Thursday, January 18, 2007

MOST FAVORITE FILMS OF 2006 PART 4

8. KOENIG’S SPHERE (2003, Percy Adlon, เยอรมนี)
http://www.percyadlon.com/large_images/lg_lookingup.jpg

ในภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ Percy Adlon นำเสนอเรื่องราวของฟริทซ์ เคอนิก ประติมากรวัยชราชาวบาวาเรีย เจ้าของผลงาน THE SPHERE ซึ่งเป็นลูกโลกประหลาดที่เคยตั้งอยู่ที่ลานโทบิน พลาซ่า ที่อยู่ตรงกลางระหว่างตึกแฝดเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ โดยหนังเรื่องนี้เล่าเรื่องตั้งแต่การก่อสร้างงานประติมากรรมชิ้นนี้, การฆ่าตัวตายของผู้ร่วมงานบางคน, ผลงานจิตรกรรมของเคอนิกที่ดูเหมือนจะบ่งชี้ถึงลางสังหรณ์บางอย่าง เรื่อยมาจนถึงเรื่องที่ประติมากรรมชิ้นนี้ถูกทำลายในเหตุการณ์ตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ถล่มในวันที่ 11 ก.ย.ปี 2001, ความเศร้าโศกเสียใจของเคอนิกเมื่อได้มาเห็นผลงานสุดที่รักของเขาพังยับเยิน, ความดีใจเล็กๆน้อยๆของเคอนิกเมื่อเขาได้พบประชาชนเดินดินบางคนที่เห็นคุณค่าของงานประติมากรรมชิ้นนี้ และการที่งานประติมากรรมชิ้นนี้ได้รับการบูรณะอีกครั้ง

สาเหตุที่ทำให้ดิฉันชอบ KOENIG’S SPHERE มากๆเป็นเพียงเพราะว่าหนังเรื่องนี้ทำให้ดิฉันร้องไห้ไป 3 รอบขณะที่ดู โดยเฉพาะในฉากที่เคอนิกกำลังจะเดินเข้าไปดูซากของ THE SPHERE เขาไม่สามารถเดินตรงเข้าไปดูซากของงานประติมากรรมของเขาได้ในทันที เพราะพื้นที่นั้นยังคงมีตำรวจและคนงานคอยควบคุมดูแลการเก็บเศษซากตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ในบริเวณนั้นอยู่ ดิฉันรู้สึกชื่นชอบการตัดต่อในฉากนี้อย่างสุดๆ เพราะขณะที่เคอนิกกำลังจะเดินเข้าไปดูซากนั้น อยู่ดีๆหนังก็ตัดมาเป็นภาพถ่ายของเคอนิกกับภรรยาที่ถ่ายกับ THE SPHERE เมื่อราว 30 ปีก่อน การตัดต่อระหว่างภาพอดีตของการให้กำเนิดสิ่งที่เรารักและปัจจุบันเมื่อสิ่งนั้นถูกทำลายในฉากนี้ ทำให้ดิฉันรู้สึกมีอารมณ์ร่วมกับเคอนิกในฉากนั้นอย่างมากๆ การได้ดูฉากดังกล่าวทำให้ดิฉันรู้สึกเหมือนกับว่าดิฉันเป็นคุณแม่ที่อยู่ที่สถานที่เกิดเหตุฆาตกรรม และกำลังจะขออนุญาตตำรวจเพื่อเข้าไปดูศพลูกสาวที่ถูกฆ่าตาย และขณะที่ตัวเองกำลังจะเดินเข้าไปเห็นศพของลูกสาวนั้น อยู่ดีๆภาพของลูกสาวขณะที่ยังเป็นเด็กทารกที่อยู่ในอ้อมกอดของดิฉันเมื่อ 30 ปีก่อนก็ผุดขึ้นมาhttp://www.ifar.org/911photos/pub11.jpg

ในภาพยนตร์เรื่อง KOENIG’S SPHERE นั้น เราจะเห็นได้ว่าผู้คนทั่วไปและแม้แต่ตัวเคอนิกเองต่างก็พูดว่าการที่ THE SPHERE ถูกทำลายไม่ใช่เรื่องที่สลักสำคัญอะไรมากนักเมื่อเทียบกับจำนวนคนที่ล้มตายหลายพันคนในตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ แต่ถึงแม้ปากของเคอนิกจะพูดอย่างนั้น ดิฉันก็คิดว่าเขาคงรู้สึกเจ็บปวดอยู่ลึกๆ เพราะ THE SPHERE เปรียบได้เหมือนกับเป็นลูกคนหนึ่งของเขา และการที่ลูกสุดที่รักของเขาถูกทำลายไปโดยไม่มีคนสนใจ น่าจะสร้างความรู้สึกเจ็บปวดจนเหลือแสนให้แก่เขาแต่เมื่อเคอนิกเดินทางไปที่นิวยอร์คอีกครั้ง เขาก็พบกับตำรวจสาวคนหนึ่งที่จดจำ THE SPHERE ได้ เธอแสดงอาการตื่นเต้นยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พบกับประติมากรผู้สร้าง THE SPHERE โดยบังเอิญ และเรียกเพื่อนๆของเธอให้มาดูเคอนิก ดิฉันคิดว่าเคอนิกคงรู้สึกยินดีและปลาบปลื้มใจเป็นล้นพ้น ที่พบว่าอย่างน้อยในโลกนี้ก็ยังมีตำรวจหญิงคนหนึ่งที่ชื่นชอบผลงานของเขา, ยังคงจดจำผลงานนั้นได้ และยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พบกับประติมากรเจ้าของผลงานที่ถูกทำลายไปแล้วนี้ และนี่ก็เป็นอีกฉากหนึ่งที่ทำให้ดิฉันร้องไห้ค่ะ

ฉากจบของหนังเรื่องนี้ก็ทำให้ดิฉันร้องไห้เช่นกัน โดยในตอนจบของภาพยนตร์เรื่องนี้ เคอนิกพูดถึงประโยคของ John Updike (นักประพันธ์ชื่อดัง) ที่ว่า “THE TRUTH IN ART CAN BE FOUND IN THE PAIN IT SHELTERS.” และเขาก็พูดเหมือนกับว่าการที่ THE SPHERE ถูกทำลาย ทำให้เขาเข้าใจประโยคนี้ในที่สุดดิฉันไม่เข้าใจว่าประโยคนี้แปลว่าอะไร แต่ดิฉันรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองสามารถเข้าใจความรู้สึกของ เคอนิกที่มีต่อประโยคนี้ และมันเป็นความรู้สึกที่เจ็บปวดมากๆ และหลังจากนั้นทุกครั้งที่ดิฉันนึกถึงฉากจบนี้ ดิฉันก็จะรู้สึกอยากร้องไห้ นอกจากนี้ ประโยคนี้ยังช่วยให้ดิฉันได้แง่มุมเพิ่มมากขึ้นในการชมภาพยนตร์ด้วย โดยทำให้ดิฉันเริ่มตั้งคำถามต่อภาพยนตร์แต่ละเรื่องที่ได้ชมว่า “ความเจ็บปวดใดบ้างหนอที่อยู่เบื้องหลังภาพยนตร์เรื่องนั้น”

อาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจแต่อย่างใดที่ KOENIG’S SPHERE จะกำกับโดยผู้กำกับชาวเยอรมัน โดยเฉพาะเมื่อนำมาเทียบกับภาพยนตร์สารคดีอเมริกันเกี่ยวกับสถาปนิกเรื่อง SKETCHES OF FRANK GEHRY (2005, Sydney Pollack) เพราะ SKETCHES OF FRANK GEHRY มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “ฝันที่เป็นจริงของสถาปนิก” และมีลักษณะคล้ายภาพยนตร์อเมริกันหลายเรื่องที่พูดถึง American Dream หรือแนวคิดแบบ “ถ้าหากคุณมุมานะอดทน คุณจะประสบความสำเร็จในชีวิต” แต่ในทางตรงกันข้าม ภาพยนตร์เยอรมันเรื่อง KOENIG’S SPHERE กลับมีเนื้อหาเกี่ยวกับ “ฝันร้ายที่เป็นจริงของประติมากร” และดิฉันก็คิดว่าภาพยนตร์เยอรมันมีแนวโน้มจะถ่ายทอดเรื่องราวแบบ “ความจริงอันโหดร้าย” หรือ “ฝันสลาย” ได้ดีมากๆอยู่แล้ว

ภาพผลงานอีกชิ้นหนึ่งของ FRITZ KOENIG
http://www.staedtische-galerie-erlangen.de/seiten/6_sammlung/bestand/bilder/600px/koenig2.jpg

ภาพผลงานของ FRANK GEHRY
http://cv.uoc.es/~991_04_005_01_web/fitxer/guggenheim.jpg
http://www.latrobe.edu.au/spacescience/swunit/images/odeillo_solar_furnace_large.jpg
http://www.edinburgharchitecture.co.uk/jpgs/frank_gehry_site4.jpg
http://alatan.nsys.by/images/products/Prague_dancing%20house.JPG
http://www.e-architect.co.uk/barcelona/jpgs/fish_frank_gehry_9.jpg

นอกจาก KOENIG’S SPHERE แล้ว หนังสารคดีของผู้กำกับเยอรมันเรื่องอื่นๆที่ดิฉันชอบสุดๆยังรวมถึงเรื่อง

8.1 COLD HOMELAND (1995, Volker Koepp)
http://ec2.images-amazon.com/images/P/B00004RUBQ.03._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056668049_.jpg

8.1.1 ภาพปกดีวีดีหนังเรื่อง SHADE COUNTRY – JOURNEY AFTER MASUREN (2005, VOLKER KOEPP)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B000GIY4GC.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V62719915_.jpg

8.1.2 ภาพปกดีวีดีหนังเรื่อง POMMERLAND (2005, VOLKER KOEPP)
http://ec2.images-amazon.com/images/P/B000GIY4G2.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V62719533_.jpg

8.1.3 ภาพปกดีวีดีภาพยนตร์เรื่อง THIS YEAR IN CZERNOWITZ (2004, VOLKER KOEPP)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B000GIY4FS.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V62719525_.jpg

8.1.4 ปกดีวีดีหนังเรื่อง UCKERMARK (2002, VOLKER KOEPP)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B000GIY4FI.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V62719525_.jpg

8.1.5 ภาพปกดีวีดีหนังเรื่อง KURISCHE NEHRUNG (2001, VOLKER KOEPP)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B000GIY4F8.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V62719923_.jpg

8.1.6 ภาพปกดีวีดีหนังเรื่อง MR. ZWILLING AND MRS. ZUCKERMANN (1999, VOLKER KOEPP)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B000GIY4EY.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V62719525_.jpg

8.2 LAND OF SILENCE AND DARKNESS (1971, Werner Herzog)

8.3 THE HOUSEWIFE’S FLOWER (1999, Dominik Wessely)
http://ec2.images-amazon.com/images/P/B000058DSV.03._SS500_SCLZZZZZZZ_V1057221089_.jpg

ปกดีวีดีละครทีวีเรื่อง WIND FORCE 8 – THE EMIGRANT SHIP 1855 (2005, DOMINIK WESSELY)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B00099IGIK.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V57232287_.jpg

8.4 WITTSTOCK, WITTSTOCK (1997, Volker Koepp)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B00005QTUD.03._SS500_SCLZZZZZZZ_V1069162760_.jpg

8.5 AIDE MEMOIRE – GAY DOCUMENT FOR REMEMBERING (1995, Michael Brynntrup)
http://www.brynntrup.de/
http://www.brynntrup.de/filmo/images/46am/46am_lachen_a.jpg

ภาพจากหนังบางเรื่องของ MICHAEL BRYNNTRUP ซึ่งเคยมีงานฉายหนัง RETROSPECTIVE ของเขาในกรุงเทพในปี 2001
http://www.totentanz-online.de/medien/film/images/1994-michael-brynntrup.JPG

KAIN AND ABEL (1994, MICHAEL BRYNNTRUP)
http://www.emaf.de/1995/Pics/ScreenShots/008.gif

BLUE BOX BLUES (STAGING A PHOTO SHOOT) (2005, MICHAEL BRYNNTRUP)
http://www.imagesfestival.com/images/production/817.jpg

MICHAEL BRYNNTRUP
http://iceca.chiangmai.ac.th/events/docu/private2/michael%20brynntrup.jpg

8.6 BUENA VISTA SOCIAL CLUB (1999, Wim Wenders)

8.7 QUEENS DON’T CRY (2002, Rosa von Praunheim)
http://ec2.images-amazon.com/images/P/B00009PM7X.03._SS500_SCLZZZZZZZ_V1105971167_.jpg

ภาพจาก SILENCE = DEATH (1990, ROSA VON PRAUNHEIM)
http://www.thebody.com/visualaids/web_gallery/2004/giovanis/images/13_large.jpg

ปกดีวีดีภาพยนตร์เรื่อง DIE BETTWURST (1971) และ DIE BERLINER BETTWURST (1975, ROSA VON PRAUNHEIM)
http://ec2.images-amazon.com/images/P/B00018S13Y.03._SS500_SCLZZZZZZZ_V1083749762_.jpg

ROSA VON PRAUNHEIM ซึ่งเคยเป็นไม้เบื่อไม้เมากับ RAINER WERNER FASSBINDER และ WERNER SCHROETER
http://www.fueradecampo.cl/filmografias/imagenes/praunheim.jpg

8.8 DREHORT BERLIN (1987, Helga Reidemeister)
http://www.basisfilm.de/texaskabul/Texas-Kabul-Presse/03-PF-TexasKabul-l.jpg

ภาพจาก TEXAS KABUL (2004, HELGA REIDEMEISTER)
http://www.basisfilm.de/texaskabul/Texas-Kabul-Presse/01-PF-TexasKabul-l.jpg
http://www.basisfilm.de/texaskabul/Texas-Kabul-Presse/02-FP-TexasKabul-l.jpg

8.9 OFF SEASON (1997, Pepe Danquart + Mirjam Quinte)

ปกดีวีดี HELL ON WHEELS (2004, PEPE DANQUART)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B0006TROAY.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V55788985_.jpg

ปกดีวีดี ANGEL OF DEATH (2002, PEPE DANQUART)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B0000X4KOE.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1132625738_.jpg

8.10 CROSSING THE BRIDGE: THE MUSIC OF ISTANBUL (2005, Fatih Akin)
http://www.twitchfilm.net/pics/crossing.jpg



9. LIFE IS SHORT 2 (2006, ทศพล บุญสินสุข)

LIFE IS SHORT 2 เป็นภาพยนตร์สั้นของคุณทศพล บุญสินสุข หนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์ที่ดิฉันชื่นชอบมากที่สุดในชีวิต หนังสั้นเรื่องนี้ประกอบด้วยเรื่องสั้นๆมารวมกันประมาณ 10 เรื่อง เท่าที่พอจำได้ รู้สึกว่าจะมีเรื่อง BEER, HOMESICK, HIDE, FRIENDS, THE MAN WHO TRIED TO STOP THE WORLD, IN THE EVENING, RAIN WILL COME, POD AND BEAR, DRIVEN และ DOG IN THE RAIN โดยที่แต่ละส่วนดูเหมือนจะไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด บางส่วนก็เป็นแอนิเมชั่น, บางส่วนก็เป็นการถ่ายภาพเสาไฟฟ้า, กระป๋องเบียร์, สัตว์ริมชายหาด, พงหญ้า, นกที่เกาะตามสายไฟ, ตุ๊กตา, วิวที่มองผ่านหน้าต่างรถออกไปยังข้างทาง และตุ๊กตาหมากลางสายฝน

สาเหตุที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้ก็คล้ายกับ KOENIG’S SPHERE นั่นก็คือว่าหนังเรื่องนี้ทำให้ดิฉันร้องไห้อย่างรุนแรงมากๆ แต่แตกต่างกันตรงที่ดิฉันพอเข้าใจว่าอะไรใน KOENIG’S SPHERE ที่ทำให้ดิฉันร้องไห้ แต่ดิฉันกลับยากจะบอกได้ว่าอะไรกันแน่ใน LIFE IS SHORT 2 ที่ทำให้ดิฉันร้องไห้อย่างรุนแรง เพราะหนังสั้นเรื่องนี้ไม่มีเนื้อเรื่องเลย ฉากแต่ละฉากในหนังเรื่องนี้ไม่มี “เนื้อหาสาระ” แต่ดิฉันกลับรู้สึกว่าฉากแต่ละฉากในหนังเรื่องนี้มันสามารถถ่ายทอดความเหงาเศร้าเข้าสู่หัวใจดิฉันได้อย่างรุนแรง แต่มันไม่ใช่ความเศร้าแบบที่ดูแล้วทำให้รู้สึกหดหู่หรืออยากจะฆ่าตัวตาย แต่มันเป็นความเศร้าแบบที่ทำให้เราร้องไห้และรู้สึกเหมือนเราได้ปลดปล่อยความทุกข์ความกังวลหลายๆอย่างในจิตใจออกไปพร้อมกับน้ำตานั้น หากจะเปรียบเทียบง่ายๆก็คือว่า การดู LIFE IS SHORT 2 ทำให้ดิฉันรู้สึกเหมือนกับได้รับการเยียวยาทางจิตใจอย่างรุนแรง ดิฉันจำได้ว่าก่อนที่ดิฉันจะเข้าไปดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันกำลังมีปัญหาชีวิตส่วนตัวที่ทำให้อึดอัดคับข้องใจและเป็นทุกข์อย่างมาก แต่หลังจากที่ดิฉันได้ดูหนังเรื่องนี้จบและได้ร้องไห้ออกไป ดิฉันกลับรู้สึกหายกังวลกับชีวิตไปด้วย และรู้สึกว่าชีวิตเราไม่จำเป็นต้องแบกความกังวลดังกล่าวไว้ในใจโดยไม่จำเป็นเลย

ทำไม LIFE IS SHORT 2 และหนังหลายๆเรื่องของคุณทศพล บุญสินสุข โดยเฉพาะ SHE IS READING NEWSPAPER (2005) ถึงมีความสามารถในการเยียวยาจิตใจผู้ชมอย่างดิฉัน ดิฉันก็คงตอบไม่ได้เหมือนกัน และคิดว่าบางทีอาจจะมีแต่เพียงนักจิตวิเคราะห์เท่านั้นที่อาจจะตอบได้

หากพูดถึงโครงสร้างของหนังแล้ว LIFE IS SHORT 2 มีโครงสร้างที่ทำให้นึกถึง “ห้ามอุ่นไข่ในไมโคเวฟเดี๋ยวระเบิดตูม!” (2005, ทศพล บุญสินสุข) เพราะภาพยนตร์สองเรื่องนี้ประกอบด้วยส่วนย่อยๆหลายส่วนมาประกอบกัน โดยที่ไม่รู้ว่ามันเกี่ยวข้องกันยังไง แต่ “ห้ามอุ่นไข่ในไมโคเวฟเดี๋ยวระเบิดตูม!” ให้อารมณ์ค่อนข้างอบอุ่น แต่ LIFE IS SHORT 2 ให้อารมณ์เหงาเศร้ามากๆ นอกจากนี้ โครงสร้างของหนังสองเรื่องนี้ ยังทำให้นึกถึงหนังบางเรื่องของ Alexander Kluge โดยเฉพาะ THE POWER OF EMOTIONS (1983) ที่ประกอบด้วยส่วนย่อยๆหลายส่วนที่ไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ด้วย “หลักเหตุผล” แต่เชื่อมโยงกันได้ในทาง “อารมณ์”
นอกจาก LIFE IS SHORT 2 แล้ว ปี 2006 ยังเป็นปีที่มีภาพยนตร์ไทยแนวแปลกๆออกมาอีกมากมายหลายเรื่อง โดยภาพยนตร์ไทยแนวแปลกที่ดิฉันชอบสุดๆในปี 2006 ก็รวมถึงเรื่อง

9.1 DRIPPING (2004, จักรวาล นิลธำรงค์)

9.2 FANTASMAGORIE (2004, Surachai Pattanakijpaibool)

9.3 ย่ำค่ำย่ำเช้า (2004, นิติพงศ์ ถิ่นทัพไทย)

9.4 HATE (2004, ชวิทย์ แว่วสว่างวงศ์)

9.5 เมืองเอก 1579 (2006, เสรีย์ หล้าชนบท)

9.6 HAPPINESS IS…(2005, ธเนศ มรรคาสกุล)

9.7 บทเพลงกับหมู่ดาว (2006, สุรสิทธิ์ บรรพลา)

9.8 วาสิฏฐี (2006, ภานุทัต วิเศษวงศ์)

9.9 8-9 (2005, นวกานต์ ราชานาค)

9.10 CITY REPORT (2006, ชาคริต วิชัยยุทธิ์)



10. UNTITLED (A DIFFERENT TIME) (2004, Helen Fletcher)

ดิฉันได้ดูภาพยนตร์แอนิเมชั่นของอังกฤษความยาว 4 นาทีเรื่องนี้ในเทศกาลหนังสั้นของมูลนิธิหนังไทยในซอยทองหล่อ หนังเรื่องนี้ประกอบด้วยภาพเพียงช็อตเดียว และเป็นภาพวาดของร่างกายผู้หญิงคนหนึ่งที่ค่อยๆประกอบกันขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่างขณะที่เธอนอนหลับ หนังเรื่องนี้ให้อารมณ์นิ่งๆและหลอนมาก และมันสร้างความรู้สึกแปลกๆที่ยากจะบรรยาย สรุปว่าดิฉันให้หนังเรื่องนี้ติดอันดับ 10 ประจำปีเพราะมัน “หลอน” จนดิฉันยากจะลืมเลือนค่ะ

หลังจากได้ดูแอนิเมชั่นเรื่องนี้ ดิฉันก็ได้ไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ และพบว่าข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้น่าสนใจมาก โดย Helen Fletcher ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ระบุว่า การที่ร่างกายของผู้หญิงคนนี้อยู่ในภาวะกระจัดกระจายในช่วงต้นเรื่อง บ่งชี้ว่าผู้หญิงคนนี้กำลังอยู่ในความฝัน หรือกำลังอยู่ในภาวะสภาพจิตแหลกสลาย และการที่ร่างกายของผู้หญิงคนนี้ค่อยๆประกอบกันเป็นรูปเป็นร่าง แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงคนนี้กำลังจะตื่น หรืออาจจะ “เลิกล้มความคิดที่จะฆ่าตัวตาย”

ถ้าเข้าใจไม่ผิด แรงบันดาลใจที่ทำให้ Helen Fletcher กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ คือความสามารถของมนุษย์ในการมีชีวิตรอดท่ามกลางสถานการณ์ที่โหดเหี้ยมและเลวร้าย และความสามารถแบบนี้ดูเหมือนเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจในบางครั้ง โดยเฉพาะในกรณีของ Bruno Bettelheim ซึ่งเป็นนักจิตวิเคราะห์เด็ก โดยเขาเคยต้องใช้ชีวิตในค่ายกักกันชาวยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ถึงแม้เขาจะรอดชีวิตมาได้จากค่ายกักกัน เขากลับตัดสินใจฆ่าตัวตายในปี 1990

สิ่งที่ Helen Fletcher สนใจก็คือประเด็นเรื่องที่มนุษย์เรามีทางเลือกในการฆ่าตัวตาย และการที่ทางเลือกดังกล่าวอาจช่วยให้มนุษย์มีกำลังใจที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปเพราะพวกเขารู้ว่าอย่างน้อยพวกเขาก็ยังคงมีทางเลือกนี้หลงเหลืออยู่ โดย Helen Fletcher ได้ยกเอาคำกล่าวของ Friedrich Nietzsche มาใช้ในเอกสารประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย ซึ่งก็คือคำกล่าวที่ว่า “The thought of suicide is a great source of comfort: with it a calm passage is to be made across many a bad night.”

นอกจาก UNTITLED (A DIFFERENT TIME) แล้ว หนังที่มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายที่ดิฉันชอบสุดๆยังรวมถึงเรื่อง

10.1 THE DEVIL, PROBABLY (1977, Robert Bresson)
http://www.mastersofcinema.org/bresson/Posters/LeDiableProbablement/probably1.jpg

10.2 SYLVIA (2003, Christine Jeffs)

10.3 LE FEU FOLLET (1963, Louis Malle)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B000CR7V80.08.LZZZZZZZ.jpg

10.4 NO PLACE TO GO (2000, Oskar Roehler, เยอรมนี)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B000J4QR22.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V34860045_.jpg

10.5 THE SEVENTH CONTINENT (1989, Michael Haneke, ออสเตรีย)

10.6 AFTER (2005, Kim Noce, อังกฤษ)

10.7 SUMMER PALACE (2006, Lou Ye)

10.8 SIMON (2004, Eddy Terstall, เนเธอร์แลนด์)
http://www.a-film.nl/film/poster/RELx550/r0000635.jpg

10.9 อกตัญญู (THE INGRATITUDE) (2005, เศรษฐวิทย์ พันธุ์เพ็ง)

10.10 SERIAL SELF (1999, Brigitte Zieger)
http://www.art-action.org/site/_images/catalog/00_01/1269.gif




ละครเวทีที่ดิฉันชื่นชอบมากที่สุดประจำปี 2006

1. THE STRING OF FRAGMENTATION
ผลงานของ อัตตาหิ อัตตโนนาโถ โปรดักชั่น
กำกับโดย ภาณิศา ภูวภิรมย์ขวัญ

2. MAHAJANOK NEVER SAY DIE EPISODE 2
ผลงานของ กลุ่มละครมะขามป้อม
กำกับโดย ประดิษฐ ประสาททอง

3. ปลิว
ผลงานของ กลุ่มหน้ากากเปลือย
กำกับโดย จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ

4. วันทอง…นางผู้เป็นมากกว่าหญิงสองใจ
กำกับโดย มานพ มีจำรัส

5. THE GURU THEATRE
ผลงานของ B-FLOOR
กำกับโดย ธีระวัฒน์ มุลวิไล

6.เธอ…ที่รัก หรือ BE LOVED
ผลงานของ FLOWER OF LOVE ENTERTAINMENT
กำกับโดย วรรณศักดิ์ ศิริหล้า

7. พบรัก
ผลงานของ แปดคูณแปด
กำกับโดย นิกร แซ่ตั้ง

8. SLOWFLY/V.i.c.t.o.r.i.a.
กำกับโดย Monica Emilie Herstad

9. ไม่เป็นเรื่อง
ผลงานของ NEW MASKS CLUB
กำกับโดย พัชร์รุจา กาญจนโกศล

10. หญิงเปรย หรือ HER VOICE
ผลงานของ ON BOX THEATRE GROUP
กำกับโดย สายฟ้า ตันธนา

No comments: