต่อ ๆ กัน หรือหยิบเอาช่วงที่ subject a, b, c, d พูดถึงประเด็น ข มาเรียงต่อ ๆ กัน เพราะ subject แต่ละคนที่มีความงดงามในความเป็นมนุษย์ อาจจะดูไม่น่าสนใจได้เมื่อพวกเขาถูกลดทอนศักยภาพลงให้เหลือเพียงแค่ว่า พวกเขาคิดเห็นต่อประเด็นนั้นอย่างไร (แต่ subjects ที่เป็น “นักวิชาการ” จะเปล่งประกายได้เมื่อเจอสถานการณ์อย่างนี้)

 

เราก็เลยคิดว่า บางทีหนังแต่ละเรื่องอาจจะต้องคิดหาวิธีที่เหมาะสมกับ subjects ของหนังด้วยน่ะ โดยอย่างในกรณีของหนังเรื่องนี้ เราคิดว่าบางทีวิธีที่อาจจะยิ่งทำให้หนังเรื่องนี้งดงามมากยิ่งขึ้นไปอีก ก็คือการปล่อยให้ subjects แต่ละคนพูดอะไรต่าง ๆ ประเด็นต่าง ๆ ไปก่อนในตอนถ่ายทำ แล้วเมื่อเจอจุดเด่นที่น่าสนใจของแต่ละคน ก็คว้าจับจุดนั้นเอาไว้ แล้วขยายเจาะลึกลงลึกจุดนั้นอย่างเต็มที่ แล้วพอเวลาตัดต่อก็ค่อยเอา “จุดเด่นที่แตกต่างกันไปของแต่ละคน” มาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน คือเหมือนไม่ได้เน้น “ประเด็น” เป็นหลัก แต่เน้นมองหาจุดที่น่าสนใจที่แตกต่างกันไปในตัว subjects แต่ละคน แล้วนำเสนอจุดนั้น ๆ ออกมา ซึ่งเราว่าหนังเรื่องนี้ก็นำเสนอจุดนี้ออกมาได้บ้างนะ แต่มันน้อยเกินไปน่ะ อย่างเช่น subject ที่เคยเป็นสลิ่มขั้นสูง เราก็อยากรู้ว่าเขาเคยทำอะไรมาก่อนบ้าง เขาเปลี่ยนเพราะอะไร เราอยากให้หนังขยี้เขาให้รุนแรงตรงจุดนี้ หรืออยากให้เขาพูดถึงเรื่องการเมืองภาคใต้ให้คนภาคอื่นๆ ฟัง แล้วหนังเรื่องนี้ก็มี SUBJECTS คนอื่น ๆ ที่ “มีความเห็นทางการเมืองในปัจจุบัน แตกต่างจากในอดีต” ด้วย แต่หนังก็เหมือนไม่ได้ให้ subjects คนนั้น ๆ เล่าอย่างละเอียดลออในเรื่องนี้ แล้วเราก็อยากรู้เรื่อง “การเมืองในวงการพระ”, อยากรู้เรื่องคนต่าง ๆ ที่เคยโดนคดี 112 แต่ไม่ได้เป็นข่าวดัง (อย่างเช่นที่คุณวาดดาวพูดเรื่องเพื่อนที่เคยมีเงินเดือนหลายหมื่นจนชีวิตพลิกผันเมื่อโดนคดี 112) , อยากรู้เรื่องปัญหายาเสพติดในวัยรุ่นยุคปัจจุบัน, อยากรู้เรื่องการทุจริตในวงการราชการและตำรวจ, etc.

 

คือเราว่า subjects แต่ละคนในหนังเรื่องนี้มีอะไรที่น่าสนใจซ่อนอยู่ในตัวเอง แต่หนังไม่ได้เจาะลึกไปมากกว่านี้น่ะ คือเหมือนเราอยากให้หนังนำเสนอด้วยว่า subjects แต่ละคนเป็นใครอะไรยังไง และมี passion อย่างรุนแรงกับประเด็นการเมืองประเด็นอะไรบ้าง หรือมีปัญหาอย่างรุนแรงกับประเด็นการเมืองใดบ้าง อะไรแบบนี้ แต่เหมือนหนังเรื่องนี้ตั้งธงไว้ว่าจะนำเสนอประเด็น a b c d e แล้วก็เลยเอาตัวประเด็นเป็นหลัก แล้วเน้นนำเสนอสิ่งที่ subject แต่ละคนพูดเกี่ยวกับประเด็นนั้น เราก็เลยรู้สึกว่าหนังยังไม่ได้ดึงเอาศักยภาพที่แท้จริงหรือความงดงามหรือความน่าสนใจที่แท้จริงในตัว subject แต่ละคนออกมาอย่างเต็มที่น่ะ

 

5.ส่วนข้อนี้ไม่ได้เกี่ยวกับหนังเรื่องนี้โดยตรง แต่แค่อยากบันทึกไว้ว่า เราก็ยังคงชอบหนังเรื่องนี้ในแง่ของ “หนึ่งหน้าใน diary” อยู่นะ ซึ่งก็จะคล้าย ๆ กับหนังการเมืองเรื่องอื่น ๆ ของไทยบางเรื่อง ที่เราว่ามันคว้าจับ “ช่วงเวลานั้น ๆ” ของการเมืองไทยไว้ได้ดีมากๆ เช่นกัน อย่างเช่น ถ้าหากเราจะนึกถึงบรรยากาศทางการเมืองในไทยใน

 

5.1 ช่วงต้นปี 2006 เราก็จะนึกถึง “หนังผี 16 ปีแห่งความหลัง” (2006, Prap Boonpan)

 

5.2 ช่วงปลายปี 2006 หลังรัฐประหาร เราก็จะนึกถึง LETTER FROM THE SILENCE (2006, Prap Boonpan)

 

5.3 ช่วงปี 2007 เราก็จะนึกถึง ความลักลั่นของงานรื่นเริง (2007, Prap Boonpan)

 

5.4 ช่วงเหตุการณ์รุนแรงปี 2010 เราก็จะนึกถึง แกะแดง (2010, สำนักงานใต้ดิน)

 

5.5 ช่วงชุมนุมกปปส. ปลายปี 2013 เราก็จะนึกถึง BANGKOK JOYRIDE (2017, Ing K.)

 

5.6 ช่วงเลือกตั้ง ปี 2014 เราก็จะนึกถึง THIS FILM HAS BEEN INVALID (2014, Watcharapol Saisongkroh) และ “ภาษาที่เธอไม่เข้าใจ” AWARENESS (2014, Wachara Kanha)

 

5.7 ช่วงปี 2015 ที่มีการประท้วงของนักศึกษา เราก็จะนึกถึง COLLECTION OF POPULAR SONGS (2015, Anuwat Amnajkasem, Chantana Tiprachart)

 

5.8 ช่วงปลายปี 2016 เราก็จะนึกถึง SAWANKHALAI (2017, Abhichon Ratanabhayon)

 

5.9 ช่วงม็อบยุคหลัง เราก็จะนึกถึง MOB 2020-2021 (2021, Supong Jitmuang, 118MIN, documentary)

 

ก็เลยคิดว่า หนังเรื่อง “ทางไกล” นี้ก็ได้บันทึกช่วงเวลาของ “กลางปี 2023” เอาไว้ได้ดีมากแล้วล่ะ และถ้าหากในอนาคตเราจะย้อนนึกถึงช่วงเวลานี้ หนังเรื่องนี้ก็จะช่วยให้เราย้อนรำลึกถึงช่วงเวลา “กลางปี 2023” ได้ดีมาก ๆ

 

No comments: