Monday, January 20, 2025

SIMILAR DISGUISE

 

SIMILAR DISGUISE (2020, Tao Hui, China, 8min, A+30)

 

ดูได้ที่ลิงค์นี้เป็นวันสุดท้าย

https://www.e-flux.com/film/633918/similar-disguise/

 

เห็นเขาบอกว่า “ภาพยนตร์แนวตั้ง” เป็นสิ่งที่กำลังมาแรงในทศวรรษนี้ และภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คงเป็นตัวอย่างหนึ่งของกระแสนี้

 

เข้าใจว่า SIMILAR DISGUISE จริง ๆ แล้วคงเป็นการล้อเลียน “ภาพยนตร์แนวตั้ง” หรือ “ละครแนวตั้ง” หลาย ๆ เรื่องของจีน แต่เนื่องจากเราเองก็ไม่ได้ติดตามภาพยนตร์แนวตั้งของจีน เราก็เลยไม่ได้เข้าใจทั้งหมดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องการจะล้อเลียนสิ่งใดบ้าง แต่ดูแล้วก็ชอบมาก ๆ เพราะหลาย ๆ ส่วนของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ทำให้นึกถึง cliche ของหนังจีนกำลังภายใน หรือ cliche ของละครทีวีของฮ่องกงหลาย ๆ เรื่องที่เราเคยดูตอนเด็ก ๆ

 

การหลอมรวม “หนังจีนกำลังภายใน” กับ “ชีวิตคนในยุคปัจจุบัน” เข้าด้วยกันในภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ๆ

+++++++++

Favorite Character: Lady Raven (Saleka Shyamalan) in TRAP (2024, M. Night Shyamalan, A+30)

 

เราได้ดู TRAP ในวันที่ 3 ส.ค. 2024 หรือเมื่อ 5 เดือนที่แล้ว และพอเวลาผ่านมานาน 5 เดือน เราก็พบว่า สิ่งที่ยังค้างคาอยู่ในใจเรา ก็คือเราชอบตัวละคร Lady Raven มาก ๆ

 

เราชอบ TRAP ครึ่งหลังมากกว่าครี่งแรก เพราะจริง ๆ แล้วเราไม่ได้อินกับตัวละครของ Josh Hartnett เพราะฉะนั้นเราก็เลยไม่ได้รู้สึกว่า “ตัวเองตกอยู่ในอันตราย” ในช่วงครึ่งแรกของหนัง

 

แต่พอตัวละครของ Lady Raven เลือกที่จะกระโจนเข้าสู่อันตรายด้วยตัวเอง เราก็เลยรักตัวละครตัวนี้อย่างสุด ๆ อินกับเธอมาก ๆ เราก็เลยชอบครึ่งหลังของ TRAP มาก ๆ

 

เราเคยเขียนถึง TRAP ไว้แล้วนิดหน่อยที่นี่

https://web.facebook.com/jit.phokaew/posts/pfbid028kgEbLhmBciay7jCqFpUP92iMJCyHQzUouThbyTxFKCBdE3JY9VV2dLFjqoJfGcml

 

รู้สึกว่ามันน่าสนใจดี ที่ความรู้สึกตอนดูจบใหม่ ๆ จะเป็นแบบนึง และความรู้สึกหลังจากดูหนังจบไปแล้วนานหลาย ๆ เดือน จะเป็นอีกแบบนึง เหมือนพอเราดูหนังจบไปแล้วนานหลาย ๆ เดือน เราถึงจะค่อยรู้ตัวว่า อะไรในหนังเรื่องนั้นที่มัน long-lasting impact กับเราจริง ๆ

 

แต่ก็ยังรู้สึกเช่นเดียวกับตอนดูหนังจบใหม่ๆ นะว่า เราชอบ TRAP น้อยกว่า LONGLEGS, PEARL และ MAXXXINE เพียงแต่ว่าตอนที่ดูจบใหม่ๆ เราจะยังไม่รู้ตัวในทันทีว่า เรารักตัวละคร Lady Raven มากขนาดนี้

+++++++++++

เพิ่งได้อ่านเรื่องของ “เจ้าอุบลวรรณา” (1842-1884) ใน wikipedia ชอบมาก ๆ นึกว่าต้องดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์ ชอบตัวละครหญิงแบบนี้อย่างสุดขีด

 

1. ในวิกิพีเดียบอกว่า เจ้าอุบลวรรณามีสามี 6 คน

 

2. เจ้าอุบลวรรณาเป็นสุภาพสตรีที่เพียบพร้อมไปด้วยจรรยามารยาท มีชั้นเชิงด้านธุรกิจ แต่มีเรื่องอื้อฉาวด้านคู่ครอง เธอโต้ตอบท้าทายเจ้าราชบุตรว่าตนมีเสรีภาพในการเลือกคู่ครองหรือคบหากับใครก็ได้ จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์

 

3.เจ้าอุบลวรรณาสมรสครั้งแรกกับเจ้ามหาวงศ์ ณ เชียงใหม่

 

4.  เจ้าอุบลวรรณามีบุตรชื่อ เจ้าสุขเกษม ฮัลเลตได้บันทึกอีกว่าบิดาของเจ้าสุขเกษมเป็นเพียงสามัญชนไม่มีเชื้อเจ้าจึงไม่เป็นที่ยอมรับของพระชายาพระเจ้าเชียงใหม่ (คือ เจ้าเทพไกรสร) เท่าใด

 

5.เจ้าอุบลวรรณาสมรสกับเจ้าราชบุตร (หนานดวงคำ ณ ลำปาง)

 

6.นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับพระยาปาจิน ขุนนางในกรุงเทพมหานคร

 

7.เจ้าอุบลวรรณาสมรสอย่างลับ ๆ กับพ่อค้าไม้สักชาวพม่าซึ่งเป็นคนในบังคับอังกฤษผู้หนึ่ง แต่พระประยูรญาติใช้กฎเหล็กแห่งฐานันดรศักดิ์กีดกันทั้งสอง

 

8. ต่อมาเจ้าอุบลวรรณาก็ทรงสมัครรักใคร่กับพ่อค้าพม่าสามัญชนอีกคนหนึ่ง ชื่อหม่องบอง แต่เมื่อนัดพบกันในคืนเดือนมืด พม่าผู้นั้นก็ถูกวิสามัญฆาตกรรมเสียก่อน เจ้าอุบลวรรณาเสียใจมากและได้สืบหาฆาตกรอยู่หลายปี

 

9. มาเรียน อาลอนโซ ชีก หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน สหายคนสนิทของเจ้าอุบลวรรณาระบุว่า นางเสียชีวิตด้วยยาพิษ แต่มิได้ระบุว่าถูกลอบสังหารหรืออัตวินิบาตกรร

 

10. เจ้าอุบลวรรณาเป็นพระมารดาของเจ้ากรรณนิกา ณ เชียงใหม่ ส่วนเจ้ากรรณนิกาก็เป็นพระมารดาของเจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ ส่วนเจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ ก็เป็นพระบิดาของเจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ ที่ทุกคนรู้จักกันดี ก็เลยสรุปได้ว่า เจ้าอุบลวรรณาเป็นทวดของเจ้ากอแก้วประกายกาวิล

 

ข้อมูลทุกอย่างมาจากวิกิพีเดียนะ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน 55555

 

+++++++

 

ชอบสุดขีดที่งาน BANGKOK ART BIENNALE ครั้งนี้ มีตู้กาชาปองเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการด้วย เราก็เลยลองเล่นดู ปรากฏว่าพอเปิดไข่ออกมา เราได้ “พระยาสุรสีห์แห่งศิวโมก” เป็นผลงานของ Komkrit Tepthian

++++

 

วิธีการแต่งหน้าสำหรับคนแก้มตอบ

 

จากรายการ FASH SHOW ที่เคยออกอากาศทางช่อง 3 ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ดำเนินรายการโดยคุณริสา หงษ์หิรัญ และคุณตุ้ม

https://web.facebook.com/jit.phokaew/videos/1286209549263851

++++++++++++

 

AN IMAGINARY FILM

 

อยากให้มีหนังที่ IRON PUSSY (Michael Shaowanasai) จากไทย, Ponlork จากกัมพูชา และ La Ricarda จาก Colombia มาปะทะกัน และร่วมมือกันปราบเหล่าร้ายแบบ CHARLIE’S ANGELS

 

La Ricarda
https://www.instagram.com/p/DEil5dPSzcB/

 

+++++++++

 

ONLY IN CARNIVAL (1982, Eunice Gutman, Regina Veiga, Brazil, documentary, 12min, A+30)

 

สารคดีที่นำเสนอภาพงานคาร์นิวัลในบราซิลในปี 1982 ซึ่งเป็นงานที่ straight men หลายคนถือโอกาสแต่งตัวเป็นผู้หญิง โดยที่ภรรยาของพวกเขาช่วยแต่งตัวให้ และกะเทยหลายคนก็แต่งตัวเป็นผู้หญิงอย่างเต็มที่ในงานนี้ แต่บทสัมภาษณ์ของหลาย ๆ คนในงานนี้ก็แสดงให้เห็นถึงอคติทางเพศหรือความเข้าใจผิดทางเพศที่ยังคงมีอยู่ในสังคมบราซิลในยุคนั้น

 

สารคดีเรื่องนี้แสดงให้เห็นอีกด้วยว่า การแต่งตัวข้ามเพศในงานคาร์นิวัลแบบนี้มีมานานกว่า 100 ปีแล้ว

 

ดูทาง e flux

 

LA COCCINELLE: NEAPOLITAN TRANSSEXUAL MELODRAMA (2011, Emanuela Pirelli, Italy, documentary, 59min, A+30)

 

สารคดีเกี่ยวกับกะเทยรุ่นบุกเบิกแห่งเมืองเนเปิลส์ในอิตาลี พวกเธอเคยทำงานเป็นโสเภณีด้วย กะเทยคนแรกของเมืองนี้หนีออกจากบ้านตั้งแต่อายุ 12 ขวบเพราะความเป็นกะเทย

 

ชอบเรื่องราวของกะเทยคนหนึ่งมาก ๆ เธอเล่าในช่วงที่เธอทำงานเป็นโสเภณีนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เธอยากจนมาก และเธอไม่มีเงินซื้อฟืนมาก่อไฟไล่ความหนาวเหน็บ ตำรวจหนุ่มคนหนึ่งก็เลยขนฟืนมาให้เธอ

 

ดูทาง e flux 

 

No comments: