FILM WISH LIST OF THE YEAR: DREAMS (2024, Dag Johan
Haugerud, Norway, 110min)
อยากดูอย่างสุดๆ จะได้ดูครบทั้ง 3 ไตรภาค
เพราะเราชอบ SEX กับ LOVE อย่างรุนแรงมาก
ๆ
อยากให้มีคนไทยทำหนังไตรภาคมาปะทะด้วย โดยหนังไตรภาคชุดนี้ประกอบด้วย
“ตัณหา”, “ราคะ” และ “อรดี” โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากธิดาพญามาร 3 องค์
แต่ตัวหนังจะสำรวจตัณหา, ราคะ และอรดี (ความเกลียดชัง)
ในชีวิตประจำวันของคนยุคปัจจุบัน 55555
+++
DOUBLE BILL FILM WISH LIST:
THE ART OF JUST EXISTING AND NOT BEING RUDE (2023, ณัชชา สรรพวิชุ Natcha Sanpawichu, 15:06 min, A+30)
+ SANTOSH (2024, Sandhya Suri, UK/Germany/India, 120min,
A+30)
พอเราได้ดู THE ART OF JUST EXISTING AND
NOT BEING RUDE แล้วก็นึกถึง SANTOSH มาก ๆ
นึกว่าต้องฉายหนังสองเรื่องนี้ปะทะกัน เพราะว่า
1.
หนังทั้งสองเรื่องเหมือนต่อต้านระบอบปิตาธิปไตย ชายเป็นใหญ่เหมือนกัน
แต่มาในบริบทและสภาพสังคมที่แตกต่างกัน โดยใน SANTOSH นั้นเราจะเห็นการกดขี่ผู้หญิงอย่างชัดเจน
ส่วนใน THE ART OF JUST EXISTING นั้น
เราจะไม่เห็นมันอย่างชัดเจน
แต่มันเหมือนแฝงอยู่ในความคิด/ความเชื่อของผู้ชายที่ว่า เขาสามารถล่วงเกิน
แต๊ะอั๋ง ผู้หญิงได้ โดยถือเป็นพฤติกรรมที่สังคมยอมรับ หรือสังคมยุคเก่ายอมรับ
ซึ่งความคิดแบบนี้ก็อาจจะถือได้ว่าเป็นเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากระบอบปิตาธิปไตยในอดีตหรือเปล่า
2. ตัวนางเอกของหนังทั้งสองเรื่อง
เหมือนเป็นหญิงสาวที่เพิ่งเข้ามาทำงานใหม่เหมือนกัน เหมือนเป็นตัวแทนของ
“หญิงยุคใหม่” แต่ไม่ใช่ผู้หญิงที่เป็น superheroine
เก่งฉกาจ แต่เป็นผู้หญิงที่เพิ่งเข้ามาทำงานใหม่ด้วยความไม่มั่นใจ ยังไม่คล่อง
แต่มีความตั้งอกตั้งใจทำงาน
3. นางเอกของหนังทั้งสองเรื่อง
นอกจากจะต้องปะทะกับผู้ชายจำนวนมากที่ทำงานในวงการเดียวกันแล้ว เธอก็ต้องปะทะกับ
“เจ้าแม่ของวงการ” ด้วย ซึ่งตอนแรก ๆ นั้นนางเอกก็เหมือนจะยกย่องนับถือ
“เจ้าแม่ของวงการ” ก่อนที่จะเปลี่ยนความคิดในเวลาต่อมา
4. “เจ้าแม่ของวงการ” ในหนังทั้งสองเรื่อง
ก็เหมาะจะนำมาเปรียบเทียบกันมาก ๆ เพราะเธอเป็นหญิงเก่ง,
เป็นเหมือนตัวแทนของคนรุ่นก่อน
และเป็นผู้หญิงที่สามารถยืนหยัดท่ามกลางผู้ชายจำนวนมากได้
แต่การที่ตัวละครหญิงเก่งในหนังทั้งสองเรื่องนี้ยืนหยัด+ได้รับความเคารพจากผู้ชายจำนวนมากนั้น
มันก็แลกมาด้วยการ compromise กับความเลวของผู้ชายด้วย
5.
เราก็เลยรู้สึกว่าคู่ความขัดแย้งในหนังสองเรื่องนี้ มีบางจุดที่เหมือนกัน
ทั้งความขัดแย้งระหว่างเพศหญิง/เพศชาย
และความขัดแย้งระหว่างหญิงยุคเก่ากับหญิงยุคใหม่ โดยที่ใน SANTOSH นั้น มีความขัดแย้งเรื่อง “ชั้นวรรณะ” อยู่ด้วย
6.
รู้สึกว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้เหมาะฉายปะทะกันมาก ๆ
เพราะเราชอบหนังทั้งสองเรื่องอย่างรุนแรง
และคิดว่าหนังทั้งสองเรื่องเหมือนเป็นตัวแทนที่ดีที่แสดงให้เห็นว่า เราสามารถ
“สะท้อนปัญหาสังคม” ด้วย approach ที่แตกต่างกันได้
และมันก็ออกมาดีงามสุด ๆ ทั้งคู่
คือถ้าหากเปรียบเทียบปัญหาสังคมเป็น “โรคร้าย”
เราก็รู้สึกว่า SANTOSH ใช้วิธีการที่คล้าย ๆ กับ
“การเอ็กซ์เรย์ร่างกาย” หรือทำ MRI SCAN ร่างกาย เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหา/เชื้อโรค
ที่เกาะกินสังคม/ร่างกายอยู่
ส่วน THE ART OF JUST EXISTING AND NOT
BEING RUDE นี่ เรากราบตีน approach ของหนังเรื่องนี้อย่างสุด
ๆ เพราะเรารู้สึกว่า ถ้าหากมองเผิน ๆ แล้ว
เหตุการณ์ในหนังเรื่องนี้ดูเหมือนเป็นชีวิตประจำวันในการทำงาน ไม่ได้มีอะไรร้ายแรง
หรือไม่ได้มีอะไรสำคัญมากนัก (ซึ่งตรงข้ามกับ SANTOSH ที่พูดถึงการฆ่าข่มขืนเด็กผู้หญิง)
แต่ภายใต้เหตุการณ์ที่ดูเหมือนไม่ได้ร้ายแรงนี้
หรือภายใต้เหตุการณ์ที่ดูเหมือนเป็น “ชีวิตประจำวัน ชีวิตการทำงานแบบปกติ” นี้
เรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ใช้วิธีการที่คล้ายกับ “กล้องจุลทรรศน์”
ส่องดูเนื้อเยื่อเล็ก ๆ เพียงชิ้นเดียว หรือส่องดู “หยดน้ำแค่ไม่กี่หยด”
แล้วสามารถวิเคราะห์หา “เชื้อโรค” ที่ซ่อนอยู่ได้
เพราะหนังเรื่องนี้มีสายตาที่ละเอียดลออ เฉียบคมมาก ๆ และสามารถสะท้อนให้เห็นว่า
ในแต่ละ react, แต่ละ gesture, แต่ละถ้อยคำ,
แต่ละน้ำเสียง, แต่ละการแสดงออก เล็ก ๆ น้อย ๆ
ในชีวิตประจำวัน มันสะท้อนอะไรที่น่าตกใจหรือน่าสนใจได้บ้าง
เราก็เลยชอบหนังทั้งสองเรื่องนี้มาก ๆ
ทั้งหนังที่ใช้วิธีการแบบ X-RAY เพื่อสะท้อนปัญหาใหญ่ที่เห็นเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจนในสังคมอินเดีย
และหนังที่ใช้วิธีการแบบ “กล้องจุลทรรศน์” สำรวจเหตุการณ์เล็ก ๆ ธรรมดา
ชีวิตประจำวันในสังคมไทย
แต่สามารถสะท้อนออกมาได้อย่างลึกซึ้งและละเอียดลออถึงอะไรที่น่าสนใจมากมายของผู้คนที่แตกต่างกันไปในสังคม
หนังเรื่อง THE ART OF JUST EXISTING AND
NOT BEING RUDE นี้ เป็นหนังเรื่องที่ 3 ของคุณณัชชา สรรพวิชุ ที่เราได้ดู
ส่วนอีก 2 เรื่องคือ IN THE SAME BREATH ในลมหายใจเดียวกัน (2024,
Natcha Sanpawichu ณัชชา สรรพวิชุ, 23min, A+30) และ I CRY SEVERAL TIMES (2023, Natcha Sanpawichu ณัชชา
สรรพวิชุ, 4min, A+30) ซึ่งเราก็ชอบทั้งสองเรื่องนี้อย่างสุด
ๆ เหมือนกัน
+++
พอดู "คุณชายน์ THE CLICHE" แล้วก็เลยอยากรู้ว่า มีใครสร้างหนังล้อเลียน/วิเคราะห์
"ละครน้ำเน่าอินเดีย" บ้างไหม ปรากฏว่ามีคนไนจีเรียทำ ไม่ทราบชีวิต 555555
https://www.youtube.com/watch?v=yh5PNulOZzE
พอดู “คุณชายน์ THE CLICHÉ” (2024, ชัชวาล วิศวบำรุงชัย Chatchawal Wisawabamroongchai, A+30) แล้วก็เลยนึกถึงหนังเรื่อง SOAPDISH (1991, Michael Hoffman, A+30)
มาก ๆ คิดว่าเหมาะฉายปะทะคู่กันมาก ๆ เพราะ SOAPDISH ก็เป็นหนังที่ล้อเลียน/วิพากษ์ละครน้ำเน่าเหมือนกัน
และทำออกมาได้ดีงามสุดขีด (เราไม่ได้ใช้คำว่า “ละครน้ำเน่า” ในทางลบนะ 55555)
นึกถึงละครทีวีสองเรื่องที่เราไม่ได้ดูด้วย
ซึ่งก็คือ SOAP หรือ “กิเลสมนุษย์” (1977-1981) ที่เป็นละครทีวีที่ล้อเลียนละครน้ำเน่าของสหรัฐอเมริกา กับ TELENOVELA
(2015-2016) ที่เราเดาเอาเองว่าเป็นการล้อเลียนละครน้ำเน่าของลาตินอเมริกา
เราเดาเอาเองว่าละครโทรทัศน์สองเรื่องนี้ น่าจะรวบรวม cliché ของละครน้ำเน่าเอาไว้ได้เยอะมาก ๆ เช่นกัน
เสียดายที่เราไม่มีเวลาตามดูละครทีวี soap
opera, melodrama ของแต่ละชาติ ซึ่งรวมถึงของไทยด้วย เพราะเราคิดว่าละครน้ำเน่า/ละครโทรทัศน์ของแต่ละชาติมันน่าจะมี
cliché และเอกลักษณ์แตกต่างกันไป อย่างของญี่ปุ่นที่เราเคยดูตอนเด็ก
ๆ ก็คือจะต้องมีฉากที่ตัวละครพระเอก/นางเอก วิ่ง ๆ ตอนใกล้จะจบตอน ไม่รู้เหมือนกันว่าละครน้ำเน่า/หนังน้ำเน่าของลาตินอเมริกา,
ของอินเดีย, ของไนจีเรีย, ของอียิปต์, ของตุรกี, etc. มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไปอย่างไรบ้าง
พอดู คุณชายน์ THE CLICHÉ แล้วเราก็ย้อนนึกถึงละครโทรทัศน์ที่เราชอบดูสุดขีดตอนเด็ก
ๆ นะ ซึ่ง “ละครโทรทัศน์” ของไทยที่เราชอบสุดขีด ก็ต้องรวมถึงละครโทรทัศน์ของคุณ “สุนันทา
นาคสมภพ” นี่แหละ ทั้ง “เพลิงพ่าย” (1990), “คุณหญิงบ่าวตั้ง”
(1991) และ “มนุษย์”
คือไม่รู้ว่าละครเหล่านี้มีคุณค่าทางศิลปะอะไรใด ๆ หรือไม่ รู้แต่ว่า
ถึงแม้เวลามันจะผ่านมานาน 30-40 ปีแล้ว ละครทีวีเหล่านี้ก็ยังคงฝังใจเราอยู่อย่างรุนแรงมาก
ๆ
เหมือนเอาเข้าจริงแล้ว
เราก็ไม่อินกับละครโทรทัศน์หลาย ๆ เรื่องของไทย ที่ตัวละครนางเอกเป็น “สาวสวยนิสัยดี”
นะ 55555 เพราะฉะนั้นความบันเทิง/ความสุขของผู้ชมอย่างเรา ก็เลยได้รับการตอบสนองจากละครของคุณสุนันทา
นาคสมภพ อย่างเต็มที่ เพราะตัวละครนางเอกหรือตัวละครหญิงในละครของเธอ
มันเข้าทางเรามากที่สุด อย่างเช่นละครเรื่อง “มนุษย์” ก็พูดถึงหญิงสาว (มณฑาทิพย์
แก้วประเสริฐ) ที่ใช้ปืนกลกราดยิงผู้คนตาย, นางเอกของ “เพลิงพ่าย”
ก็เหมือนเป็น serial killer ที่ฆ่าคนตายจำนวนมาก
ส่วนนางเอกของ “คุณหญิงบ่าวตั้ง” ก็ไม่ใช่ “สาวสวย” และถือเป็นกะหรี่ที่แรงพอตัว
เพราะฉะนั้นพอเราดู “คุณชายน์ THE CLICHÉ”
เราก็นึกถึงตัวเองในแง่นึง เพราะสิ่งที่เราต้องการจากละครโทรทัศน์หลาย
ๆ เรื่อง ก็ไม่ใช่คุณค่าทางศิลปะอะไรใดๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นความสุขจากการได้ดูอะไรที่เข้าทางเรา,
การระบายออกทางจิตใจ, การตอบสนองแฟนตาซี, etc. ซึ่งละครโทรทัศน์ของคุณสุนันทา นาคสมภพ
ก็อาจจะถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับเรา (ถ้าของสหรัฐก็ต้องยกให้ MELROSE
PLACE) แต่โดยส่วนตัวแล้ว เราก็อาจจะไม่ได้อินอะไรมากนักกับละครโทรทัศน์เรื่องอื่น
ๆ ที่นำเสนอตัวละครนางเอกที่เป็น “สาวสวยนิสัยดี” 55555 แต่ก็ยอมรับว่า
ละครโทรทัศน์ที่นำเสนอนางเอกที่เป็น “สาวสวยนิสัยดี” มันก็มีคุณค่าในการสร้างความสุขให้กับผู้ชมจำนวนมากเช่นกัน
ก็เลยสรุปว่า ชอบหนังเรื่อง “คุณชายน์ THE CLICHÉ” มากๆ แต่ก็เป็นความชอบแบบ “นับถือ” ภาพยนตร์เรื่องนี้ มากกว่าจะเป็นความชอบแบบอินสุด ๆ เป็นการส่วนตัว
No comments:
Post a Comment