Tuesday, April 27, 2021

WHERE DOES YOUR HIDDEN SMILE LIE? (2001, Pedro Costa, documentary, 104min, A+30)

 

WHERE DOES YOUR HIDDEN SMILE LIE? (2001, Pedro Costa, documentary, France/Portugal,104min, A+30)

 

1.เนื่องจากเราเป็นแค่คนดูหนัง ไม่เคยทำงานผลิตภาพยนตร์อะไรมาก่อนเลย เราก็เลยดูหนังสารคดีเรื่องนี้ด้วยความตื่นตะลึงมาก ๆ ไม่รู้มาก่อนว่า “งานตัดต่อ” ภาพยนตร์เป็นอะไรที่โหดหินสุด ๆ ขนาดนี้

 

2.หนังสารคดีเรื่องนี้บันทึกช่วงเวลาการทำงานของ Daniele Huillet กับ Jean-Marie Straub ขณะตัดต่อภาพยนตร์เรื่อง SICILY! (1999, 66min) และมันช่วยให้ความรู้กับเราได้ดีมาก ๆ ในเรื่องการตัดต่อ เพราะหนังแสดงให้เห็นว่า ในการตัดต่อแต่ละเฟรมนั้น เราต้องดูทั้งองศาของใบหน้าของตัวละคร, การกะพริบตาของตัวละคร, แสงสะท้อนในดวงตาของตัวละคร, แสงเงาที่เข้ากัน, ใบไม้ที่ไหว ๆ อยู่ลาง ๆ ใน background ของฉาก, ปากของตัวละครแสดงให้เห็นถึงการออกเสียงพยัญชนะที่ต้องการหรือไม่ และแสดงให้เห็นว่า ถ้าหากเราทอดเวลาในบางฉากออกไปอีกเพียงแค่ไม่กี่วินาที ก่อนจะตัดไปอีกฉากนึง อารมณ์มันจะเปลี่ยนไปเลย อย่างเช่น ถ้าหากตัวละครพูดอะไรที่ไม่น่าเชื่อถือ แล้วเราทิ้งฉากนั้นไว้อีก 2-3 วินาที มันจะเป็นหน้าที่ของผู้ชมในการพิจารณาความไม่น่าเชื่อถือของสิ่งที่ตัวละครพูด แต่ถ้าหากเราตัดฉับไปที่อีกตัวละครนึงเลย (แทนที่จะทอดเวลาออกไป) มันจะกลายเป็นหน้าที่ของตัวละครที่สอง (แทนที่จะเป็นผู้ชม) ในการพิจารณาความตอหลดตอแหลของสิ่งที่ตัวละครแรกพูด, etc.

 

3.ชอบสิ่งที่ Straub พูดในหนังเรื่องนี้อย่างสุด ๆ เหมือนมี quote ที่น่าเก็บเอามาใช้ในหนังเรื่องนี้ประมาณ 100 quotes อย่างเช่น

 

3.1 หนังของเขาไม่แสดง psychology ของตัวละครผ่านทาง “การแสดงแบบสมจริง” แต่ psychology สามารถถ่ายทอดผ่านทางอะไรอื่น ๆ ได้อีกมากมาย อย่างเช่นผ่านทางการตัดต่อ และเขามองว่า “การแสดงแบบไม่สมจริง” ก็สามารถถ่ายทอดอะไรที่ลึกซึ้งมาก ๆ ได้ และในบางครั้ง “การแสดงแบบไม่สมจริง” (เรานึกถึงการแสดงในหนังของ Bresson) ก็อาจจะถ่ายทอดอะไรที่ลึกซึ้งได้ยิ่งไปกว่า “การแสดงที่สมจริง” เสียอีก

 

3.2 เหมือนโลกนี้ขาดแคลน “ประวัติศาสตร์” ของเกษตรกรชาวไร่ชาวนา และคนงานโรงงาน เพราะประวัติศาสตร์ไปบันทึกชีวิตของคนกลุ่มอื่น ๆ แทนที่จะบันทึกประวัติของคนกลุ่มนี้ ดังนั้น Cesare Pavese นักเขียนชาวอิตาลีก็เลยพยายามเขียนเกี่ยวกับคนกลุ่มนี้ จนกระทั่งเขาฆ่าตัวตายไปในปี 1950 และก็มี Elio Vittorini กับ Franco Fortini สองนักเขียนชาวอิตาลีที่พยายามเขียนงานแบบนี้เช่นกัน

 

Peasans have no history. Workers have no history either. There was a writer like Pavese who fought like hell against it, until he committed suicide, and Vittorini, and Fortini. There were also some people in France. Someone I like very much. His name was Charles Peguy.

 

ลองเข้าไปดูใน IMDB แล้ว ไม่มีใครลง quotes จากหนังเรื่องนี้เอาไว้เลย ทั้ง ๆ ที่ควรมีการจด quotes ไว้สัก 100 ประโยคจากหนังเรื่องนี้ 5555

 

4.ปกติแล้วเรานึกว่า Straub เป็นคนน่ากลัว (เพราะเราเคยอ่านเรื่องที่เขาปะทะกับ Alexander Kluge อย่างรุนแรง) แต่พอดูหนังเรื่องนี้ ปรากฏว่า Daniele Huillet น่ากลัวกว่าอีก เธอดุด่าผัวอย่างรุนแรงมาก ๆ

 

5.ชอบเรื่องราวตอนที่ Straub ตกหลุมรัก Huillet ในทศวรรษ 1950 ด้วย

 

6.สรุปว่าดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้รู้สึกนับถือคนที่ทำงานตัดต่อภาพยนตร์อย่างรุนแรงมาก

 

เราดูหนังเรื่องนี้ที่

https://projectr.tv/category/movie-club/

เป็นการดูแบบจ่ายเงิน และมันกำลังจะหมดเขตวันพรุ่งนี้

No comments: