Sunday, April 03, 2005

THE ICE PALACE

เคยดูหนังเรื่อง FARINELLI (1994, GERARD CORBIAU) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้ชายที่เป็นนักร้องและเคยถูกตอนตอนเป็นเด็ก พอเขาโตขึ้น เขาก็เลยมีเซ็กส์กับผู้หญิงไม่ค่อยได้ และต้องปล่อยให้พี่ชายของเขาทำหน้าที่มีเซ็กส์กับผู้หญิงแทน

ดูรายละเอียดของหนังเรื่องนี้ได้ที่นี่ค่ะ
http://www.imdb.com/title/tt0109771/


GERARD CORBIAU ผู้กำกับหนังเรื่องนี้เป็นชาวเบลเยียมที่ท่าทางจะชอบการแสดงบนเวทีและหนังย้อนยุค เขาเคยกำกับหนังเรื่อง THE MUSIC TEACHER (1988) เคยเห็นวิดีโอหนังเรื่องนี้มีเข้ามาขายในจตุจักรและมีให้เช่าในร้านวิดีโอแถวท่าพระจันทร์เมื่อหลายปีก่อน ไม่รู้ตอนนี้ยังมีอยู่หรือเปล่า

เมื่อเดือนต.ค.ปีก่อน ได้ดูหนังเยอรมันเรื่อง VAYA CON DIOS (2002, ZOLTAN SPIRANDELLI) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระที่เป็นนักร้อง พระเหล่านี้ไม่ได้ถูกตอน แต่ร้องเพลงสวดได้ไพเราะเพราะพริ้งมากๆ

ไม่รู้เหมือนกันว่าจะหาดีวีดี VAYA CON DIOS ดูได้จากที่ไหน


มีความสุขที่ได้อ่านสิ่งที่คุณอ้วนเขียนและภาพที่คุณอ้วนนำมาโพสท์มากๆเลยค่ะ แต่ตอนนี้ดิฉันขอค่อยๆทยอยตอบทีละเรื่องไปเรื่อยๆก่อนแล้วกันนะคะ

ตอบคุณอ้วน

ยังไม่เคยฟังเพลงของวง THE FLAMING LIPS เลยค่ะ แต่ท่าทางจะน่าฟังมาก อย่างไรก็ดี ตอนนี้ดิฉันไม่กล้าฟังตัวอย่างเพลงจากอินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ในร้านเน็ตค่ะ เพราะตอนนี้ดิฉันไม่ค่อยกล้าใช้หูฟังในร้านเน็ตเท่าไหร่ ไม่รู้เหมือนกันว่าการใช้หูฟังร่วมกับคนอื่นๆในร้านเน็ตอย่างนี้มีอันตรายบ้างหรือเปล่า (หรือว่าดิฉันเป็นโรคจิตหวาดกลัวเชื้อโรคมากเกินไปแบบพระเอก THE AVIATOR) พอดีตอนนี้ดิฉันเป็นโรคหูข้างซ้ายอักเสบค่ะ เข้าใจว่าน่าจะเกิดจากการใช้ cotton buds ดิฉันไปหาหมอมาแล้ว และหยอดยามานานกว่าสัปดาห์นึงแล้ว แต่อาการหูอักเสบก็ยังไม่หายสักที ช่วงนี้อารมณ์ก็เลยไม่ค่อยร่าเริงเท่าไหร่ค่ะ ถ้าหากช่วงนี้ดิฉันเขียนอะไรดูเครียดๆหน่อยก็ขออภัยด้วยนะคะ หวังว่าหายป่วยเมื่อไหร่ จิตใจของดิฉันจะเริงร่าเป็นปลากระดี่ได้น้ำ (น้ำอะไรหรือคะ) เหมือนแต่ก่อน

เห็นเมื่อวันก่อนคุณอ้วนโพสท์รูป AVATAR เป็นรูปของ CARLA BRUNI ด้วยค่ะ ดิฉันชอบนางแบบคนนี้มากๆๆๆเลยค่ะ เธอเป็นนางแบบที่ดิฉันชอบมากในช่วงทศวรรษ 1990 พร้อมๆกับที่ดิฉันชอบ KRISTEN MCMENAMY (ดิฉันเพิ่งแปลงร่างเป็น KRISTEN ไปเล่นหนังเรื่อง KILL 8 FEMMES FATALE ด้วยค่ะ ดูบทบาทการแสดงของดิฉันได้ที่http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=15639
)

นอกจากนี้ CARLA BRUNI ยังเป็น SISTER ของหนึ่งในนักแสดงหญิงที่ดิฉันชอบที่สุดในชีวิตค่ะ นั่นก็คือ VALERIA BRUNI TEDESCHI
http://www.imdb.com/name/nm0116254/

ดิฉันเพิ่งขุดเอาความเห็นของตัวเองที่มีต่อ VALERIA BRUNI TEDESCHI ที่เคยเขียนไว้เล่นๆเมื่อหลายปีก่อน ไปแปะใน BLOG ของตัวเองด้วยค่ะ ถ้าอยากอ่าน ก็เข้าไปอ่านได้ที่
http://celinejulie.blogspot.com/2005/04/alternative-goddesses.html

สิ่งที่ดิฉันเขียนไว้ใน BLOG ข้างบน เป็นสิ่งที่เขียนไว้หลายปีแล้วแต่เพิ่งเอามาแปะใน BLOG พอกลับมาอ่านอีกครั้งก็รู้สึกตลกดีเหมือนกัน รู้สึกว่าความเห็นของตัวเองในตอนนี้คงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเยอะ

ดิฉันเพิ่งจะรู้จากคุณอ้วนนี่แหละค่ะว่า CARLA BRUNI เป็นนักร้องด้วย ตอนแรกนึกว่าเธอเป็นแค่นางแบบอย่างเดียว

พูดถึงนางแบบที่หันมาเป็นนักร้อง ก็นึกถึงนักร้อง/นางแบบหญิงสองคนที่ดิฉันชอบมากค่ะ นั่นก็คือ NAOMI CAMPBELL กับอัลบัมชุด BABY WOMAN (A-) และ MILLA JOVOVICH กับอัลบัมชุด DIVINE COMEDY (A+)

ฟังตัวอย่างเพลงของ MILLA JOVOVICH ได้ที่
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B000002TNT/ref=pd_art_ftr_1/103-8765735-7879035?v=glance&s=music

ในอัลบัมชุด DIVINE COMEDY นี้ ดิฉันชอบเพลง DON’T FADE AWAY (A+) มากที่สุดค่ะ

ถ้าจำไม่ผิด มิวสิควิดีโอเพลง GENTLEMAN WHO FELL ของมิลลา โจโววิช ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังเรื่อง MESHES OF THE AFTERNOON (A+) ของ MAYA DEREN ค่ะ

มิลลา โจโววิชให้สัมภาษณ์ไว้ด้วยว่าเธอได้รับแรงบันดาลใจจาก “เคท บุช” ในการทำอัลบัมชุดนี้

ดิฉันเคยได้ยินข่าวลือว่า “เคท บุช” เป็นบ้าไปแล้วค่ะในตอนนี้ ไม่รู้เหมือนกันว่าข่าวลือนี้เป็นจริงหรือเปล่า

ถ้าเข้าใจไม่ผิด คุณนันทขว้าง สิรสุนทรเขียนถึงหนังของมายา เดอเรนในเนชั่นสุดสัปดาห์ฉบับใหม่ด้วยค่ะ

ย้อนกลับมาที่ THE FLAMING LIPS ดิฉันขอยอมรับว่าดิฉันมักจำชื่อวงนี้สลับกับชื่อวง FRA LIPPO LIPPI ที่เคยได้ยินชื่อบ่อยๆในทศวรรษ 1980 ค่ะ ดิฉันจำเพลงของวงนี้ไม่ได้แล้ว แต่อยากฟังเพลงของวงนี้อีกมากๆเลยค่ะ


ฟังเพลงบางเพลงของ FRA LIPPO LIPPI ได้ที่นี่ค่ะ
http://www.geocities.com/SunsetStrip/Underground/5824/jojo3.htm

ได้ฟังเพลงทศวรรษ 1980 แนวนี้ทีไร อยากร้องไห้ทีนั้น เพราะมันทำให้นึกถึงอดีตอันเปี่ยมสุขสมัยตบตีกับเพื่อนๆในโรงเรียนมัธยม (ไม่รู้คุณ kit เคยมีอาการแบบนี้บ้างหรือเปล่า)

พูดถึง NOI ALBINOI (2003, DAGUR KARI, A+) แล้ว ดิฉันก็เพิ่งรู้ว่า ASDIS THORODDSEN ผู้ช่วยผู้กำกับของหนังเรื่องนี้ เป็นผู้กำกับหญิงที่น่าสนใจมากๆของไอซ์แลนด์ค่ะ (ตอนนี้ดิฉันรู้จักผู้กำกับหญิงของไอซ์แลนด์อยู่แค่คนเดียวคือคนนี้ค่ะ ไม่รู้เหมือนกันว่าไอซ์แลนด์มีผู้กำกับหญิงคนอื่นๆที่น่าสนใจอยู่อีกหรือเปล่า)

http://www.imdb.com/name/nm0861616/


ASDIS THORODDSEN เคยกำกับหนังเรื่อง DREAM HUNTERS (1996) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้หญิงอายุ 20 ปีสองคนที่ตกหลุมรักชายหนุ่มคนเดียวกัน กับเรื่อง INGALO (1992)

คำวิจารณ์หนังเรื่อง INGALO

“หนังเรื่องนี้มีบางส่วนคล้าย NORMA RAE (1979, MARTIN RITT, นำแสดงโดยแซลลี ฟิลด์) และคล้ายกับหนังอังกฤษเรื่อง IN FADING LIGHT (1989, MURRAY MARTIN + AMBER FILMS) โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงสาวนิสัยดื้อแพ่งอายุ 18 ปีที่ออกจากบ้านบริเวณชายฝั่งทางตอนเหนือของไอซ์แลนด์ เพื่อไปทำงานร่วมกับพี่ชายของเธอบนเรือประมง และต้องพบกับปัญหาต่างๆ

หนังเรื่องนี้เป็นหนังแนวเทพนิยายที่ไม่หวือหวา และพูดถึงประเด็นเรื่องการเหยียดเพศ, ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาเรื่องแรงงานสัมพันธ์”

ถ้าพูดถึงหนังเกี่ยวกับวัยรุ่นสแกนดิเนเวียแล้ว นอกจาก NOI ALBINOI ยังมีหนังอีกเรื่องนึงที่ดิฉันคิดว่าน่าดูอย่างสุดขีดค่ะ นั่นก็คือเรื่อง THE ICE PALACE (1988, PER BLOM) จากนอรเวย์ หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเลสเบียนอายุ 12 ปีค่ะ

คำวิจารณ์ของผู้ที่เคยดู THE ICE PALACE

“ในฤดูหนาวของนอรเวย์ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งอย่างรุนแรงในทศวรรษ 1930 เด็กหญิงสองคนที่ชื่อ UNN กับ SISS ปีนขึ้นไปที่ห้องนอนของ UNN ที่อยู่ใต้หลังคาและเริ่มแก้ผ้าแก้ผ่อน UNN นั้นคิดกับ SISS มากกว่าความเป็นเพื่อน และเธอก็มีจินตนาการลามกต่อตัว SISS อย่างไรก็ดี UNN รู้สึกผิดบาปอย่างรุนแรงมากต่อเหตุการณ์ในวันนั้นถึงแม้ทั้งสองไม่ได้ทำอะไรกันจริงๆจังๆ ดังนั้นในวันต่อมา UNN ก็เลยวิ่งหนีไปที่น้ำตกที่แข็งจนเป็นน้ำแข็ง และเดินเข้าไปในถ้ำน้ำแข็ง และล้มตัวลงนอน และสิ้นใจตาย

SISS รู้สึกเศร้าเสียใจอย่างรุนแรงมาก แต่เธอไม่ได้แสดงความเศร้าตรมนี้ออกมาทางคำพูดเลย และเธอก็ไม่ได้บอกผู้ใหญ่ด้วยว่า UNN หนีไปเพราะอะไร เธอไม่สามารถเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเธอก็เริ่มเข้าสู่ภาวะ “มึนชา” มากขึ้นเรื่อยๆเรื่อยๆ

หนังเรื่องนี้ “แทบไม่มีบทสนทนา” และ “แทบไม่มีเหตุการณ์” แต่ Per Blom เน้นการใช้ “ภูมิประเทศฤดูหนาว” ในการถ่ายทอดความรู้สึกโหยหาปรารถนาอย่างแรงกล้า และในการถ่ายทอด “ความรู้สึกเก็บกดอย่างรุนแรงสุดขีด” หนังเรื่องนี้คือ “ความฝันแห่งหิมะและเงาดำ” และคือส่วนผสมระหว่างหนังเรื่อง PICNIC AT HANGING ROCK (1975, PETER WEIR, A+) กับบทละครเวทีของ HENRIK IBSEN”

http://www.imdb.com/title/tt0097594/
This film don't look like anything else. It is very slow moving, and most of the pictures are close-ups of not very expressive faces.


นอกจาก NOI ALBINOI แล้ว หนังกึ่งๆ coming-of-age เกี่ยวกับเด็ก/วัยรุ่นสแกนดิเนเวียที่ดิฉันชอบสุดขีดรวมถึง

1.BEFORE THE STORM (2000, REZA PARSA, A+)
หนังสวีเดนที่กำกับโดยหนุ่มอิหร่าน ครึ่งหนึ่งของหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับชายหนุ่มที่ถูกหญิงชราคนหนึ่งบังคับให้ฆ่าคน ส่วนอีกครึ่งหนึ่งของหนังเกี่ยวกับเด็กชายที่เอาปืนยิงเพื่อนในโรงเรียนตายด้วยความเกลียดชังhttp://www.imdb.com/title/tt0251091/usercomments

2.ZAPPA (1983, BILLE AUGUST, A+) หนังเดนมาร์ก เกี่ยวกับเด็กชายกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในวัยที่เริ่มมีความต้องการทางเพศ หนังออกมาในเชิงจิตวิทยา และเร้าอารมณ์มากๆ ดีวีดีหนังเรื่องนี้มีขายแล้วที่สหรัฐ
http://www.imdb.com/title/tt0088445/

3.LIME (2001, NATHILDE OVERREIN RAPP, A+) หนังนอรเวย์เกี่ยวกับเด็กสาวที่ต้องปรับตัวเข้ากับโรงเรียนใหม่และที่อยู่ใหม่
http://www.imdb.com/title/tt0269480/

4.BLINDFOLDED (1999, MATTI IJAS, A) หนังฟินแลนด์ เกี่ยวกับเด็กชายวัย 9 ขวบ และเพื่อนผู้มีนิสัยโหดร้ายผิดมนุษย์มนา
http://www.imdb.com/title/tt0189102/


รู้สึกว่าเทศกาลหนังอินดี้บัวโนส ไอเรสที่คุณอ้วนพูดถึงเป็นเทศกาลหนังที่น่าดูสุดๆไม่แพ้รอตเตอร์ดัมเลยนะเนี่ย เพราะหนังที่คัดเลือกมาสุดยอดมากๆ ไม่ว่าจะเป็น

1.RANA’S WEDDING ของ HANY ABU-ASSAD จากปาเลสไตน์

2.ANA AND THE OTHERS ของ CELINA MURGA จากอาร์เจนตินา (รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้จะได้รับคำชมว่าเยี่ยมเท่าหนังของ ERIC ROHMER)

3. THE DEATH OF KLINGHOFFER ที่พูดถึงประเด็นการเมืองได้อย่างน่าสนใจมากๆ

4.JEALOUSY IS MY MIDDLENAME (2002, PARK CHAN-OK, A+)

5.THE DAYS I DON’T EXIST (JEAN-CHARLES FITOUSSI)
http://www.imdb.com/title/tt0365398/

เรื่องนี้น่าดูสุดๆ เพราะมีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้ชายที่มีชีวิตแบบวันเว้นวัน พอถึงเที่ยงคืนของวันนึง เขาก็จะข้ามไปมีชีวิตใน “วันมะรืน” เลย โดยไม่ผ่าน “วันพรุ่งนี้” เขาใช้ชีวิตแบบนี้โดยไม่มีปัญหาอะไร แต่ปัญหาก็เริ่มขึ้นเมื่อเขาตกหลุมรัก

นักวิจารณ์บอกว่า THE DAYS I DON’T EXIST = GROUNDHOG DAY + JACQUES RIVETTE

6.BLIND SHAFT (2003, LI YANG, A)

7.THE BLONDS (ALBERTINA CARRI) หนังที่ผสมเรื่องจริงกับเรื่องแต่งเข้าด้วยกันได้อย่างน่าฉงนฉงายมาก อ่านรายละเอียดของหนังเรื่องนี้ได้ที่
http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/A3331596/A3331596.html

คุณ merveillesxx เขียนถึงผลงานใหม่ของผู้วาด hesheit ไว้ที่นี่ด้วยค่ะ
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=16245

คุณธีปนันท์เขียนถึง CAF E LUMIERE ไว้ที่นี่ค่ะ
http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9480000044175

เคยดู MILLIENNIUM MAMBO แล้วชอบในระดับ A+ ค่ะ

AMY TAUBIN เขียนไว้ใน FILM COMMENT เล่มใหม่ หน้าปกดัสติน ฮอฟแมนว่า MILLENNIUM MAMBO คือพระจันทร์ ส่วน CAF E LUMIERERE คือดวงตะวันค่ะ

FILM COMMENT เล่มใหม่มีขายแล้วที่คิโนะคุนิยะสาขาเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ค่ะ เล่มนี้มีบทความเกี่ยวกับ BULLE OGIER และบทความเกี่ยวกับละครทีวีชุด JOHNNY STACCATO (1959, JOHN CASSAVETES) ด้วย ได้เห็นรูปของ JOHN CASSAVETES ตอนหนุ่มๆแล้ว หล่อถูกใจดิฉันอย่างมากๆจนคาดไม่ถึงเลยค่ะ
http://www.imdb.com/title/tt0052479/

SIGHT AND SOUND เล่มเดือนมี.ค.ก็เห็นมีขายที่คิโนะคุนิยะเหมือนกันค่ะ ส่วนเล่มเดือนก.พ.เห็นมีขายที่เดอะบุ๊คเชสท์ สาขาสยามสแควร์

ใน SIGHT AND SOUND เล่มเดือนก.พ. มีบทความเกี่ยวกับ A VERY LONG ENGAGEMENT และ AUDREY TAUTOU ที่น่าสนใจดีค่ะ เพราะนักวิจารณ์ตั้งข้อสังเกตว่า AUDREY TAUTOU แทบไม่เคยเล่นเลิฟซีนแบบดุเด็ดเผ็ดมันถึงพริกถึงขิงเลย เธอดูเหมือนกับมีความบริสุทธิ์ผุดผ่องบางอย่างในภาพพจน์ของเธอ และนั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายคนชอบเธอ

AUDREY TAUTOU สามารถทำลายภาพพจน์นี้ของเธอได้อย่างง่ายๆเพื่อพิสูจน์ความเป็นนักแสดงที่แท้จริงในตัวเธอด้วยการรับแสดงเป็นนางเอกในหนังของ CATHERINE BREILLAT ค่ะ

ส่วน SIGHT AND SOUND เล่มเดือนมี.ค.ถูกใจดิฉันเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะมีบทสัมภาษณ์ผู้กำกับหนังเรื่อง DUCK SEASON (A+) และบทวิจารณ์หนังเรื่องนี้ โดยพูดถึงความเป็นเกย์ของตัวละครด้วย

ส่วนเรื่องที่ดิฉันชอบ BOOGEYMAN มากๆนั้น ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นเพราะตัวเองเป็น “คนรุ่นศุกร์ 13” จริงๆด้วยค่ะ และก็ดีใจอย่างสุดขีดถึงขีดสุดค่ะที่คุณอ้วนชอบหนังเรื่องนี้เหมือนกัน

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ตัวเองรู้สึกผูกพันกับหนังเรื่องนี้ถึงขีดสุด แต่เดาว่าปัจจัยเหล่านี้อาจรวมถึง

1.ฉากกลางเรื่องที่คุณอ้วนว่ามา ฉากนั้นทำให้ความรู้สึกชอบหนังเรื่องนี้พุ่งปรี๊ดขึ้นมาในทันที

2.การที่ดิฉันรักหนังสือเรื่อง “เมืองในตู้เสื้อผ้า” (A+) ของ C.S. LEWIS อย่างมากๆ และพอดูหนังเรื่องนี้ อยู่ดีๆก็นึกไปถึง “ประตูมิติ” ที่ซ่อนอยู่ในตู้เสื้อผ้าใน “เมืองในตู้เสื้อผ้า”

เคยได้ข่าวว่าทิลดา สวินตันจะมารับบทเป็นราชินีหิมะผู้โหดเหี้ยมอำมหิตแห่งดินแดนนาร์เนียใน “เมืองในตู้เสื้อผ้า” ด้วย ไม่รู้เหมือนกันว่าโครงการหนังเรื่องนี้ไปถึงไหนแล้ว

เว็บไซท์ของหนังเรื่อง THE CHRONICLES OF NARNIA: THE LION, THE WITCH AND THE WARDROBE (2005, ANDREW ADAMSON) อยู่ที่
http://www.narnia.com/

3.การแสดงของพระเอกที่ทำให้เชื่อได้ว่าเขาทุกข์ทรมานมาตั้งแต่เด็กๆจริงๆ

4.ฉากที่เด็กผู้หญิงคนหนึ่งเห็นฝ้าเพดานห้องเผยอ และกรีดร้องอย่างบ้าคลั่ง

5.บรรยากาศ และการคุมโทนอารมณ์ของหนัง รู้สึกว่าผู้กำกับหนังเรื่องนี้ควบคุมบรรยากาศได้สุดยอดมากๆ

6.ฉากที่พระเอกขับรถแล้วเห็นเด็กผู้หญิงคนหนึ่งเหมือนกับเล่นสเก็ตถอยหลัง ฉากพวกนี้ทำให้นึกถึงบรรยากาศที่สุดยอดมากๆในหนังเรื่อง IN THE MOUTH OF MADNESS (1995, JOHN CARPENTER, A) (ฉากที่ตัวละครใน IN THE MOUTH OF MADNESS เห็นคนขี่จักรยานซ้ำกันสองครั้ง เป็นฉากที่ทำให้ดิฉันกลัวมากๆๆๆๆ)

7.ฉากไคลแมกซ์ของเรื่องนี้ทำออกมาได้ถึงอารมณ์มากๆสำหรับดิฉัน

8.รู้สึกว่า “โลก” ที่อยู่ในหนังเรื่องนี้มัน “เป็นมิตร” กับดิฉันอย่างมากๆ

9.ดูแล้วนึกถึงชีวิตประจำวันของตัวเองค่ะ เพราะในบางวัน พอดิฉันบิดลูกบิดประตูและก้าวเข้าไปในอพาร์ทเมนท์ ดิฉันจะต้องรีบเช็คดูในทันทีว่ามีใครซ่อนอยู่ใน “ตู้เสื้อผ้า”, “ในห้องน้ำ” หรือ “ที่ระเบียง” หรือเปล่า (โดยที่ดิฉันถืออาวุธไว้ในมือด้วย เผื่อมีใครซ่อนอยู่ ดิฉันจะได้สู้กับมันได้) เหมือนกับพระเอกหนังเรื่องนี้ ที่ต้องคอยระแวงว่ามีผู้ร้ายซ่อนอยู่ตามจุดต่างๆหรือเปล่า รู้สึกประหลาดดีเหมือนกัน เพราะ CAF E LUMIERE ที่สะท้อนชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการนั่งรถไฟ กลับไม่ค่อยทำให้ดิฉันคิดถึงชีวิตประจำวันของตัวเองหรือคิดถึงรถไฟฟ้าที่ดิฉันนั่งอยู่ทุกวันสักเท่าไหร่ แต่ BOOGEYMAN กลับทำให้ดิฉันรู้สึกว่ามันสะท้อนชีวิตประจำวันของดิฉัน

10.รู้สึกชอบหนังเรื่องนี้ที่เหมือนไม่ให้คำอธิบายหรือไม่มีเหตุผลสักเท่าไหร่ คล้ายๆกับหนังกลุ่ม JU-ON ที่เหยื่อแต่ละคนไม่รู้ว่าทำผิดอะไรถึงต้องโดนฆ่าตาย บางคนแค่เข้าไปใกล้สถานที่ บางคนแค่เป็นคนรู้จักของเหยื่ออีกคนนึง พวกเขาก็ถูกฆ่าตายเสียแล้ว จุดนี้มันค่อนข้างใกล้เคียงกับความรู้สึกของดิฉันเวลาอ่านข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาค่ะ


หนังเรื่อง BOOGEYMAN ทำให้นึกถึงหนังอีกหลายเรื่องค่ะ ซึ่งรวมถึง

1.FEAR OF THE DARK (2002, K.C. BASCOMBE, A) ที่นำแสดงโดยสุดหล่อ KEVIN ZEGERS หนังเรื่องนี้มาฉายทางเคเบิลทีวีค่ะ
http://www.imdb.com/title/tt0308252/

2.WES CRAVEN PRESENTS : THEY (2002, ROBERT HARMON + RICK BOTA, C+)
http://www.imdb.com/title/tt0283632/

หนังเรื่องนี้เหมือนกับว่าจะมีอะไรบางอย่างคล้ายๆ BOOGEYMAN แต่ดูหนังเรื่องนี้แล้วกลับให้อารมณ์แย่ๆ, เซ็งๆ, น่าเบื่อๆ แต่ดู BOOGEYMAN แล้วรู้สึกงดงามอย่างสุดๆ

3.DARKNESS FALLS (2003, JONATHAN LIEBESMAN, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0282209/


ส่วนที่คุณอ้วนพูดถึงหนังเรื่อง SPHERE (1998, BARRY LEVINSON, B+/B) นั้นก็น่าสนใจมากๆเลยค่ะ เพราะเพื่อนดิฉันเคยตั้งข้อสังเกตว่า SPHERE, EVENT HORIZON (1997, PAUL W.S. ANDERSON) กับ SOLARIS (1972, ANDREI TARKOVSKY, A) นั้น น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันค่ะ หนัง 3 เรื่องนี้เป็นหนังไซไฟที่พูดถึงสิ่งที่อยู่ข้างในจิตใจได้อย่างน่าสนใจมาก

ตลกดีที่ตัวละครที่พอล เจียแมตติแสดงใน SIDEWAYS พูดถึง ALAIN ROBBE-GRILLET สุดยอดนักประพันธ์และสุดยอดผู้กำกับหนังชาวฝรั่งเศสด้วย ถ้าใครอยากรู้ว่าหนังของ ALAIN ROBBE-GRILLET เป็นยังไง หาอ่านได้จากหนังสือ “ฟิล์มไวรัส เล่ม 1” ค่ะ

ส่วนใน “ฟิล์มไวรัส เล่ม 2” นั้น มีบทความสั้นๆเกี่ยวกับหนังเรื่อง SOMBRE (1998, PHILIPPE GRANDRIEUX, A+) ด้วยค่ะ และมีบทสัมภาษณ์ผู้กำกับ SOMBRE ในหนังสือเล่มนี้ด้วย

มีใครก็ไม่รู้ใน Senses of Cinema ยกให้ SOMBRE เป็นหนึ่งในสิบหนังที่เขาชอบที่สุดตลอดกาลค่ะ

ดูสิบอันดับหนังตลอดกาลของคนๆนี้ได้ที่
http://www.sensesofcinema.com/contents/top_tens/archive00.html#phokaew

อ่านคำวิจารณ์หนังเรื่อง SOMBRE ของคนบางคนในกรุงเทพได้ที่
http://www.imdb.com/title/tt0166808/usercomments

คุณสนธยา ทรัพย์เย็นพูดถึง SOMBRE ว่า “ถ้าหากอังเดร ทาร์คอฟสกีจะกำกับหนังเกี่ยวกับฆาตกรโรคจิต ก็คงออกมาแบบหนังเรื่อง SOMBRE นี้”

ดิฉันได้ดู SOMBRE ที่เอ็มโพเรียมค่ะ ส่วนคุณสนธยาได้ดู SOMBRE ที่เซ็นทรัลพระราม 3 ในปี 2000 ตอนที่ดิฉันดู SOMBRE ดิฉันพบว่าหนังเรื่องนี้เป็น “หนึ่งในหนังที่คนวิ่งหนีออกจากโรงกันมากที่สุด” ในระหว่างที่ดู แต่ไม่ใช่วิ่งหนีเพราะกลัว แต่วิ่งหนีเพราะไม่ชอบ คนลุกออกจากโรงกันอย่างรุนแรงมากๆและลุกออกจากโรงกันตลอดเวลา จนถึงบัดนี้ดิฉันก็ยังนึกไม่ออกเลยว่ามีหนังเรื่องไหนที่ดิฉันได้ดู แล้วพบว่ามีคนลุกหนีออกจากโรงมากที่สุดเท่ากับหนังเรื่องนี้

บทความที่ดีมากๆเกี่ยวกับ SOMBRE ใน SENSES OF CINEMA
http://www.sensesofcinema.com/contents/00/1/sombre.html

อ่านบทสัมภาษณ์ PHILIPPE GRANDRIEUX โดย NICOLE BRENEZ ได้ที่
http://www.rouge.com.au/1/grandrieux.html

ดิฉันชอบ NICOLE BRENEZ ซึ่งเป็นผู้สัมภาษณ์ในที่นี้มากเลยค่ะ เพราะเธอเป็นผู้หญิงที่ยกย่อง BAISE-MOI (2000, A+) อย่างมาก และเธอนำ BAISE-MOI ไปเปรียบเทียบกับ L’ARGENT (ROBERT BRESSON, A+) ด้วย

อ่านที่เธอพูดถึง BAISE-MOI ได้ที่
http://www.sensesofcinema.com/contents/00/11/world.html#nb

ถ้าจำไม่ผิด คุณสนธยา ทรัพย์เย็นเคยให้สัมภาษณ์แก่คุณธีปนันท์ในนิตยสาร PULP ในเล่มประมาณช่วงปลายปีที่แล้ว และมีเอ่ยถึงชื่อ PHILIPPE GRANDRIEUX ในบทสัมภาษณ์ด้วยค่ะ ถ้าดิฉันจำไม่ผิด คุณสนธยาเคยพูดว่าหลังจาก MARGUERITE DURAS และ ANDREI TARKOVSKY ตายไปแล้ว “ผู้กำกับภาพยนตร์เชิงกวี” ที่ยังคงมีชีวิตและทำงานอยู่ในขณะนี้ ก็ได้แก่ PHILIPPE GRANDRIEUX, FRED KELEMEN (คนนี้เป็นหนุ่มเยอรมันที่หล่อมากๆๆๆๆ อ่านบทสัมภาษณ์เขาได้ใน FILMVIRUS เล่มสอง), SHARUNAS BARTAS และ ALEXANDER SOKUROV (ดิฉันคิดว่า ALEKSAI MURADOV ก็น่าจะเข้าข่ายนี้ด้วยเหมือนกัน)

เข้าใจว่าดีวีดีหนังเรื่อง LA VIE NOUVELLE ของ PHILIPPE GRANDRIEUX มีเข้ามาขายในกรุงเทพแล้วด้วยค่ะ อ่านบทความภาษาอังกฤษของหนังเรื่องนี้ได้ที่
http://www.kinoeye.org/04/03/martin03.php

ส่วนบทความภาษาไทยของหนังเรื่อง LA VIE NOUVELLE ดิฉันเคยเอาไปแปะไว้ในเว็บบอร์ด BIOSCOPE ที่นี่ค่ะ
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=5290

La Vie Nouvelle มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายหนุ่มชาวสหรัฐ (แซค ไนท์ตัน) ที่ติดค้างอยู่ในกรุงโซเฟีย ประเทศบัลแกเรียโดยไม่ปรากฏเหตุผลที่แน่ชัด เขาตกหลุมรักโสเภณีคนหนึ่ง (แอนนา มูกลาลิส) และพยายามช่วยเหลือเธอให้รอดพ้นจากแก๊งมาเฟียในท้องถิ่น และความพยายามดังกล่าวส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ที่เลวร้ายมากตามมา นักวิจารณ์บางรายตั้งข้อสังเกตว่า La Vie Nouvelle เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอการกระทำที่รุนแรงโหดร้ายต่อเพศหญิงเหมือน Irreversible ที่กำกับโดยกาสปาร์ โน แต่ La Vie Nouvelle เป็นภาพยนตร์ที่ดูยากกว่า Irreversible โดยผู้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้หลายคนไม่สามารถทนดูภาพในจอและต้องเดินออกจากโรง และกรองดิเยอซ์ยังตั้งใจทำลายทั้งประสาทหูและประสาทตาของผู้ชมด้วยเสียงที่แผดก้องและภาพที่พร่ามัว ถึงแม้ว่าไม่มีฉากใดในเรื่องนี้ที่ใช้เสียงในการทำร้ายผู้ชมได้เท่าฉากงานปาร์ตีในภาพยนตร์เรื่อง Sombre ที่ใช้เพลงประกอบชื่อ Bela Lugosi's Dead ก็ตาม นีล ยัง นักวิจารณ์ของเว็บไซท์ jigsawlounge.co.uk ให้ความเห็นว่าฉากรุ่งสางในชนบทของบัลแกเรียท่ามกลางสายหมอกในช่วงต้นของภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นฉากที่ทรงพลังราวภาพวาดของคาสปาร์ เดวิด ฟรีดิช ซึ่งความดีของฉากนี้เป็นผลจากฝีมือการถ่ายของสเตฟาน ฟองเตน นอกจากนี้ จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่องนี้ยังอยู่ที่ตัวละครหลักที่แทบไม่ปริปากพูด หรือถ้าหากจะพูดก็พูดด้วยเสียงที่ยานคางมาก ในขณะที่ใบหน้าของพระเอกก็แทบไม่แสดงอารมณ์ใดๆออกมา นีล ยัง ตั้งข้อสังเกตว่าถึงแม้พล็อตของเรื่องนี้สามารถนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์แนวตื่นเต้นเร้าใจได้ง่ายมาก กรองดิเยอซ์กลับเลือกที่จะไม่ทำเช่นนั้น เขาเลือกที่จะสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ให้มีลักษณะคล้ายภาพยนตร์แนวทดลอง และ La Vie Nouvelle ยังเหมือนกับเป็นงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับภาพยนตร์อีกด้วย แต่ผู้ที่จะเข้าใจในเรื่องนี้ได้อาจต้องชมภาพยนตร์เรื่องนี้ถึง 3 รอบ เจเรมี เฮลแมน นักวิจารณ์ของ moviemartyr.com ชื่นชอบ La Vie Nouvelle มาก โดยเขากล่าวว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีคุณค่ามากและไม่เหมือนกับภาพยนตร์ใดๆและระบุว่าเขาแทบไม่สามารถหาคำใดมาบรรยายความตื่นเต้นที่เกิดจากภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ เฮลแมนระบุว่ากรองดิเยอซ์ใช้กลวิธีหลายอย่างในการเล่นกับประสาทสัมผัสของผู้ชม ซึ่งรวมถึงการถ่ายภาพที่ขาดโฟกัส และการให้กล้องเข้าไปใกล้ตัวนักแสดงอย่างมากจนทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงสัมผัสทางผิวหนังและรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในบรรยากาศและสภาวะแวดล้อมเดียวกับตัวละครโดยไม่สามารถหนีออกมาได้ นอกจากนี้ จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่องนี้ยังอยู่ที่การใช้ภาษาร่างกายของตัวละคร ในขณะที่การสื่อสารทางคำพูดกลายเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดและไม่เข้ากับโลกของตัวละครในเรื่อง เฮลแมนระบุว่าฉากเด่นของเรื่องนี้คือฉากงานเต้นรำที่ใช้ดนตรีแนวเรฟ เนื่องจากกรองดิเยอซ์สามารถถ่ายภาพให้เข้ากับจังหวะของดนตรีและสามารถถ่ายทอดจิตใจของตัวละครในขณะที่เธอเต้นรำ โดยฉากนี้ถ่ายโดยใช้กล้องที่สั่นไหวและใกล้ชิดกับตัวละครอย่างมาก ทั้งนี้ เฮลแมนยังตั้งข้อสังเกตอีกด้วยว่า La Vie Nouvelle สร้างความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและรุนแรงระหว่างผู้ชมกับภาพบนจอ ดังจะเห็นได้จากฉากที่มืดสนิทจนผู้ชมมองไม่เห็นหน้าตัวละคร และฉากที่ผู้ชมมองไม่ออกว่ารอยดำบนหน้านางเอกเกิดจากการแต่งหน้าหรือเกิดจากการถูกซ้อม มาร์ค ก็อดฟรีย์ จากเว็บไซท์ cluas.com ให้ความเห็นว่า La Vie Nouvelle เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่สร้างสรรค์ที่สุด, น่าตกตะลึงที่สุด และไม่ประนีประนอมมากที่สุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยภาพยนตร์เรื่องนี้มีลักษณะคล้ายบทกวีในขณะที่ภาพที่ปรากฏบนจอเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าทางศิลปะอย่างไม่อาจหาสิ่งใดมาเปรียบเทียบได้ โดยฉากหนึ่งที่โดดเด่นในเรื่องนี้คือฉากที่แสดงให้เห็นทัศนียภาพที่เงียบสงบและใบหน้าของตัวละครที่เหมือนกับเพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดบางอย่างมา ซึ่งสิ่งที่ยอดเยี่ยมในฉากนี้ก็คือการที่กรองดิเยอซ์ใช้ใบหน้าของตัวละครในการแนะให้ผู้ชมรู้สึกถึงเหตุการณ์ที่โหดร้าย แต่กลับให้ผู้ชมสัมผัสกับความเงียบและบรรยากาศที่นิ่งสงบไปพร้อมๆกัน แทนที่จะจู่โจมผู้ชมด้วยเสียงหรือด้วยการตัดต่อที่ฉับไวเหมือนภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ


พูดถึง MARTIN HENDERSON แล้วรู้สึกขำ ENDING CREDIT ของหนังเรื่อง BRIDE AND PREJUDICE มาก เพราะถ้าจำไม่ผิด มีฉากที่ MARTIN HENDERSON นอนเปลือยท่อนบนเบ่งกล้ามอยู่ริมสระน้ำ แล้วผู้กำกับหนังเรื่องนี้ควบคุมอารมณ์ไว้ไม่อยู่จนต้องวิ่งเข้าไปกอดเขา

รู้สึกว่าวันที่มีกลางวันเท่ากับกลางคืน มีอยู่สองวันในปีนึงค่ะ ซึ่งได้แก่

1.VERNAL EQUINOX หรือ SPRING EQUINOX ที่ตรงกับ 21 มี.ค.ในซีกโลกเหนือ
2.AUTUMNAL EQUINOX ที่ตรงกับ 22 ก.ย.

หนังเรื่อง EQUINOX (1992, ALAN RUDOLPH, B) ที่นำแสดงโดยแมทธิว โมดีน และมาริสา โทเมอิ เคยมีขายในรูปแบบวิดีโอลิขสิทธิ์ในไทยด้วยค่ะ โดยแมทธิว โมดีนรับบทเป็นคู่แฝดที่คนนึงดีคนนึงเลวในเรื่องนี้
http://www.imdb.com/title/tt0104201/

พี่เคยดู A STREETCAR NAMED DESIRE แต่ยังไม่เคยดู CRASH ก็เลยงงๆกับคำเปรียบเปรยที่เขาพูดมาเหมือนกันค่ะ แต่รู้สึกว่าทั้งพระเอก SOMBRE กับพระเอก A STREETCAR NAMED DESIRE ต่างก็มีความเป็นสัตว์ป่าที่กักขฬะอยู่ในตัวเหมือนกัน และมีเสน่ห์ดึงดูดแบบเถื่อนๆเหมือนกัน แต่ถ้าหากเทียบกันแล้ว พระเอก A STREETCAR NAMED DESIRE ก็ยังคงดูเป็นมนุษย์ที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวันได้ไม่ยาก แต่พระเอกอย่างใน SOMBRE นั้น แทบจะไม่เหลือความเป็นมนุษย์ปกติอยู่ในตัวแล้ว

BLANCE DUBOIS เป็นผู้หญิงที่ไม่ยอมรับโลกของความเป็นจริงค่ะ เธอรู้สึกรังเกียจความกักขฬะของสแตนลีย์ โควัลสกี แต่ความกักขฬะแบบมีเสน่ห์ของเขาก็ทำให้เธอยั่วยวนเขาในบางครั้ง ส่วนนางเอก SOMBRE นั้นแตกต่างจาก BLANCHE อย่างสิ้นเชิง เพราะถึงแม้ทั้งสองจะมีความ “หลุดโลก” เหมือนกัน แต่นางเอก SOMBRE “หลุดโลก” ด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่องของเธอ แต่ BLANCHE หลุดโลกเพราะเธอต้องการปกปิดความโสมมบางอย่างในใจเธอ


ดีใจมากค่ะที่คุณแฟรงเกนสไตน์เลือกเคน วาตานาเบะมาเล่นหนังด้วย เพราะดิฉันรู้สึกปรารถนาในตัวเขาอย่างมากๆค่ะจากหนังเรื่อง THE LAST SAMURAI (2003, B-) ถึงแม้ว่าจะไม่ชอบหนังเรื่องนี้ก็ตาม เคน วาตานาเบะเกิดปี 1959 ค่ะ แต่เขายังดูดีอยู่มากๆในความเห็นของดิฉัน รู้สึกว่าเขาจะได้เล่นหนังเรื่อง BATMAN BEGINS กับ MEMOIRS OF A GEISHA ด้วย
http://www.imdb.com/name/nm0913822/


ตอบน้อง akanuran 7

เห็นน้องดู WIN A DATE WITH TAD HAMILTON! ไปแล้ว แต่พี่ยังไม่ได้ดูเลยค่ะ อย่างไรก็ดี ตอนนี้พี่อยากดูหนังเรื่องใหม่ของ ROBERT LUKETIC ซึ่งเป็นเกย์หนุ่มหล่อที่เป็นผู้กำกับของ WIN A DATE WITH TAD HAMILTON! มากเลยค่ะ นั่นก็คือหนังเรื่อง MONSTER-IN-LAW ซึ่งพี่เดาว่าผู้กำกับคนนี้ ต้องทำหนังเรื่องนี้ให้ออกมาถูกใจตลาดเกย์แบบ LEGALLY BLONDE (A) อีกแน่ๆ ถึงแม้ว่าเนื้อหาในหนังของผู้กำกับคนนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับเกย์โดยตรงก็ตาม

MONSTER-IN-LAW มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาร์ลอทท์ (เจนนิเฟอร์ โลเปซ) ที่ได้พบรักกับชายหนุ่มผู้คู่ควรกับเธออย่างมากๆ (MICHAEL VARTAN) แต่แม่ของชายหนุ่มคนนี้ (เจน ฟอนดา) กลับพยายามขัดขวางชาร์ลอทท์อย่างรุนแรง

MONSTER-IN-LAW เป็นผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกในรอบ 15 ปีของเจน ฟอนดาค่ะ หลังจากเธอเล่นหนังโรแมนติกคู่กับโรเบิร์ต เดอ นีโรใน STANLEY & IRIS (1990)

เว็บไซท์ของหนังเรื่องนี้อยู่ที่
http://www.monsterinlaw.com/


ดิฉันเคยหลงรัก MICHAEL VARTAN อย่างมากๆค่ะจากหนังเรื่อง FIORILE (1993, PAOLO TAVIANI + VITTORIO TAVIANI, A) http://www.imdb.com/title/tt0106911/
กับเรื่อง NEVER BEEN KISSED (1999, RAJA GOSNELL, B+) แต่หลังๆมานี้ ดิฉันรู้สึกว่าเขาดูเหี่ยวๆซูบๆ ไม่เปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวลเหมือนแต่ก่อน โดยเฉพาะใน ONE HOUR PHOTO (2002, MARK ROMANEK, A-)
http://entimg.msn.com/i/150/ce/0210/MVartan.jpg

อย่างไรก็ดี การได้เห็น MICHAEL VARTAN ในละครทีวีชุด ALIAS ก็เลยทำให้ดิฉันได้คิดว่าทางสตูดิโอ MIRAMATT ควรจะสร้างละครโทรทัศน์แนวเอฟบีไอคู่หูสืบสวนสอบสวนค่ะ แต่เปลี่ยนให้เอฟบีไอคู่หูในเรื่องนี้เป็นคู่เกย์กัน และแสดงโดย MICHAEL VARTAN กับ DAVID DUCHOVNY ที่มักหึงหวงและงอนตุ๊บป่องตุ๊บป่องกันในระหว่างการทำงาน

ละครโทรทัศน์เรื่องนี้จะแพร่ภาพแข่งกับ “CSI: CRIME SCENE INVESTIGATION” ค่ะ แต่ละครของเราจะใช้ชื่อเรื่องว่า “CSI: COKE SUCKER INVESTIGATORS” แทน (มีผู้บริหารคนไหนใน MIRAMATT อยากดูแลการผลิตละครเรื่องนี้โดยเฉพาะมั้ยคะ)


เข้าไปดูมิวสิควิดีโอ MY BOO แล้วค่ะ น่ารักและฮามากๆเลยค่ะ ชอบฉากที่เจนนิเฟอร์เลียกล้ามท้องของแบรด พิทท์มากเลยค่ะ

หวังว่าการแยกทางกันในครั้งนี้จะทำให้เจนนิเฟอร์ อนิสตันประสบความสำเร็จกับการเล่นหนังมากขึ้นนะคะ ดิฉันยังไม่ได้ดูเรื่อง THE GOOD GIRL (2002, MIGUEL ARTETA) ที่เธอนำแสดงเลยค่ะ

อยากดูเรื่อง NOVEMBER (2004, GREG HARRISON) ที่นำแสดงโดย COURTNEY COX มากๆเหมือนกันค่ะ

ความเห็นของผู้ชมที่มีต่อ NOVEMBER
http://www.imdb.com/title/tt0368089/


ส่วนทางด้าน LISA KUDROW นั้น ดิฉันก็อยากดูหนังเรื่อง HAPPY ENDINGS (2005, DON ROOS) ของเธออย่างมากๆค่ะ รู้สึกว่าในเรื่องนี้ KUDROW รับบทเป็นผู้หญิงที่ตั้งท้องกับพี่ชายไม่แท้ชื่อชาร์ลี (STEVE COOGAN) แต่ต่อมาพี่ชายไม่แท้คนนี้ก็กลายเป็นเกย์ และหันไปอยู่กินกับผู้ชายอีกคน (DAVID SUTCLIFFE) และพวกเขาก็มีเพื่อนเป็นเลสเบียนสาวสองคน (Laura Dern + Sarah Clarke) โดยมีผู้ชายอีกคน (Jason Ritter) แอบชื่นชมชาร์ลีอยู่ห่างๆ
http://www.iofilm.co.uk/fm/h/happy_endings_2005.shtml


อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ HAPPY ENDINGS น่าดูอย่างมากๆ ก็คือ BOBBY CANNAVALE สุดหล่อจาก SHALL WE DANCE (2004, A-) ร่วมแสดงในหนังเรื่องนี้ด้วยค่ะ

ก่อนหน้านี้ DON ROOS เคยกำกับหนังเกย์เรื่อง THE OPPOSITE OF SEX (1998, A) ค่ะ


DESIRABLE ACTOR

YU JI-TAE—OLDBOY (A)

YU JI-TAE เกิดปี 1976 และเคยเล่นหนังเรื่อง

INTO THE MIRROR (2003, KIM SEONG-HO, A)
ONE FINE SPRING DAY (2001, HUR JIN-HO, B+)
NIGHTMARE (2000, AHN BYEONG-KI, C)
http://www.imdb.com/title/tt0269266/

No comments: