PRASART (1975, Piak Poster,
Rerngsiri Limaksorn, second viewing, A+30)
ประสาท
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.ดีใจสุด ๆ
ที่ได้ดูหนังเรื่องนี้รอบสอง หลังจากที่เราเคยดูรอบแรกไปแล้วในปี 1998 และยกให้เป็นหนึ่งในหนังที่ชอบที่สุดในชีวิตเลย
เพราะหนังมันมีอะไรบางอย่างที่ถูกโฉลกกับเราอย่างสุด ๆ
2. พอเราได้ดูหนังเรื่องนี้รอบสองที่ศาลายาเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา
เราก็เข้าห้องน้ำที่ชั้นล่างของโรงหนัง และได้ยินลุง ๆ
ในห้องน้ำเมาท์มอยกันถึงหนังเรื่องนี้ ลุง ๆ คุยกันว่าหนังเรื่องนี้ดีมาก ๆ
มันแสดงให้เห็นว่าตัวละครแต่ละคนมีพฤติกรรม “คิดไปเอง” กันทั้งนั้น
โดยเฉพาะในช่วงท้าย ๆ ของเรื่องที่ตัวละครหลาย ๆ ตัว “คิดไปเอง” “มโนไปเอง”
และด่วนตัดสินอะไรต่าง ๆ โดยตั้งอยู่บนจินตนาการแบบคิดเอง เออเองของตนเอง ทั้งตัวละครชายและตัวละครหญิง
ชอบสิ่งที่ลุง ๆ คุยกันนี้มาก ๆ
ประทับใจการเมาท์มอยของผู้ชมในห้องน้ำในครั้งนี้อย่างสุด ๆ
3.เป็นหนังที่สร้างตัวละครนำหญิงทั้ง
3 ตัวได้ออกมาตรงใจเรามาก ๆ เหมือนทั้ง 3 ตัวมีฤทธิ์และความน่าสนใจแตกต่างกันไป
ทั้งเนติญา (เปียทิพย์), พรรัชนี (มยุรฉัตร) และอรอนงค์ (ทัศน์วรรณ)
4. เหมือนเนติญาจะเป็นตัวละครที่ดูตื้นที่สุด
แต่แรงที่สุด พอดูแล้วอยาก role play เป็นเธอในทุกฉากมาก ๆ เพราะเธอดู ICONIC มาก ๆ
ทั้งเสื้อผ้าหน้าผม, ลีลาท่าทาง เธอแรงทุกฉาก ตั้งแต่ฉากเปิดตัวฉากแรกที่เธอเดินเข้ามาในบาร์
และฉากท้าย ๆ ที่เธอมาขอยาแก้ปวดหัว ด้วยชุดที่หนักมาก ๆ และด้วยลีลาการโพสท่าที่หนักมาก
ๆ
เนติญาเป็นเศรษฐีนีม่ายที่สามีตาย และเธอเพิ่งออกจากโรงพยาบาลประสาท
เธอหวงน้องชายมาก ๆ จนเหมือนเธอแอบมีความ incest
อยู่ในใจ นพ (สรพงศ์) ซึ่งเป็นน้องชายของเธอก็เลยไม่กล้าคบกับผู้หญิงดี
ๆ เพราะไม่มีผู้หญิงดี ๆ คนไหนรับมือกับเปียทิพย์ได้ นพก็เลยไปคบกับอรอนงค์ เพราะเขาคิดว่าอรอนงค์กร้านโลกพอที่จะรับมือกับเปียทิพย์ได้
เนติญาเป็นคนที่มีความต้องการทางเพศสูงมากด้วย
พอเธอเจอกรุง ศรีวิไล เธอก็ขอให้เขาแก้ผ้าว่ายน้ำต่อหน้าเธอ และพยายามมี sex กับเขาทุกคืน และพอเธอเจอภิญโญ ทองเจือ ซึ่งเป็นสามีของพรรัชนี
และเป็นคนพิการ เธอก็พูดว่า “สงสารพรรัชนีเนอะ สงสัยคงได้ (มี sex กับผัว) แค่ปีละครั้ง” แต่พอพรรัชนีไม่อยู่บ้าน เธอก็รีบคว้าโอกาสนี้ในการไปมี
sex กับภิญโญ ทองเจือในทันที
5. อรอนงค์ก็เป็นตัวละครที่เราชอบสุดๆ
เราว่าทัศน์วรรณดูสวยมาก ๆ ด้วยแหละในบทนี้ เธอดูเหมือนนักร้องเพลงแนว psychedelic ในยุคนั้น เธอเป็นสาวกร้านโลก ไม่ยอมหงอหรืออ่อนข้อให้เนติญาแม้แต่นิดเดียว
เราชอบที่หนังเหมือนให้เราคอยสังเกตพฤติกรรมเล็ก
ๆ น้อย ๆ ของอรอนงค์ที่ดูเป็นคนใจร้อน ตั้งแต่ฉากที่เธอด่ากับเนติญาจนเธอลืมรองเท้า
และฉากที่เธอลืมถุงใส่เสื้อผ้าไว้ในร้านอาหาร และนั่นก็อาจจะอธิบายได้ดีถึงการตัดสินใจแบบหุนหันพลันแล่นของอรอนงค์ในเหตุการณ์ต่อ
ๆ มา ทั้งการที่เธอตัดสัมพันธ์กับนพอย่างฉับพลัน และหันไปเอาผัวฝรั่ง แต่พอเธอเจออรอนงค์มาเป่าหู
เธอก็ตัดสินใจทิ้งผัวฝรั่งในทันที
เราว่าหนังสร้างตัวละครนี้มาในแบบที่เข้าทางเราอย่างสุด
ๆ ด้วยแหละ คือในขณะที่ตัวละครอย่างเนติญาดูเป็น “นางอิจฉา/นางร้าย/ดาวยั่ว”
อย่างเต็มที่ ตัวละครของอรอนงค์กลับดูไม่ออกว่าเป็นนางเอกหรือนางอิจฉาหรือนางอะไร
คือเธอดูเป็นมนุษย์มาก ๆ มีผิดชอบชั่วดี มีข้อบกพร่องของตนเอง คือเหมือนเธอดูเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง
มากกว่าตัวละคร “นางเอก” ในหนังหลาย ๆ เรื่องที่จะถูกกรอบของความเป็นนางเอกแบบพิมพ์นิยมไปกดทับไว้
6. พรรัชนีนี่ก็ถือเป็นตัวละครที่เราชอบเพราะสาเหตุข้างต้นเหมือนกัน
คือเธอดูเหมือนเป็นนางเอกของเรื่อง แต่เธอไม่ได้เป็นนางเอกเพราะเธอเป็นสาวสวยนิสัยดี
แต่เป็นเพียงเพราะเธอมีบทเด่นที่สุดในหนังเท่านั้นเอง และเราก็รู้สึกว่าบทของเธอดูเป็น
“มนุษย์” ที่มีความซับซ้อนน่าสนใจมาก ๆ โดยไม่ได้ถูกกรอบของความเป็น “นางเอก”
แบบพิมพ์นิยมไปกดทับไว้เช่นกัน
พรรัชนีเป็นนักแต่งนิยายที่ได้แต่งงานกับภิญโญ
ทองเจือ แต่พอเขาประสบอุบัติเหตุจนกลายเป็นคนพิการ
เธอก็ต้องมาอยู่พัทยาเพื่อดูแลเขา เธอรู้สึกว่าตนเองขาดประสบการณ์ชีวิต และก็เลยคิดว่าจะเอาเรื่องคนต่าง
ๆ รอบตัวมาแต่งเป็นนิยาย
เราชอบมากที่หนังไม่แสดงออกตรง ๆ
ว่าเธอเก็บกดทางเพศเพราะมีผัวพิการหรือเปล่า แต่เราเดาว่าเธอเก็บกด และเราหมั่นไส้ความพยายามจะทำตัวเรียบร้อยของเธอ
เพราะในฉากแรกนั้น เธอปรากฏตัวมาในมาดผู้ดี แต่พอเพื่อนสาวของเธอที่มีนิสัยโผงผางเดินเข้ามา
เธอก็พูดว่า “อีแร่ดมาแล้ว”
เราว่าหนังสร้างความ contrast ระหว่างเธอกับเพื่อนสนิทคนนี้ได้ดีด้วยแหละ
คือเพื่อนสนิทของเธอคนนี้ดูเป็นคนไม่เก็บกด มีอะไรก็แสดงออกมาตรง ๆ ในขณะที่พรรัชนีดูเป็นคนแบบน้ำนิ่งไหลลึก
ฉากที่เราชอบสุด ๆ
ก็คือฉากที่นพพยายามจะจีบเธอ แล้วเธอทำหน้าทำตา ทำลีลาท่าทางอะไรสักอย่างตรงขั้นบันได
แล้วพูดกับนพว่า “อย่าแหย่เสือหลับสิคะ” เราว่ามยุรฉัตรแสดงฉากนี้ได้ดีสุด ๆ คือในขณะที่การแสดงของเปียทิพย์ในหนังเรื่องนี้เป็นแบบ
“มากเต็มที่” ลีลาการแสดงของมยุรฉัตรในหนังเรื่องนี้ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นแบบ “น้อยแต่มาก”
และเราชอบความซับซ้อนของพรรัชนีมาก ๆ
เพราะในที่สุดเธอก็เหมือนจะยอมรับว่า เธออยากได้นพ แต่แทนที่เธอจะทำตามต้องการทางเพศของตัวเอง
เธอกลับบอกว่าเธอไม่อยากทำบาป และพยายามไปเกลี้ยกล่อมอรอนงค์ให้ไปคืนดีกับนพซะ
คือเราว่าการตัดสินใจของพรรัชนีตรงนี้เป็นอะไรที่เราชอบสุด
ๆ และเราชอบที่หนังไม่ได้บอกว่า สิ่งที่พรรัชนีทำ (ฉัน want ผู้ชาย แต่ฉันไม่อยากนอกใจผัวพิการ
ฉันก็เลยพยายามให้ผู้ชายคนนั้นกลับไปคืนดีกับแฟนเก่า)
มันเป็นการกระทำของนางเอกแบบแม่พระ ผู้มีหิริโอตตัปปะ เกรงกลัวต่อบาป
หรือเป็นการตัดสินใจของ “คนโรคประสาท” 55555
7. รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้สามารถปะทะได้กับหนัง
“ผู้หญิงแรง ๆ ปะทะกัน” ที่เราชอบสุด ๆ เรื่องอื่น ๆ ได้สบายเลยน่ะ ทั้ง WOMEN ON THE VERGE OF A NERVOUS BREAKDOWN (1988, Pedro Almodovar) และ MAPS TO THE STARS (2014, David Cronenberg)
อยากฉายหนังเรื่องนี้ควบกับหนังที่เราชอบที่สุดของ
Woody Allen ด้วย ซึ่งก็คือหนังเรื่อง SEPTEMBER
(1987) เพราะเราชอบที่หนังทั้งสองเรื่องนี้นำเสนอสภาพจิตของตัวละครหญิงได้อย่างละเอียดอ่อนและงดงามมาก
ๆ
8.ชอบเครื่องแต่งกายในหนังเรื่องนี้อย่างสุด
ๆ ชุดตัวละครหญิงแต่ละตัวนี่ดีงามมาก ๆ
9. ฉากที่ภิญโญ ทองเจือค่อย ๆ
เดินมาในความมืด จาก background ของภาพ มาถึง foreground ของภาพ ดูแล้วนึกถึง INDIA
SONG (1975, Marguerite Duras) 55555
10. ตอนดูหนังเรื่องนี้รอบแรกในปี 1998 เราจำได้แต่ว่าเปี๊ยก โปสเตอร์กำกับ เราก็เลยแอบแปลกใจว่าทำไมคุณเปี๊ยกทำหนังที่ดูมีความ
feminine และมีลีลาการโพสท่าแบบกะเทยสูงมากแบบนี้
ได้รับอิทธิพลมาจาก Ingmar Bergman หรืออย่างไร
แต่พอมาดูรอบนี้ แล้วได้ทราบว่าจริง ๆ
แล้วหนังเรื่องนี้มีคุณเริงศิริ ลิมอักษรร่วมกำกับด้วย ทุกองค์ประกอบแห่งความเป็นกะหรี่และทุกอณูแห่งความเป็นกะเทยในหนังเรื่องนี้
ก็เลยกระจ่างว่ามันน่าจะมีที่มาอย่างไร 55555
ลีลาการโพสท่าของเปียทิพย์ในบางฉากนี่
มันคือลีลาเดียวกับที่ใหม่ เจริญปุระแสดงใน “คนเริงเมือง (1988, เริงศิริ ลิมอักษร)
เลยนะ
No comments:
Post a Comment