FORGET
ME NOT (2019, Sun Hee Engelstoft, South Korea, documentary, A+30)
1.ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ
แต่พอดูแล้วก็เลยเหมือนทำให้เข้าใจว่า ทำไมถึงมีหนัง fiction อย่าง TRUE MOTHERS (2020, Naomi Kawase) เพราะหนังสารคดีอย่างหนังเรื่องนี้มันมีข้อจำกัดบางอย่าง
ซึ่งในกรณีนี้ก็คือการไม่สามารถเปิดเผยใบหน้าของ subjects ได้ เพราะฉะนั้นเวลาเราดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยรู้สึกเหมือนมีระยะห่างตลอดเวลา
เพราะเราแทบไม่เห็นอารมณ์ความรู้สึกบนใบหน้าของ subjects เลย
ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถทดแทนได้เวลานำไปดัดแปลงทำเป็น fiction
รู้สึกว่าหนัง
fiction กับ documentary
มันก็มีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกันไปน่ะแหละ หนัง documentary มันก็ดูจริงดี และพอเราดูหนัง documentary ส่วนใหญ่
เราจะรู้สึกว่าเนื้อเรื่องที่เราได้ดูมันดำรงอยู่ด้วยตัวมันเอง
มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว โดยไม่สนใจว่าจะมีคนไปสนใจมันหรือมันจะเป็นประโยชน์ต่อใครอะไรหรือไม่
(คือสิ่งที่เกิดขึ้นในหนัง documentary ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่
ไม่ว่าจะมีคนไปถ่ายทอดมันออกมาเป็นหนังหรือไม่
และไม่ว่าหนังเรื่องนั้นจะมีคนดูมากน้อยแค่ไหน) และเราก็จะรู้สึกชอบหนัง documentary
ต่าง ๆ ตรงจุดนี้ ซึ่งจะแตกต่างจากหนัง fiction ที่เวลาเราดูแล้วหลายครั้งเราจะรู้สึกว่า ตัวละครบางตัวมันถูกสร้างขึ้น
หรือตัวละครบางตัวมันตัดสินใจทำแบบนั้นแบบนี้ ด้วยจุดประสงค์เพื่อต้องการสั่งสอนคนดูอย่างโน้นอย่างนี้
หรือเพื่อ manipulate อารมณ์คนดูอะไรแบบนี้
และพอเรารู้สึกว่าเรากำลังถูกสั่งสอนหรือถูกปั่นอารมณ์ เราก็มักจะรู้สึกต่อต้านหนังเรื่องนั้น
ซึ่งประเด็นแบบในหนังเรื่องนี้ถ้าทำออกมาเป็นหนัง
fiction บางทีถ้าผู้กำกับทำออกมาไม่ดี
มันก็สุ่มเสี่ยงต่อการทำให้เรารู้สึกว่า หนังกำลังสั่งสอนให้ผู้หญิงรักนวลสงวนตัวหรือเปล่า
อะไรทำนองนี้ คือเวลาเราดูหนัง fiction เราก็จะสงสัยว่า ผู้กำกับออกแบบตัวละครออกมาให้มีนิสัยแบบนี้เพราะอะไร
เขาต้องการจะบอกคนดูหรือเปล่าว่าควรทำหรือไม่ควรทำอะไร ฯลฯ แต่พอมันเป็นหนังสารคดี
เราก็มักจะตัดข้อสงสัยตรงนี้ไปได้ เพราะการที่ผู้หญิงแต่ละคนทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้
เขาไม่ได้ทำเพราะต้องการจะบอกอะไรคนดู เขาทำแบบนั้นแบบนี้กับชีวิตของเขา เพราะมันคือชีวิตของเขา
เขาไม่ใช่ตัวละครที่ผู้กำกับจะไปบังคับให้กลายเป็นเครื่องมือในการ manipulate
ผู้ชมได้ง่าย ๆ
แต่ถึงแม้หนังสารคดีจะมีข้อดีตรงจุดนี้
ความเป็นหนังสารคดีก็มีข้อด้อยของมันเช่นกัน อย่างหนังเรื่องนี้ก็จะเห็นได้ชัดตรงการปิดบังหน้าตาของ subjects
และเราก็นึกถึงหนังสารคดีอีกเรื่องที่เราชอบสุด ๆ ซึ่งก็คือเรื่อง LOVE AND
DIANE (2002, Jennifer Dworkin) ที่เคยมาฉายที่เอ็มโพเรียม หนังเรื่องนี้ถ่ายทำชีวิตของแม่กับลูกสาวผิวดำคู่หนึ่งที่เป็นคนแรง
ๆ ทั้งคู่ แต่เนื่องจากผู้กำกับไม่สามารถไปอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกับ subjects
ได้ตลอดทั้งวันทั้งคืน บางครั้งผู้กำกับก็เลยพลาดเหตุการณ์รุนแรงบางอย่างในบ้านของ
subjects ไป
แล้วผู้กำกับก็เลยชดเชยความพลาดดังกล่าวด้วยการถ่ายฝาผนังบ้านของ subject แล้วให้ผู้ชมฟังเสียงของ subject เล่าถึงเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในบ้านไปเรื่อย
ๆ ซึ่งอะไรแบบนี้เป็นสิ่งที่ไม่พบในหนัง fiction เพราะหนัง
fiction ต้องการจะถ่ายทอดเหตุการณ์อะไร ก็ถ่ายทอดได้เลย
แต่พอมันเป็นหนังสารคดีที่พลาดการถ่ายเหตุการณ์สำคัญไป
มันก็เลยต้องหาทางออกด้วยวิธีการแปลก ๆ แบบนี้
ก็เลยรู้สึกว่าถึงแม้เราจะชอบ
FORGET ME NOT กับ LOVE
AND DIANE อย่างสุด ๆ แต่หนังสองเรื่องนี้ก็เลยเหมือนกลายเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเราเวลาพูดถึงข้อจำกัดของหนังสารคดี
2.แน่นอนว่าดูแล้วก็นึกถึงหนังหลายเรื่องที่พูดถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน
อย่างเช่น
2.1 คือถ้าหากเป็นหญิงสาวที่คิดจะทำแท้งตั้งแต่แรก
เราก็จะนึกถึง GOD’S
OFFICES (2008, Claire Simon, France)
2.2 ถ้าคลอดออกมาแล้วทิ้งลูก
ก็จะนึกถึง BROKER
(2022, Hirokazu Koreeda, A+30)
2.3 ถ้าคลอดออกมาแล้วยกลูกให้คนอื่น ก็จะนึกถึง TRUE MOTHERS
2.4 ถ้าคลอดออกมาแล้วเลี้ยงลูกเอง แต่ก่อเกิดปมในใจว่าลูกเป็นมารหัวขน
ตัวขัดขวางความเจริญในชีวิตของแม่ เราก็จะนึกถึง ANCHOR (2022, Jung
Ji-yeon)
2.5 ถ้าคลอดออกมาแล้วยกลูกให้พ่อแม่ตัวเอง แล้วทำตัวว่าตัวเองเป็น “พี่สาว”
ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วตัวเองเป็นแม่ เราก็จะนึกถึงหนังอย่างน้อย 2 เรื่อง
แต่ไม่บอกชื่อเรื่องดีกว่า เดี๋ยว spoil 555555
3.ดูแล้วก็นึกถึงหนังอีกสองเรื่องที่สร้างจากเรื่องจริงของชีวิตเด็กชาวเกาหลีที่ได้พ่อแม่บุญธรรมชาวต่างชาติด้วย
ซึ่งก็คือเรื่อง BLUE
BAYOU (2021, Justin Chon) กับ APPROVED FOR ADOPTION (2012,
Laurent Boileau, Jung, France, animation)
No comments:
Post a Comment