Monday, April 11, 2005

SVETLANA BASKOVA

ชอบประเด็นต่อต้านสงครามใน CASSHERN มากๆเหมือนกันค่ะ

ไอเดียเรื่องสายฟ้าที่ผ่าออกมาเป็นของแข็งเก๋มากๆ

ชอบ CASSHERN มากกว่า SKY CAPTAIN AND THE WORLD OF TOMORROW (KERRY CONRAN, B+) รู้สึกว่า SKY CAPTAIN จัดเป็นหนังฮอลลีวู้ดที่ใช้ได้เรื่องนึง แต่ CASSHERN โหดและเจ็บปวดดี

พูดถึงหนังเกี่ยวกับสงคราม ตอนนี้ดีวีดีที่อยากดูมากๆก็คือดีวีดีเรื่อง SPIRITUAL VOICES (1995, ALEXANDER SOKUROV) ซึ่งมีวางจำหน่ายในสหรัฐแล้วตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมา

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับดีวีดี SPIRITUAL VOICES ได้ที่
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/B0007LFPKW/qid%3D1113218868/sr%3D11-1/ref%3Dsr%5F11%5F1/102-3094168-1890518

SPIRITUAL VOICES เป็นหนังความยาว 5 ชม. 28 นาที ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับทหารรัสเซียที่ถูกส่งไปประจำพรมแดนติดกับแอฟกานิสถาน

หนังเกี่ยวกับทหารหนุ่มๆรัสเซียที่ควรดูควบกับดีวีดี SPIRITUAL VOICES ได้แก่เรื่อง

1.100 DAYS BEFORE THE COMMAND (1990, KHUSEIN ERKENOV, A+)
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/B00004YKRL/qid%3D1113219134/sr%3D11-1/ref%3Dsr%5F11%5F1/102-3094168-1890518

2.MY STEP-BROTHER FRANKENSTEIN (2004, VALERI TODOROVSKY, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0416040/

3.PRISONER OF THE MOUNTAINS (1997, SERGEIN BODROV)
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B00008ZZ9M/qid=1113219316/sr=1-1/ref=sr_1_1/102-3094168-1890518?v=glance&s=dvd

4.GREEN ELEPHANT (1999, SVETLANA BASKOVA) น่าดูสุดขีด**********
http://www.filmfestivalrotterdam.com/en/film/31438.html



THE SEA IS WATCHING ยังไม่ได้ดูเลยค่ะ แต่เคยดูหนังของ KEI KUMAI สองเรื่อง ซึ่งก็คือ

1.SEN NO RIKYU หรือ DEATH OF A TEA MASTER (1989, A+) หนังเรื่องนี้สงบนิ่งสุดๆ และให้อารมณ์สุดยอดมากๆ ดิฉันดูหนังเรื่องนี้รอบแรกแล้วหลับค่ะ เพราะฉะนั้นก่อนที่ดิฉันจะไปดูหนังเรื่องนี้รอบสอง ดิฉันก็เลยดื่มกาแฟเตรียมตัวไปเต็มที่ ผลปรากฏว่าไม่หลับ และรู้สึกว่านี่เป็นหนังที่บรรเจิดมากๆเรื่องนึง หนังเวียนมาฉายบ่อยๆที่มูลนิธิญี่ปุ่น

ข้อควรระวัง: อย่าจำหนังเรื่อง SEN NO RIKYU ของ KEI KUMAI สลับกับหนังเรื่อง RIKYU (1989, HIROSHI TESHIGAHARA) ที่เคยมีแพร่หลายในรูปแบบวิดีโอ

2.DARKNESS IN THE LIGHT (2001, A-) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับองค์การโอม ชินริเกียว

หนังทั้งสองเรื่องของ KEI KUMAI ที่ได้ดูมา ล้วนเป็นหนังที่ใช้ “โครงสร้างหนังสืบสวนสอบสวน” ทั้งสองเรื่อง แต่แทนที่จะทำออกมาเป็นหนัง THRILLER ตื่นเต้นลุ้นระทึก เคอิ คุมาอิกลับนำเสนอหนังทั้งสองเรื่องในแบบหนังสะท้อนปัญหาสังคมและแก่นแท้มนุษย์มากกว่า

เดาว่าสาเหตุที่ทำให้ตัวเองชอบ DARKNESS IN THE LIGHT ในระดับแค่ A- อาจจะเป็นเพราะว่าเคอิ คุมาอิไม่สามารถ “ควบคุม” หนังทั้งเรื่องให้ออกมาสุดๆได้ เพราะหนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง และทางผู้สร้างคงต้องการนำเสนอข้อเท็จจริงเป็นหลัก มากกว่าจะนำเสนออารมณ์เหวอๆล่องๆลอยๆนิ่งๆ เหมือนหลุดเข้าไปอยู่ในภพวิเวกแบบใน SEN NO RIKYU การที่ DARKNESS IN THE LIGHT นำเสนอประเด็นที่ค่อนข้างล่อแหลม, ต้องเกรงใจบุคคลจริงๆหลายๆคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และต้องการทำตัวเป็นหนังเพื่อสังคมมากกว่าหนังเซอร์ๆ ก็เลยทำให้ DARKNESS IN THE LIGHT ไม่ออกมา “สุดๆ” ในความเห็นของดิฉัน

ถ้าหากกรณีโอม ชินริ เกียวไม่มีจริง และเคอิ คุมาอิต้องการทำหนังเกี่ยวกับลัทธิอุบาทว์แล้วล่ะก็ ดิฉันคิดว่าเขาสามารถทำหนังให้ออกมาได้หลอกหลอนไม่แพ้คิโยชิ คุโรซาวะเลยล่ะค่ะ

หนังเกี่ยวกับลัทธิโอมชินริเกียวที่เคยดูอีกเรื่องคือหนังสารคดีเรื่อง A (1998, TATSUYA MORI, B/B-) ที่มีความยาว 136 นาที หนังเรื่องนี้เน้นนำเสนอชีวิตของสมาชิกคนหนึ่งในลัทธิโอม ชินริเกียว แต่รู้สึกว่าหนังค่อนข้างยาวไปหน่อย
http://www.imdb.com/title/tt0241146/

เคยดูหนังที่สร้างจากบทภาพยนตร์ของ AKIRA KUROSAWA เรื่องนึง ซึ่งก็คือเรื่อง WHEN THE RAIN LIFTS (1999, TAKASHI KOIZUMI, A-) หนังดูสวยงามดี
http://www.imdb.com/title/tt0181960/

หนังเกี่ยวกับโสเภณีญี่ปุ่นที่ชอบมากๆคือเรื่อง THE INSECT WOMAN (1963, SHOHEI IMAMURA, A)
http://www.imdb.com/title/tt0057363/

หนังเกี่ยวกับโสเภณีญี่ปุ่นที่อยากดูมากๆคือเรื่อง CROSSWAYS (1928, TEINOSUKE KINUGASA)

CROSSWAYS เป็นหนังเรื่องที่สองที่คินุงาสะสร้างร่วมกับคณะละครทดลองของเขา โดยเขาสร้างหนังเรื่องนี้หลังจาก PAGE OF MADNESS (1926) ที่โด่งดัง

CROSSWAYS เป็นหนังเมโลดรามาที่เรียบง่ายเกี่ยวกับชายคนหนึ่งที่หลงรักเกอิชา และน้องสาวของผู้ชายคนนี้ที่ใช้ความพยายามอย่างบ้าคลั่งในการขัดขวางพี่ชาย

CROSSWAYS หรือ JUJIRO ดำเนินเรื่องอย่างเชื่องช้า และมีจุดเด่นที่การจัดแสง, การตัดต่อ และการถ่ายภาพ โดยฉากเด่นในหนังเรื่องนี้รวมถึงฉากที่ลมหายใจกลายสภาพเป็นเหมือนหมอกควันท่ามกลางอากาศที่เย็นจัด และฉากที่ไอน้ำระเหยออกมาจากเสื้อผ้า

นักวิจารณ์บอกว่าฉากย่านโสเภณีในหนังเรื่องนี้ โดยเฉพาะการจัดแสง, เงา และการเคลื่อนไหวในฉากนี้ แสดงให้เห็นว่าคินุงาสะมีพรสวรรค์ในการเป็นศิลปินแนว expressionist

*****คินุงาสะเคยเล่นละครคาบูกิเป็นตัวละครหญิงมาก่อน*****

เคยดูหนังเรื่อง GATE OF HELL (1954, TEINOSUKE KINUGASA, A) หนังมีการถ่ายภาพและการใช้สีที่สวยมากๆ

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับดีวีดี GATE OF HELL ได้ที่
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/6303073093/qid%3D1113222205/sr%3D11-1/ref%3Dsr%5F11%5F1/102-3094168-1890518

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับดีวีดี A PAGE OF MADNESS (1926) ได้ที่
http://other-dvd-movies-cat.ioffer.com/i/A-PAGE-OF-MADNESS-Kurutta-Ippeji-Teinosuke-Kinugasa-3646229

A PAGE OF MADNESS มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลาสีวัยชราที่ทำงานเป็นภารโรงในโรงพยาบาลบ้า เพื่อที่เขาจะได้อยู่ใกล้ชิดกับภรรยาโรคจิตของเขา และเพื่อที่เขาจะได้ช่วยเธอหลบหนี แต่เธอกลับไม่อยากหลบหนี
บางคนตั้งข้อสังเกตว่า A PAGE OF MADNESS น่าจะได้รับอิทธิพลจากหนังเยอรมันเรื่อง THE CABINET OF DR. CALIGARI (1919, ROBERT WIENE, A-) แต่เทคนิคที่ใช้ใน A PAGE OF MADNESS เป็นเทคนิคที่แพรวพราวหลากหลายมาก

No comments: