ธีรวรกานต์ (ธนกฤต ศิริประทุม, 128.54 นาที, DOCUMENTARY, A+15)
https://www.youtube.com/watch?v=YhgoAOYcQFg&t=6829s
1.ยอมรับว่าเราดูหนังเรื่องนี้ในช่วงแรก
ๆ แบบไม่ได้ตั้งใจดู 100% เต็ม 55555 โดยเราเล่นมือถือไปด้วยและ shopping online ไปด้วย เพราะดูเหมือนว่าหนังเรื่องนี้จะไม่ได้นำเสนอเนื้อหาอะไรที่สำคัญแบบที่ต้องตั้งอกตั้งใจดูแบบหนังทั่วไป
2.ตอนแรกก็ลังเลว่าจะดูหนังเรื่องนี้ต่อไปเรื่อย
ๆ ดีไหม เพราะเนื้อหาของหนังดูเหมือนจะไม่ได้มีความสำคัญอะไรสำหรับเรา
แต่ก็ตัดสินใจดูต่อไปเรื่อย ๆ ก่อน เพราะเราชอบ gaze ของหนัง ซึ่งเรื่อง gaze นี่ก็เป็นอะไรที่อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน
แต่เหมือนหนังมี gaze ที่ค่อนข้างโอเคสำหรับเรา ตรงกับ wavelength
ของเราในระดับนึง และไม่ทำให้เราเบื่อ ถึงแม้ดูเหมือนว่าในแต่ละฉากจะไม่ได้มีเหตุการณ์อะไรสำคัญเกิดขึ้น
เหมือนเราถูกโฉลกกับหนังตั้งแต่ฉากแรก
ๆ ที่ถ่ายเด็กนักเรียนเดินเข้าหรือเดินออกจากประตูโรงเรียน คือฉากนั้นทำให้นึกถึง LEAVING THE FACTORY (1895, Louis Lumiere) ที่เป็นหนังเรื่องแรกของโลก
ซึ่งก็ไม่รู้ว่าผู้กำกับจงใจพาดพิงถึงหนังเรื่องนั้นหรือเปล่า 5555
3.ถ้าหากเทียบกับหนังกลุ่ม “หนังสือรุ่น”
ด้วยกัน หนังเรื่องนี้ก็แตกต่างจากหนังใน genre
เดียวกันด้วยเหมือนกัน เพราะหนังกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักจะนำเสนอความผูกพันอันซาบซึ้งระหว่างเพื่อน
ๆ มัธยม และระหว่างนักเรียนกับครู ซึ่งหนังใน genre “หนังสือรุ่น”
ที่ทำแบบนี้ก็จะได้อย่างเสียอย่าง เพราะหนังที่ทำแบบนี้ก็จะสามารถบันทึกมวลอารมณ์ความรู้สึกของผู้สร้างหนังกับกลุ่มเพื่อน
ๆ เอาไว้ได้ดีมาก แต่ผู้ชมที่เป็น “คนนอก” ก็จะรู้สึกเหมือนตัวเองถูกตอกย้ำความเป็นคนนอกไปด้วย
555
แต่หนังเรื่องธีรวรกานต์นี้เหมือนจะไม่ได้นำเสนอบทสนทนาแบบส่วนตัวระหว่างเพื่อน
ๆ หรือไม่ได้นำเสนอความผูกพันอันซาบซึ้ง น้ำตาไหลพราก ๆ ระหว่างนักเรียนกับครูแบบหนังใน
genre เดียวกัน ซึ่งเราว่ามันน่าสนใจดี คือการรักษาระยะห่างแบบนี้ทำให้หนังมันอาจจะดูเย็นชาและน่าเบื่อกว่าหนังใน
genre “หนังสือรุ่น” เรื่องอื่น ๆ แต่มันก็ทำให้หนังเรื่องนี้ดูแตกต่างออกไปจากหนังใน
genre เดียวกัน
4.ตอนช่วงแรก ๆ เราชอบหนังเรื่องนี้ในระดับแค่
A+ เพราะเราว่าเนื้อหาของมันไม่ได้น่าสนใจสำหรับเรามากนัก
แต่ความชอบของเราก็พุ่งขึ้นมาเป็น A+15 ในช่วงท้ายของหนัง
เพราะเราชอบฉาก “วิชาชีวิตศาสตร์” ในหนังมาก ๆ เหมือนเนื้อหาของช่วงนี้มันเป็นสิ่งที่ผู้ชมที่เป็นคนนอกอย่างเราสนใจ
แต่น่าเสียดายที่การบันทึกเสียงในฉากนี้ทำได้ไม่ดีนัก เราก็เลยฟังสิ่งที่คุณ “อุ๊บอิ๊บ”
(ไม่แน่ใจว่าชื่อนี้หรือเปล่า) พูดไม่ออกเลย แต่เราชอบสิ่งที่คุณแป้งและคุณต้องตาพูดมาก
ๆ
คือสิ่งที่คุณแป้งพูดในฉากนี้มันตรงใจเรามาก
ๆ ทั้งเรื่องราวแบบ THE ROAD NOT
TAKEN ความหลอนไปตลอดชีวิตว่า “ทำไมเราถึงไม่เลือกทางเดินชีวิตเส้นนั้นเมื่อ
10 ปีก่อน” “ถ้าเมื่อ 10 ปีก่อน เราเลือกเดินทางนั้น เราเลือกเข้าเรียนคณะนั้น
ป่านนี้ชีวิตเราจะเป็นอย่างไรไปแล้ว” ซึ่งเรื่องนี้มันจริงมาก ๆ สำหรับเรา และเรื่องที่คุณแป้งแนะให้นักเรียนสารภาพรักกับคนที่ชอบไปเลยก่อนเรียนจบ
ไม่เช่นนั้นเราจะทุกข์ทรมานใจไปตลอดเป็นเวลานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเราได้เจอเขาอีกทีในอีกหลายปีต่อมา
และพบว่าเขามีเมียมีลูกไปแล้ว
คือชอบสิ่งที่คุณแป้งพูดในฉากนี้มาก ๆ
มันสอดคล้องตรงกับความคิดของเราจริง ๆ
5.ถึงแม้เราจะชอบช่วงท้ายของหนังอย่างสุด
ๆ แต่เราก็ไม่ได้ชอบหนังทั้งเรื่องมากถึงขั้น A+30 นะ เพราะมันยาวเกินไปสำหรับ “คนนอก” อย่างเราน่ะ
5555 คือถ้าช่วงครึ่งแรกของหนังมันสั้นกว่านี้ หรือหนังเลือกใช้วิธีอื่น ๆ
ในการนำเสนอ อย่างเช่นใส่บทสนทนาแบบส่วนตัวเข้าไป หรือใส่ความเป็น fiction ลงไปด้วย แบบที่หนังใน genre หนังสือรุ่นบางเรื่องทำกัน
เราก็อาจจะ enjoy กับหนังมากยิ่งขึ้น
6.ถ้าหากพูดถึงหนังใน genre “หนังสือรุ่น” และหนังกลุ่ม “สารคดีบันทึกความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน”
โดยรวมแล้ว เรารู้สึกว่าเรามักจะได้ดูหนังแบบนี้ในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนของไทยมาแล้วแค่ไม่กี่เรื่องมั้ง
ซึ่งรวมถึงเรื่อง
6.1 “หนังสือรุ่น” (2005, เบญจพรรณ
รุ่งศุภตานนท์) ที่ได้รางวัลช้างเผือก และเหมือนเป็นการเปิดศักราชของหนัง genre นี้
6.2 6 OR 5 (2006, Sarawan Weerawat, 56min) สารคดีเกี่ยวกับกลุ่มเพื่อนหญิง
6 คนที่คบกันมาตั้งแต่สมัยมัธยม ก่อนที่บางคนจะหายไปจากกลุ่ม
6.3 MY ROOM AND I (2010, Ka-nes Boonyapanachoti) ชอบที่หนังเรื่องนี้เหมือนบันทึก
moments ของผู้กำกับกับเพื่อน ๆ ขณะเรียนใน ICT ศิลปากรเอาไว้ด้วย
6.4 HELL นรก (2013, Theeraphat Ngathong, 20min) ที่เป็นบันทึกงานคอนเสิร์ตโรงเรียน แต่มีความเป็นหนังทดลองอยู่ด้วย
6.5 ALL OF US: PART 8 MEDICAL
ENTRANCE EXAMS AT RATCHABURI (2014, Theeraphat Ngathong, 102min) เป็นหนังที่ความยาวสูสีกับ
“ธีรวรกานต์” แต่หนังเรื่องนี้อาจจะดูง่ายกว่าหน่อย เพราะมันมีเนื้อเรื่องอยู่ด้วย
เป็นบันทึกการเดินทางของเด็กมัธยม 6 คนที่เดินทางไปสอบเข้ามหาลัยที่ราชบุรี
6.6 BEFORE FRI(END) (2022, ศรัณย์ภัทร กองสุข, 41min)
ชอบเรื่องนี้สุดขีด เพราะมันผสมความเป็น fiction เข้ามาด้วย และมันออกมาดีงามมาก ๆ
และก็มีหนังเรื่องอื่น ๆ อีกที่เป็นหนังแนว
“หนังสือรุ่น” ที่เราได้ดู แล้วเรานึกชื่อเรื่องไม่ออก
จำได้ว่ามีเรื่องนึงที่ครูกับนักเรียนร้องห่มร้องไห้ร่ำลากันหนักมาก
และมีอีกเรื่องหนึ่งที่เราชอบสุด ๆ ที่เหมือนมีการ reenact เหตุการณ์ตอนกะเทยเต้นหลีดเอาไว้ด้วย
ถ้าใครนึกชื่อหนังเรื่องไหนในกลุ่มนี้ออก
ก็บอกมาด้วยนะ
ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าต่างประเทศมีการผลิตหนังกลุ่มนี้ออกมาบ้างหรือเปล่า
คิดว่าคงมีทำกันออกมาบ้าง แต่ผู้สร้างคงมองว่าเป็นหนังส่วนตัว หนังเหล่านี้ก็เลยไม่ได้เผยแพร่ในเทศกาลอะไรจนมาถึงสายตาผู้ชมที่เป็นคนนอกโรงเรียนมากนัก
ก็ถือได้ว่าเป็นหนังกลุ่มที่น่าสนใจดี
แต่หนังกลุ่มนี้มันก็มีข้อจำกัดในตัวของมันเองอยู่แหละ นั่นก็คือผู้ชมที่เป็นคนนอกก็อาจจะไม่อินด้วย
และพอมันเป็น “สารคดี” แบบนี้ มันก็จะไม่สามารถสะท้อนความรู้สึกบางอย่างออกมาได้
คืออย่างเรานี่ถ้าหากนึกถึงตอนมัธยมเราก็จะนึกถึง “ครูบางคนที่เราเกลียดชังอย่างรุนแรงมาก”
อะไรทำนองนี้ด้วย ซึ่งความเกลียดชังแบบนี้คงใส่เข้าไปในหนังสารคดีแบบนี้ไม่ได้ 555
นอกจากว่าจะทำให้มันเป็น fiction ไปเลย
No comments:
Post a Comment