Monday, November 14, 2022

A GIRL WHO WALKS ALONE AT DAY

 

A GIRL WHO WALKS ALONE AT DAY นางอาย (2022, Jatupol Kiawsaeng, 49min, A+30)

 

ได้ดูหนังเรื่องนี้ที่โรง LIDO ในวันที่ 8 ต.ค. ตอนนี้ลืมรายละเอียดในหนังไปหมดแล้ว ถ้าหากเราจำอะไรผิดก็ต้องขออภัยด้วยนะ

 

Spoilers alert

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

1.สุดฤทธิ์ ชอบสุดขีด เหมือนหนังมันสะท้อนทั้งปัญหาความยากจน, โอกาสทางการศึกษา, ความรุนแรงทางเพศ, อคติต่ออดีตนักโทษ, การด่วนตัดสินผู้อื่นโดยไม่มีหลักฐานมากพอ, etc. โดยไม่ทำให้เรารู้สึกว่าตัวละครเป็นเพียงสัญลักษณ์ในการชูประเด็น แต่หนังทำให้เรารู้สึกว่าตัวละครเป็นมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อชีวิตจิตใจจริง ๆ คือหนังทำให้เรารู้สึกราวกับว่าตัวละครเป็นเหมือนกับมนุษย์ที่ดำเนินชีวิตของตัวเอง แล้วชีวิตของพวกเขาก็สะท้อนปัญหาสังคมต่าง ๆ ออกมาโดยบังเอิญ แทนที่ "ประเด็น" ของหนังจะไปลดทอนมิติความซับซ้อนของตัวละครแบบที่เราอาจจะพบได้ในหนังสะท้อนสังคมเรื่องอื่น ๆ

 

รู้สึกว่า ความดีงามแบบนี้ทำให้หนังเรื่องนี้สามารถปะทะกับหนังของ Christian Petzold ได้เลย

 

2.จุดนึงที่ช่วยเพิ่มมิติความเป็นมนุษย์ให้ตัวละคร คือการให้เราเผชิญ dilemma ที่ละเอียดอ่อนซับซ้อนยากจะตัดสินใจได้ว่า เราควรจะทำอย่างไรตั้งแต่ช่วงต้นเรื่องน่ะ โดยเฉพาะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน

 

คือตั้งแต่ต้นเรื่อง เราก็ตัดสินใจได้ยากแล้วว่า มันถูกต้องแล้วหรือที่เพื่อนนางเอกขอให้นางเอกไม่สมัครทุน, นางเอกทำถูกแล้วหรือไม่ที่สมัครทุนนึง แต่ไม่สมัครอีกทุนนึง, เพื่อนนางเอกสมควรโกรธนางเอกหรือไม่, นางเอกสมควรโกรธเพื่อนหรือไม่, etc. คือพอสถานการณ์มันเป็น dilemma แบบนี้ มันก็เลยน่าสนใจมาก ๆ และมันเป็นมนุษย์มาก ๆ ด้วย แต่ในขณะเดียวกัน มันก็สะท้อนปัญหาโครงสร้างสังคมด้วย

 

3.ชอบการสร้างตัวละครนางเอกแบบนี้อย่างรุนแรงสุดขีด เราว่าเธอเป็นตัวละครที่ "เทา" ดี ถึงแม้เราไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เธอทำในช่วงท้ายเรื่อง แต่การที่เธอมีความเลวอยู่ในตัว ก็ทำให้เธอดูเป็นมนุษย์ มากกว่าเป็น representation ของประเด็นเพียงอย่างเดียว

 

ชอบสีหน้าสีตาของเธออย่างมาก ๆ เลยด้วย เราว่าอารมณ์ในใบหน้าของเธอมันเข้มข้นสะใจเรามากน่ะ เหมือนเธอไม่ใช่คนอ่อนแอ แต่เป็นคนพร้อมปะทะ หรือมีธาตุของความแข็งแกร่งอยู่ในตัว

 

4.ชอบ tension ในหนังเรื่องนี้มาก ๆ เหมือนนางเอกต้องเผชิญกับ tension ทั้งภายนอกและภายใน

 

โดยในส่วนของภายนอกนั้น นางเอกก็ต้องเผชิญกับทั้งการเรียนออนไลน์, แม่ที่เหมือนจะขัดขวางความฝันของลูก, ชาวบ้านที่พร้อมนินทา, โจรบ้ากาม, ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่ค่อยเปิดโอกาสให้คนจนได้ไต่เต้า หรือได้ลืมตาอ้าปาก, etc.

 

และในส่วนของภายในนั้น เราก็รู้สึกว่านางเอกต้องเผชิญกับทั้งความไม่แน่ใจว่าตัวเองทำผิดหรือถูก ทั้งเรื่องสมัครทุน และเรื่องทิ้งเพื่อนไว้กลางทาง, เผชิญกับ guilt ในใจตัวเอง และเผชิญกับความไม่แน่ใจว่า เกิดอะไรขึ้นกันแน่กับเพื่อนของเธอ

 

คือเหมือนนางเอกน่าจะเผชิญกับมรสุมในใจตัวเองตลอดเวลา และก็อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ไม่ปลอดภัย และต้องดิ้นรนเพื่อความก้าวหน้าของชีวิตตัวเองด้วยในเวลาเดียวกัน

 

นอกจากนี้ เราก็ไม่แน่ใจด้วยว่า นางเอกแอบชอบพี่ชายเพื่อนหรือเปล่า คือถ้าหากนางเอกแอบชอบพี่ชายเพื่อน นางเอกก็จะเผชิญกับ sexual tension ด้วย แต่อันนี้เราอาจจะคิดไปเองก็ได้ เพราะเราชอบเขา 55555

 

5.ดีใจสุดขีดที่ได้อ่านว่า ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ชอบ Lino Brocka กับ Michelangelo Antonioni ด้วย

 

ชอบการที่หนังไม่ได้ให้เราเห็นเพื่อนนางเอกอีกเลยหลังจากฉากเปิดเรื่อง มองในแง่นึงก็อาจจะทำให้นึกถึง L’AVVENTURA ได้ด้วยเหมือนกัน แต่ยังดีที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ใจร้ายกับผู้ชมมากเท่ากับ L’AVVENTURA 55555

 

No comments: