Sunday, May 23, 2021

ANTIGONE (2019, Sophie Deraspe, Canada, A+30)

 

ANTIGONE (2019, Sophie Deraspe, Canada, A+30)

 

1.ชอบมาก ๆ เพราะหนังมันดัดแปลงเนื้อเรื่องให้แตกต่างไปจากตำนาน ANTIGONE มาก ๆ เราก็เลยชอบที่มันไม่ยึดติดกับตัวบทประพันธ์ดั้งเดิม

 

เพราะเราว่าถ้าหากมันทำตัวยึดติดกับบทประพันธ์ดั้งเดิม เราก็อาจจะดูแล้วเบื่อได้น่ะ เพราะมันเป็นตำนานกรีกที่คนดูก็รู้เนื้อเรื่องดีอยู่แล้ว และก่อนหน้านี้เราก็เคยดู ANTIGONE (2003, Nicolas Briançon) ที่เป็นบันทึกการแสดงละครเวทีเรื่องนี้ และเคยดู THE YEAR OF THE CANNIBALS (1970, Liliana Cavani, Italy) ที่เอาตำนาน Antigone มาดัดแปลงเป็นหนังการเมืองต่อต้านเผด็จการด้วย

 

นอกจากนี้ หนังหลาย ๆ เรื่องก็ชอบพาดพิงถึง ANTIGONE ด้วยนะ อย่างเช่นในหนัง/ละครโทรทัศน์เรื่อง “ช่างมันฉันไม่แคร์” (มล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล) ตัวละครนางเอกก็เคยเล่นละครเวทีเรื่อง “อันตราคนี” (ANTIGONE) สมัยอยู่มหาลัย และในหนังเรื่อง KATYN (2007, Andrzej Wajda, Poland) ก็มีตัวละครที่เล่นละครเวทีเรื่อง ANTIGONE เหมือนกัน

 

คือเหมือน ANTIGONE ถูกนำเสนอในสื่อภาพยนตร์/ละครเวทีมาแล้วหลายครั้งในฐานะตัวละครหญิงสาวผู้ลุกขึ้นปะทะกับสังคม/รัฐบาลน่ะ

 

2.เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ ตรงที่มันสร้าง moral dilemma ให้กับตัวละคร และนำเสนอตัวละครนางเอกเป็น “สีเทา”  แทนที่จะนำเสนอตัวละครนางเอกเป็นสีขาว และรัฐบาลเป็นสีดำเหมือนใน ANTIGONE เวอร์ชั่นอื่น ๆ

 

3.เราชอบสุด ๆ ตรงที่หนังเรื่องนี้มันตั้งคำถามกับค่านิยมเรื่องครอบครัวด้วยแหละ เพราะในหนังเรื่องนี้ นางเอกลุกขึ้นประท้วงรัฐบาลอย่างรุนแรง เพราะตำรวจยิงพี่ชายคนนึงของเธอตาย ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้พยายามต่อสู้ และตำรวจก็จับพี่ชายอีกคนของเธอไปเข้าคุก

 

คือการที่ตำรวจยิงพี่ชายคนนึงของเธอตาย อันนี้ตำรวจผิดเต็ม ๆ อยู่แล้ว แต่หนังตั้งคำถามว่า การที่นางเอกพยายามช่วยพี่ชายอีกคนของเธอหลบหนีออกจากคุกนั้น มัน “น่าชื่นชม” จริง ๆ เหรอ เพราะนางเอกทำเพราะเห็นว่าเขาเป็น “พี่ชายของเธอ” แต่ถ้าหากจริง ๆ แล้วเขาเป็นอาชญากรตัวร้ายล่ะ เราควรจะช่วยเหลือคนเลวเพียงเพราะเขาเป็น “สมาชิกครอบครัว” เดียวกับเราอย่างนั้นเหรอ มันน่าชื่นชมเหรอ มันยุติธรรมแล้วเหรอ การอ้างว่าเขาเป็นสมาชิกครอบครัวเดียวกับเรา แล้วเราต้องสู้เพื่อเขานั้น มันเป็นข้ออ้างที่ใช้ได้เหรอ เพราะการที่เขาเป็นสมาชิกครอบครัวเดียวกับเรา มันไม่ได้หมายความว่าเขาเป็นคนดีหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ซะหน่อย

 

เราก็เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันเข้าทางเราสุด ๆ เพราะมันไปไกลกว่า ANTIGONE เวอร์ชั่นอื่น ๆ มาก ๆ ตรงที่มันตั้งคำถามเกี่ยวกับค่านิยมเรื่องครอบครัว กราบมาก ๆ

 

4.ชอบตัวละครประกอบหลาย ๆ ตัว โดยเฉพาะพี่สาวนางเอกที่เลือกที่จะอยู่แคนาดาต่อไป แทนที่จะย้ายไปอยู่แอลจีเรียกับครอบครัว คือตัวพี่สาวมองว่า รัฐบาลแคนาดาเหี้ยก็จริง แต่กูอยู่แคนาดาต่อตามลำพังตัวคนเดียว ชีวิตก็สบายกว่ากลับไปอยู่แอลจีเรียกับครอบครัวอยู่ดี (เป็นกูกูก็คิดเหมือนกัน)  เราก็เลยชอบสุด ๆ ที่หนังใส่ตัวละครที่เรา identify ด้วยได้แบบนี้เข้ามาด้วย

 

5.ฉาก grandmother ของนางเอกมาร้องเพลงแอลจีเรียหน้าคุกทุก ๆ วัน จนผู้คนที่ผ่านไปมาเริ่มมาชุมนุมกันฟังเธอร้องเพลงหน้าคุก ทำให้นึกถึงการประท้วงที่ประเทศไทยมาก ๆ

 

6.ฉาก The Blind Oracle นี่ทรงพลังมาก ๆ

 

HAPPY GIRL (2021, Akaruk Yimsa-ard, documentary, 17min, A+30)

 

หนังสารคดีที่สัมภาษณ์เด็กนั่งดริ๊งค์ในร้านคาราโอเกะ หนังถ่ายสวยมาก ส่วนใหญ่เป็นการใช้ภาพแบบ superimposition ซ้อนกันสองภาพ

 

ดูได้ที่ลิงค์ข้างล่างจนถึงวันที่ 24 พ.ค.

Link: https://vimeo.com/539550173

password: happygirl

No comments: