Saturday, April 17, 2021

DRUMS OF RESISTANCE

 เพิ่งเห็นว่ามีหนังเรื่อง COLLECTORS (2020, Park Jung-bae, South Korea) กำลังจะเข้าฉายในไทยในเวลาไล่เลี่ยกับ COLLECTIVE (2019, Alexander Nanau, Romania) อยากให้มีคนเอา LA COLLECTIONNEUSE (1967, Eric Rohmer) เข้าฉายในไทยในตอนนี้ด้วยเลย คนไปซื้อตั๋วหนังจะได้งง ๆ เล่น 55555


----
อยากให้เอา  DIE TOMORROW ไป remake เป็นหนัง omnibus เกี่ยวกับหนึ่งวันก่อนถึงความตายของตัวละครต่าง ๆ มีตอนที่กำกับโดย

1. Ryusuke Hamaguchi

2. James Benning

3. Lav Diaz เป็นเรียลไทม์ยาว 24 ชั่วโมง

4. Wang Bing

5. Amy Seimetz ผู้กำกับ SHE DIES TOMORROW 55555

------

DRUMS OF RESISTANCE (2016, Mathieu Jouffre, Kosovo, documentary, A+30)

1. เป็นหนังสารคดีที่ให้ข้อมูลกับเราได้ดีมาก ๆ หนังให้ชาว Kosovo กลุ่มต่าง ๆ ราว 5-6  กลุ่ม นั่งกินข้าวล้อมวงคุยกันเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน KOSOVO ในทศวรรษ 1990 ซึ่งมันดีมาก ๆ เพราะเราแทบไม่เคยรู้เรื่องพวกนี้มาก่อนเลย อย่างเช่นเรื่อง

1.1  การปิดโรงเรียน ปิดมหาลัย แล้วครูกับนักเรียนเลยย้ายไปเปิดการเรียนการสอนตามบ้านคนต่าง ๆ ตระเวนย้ายที่ไปเรื่อย ๆ

1.2 เหตุการณ์แก๊สพิษในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ที่ทำให้เด็ก ๆ มีอาการเป็นบ้าไปหลายคน แต่ทางการ Serbia บอกว่าเป็น mass hysteria

1.3 การที่ Kosovo ไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมทำ Dayton Accord

2. ดูแล้วนึกถึงหนัง "คนคุยกันเรื่องการเมือง" แบบ ความลักลั่นในงานรื่นเริง THE BANGKOK BOURGEOIS PARTY (2007, Prap Boonpan) ในแง่การบันทึกประวัติศาสตร์การเมืองผ่านทางให้คนต่าง ๆ มาสนทนากัน เพียงแต่ว่าใน DRUMS OF RESISTANCE ผู้สนทนาเหมือนอยู่ฝ่ายเดียวกันหมด ผู้สนทนาก็เลยไม่ได้ตบตีกันแบบใน THE BANGKOK BOURGEOIS PARTY

3.เราว่าการบันทึกประวัติศาสตร์แบบใน DRUMS OF RESISTANCE มันดีสุด ๆ เพราะมันไม่ได้เป็นการสร้างเส้น NARRATIVE เดียวแบบในหนัง fiction ทั่วไป แต่มันเป็นการแสดงให้เราเห็น fragments มากมายของคนต่าง ๆ นักเรียน, นักศึกษา, อาจารย์มหาลัย, แพทย์, etc. พวกเขาแต่ละคนมีประสบการณ์เลวร้ายยังไงบ้างในทศวรรษ 1990  ซึ่งวิธีการที่หนังเรื่องนี้ใช้ก็เหมือนกับสิ่งที่ subject คนนึงในหนังพูดว่า บางทีสิ่งที่คนรุ่นหลังควรเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ ไม่ใช่ประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการที่พยายามยุบย่อให้เหลือเรื่องเล่าเส้นเรื่องเดียว แต่เป็นภาพโมเสคทางประวัติศาสตร์ที่ประกอบไปด้วยเศษเสี้ยวชิ้นส่วนเล็ก ๆ มาประกอบรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งเราว่าวิธีการที่หนังเรื่องนี้ใช้ มันก็คล้าย ๆ กับการสร้างภาพ mosaic ทางประวัติศาสตร์นี่แหละ

4. สะท้อนใจมาก ๆ ตรงที่ subjects บางคนพูดในทำนองที่ว่า ทศวรรษ 1990 เป็นทศวรรษแห่งความสุขของชาวโลกส่วนใหญ่ เพราะสงครามเย็นยุติลงแล้ว สหภาพโซเวียตเพิ่งล่มสลาย แต่มันเป็นทศวรรษที่ชิบหายที่สุดสำหรับอดีต Yugoslavia

เราว่ามันจริงมาก ๆ ทศวรรษ 1990 เป็นทศวรรษที่โลกเต็มเปี่ยมไปด้วยความหวังจริง ๆ ยกเว้นอดีต yugoslavia และ  Rwanda

5. ชอบที่หนังเรื่องนี้มันช่วยบันทึกสิ่งที่ไม่ค่อยได้รับการนำเสนอในหนังส่วนใหญ่ด้วยแหละ เพราะสงครามใน KOSOVO มันเกิดหลังสงคราม BOSNIA แล้ว BOSNIA มันหนักมาก ๆ หนังส่วนใหญ่ที่แตะปัญหาของอดีตยูโกสลาเวียก็เลยพูดถึงบอสเนียเป็นหลัก ในขณะที่ KOSOVO มักจะถูกมองข้ามไป

THE FLYING CIRCUS (2019, Fatos Berisha, Kosovo, A+30)

CHAOS WALKING (2021, Doug Liman, A+25)

ตอนดูหนังเรื่องนี้ เราจะจินตนาการว่า ถ้าหากเราเกิดต้องไปอยู่บนดาวดวงนี้ เวลาเราเดินไปไหนมาไหน มันคงมีประโยค "อยากมีผัว อยากมีผัว อยากมีผัว" ลอยออกมาจากตัวเราตลอดเวลาแน่ ๆ เลย 555

ROOHI (2021, Hardik Mehta,  India, A+15)

1. ตอนแรกเกือบรับหนังเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะหนังสร้างตัวละครพระเอกให้เป็นนักลักพาตัวผู้หญิง แต่ยังดีที่หนังม้วนตัวจบได้อย่างสวยงาม ก็เลยรอดตัวไป

2.ขำ "ปีศาจที่อยากมีผัว" ในหนังเรื่องนี้มาก ๆ

3.ชอบไอเดียที่ให้เพื่อนพระเอกมีรสนิยมหลงใหลผู้หญิงที่ "ดูไม่เหมือนมนุษย์" ถือเป็นไอเดียการสร้างตัวละครที่ไปไกลมาก ๆ

FRIENDS เพื่อนรัก (1977, Sakka Jarujinda, A+30)

งดงามมาก ๆ โดยเฉพาะฉากโรงพยาบาลช่วงท้ายที่สมจริงมาก ๆ เดาว่าฉากนั้นคงให้หมอจริง ๆ มาเล่น และหมอก็ทำทุกอย่างไปตามกระบวนการรักษาผู้ป่วยทีละขั้นตอน โดยไม่มีการเร้าอารมณ์ใด ๆ

BOONRAWD ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด (1985, Vijit Kunavudhi, A+30)

1.คุณจินต์น่ารักมาก ๆ เราดูแล้วรู้สึกเข้าอกเข้าใจบุญรอดเป็นอย่างดีว่าทำไมเธอถึงหลงรักคุณจินต์อย่างหัวปักหัวปำขนาดนั้น โดยเฉพาะตอนที่คุณจินต์ใส่กางเกงขาสั้น

2. ชอบอัญชลี ไชยศิริในบทเจ๊ป้อมมาก ๆ เธอทำตัวเคร่งศีลธรรม ห้ามกะหรี่จูบกับทหารในร้านอาหารของเธอ แต่ตัวเธอเองแอบดูหนังสือรูปนู้ดผู้ชาย 555

มีสิทธิบทนี้เป็นหนึ่งในบทที่ดีที่สุดของอัญชลี ไชยศิริ พอ ๆ กับบท "ภิกษุณีแห่งวิหารเทพรา" ในละครทีวี กฤตยา

3. เราเคยดูเวอร์ชั่นละครทีวีที่มยุรา ธนะบุตรเล่น ซึ่งดีงามมาก ๆ แต่เราจำรายละเอียดของ version ละครทีวีไม่ได้แล้ว จำได้เลา ๆ แค่ว่าบทพระเอกในเวอร์ชั่นละครทีวีเป็นคนดีมาก ๆ พอเราได้มาดูเวอร์ชั่นหนัง ก็เลยชอบสุดๆที่เหมือนบทพระเอกในเวอร์ชั่นนี้ดูเป็น "มนุษย์ปุถุชน" กว่าที่คาดไว้มาก เพราะถึงเขาจะเป็นคนดีที่รักบุญรอดจริง แต่หนังก็แสดงให้เห็นว่าเขาไปมี sex กับกะหรี่คนอื่น ๆ เป็นครั้งคราว และฉากที่เขา "หมดความอดทนกับบุญรอด" เพราะบุญรอดตบหน้าเขาโดยไม่มีสาเหตุ (เพราะเธอฝังใจกับคำด่าของคุญจินต์)  และเพราะเธออ้วกใส่เขา (เนื่องจากเธอนึกถึงตอนที่ถูกอาเสี่ยข่มขืน) ก็เป็นฉากที่ทำให้เราเห็นว่าพระเอกคนนี้ก็เป็นมนุษย์ปุถุชนคนนึงได้ดีมาก ๆ

4.เสียดายที่หนังไม่มีตัวละครกะหรี่ดี ๆ เพราะพอหนังมีแต่ตัวละครกะหรี่ที่นิสัยไม่ดี มันก็เลยเหมือนหนังนำเสนอภาพด้านเดียวมากไปหน่อย

WALCHENSEE FOREVER (2020, Janna Ji Wonders, Germany, documentary, A+30)

นึกถึงหนังนักศึกษาไทยมาก ๆ 55555 เพราะมันเป็นหนังสารคดีที่เล่าเรื่องครอบครัวตัวเอง ซึ่งปกติแล้วเราจะเห็นคนไทยทำหนังแนวนี้เยอะมาก แต่ไม่ค่อยเห็นฝรั่งทำกัน

ผู้กำกับเป็นผู้หญิงที่เล่าเรื่องคุณยาย, คุณตา, แม่, น้าสาว, ตัวเอง จนกระทั่งตัวเองมีลูก เหมือนหนังเป็นบันทึกชีวิตผู้หญิงหลายชั่วอายุคน

ชอบที่มันเป็นชีวิตคนธรรมดา แต่แค่นั้นมันก็เต็มไปด้วยอะไรเยอะแยะมากมายสุด ๆ แล้ว ตั้งแต่เรื่องของคุณตาที่เป็นทหารใน WWII แล้วพอกลับจากสงครามก็กลายเป็นพ่อที่ดุร้าย, แม่ที่เคยร้องเพลงอยู่พักนึง และแม่กับน้าสาวก็เคยเป็น HIPPIE ด้วย

หนังโฟกัสไปที่เรื่องชีวิตของน้าสาวที่หนักมาก ๆ เธอเคยเป็นเมียของหนุ่มรวย แต่ก็หย่ากัน และเธอมีปัญหาทางจิตที่รุนแรงมาก ๆ

ชอบเรื่อง COMMUNE ในเยอรมนีในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ด้วย เพราะคุณแม่กับสาว ๆ อีกราว 3 คน และชายหนุ่มอีก 1 คนเคยอยู่กินด้วยกัน เท่ากับว่าผู้ชายคนนั้นมีเมีย 4 คน แต่ทุกคนมีสถานะเท่ากัน รักกันดี และบางคนก็มาร่วมให้สัมภาษณ์ในหนัง มันไม่ใช่ครอบครัวแบบที่ให้ผู้ชายเป็นใหญ่ แล้วมีเมียได้ 4 คน แต่มันเหมือนกับเป็นครอบครัวที่ผู้หญิงเป็นกลุ่มเพื่อนที่รักกันอย่างสุด ๆ แล้วพวกเธอก็เลยคิดกันว่า เรามาแบ่งสามีกันใช้ก็ได้ กราบบบ ชอบการออกแบบครอบครัวตัวเองในแบบที่ตัวเองต้องการจริง ๆ โดยไม่ต้องแคร์กฎเกณฑ์หีแตดใด ๆ ในสังคมแบบนี้มาก ๆ

No comments: