Monday, March 05, 2007

THE PURSUIT OF FALSE HAPPINESS

--อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ GEORGE LANDOW หรือ OWEN LAND ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง THE EVIL FAERIE (1966, A+++++) ได้ที่
http://www.ubu.com/film/landow.html


ความเห็นต่อ THE PURSUIT OF HAPPYNESS

Copy from oliver’s blog
http://riverdale-dreams.blogspot.com/2007/02/pursuit-of-happyness.html

จริงๆแล้ว ก็รู้สึกไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของหนังเรื่อง THE PURSUIT OF HAPPYNESS (2006, GABRIELE MUCCINO, A) เหมือนกัน ที่ดูเหมือนจะเป็นวัตถุนิยมมากไปหน่อย แต่เนื่องจากคุณ oliver นำเสนอข้อบกพร่องของหนังเรื่องนี้ได้อย่างดีมากๆแล้ว ดิฉันก็เลยขอพูดถึงข้อดีของหนังเรื่องนี้ในมุมมองของดิฉันแทนแล้วกันนะคะ

สาเหตุที่ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้มากพอสมควร อาจจะเป็นเพราะว่า

1.รู้สึกเหมือนไม่ได้ดูหนังแนวนี้มานานแล้ว ดูแล้วให้ความรู้สึกเหมือนได้ดู “สงครามชีวิต โอชิน” อีกครั้ง ซึ่งละครญี่ปุ่นเรื่องนี้ก็ดูเหมือนจะถูกสร้างในทศวรรษ 1980 หรือทศวรรษแห่งวัตถุนิยมเหมือนกัน หนังเรื่องอื่นๆที่ดังมากในยุคนั้นก็รวมถึง

1.1 WORKING GIRL (1988, MIKE NICHOLS, A)
http://us.imdb.com/title/tt0096463/

1.2 THE SECRET OF MY SUCCESS (1987, HERBERT ROSS, B)
http://us.imdb.com/title/tt0093936/


2.ดูแล้วรู้สึกดีที่ชีวิตตัวเองในปัจจุบันไม่ได้เลวร้ายเหมือนพระเอก และดูแล้วก็นึกถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเซลส์แมนที่ได้ยินมาตอนเด็กๆ จำได้ว่าตอนเด็กๆจะมีเซลส์แมนมาเสนอขายสินค้าตามบ้านต่างๆ และบางคนถึงกับกราบเจ้าของบ้านเพื่ออ้อนวอนให้เจ้าของบ้านช่วยซื้อสินค้าไป การที่พระเอกหนังเรื่องนี้มีอาชีพเป็นเซลส์แมน จึงทำให้เขาได้คะแนนสงสารเห็นใจจากดิฉันไปอย่างเต็มที่ และทำให้นึกถึง “ความยากลำบากจนเลือดตาแทบกระเด็น” ของเซลส์แมนในภาพยนตร์สารคดีเยอรมันเรื่อง THE HOUSEWIFE’S FLOWER (1999, DOMINIK VESSELY, A+++++++++++++++) ด้วย

พูดถึง THE HOUSEWIFE’S FLOWER แล้วก็ขอเสริมว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้วิธีการนำเสนอที่ดีมากๆ เพราะหนังไม่ได้พยายามขับเน้นความน่าสงสารของเซลส์แมนเหล่านี้เลย หนังนำเสนอความพยายามขายสินค้าของพวกเขาอย่างไม่เร้าอารมณ์ และก็ไม่มีเซลส์แมนคนใดร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรงต่อหน้ากล้อง นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ยังจบลงด้วยฉากงานเลี้ยงฉลองความสำเร็จของเซลส์แมนคนนึงที่ทำยอดขายได้สูงมากด้วย แต่ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร ฉากงานเลี้ยงรื่นเริงฉากนั้น ถึงทำให้ดิฉันรู้สึก “เศร้า” มากๆ หนังเรื่องนี้ไม่ได้ “บอก” ให้ผู้ชมสงสารหรือรู้สึกเศร้าไปกับเซลส์แมน แต่การที่ผู้ชมได้เห็นวิธีการทำงานของพวกเขามาตลอดทั้งเรื่อง ผู้ชมก็จะรู้สึกได้เองว่าการทำงานนี้มัน “ยากลำบาก” ขนาดไหน กว่าจะขายได้สักเครื่อง มันทรมานมากขนาดไหน และ “ความรู้สึกสงสารเห็นใจ” เซลส์แมนเหล่านี้ ก็จะเกิดขึ้นเอง โดยที่หนังไม่ต้อง “สั่ง” แต่อย่างใด (จริงๆแล้วย่อหน้านี้ก็เหมือนเป็นการชี้ให้เห็นข้อเสียของ THE PURSUIT OF HAPPYNESS เหมือนกันแฮะ)


3.ถึงแม้พระเอกหนังเรื่องนี้จะวัตถุนิยม แต่ก็ไม่ได้รู้สึก “หมั่นไส้” หรือ “เหม็นหน้า” พระเอกหนังเรื่องนี้มากเท่ากับพระเอกละครไทยในอดีตหลายๆเรื่องที่ “เกิดมารวย” หรือ “คาบช้อนเงินช้อนทองมาตั้งแต่เกิด” หรือพระเอกหนังฝรั่งบางเรื่องอย่างเช่น บทที่ฮิวจ์ แกรนท์แสดงใน ABOUT A BOY (2002, CHRIS WEITZ + PAUL WEITZ, A-) ที่ดูเหมือนจะไม่มีปัญหาในการหาเลี้ยงชีพแต่อย่างใด รู้สึกเหม็นหน้าพระเอกหนัง/ละครพวกนี้เป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าในชีวิตจริงดิฉันจะอยากได้ผู้ชายรวยๆแบบนี้มาเป็นผัวก็ตาม ฮ่าๆๆๆๆ
http://us.imdb.com/title/tt0276751/


4.ดิฉันมักจะรู้สึกอินกับหนัง/ละครที่นำเสนอปัญหาของตัวละครในการทำมาหาแดก ตัวละครที่ชอบมากๆในทำนองนี้ก็รวมถึง

4.1 นางเอกกับแม่นางเอกในละครโทรทัศน์ชุด THE CLIENT (1995-1996) ที่รับบทโดย JOBETH WILLIAMS กับ POLLY HOLLIDAY เพราะในละครทีวีเรื่องนี้ แม่กับลูกสาวคู่นี้จะกังวลตลอดเวลาว่าบ้านจะหลุดจำนอง (หรืออะไรทำนองนี้) และคุณแม่นางเอกที่มีอายุประมาณ 60 ปี ก็จะพยายามสมัครงานทำหรือหางานทำตลอดเวลา เพื่อเอารายได้มาช่วยเหลือจุนเจือลูกสาวไม่ให้บ้านหลุดจำนอง


4.2 MONSTER (2003, PATTY JENKINS, A++++++++++)

ฉากนึงใน THE PURSUIT OF HAPPYNESS ทำให้นึกถึงฉากที่นางเอก MONSTER ไปสมัครงาน แล้วถูกดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรง รู้สึกว่าพระเอก THE PURSUIT OF HAPPYNESS โชคดีมากๆที่ไม่ต้องเจอคนแบบที่นางเอก MONSTER เจอ


4.3 LOVE AND DIANE (2002, JENNIFER DWORKIN, A++++++++)

หนังสารคดีเกี่ยวกับสองแม่ลูกผิวดำเหลือขอ ชะตาชีวิตของพวกเธอเลวร้ายมากกว่าพระเอกและลูกชายใน THE PURSUIT OF HAPPYNESS พวกเธอพยายามหางานทำ แต่มันก็เป็นเรื่องยากที่จะหางานดีๆทำได้ ชีวิตของพวกเธอก็พยายามจะ PURSUE HAPPINESS เหมือนกัน แต่เมื่อหนังเรื่องนี้จบลง พวกเธอก็ดูเหมือนจะยังไขว่คว้ามันมาไม่ได้อย่างเป็นชิ้นเป็นอันเท่าใดนัก และผู้ชมอย่างดิฉันก็ทำได้เพียงแค่สวดมนตร์ภาวนาให้ชีวิตของพวกเธอดีขึ้น
http://us.imdb.com/title/tt0329321/


4.4 WITTSTOCK, WITTSTOCK (1997, VOLKER KOEPP, A+++++++++)
http://us.imdb.com/title/tt0120527/

หนังสารคดีเยอรมันที่ติดตามถ่ายทำชีวิตของผู้หญิง 3 คนในเยอรมันตะวันออกมาตั้งแต่ปี 1975 จนถึงปี 1997 หรือ 32 ปี ตอนที่ผู้หญิงสามคนนี้ทำงานเป็นสาวโรงงานในเยอรมันตะวันออกภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ พวกเธอก็มีปัญหาในชีวิตอยู่บ้าง แต่ดูเหมือนไม่เลวร้ายจนเกินทนนัก

อย่างไรก็ดี หลังจากระบอบคอมมิวนิสต์ล่มสลาย ชีวิตของผู้หญิงสามคนนี้กลับเลวร้ายลงอย่างมาก พวกเธอตกงาน โรงงานของพวกเธอต้องปิดกิจการลง เพราะระบบทุนนิยมไม่เปิดพื้นที่ให้กับโรงงานของรัฐบาลอีกต่อไป ผู้หญิงสามคนนี้เริ่มมีชีวิตที่เคว้งคว้าง หนึ่งในสามโชคดีที่ครอบครัวอพยพย้ายไปอยู่เยอรมันตะวันตก และเริ่มปรับตัวให้เข้ากับชีวิตใหม่ได้ อีกหนึ่งในสามได้แต่เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อหางานทำไปเรื่อยๆ เธอได้แต่เข้ารับการฝึกวิชาชีพ และฝึกเรียนรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ แต่ถึงแม้เธอจะเทคคอร์สไปแล้วไม่รู้กี่คอร์ส เธอก็ยังหางานทำไม่ได้สักที ส่วนผู้หญิงคนที่สามต้องทำงานเป็นสาวใช้ในโรงแรม และใฝ่ฝันว่าน่าจะเกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในประเทศอีกครั้งเพื่อให้เธอหลุดพ้นจากสภาพยากจนเข็ญใจนี้



5.หนังบางเรื่องที่ดูเหมือนต่อต้านวัตถุนิยม ก็เป็นหนังที่ดิฉันดูแล้วรู้สึก “ไม่ชอบ” ในสารที่มันต้องการจะนำเสนอ ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร บางทีดิฉันคงจะฟังเพลง MATERIAL GIRL มากไปตอนยังเป็นเด็ก ฮ่าๆๆๆ ก็เลยรู้สึกต่อต้านหนังบางเรื่องที่ดูเหมือนจะต่อต้านวัตถุนิยม อย่างเช่นเรื่อง THE FAMILY MAN (2001, BRETT RATNER, B+) รู้สึกว่าองค์ประกอบของหนังเรื่องนี้ใช้ได้ แต่สาเหตุสำคัญที่ไม่ชอบหนังเรื่องนี้อาจจะเป็น “สาร” ที่หนังต้องการจะนำเสนอ
http://us.imdb.com/title/tt0218967/

อย่างไรก็ดี หนังเรื่องอื่นๆที่ดูเหมือนจะต่อต้านวัตถุนิยม ก็เป็นหนังที่ดิฉันชอบมาก และไม่ได้รู้สึกต่อต้านมันแต่อย่างใด อย่างเช่นเรื่อง AMERICAN BEAUTY


6.โดยรวมแล้ว รู้สึกพอใจกับ THE PURSUIT OF HAPPYNESS มากกว่า THE LAST KISS (2001, C+) ที่กำกับโดย GABRIELE MUCCINO อย่างมากๆ ถ้าไม่บอกว่าหนังสองเรื่องนี้กำกับโดยผู้กำกับคนเดียวกัน ดิฉันก็คงจะเดาไม่ออก
http://us.imdb.com/title/tt0265930/

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเพราะอะไรถึงได้ไม่ชอบ THE LAST KISS แต่ชอบ THE PURSUIT OF HAPPYNESS มากกกว่าเยอะ ถึงแม้จะกำกับโดยคนๆเดียวกัน บางทีสาเหตุอาจจะเป็นเพราะว่า ดิฉันมักจะกังวลกับ “ปัญหาในการแสวงหาปัจจัย 4” เหมือนอย่างพระเอก THE PURSUIT OF HAPPYNESS ก็เลยอินกับตัวละครตัวนี้ได้ง่ายกว่า ในขณะที่ปัญหาของตัวละครใน THE LAST KISS เป็นปัญหาประเภทที่แทบไม่เคยแผ้วพานเข้ามาอยู่ในห้วงคำนึงของดิฉันแต่อย่างใด

เรื่องย่อ THE LAST KISS

Carlo (Stefano Accorsi) is a twenty-nine-year-old man who works in an advertisement agency and has been living with his girlfriend Giulia (Giovanna Mezzogiorno) for three years. When she gets pregnant and he meets the stunning eighteen-year-old Francesca (Martina Stella), his relationship with Giulia moves into a crisis, since he is not ready to reach adulthood. Francesca has a crush on Carlo and dreams of him. His three best friends also have problems with their mates: Adriano (Giorgio Pasotti) has just had a son and has problems with taking the responsibilities of fatherhood, while his wife Livia (Sabrina Impacciatore) becomes very connected to the baby, neglecting their marriage; Alberto (Marco Cocci) has no ties with any woman, limiting to use them sexually; and Paolo (Claudio Santamaria) has a passion for his former lover. Meanwhile, Giulia's mother Anna (Stefania Sandrelli) has a middle-age crisis, jeopardizing her marriage


คำเตือน: อย่าจำหนังเรื่องนี้สลับกับ AND THE PURSUIT OF HAPPINESS (1986, LOUIS MALLE)
http://us.imdb.com/title/tt0092561/

After acknowledging his own immigrant background, Malle, tries to present the range of immigrant experiences in the US during the 1980's. In an attempt to be comprehensive, the film includes interviews with migrant workers and illegal entrants along the Mexican border, conversations with an enterprising Indian motel owner, coverage of industrious African and Asian families in the cities, an extensive interview with the first Costa Rican astronaut, visits with Cuban exiles in Miami, several conversations with West Indian poet Derek Walcott, an extended portrait of the deposed Nicaraguan General Samoza (the surviving brother of Anastasio Somoza Debayle) and his extended family. The film finishes with a brief visit to the Russian Jewish community in Brooklyn, NY to tie in with the centenary of the Statue of Liberty.


สรุปว่า ถึงแม้ THE PURSUIT OF HAPPYNESS หรือ “THE PURSUIT OF FALSE HAPPINESS” จะเป็นหนังที่สร้างค่านิยมแบบผิดๆ หรือเป็นหนังที่หลงผิด ดิฉันก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ยังไม่ได้ทำในจุดนี้จนถึงขั้นที่ “มากเกินไป” สำหรับดิฉัน ซึ่งจุดหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าหนังเรื่องนี้ฉลาดแกมโกงที่จบลงตรงจุดที่พระเอกยังไม่ได้มีเงินมากเกินไป ผู้ชมได้เห็นเพียงแค่ช่วงที่พระเอกพยายาม “หาเงินมายังชีพ” ซึ่งนั่นไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่ผู้ชมไม่แน่ใจว่าหลังจากนั้นพระเอกได้กลายเป็นคนที่ “กอบโกยหรือละโมบมากเกินไป” หรือเปล่า

แต่ประโยคตอนจบของหนังที่เป็นการสรุปตัวเลขรายได้ของพระเอกนั้น ก็ให้ความรู้สึกที่แย่ๆกับดิฉันเหมือนกัน และการจบหนังด้วยการสรุปความสำเร็จเป็นตัวเลขเงินรายได้เพียงอย่างเดียวเช่นนี้ ก็เป็นสิ่งที่ผิดพลาดที่สุดสิ่งหนึ่งในหนังเรื่องนี้

อย่างไรก็ดี ในขณะที่พระเอกหนังเรื่องนี้ได้รับความสงสารเห็นใจจากดิฉันในความพยายามตะกายดาวขึ้นไปเป็นโบรกเกอร์หุ้น พระเอกหนังแบบที่ได้ “หัวใจ” จากดิฉันไปครองอย่างมากที่สุดอาจจะเป็นพระเอกที่ยืนอยู่ในขั้วตรงข้ามกับพระเอก THE PURSUIT OF HAPPYNESS นั่นก็คือพระเอกหนังเรื่อง GUESS WHO (2005, KEVIN RODNEY SULLIVAN, A+) ที่รับบทโดย ASHTON KUTCHER เพราะพระเอกหนังเรื่องนี้ยอมสละตำแหน่งโบรกเกอร์หรือเทรดเดอร์หรืออะไรทำนองนี้ เขายอมสละหน้าที่การงานของตัวเองเพื่อผู้หญิงที่เขารัก เมื่อเขาพบว่าการที่เขาแต่งงานกับผู้หญิงผิวดำ ทำให้เจ้านายของเขาไม่พอใจเป็นอย่างมาก เขาต้องเลือกระหว่างหญิงผิวดำกับตำแหน่งโบรกเกอร์ และเขาก็ยินดีสละอาชีพของตัวเองเพื่อเลือกผู้หญิงที่เขารัก ดิฉันชอบพระเอกหนังแบบนี้มากที่สุดเลยค่ะ

No comments: