Friday, October 03, 2008

NO ONE AT THE SEA

I’m very glad that Tossapol Boonsinsukh has made more of his films available on Youtube.

1.SCENERY (2004, A+)
http://www.youtube.com/watch?v=X7hLiGXZf4E
Three people comment on the views they see. The first one likes the angle of the view she sees on a bridge. The second person comments that when the camera zooms in on the sprinkler, it seems as if the water splashes on the camera. The third person comments that the view is beautiful.


2.NO ONE AT THE SEA (A+)
http://www.youtube.com/watch?v=8vB7yCQURj8


3.LEAVES (A+)
http://www.youtube.com/watch?v=__ZKLv9SgZ4
I like the layers of sound and the small movement of the leaves in this film very much.


4.BIRD
http://www.youtube.com/watch?v=s-cxmBNqrpI
This is an eleven-second animation.

Some links about Tossapol Boonsinsukh
http://screenville.blogspot.com/2007/09/afternoon-times-2005boonsinsukh.html
http://celinejulie.blogspot.com/2007/10/tossapol-boonsinsukhs-filmography.html
http://celinejulie.blogspot.com/2008/06/number-short-story-by-tossapol.html
http://celinejulie.blogspot.com/2008/10/i-draw-dog-picture-2008-tossapol.html
http://celinejulie.blogspot.com/2008/06/were-all-alone-under-blanket.html

2 comments:

Anonymous said...

ตอบ มาดาม MdS

จริงๆเราก็ไม่แน่ใจว่าเราจะพิสูจน์สิ่งที่เราพูดเกี่ยวกับNEW CINEMA ได้มากแค่ไหน เพราะบางทีมันอาจเป็นเพียงความรู้สึกของการเลาะตะเข็บจากหนังหลายๆเรื่องที่ได้ดูแล้วรู้สึกว่ามันนำพาไปสู่สิ่งใหม่
ลองมาไล่เรียงความคิดตัวเองดูอีกที เราลองตั้งเส้นว่าเริ่มจากเรามีหนังเกิดขึ้นมา จากภาพสั้นๆของพี่น้องลูมิแยร์ แล้วมันก็พัฒนาการเล่าเรื่องของมันไป เราอาจจะบอกว่าหนังเล่นกับหนังเรื่องแรกๆ อาจเป็นSHERLOCK Jr.ขอคีตัน ที่มีการเดินเข้าไปในหนัง ซึ่งทำให้เรายอมรับว่าหนังเป็นอีกพรมแดนหนึ่งที่มีตัวตนจริงๆ จากนั้นหนังมันก็พัฒนาตัวเองมา (เราเดาว่าต้องมีการพัฒนาเกี่ยวกับรูปแบบของมันมากมายในยุคอวองการ์ด หรือในหนังของแบรคเคจ แต่พอมันมาถึงจุดแตกหักในยุคหกสิบ (อันนี้เราคิดเองเพราะโดยแท้มันก็คือการสะสมขุมกำลังจากหนังรุ่นก่อนหน้าที่ค่อยๆขยายขอบเขตจากสิ่งที่เรียกว่า GENRE (สำหรับเราการมีอยู่ของGENRE คือการทำให้หนังกลายเป็นหนัง โดยแยกขาดออกจากความจริงโดยสัมบูรณ์)

แต่คนอย่างโกดาร์ด(ที่เอาGENRE มาสับเปลี่ยนทำใหม่ ชี้ให้เห็นว่ามันมีช่องโหว่ หรือมีความเป็นหนังขนาดไหน เราก็เลยอดคิดไม่ได้ว่าประโยค 'หนังยังเล่นหนังไม่เป็น'เป็นประโยคที่เข้าท่ามาก ซึ่งในอีกทางหนึ่งเราว่าหนังโกดาร์ด คือตัวแทนของหนังอิงหนัง ) แล้วก็มี รอบบ์ กรีเยต์ หรือ ดูราส์ ที่ทำลายขนบของการเล่าเรื่องโดยย้อนทวนเล่าใหม่หลายเวอร์ชั่น เป็นการแสดงให้เห็นว่าหนังนั้นนั้นเป็นพรมแดนหลายมิติ และมีฟังก์ชั่นมากกว่าการเป็นหนังเล่าเรื่อง

ลองอธิบายความเป็น 'หนังอิงหนัง'ดู เราว่าหนังอิงหนังคือหนังที่ตัวมันเองจะไม่มีอยู่เลยถ้าไม่มีหนังเรื่องก่อนหน้า หน้าที่หลักของมันเป็นไปเพื่อยั่วล้อ ตั้งคำถาม คารวะหนังที่มีอยู่ก่อน ความหมายของมันจะสมบูรณ์เมื่อเราเทียบมันกับหนังที่มีอยู่มาก่อนไม่อย่างนั้นมันจะไม่สมบูรณ์ หนังอิงหนัง ก็อาจจะรวมถึงหนังบูชาหนัง หนังล้อ ทั้งหลายทั้งปวง

ทีนี้ก็มาถึงGRINDHOUSE เราเดาว่า มันต้องมีหนังแบบนี้มาก่อนแต่เราไม่เคยดูหรือถ้าเคยดูก็ไม่ได้กระตุ้นจิตใจเราเท่าGRINDHOUSE เพราะGRINDHOUSE ไม่ได้เป็นแค่หนังอิงหนังแล้ว แต่มัน อิงกับวัฒนธรรมการดูหนังด้วย การขูดฟิล์มให้เป็นรอย หรือการทำฟิล์มขาด การมี missing reel มันไม่ได้เกิดจากตัวหนังโดยตรง มันเกิดจากวัฒนธรรมการดูหนังในโรงหนังไดรฟ์อิน อีกที อย่าเราจะบอกว่า ฟ้าทะลายโจรเป็นหนังในกลุ่มนี้ก็ได้ เพราะการย้อมสีมันอิงอยู่กับวัฒนธรรมการดูหนังของคนยุคหลังที่ต้องดูหนังผ่านฟิล์มที่เสื่อมสภาพ
ซึ่งหนังที่อิงวัฒนธรรมการดูหนังพวกนี้มันทำให้เห็นว่าหนังได้สถาปนาตัวเองขึ้นมาเป็นอะไรอีกอย่างหนึ่ง (เรียกว่าสถาบันได้ไหม?) และมันพิสูจน์ว่าการดูหนังไม่ได้เป็นเรื่องบันเทิง มันยืนระยะจนเป็นวัฒนธรรมและมีความแตกกิ่งสาขาออกไปต่างกันในแต่ละพื้นที่


แต่พอมาถึงหนังอย่างของKEREN CYTTER / NICHOLAS PROVOST หรือ RAYA MARTIN หนังเริ่มขยับฐานะจากการเป็นหนังอิงหนัง หรือหนังอิงวัฒนธรรมการดูหยังอีกต่อไป จริงๆเราก็ไม่รู้ว่าเราจะแยกหนังพวกนี้ออกจากวิธีการของเบรคตช์ได้ไหม แต่เรารู้สึกเอาเองว่า วิธีการของเบรคตช์ มันเน้นกระตุ้นเตือน'คนดู' ให้รู้ว่านี่เป็นหนัง แต่หนังเหล่านี้ทำหน้าที่กระตุ้เตือนมากกว่าบอกให้รู้ว่าเป็นหนัง แต่ยังบอกด้วยว่า สิ่งที่เรารู้สึกกับหนังมทั้งหมดนั้นสามารถเสกสร้างขึ้นมาได้ (เหมือน ในPLOTPOINT) หนังพวกนี้ได้วิจารร์วิธีการของหนังโดยรับเอามาเป็นวิธีการอีกทีหนึ่ง

ลองดูในNOW SHOWING เรารู้สึกว่า การเปลี่ยนฟอร์แมตการถ่ายหนังจะไม่มีความหมายเลยถ้าเราไม่รู้ว่าแต่ละฟอร์แมตมันผูกโยงอยู่กับประวัติศาสตร์ภาพยนจร์ตรงไหน( แต่เราอาจมองอีกทางหนึ่งได้ว่ามันเป็นแค่การเลือกคุณภาพของภาพมาตอบรับเรื่องเล่าก็ได้) แต่สมมติเราเข้าใจเอาว่าการเปลี่ยนฟอร์แมตมีความหมายเชิงสัญลักษณ์แสดงไปถึงภาพยนตร์ตามช่วงเวลา (เราคิดว่าช่วงเวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก) NOW SHOWING ก็ทำหน้าที่ในการวิพากษ์ความเป็นภาพยนตร์โดยเทียบมันเข้ากับชีวิตของคนสามัญ ไม่ได้ผ่านทางบท แต่ผ่านทางเครื่องมือที่ใช้ถ่ายเธอ

NOW SHOWING อาจดีไม่เท่าตัวอย่างในหนังของCYTTER นะ

เราไม่รู้ว่าเราอธิบายได้เคลียร์ หรือำให้งงมากขึ้นพูดตามจริงเราเองก็ไม่เคีลยร์กับประเด็นนี้มากพอจนจะเอามาเขียนเหมือนที่บิ๊กชวนได้

ตอนนี้สิ่งที่เราสนใจคือสิ่งที่เราคุยกับโดบ๊ตตอนเทศกาลหนังสั้น เรากำลังสงสัยว่า หนังทดลอง ในยุค ดิจิตอล ด้วยกระบวนการเดียวกับแบรคเคจ มีนจะเป็นยังไง เพราะเครื่องมือมันเปลี่ยนไปแล้ว

ดีจังที่ทำให้เราได้ลองครุ่นคิดถึงมัน ถ้าใครอยากคุยต่อแลกเปลี่ยนก็เชิญนะครับ

celinejulie said...

ขอกราบขอบพระคุณมากๆค่ะที่เขียนถึงเรื่องนี้ รู้สึกว่าจะแปะผิดกระทู้นะ แต่ไม่เป็นไรจ้ะ เราก็อปปี้ความเห็นทั้งหมดไปแปะลง BLOG แล้วล่ะ ขอบคุณมากๆ