Monday, January 24, 2005

GILLES' WIFE (A+)

ตามความเข้าใจของดิฉัน ซึ่งไม่รู้ว่าถูกต้องหรือเปล่า หนังเรื่อง CLASS TRIP ไม่ได้บอกถึงเรื่อง sexually abuse ไว้อย่างชัดเจนค่ะ แต่ดิฉันก็เดาๆเอาตามความเข้าใจของดิฉันได้ดังนี้

1.ในหนังจะพูดถึงฆาตกรที่ฆ่าเด็กชาย ซึ่งดิฉันเข้าใจว่าฆาตกรคนนี้ฆ่าข่มขืนเด็กชาย คงไม่ได้แค่ฆ่าเฉยๆ

2.ดิฉันเข้าใจว่าการที่พระเอกฝันเฟื่องเห็นจินตนาการสยดสยองต่างๆนานา อาจจะมีสาเหตุมาจากการที่พระเอกอาจเคยถูกพ่อ... ซึ่งดิฉันก็ไม่แน่ใจในจุดนี้เหมือนกัน แต่จะเห็นได้ว่าพระเอกปรารถนาอยู่ตลอดเวลาที่จะให้พ่อของตัวเองตาย และพระเอกจะรังเกียจการถูกพ่อสัมผัสตัวเป็นอย่างมาก มีอยู่บางฉากที่พ่อพระเอกจะแตะตัวพระเอก แต่พระเอกจะแสดงอาการแหยงอย่างรุนแรง

3.ดิฉันเข้าใจว่าพ่อพระเอกอาจจะรังเกียจความเป็น pedophile ของตัวเองเหมือนกัน เพราะที่ข้อมือพ่อพระเอกมีรอยกรีดอยู่ เหมือนกับว่าพ่อพระเอกเคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว

อ่านบทสัมภาษณ์ CLAUDE MILLER เกี่ยวกับ CLASS TRIP ได้ที่นี่ค่ะ
http://www.filmscouts.com/scripts/interview.cfm?File=cla-nei

EMMANUELLE BERCOT ที่รับบทเป็นคุณครูหญิงใน CLASS TRIP รับบทเป็นตัวประกอบใน RIGHT NOW ด้วยค่ะ บทของเธอใน RIGHT NOW ไม่หนักและเครียดเหมือนอย่างใน CLASS TRIP (ชอบฉากตอนหลังๆของ CLASS TRIP มาก ที่เธอรู้ว่ามีฆาตกรฆ่าเด็กออกอาละวาดอยู่ และเธอเกิดอาการเครียดจัด) แต่บทของเธอใน RIGHT NOW ก็ดูสง่าดี เธออาจจะไม่ได้โชว์ความสามารถทางการแสดงมากเท่าไหร่ใน RIGHT NOW แต่ดิฉันรู้สึกถูกโฉลกกับ EMMANUELLE BERCOT มากค่ะ

ใน RIGHT NOW Emmauelle Bercot รับบทเป็นผู้หญิงที่อยู่ในอาคารเดียวกับพระเอกค่ะ เธอเป็นคนซ่อมเก้าอี้ และนางเอกเดินมาเจอเธอโดยบังเอิญในกลางดึกคืนหนึ่งที่นางเอกนอนไม่หลับ

EMMANUELLE BERCOT เคยกำกับหนังหลายเรื่องด้วยค่ะ ซึ่งหนึ่งในเรื่องที่น่าดูอย่างสุดๆก็คือเรื่อง CLEMENT (2001) ที่เธอนำแสดงเองด้วย โดยในเรื่องนี้เธอรับบทเป็นหญิงวัยสามสิบปีที่มีเซ็กส์และตกหลุมรักเด็กหนุ่มอายุ 13 ปี

CLEMENT (2001, EMMANUELLE BERCOT)
http://www.imdb.com/title/tt0284970/

ส่วน CLAUDE MILLER เองนั้น ท่าทางจะผูกพันกับประเด็น child abuse เหมือนกัน เพราะเขาเคยกำกับหนังเรื่อง GARDE A VUE (1981, A-) ที่พูดถึงการสอบสวนหาฆาตกรที่ฆ่าข่มขืนเด็กผู้หญิง ดิฉันเคยดูหนังเรื่องนี้ที่สมาคมฝรั่งเศส ถ.สาทรใต้เมื่อราว 8-9 ปีก่อน น่าเสียดายที่ทางสมาคมไม่ยอมนำมาฉายใหม่อีกเลย อยากดู ROMY SCHNEIDER ในหนังเรื่องนี้อีก

--เนื่องจากคำว่า FEMINIST อาจจะมีการตีความได้แตกต่างกันไปมากมาย ดิฉันก็เลยไม่ขอระบุแล้วกันว่าหนังเรื่องไหนบ้างเป็นหนัง FEMINIST แต่รายชื่อหนังที่ได้ดูเหล่านี้อาจจะพูดถึงผู้หญิงและสถานภาพของผู้หญิงได้น่าสนใจดี

1.THIRST (A+) หนังพูดถึงครอบครัวหนึ่งที่ต้องใช้ชีวิตด้วยความยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง โดยมีสาเหตุหนึ่งมาจากการที่ลูกสาวคนหนึ่งของครอบครัวนี้เคยโดน MOLESTED แต่การที่เธอตกเป็นเหยื่อของผู้ชาย กลับทำให้คนอื่นๆในสังคมมองว่าเธอเป็นผู้หญิงไม่ดี แทนที่จะมองว่าเธอคือเหยื่อผู้น่าสงสาร (อย่างไรก็ดี การที่ครอบครัวนี้ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากเกิดจากสาเหตุอื่นๆด้วยเหมือนกัน)

2.ANATOMY OF HELL (A+)

3.BEAUTIFUL CITY (A+) เนื้อหาบางช่วงของหนังเรื่องนี้พูดถึงความอยุติธรรมระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายในแง่มุมทางกฎหมายด้วย หนึ่งในฉากที่เจ็บปวดมากคือฉากที่ผู้เป็นพ่อรู้ว่า “การตายของผู้ชาย” กับ “การตายของผู้หญิง” นั้น กฎหมายตีค่าเป็นตัวเงินไม่เท่ากัน

4.TO TAKE A WIFE (A+) หนังแสดงให้เห็นถึงภารกิจอันเหนื่อยยากแสนสาหัสของแม่และเมียคนหนึ่ง นางเอกของหนังเรื่องนี้มีจุดหนึ่งที่ตรงข้ามกับ VERA DRAKE นั่นก็คือในขณะที่ VERA DRAKE ดูเหมือนจะเป็น “นาย” ของเวลา และสามารถควบคุมปฏิบัติภารกิจทั้งในบ้านและนอกบ้านได้เป็นอย่างดีโดยไม่ขาดตกบกพร่อง (เธอทำได้อย่างไรกันเนี่ย) นางเอกของ TO TAKE A WIFE ดูเหมือนจะถูก “เวลา” รัดตัวจนแทบจะเป็นบ้า ฉากหนึ่งที่ดูแล้วประทับใจมากคือฉากที่เธอด่ากับสามี ในขณะที่ลูกค้าของเธอก็กำลังถูกสารเคมีกัดหนังศีรษะอย่างรุนแรง

อย่างไรก็ดี หนังไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเธอเป็นเหยื่อของสังคม, สามี หรือคนอื่นๆเพียงอย่างเดียว แต่เธอตกเป็นเหยื่อของตัวเองด้วยเหมือนกัน ถ้าเธอรักสามีน้อยลง หรือเธอต้องการสามีน้อยลง เธอก็คงไม่เป็นทุกข์เท่านี้

5.VERA DRAKE (A+) เรื่องนี้อาจจะไม่ใช่หนังเฟมินิสต์แบบตรงๆ แต่ประเด็นเรื่องสิทธิในการทำแท้งก็อาจจะพอเกี่ยวข้องในทางอ้อมๆอยู่บ้าง หนึ่งในฉากที่ประทับใจดิฉันมากๆในหนังเรื่องนี้คือฉากที่ตำรวจหญิงแสดงความเห็นอกเห็นใจวีรา เดรคเป็นอย่างมาก บทบาทของตำรวจหญิงในหนังเรื่องนี้ ทำให้นึกไปถึงบทบาทของตำรวจหญิงในหนังโปรตุเกสเรื่อง THE POLICEWOMAN (2003, JOAQUIM SAPINHO, A+++++++) ด้วยเหมือนกัน เพราะในเรื่อง THE POLICEWOMAN นั้น หนึ่งในฉากที่ซาบซึ้งที่สุดคือฉากที่นางเอกของเรื่องได้รับความเห็นอกเห็นใจจากตำรวจหญิง และ “ได้รับมอบอำนาจในการตัดสินผู้ชาย” จากตำรวจหญิง (ประโยคหลังลอกมาจากสำนวนของคุณอ้วนแห่งเว็บบอร์ด SCREENOUT)

6.YASMIN (A) อันนี้ก็อาจจะไม่ใช่หนังเฟมินิสต์แบบตรงๆ แต่ก็เป็นหนังที่น่าสนใจมากๆๆๆๆในส่วนที่เกี่ยวกับนางเอกของเรื่อง เธอต้องต่อสู้กับทั้งสังคมหัวเก่าและสังคมสมัยใหม่ในขณะเดียวกัน ซึ่งนั่นทำให้เธอแตกต่างจากนางเอกในหนังยุคก่อน 11/09/2001 เป็นอย่างมาก

7.CLEAN (A)

8.UNCONSCIOUS (A-) ภาพพจน์ของผู้หญิงในหนังเรื่องนี้น่าสนใจมากทีเดียว หนังเรื่องนี้ใช้ฉากหลังเป็นยุคที่ผู้หญิงยังไม่ได้ยอมรับนับถือในแวดวงวิชาการมากเท่าไหร่ แต่ตัวละครผู้หญิงในหนังเรื่องนี้กลับรวมถึง

1.หญิงสาวผู้เฉลียดฉลาดเป็นอย่างยิ่ง เธอตั้งครรภ์แก่ใกล้คลอด แต่เธอกลับบุกลุยเดี่ยวออกตามล่าหาสามีอย่างไม่ครั่นคร้าม

2.ผู้หญิงที่ถูกสามีกลั่นแกล้งด้วยการจับไปขังในโรงพยาบาลบ้า

3.ผู้หญิงที่มีอาการ PENIS ENVY

อย่างไรก็ดี ดิฉันไม่ค่อยแน่ใจในทัศนคติของหนังเรื่องนี้มีต่อเกย์ และการที่หนังเรื่องนี้เน้นย้ำอย่างเหลือเกินว่าพระเอกของเรื่องนี้มีขนาดของอวัยวะเพศที่ใหญ่มากๆ ก็ทำให้ดิฉันไม่ค่อยแน่ใจในความเป็นเฟมินิสต์ของหนังเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน

9.THE BEAUTIFUL WASHING MACHINE (B+)

10.ENCHANTED หรือ A HEART ELSEWHERE (A+) หนังย้อนยุคเรื่องนี้ไม่ใช่หนังเฟมินิสต์อย่างแน่นอน แต่มีการสอดแทรกประเด็นนี้เข้ามาเล็กน้อย นั่นก็คือฉากที่ตัวละครผู้ชายหลายคนพูดคุยกันว่าไม่เห็นด้วยกับกฎหมายใหม่ที่จะให้สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งแก่ผู้หญิง ผู้ชายหลายคนในเรื่องหยิบยกเหตุผลต่างๆนานาขึ้นมาว่าผู้หญิงไม่ควรมีสิทธิเลือกตั้งเพราะอย่างนู้นอย่างนี้ จนผู้หญิงคนนึงในโต๊ะทนไม่ไหว เธอไม่กล้าคัดค้านออกมาตรงๆ แต่เธอใช้วิธีถามความเห็นของพระเอกแทน แต่พระเอกกลับมัวแต่หมกมุ่นกับปัญหาของตัวเองจนไมได้ใส่ใจต่อความอยุติธรรมของผู้คนรอบข้าง

11.TIGERWOMEN GROW WINGS (A-)

12.THE SYRIAN BRIDE (A+) นางเอกของหนังเรื่องนี้มีชีวิตแต่งงานที่ไม่มีความสุข แต่เธอก็อดทนเลี้ยงลูกมาจนโต และใฝ่ฝันว่าสักวันหนึ่งเธอจะได้รับอิสรภาพในชีวิตอีกครั้ง

ตัวละครหญิงอีกคนในหนังเรื่องนี้ก็พูดประโยคที่ซึ้งมากๆ เธอกำลังจะแต่งงานกับดาราชายชื่อดังคนหนึ่ง แต่เธอกลับพูดในทำนองว่า “บางทีฉันอาจจะเพียงแค่ออกจากกรงขังเก่า เข้าไปอยู่ในกรงขังใหม่” (จำประโยคที่เธอพูดแน่นอนไม่ได้ค่ะ)

ฉากจบของหนังเรื่องนี้ ให้ความรู้สึกสุดยอดมากๆ การแสดงของ HIAM ABBASS ในฉากจบของหนังเรื่องนี้ ทำให้ดิฉันรู้สึกอยากก้มลงกราบแทบเท้าเธอ อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องสถานภาพของสตรีเป็นเพียงส่วนหนึ่งของหนังเรื่องนี้เท่านั้น เพราะหนังเรื่องนี้ยังพูดถึงประเด็นการเมือง และความคิดเชิงอคติในอีกหลายๆอย่างนอกเหนือไปจากอคติในเรื่องเพศ

13.GILLES’ WIFE (A+) หนังเรื่องนี้ก็มีจุดนึงที่ตรงกับ TO TAKE A WIFE นั่นก็คือผู้หญิงในหนังเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเพียงเหยื่อของสังคมและเหยื่อของผู้ชายเท่านั้น แต่เธอเป็นเหยื่อของตัวเองด้วย

อีกจุดนึงที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้ ก็คือ “กล้อง” ของหนังเรื่องนี้ เน้นถ่ายเรือนร่างบึกบึนล่ำสันของพระเอกได้อย่างถูกใจดิฉันมากๆค่ะ จุดนี้อาจจะมองว่าหนังเรื่องนี้ชื่นชมความงดงามของเรือนร่างของผู้ชายก็ได้ หรือจะมองว่ากล้องของหนังเรื่องนี้ทำให้พระเอกมีสถานะเป็น “วัตถุทางเพศ” ในสายตาของผู้ชมก็ได้เหมือนกัน ขณะที่ดิฉันดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันรู้สึกอย่างเห็นได้ชัดเลยค่ะว่าหนังเรื่องนี้ปฏิบัติต่อเรือนร่างของผู้ชายกับเรือนร่างของผู้หญิงอย่างไม่เท่าเทียมกัน เพราะรู้สึกพระเอกของหนังเรื่องนี้จะถอดเสื้อบ่อยมากๆ

ตากล้องของ GILLES’ WIFE เป็นผู้หญิงชื่อ VIRGINIE SAINT-MARTIN ค่ะ
http://www.imdb.com/name/nm0756738/

ถึงแม้ผู้กำกับของ GILLES’ WIFE จะเป็นผู้ชาย แต่หนังเรื่องนี้สร้างมาจากนิยายของ MADELEINE BOURDOUXHE ซึ่งเป็น feminist และหนึ่งในคนร่วมเขียนบทของหนังเรื่องนี้คือ MARION HANSEL ซึ่งเป็นผู้กำกับหญิงที่น่าสนใจมากๆๆ

MARION HANSEL เคยกำกับหนังเรื่อง DUST (1985) และ LES NOCES BARBARES (1987, A) ซึ่งเคยมีผู้นำหนังทั้งสองเรื่องนี้ไปตีความในแง่ของเฟมินิสต์ได้อย่างน่าสนใจมากๆเลย โดย DUST มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้หญิงผิวขาวในแอฟริกาใต้ยุคเก่า พ่อของเธอเคยมีเซ็กส์กับผู้หญิงผิวดำที่เป็นคนใช้ในบ้าน สามีของผู้หญิงผิวดำคนนั้นก็เลยมาข่มขืนเธอเพื่อเป็นการแก้แค้นพ่อเธอ หนังเรื่องนี้นอกจากจะนำเสนอปัญหาเรื่องสถานภาพของผู้หญิงในสังคมแล้ว ยังนำเสนอปัญหาเรื่องสีผิวควบคู่กันไปด้วย

ส่วน LES NOCES BARBARES (หรือ THE CRUEL NIGHTS) มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่งที่เคยถูกทหารอเมริกันรุมข่มขืนจนตั้งครรภ์ เมื่อเธอคลอดลูกที่ไม่ต้องการออกมา เธอก็เลยปฏิบัติต่อลูกชายคนนี้อย่างไม่ดีนัก และส่งผลให้ลูกชายคนนี้มีปัญหาทางจิต นักวิจารณ์แนวเฟมินิสต์บางคนบอกว่าหนังเรื่องนี้ถ่ายทอดฉากข่มขืนออกมาได้ดีมาก เพราะในฉากนั้น เราจะเห็นเพียงโคมไฟแกว่งไปแกว่งมา เหมือนกับสภาพจิตของคนที่โดนข่มขืน ที่พยายามจะบล็อกหรือปิดกั้นความทรงจำอันเลวร้ายนั้นทิ้งไป และจดจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เพียงบางส่วน หรือจดจำได้เพียงเป็นห้วงๆเท่านั้น

(อย่าจำ MARION HANSEL สลับกับ MARION VERNOUX เพราะทั้งสองคนนี้เป็นผู้กำกับหญิงเหมือนกัน แต่แนวทางการกำกับแตกต่างกัน)
http://www.imdb.com/name/nm0405578/

หนังอีกเรื่องที่ฉายนอกเทศกาลนี้ แต่เพิ่งได้ดูเมื่อต้นเดือนม.ค. และฝังใจอย่างสุดๆก็คือ THE CASTLE (MICHAEL HANEKE, A++++++++++++++) ซึ่งหนังเรื่องนี้ก็ไม่ใช่หนังเฟมินิสต์ แต่มีตัวละครประกอบบางตัวในเรื่องนี้ที่ฝังใจดิฉันมากๆ ซึ่งก็คือตัวละครหญิงสาวคนนึงในหนังเรื่องนี้ เธอเคยเป็นที่ต้องตาต้องใจของผู้ชายคนนึงที่มาจาก “the castle” แต่ผู้ชายคนนี้เขียนจดหมายมาหาเธอโดยใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ เธอก็เลยโกรธ และฉีกจดหมายนั้นทิ้ง แต่การที่เธอปฏิเสธผู้ชายที่มาจาก THE CASTLE ส่งผลให้คนทั้งหมู่บ้านไม่กล้ามาคบหากับครอบครัวของเธออีกต่อไป ครอบครัวของเธอกลายเป็นหมาหัวเน่าประจำหมู่บ้าน ไม่มีคนมาซื้อสินค้าจากครอบครัวของเธออีก และในที่สุด น้องสาวของเธอก็เลยต้องหาเลี้ยงครอบครัวด้วยการขายตัวให้กับบรรดาคนรับใช้ชายใน THE CASTLE ดิฉันรู้สึกว่าเนื้อหาตรงจุดนี้มันทำร้ายจิตใจดิฉันอย่างรุนแรงมากๆเลยค่ะ ดิฉันรู้สึกว่าตัวละครผู้หญิงคนนั้นทำถูกแล้วที่ฉีกจดหมายทิ้ง แต่ผลปรากฏว่าชีวิตของเธอกับครอบครัวของเธอกลับถูกทำร้ายอย่างรุนแรงเพียงเพราะเธอปฏิเสธผู้ชายที่เธอไม่ต้องการ

หนังที่ได้ดูในวันนี้
1.GILLES’WIFE (2004, FREDERIC FONTEYNE) A+
http://www.lafemmedegilles.com/EN/index_flash.htm
2.BAD EDUCATION (2004, PEDRO ALMODOVAR) A+/A
3.HOLY LOLA (2004, BERTRAND TAVERNIER) A
4.DOGORA (2004, PATRICE LECONTE) B

MOST DESIRABLE ACTOR
CLOVIS CORNILLAC—GILLES’ WIFE
http://www.chez.com/filmocornillac/portraits.htm
BRUNO PUTZULU—HOLY LOLA
http://www.chez.com/filmoputzulu/

FAVORITE ACTRESS
EMMANUELLE DEVOS—GILLES’ WIFE

FAVORITE ACTOR
JACQUES GAMBLIN—HOLY LOLA

FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
LAURA SMET—GILLES’ WIFE
LARA GUIRAO—HOLY LOLA

FAVORITE ENDING
GILLES’ WIFE

No comments: