THE IMITATION GAME (2014, Morten Tyldum, A+30)
หนังดีงามมาก แต่มันเหมือนอยู่ในขนบอะไรบางอย่างที่เราอธิบายไม่ถูก
ซึ่งไอ้ขนบนี้ทำให้เราไม่ได้อินกับมันแบบสุดๆ คือหนังมัน touch เราในระดับนึง
แต่มันเหมือนยังมีส่วนลึกที่สุดในจิตใจเราที่หนังยัง touch ไปไม่ถึง
แต่ก็ให้ A+30 นะ คือมันก็ดีงามในแบบของมันน่ะ
ถึงแม้ว่าโดยส่วนตัวแล้ว ถ้าหากพูดถึงหนังชีวประวัติเกย์ เราจะชอบวิธีการแบบหนัง SAINT
LAURENT (2014, Bertrand Bonello) มากกว่า
พอคุยกับเพื่อนถึงเรื่องพวกนี้แล้ว ทำให้เราตั้งข้อสงสัยว่า
สาเหตุที่เราไม่ได้อินกับ THE IMITATION GAME และ FOXCATCHER
แบบสุดๆ อาจจะเป็นเพราะหนังมีความพยายามจะอธิบายปมทางจิตบางอย่างของตัวละคร
หรือตัวละครถูกอธิบายภายในมากเกินไป
ซึ่งในบางครั้งเราจะมีปัญหากับหนังดราม่าที่อิงกับคำอธิบายทางจิตวิทยาแบบนี้
และเรามีแนวโน้มที่จะชอบหนังที่ไม่ได้ใช้วิธีการแบบนี้มากกว่า อย่างเช่น SAINT
LAURENT และหนังหลายๆเรื่องของ Claude Chabrol คือเราว่าโดยตัวโครงเรื่องแล้ว FOXCATCHER มันมีอะไรบางอย่างที่ทำให้นึกถึงหนังของ
Claude Chabrol แต่ถ้าหากเป็น Chabrol
ตัวละครมันจะมี “ความไม่สามารถอธิบายได้” หรือ “ความยากที่จะอธิบาย” มากกว่านี้
เพิ่มเติม
เพิ่มเติม
เราชอบช่วงเด็กของหนังมากในระดับนึงนะ เพราะมันตรงกับประสบการณ์ของเรา
คือถ้าเอาเฉพาะ “เนื้อหา” ของช่วงเด็ก
นี่มันเข้าทางเรามากๆ
แต่เราก็ไม่ชอบช่วงเด็กของหนังในระดับ A+30 นะ เพราะถึงแม้ “เนื้อหา”
ของช่วงเด็กมันตรงกับประสบการณ์ชีวิตเรามากๆ แต่มันก็ไม่ได้สะเทือนใจเราอย่างสุดๆ
และเราก็สงสัยว่ามันอาจจะเป็นเพราะ “วิธีการนำเสนอ” และ “วิธีการใช้ประโยชน์”
จากช่วงเด็กในหนังเรื่องนี้น่ะ คือเราคิดว่าที่เราไม่ได้สะเทือนใจสุดๆ
เป็นเพราะว่า
1.หนังไม่ได้นำเสนอช่วงเด็กในฐานะประเด็นหลักของหนัง
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ว่าเพราะอะไร
2.หนังนำเสนอช่วงเด็กในฐานะ flashback และนำเสนอมันในฐานะของ “เหตุ”
และนำเสนอปัจจุบัน (ทศวรรษ 1940) ในฐานะของ “ผล” คือพอช่วงเด็กของหนังมันถูกนำเสนอในฐานะ
“ฉากที่มีเป้าประสงค์ชัดเจน” หรือ “ฉากที่มีเหตุผลชัดเจนว่าถูกใส่เข้ามาในหนังเพราะอะไร”
มันก็เลยทำให้ฉากเด็กมันถูกลดทอนมิติอะไรบางอย่างออกไป มันทำให้ฉากเด็กขาดมิติอะไรบางอย่างที่มันจะเข้าทางเราอย่างเต็มที่น่ะ
คือเราไม่ได้คิดว่า THE IMITATION GAME ทำผิดอะไรนะ
ที่นำเสนอฉากวัยเด็กในฐานะ flashback หรือในฐานะ “เหตุ”
ของสิ่งต่างๆที่ทำให้พระเอกกลายเป็นคนแบบนั้นในเวลาต่อมา แต่โดยรสนิยมส่วนตัวแล้ว
เราอาจจะชอบหนังที่นำเสนอ “เสี้ยวชีวิตต่างๆ”
โดยไม่ต้องเป็นเหตุเป็นผลกันมากกว่าน่ะ ซึ่ง SAINT LAURENT เป็นตัวอย่างที่ดีของหนังที่เข้าทางเราแบบนี้
แต่บางทีมันอาจจะเหมาะสมแล้วก็ได้นะ เพราะ THE IMITATION GAME เป็นหนังเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
สิ่งต่างๆที่ถูกใส่เข้ามาในหนังเรื่องนี้ มันเลยมี “เหตุ” มี “ผล”
มีอะไรรองรับไปหมดว่ามันถูกใส่เข้ามาในหนังเพราะอะไร ในขณะที่ SAINT
LAURENT เป็นหนังเกี่ยวกับดีไซเนอร์
มันก็เลยเต็มไปด้วยฉากที่ดูเหมือนว่าอาจจะไม่จำเป็นต้องใส่เข้ามาในหนังก็ได้
หรือฉากที่ไม่รู้ว่ามันเกี่ยวพันกับฉากอื่นๆยังไง 555
No comments:
Post a Comment