RIP MARISA PAREDES (1946-2024)
หนังของเธอที่เคยดู
1.HIGH HEELS (1991, Pedro Almodóvar, Spain)
2.THE FLOWER OF MY SECRET (1995, Pedro Almodóvar, Spain)
เราได้ดูตอนมันมาฉายที่สมาคมฝรั่งเศส
3.THREE LIVES AND ONLY ONE DEATH (1996, Raúl Ruiz, France/Portugal)
4.DOCTOR CHANCE (1997, F.J. Ossang, France/Chile)
เราเคยดูหนังเรื่องนี้ตอนมันมาฉายที่ JAM
SATHORN
5.LIFE IS BEAUTIFUL (1997, Roberto Benigni, Italy)
6.ALL ABOUT MY MOTHER (1999, Pedro Almodóvar, Spain)
7.NO ONE WRITE TO THE COLONEL (1999, Arturo Ripstein,
Mexico)
สร้างจากบทประพันธ์ของ Gabriel García
Márquez และเคยเข้าฉายที่โรง Lido ในเทศกาลภาพยนตร์เม็กซิโกในกรุงเทพ
8.TALK TO HER (2002, Pedro Almodóvar, Spain)
9.QUEENS (2005, Manuel Gómez Pereira, Spain)
10.THE SKIN I LIVE IN (2011, Pedro Almodóvar, Spain)
อยากให้มีคนจัดงาน retrospective ของเธอมาก ๆ อยากดูหนังอีกหลายเรื่องที่เธอแสดง โดยเฉพาะ
1. IN A GLASS CAGE (1987, Agustí
Villaronga, Spain)
เราเคยดู BLACK BREAD (2010) ของ Agustí Villaronga แล้วชอบอย่างสุดขีดมาก ๆ
เราเพิ่งรู้ว่า Agustí Villaronga เสียชีวิตไปแล้วในปี 2023 จากโรคมะเร็ง
2.SILVER-BEET FACE (1987, José
Sacristán, Spain)
เธอเข้าชิงรางวัลโกย่าดาราสมทบหญิงจากเรื่องนี้
3.MAGIC MIRROR (2005, Manoel de
Oliveira, Portugal)
เธอเข้าชิงรางวัลดาราสมทบหญิงในเทศกาลภาพยนตร์เมโทร
มะนิลาจากหนังเรื่องนี้
4. THE GOD OF WOOD (2010, Vicente
Molina Foix, Spain)
เธอได้รับรางวัล Best Actress จากเทศกาลภาพยนตร์สเปนมะละกาจากหนังเรื่องนี้
5.PETRA (2018, Jaime Rosales, Spain)
เธอเข้าชิงรางวัล Gaudí สาขาดาราสมทบหญิงยอดเยี่ยม
RIP WOLFGANG BECKER (1954-2024)
เราเคยดูหนังที่เขากำกับแค่ 2 เรื่อง ซึ่งก็คือ
1. LIFE IS ALL YOU GET (1997) ที่เราดูแล้วเฉย ๆ เพราะเราไม่ค่อยอินกับหนังโรแมนติก
2. GOOD BYE LENIN! (2003)
อยากดู BUTTERFLIES (1988, Wolfgang
Becker) มาก ๆ เพราะหนังเรื่องนี้ชนะรางวัล GOLDEN LEOPARD จากเทศกาลภาพยนตร์ Locarno และสร้างจากบทประพันธ์ของ
Ian McEwan (ATONEMENT, THE COMFORT OF STRANGERS, THE CEMENT GARDEN)
เราตกใจมากที่เพิ่งรู้ว่า จริง ๆ แล้วมีผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อ
WOLFGANG BECKER สองคน โดย Wolfgang Becker อีกคนนั้นมีชีวิตในปี 1910-2005 และเคยกำกับหนังเรื่อง I SLEEP
WITH MY MURDERER (1970)
+++++++++
วันนี้เราเพิ่งได้ดูหนังเรื่อง THE NIGHT
DARA DIED (2024, Asamaporn Piriyapokanon, 30min, A+30) ที่คอมพิวเตอร์ในห้องสมุดของหอภาพยนตร์
ศาลายา เห็นใน ending credits มีชื่อของ Daniel
Eisenberg ในฐานะ Advisor แล้วก็ดีใจมาก ๆ
เพราะเราเคยดูหนังเรื่อง SOMETHING MORE THAN NIGHT (2003, Daniel
Eisenberg, 72min) ตอนที่หนังเรื่องนี้มาฉายที่สวนลุมพินีในเทศกาลภาพยนตร์ทดลองกรุงเทพครั้งที่
4 ในวันที่ 25 ธ.ค. 2005 หรือเมื่อ 19 ปีมาแล้ว เราชอบ SOMETHING MORE THAN
NIGHT มาก ๆ จนยกให้หนังเรื่องนี้ติดอันดับ 7 ประจำปีของเราไปเลย (เป็นอันดับหนังสุดโปรดของเราประจำปี
2006 ที่รวมหนังที่เราได้ดูในช่วงปลายปี 2005 ไว้ด้วย)
ก่อนหน้านั้น Daniel Eisenberg ก็เคยมีหนังเรื่อง PERSISTENCE (1997, 86min) มาฉายในเทศกาลภาพยนตร์ทดลองกรุงเทพครั้งที่
2 ในช่วงปลายปี 1999 ด้วย โดยมาฉายในรูปแบบฟิล์ม 16 มม. และฉายที่สมาคมฝรั่งเศส
ถนนสาทรใต้ แต่เราพลาด ไม่ได้ไปดูหนังเรื่องนี้ ส่วนเพื่อนของเราที่ได้ไปดู
PERSISTENCE ในเทศกาลนี้สรรเสริญเยินยอหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงสุดขีดมาก
หนังเรื่อง PERSISTENCE ก็เลยกลายเป็นตราบาปในใจเราตลอด 25
ปีที่ผ่านมา และเป็นบทเรียนสอนใจเราว่า ถ้าหากคุณพลาดดูหนังบางเรื่องใน
“เทศกาลภาพยนตร์ทดลองกรุงเทพ” คุณก็อาจจะพลาดมันไปเลยตลอดชีวิตก็ได้
หรืออาจจะหามันมาดูไม่ได้อีกเลยในช่วงเวลา 25 ปีต่อมา เหมือนอย่างเช่นในกรณีของ PERSISTENCE (มันมีใน PRIME VIDEO แต่ดูในไทยไม่ได้)
ส่วนตัวหนัง THE NIGHT DARA DIED นั้น เราชอบสุดขีดมาก เพราะว่า
1. เราว่าหนังเรื่องนี้มีลักษณะบางอย่างที่ไม่เหมือนหนังสั้นไทยโดยทั่ว
ๆ ไป แต่บอกไม่ถูกเหมือนกันว่ามันคือลักษณะอะไร แต่เหมือนกับว่าหนังสั้นไทยโดยทั่ว
ๆ ไปไม่ได้ออกมาเป็นแบบนี้น่ะ
2. ชอบตัวละครนางเอกมาก ๆ ในฐานะ “ตัวละคร” นะ
ไม่ใช่ในฐานะที่เราอยากเป็นเพื่อนกับคนแบบนี้ในชีวิตจริง 55555
คือนึกถึงตัวละครประเภทนางเอกของ THE GREEN RAY (1986, Éric Rohmer) หรือตัวละครนางเอกหนังฝรั่งเศสหลาย ๆ เรื่องน่ะ ที่ตัวละครมันเป็น
“มนุษย์” มาก ๆ มีความเผ็ด มีฤทธิ์เดช
และอาจจะมีข้อเสียหรือความไม่น่ารักในตัวเองสูงมาก คือเวลาที่เราดูหนังแบบนี้
เราจะชื่นชอบ “ความเป็นมนุษย์” ของตัวละครในหนังมาก ๆ และมันเป็นมนุษย์ปุถุชนที่มีข้อบกพร่องในตัวเองเยอะมากจนเราเข็ดขยาดถ้าหากเราเจอคนแบบนี้ในชีวิตจริง
55555
คือถ้าหากเป็นตัวละครชาย ก็เปรียบเทียบได้ง่าย ๆ
เลยว่า นึกถึงพวกผู้ชายในหนังของ John Cassavetes นะ ตัวละครชายที่
“มีความเป็นมนุษย์” สูงมาก
จนเราทึ่งในความสามารถของผู้สร้างภาพยนตร์ที่ปั้นตัวละครแบบนี้ออกมาได้
แต่ตัวละครชายในหนังของ John Cassavetes ก็เป็นคนที่เราไม่อยากคบหาในชีวิตจริงเช่นกัน
55555
3. ในแง่นึงเรารู้สึกว่า THE NIGHT DARA
DIED คือ “เหรียญอีกด้าน” ของ JEANNE DIELMAN, 23, QUAI DU
COMMERCE, 1080 BRUXELLES (1975, Chantal Akerman, Belgium) โดยไม่ได้ตั้งใจ
55555
คือเรารู้สึกว่า
หนังทั้งสองเรื่องนี้เหมือนจะนำเสนอ “ชีวิตประจำวัน” ของผู้หญิงสองคนเหมือน ๆ
กันน่ะ
และนำเสนอกิจวัตรประจำวันที่ดูเหมือนไม่มีความสลักสำคัญอะไรของชีวิตนางเอกไปเรื่อย
ๆ จนกระทั่งถึงจุดพลิกผันบางอย่างที่ทำให้นางเอกในหนังทั้งสองเรื่องไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันในวันนั้นตามแผนได้
55555 โดยในกรณีของ THE NIGHT DARA DIED ก็คือการที่นางเอกลืม
ID card ส่วนกรณีของ Jeanne Dielman นั้นก็คือการต้มมันฝรั่งนานเกินไป
หรือไม่ก็อะไรสักอย่างที่กระทบจิตใจ Jeanne Dielman จนส่งผลให้เธอเริ่มใจลอย
และส่งผลให้เธอต้มมันฝรั่งนานเกินไป และส่งผลให้เธอทำอะไรอื่น ๆ
ผิดไปจากกิจวัตรประจำวันของเธอด้วย
ซึ่งถึงแม้ THE NIGHT DARA
DIED กับ JEANNE DIELMAN จะมีอะไรพ้องกันบางอย่างในข้างต้น
แต่เราก็รู้สึกว่าหนังสองเรื่องนี้เหมือนเป็นเหรียญคนละด้านกัน
เพราะตัวละครนางเอกของ THE NIGHT DARA DIED มีลักษณะตรงข้ามกับ
JEANNE DIELMAN โดยสิ้นเชิง อย่างเช่น
3.1 ทั้งสองเหมือนเป็นตัวแทนภาพลักษณ์ของ
“ผู้หญิง” ในยุคสมัยที่ห่างจากกันอย่างน้อย 50 ปี โดยตัวละคร Jeanne
Dielman นั้นทำให้เรานึกถึง “แม่บ้าน” ในทศวรรษ 1950
ถึงแม้หนังจะออกมาในทศวรรษ 1970 ส่วน “ดารา” ใน THE NIGHT DARA DIED นั้น คือผู้หญิงทศวรรษนี้ ที่เน้นการสร้างภาพลักษณ์ของตนเองทาง social
media ให้ดูดีตลอดเวลา
3.2 “ดารา” เป็นสาวโสดวัย 20
กว่าปีที่อาศัยอยู่กับพ่อ ส่วน Jeanne Dielman เป็น
single mom ที่อาศัยอยู่กับลูกชาย
3.3 สิ่งที่
Jeanne Dielman ทำเกือบตลอดทั้งเรื่อง คือ “การทำงาน” ส่วนสิ่งที่
“ดารา” ทำเป็นส่วนใหญ่ คือการหาความสุขในแบบของตนเองไปเรื่อย ๆ
3.4 เหมือน Jeanne Dielman จะมีปัญหาเรื่องการเงิน ส่วน “ดารา” เหมือนจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการเงิน
ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิดนะ
3.5 Jeanne Dielman ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในบ้าน
เหมือน “ชีวิต” ของเธอคือเวลาที่เธออยู่ในบ้าน
(เพราะบ้านก็เป็นสถานที่ทำงานของเธอด้วย) แต่ในส่วนของ “ดารา” นั้น
ช่วงเวลาที่ทำให้เธอรู้สึก “มีชีวิตชีวา” จริง ๆ
เหมือนจะเป็นเวลาที่เธออยู่นอกบ้าน
3.6
และเนื่องจากสไตล์การใช้ชีวิตของนางเอกหนังสองเรื่องนี้
แตกต่างจากกันอย่างสิ้นเชิง สไตล์การถ่ายของหนังสองเรื่องนี้ก็เลยตรงข้ามกันไปด้วย
เพราะ JEANNE DIELMAN เน้นการตั้งกล้องนิ่ง static
long take ซึ่งก็สะท้อนความซ้ำซากจำเจของชีวิตนางเอกหรือผู้หญิงยุคนั้นได้เป็นอย่างดี
ส่วนสไตล์การถ่ายของ DARA เป็นกล้อง handheld ตามติดตัวละครนางเอก มีการตัดสลับฉับไว ซึ่งก็สะท้อนสไตล์การใช้ชีวิตแบบปรู๊ดปร๊าดของตัวละคร
“ดารา” และหญิงสาวยุคนี้ได้เป็นอย่างดี
4. ส่วนฉากที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ คือฉากการกรอกน้ำก๊อกใส่กระป๋องเบียร์
ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด คือเราชอบที่ “ดารา” เหมือนพยายามสร้างภาพลักษณ์ของตัวเองตลอดเวลา
ทั้งการถ่ายรูปลง social media อยู่เสมอ, การหมกมุ่นกับเครื่องแต่งกาย
และการสร้างภาพลักษณ์ของตัวเองให้ดูเป็นสาวเปรี้ยวดื่มเหล้าในผับบาร์
ซึ่งสิ่งที่เธอทำก็เหมือนล้อไปกับชื่อ “ดารา” ของเธอด้วย
ในแง่หนึ่งตรงจุดนี้ก็ทำให้นึกถึง JEANNE
DIELMAN ด้วย เพราะถึงแม้ JEANNE DIELMAN จะไม่ได้หมกมุ่นกับการสร้างภาพลักษณ์ของตัวเอง
แต่เหมือนเรารู้สึกว่า ในขณะที่เราได้เห็นตัวละคร Jeanne Dielman ทำอะไรต่าง ๆ เป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง หนังกลับไม่ได้บอกเราตรง ๆ ถึง “สิ่งที่อยู่ในใจของนางเอก”
เหมือนเราได้เห็น Jeanne Dielman ทำอะไรมากมาย แต่ผู้ชมต้องจินตนาการเอาเองว่า
นางเอกคิดอะไรและจิตวิญญาณของนางเอกเป็นอย่างไรกันแน่
ในส่วนของ THE NIGHT DARA DIED นั้น เราก็รู้สึกคล้าย ๆ กัน เราได้เห็นกิจวัตรต่าง ๆ มากมายของ “ดารา”
ในหนังเรื่องนี้ เราได้เห็น “เปลือกนอก” ที่เธอพยายามสร้างให้คนอื่น ๆ
เห็นตลอดเวลา แต่เหมือนหนังก็ไม่ได้บอกตรงๆ ว่า “แก่นแท้” หรือ “จิตวิญญาณ” ของ “ดารา”
เป็นอย่างไร มันมีความเหงา, ความเปล่าเปลี่ยว, ความว่างโหวง, ความไร้ราก, etc. อะไรซ่อนอยู่ข้างในไหม
ซึ่งเราก็ชอบหนังทั้งสองเรื่องนี้ตรงจุดนี้มาก
เหมือนหนังทั้งสองเรื่องนี้เปิดโอกาสให้เราได้เห็นชีวิตมนุษย์บางคนอย่างละเอียด
แต่ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกว่า “มนุษย์” เป็นอะไรที่เข้าใจได้ง่าย ๆ เลยแม้แต่นิดเดียว
หนังเรื่องนี้น่าจะเป็นหนังเรื่องที่ 4 ของคุณ Asamaporn
Piriyapokanon ที่เราได้ดู ต่อจาก THE ROTTEN LAND (2019,
documentary, 43min, A+30), RIGHT BEFORE YOUR EYES (2021, 43min, A+30) และ COMING THRO THE RYE (2023, 7min, A+30)
++++++++
STUFFED TOFU (2023, Feisal Azizuddin, Malaysia, 8min, A+15)
ดูจบแล้วงง ว่าตกลงมันเกิดอะไรขึ้น
มันมีสัญญะอะไรซ่อนอยู่หรือเปล่า หรือหนังเรื่องนี้ต้องการจะบอกอะไรกันแน่
BUGS (2022, Gwai Lou, Malaysia, 14min, A+30)
ชอบสุดขีด เป็นหนัง feel bad ที่ดูแล้วหายใจไม่ทั่วท้อง นึกถึงหนังเรื่อง “เหยื่อ” VICTIM
(1987, Chana Kraprayoon) เพียงแต่ว่า BUGS เป็นการปรับเปลี่ยนบริบทมาเป็นยุคสมัยปัจจุบัน
ยุคของ LIVE STREAMING และ social media
GAREK (2024, Cech Adrea, Malaysia, 5min, A+15)
เหมือนหนังมันสั้นไป พอยิงประเด็น dilemma
แล้วก็จบเลย เป็นการปะทะกันระหว่างหญิงสาวที่อาจจะทำตัวเสรีจนเกินไป
กับเด็กหญิงที่อาจจะเชื่อฟังประเพณีมากเกินไป เหมือนเอาตัวละครที่ too
liberal กับตัวละครที่ too conservative มาปะทะกัน
แล้วก็จบ
PHONE CALL MAN WOMAN (2023, Lim Kean Hian, Malaysia, 11min,
A+30)
นางเอกแรงมาก นึกว่าต้องฉายควบกับ LOVE
LIES (2024, Ho Miu-Kei, Hong Kong, A+30) ในประเด็น “ความรักคือธุรกิจ”
DURIAN TREES (2023, Cheun Shi Chin, Malaysia, 25min, A+30)
เดี๋ยววันหลังเราจะเอาชื่อหนังเรื่องนี้ไปแปะในรายชื่อหนังกลุ่ม
“หนังที่มีอะไรบางอย่างพ้องกัน แล้วออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกันโดยไม่ได้ตั้งใจ” ด้วย
เพราะหนังเรื่องนี้นึกว่าเป็นคู่แฝด เป็น doppelganger ของหนังเรื่อง
THE PARADISE OF THORNS วิมานหนาม (2024, Naruebet
Kuno) เพราะหนังทั้งสองเรื่องพูดถึงการต่อสู้อย่างเอาเป็นเอาตายสุดชีวิตเพื่อแย่งชิง
“กรรมสิทธิ์ในที่ดินสวนทุเรียน” เหมือนกัน และตัวละครเอกในหนังทั้งสองเรื่องก็ถูกโหมกระหน่ำด้วย
“เพลิงแค้น” เหมือนกัน เพียงแต่ว่าในกรณีของ DURIAN TREES นั้น
พระเอกเป็น “ชาวสวนวัยชรา” และเขาต้องฟาดฟันกับ “นายทุน + อำนาจรัฐ”
DROPPING ASHES (2023, Phang Jing Xian, Malaysia, 11min,
A+15)
หนังเกี่ยวกับวิญญาณชายหนุ่มที่กลับมาหาพ่อแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่
หนังให้อารมณ์ซึ้งๆ มากเกินไปหน่อยสำหรับเรา
SAYANG (2021, Roanne Woo, Malaysia, 16min, A+25)
หนัง SCI-FI ที่พูดถึงประเด็นที่น่าสนใจ
นั่นก็คือโลกอนาคตที่เต็มไปด้วยมลพิษ จนคนต้องซื้อ+ใส่หน้ากาก OXYGEN ตลอดเวลา ซึ่งนั่นก็เปิดโอกาสให้คนรวยสามารถเข้าถึง OXYGEN ได้มากกว่าคนจนด้วย ซึ่งเราชอบประเด็นนี้ เพราะนึกถึงวิกฤติ PM 2.5
ในไทย ที่คนรวยก็สามารถพึ่งพา “เครื่องฟอกอากาศ” ได้มากกว่าคนจน
แต่หนังเรื่องนี้ไม่ได้พูดถึงประเด็นนี้ประเด็นเดียว
แต่มีการจินตนาการถึงอุปกรณ์หลอนจิตในโลกอนาคตด้วย ซึ่งก็น่าสนใจดีเหมือนกัน
+++++++++
ในบรรดา OSCAR SHORTLIST FOREIGN
LANGUAGE FILMS 15 เรื่อง เราได้ดูไปเพียงแค่ 6 เรื่อง ซึ่งก็ชอบสุด
ๆ ในระดับ A+30 ทั้ง 6 เรื่อง โดยเรียงตามลำดับความชอบส่วนตัวได้ดังนี้
1. UNIVERSAL LANGUAGE (2024, Matthew Rankin, Canada, 89min)
2. FLOW (2024, Gints Zilbalodis, Latvia, animation)
3. VERMIGLIO (2024, Maura Delpero, Italy, 119min)
4. DAHOMEY (2024, Mati Diop, France/Senegal/Benin,
documentary, 68min)
5. HOW TO MAKE MILLIONS BEFORE GRANDMA DIES (2024, Pat
Boonnitipat, Thailand)
6. SANTOSH (2024, Sandhya Suri, India, 120min)
ก็หวังว่าเราจะได้ดูหนังอีก 9 เรื่องที่เหลือในช่องทางใดช่องทางหนึ่งในอนาคตนะคะ
โดยส่วนตัวแล้วเราชอบ UNIVERSAL LANGUAGE มากที่สุด
แต่หนังเรื่องนี้จะได้เข้าชิงออสการ์หรือชนะออสการ์หรือไม่ เราก็ไม่ได้แคร์อะไร
5555 เหมือนเราแคร์แค่ความชอบของตัวเราเองเท่านั้น ส่วนตัวหนัง UNIVERSAL
LANGUAGE มันจะได้รางวัลหรือไม่ หรือคนอื่น ๆ จะชอบจะเกลียดมันอะไรยังไง
เราก็ไม่ได้สนใจอะไร คือถ้าหากมีคนอื่นๆ เขียนชม UNIVERSAL LANGUAGE เราก็ดีใจ และคงแชร์สิ่งที่คนนั้นเขียน แต่ถ้าหาก UNIVERSAL
LANGUAGE ไม่ได้เข้าชิงออสการ์ เราก็เฉย ๆ ไม่ได้เสียใจอะไร จบ
No comments:
Post a Comment