Wednesday, September 07, 2022

THE BURNING SEA

 เพิ่งรู้ว่า Jung Woo-sung (HUNT, REIGN OF ASSASSINS , THE WARRIOR) อายุเท่ากับเราเลย เหมาะจะเป็นสามีของเรามาก ๆ


SATANTANGO (1994, Bela Tarr, Hungary, second viewing, A+30)

สรุปตัวละครตัวไหนตดในฉากที่หลายคนนอนคุยกันในคฤหาสน์คะ

TOP GUN: MAVERICK (2022, Joseph Kosinski, A+30)

แอบขำความไร้สัญชาติหรือไร้เชื้อชาติของศัตรูในหนังเรื่องนี้ เพราะตัวละครฝ่ายศัตรูที่ขับเครื่องบินไล่ยิงฝ่ายพระเอกใส่หมวกปิดหน้าปิดตาทั้งหมด เราก็เลยไม่รู้ว่าศัตรูในหนังเรื่องนี้เป็นเชื้อชาติอะไร รัสเซีย, จีน, อิหร่าน (ซึ่งมีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์) หรือเกาหลีเหนือที่มีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เหมือนกัน หรือชาติอื่น ๆ

เดาว่าการทำให้ตัวละครฝ่ายศัตรูไร้สัญชาติแบบนี้คงเพื่อลดปัญหา และทำให้หนังทำเงินจากทั่วโลกได้ง่ายยิ่งขึ้น

ซึ่งเราว่ามันเป็นความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยที่น่าสนใจดีเหมือนกัน เพราะในทศวรรษ 1980 ยุคสงครามเย็นนั้น หนังฮอลลีวู้ดสามารถแปะป้ายตัวละครฝ่ายศัตรูได้เลยว่าเป็นโซเวียต และในทศวรรษ 2000 นั้น หนังอย่าง STEALTH (2005, Rob Cohen) และ THE PACIFIER (2005, Adam Shankman) ก็แปะป้ายศัตรูไว้เลยว่าเป็นเกาหลีเหนือ

ร้ายก็รัก (1979, ชุมพร เทพพิทักษ์, A+30)

Spoilers alert
--
--
--
--
--
ชอบสุดขีด  เพราะเนื้อเรื่องมันตรงข้ามกับที่เราคาดไว้ในตอนแรก คือเนื้อเรื่องตอนแรกมันเล่าเรื่องของหญิงสาวที่ต้องไปขออาศัยบ้านคนอื่นอยู่ ชายหนุ่มพี่น้องสองคนในบ้านต่างก็ชอบเธอ คนพี่ชายนิสัยดีเรียบร้อยสุภาพ ส่วนคนน้องชายพยายามปลุกปล้ำขืนใจเธอ และเธอก็ตกหลุมรักคนน้อง

คือตอนแรกเรานึกว่ามันจะเป็นหนัง romantic ที่มองโลกในแง่ดี มองโลกแบบว่าความดีจะชนะทุกสิ่ง เรานึกว่านางเอกจะใช้ความดีงามใสซื่อบริสุทธิ์ในใจเธอในการทำให้พระเอกค่อย ๆ กลับตัวเป็นคนดีได้ในตอนจบ อะไรแบบนี้

แต่ปรากฏว่าหนังดำเนินเรื่องไปในทางตรงกันข้าม และเราว่ามันซื่อสัตย์กับตัวละครและธรรมชาติของมนุษย์ดี เพราะว่าพระเอกก็ไม่ได้กลับตัวแต่อย่างใด แต่กลับทวีความชั่วช้าเลวทรามมากขึ้นเรื่อย ๆ และนางเอกผู้เลือกที่จะรักคนชั่ว ก็ค่อย ๆ เปลี่ยนจากสาวใสซื่อไร้เดียงสาน่ารักใจงาม ไปเป็นฆาตกรใจโหดในตอนท้าย กราบมาก ๆๆๆๆๆๆ

แน่นอนว่าการกำกับมันอาจจะสู้หนังแบบ RIGHT NOW  (2004, Benoit Jacquot) (ที่นำเสนอนางเอกที่ชอบผู้ชายเลว ๆ เหมือนกัน)  ไม่ได้ แต่ถ้าเทียบกับหนังไทยด้วยกัน เรื่องนี้เราก็ชอบสุด ๆ เพราะไม่นึกว่าเส้นเรื่องมันจะค่อย ๆ ผลักตัวละครทั้งสองให้เลวขึ้นเรื่อย ๆ แบบนี้

SHADOW CODEX (2021, Saara Ekstrom, Finland, short film, A+30)

หนังที่ถ่ายฝาผนังในคุกแห่งหนึ่งในฟินแลนด์ ชอบสุด ๆ

END OF THE UNIVERSE (2021, Wheeler Winston Dixon, USA, short film, A+30)

NORTH STAR (2021, Louis J Hock, USA, 26min, A+25)


YULI (2021, Patrick Dionne, Miki Gingras, Canada, 18min, A+30)

INSURRECTION... (2020, Pierre Villemin, France, 10min, A+25)

FROM DAWN TILL DUST (2022, Jirat Prasertsup, video installation, A+30)

VERY SERIOUS Spoilers alert สำหรับหนังหลาย ๆ เรื่องที่ลงโรงฉายในช่วงนี้ 55555
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
เราควรกลัวอะไรมากที่สุด ระหว่าง

1. ภูเขาไฟระเบิดใน FIRE OF LOVE (2022, Sara Dosa, A+30) แต่ภูเขาไฟระเบิดยังดีกว่าแผ่นดินไหว เพราะมันมักจะส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า และถ้าหากเราไม่เพิกเฉยต่อสัญญาณเตือน เราก็จะหนีมันได้ทัน

2. เชื้อโรคร้ายใน EMERGENCY DECLARATION (2021, Han Jae-rim, A+30) แต่ดูเหมือนว่ามนุษย์จะสามารถรับมือกับมันได้ด้วยวิทยาศาสตร์, การตัดสินใจที่ดีของรัฐบาล และความไม่ประสาทแดกเกินไปของประชาชน

3.ตัวแย้ยักษ์ใน LEIO (2022, Chalit Krileadmongkon, A+25) ที่ดูเหมือนว่าความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันของประชาชนจะเอาชนะมันได้

4.สัตว์ประหลาดใน  THE LAKE บึงกาฬ  (2022, Lee Thongkham, A+) ที่ดูเหมือนว่าประชาชนจะหาทางอยู่ร่วมกับมันได้

5. สัตว์ประหลาดใน NOPE (2022, Jordan Peele, A+30) ที่ตัวละครในหนังดูเหมือนจะกลัว "ความจน" (หรือการไม่มีเงินเลี้ยงม้า) มากกว่าจะกลัวสัตว์ประหลาดที่ดูดกินคนได้

6.เครื่องดูดฝุ่นใน FROM DAWN TILL DUST  ที่นอกจากจะดูดกลืนคนได้แบบ NOPE แล้ว ยังดูดกลืนได้ทั้งหมุดคณะราษฎร, อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ, ความทรงจำ และประวัติศาสตร์ได้ด้วย สัตว์ประหลาดใน NOPE ยังทำไม่ได้ 555

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจใน FROM DAWN TILL DUST ก็คือว่า ในขณะที่หนังบางเรื่องในกลุ่มข้างต้น  ทำให้ผู้ชมโล่งใจด้วยการนำเสนอวิธีแก้ปัญหาได้ในช่วงท้ายของหนัง FROM DAWN TILL DUST กลับไม่ได้นำเสนอทางออกใด ๆ นอกจากว่าผู้ชมแต่ละคนจะต้องช่วยกันจดจำรำลึกถึงสิ่งต่าง ๆ และบุคคลต่าง ๆ ที่ถูกเครื่องดูดฝุ่นดูดเข้าไป นั่นอาจจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ยังพอทำได้
---
รักที่สุด ทั้ง CANDY CANDY (1975), GEORGIE! (1982) และ THE SWORD OF PAROS (1986) นี่เป็นการ์ตูนที่เรารักสุด ๆ และเราว่าจริง ๆ แล้วเนื้อหามันดาร์กมาก ๆ ทั้งสามเรื่องเลยนะ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเราถูกปลูกฝังจากการ์ตูนแบบ CANDY CANDY ตั้งแต่วัยประถมหรือเปล่า พอโตขึ้นมาเราเลยรักหนังของ Robert Bresson อย่างสุดจิตสุดใจ 55555 คือถึงแม้การ์ตูนเหล่านี้มันอาจจะจบด้วยการที่นางเอกได้ครองรักกับหนุ่มหล่อ แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นได้นี่ การที่ตัวละครแต่ละตัวจะดำรงชีวิตให้อยู่รอดจนถึงตอนจบของการ์ตูนเหล่านี้ได้มันเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ เลยนะ

แต่ยกเว้นเรื่อง "ไมมี่ แองเจล" (1979) นะ เหมือนเราเคยอ่านไมมี่ แองเจล แค่ช่วงต้น ๆ แล้วรู้สึกว่่าชีวิตมันไม่โหดร้ายเท่าไหร่ ไม่รู้เหมือนกันว่าจริง ๆ แล้วเนื้อหาทั้งเรื่องมันเบากว่าเรื่องอื่น ๆ หรือเปล่า

TRAIN AGAIN (2021, Peter Tscherkassky, Austria, 20min, A+30)

1.หนักที่สุดในชีวิตการตัดต่อ ไม่นึกว่าการนำคลิปรถไฟจากหนังเรื่องต่าง ๆ มาเรียงร้อยเข้าด้วยกันจะทรงพลังอย่างสุดขีดได้ถึงขนาดนี้ รู้สึกราวกับว่ารถไฟเหล่านี้มันประสานงากัน หรือมันชนกันอย่างรุนแรง ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วรถไฟเหล่านี้ไม่ได้ชนกัน แต่ "การตัดต่อ" ทำให้เรารู้สึกถึงพลังของการปะทะกันทางภาพรถไฟที่รุนแรงเท่ากับการชนกันของรถไฟในทางกายภาพ

2.เหมือนหนังพยายามร้อยเรียงการวิ่งของรถไฟให้เกิดการพ้องพานกับการวิ่งของแผ่นฟิล์มในเครื่องฉายหนังด้วย

3.รู้สึกว่าหนังมันซึ้งมาก ๆ ที่ใส่ฉากหนังเรื่องแรกของโลก WORKERS LEAVING THE LUMIERE FACTORY เข้ามาด้วย

4. แต่ฉากที่ชอบที่สุดในหนังคือฉากที่ใส่ภาพ "เด็กน้อยขับรถเล่น" เข้ามาด้วย ซึ่งเราไม่รู้ว่ามันหมายความว่าอย่างไร แต่มันส่งผลกระทบต่อเรามาก ๆ เหมือนมันทำให้เราเกิดความรู้สึกท่วมท้นบางอย่างที่รุนแรงจนอธิบายไม่ได้ ไม่รู้ว่าสิ่งนี้เรียกว่า sublime หรือเปล่า ราวกับว่ามันทำอะไรบางอย่างกับจิตใต้สำนึกของเรา

ซึ่งถ้าหากเทียบกับหนังเรื่องอื่น ๆ ของ Tscherkassky ที่เราเคยดูแล้ว ความรู้สึกที่เราอธิบายไม่ได้นี้เคยเกิดกับเราตอนดู COMING ATTRACTIONS (2010) เหมือนเราไม่รู้เลยว่าแต่ละฉากในหนังเรื่องนั้นมันมีความหมายว่าอะไร แต่มันส่งผลกระทบกับเราอย่างรุนแรงมาก ในขณะที่ OUTER SPACE (1999) กับ THE EXQUISITE CORPUS (2015) นั้นเหมือนส่งผลกระทบต่อเราอย่างรุนแรงในแบบที่เรา "พอจะเข้าใจได้" ซึ่งแตกต่างจาก COMING ATTRACTIONS

SHELTERED (2020, Saskia Gubbels, Netherlands, documentary, A+30)


THE BURNING SEA (2021, John Andreas Andersen, Norway, A+30)

กูจองเป็นนางเอกหนังเรื่องนี้ในทันที ได้ใจกูที่สุด นิยามของคำว่า "บุกน้ำ ลุยไฟ เพราะเงี่ยนผู้ชาย" ของจริง

คือจริง ๆ แล้วมันก็เป็นหนังสูตรสำเร็จ แต่พอมันสร้างตัวละครนางเอกที่ถูกขับเคลื่อนด้วยความ want ผัวตลอดทั้งเรื่อง และความ want ผัวของเธอทำให้เธอบุกน้ำ ลุยไฟ แบบ literally ก็เลยรู้สึกว่า นี่แหละตรงกับตัวละครนางเอกในหัวใจดิฉันมาก ๆ กราบมาก ๆ และพอเราอินกับตัวละครนี้อย่างรุนแรงที่สุดในชีวิต เราก็เลยพลอยลุ้นระทึกกับเธอไปด้วย ราวกับว่าเราไปอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับเธอ

รู้สึกว่า "ความกล้าหาญชาญชัย บุกน้ำ ลุยไฟ" ของเธอ ทำให้เธอเหมือนเป็นญาติห่าง ๆ ของตัวละครนางเอกของ ALWAYS (1989, Steven Spielberg) ซึ่ง ALWAYS นี่ก็ยังคงครองตำแหน่งหนังของ Spielberg ที่เราชอบที่สุดในชีวิตจนถึงปัจจุบัน

SUPER-HEROS MALGRE LUI (2021, Philippe Lacheau, France/Belgium, A+10)

ดูแล้วนึกถึง NURSE BETTY (2000, Neil LaBute) เพราะตัวละครแยกไม่ออกระหว่าง fiction กับ reality เหมือนกัน

ชอบตัวละครคุณแม่ที่เอา "เพื่อนของลูกชาย" มาเป็นผัวมาก ๆ ชอบที่ตัวละครชายสับสนว่า ควรจะ treat  เพื่อนว่าเป็นเพื่อน หรือเป็นพ่อเลี้ยง

SEOUL GHOST STORIES (2022, Hong Won-ki, South Korea, A-)

1. TUNNEL (C+)
2.THE WOMAN IN RED (B- )
3.NECROMANCY (A+)
4.TOOTH WORMS (A+15)
5.GHOST MARRIAGE (A+30)
6.THE CLOSET (A+25)
7.THE GIRL IN THE MIRROR (A+15)
8.A MANNEQUIN (A+30)
9.THE WALL (A+15)
10. ESCAPE GAMES (A+)









No comments: