Wednesday, February 12, 2025

FLAT GIRLS (2025, Jirassaya Wongsutin, A+30)

 

FLAT GIRLS (2025, Jirassaya Wongsutin, A+30)

ชั้นห่างระหว่างเรา

 

เราเน้นเขียนเกี่ยวกับชีวิตตัวเองเป็นหลักนะ ไม่เน้นเขียนถึงหนังเรื่องนี้แต่อย่างใด 55555

 

SERIOUS SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

 

1. ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ อยากให้ตัวละครในหนังเรื่องนี้มาปะทะกับนางเอกของหนังเรื่อง OTHERS FROM NOW ON (อื่น ๆ นับจากนี้) (2024, Tanadol Sodsri, A+30) เพราะเราชอบความ “อับจนหนทางไป” ของตัวละครหญิงในหนังทั้งสองเรื่องมาก ๆ

 

แต่เราก็ยอมรับว่า เราไม่ได้รู้สึก “อิน” กับหนังเรื่องนี้มากเท่าที่เราคาดไว้ก่อนเข้าไปดูนะ ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิดของหนังเรื่องนี้เลยแม้แต่นิดเดียว โดยเราเดาว่าสาเหตุที่เราไม่ได้รู้สึกอินมากนักอาจจะเป็นเพราะ

 

1.1 ประสบการณ์ชีวิตของเราไม่ได้คล้ายกับตัวละครในเรื่องมากนัก คือก็มีหลาย ๆ จุดในหนังที่ทำให้นึกถึงประสบการณ์ชีวิตของตัวเอง แต่ก็มีหลายจุดที่แตกต่างจากชีวิตเราอย่างรุนแรง ซึ่งเราจะเขียนถึงในข้อต่อ ๆ ไป

 

1.2 เพศสภาพของเรา เพราะพอเราเป็นเกย์ที่เงี่ยนผู้ชายมาก ๆ เราก็จะไม่ได้อินกับการดูความสัมพันธ์หญิง-หญิงในหนังเรื่องนี้มากนัก แต่ “ไม่อิน” ไม่ได้แปลว่า ไม่ชอบหนังนะ คือเราชอบหนังเรื่องนี้ด้วยสาเหตุอื่น ๆ แต่ไม่ได้ชอบเพราะ “รู้สึกอิน”

 

1.3 เราว่าหนังจงใจอยู่แล้วด้วยแหละที่รักษาระยะห่างระหว่างคนดูกับตัวละคร โดยเฉพาะการทำให้คนดูรู้สึกงง ๆ กับชีวิตและการตัดสินใจของตัวละครในช่วงท้าย ๆ โดยเฉพาะการตัดสินใจของ “แอน” คือเหมือนหนังก็อาจจะตั้งใจอยู่แล้วด้วยแหละที่จะไม่ได้ให้คนดูรู้สึกอินกับตัวละครนำในหนังมากนัก

 

เพราะฉะนั้นถ้าหากพูดกันตามจริงแล้ว ถึงแม้เราจะชอบ FLAT GIRLS มาก ๆ แต่เราก็ไม่ได้อินกับมันอย่างรุนแรงสุดขีดเหมือนอย่างหนังไทยเกี่ยวกับวัยรุ่นหญิง 2 เรื่องที่เราได้ดูในปีที่แล้ว ซึ่งก็คือ OTHERS FROM NOW ON กับ “กะจั๊วมีปีก” (2022, Wairun Akarawinake, 60min, A+30) คือเราดู OTHERS FROM NOW ON กับ “กะจั๊วมีปีก” แล้วเราร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรงมาก ๆ ร้องไห้แบบไม่ทราบชีวิตอะไรอีกต่อไป ซึ่งนางเอกของหนังทั้งสองเรื่องนี้ก็เป็น “เด็กสาววัยมัธยมที่มีปัญหากับเพื่อนและครอบครัว” เหมือนอย่างนางเอก FLAT GIRLS

 

เราก็เลยถามตัวเองว่า หนัง 3 เรื่องนี้มันมีข้อแตกต่างที่สำคัญกันอย่างไร ทำไมเราถึงอินกับ OTHERS FROM NOW ON และ “กะจั๊วมีปีก” อย่างรุนแรงสุดขีด แต่ไม่อินกับ FLAT GIRLS และเราก็เลยได้คำตอบว่า มันเป็นเพราะนางเอกของ OTHERS FROM NOW ON และ “กะจั๊วมีปีก” นั้น เป็น “คนที่ผู้ชายไม่เอา” น่ะ คือนางเอกของหนังทั้งสองเรื่องนี้หลงรักชายหนุ่ม แต่ชายหนุ่มคนนั้นไม่ได้รักเธอตอบ นางเอกของหนังทั้งสองเรื่องนี้ก็เลยอกหัก ชอกช้ำ และเจ็บปวดหัวใจอย่างรุนแรงมาก

 

“การที่ผู้ชายไม่เอา” นี่แหละ ก็เลยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราอินกับ OTHERS FROM NOW ON และ “กะจั๊วมีปีก” อย่างรุนแรง เพราะนี่แหละคือ “นิยามชีวิตของเราในวัยมัธยม” 55555

 

2. ถึงเราไม่ได้อินกับหนังอย่างรุนแรง แต่ก็ชอบที่หนังเรื่องนี้นำพาเราไปสัมผัส“สภาพการใช้ชีวิตในแฟลตตำรวจ” ได้อย่างถึงขั้นมาก ๆ  และนำพาเราไปสัมผัสชีวิตคนกลุ่มหนึ่งที่อาจจะมีส่วนคล้ายเราบ้าง และแตกต่างจากเราบ้าง เราว่าตัวละครในหนังมันดูจริงมาก ๆ และเป็นมนุษย์มาก ๆ และหนังเรื่องนี้อาจจะแคร์ความเป็นมนุษย์ของตัวละครมากกว่าแคร์ “การบีบให้ตัวละครเป็นเครื่องมือในการส่งสารทางสังคม” และ “การบีบให้ตัวละครกระตุ้นอารมณ์ผู้ชมตามแบบแผนสำเร็จรูป” อะไรทำนองนี้

 

คือดูแล้วอยากให้มีคนเขียนบทความ “ตัวตน, ความใฝ่ฝัน, สภาพสังคม และการดิ้นรนของตัวละครนำหญิงใน WHERE WE BELONG, NHA HARN, BLUE AGAIN, and FLAT GIRLS” โดยเปรียบเทียบกับตัวละครนำหญิงในนิยายไทยยุคเก่า ๆ อย่างเช่นนิยายของ “โบตั๋น” เพราะเรารู้สึกว่านิยายของโบตั๋นมักจะชอบสร้างตัวละครนำหญิงเพื่อ “สะท้อนปัญหาสังคม” แต่มันมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างตัวละครนำหญิงในนิยายของโบตั๋น (ซึ่งเราก็ชอบมาก) กับตัวละครนำหญิงในหนังไทยยุคใหม่ ถึงแม้ว่ามันอาจจะสะท้อนปัญหาสังคมในแต่ละยุคของมันเองได้ดีมาก ๆ เหมือนกัน

 

คือเรารู้สึกว่า ตัวละครนำหญิงใน WHERE WE BELONG, NHA HARN, BLUE AGAIN, and FLAT GIRLS มันค่อนข้างแคร์ความเป็นมนุษย์ของตัวละครมากเป็นพิเศษน่ะ และไม่ได้เอา “การส่งสารทางสังคม” กับ “การกระตุ้นอารมณ์ผู้ชม” ไปครอบตัวละครมากเกินไปจนตัวละครสูญเสียความเป็นมนุษย์ เราก็เลยรู้สึกว่าหนังไทยกลุ่มนี้มันน่าสนใจมาก ๆ ตรงจุดนี้

 

แต่เราว่าแต่ละเรื่องในกลุ่มนี้ก็มีจุดเด่นแตกต่างกันไป เราว่า WHERE WE BELONG กับ NHA HARN นี่ทำหน้าที่ “ส่งสารทางสังคม” ได้ดีมาก ๆ พร้อมกับที่ตัวละครก็เป็นมนุษย์มาก ๆ ไปด้วย ส่วน BLUE AGAIN นี่เราว่า ตัวละครดูเป็น “มนุษย์” มากที่สุดในความเห็นของเรา

 

ส่วนหนังที่เราว่า เอา “การส่งสารทางสังคม” มาครอบตัวละครมากไปหน่อย ก็คือ REDLIFE (2023, Ekalak Klunson, A+30) ซึ่งจริง ๆ แล้วก็เป็นหนังที่เราชอบมากนะ และจุดประสงค์ของหนังก็คงเป็นการส่งสารทางสังคมอยู่แล้ว แต่เราว่ามันคงน่าสนใจดีถ้าหากมันมีการเปรียบเทียบ “วิธีการสร้างตัวละคร” ในหนังเรื่องต่าง ๆ แล้วดูว่าหนังแต่ละเรื่องจัดลำดับความสำคัญอะไรแตกต่างกันไป

 

ส่วนผู้กำกับที่เรายกให้เป็น “ขั้นเทพ” ในการสร้างตัวละครที่ได้ทั้ง “ความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์”, “การส่งสารทางสังคม” และ “การสร้างความสะเทือนใจแก่ผู้ชมอย่างรุนแรง” ได้ทั้ง 3 อย่างในเวลาเดียวกัน ก็คือ Christian Petzold โดยเฉพาะหนังอย่าง GHOSTS (2005) และ DREILEBEN: BEATS BEING DEAD (2011) และเราว่า Lino Brocka ก็สร้างตัวละครที่มีคุณสมบัติครบทั้ง 3 อย่างได้เหมือนกัน แต่อารมณ์ของ Lino Brocka อาจจะกระเดียดไปทาง melodrama แบบ “วิมานหนาม” มากกว่า

 

เพราะฉะนั้นพอเราดู FLAT GIRLS เราก็เลยรู้สึกว่า เราชอบมันในระดับเกือบมากเท่า ๆ กับ GHOSTS (2005, Christian Petzold) ที่พูดถึง “เด็กสาวสองคน” เหมือนกัน แต่ก็อาจจะชอบน้อยกว่า GHOSTS นิดหน่อยในตอนนี้ เพราะอารมณ์ของเราตอนดู FLAT GIRLS มันยังไม่พีคสุดขีดเหมือนตอนที่เราดู GHOSTS

 

 และเราว่าเราชอบ FLAT GIRLS ในระดับพอ ๆ กับหนังหลาย ๆ เรื่องของ Celine Sciamma เจ้าแม่หนังเลสเบี้ยนฝรั่งเศส 55555 คือเราชอบหนังของ Sciamma มาก ๆ นะ แต่เหมือนมันมีอะไรบางอย่างในหนังของ Sciamma ที่ไม่ได้ทำให้เรารู้สึก “พีคสุดขีด” ไปกับหนัง ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิดของ Sciamma แต่อย่างใด แต่คงเป็นเพราะ wavelength ของเรากับ Sciamma ที่อาจจะใกล้กัน แต่ไม่ได้ตรงกันซะทีเดียว

 

3. ย้อนกลับมาที่ “โบตั๋น” คือตอนที่เราดู FLAT GIRLS เรานึกถึงนิยายของโบตั๋นที่เราเคยอ่านตอนเด็ก ๆ มาก ๆ เพราะโบตั๋นชอบสร้างตัวละครที่เจอสภาพแวดล้อมแบบนี้ ชีวิตคนจนปากกัดตีนถีบ สังคมเส็งเคร็ง พ่อแม่นิสัยเหี้ย

 

เพราะฉะนั้นเราก็เลยชอบ “การหายสาบสูญ” ของแอนอย่างรุนแรงสุดขีดน่ะ เพราะเราว่ามันคือจุดสำคัญที่ทำให้หนังเรื่องนี้แตกต่างจากนิยายของโบตั๋นที่เราเคยอ่านตอนเด็ก ๆ

 

คือตอนเด็ก ๆ เราจำได้ว่า เราเคยอ่านนิยายเรื่องนึงของโบตั๋น ที่เราจำชื่อเรื่องไม่ได้แล้ว ถ้าใครจำชื่อเรื่องได้ก็บอกด้วยนะ เหมือนเป็นเรื่องของ “เด็กสาววัยรุ่น 3 คนในตลาดแห่งเดียวกัน” คนนึงยากจนมาก และต้องทำงาน “เชือดไก่” ในตลาด เพื่อขายเนื้อไก่

 

เราจำได้ว่า ในตอนจบของนิยายเรื่องนั้น พระเอกได้เข้าไปช่วยอุปการะเด็กสาวคนนี้หรืออะไรทำนองนี้ โดยพระเอกบอกว่า เด็กสาวคนนี้เป็นคนจน ไม่มีเงินเรียนต่อ แต่ถ้าหากมีใครส่งเสียให้เธอได้เรียนต่อ การที่เธอ “เชือดไก่” อย่างชำนาญมาตั้งแต่เด็ก ๆ จะส่งผลให้เธอกลายเป็น “ศัลยแพทย์” ที่เก่งกาจได้แน่ ๆ ถ้าหากมีคนช่วยออกเงินค่าเล่าเรียนให้เธอ

 

เพราะฉะนั้นพอเราดู FLAT GIRLS เราก็เลยนึกถึงนิยายเรื่องนั้นของโบตั๋นมาก ๆ เพราะมันพูดถึง “เด็กสาวจน ๆ ที่น่าจะเรียนดี ถ้าหากเธอมีเงินเรียนต่อมหาลัย” เหมือนกัน แต่ตอนจบของนิยายของโบตั๋น กับของ FLAT GIRLS มันแตกต่างจากกันอย่างรุนแรง และความแตกต่างกันนี้มันอาจจะสะท้อนสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างทศวรรษ 1980 กับทศวรรษ 2020 ได้ดีมาก

 

4. เนื่องจากเราเติบโตมากับการอ่านนิยายของ “ทมยันตี” จำนวนมากในช่วงที่เราเป็นเด็กในทศวรรษ 1980 เราก็เลยขอจดบันทึกความทรงจำของเราเองไว้ตามตรงว่า ตอนที่ดู FLAT GIRLS เรานึกถึงนิยายของทมยันตีด้วย ถึงแม้ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ไม่ได้ตั้งใจเลยก็ตาม 55555

 

คือเราว่า ตัวละคร “แอน” ในหนังเรื่องนี้ มี dignity บางอย่าง ที่ทำให้เรานึกถึงตัวละครนางเอกในนิยายหลาย ๆ เรื่องของ “ทมยันตี” น่ะ คือตัวละครนางเอกในนิยายของทมยันตีจะเป็นคนที่ “เข้มแข็ง”, “ใจเด็ดเดี่ยว” และมีการสร้าง dignity บางอย่างให้ตัวเองน่ะ ไม่ว่าตัวละครนางเอกคนนั้นจะเป็น “เมียน้อย” อย่างในนินายเรื่อง “คุณหญิงนอกทำเนียบ”, เป็น “โสเภณี” อย่างในนิยายเรื่อง “เมียน้อย”, เป็น “แม่เล้า” อย่างในนิยายเรื่อง “คลื่นชีวิต” หรือเป็นคนถ่ายภาพโป๊ แบบในนิยายเรื่อง ”โซ่สังคม” นางเอกในนิยายเหล่านี้ก็จะมีการสร้างกฎเกณฑ์บางอย่างให้ตัวเอง เพื่อรักษา dignity ในใจตัวเองเอาไว้

 

เพราะฉะนั้นการที่ แอน รับเงินจากตอง แต่พยายามปฏิเสธที่จะรับเงินจาก เจน และตัดสินใจคืนแหวนให้เจนในช่วงท้ายของหนัง มันก็เลยทำให้เรารู้สึกว่า ตัวละครแอนสร้างกฎเกณฑ์บางอย่างให้ตัวเอง และมีการรักษา dignity ในแบบของตัวเอง และเราก็เลยรู้สึกว่า ตัวละครแอน มันทำให้เรานึกถึงนางเอกในนิยายของทมยันตี หลาย ๆ เรื่อง โดยที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ตั้งใจ 55555

 

อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นึกถึง “ทมยันตี” เป็นเพราะตัวละครในหนังมันมี “ประโยคคม ๆ” แบบเดียวกับในนิยายของทมยันตีด้วยแหละ โดยใน FLAT GIRLS นั้น มันมีประโยคที่ตัวละครพูดในทำนองที่ว่า “ถ้าหากเราหลับตาตอนที่เรือหันหัวกลับ เราก็จะได้ไม่รู้สึกว่าเรือมันหันหัวกลับมาตามทางเดิมแล้ว เราจะยังคงรู้สึกว่าเรือมันยังคงแล่นไปเรื่อย ๆ” หรืออะไรทำนองนี้

 

ซึ่งการมีประโยคคม ๆ แบบนี้ก็เลยทำให้เรานึกถึงนิยายเรื่อง “เมียน้อย” ของทมยันตีโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะใน เมียน้อย (หรือในนิยายเรื่องไหนสักเรื่องของทมยันตี) มันมีบทสนทนาระหว่างนางเอกกับตัวละครเพื่อนกะหรี่สาวคนนึงมั้ง ที่กะหรี่สาวคนนึงที่หมดกำลังใจในการพัฒนาชีวิตตัวเองพูดว่า “เราจะพยายามหนีตัวเองไปทำไม เพราะโลกมันกลม เราพยายามวิ่งหนีตัวเองไปมากเท่าไหร่ เราก็จะวิ่งกลับมาอยู่ที่จุดเดิมอยู่ดี” แล้วนางเอกก็ตอบในทำนองที่ว่า “ถึงโลกมันกลม เราก็เลือกลากจุดวิ่งที่มันไกลที่สุดดูสิ ลากจุดวิ่งในแบบที่ว่า ต่อให้เราวิ่งจนเหนื่อยตายแค่ไหน เราก็ไม่มีทางได้กลับมาอยู่จุดเดิมได้อยู่ดี”

 

คือเราชอบมาก ๆ ที่บทสนทนาของกะหรี่สาวสองคนออกมาในแง่ปรัชญา และการอุปมาอุปไมยได้หนักขนาดนี้ คือถ้าคุณวิ่งรอบโลก แต่ไปวิ่งที่ขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้ คุณก็วิ่งกลับมาอยู่ที่จุดเดิมได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าคุณวิ่งรอบโลก แต่ไปวิ่งที่เส้นศูนย์สูตร คุณก็จะไม่มีทางได้วิ่งกลับมาอยู่ที่จุดเดิม

 

เราก็เลยรู้สึกว่า ประโยคคม ๆ ใน FLAT GIRLS มันทำให้นึกถึงประโยคคม ๆ ในนิยายของทมยันตีโดยไม่ได้ตั้งใจ มันเหมือนเป็นประโยคที่พูดโดย “หญิงสาวที่พยายามรับมือกับความอับจนของชีวิต” คล้าย ๆ กัน

 

5. ชอบ “ฉากขนตา” ในหนังมาก ๆ คือเราอายุ 51 ปีแล้ว แต่ก็ไม่เคยเจอฉากอะไรแบบนี้มาก่อน รู้สึกว่ามัน original มาก ๆ

 

6. แต่จุดที่เราชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ ก็คือการเลือกจบแบบที่ให้แอน NOT RECONCILED กับครอบครัวนี่แหละ

 

คือเราไม่รู้ว่า แอนฆ่าตัวตาย หรือแค่ทิ้งครอบครัวไปตั้งต้นชีวิตใหม่นะ แต่ไม่ว่าแอนจะเลือกเส้นทางไหน มันก็เห็นได้ชัดว่า แอนเลือกที่จะ NOT RECONCILED กับครอบครัวตัวเอง

 

ซึ่งเรากราบทางเลือกของตัวละครแบบนี้มาก ๆ เพราะเอาจริงแล้วเราก็อินมาก ๆ กับจุดนี้

 

อย่างที่เราเคยเขียนไปแล้วหลายร้อยครั้งว่า ปัญหาหนึ่งที่เรามีกับ “หนังสั้นไทย” ในทศวรรษ 1990 และทศวรรษ 2000 ก็คือการที่หนังสั้นไทยหลายเรื่อง เล่าเรื่องของตัวละคร “ลูก” ที่มีปัญหาทะเลาะกับพ่อแม่ปู่ย่าตายาย แล้วก็หนีออกจากบ้าน แล้วก็ถูกข่มขืน หรือได้รับบทเรียนต่าง ๆ นานา แล้วก็จบลงด้วยการที่ตัวละครลูกกลับมาซบอกครอบครัวตัวเอง กลับมา RECONCILE กับครอบครัวตัวเองน่ะ

 

ซึ่งการที่เรามีปัญหากับหนังเหล่านี้ เป็นเพียงเพราะว่า เรา “ไม่อิน” กับหนังเหล่านี้นะ ไม่ได้เป็นเพราะว่าหนังเหล่านี้เป็นหนังไม่ดี และเราก็ไม่ได้มองว่าหนังเหล่านี้ทำผิดแต่อย่างใด แต่เรา “ไม่อิน” กับหนังไทยเหล่านี้เท่านั้นเองจ้ะ

 

แต่ก็มีหนังสั้นไทยไม่กี่เรื่อง ที่เลือกจบในแบบที่เข้าทางเรานะ บางเรื่องก็เลือกจบด้วยการให้ลูก “ฆ่าตัวตาย” และบางเรื่องก็เลือกจบด้วยการให้ลูก “หนีออกจากบ้าน และไม่กลับบ้านอีกตลอดไป” WE CAN’T GO HOME AGAIN ซึ่งหนังไทยเหล่านี้ก็มีเช่นเรื่อง “บังเกิดเกล้า” (2011, Kamontorn Eakwattanakij), LET THE DOVES FLY (2017, Anuroth Ketlekha อนุโรจน์ เกตุเลขา) และ UNFORTUNATELY แค่วันที่โชคร้าย (2023, Kawinnate Konklong) แต่หนังสั้นไทยที่เลือกจบแบบ NOT RECONCILED นี้ก็มีน้อยมาก เหมือนมีแค่ 3 เรื่องจากทั้งหมด 3000 เรื่อง อะไรทำนองนี้

 

เพราะฉะนั้นพอ FLAT GIRLS เลือกจบแบบ NOT RECONCILED เราก็เลยกราบหนังเรื่องนี้มาก ๆ กราบจอมาก ๆ จั๋งหนับที่สุด ได้ใจเราอย่างรุนแรงที่สุด

 

7.และเราว่าการเลือกจบแบบ “ปลายเปิด” แบบนี้ มันกระตุ้นจินตนาการของเราอย่างรุนแรงมาก ๆ ด้วย เพราะเรารู้สึกว่า แอนคงไม่ได้ฆ่าตัวตาย แต่แอนคงหนีไปตั้งต้นชีวิตใหม่อยู่ที่ไหนสักแห่ง และดิ้นรนหาทางมีความสุขในแบบของตัวเองต่อไป เหมือนแอนยังคงมีชีวิตอยู่ที่ไหนสักแห่งในหัวใจและจินตนาการของเราในตอนนี้ ถึงแม้เราดูหนังเรื่องนี้จบไปหลายวันแล้วก็ตาม

 

ซึ่งในจินตนาการส่วนตัวของเรานั้น เราหวังว่า แอนอาจจะหนีไปตั้งต้นชีวิตใหม่ และเริ่มต้นด้วยการทำงานเป็น “สาวเสิร์ฟ” ในบาร์สักแห่งที่มีลูกค้าต่างชาติเยอะ ๆ เพราะงานสาวเสิร์ฟแบบนี้น่าจะรับคนที่มีวุฒิม. 6 ได้ และพอเธอมีประสบการณ์ทำงานสาวเสิร์ฟในบาร์ได้ระยะหนึ่งแล้ว เธอก็เอาประสบการณ์นี้ไปใช้ในการสมัครทำงานในเรือสำราญแบบ TRIANGLE OF SADNESS (2022, Ruben Östlund) เพราะการทำงานในเรือสำราญแบบนี้ จะส่งผลให้เธอได้ท่องเที่ยวทั่วโลก, ส่งผลให้เธอเก็บเงินได้เยอะ รวยเร็ว เพราะการอยู่บนเรือสำราญ มันไม่เปิดโอกาสให้เธอได้ใช้เงิน และการทำงานบนเรือสำราญ มันเหมาะกับคนที่ “ไม่มีบ้านให้กลับ” มาก ๆ ด้วย

 

ซึ่งการที่เราจินตนาการถึงชีวิตของแอนออกมาแบบนี้ มันเป็นเพราะประสบการณ์ของเราด้วยแหละ คือเราเคยทำงานเป็นเด็กเสิร์ฟในร้านอาหาร/บาร์เกย์แห่งหนึ่งในสีลมซอย 4 ในปี 1997 แล้วก็มีเพื่อนเด็กเสิร์ฟบางคน ชักชวนกันไปสมัครทำงานเรือสำราญ โดยงานนี้ต้องการคนที่มีประสบการณ์ทำงานบริการ (อย่างเช่นเด็กเสิร์ฟ) และพูดอังกฤษคล่อง แต่เราเสียดายสุดขีดที่ตอนนั้นเรายัง “ว่ายน้ำไม่เป็น” เราก็เลยไม่สามารถสมัครทำงานเรือสำราญได้

 

แต่เราอิจฉาเพื่อนๆ  เด็กเสิร์ฟบาร์เกย์บางคนที่ได้ไปทำงานเรือสำราญอย่างรุนแรงที่สุด เพราะพวกเขาได้เย็ดกับเกย์หนุ่มหล่อทั่วโลก 55555 และพวกเขาเก็บเงินได้เยอะมาก เหมือนทำงานเรือสำราญแค่ไม่กี่ปี พวกเขาก็มีเงินมากพอที่จะ “ซื้อที่ดิน” ในบ้านเกิดของพวกเขาในชนบทได้ คือพวกเขาเลื่อนฐานะจากเด็กเสิร์ฟในบาร์เกย์ เป็น “คุณนาย” หรือ “เศรษฐีนี” ในชนบทบ้านเกิดของตัวเองได้เร็วมาก ๆ

 

เพราะฉะนั้นเราก็เลยแอบจินตนาการว่า แอน น่าจะเลือกทางเดินชีวิตแบบเพื่อน ๆ ของเราแบบนี้ แป๊บเดียวก็ตั้งตัวได้แล้ว 55555 (แต่เราก็ไม่รู้ว่า ธุรกิจเรือสำราญในปัจจุบันนี้กับในทศวรรษ 1990 มันแตกต่างกันอย่างไรบ้างนะ)

 

8. หนึ่งในหนังที่นึกถึงโดยไม่ได้ตั้งใจระหว่างที่ดู FLAT GIRLS ก็คือ THE BLOSSOMING OF MAXIMO OLIVEROS (2005, Auraeus Solito, Philippines, A+30) เพราะว่าเป็นหนัง queer วัยรุ่น ที่มี “ตำรวจหนุ่มหล่อ” เป็น object of desire เหมือนกัน โดยใน THE BLOSSOMING นั้น ตัวละครตำรวจหนุ่มหล่อเป็น “เป้าหมาย” ของตัวละครกะเทยวัยรุ่นในเรื่องอย่างชัดเจน ส่วนใน FLAT GIRLS นั้น ตัวละครตำรวจหนุ่มหล่อเป็น object of desire ของดิฉันค่ะ 55555

 

เพราะฉะนั้นดิฉันก็เลยขำมากที่ตัวละครใน FLAT GIRLS ชอบปีนเข้าห้องตำรวจหนุ่มหล่อโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือแอบสะเดาะกลอนประตูห้องตำรวจหนุ่มหล่อโดยไม่ได้รับอนุญาต คือ “จุดประสงค์” ของตัวละครใน FLAT GIRLS แตกต่างจากดิฉัน แต่สิ่งที่ตัวละครทำก็คือสิ่งที่ดิฉันอยากทำ ด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างออกไป 55555

 

การที่ตัวละครใน FLAT GIRLS ชอบบุกรุกห้องของตำรวจหนุ่มหล่อโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็ทำให้เรานึกถึง CHUNGKING EXPRESS (1994, Wong Kar-wai, Hong Kong, A+30) โดยไม่ได้ตั้งใจด้วย แต่ยังดีที่พฤติกรรมของตัวละครนางเอกทั้งสองของ FLAT GIRLS ไม่ได้มีความ creepy มากเท่ากับตัวละครของ Faye Wong ใน CHUNGKING EXPRESS

 

อีกจุดนึงที่ FLAT GIRLS ทำให้นึกถึง CHUNGKING EXPRESS โดยไม่ได้ตั้งใจก็คือว่า ตัวละครของ Faye Wong ทิ้งตำรวจหนุ่มหล่อเพื่อไปเป็น “แอร์โฮสเตส” และเดินทางไปยัง “รัฐแคลิฟอร์เนีย”

 

9. มีบางจุดใน FLAT GIRLS ที่ทำให้เรานึกถึงหนังของคุณ Pimpaka Towira โดยไม่ได้ตั้งใจด้วย ซึ่งก็คือ

 

9.1 ฉากเปลี่ยนเสื้อชั้นในใน FLAT GIRLS ทำให้เรานึกถึงฉากเปลี่ยนเสื้อชั้นในใน ONE NIGHT HUSBAND (2003, Pimpaka Towira) ฉบับ DIRECTOR’S CUT

 

9.2 ประโยค ความรักมันเป็นเรื่องของคนมีเงินเท่านั้นแหละ” ใน FLAT GIRLS มันทำให้เรานึกถึงหนังเรื่อง “สุดสะแนน” TERRIBLY HAPPY (2011, Pimpaka Towira) มาก ๆ เพราะเราว่าประโยคนี้ก็ใช้อธิบายตัวละคร “ผู้หญิง” ใน TERRIBLY HAPPY ได้ดีมาก ๆ เหมือนกัน มันคือทางเลือกของ “ผู้หญิงจน ๆ” ที่ “จำเป็น” ต้องเลือก “เงิน” ก่อน “ความรัก” เพราะความจำเป็นของชีวิตมันบีบบังคับ

 

10. ต่อไปนี้เราจะเน้นเขียนถึงประเด็นที่ว่า FLAT GIRLS ทำให้เรานึกถึงชีวิตตัวเองยังไงบ้าง 555555

 

 

อะไรคือการที่เรานึกถึงหนังเรื่อง FLAT GIRLS แล้วมันนำเราไปสู่เพจ MALE MODEL RETRO 55555

https://web.facebook.com/uomoclassico/photos

 

 คือพอดู FLAT GIRLS แล้วมันพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างชายหนุ่มกับหญิงสาวที่มี AGE GAP  มันก็เลยทำให้เรานึกถึง sexual fantasy ของตัวเองตอนที่เรายังเป็นเด็กมัธยมในช่วงทศวรรษ 1980 น่ะ คือช่วงนั้นเราชอบมี fantasy ว่า เราอยากได้ “พ่อเลี้ยง” คือในชีวิตจริงเราไม่มี “พ่อเลี้ยง” นะ แต่ตอนที่เราเป็นเด็กมัธยม เราอยากได้ผู้ชายที่มี 4 function ในตัวคนคนเดียวน่ะ คือผู้ชายในฝันของเราในตอนนั้นควรเป็นให้เราได้ทั้ง

 

10.1 “พ่อเลี้ยง” ที่สามารถสั่งสอนเราได้ และมีเงินเลี้ยงดูเราได้

10.2 “พี่ชาย” ที่มีคุณสมบัติเหมือนเพลง “พี่ชายที่แสนดี” ของอุ้ย รวิวรรณ จินดา

10.3 “เพื่อน” ที่พูดคุยหยอกล้อเล่นหัวกับเราได้

10.4 “ผัว” ที่สามารถตอบสนองแฟนตาซีทางเพศของเราในวัยนั้นได้

 

คือในตอนนั้นเราอยากได้ผู้ชายหนึ่งคนที่เป็นให้เราได้ทั้ง 4 อย่างข้างต้นในคนคนเดียวกัน คนเดียวแต่ให้เราได้ถึง 4 functions การใช้งาน แต่มันก็เป็นได้แค่แฟนตาซีของเราในตอนนั้น เพราะตอนมัธยมเราก็ได้แต่แอบ want ผู้ชายข้างเดียวไปเรื่อย ๆ เราขายไม่ออกแต่อย่างใดในตอนนั้น

 

ซึ่งในช่วงทศวรรษ 1980 นั้น เราเป็นเด็กผู้ชายจน ๆ ที่ไม่มีช่องทางในการเข้าถึงสื่ออีโรติกอะไรใด ๆ และยุคนั้นก็ไม่มีอินเทอร์เน็ตด้วย เพราะฉะนั้นเวลาเราจินตนาการถึง “พ่อเลี้ยง” ในตอนนั้น เราก็เลยเอา “นายแบบ” ในโฆษณากางเกงใน JOCKEY, J.PRESS หรือโฆษณา GILLETTE ในยุคทศวรรษ 1980 มาใช้เป็น “พ่อเลี้ยง” ในแฟนตาซีทางเพศของเรา

 

พอเราย้อนรำลึกถึงอดีตตรงจุดนี้ วันนี้เราก็เลย search internet เพื่อหาโฆษณากางเกงใน JOCKEY ยุคทศวรรษ 1980 เผื่อจะได้เจอ “พ่อเลี้ยง” ในจินตนาการของเราเมื่อราว 30-40 ปีก่อน แต่ก็หาไม่เจอ แต่ก็เจอเพจ MALE MODEL RETRO แทน ซึ่งเป็นเพจที่ดีงามสุด ๆ และมันทำให้เรา nostalgia ถึงจินตนาการทางเพศของตัวเองสมัยยังเป็นวัยรุ่นมาก ๆ 55555

 

ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่า การที่เราในวัยมัธยม มีจินตนาการทางเพศถึง “พ่อเลี้ยง” แบบนี้ มันมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากชีวิตของเราเองหรือเปล่านะ อย่างที่เราเคยเขียนเล่าไปแล้วหลายครั้งว่า พ่อของเราเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ตั้งแต่เราอายุ 3 ขวบน่ะ เพราะฉะนั้นเราก็เลยเติบโตมาโดยไม่มีพ่อ และบางทีเราก็เลยตั้งข้อสงสัยว่า การที่เราเติบโตมาโดย “ไม่มีพ่อ” แบบนี้ มันเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เรามีจินตนาการทางเพศถึง “พ่อเลี้ยง” เมื่อเราเริ่มเป็นวัยรุ่นหรือเปล่า

 

11. การที่แอนรับเงินจากตอง ก็ทำให้เรานึกถึงตัวเองนิดนึงด้วย ซึ่งมันก็มีจุดที่เหมือนกันและต่างกันมากกับชีวิตของเรา ซึ่งจุดที่เหมือนกันก็คือว่า เราก็เคยรับเงินจาก “ฝรั่งแก่ ๆ” บางคน แต่เราทำแบบนั้นตอนที่เราอายุ 20 กว่าปีแล้ว เรียนจบมหาลัยแล้ว เราทำแบบนั้นตอนที่เราบรรลุนิติภาวะแล้ว คือตอนนั้นเราอายุ 20 กว่าปี และเราชอบไปออกเดทกับฝรั่งแก่ ๆ อายุ 40-60 ปี

 

คือมันมีอยู่ช่วงนึงที่เราหลงรักฝรั่งหนุ่มหล่อคนนึง แต่เขาไม่ได้รักเรา เราก็เลยอกหักมาก รู้สึกอยากฆ่าตัวตาย อยากจะเดินไปให้รถชนตายไปเลย แต่อยู่ดี ๆ ช่วงนั้นเราก็พบว่า เราขายออกในบรรดา “ฝรั่งแก่ ๆ” ฝรั่งแก่ ๆ หลายคนต้องการเรา เราอาจจะ “ไร้ค่า” ในสายตาของฝรั่งหนุ่มหล่อ แต่เรา “มีค่า” ในสายตาของฝรั่งแก่ ๆ เราก็เลยออกเดทกับฝรั่งแก่ ๆ บางคนในช่วงปลายทศวรรษ 1990 แล้วเราก็ประทับใจมาก พวกเขา treat เราดีมาก ๆ โดยเฉพาะในเรื่องเงิน 55555

 

แต่อีกสิ่งที่แตกต่างกันมากระหว่างเรากับ “แอน” ก็คือเรื่อง “หน้าตา” ของคู่ขานี่แหละ คือถ้าหากตอนนั้นเราได้คู่เดทที่มีหน้าตาแบบ “อาตอง” เราคงจะยิ้มแฉ่งไปแล้ว 55555 แต่นี่คู่เดทของเราแต่ละคนหน้าตาเหมือน “คุณลุง KFC” น่ะ ประสบการณ์ของเรากับแอนก็เลยแตกต่างกันอย่างรุนแรงในจุดนี้ด้วย แต่เราก็มีความสุขกับประสบการณ์ตรงนั้นมาก ๆ นะ คือถึงแม้พวกเขาจะแก่ แต่พวกเขาก็ “ปฏิบัติต่อเราเป็นอย่างดี” และเงินดีน่ะ สิ่งเดียวที่เราเสียใจก็คือว่า ถ้าหากเราย้อนเวลากลับไปได้ เราจะตัดสินใจเลือกคบกับฝรั่งแก่ ๆ สักคนอย่างจริง ๆ จัง ๆ ไปเลย และป่านนี้เราคงใช้ชีวิตอยู่ในยุโรปอย่างมีความสุขไปแล้ว ไม่ต้องมาจมปลักดักดานอยู่ในไทยแบบนี้ “ชีวิตเหมือนเพลง บรรเลงผิดคีย์” จริง ๆ ค่ะ กูเลือกเส้นทางชีวิตผิดพลาดจริง ๆ เมื่อ 20 กว่าปีก่อน อีโง่ อีควาย ขอด่าตัวเอง

 

12. ฉากชาวบ้านในแฟลตซุบซิบนินทา ทำให้เรานึกถึงฉากนินทาใน ALI: FEAR EATS THE SOUL (1974, Rainer Werner Fassbinder, West Germany) ด้วย

 

13. ฉากคอร์ทแบดมินตันในตอนท้ายของหนังนี่ รู้สึกว่ามันเหมาะกับเนื้อเพลง THIS USED TO BE MY PLAYGROUND ของ Madonna มาก ๆ

 

This used to be my playground
This used to be my childhood dream
This used to be the place I ran to
Whenever I was in need of a friend
Why did it have to end?
And why do they always say?

Don't look back
Keep your head held high
Don't ask them why because life is short
And before you know you're feeling old
And your heart is breaking
Don't hold on to the past
Well that's too much to ask

This used to be my playground (ah used to be)
This used to be my childhood dream
This used to be the place I ran to
Whenever I was in need of a friend
Why did it have to end?
And why do they always say?, no regrets

But I wish that you were here with me
Well then there's hope yet
I can see your face in our secret place
You're not just a memory
Say goodbye to yesterday
Those are words I'll never say (I'll never say)

This used to be my playground (used to be)
This used to be our pride and joy
This used to be the place we ran to
That no one in the world could dare destroy

This used to be our playground (used to be)
This used to be our childhood dream
This used to be the place we ran to
I wish you were standing here with me

This used to be our playground (used to be)
This used to be our childhood dream
This used to be the place we ran to
The best things in life are always free

Wishing you were here with me

No comments: