Tuesday, January 16, 2007

INDIA SONG REVISITED

--เมื่อวานนี้ลืมใส่ A WALK THROUGH H (1978, PETER GREENAWAY, A+) ไปในรายชื่อหนังที่ตัวเองได้ดู ถ้าหากจัดอันดับหนังเรื่องนี้ในรอบ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา หนังเรื่องนี้จะอยู่อันดับ 4 รองจาก THE 10TH DISTRICT COURT: MOMENTS OF TRIAL และอยู่เหนือ “IN”


ตอบคุณ VESPERTINE

สุวันนะเค้ด สุวันนะเขต

วันนี้ถูกผี INDIA SONG เข้าสิง เพราะอยู่ดีๆก็นึกอยากเลียนแบบ ANNE MARIE STRETTER ด้วยการเดินเยื้องย่างหน้ากระจกพร้อมกับเท้าสะเอวข้างนึง โดยค่อยๆเดินก้าวไปข้างหน้าทีละก้าว พร้อมกับเชิดหน้าเล็กน้อย แบบที่ ANNE MARIE STRETTER ทำตอนเดินเข้าไปในโรงแรมกลางเกาะ รู้สึกเหมือนตัวเองได้กลับไปเป็นเด็กๆอีกครั้ง เพราะรู้สึกเหมือนตัวเองไม่ได้ทำท่าทางเลียนแบบตัวละครในภาพยนตร์มานานแล้ว แต่พอได้ดู INDIA SONG ก็เลยทำให้รู้สึกอยากทำท่าทางเลียนแบบตัวละครขึ้นมาอีก

หลังจากดู INDIA SONG จบ ดิฉันกับเพื่อนๆก็คุยกันว่า ถ้าหากจะรีเมคหนังเรื่องนี้อีกครั้ง ควรที่จะไปถ่ายทำที่โรงแรมโซฟิเทล หัวหิน เพราะโรงแรมนี้มีการตกแต่งที่เหมือนกับยุคอาณานิคม และควรจะให้ “เจเน็ต เขียว” มารับบทพากย์เป็นแม่หญิงลาวในเวอร์ชันใหม่


ตอบน้อง merveillesxx (หรือ นัง merveillesxx)

ดีใจมากค่ะที่ได้อ่านสิบอันดับหนังของน้อง merveillesxx

พี่ไม่ว่าอะไรหรอกค่ะที่น้องไปนินทาพี่เช่นนั้น พี่ชอบมากค่ะ ว่าแต่ว่าน้องอยากได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “น้อง” หรือ “นัง” ดีคะ พี่จะได้เรียกให้ถูกต้องตามอัธยาศัยของน้อง ฮ่าๆๆๆๆ

รู้สึกประหลาดใจที่ปีนี้ VILLAGE VOICE ไม่ได้ทำอันดับหนังประจำปีของตัวเองเหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา ไม่รู้เหมือนกันว่าเกิดจากอะไร แต่เพิ่งรู้จากนิตยสาร FILM COMMENT ว่า VILLAGE VOICE โดนบริษัทยักษ์ใหญ่เข้ามาฮุบกิจการไป แล้วเจ้าของใหม่ก็ไล่ DENNIS LIM กับ MICHAEL ATKINSON ออก เพราะเจ้าของใหม่ไม่ชอบรสนิยมดีๆของสองคนนี้ พอได้อ่านข่าวนี้แล้วก็รู้สึกเศร้าใจเป็นยิ่งนัก ไม่รู้เหมือนกันว่าการไล่นักวิจารณ์ดีๆสองคนนี้ออกมีส่วนเกี่ยวข้องอะไรหรือเปล่ากับการที่ VILLAGE VOICE ไม่ได้ทำอันดับหนังประจำปีนี้


ตอบคุณ filmsick

เขียนถึง INDIA SONG ได้ถูกใจดิฉันมากๆค่ะ ชอบที่คุณเขียนมากๆ

การดูหนังเรื่องนี้แล้วเข้าใจเนื้อเรื่องผิด ถือเป็นเรื่องธรรมดาค่ะ เพราะความเข้าใจของดิฉันที่มีต่อเนื้อหาในหนังเรื่องนี้ก็เปลี่ยนไปทุกครั้งในการดูแต่ละรอบเหมือนกัน ยิ่งดิฉันดูหนังเรื่องนี้มากรอบเท่าไหร่ ก็ยิ่งสังเกตพบสิ่งที่ตัวเองไม่ทันสังเกตในรอบก่อนๆมากขึ้นเท่านั้น

พอดีลองไปค้นสิ่งที่ตัวเองเคยเขียนถึง INDIA SONG ใน SCREENOUT ก็เลยก็อปปี้ข้อความเก่าๆที่ตัวเองเคยเขียนมาแปะไว้ในที่นี้ด้วย

--จาก SCREENOUT หน้า 27

วันนี้ซื้อ Practicalities ซึ่งเป็นหนังสือแนวเรียงความของ Marguerite Duras มาค่ะ ลองเปิดผ่านๆดูก็เจอประโยคที่น่าสนใจมาก ซึ่งก็คือความเห็นของ Duras ที่ว่า “THE MEN ARE HOMOSEXUALS. ALL MEN ARE POTENTIALLY HOMOSEXUALS—ALL THAT’S MISSING IS AWARENESS OF THE FACT, AN INCIDENT OR REVELATION THAT WILL BRING IT HOME TO THEM.”

และความเห็นของ Duras ที่ว่า “HETEROSEXUALITY IS DANGEROUS. IT TEMPTS YOU TO AIM AT A PERFECT DUALITY OF DESIRE. IN HETEROSEXUAL LOVE THERE’S NO SOLUTION. MAN AND WOMAN ARE IRRECONCILABLE.”

น่าเสียดายที่หนังเรื่อง India Song ของดูราส์ ที่กำลังจะมาฉายในกรุงเทพในเร็ววันนี้ไม่ได้พูดถึงประเด็นเรื่อง Homosexual ค่ะ แต่ดูราส์เคยกำกับหนังเรื่องนึงชื่อ Nathalie Granger (A+++++) ที่ตัวละครเอกในหนังเรื่องนั้นมีลักษณะส่อไปในทางเลสเบียนบ้างเหมือนกัน

พอดีเจอคำวิจารณ์เกี่ยวกับหนังเรื่อง India Song ของ Duras ก็เลยคัดลอกมาให้อ่านกันค่ะ

1.นิตยสาร American Cinematographer ยกย่องหนังเรื่องนี้ที่ “its imaginative use of voices creating an echo chamber effect that perpetuates the past.”

2.Molly Haskell นักวิจารณ์หญิงชื่อดังของสหรัฐพูดถึง India Song ว่าเป็น “Marguerite Duras’ most perfectly realized film, the most FEMININE film I have seen, ... a rarefied work of lyricism, despair, and passion, ... imbued with a kind of primitive emotional hunger that is all the more moving for its austere setting.”


--จาก SCREENOUT หน้า 30

ขอแจ้งข้อมูลกับคุณอ้วนนิดนึงค่ะ เมื่อวานบอกข้อมูลผิดไปเกี่ยวกับหนังเรื่อง INDIA SONG ในหนังเรื่อง INDIA SONG จะมีผู้ชายผมสีเข้มหน้าตาดีคนนึง (ดาราคนนี้คือ DIDIER FLAMAND) ดิฉันบอกคุณอ้วนไปว่าตัวละครคนนี้คือ FRENCH AMBASSADOR ซึ่งเป็นสามีของนางเอก แต่พอตอนหลังไปเช็คข้อมูลดูแล้ว ปรากฏว่าดิฉันเข้าใจผิดค่ะ ตัวละครคนนี้คือ “เพื่อนของครอบครัว STRETTER” ซึ่งเป็นหนึ่งในชู้รักของนางเอก ส่วนตัวละคร FRENCH AMBASSADOR นั้นไม่ได้ปรากฏรูปร่างให้เราได้เห็นกันเลย คนดูจะได้ยินแต่เสียงของตัวละครตัวนี้เท่านั้น

สรุปตัวละครที่ปรากฏ “รูปร่าง” ให้เห็นใน INDIA SONG

1.ANNE-MARIE STRETTER หรือนางเอกของเรื่อง ที่รับบทโดย DELPHINE SEYRIG

2.THE VICE CONSUL OF LAHORE รับบทโดย MICHEL LONSDALE เขาคือผู้ชายอ้วนๆไว้หนวดไว้เคราที่ใส่ชุดขาว เขาหลงรักนางเอก และตะโกนกรีดร้องอย่างบ้าคลั่งสุดชีวิตในช่วงหลังของเรื่อง

3.MICHAEL RICHARDSON รับบทโดย CLAUDE MANN เขาคือชู้รักของนางเอกที่นางเอกมอบหัวใจให้ เขาคือผู้ชายผมสีอ่อนที่ชอบกอดกับนางเอก แต่คนดูจะไม่ได้ยินเสียงของเขาเลยตลอดทั้งเรื่องนี้

4.YOUNG ATTACHE รับบทโดย MATHIEU CARRIERE เขาคือชายหนุ่มที่ผอมมากๆ เขาเข้าไปคุยกับ VICE CONSUL อยู่ระยะนึง

5.FRIEND OF THE STRETTERS ที่รับบทโดย DIDIER FLAMAND ในช่วงต้นเรื่อง เราจะเห็นคนสามคนนอนอยู่กลางพื้นห้อง สองในสามคนนั้นคือ “คู่รักแห่งแม่น้ำคงคา หรือนางเอกกับไมเคิล ริชาร์ดสัน” ส่วนผู้ชายคนที่ 3 ที่นอนอยู่ด้วยก็คือชู้รักคนนี้นี่เอง

6.GEORGE CROWN รับบทโดย VERNON DOBTCHEFF คนดูจะได้ยินเสียงเขาแป๊บเดียวในงานเลี้ยง แต่เขามาปรากฏกายให้เห็นหลังจากฉากงานเลี้ยงจบไปแล้ว ถ้าดิฉันจำไม่ผิด เขาเป็นผู้ชายหัวล้านๆที่ยืนอยู่ข้างหลังเตียงตั่งที่นางเอกทอดกายอยู่ และเป็นหนึ่งในคนที่ไปที่เกาะกลางสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคากับนางเอก

7.คนใช้ชาวอินเดีย


--จาก SCREENOUT หน้า 31

ความเห็นของคุณอ้วนที่มีต่อ INDIA SONG

>>ส่วนตัวแล้วรู้สึกอึ้งมากๆถึงมากที่สุดที่ภาพและเสียงของหนังเรื่องนี้มี "จังหวะ" ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในหนังเรื่องอื่นๆที่เคยได้ดูมา

ขณะที่กำลังนั่งดูหนังเรื่องนี้นั้น ในบางช่วงก็เริ่มรู้สึกไม่แน่ใจเหมือนกันว่าภาพที่เราเห็นในหนังนั้นเป็นภาพ "ความจริง" จริงๆหรือไม่ หรือจริงๆแล้วเป็นเพียงภาพ "ความคิด" ในจิตใจของตัวละครตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายๆตัว

เพราะเสียงที่ปรากฏให้ได้ยินในหนังมีการเปลี่ยนสลับกันไปมาระหว่างเสียงของตัวละครในท้องเรื่องและเสียงของใครก็ไม่ทราบได้ที่พูดเหมือนกำลังนินทาตัวละครในหนัง

ราวกับผู้สร้างจงใจให้เกิดการสลับมุมมองของคนดูที่มีต่อภาพที่ได้เห็นและเสียงที่ได้ยิน

เช่นตอนที่หนังใช้เสียงของใครก็ไม่ทราบที่เหมือนกำลังนินทาตัวละครกันอยู่นั้น คนดูก็เหมือนเข้าไป “สู่รู้” เรื่องราวของตัวละครกับเขาด้วย มันเป็นช่วงเวลาที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าเรากำลังร่วมวงนินทาชาวบ้าน และภาพที่เราได้เห็นในขณะนั้น เป็นเสมือน “ภาพความคิด” ที่ “คนนอก” มองตัวละครที่กำลังถูกนินทา

แต่ตอนที่หนังใช้เสียงของตัวละครคุยกันนั้น คนดูก็เหมือนเข้าไป “ล่วงรู้” จิตใจของตัวละครอย่างไรอย่างนั้น มันเป็นช่วงเวลาที่เหมือนกับว่าเรากำลังสดับตรับฟังเสียงเรียกร้องในจิตวิญญาณของตัวละคร และภาพที่เราได้เห็นในขณะนั้น เป็นเสมือน “ภาพความคิด” ที่ “ตัวละคร” มองตัวของเขาเอง

หนังเรื่องนี้จึงสร้างผลกระทบทางจิตสำนึกของคนดูอย่างมากเพราะมีการใช้ภาพและเสียงที่มีมิติแตกต่างกันมาเข้าคู่กันโดยที่คนดูต้องคอยปรับมุมมองของเขาอยู่ตลอด

โดยเฉพาะภาพของคู่รักที่ยืนแนบชิดใกล้ในมุมมืดของห้องที่โดยปกติแล้วภาพแบบนี้น่าจะให้ความรู้สึกวาบหวามทางอารมณ์ แต่หนังเรื่องนี้กลับเลือกใช้เสียงกรีดร้องอย่างเจ็บปวดของตัวละครชายตัวหนึ่งมาจับเข้าคู่กับภาพๆนี้ ผลก็คือ มันให้ความรู้สึกเจ็บปวดบาดลึกในทำนองที่เหมือนหัวใจกำลังโดนกรีดแยกออกเป็นเสี่ยงๆจนแทบจะขาดใจตายไปเสียตรงนั้น

มันแสดงให้เห็นถึง “อีกด้านหนึ่ง” ของศิลปะการใช้ภาพและเสียงที่ชวนให้เราปลดปล่อยจิตวิญญาณภายในใจของตัวเราเองให้ล่องลอย, ดื่มด่ำ, และเจ็บปวดไปกับมุมต่างๆของมัน

และบางทีหนังเรื่องนี้อาจจะทำให้เราได้ตระหนักเป็นสำคัญว่า ความสุขอย่างที่สุดอย่างหนึ่งในชีวิตของมนุษย์ก็คือ การที่ “ภาพ” และ “เสียง” ในจิตใจของเรามัน “พูด” ตรงกันนั่นเอง<<


ความรู้สึกเพิ่มเติมจากการดู INDIA SONG


1.ลองสังเกตดูแล้วก็พบว่าเสียงผู้หญิงสองคนที่คุยกันในช่วงต้นของ INDIA SONG น่าจะเป็นคู่เลสเบียนกันจริงๆ เพราะจะมีประโยคนึงที่ผู้หญิงคนนึงพูดถึงความรักที่มีต่อผู้หญิงอีกคนนึง แต่ถ้าหากไม่ทันสังเกต ก็จะไม่รู้ เพราะเสียงคนคุยกันเหล่านี้มักจะใช้ “สรรพนาม” ในการพูดคุย และเราก็จะไม่เข้าใจว่าสรรพนามแต่ละครั้งที่พวกเขาพูดถึง มันหมายถึงตัวละครตัวไหนกันแน่ หรือมันหมายถึงผู้บรรยายคนอื่นๆที่ไม่ได้ปรากฏ “ตัว” ให้ “เห็น” ในเรื่อง

2.สองประโยคที่ยังคงชอบสุดๆในหนังเรื่องนี้ก็คือ

2.1 “SHE ASKED FOR THE DIRECTIONS TO GET LOST.” คำว่า SHE ในที่นี้หมายถึงหญิงขอทาน ดิฉันไม่แน่ใจว่าประโยคนี้หมายความว่าอะไรกันแน่ แต่มันดูเหมือนจะแปลว่า “เธอถามหาเส้นทางที่จะทำให้เธอหลงทาง” ซึ่งมันเป็นอะไรที่เฮี้ยนมากๆ เพราะปกติแล้วมีแต่คนที่ถามหาเส้นทางเพื่อจะได้ไม่หลงทาง แต่หญิงขอทานคนนี้กลับถามหาเส้นทางที่จะช่วยให้เธอหลงทาง

2.2 “ผมรักคุณ เพราะคุณรักไมเคิล ริชาร์ดสัน” ประโยคนี้เป็นประโยคที่รองกงสุลพูดกับนางเอก ซึ่งก็ให้ความรู้สึกที่เฮี้ยนมากๆ สำหรับดิฉัน มันเป็นอะไรที่แปลกแต่ก็ดูเหมือนจะเป็นไปได้จริง ประโยคนี้มันสามารถตีความได้เป็น “ผมรักคุณ เพราะคุณรักผู้ชายคนอื่น” หรือ “ผมรักคุณ ตราบใดที่คุณยังไม่รักผม”

3.รู้สึกประหลาดดีที่ในฉากตอนต้นเรื่อง ตัวละคร THE YOUNG GUEST ไม่ได้มานอนถอดเสื้อข้างๆนางเอก แต่กลับเลือกไปนอนแผ่อยู่ข้างๆไมเคิล ริชาร์ดสันแทน ก็เลยทำให้ฉากนี้ตัวละครในเรื่องดูเหมือนเป็นไบเซ็กชวลขึ้นมา โดยไม่รู้ว่า DURAS จงใจหรือเปล่า

4.ถ้าเข้าใจไม่ผิด ใน INDIA SONG มีเนื้อหาตอนนึงที่บอกว่ามีคนอินเดียป่วยเป็นโรคเรื้อนตายไปหลายคน และก็มีคนผิวขาวอีกหลายคนที่ฆ่าตัวตายไปทั้งๆที่ตัวเองไม่ได้ป่วยไข้อะไรเลย แต่คนผิวขาวเหล่านี้อาจจะฆ่าตัวตายเพราะรู้สึกผิด

จุดนี้ทำให้นึกถึงอะไรหลายๆอย่าง ที่เกี่ยวกับความโหดร้ายทางร่างกายที่เกิดขึ้นกับคนอื่นๆ แต่กลับส่งผลกระทบทางจิตใจกับคนอีกคนนึง อย่างเช่นเรื่องทหารอเมริกันจำนวนมากที่ฆ่าตัวตายในอิรักในปัจจุบัน, เรื่องที่ IRIS CHANG ผู้เขียนหนังสือ “หลั่งเลือดที่นานกิง” ฆ่าตัวตาย และเคยได้ยินว่ามีคนหลายคนตายไปในแอฟริกาทั้งๆที่พวกเขาไม่ได้ป่วยไข้อะไรเลย แต่พวกเขาเพียงแค่ได้เห็นคนเจ็บป่วยล้มตายเป็นจำนวนมาก จนมันส่งผลบางอย่างต่อจิตใจของพวกเขา และทำให้พวกเขาอยู่ดีๆก็ตายตามไปด้วย นอกจากนี้ ยังทำให้นึกถึงหนังเรื่อง PERSONA ด้วยเช่นกัน ที่ตัวละครที่แสดงโดย LIV ULLMANN ดูข่าวเรื่องพระเผาตัวตายในเวียดนาม ซึ่งข่าวเหล่านี้อาจจะส่งผลกระทบบางอย่างต่อจิตใจของตัวละครตัวนี้

ANNE MARIE STRETTER เอง ก็ดูเหมือนจะฆ่าตัวตายหลังจากที่มีเสียงบรรยายพูดถึงสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นในปี 1937-1938 ด้วยเช่นกัน

5.ถ้ามีเวลาว่าง ก็อยากจะอ่านนิยาย THE RAVISHING OF LOL V. STEIN ของ MARGUERITE DURAS เพราะตัวละคร LOLA VALERIE STEIN นี้ได้รับการพูดถึงใน INDIA SONG ด้วยเหมือนกัน แต่ไม่ได้ปรากฏตัวในเรื่อง

LOLA VALERIE STEIN คือคู่หมั้นของ MICHAEL RICHARDSON แต่ MICHAEL RICHARDSON กลับตกหลุมรัก ANNE MARIE STRETTER และถอนหมั้น LOLA VALERIE STEIN ไป ชีวิตของ LOLA VALERIE STEIN หลังจากนั้นก็ชิบหายไม่แพ้ชีวิตของ ANNE MARIE STRETTER เพราะเหตุการณ์การถูกถอนหมั้นครั้งนั้นสร้างบาดแผลทางจิตใจอย่างร้ายแรงสุดขีดให้กับ LOLA และถึงแม้ LOLA จะแต่งงาน, มีผัว และมีลูกแล้ว 3 คน เธอก็ยังลืมเหตุการณ์ที่ถูกนางเอก INDIA SONG แย่งผัวในครั้งนั้นไม่ได้ และ LOLA ต้องหาทางเยียวยาจิตใจจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น และในที่สุด LOLA ก็มีชู้กับผัวของเพื่อนสนิทของเธอเอง

http://www.amazon.com/Ravishing-Lol-Stein-Marguerite-Duras/dp/0394743040

One night, at a ball at the municipal casino of Town Beach, near S. Thala, 18 year-old Lola Valerie Stein watched Anne-Marie Stretter, wife of the French Consul in Calcutta, and Michael Richardson, fiance of Lol. V. Stein, fall instantly, irrevocably, and obviously in love. She watched them until dawn, her friend Tatiana Karl by her side.Only when they were about to leave did she cry out, she wanted to follow them. They didn't hear her cries.

Lol Stein was nineteen years old when her fiance, Michael Richardson, abandoned her. The moment lives starkly in Lol's memory, even after she's been married for ten years, after she's had three children, after she should have moved on with her life. The memory endures until it can be revised, until Lol can make a new memory to replace it.

Tatiana Karl, Lol's best friend in childhood, was with Lol the night her fiance left her. He did it publicly, at a prominent dance in the Town Beach casino, while Lol and Tatiana watched. Lol collapses in a state of depression, becomes uncommunicative, changes. She is brought back to South Tahla, the place of her birth, to recover. It is here that she meets John Bedford, marries him and seemingly moves on with her life, literally leaving South Tahla, as well, for ten years and breaking off all contact with old friends, including Tatiana. But the memory lingers, darkly, and can only be erased when Lol and her husband return to South Tahla, return to the place where the memory was made.

Lol works at erasing the mental trauma of her past with a new memory, a memory wrought from obsession, voyeurism, and calculated seduction. She resumes her relationship with Tatiana, now married, and makes a new relationship with Tatiana's lover. Haunting and erotically charged, marked by a disturbing psychological aridity, and written in a complex, non-linear style marked by the shifting viewpoint of its narrator, "The Ravishing of Lol Stein" is another example of why Marguerite Duras deserves to be ranked as one of the finest writers of Twentieth century literature.


6.ส่วนตัวละคร vice consul ใน INDIA SONG นั้น ก็จะได้รับการพูดถึงอย่างชัดๆในนิยายเรื่อง THE VICE CONSUL ของ MARGUERITE DURAS โดยทั้ง ANNE-MARIE STRETTER, MICHAEL RICHARDSON และรองกงสุล นั้นก็เป็นตัวละครสำคัญใน THE VICE CONSUL ด้วย โดยในนิยายเรื่องนี้ เราจะได้รู้จักกับตัวละครอีกตัวนึงที่ชื่อ PETER MORGAN ซึ่งเป็นคนสนิทอีกคนของ ANNE-MARIE STRETTER โดยตัวละครปีเตอร์ มอร์แกนคนนี้ได้พบกับหญิงขอทานคนนึง เขาเลยนำแรงบันดาลใจที่ได้รับจากการพบปะกับหญิงขอทานคนนั้น มาแต่งเป็นนิยายเกี่ยวกับสาวเวียดนามคนนึงที่เดินทางด้วยเท้าเป็นเวลา 10 ปีมาจนถึงกัลกัตตา โดยสาวเวียดนามคนนี้ได้นอนกับคนโรคเรื้อนทุกคืนๆๆ แต่เธอไม่เคยติดโรคเรื้อน
http://www.amazon.com/Vice-Consul-Imaginaire-Ser-Marguerite-Duras/dp/2070298442
http://www.ejumpcut.org/archive/onlinessays/JC05folder/WomanOfGanges.html
The main story of The Vice-Consul is the irreproachable wife of the French Ambassador, irreproachable in the sense that no one knows what she does except the men with whom she is intimate. One of them is Michael Richard, who was visiting Calcutta one day and heard her playing the piano. Another of these intimates is Peter Morgan, who is writing the story with which the book begins, of a young Vietnamese girl who was thrown out by her mother when she became pregnant and as a result of continual famine and misery became mad. After ten years of walking she reached Calcutta, where she remained, having finally found a place where she could lose herself. Although she sleeps with the lepers every night, she has not yet contracted leprosy. The model for this character is an actual beggar woman whom Peter Morgan follows around Calcutta. A man who would like to be an intimate of Anne-Marie Stretter is the former Vice Consul of Lahore, presently awaiting new orders in Calcutta. He is the scandal of colonial circles, having inexplicably fired from his window in Lahore upon the lepers and dogs asleep in the gardens of Shalimar. The question, as someone puts it, is whether the killing of lepers and dogs is really killing?

Out of the extremely complex narrative structure and imagery of The Vice Consul emerges an intimacy of non-relationship and identity between the two women, Anne-Marie Stretter and the beggar woman, one thin from privation, and the other thin from decadence, and the man, the Vice Consul, who responded to the intolerable proximity of colonialism and misery by irrational violence.



7.ตัวละครจากนิยาย/ละครเวที 3 เรื่องของ MARGUERITE DURAS ซึ่งได้แก่ THE RAVISHING OF LOL V. STEIN, THE VICE CONSUL และ INDIA SONG ได้มาปะทะกันอีกครั้งในนิยายเรื่อง L’AMOUR ของ MARGUERITE DURAS โดยใน L’AMOUR นี้เราจะได้ทราบชะตากรรมของไมเคิล ริชาร์ดสันว่าเป็นอย่างไรบ้างหลังจาก ANNE-MARIE STRETTER ฆ่าตัวตายไปแล้วในตอนจบของ INDIA SONG

L'Amour is set on the Town Beach near S. Thala. There is a woman who is some in carnation of Lol. V. Stein, who is either dead or escaped from prison, who is pregnant, guarded by a madman who paces the beach, and regarded by another, who is perhaps Michael Richardson. This man has returned after a long absence—we are told that Michael Richardson left India after the death of Anne Marie Stretter. He visits a woman who may be Tatiana Karl; she too seems to have died a long time ago.



8. ตัวละครจาก THE RAVISHING OF LOL V. STEIN, THE VICE CONSUL, INDIA SONG และ L’AMOUR เคยได้รับการนำเสนอในภาพยนตร์เรื่อง WOMAN OF THE GANGES (1974, MARGUERITE DURAS) ด้วย โดย WOMAN OF THE GANGES นำเสนอให้เห็น “ภาพ” ของผู้ชายคนนึงที่มาที่โรงแรมริมชายหาดเพื่อฆ่าตัวตาย แต่เขากลับต้องเผชิญหน้ากับคนบ้า 4 คน แต่ผู้ชมจะได้ฟัง “เสียง” ของผู้หญิงสองคนคุยกันตลอดเวลาของหนังเรื่องนี้ โดยผู้หญิงสองคนนี้คุยกันถึงเรื่องราวของ LOLA VALERIE STEIN, MICHAEL RICHARDSON, ANNE-MARIE STRETTER และ TATIANA CARL และในเวลาเดียวกัน ผู้หญิงหนึ่งในเจ้าของเสียงคุยนี้ (สมมุติว่าชื่อเอ) ก็พูดถึงความรักที่มีต่อผู้หญิงที่เป็นเจ้าของเสียงคุยอีกคนนึง (สมมุติว่าชื่อบี) โดยที่เอให้สัญญาว่าถ้าหากบีต้องการให้เอฆ่าบี เอก็จะทำตามความต้องการนั้น

The soundtrack consists primarily of the Voices, two women who tell each other the story of Lol. V. Stein and Michael Richardson and Anne-Marie Stretter and Tatiana Karl, as well as they can—they seem to have forgotten—one of them loves the other and agrees that she would kill her if asked to do so.


9. การที่ตัวละครในหนังเรื่อง WOMAN OF THE GANGES, INDIA SONG และ HER NAME IS VENICE UNDER THE CALCUTTA DESERT (1976) มีความคาบเกี่ยวซ้อนทับกันอย่างรุนแรงนี้ ทำให้นึกถึงหนังของ WONG KAR-WAI ที่ตัวละครในหนังหลายๆเรื่องของเขาดูเหมือนจะโยงเข้าหากันได้อย่างหลวมๆ แถมตัวละครหญิงขอทานใน INDIA SONG ยังมี “คู่เปรียบเทียบ” เป็น “หญิงเวียดนามในจินตนาการของตัวละครที่ชื่อ PETER MORGAN” อีก การที่ตัวละครตัวนึงเป็นเงาสะท้อนของตัวละครอีกตัว ก็ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง “2046” ด้วยเหมือนกัน


10.เมื่อวันอาทิตย์ได้คุยกับคุณ FILMSICK และเพื่อนๆว่าผู้กำกับบางคนดูเหมือนจะทำหนังเบาลงๆเมื่ออายุมากขึ้น อย่างเช่น JOHN WATERS (ซึ่งเคยบูชา MARGUERITE DURAS ในหนังเรื่องนึงของเขา) แต่ก็มีผู้กำกับบางคนเหมือนกันที่ยิ่งแก่มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำหนังบ้าหนังเฮี้ยนหนังแรงมากขึ้นเท่านั้น เท่าที่อาจจะพอเข้าข่ายบ้างก็มี

10.1 PIER PAOLO PASOLINI ที่ทำ SALO OR 120 DAYS OF SODOM (1975, A+) เป็นเรื่องสุดท้าย

10.2 ROBERT BRESSON ที่ทำหนังที่ให้ความรู้สึกสุดขั้วมากๆสำหรับดิฉันในช่วงท้ายๆของชีวิต อย่างเช่น THE DEVIL PROBABLY (A+) และ L’ARGENT (A++++++++++)

10.3 MARGUERITE DURAS เพราะดิฉันคิดว่าหนังเรื่องหลังๆของเธอน่าจะดูสุดขั้วยิ่งกว่า INDIA SONG เสียอีก อย่างเช่น AGATHA AND THE UNLIMITED READINGS (1981, A++++++++++++++) ที่เต็มไปด้วยภาพประตูนิ่งๆ, หน้าต่างนิ่งๆ และ THE ATLANTIC MAN (1981) ที่ช่วงเวลาถึง 3 ใน 4 ของหนังเรื่องนี้ ผู้ชมจะไม่ได้เห็นภาพอะไรเลย นอกจากหน้าจอมืดๆ


11.หนึ่งในคำชมที่มีต่อ DURAS ที่ดิฉันชอบมากที่สุด คือคำชม (หรือเปล่า) ที่ JACQUES RIVETTE มีต่อ DURAS โดย RIVETTE เคยพูดถึงหนังเรื่อง UNDER THE SUN OF SATAN (1987, MAURICE PIALAT) ว่าเปียลาต์กำกับหนังเรื่องนี้ได้ดีพอประมาณ แต่หนังเรื่องนี้สร้างมาจากบทประพันธ์ที่ยากจะดัดแปลงเป็นหนังได้ เพราะแก่นหลักของนิยายเรื่องนี้ที่เกี่ยวกับการพบกับซาตานนั้น เกิดขึ้นในคืนที่มืดดำ เกิดขึ้นในคืนที่มืดมนอนธการที่สุดของที่สุด และมีแต่เพียง MARGUERITE DURAS เท่านั้นที่สามารถถ่ายทอดฉากแบบนี้จากตัวหนังสือออกมาเป็นภาพยนตร์ได้
http://www.sensesofcinema.com/contents/01/16/rivette.html

But I really believe that Bernanos is unfilmable. Diary of a Country Priest remains an exception. In Under the Sun of Satan, I like everything concerning Mouchette [Sandrine Bonnaire's character], and Pialat acquits himself honorably. But it was insane to adapt the book in the first place since the core of the narrative, the encounter with Satan, happens at night - black night, absolute night. Only Duras could have filmed that.

1 comment:

Anonymous said...

อยากดู INDIA SONG มากๆ