Monday, May 01, 2006

SISTER MY SISTER (NANCY MECKLER)

2.Monster (2003, แพตตี เจนกินส์)

หนังเรื่องนี้นำแสดงโดยชาร์ลิซ ธีรอน และสร้างจากเรื่องจริงเหมือน Bremen Freedom โดยพูดถึงเรื่องของไอลีน วัวร์นอส โสเภณีที่เคยถูกผู้ชายกระทำทารุณ แต่ในเวลาต่อมา เธอก็เริ่มพลิกจากบทบาทของเหยื่อมาเป็นบทบาทของผู้ล่าบ้าง

ดิฉันประทับใจกับความรักของไอลีนที่มีต่อหญิงสาวชื่อเซลบี (คริสตินา ริชชี) ในหนังเรื่องนี้มากเลยค่ะ ส่วนฉากที่ประทับใจดิฉันมากๆในหนังเรื่องนี้อยู่ในช่วงต้นเรื่อง โดยในช่วงนั้น ไอลีนยังคงมีความหวังในชีวิตว่าเธอจะสามารถหางานดีๆทำได้ เธอพยายามแต่งตัวดีๆไปสมัครงาน แต่ก็พบว่าโลกช่างโหดร้ายกับเธอเสียยิ่งนัก ในขณะที่ฉากจบของหนังเรื่องนี้ก็สะเทือนใจดิฉันมากๆเช่นกัน ทั้งๆที่รู้ล่วงหน้าอยู่แล้วว่าชะตากรรมของผู้หญิงคนนี้จะต้องลงเอยอย่างไร

หลังจากฆ่าคนตายไปหลายคน ไอลีนก็ถูกจับและถูกประหารชีวิตในปี 2002 แต่ก่อนที่เธอจะถูกประหารชีวิต ก็มีคนไปสัมภาษณ์เธอและนำบทสัมภาษณ์นั้นมาสร้างเป็นหนังสารคดีที่น่าสนใจสองเรื่อง ซึ่งก็คือ Aileen Wuornos: The Selling of a Serial Killer (1992, นิค บรูมฟิลด์) และ Aileen: Life and Death of a Serial Killer (2003, นิค บรูมฟิลด์, โจน เชอร์ชิล)

ดิฉันประทับใจกับ Monster มากกว่าหนังหลายๆเรื่องที่ได้ชิงรางวัลออสการ์ในปีเดียวกันค่ะ หนังเรื่องนี้เป็นหนังอินดี้ที่ดูเหมือนธรรมดาๆ ไม่มีกลวิธีการเล่าเรื่องที่น่าสนใจหรือมีความคิดสร้างสรรค์แปลกๆใหม่ๆแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี หนังที่ดูเหมือนธรรมดาแบบนี้แหละที่นำเสนอมนุษย์และรายละเอียดปลีกย่อยเกี่ยวกับมนุษย์ได้อย่างน่าชื่นชม, ให้อารมณ์ที่ละเอียดอ่อน และส่งผลกระทบทางอารมณ์อย่างรุนแรงมากหลังจากดูจบ

นอกจาก Monster แล้ว หนังที่ดิฉันรู้สึกว่า “ดูภายนอกเหมือนธรรมดาๆ เพราะเล่าเรื่องชีวิตมนุษย์อย่างค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่กลับส่งผลกระทบทางอารมณ์อย่างมากๆ” ยังรวมถึงหนังอินดี้เรื่อง A Home at the End of the World (2004, ไมเคิล เมเยอร์), Mad Dog and Glory (1992, จอห์น แมคนอห์ตัน), หนังบางเรื่องของมอริซ เปียลาต์ (A Nos Amours) และหนังบางเรื่องของคล็อด ซอเตท์ (The Things of Life)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00005BFB1.01.LZZZZZZZ.jpg

MAX AND THE JUNKMEN (1971, CLAUDE SAUTET)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00005LOGB.01.LZZZZZZZ.jpg

CESAR & ROSALIE (1972, CLAUDE SAUTET)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00005NJ30.08.LZZZZZZZ.jpg

VINCENT, FRANCOIS, PAUL AND THE OTHERS (1974, CLAUDE SAUTET)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00005BFB2.01.LZZZZZZZ.jpg

A BAD SON (1980, CLAUDE SAUTET)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00005LOGA.01.LZZZZZZZ.jpg

นอกจาก Aileen: Life and Death of a Serial Killer แล้ว ยังมีหนังสารคดีเกี่ยวกับฆาตกรหญิงอีกเรื่องที่ดิฉันอยากดูมากค่ะ นั่นก็คือเรื่อง The Execution of Wanda Jean ที่กำกับโดยผู้หญิงชื่อลิซ การ์บัส โดยการ์บัสเคยกำกับภาพยนตร์สารคดีเรื่อง The Farm: Angola, USA (1998), The Nazi Officer's Wife (2003) และ Girlhood (2003)The Execution of Wanda Jean เล่าเรื่องของแวนดา ยีน อัลเลน ผู้หญิงผิวดำที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาฆาตกรรมในปี 1989 และถูกประหารชีวิตในวันที่ 11 ม.ค.ปี 2001 ซึ่งส่งผลให้เธอเป็นผู้หญิงผิวดำคนแรกในสหรัฐในรอบเกือบ 50 ปีที่ถูกประหารชีวิต The Execution of Wanda Jean บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่แวนดารอคอยการประหารชีวิต ซึ่งรวมถึงเรื่องของการยื่นอุทธรณ์และการชุมนุมประท้วงของกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับโทษประหาร โดยทีมทนายความของแวนดาให้เหตุผลว่าลูกความของเขาไม่ควรได้รับโทษประหารเพราะลูกความของเขามีอาการเกือบเหมือนคนปัญญาอ่อน และความบกพร่องทางสมองในจุดนี้ทำให้แวนดาตอบโต้ด้วยการใช้ความรุนแรงเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด นอกจากนี้ ฝ่ายทนายยังระบุว่าคณะกรรมการตัดสินการลดหย่อนผ่อนโทษไม่ทราบเรื่องที่แวนดาเป็นคนปัญญาอ่อน เพราะไม่เช่นนั้นแล้วแวนดาคงไม่ได้รับโทษประหารชีวิต อย่างไรก็ดี แวนดาไม่ได้ดูเหมือนคนปัญญาอ่อนหรือคนโรคจิตแต่อย่างใด เธอเป็นผู้หญิงที่ดูสุภาพเรียบร้อย ในขณะที่ญาติๆของแวนดากลับดูไม่สบายใจกับเรื่องที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งของภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทอดการทะเลาะเบาะแว้งกันภายในกลุ่มพี่น้องและลูกพี่ลูกน้องของแวนดา โดยคนกลุ่มนี้หมกมุ่นกับเรื่องที่ว่าตนเองได้รับความเคารพจากทนายความและสื่อมวลชนมากพอแล้วหรือไม่ ผู้หญิงที่ถูกแวนดาฆ่าตายชื่อกลอเรีย เลเธอร์ส ซึ่งเคยเป็นเพื่อนร่วมห้องและเป็นคนรักของแวนดา และภาพยนตร์เรื่องนี้ก็แสดงให้เห็นว่าญาติๆของกลอเรียบางคนก็รู้สึกโกรธแค้นแวนดาในขณะที่บางคนก็ยินยอมให้อภัย จุดเด่นของ The Execution of Wanda Jean คือการที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ดนตรีประกอบและเทคนิคพิเศษน้อยมาก, การที่ผู้สร้างภาพยนตร์ได้ใส่ข้อความขึ้นมาบนหน้าจอเพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ชม และการที่ผู้สร้างภาพยนตร์หลีกเลี่ยงการเรียกร้องความสงสารจากผู้ชมในฐานะที่แวนดาเป็นคนผิวดำและเป็นเลสเบียน นักวิจารณ์บางคนตั้งข้อสังเกตว่า The Execution of Wanda Jean เน้นแสดงให้เห็นถึงระบบและกลไกทางกฎหมายในการประหารชีวิตแวนดา และภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของผู้ชมในเรื่องการสนับสนุนหรือคัดค้านโทษประหารชีวิต

THE EXECUTION OF WANDA JEAN (2002, LIZ GARBUS)
http://images.amazon.com/images/P/B000BB154I.01.LZZZZZZZ.jpg

GIRLHOOD (2003, LIZ GARBUS)
http://images.amazon.com/images/P/B0001JXPJ8.01.LZZZZZZZ.jpg

THE NAZI OFFICER’S WIFE (2003, LIZ GARBUS)
http://images.amazon.com/images/P/B00009RXJ3.01.LZZZZZZZ.jpg


3. Sister, My Sister (1994, แนนซี เมคเลอร์, อังกฤษ) และ Murderous Maids (2000, ฌอง-ปิแอร์ เดนีส์, ฝรั่งเศส)
http://images.amazon.com/images/P/B0001I54RK.01.LZZZZZZZ.jpg
http://images.amazon.com/images/P/B0000AQS4F.01.LZZZZZZZ.jpg

ทั้ง Sister, My Sister และ Murderous Maids ต่างก็สร้างจากเรื่องจริงเหมือน Bremen Freedom และ Monster ค่ะ โดย Sister, My Sister และ Murderous Maids สร้างจากคดีฆาตกรรมสะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสในปี 1933 เมื่อสาวใช้สองคนที่เป็นพี่น้องกันและมีความสัมพันธ์ทางเพศกันได้สังหารนายจ้างหญิงสองคนอย่างโหดเหี้ยมโดยใช้ค้อน, มีด และเหยือกโลหะ

ดิฉันเคยดูแต่ Sister, My Sister ค่ะ แต่ยังไม่ได้ดู Murderous Maids โดยใน Sister, My Sister นั้น นางเอกทั้งสองคน (โจลี ริชาร์ดสัน กับโจดี เมย์) ทำงานเป็นสาวใช้ในบ้านอันหรูหราของมาดามดองซาร์ด (จูลี วอลเทอร์ส จาก Billy Elliot) ซึ่งตั้งอยู่ในเมือง Le Mans ของฝรั่งเศส โดยมีอิซาเบล (โซฟี เธอร์สฟิลด์) ซึ่งเป็นลูกสาวของดองซาร์ดอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นด้วย

สาวใช้สองคนนี้ดูเหมือนเป็นสาวใช้ที่สมบูรณ์แบบในตอนแรก พวกเธอพยายามอดทนกับมาดามดองซาร์ดที่เข้มงวดเรื่องการทำความสะอาดเป็นอย่างมาก แต่พวกเธอก็รู้สึกหวาดระแวงว่าจะมีคนมาล่วงรู้ความลับเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศที่ผิดปกติของพวกเธอ
คดีฆาตกรรมที่เป็นที่มาของเรื่องนี้เป็นคดีที่สร้างความสนใจให้กับปัญญาชนชาวฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก โดยฌอง-ปอล ซาตร์ นักปรัชญาลัทธิอัตถิภาวะนิยมกับซีโมน เดอ โบวัวร์ ภรรยาของเขา เคยกล่าวว่าคดีนี้สะท้อนให้เห็นถึงสงครามระหว่างชนชั้น ในขณะที่ฌากส์ ลาคอง นักจิตวิเคราะห์ชื่อดังเคยใช้คดีนี้เป็นพื้นฐานในการตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับโรคจิต และเคยเรียกความผูกพันกันอย่างลึกซึ้งของฆาตกรสาว 2 คนนี้ว่า "Siamese souls" ทางด้านฌอง เฌเนต์ นักประพันธ์ชื่อดังชาวฝรั่งเศสก็เคยนำคดีนี้มาสร้างเป็นละครเวทีเรื่อง The Maids
ส่วนในเวอร์ชั น Murderous Maids นั้น หนังเล่าเรื่องของคริสติน (ซิลวี เทสตุด จาก La Captive) และลีอา (จูลี-มารี ปาร์มองติเยร์) ซึ่งเป็นพี่น้องที่มีอายุห่างกัน 7 ปี ทั้งสองคนนี้แทบไม่รู้จักพ่อของตัวเองเนื่องจากเคลมองซ์ (อิซาเบล เรโนลด์ จาก Perfect Love) ซึ่งเป็นแม่ของทั้งสองกล่าวหาพ่อว่าข่มขืนเอมิเลีย ซึ่งเป็นพี่สาวคนโตสุดของครอบครัวก่อนที่พ่อจะทิ้งครอบครัวไป ส่วนเอมิเลียนั้นบวชเป็นชีในเวลาต่อมา เคลมองซ์ควบคุมลูกสาวด้วยความเข้มงวด และส่งผลให้คริสตินรู้สึกเกลียดชังแม่เป็นอย่างมาก โดยเคลมองซ์เองนั้นก็ทำงานเป็นสาวใช้ตามบ้านเช่นกัน และเธอไม่อนุญาตให้คริสตินบวชชีตามพี่สาว แต่กลับบังคับให้
คริสตินทำงานหาเงินด้วยความยากลำบาก ทั้งนี้ สเตฟานี ซาคาเรค นักวิจารณ์ของเว็บไซท์ salon.com กล่าวว่าฌอง-ปิแอร์ เดนีส์ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ และมิเชล เปแตง ผู้เขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้ตั้งทฤษฎีว่าการที่คริสตินรู้สึกเกลียดชังแม่ส่งผลให้คริสตินรู้สึกผูกพันกับลีอาเป็นอย่างมาก เนื่องจากลีอาเป็นผู้หญิงคนสุดท้ายที่คริสตินสามารถยึดเหนี่ยวไว้ได้ในขณะที่ผู้หญิงคนอื่นๆที่เคยมีความสำคัญต่อคริสตินต่างทอดทิ้งเธอไปหมด ทางด้านเอ.โอ. สก็อต นักวิจารณ์ของนิวยอร์ค ไทม์สตั้งข้อสังเกตว่าความรุนแรงที่คริสตินกระทำต่อมาดาม ลองเซอแลง (โดมินิก ลาบูริเยร์ ซึ่งรับบทเป็นจูลีใน Celine and Julie Go Boating) นายจ้างหญิงสูงวัยในเวลาต่อมาอาจเป็นเพราะคริสตินใช้มาดาม ลองเซอแลงเป็นที่ระบายความเกลียดชังแทนแม่ของเธอเอง คริสตินและลีอาได้เข้าทำงานเป็นสาวใช้ในบ้านของมาดาม ลองเซอแลงซึ่งมีลูกสาวชื่อเจเนวีฟ (มารี ดอนนิโอ) อาศัยอยู่ด้วย โดยมาดาม ลองเซอแลงนั้นเป็นนายจ้างที่ดีต่อพี่น้องคู่นี้มากกว่านายจ้างคนก่อนๆ อย่างไรก็ดี ทั้งสองคนก็ยังคงต้องทำงานหนักเกือบตลอดเวลา ซึ่งรวมถึงต้องขัดบันไดให้ขึ้นเงา, ต้องทำอาหาร, ต้องซักผ้า และต้องคอยปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้านายอยู่เสมอ คริสตินและลีอาเริ่มมีความสัมพันธ์ทางเพศกันในห้องใต้หลังคา โดยนักวิจารณ์บางรายกล่าวว่าฉากรักของผู้หญิงสองคนนี้ถ่ายทำได้ดีมาก โดยเดนีส์กล้าที่จะนำเสนอความสัมพันธ์ที่ผิดศีลธรรมของทั้งสองอย่างตรงไปตรงมา แต่ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับฉากดังกล่าวมากจนเกินไป ต่อมาคริสตินเริ่มหวาดระแวงว่ามาดาม ลองเซอแลงอาจค้นพบความลับของทั้งสอง และคริสตินยังรู้สึกอิจฉาที่ลีอาไปใกล้ชิดสนิทสนมกับเจเนวีฟด้วย ความรู้สึกเหล่านี้ผลักดันให้คริสตินกระทำการฆาตกรรมมาดาม ลองเซอแลงและลูกสาวโดยมีลีอาเป็นผู้ช่วย โดยทั้งสองไม่เพียงแต่ทำให้นายจ้างเสียชีวิตเท่านั้น แต่ทั้งสองยังตัดเฉือนศพด้วยวิธีการที่น่าสยดสยองซึ่งรวมถึงการควักลูกตาศพ ทั้งนี้ ทั้งสองรับใช้ครอบครัวลองเซอแลงมาเป็นเวลานาน 7 ปีก่อนจะก่อเหตุฆาตกรรม และนักข่าวของนิตยสารวานิตี แฟร์ในปี 1933 รายงานข่าวนี้โดยใช้คำว่า เหตุการณ์นี้ไม่ใช่การฆาตกรรม แต่เป็น "การปฏิวัติ" คริสตินเสียชีวิตในเรือนจำหลังจากติดคุกได้ 4 ปี ในขณะที่ลีอาถูกตัดสินให้ทำงานหนักเป็นเวลา 10 ปีก่อนจะได้รับการปล่อยตัวในเวลาต่อมา ทั้งนี้ ซิลวี เทสตุด ดาราวัย 31 ปีที่รับบทเป็นคริสตินให้สัมภาษณ์นิตยสารวิลเลจ วอยซ์ ว่า "คดีนี้เป็นคดีที่ประชาชนชาวฝรั่งเศสในทศวรรษ 1930 ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้ ในตอนนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ชนชั้นล่างจะสามารถฆ่าชนชั้นกลางที่ร่ำรวยและได้รับความนับถือในสังคม นอกจากนี้ การฆาตกรรมครั้งนี้ยังมีฆาตกรเป็นผู้หญิงและเหยื่อเป็นผู้หญิง โดยฆาตกรยังเป็นพี่น้องที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกันเองอีกต่างหาก" เทสตุดกล่าวในวิลเลจ วอยซ์ ว่า "คริสตินเหมือนหม้อต้มความดันที่กำลังจะระเบิด ฉันรู้สึกว่าคริสตินเป็นคนที่หัวดีมาก แต่การที่เธอเป็นชนชั้นล่างของสังคมทำให้เธอไม่สามารถทำอะไรได้ เธอสามารถลดฐานะลงไปจากเดิมได้ แต่เธอไม่สามารถเลื่อนฐานะขึ้นเป็นชนชั้นกลางได้ เธอทำได้เพียงอย่างเดียวคือก้มหน้าก้มตาทำความสะอาดต่อไป นั่นเป็นอนาคตเพียงอย่างเดียวสำหรับเธอ เธอต้องใส่ชุดที่มีคอปกรัดแน่นมาก และเธอต้องฉีกคอปกออกเพื่อที่เธอจะได้หายใจได้ ถึงแม้สิ่งที่เธอทำจะเลวร้าย แต่เธอก็เป็นเหยื่อเช่นกัน" ฌอง-ปิแอร์ เดนีส์ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ให้สัมภาษณ์นิวยอร์ค ไทม์สว่า "สื่อมวลชนยุคนั้นทำให้ผู้หญิงสองคนนี้กลายเป็นสัตว์ประหลาดในสายตาคนอื่น แต่ผมต้องการทำให้สัตว์ประหลาดที่ว่ากลับมาเป็นมนุษย์ในสายตาของผู้ชมอีกครั้ง" โดยเดนีส์นั้นมีอายุ 56 ปีและเคยทำงานเป็นศุลกากรเป็นเวลา 12 ปีก่อนจะมากำกับภาพยนตร์เรื่องนี้

ทางด้านแนนซี เมคเลอร์นั้น หลังจากเธอกำกับ Sister, My Sister ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเลสเบียนแล้ว เธอก็กำกับหนังเกย์เรื่อง Alive and Kicking หรือ Indian Summer (1996) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเกย์ โดยมีบิล ไนห์ ดาราวัยดึกจากหนังเกย์เรื่อง AKA (2002, ดันแคน รอย) มาร่วมแสดงในเรื่องนี้ด้วย
http://images.amazon.com/images/P/6305760977.01.LZZZZZZZ.jpg

Alive and Kicking เล่าเรื่องของโตนิโอ (เจสัน เฟลมิง จาก The Return of James Battle) ดารานำของคณะบัลเลต์ ลูน่า แต่คณะบัลเลต์ของเขากำลังจะปิดตัวลง เนื่องจากสมาชิกหลายคนในคณะเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ และลูน่า (โดโรธี ตูติน) ก็ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์

โตนิโอตัดสินใจรับบทนำในละครเรื่อง Indian Summer และทุ่มเทตัวเองอย่างเต็มที่ให้กับการแสดงบทนี้ เพราะเขาเองก็เป็นโรคเอดส์เหมือนกัน และบทนี้อาจเป็นโอกาสครั้งสุดท้ายสำหรับเขา นอกจากนี้ การที่เขาทุ่มเททำงานอย่างหนักยังช่วยให้เขาหลงลืมความเปล่าเปลี่ยว, สับสน และไร้ทางออกในชีวิตด้วย

อย่างไรก็ดี โตนิโอได้พบกับแจ็ค (แอนโทนี เชอร์ จาก Mrs. Brown) ผู้ชายที่อายุมาก, หัวล้าน, เต้นรำไม่เป็น และไม่เป็นโรคเอดส์ แจ็คสนใจในตัวโตนิโอ ถึงแม้โตนิโอจะปฏิเสธความรักของเขาก็ตาม

หนังเรื่องนี้มีลักษณะคล้ายหนังกลุ่ม realism ของอังกฤษที่เน้นนำเสนอความเฮงซวยของชีวิต อย่างไรก็ดี บทภาพยนตร์เรื่องนี้มีความแหลมคมและรู้จักหลีกเลี่ยงอารมณ์หดหู่แบบที่มักพบในหนังส่วนใหญ่ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโรคเอดส์ โดยบทภาพยนตร์เรื่องนี้เน้นถ่ายทอดความรู้สึกอันสดใสของเกย์สองคนขณะจีบกันแทน

Alive and Kicking ดัดแปลงมาจากบทละครเวทีของมาร์ติน เชอร์แมน (Bent) โดยเชอร์แมนรับหน้าที่เขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้เอง

ระวังอย่าจำชื่อหนังเรื่อง Alive and Kicking สลับกับหนังอินดี้อเมริกันเรื่อง Kicking and Screaming (1995, โนอาห์ บอมบาค) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักศึกษาจบใหม่ และนำแสดงโดยปาร์คเกอร์ โพซีย์ หรือสลับกับหนังอังกฤษเรื่อง Walking and Talking (1996, นิโคล โฮลอฟเซเนอร์) ที่นำแสดงโดยแคเธอรีน คีเนอร์ นอกจากนี้ ระวังอย่าจำชื่อหนังเรื่อง Indian Summer สลับกับหนังเรื่อง Indian Runner (1991, ฌอน เพนน์) ด้วย โดย Indian Runner นั้นนำแสดงโดยวิกโก มอร์เทนเซน

KICKING AND SCREAMING
http://images.amazon.com/images/P/1573623555.01.LZZZZZZZ.jpg

WALKING AND TALKING
http://images.amazon.com/images/P/B000065V39.01.LZZZZZZZ.jpg

INDIAN RUNNER
http://images.amazon.com/images/P/B00005PJ6Q.01.LZZZZZZZ.jpg

นอกจาก Alive and Kicking แล้ว หนังที่ให้อารมณ์สดใสเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคเอดส์ยังรวมถึงเรื่อง Jeffrey (1995, คริสโตเฟอร์ แอชลีย์), Jeanne and the Perfect Guy (1997, โอลิวิเยร์ ดูคาสเตล, ฌาคส์ มาร์ติโน) และ To Die For (1994, ปีเตอร์ แมคเคนซี ลิทเทน) โดย To Die For หรือ Heaven’s a Drag มีเนื้อหาเกี่ยวกับมาร์ค (เอียน วิลเลียมส์) กะเทยแต่งหญิงที่เสียชีวิตจากโรคเอดส์ แต่พอเธอเสียชีวิตไปได้ไม่นาน ไซมอน (โธมัส อาร์คลี) แฟนหนุ่มหล่อของเธอที่ไม่เป็นโรคเอดส์ก็ออกหาแฟนคนใหม่ในทันที ดังนั้นวิญญาณของมาร์คจึงกลับมาหลอกหลอนแฟนหนุ่มตัวดีคนนี้
http://images.amazon.com/images/P/B000067IXM.01.LZZZZZZZ.jpg

No comments: